เมืื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง สัญญาณแบบไหนที่บอกว่าลูกถูกแกล้งแน่ ๆ พ่อแม่ต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ
ปี 2563 กรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่าเด็กนักเรียนไทยถูกแกล้งติดอันดับ 2 ของโลก และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้เด็กหลายคนต้องเรียนออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนจะหมดไปเสียทีเดียว
ยิ่งเมื่อโรงเรียนเปิดเรียนออนไซต์แล้ว แนวโน้มที่เด็กจะถูกแกล้งในโรงเรียนก็มีเยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือระดับมัธยมศึกษา พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูก รู้จักบทบาทของตนเอง เพื่อช่วยลูกหาทางรับมือกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียนให้ได้
1. ร้องไห้ ไม่อยากไปโรงเรียน
2. ลูกเปลี่ยนไป จากเด็กร่าเริง สดใส กลายเป็นเด็กขี้อาย เก็บตัว ไม่เล่นกับใคร
3. ผลการเรียนต่ำลง พัฒนาการถดถอย
4. เงียบ ไม่ร่าเริงสดใส
5. เมื่อพูดถึงเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน ลูกมักไม่อยากตอบ ไม่ค่อยมีเพื่อน
6. มีบาดแผลตามร่างกาย
1. เปิดใจ เปิดโอกาสให้ลูกได้พูดถึงความรู้สึก เพื่อให้รับรู้ว่าลูกรู้สึกอย่างไร
2. มีท่าทีที่ดี เมื่อคุณครูบอกเล่าถึงพฤติกรรมของลูกเมื่ออยู่โรงเรียน อย่าเพิ่งติดป้ายเด็กคู่กรณีว่าเป็นเด็กมีปัญหา เพราะเขาอาจทำผิดพลาดและมีโอกาสที่จะสำนึกผิดได้
3. คุยกับพ่อแม่ของเด็กที่แกล้งลูก และครู เพื่อหาทางออกร่วมกัน
4. หากเหตุการณ์รุนแรงมาก และอีกฝั่งไม่ได้มีท่าทีสำนึกผิดใด ๆ ต้องให้กฎหมายเข้าช่วยปรับพฤติกรรมเด็ก เพื่อเป็นตัวอย่างว่าอย่าไปแกล้งใครรุนแรงแบบนี้ และอาจย้ายโรงเรียนลูกเป็นทางออกสุดท้าย
หากลูกถูกแกล้งไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงมาก พ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของลูก หาทางออกของผู้ใหญ่แล้ว อย่าลืมรักษาจิตใจของลูกเพราะการถูกแกล้งส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กในระยะยาว
นอกจากนี้ อย่าลืมสอนลูกเรื่องการขอโทษ การให้อภัย และการยิ้มนะคะ เพราะจะทำให้ลูกเรามีเกราะป้องกัน "หัวใจ" ตัวเองได้ดีเยี่ยม เขาจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่รู้อะไรควร ไม่ควร และเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้นว่า ทุกคนสามารถทำเรื่องผิดพลาดได้ แต่เราก็รู้จักการให้อภัย แก้ไข และปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขค่ะ
เมื่อปกป้องลูกแล้วอย่าลืมสร้างกำลังใจให้เขาด้วย เพราะพ่อแม่เป็นคนสำคัญที่จะช่วยสร้างกำลังใจให้ลูก สอนเขาให้มีความเชื่อมั่น และกล้าปกป้องตัวเองเมื่อถูกรังแก ย้ำกับลูกเสมอว่า 'ถึงเพื่อนคนนั้นจะชอบรังแกหนู แต่เพื่อนคนอื่นกับครูรักหนูมากนะ'
ที่สำคัญอย่ายุหรือผลักดันให้ลูกตอบโต้ หรือหันมาใช้พฤติกรรมไม่น่ารักเหมือนที่เขาถูกเพื่อนทำนะคะ
อ้างอิง :