เอะอะ! ลูกเลือดกำเดาไหลตลอดเลย ก็ให้ก้มหน้าจนกว่าเลือดจะหยุดไหล แต่เป็นบ่อยๆ ครั้งเข้า มันก็อดห่วงไม่ได้ใช่ไหมคะ เคยได้ยินว่าอาจเสี่ยงโรคร้ายได้ แบบนี้มารู้จักอาการเลือดกำเดาไหลกันเลยค่ะ
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก มักจะเกิดในช่วงฤดูหนาว ช่วงอากาศแห้ง วันที่ร้อนจัด หนาวจัด ร่างกายขาดวิตามินซี เกิดจากการกระทบกระเทือน หรืออุบัติเหตุ ความผิดปกติของร่างกาย แต่ส่วนมากมักจะมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง และเลือดมักจะหยุดเองได้ภายใน 10-15 นาที หากคุณแม่พบว่าลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการที่ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย ก็อาจเป็นอาการของโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ข้อมูลจากสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย โดย รศ.พญ. ดารินทร์ ซอโสตถิกุล ฝ่ายเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ปกครองควรทราบในกรณีที่ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยว่า หากลูกมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์
เลือดกำเดาไหลนาน ร่วมกับที่ผิวหนังมีรอยเลือดออก เช่น มีจ้ำเขียว มีจุดแดง หรือจุดเลือดออกตามตัวร่วมด้วย มีเลือดออกตามไรฟัน หรือลิ้นร่วมด้วย มีปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ หรืออุจจาระสีดำคล้ายยางมะตอย หรืออุจจาระของลูกมีเลือดปนมาด้วย ลูกมีไข้สูง ลูกมีอาการอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง หรือผิวหนังมีสีซีดลง
ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เช่น โรควอนวิลล์แบรนด์ (von Willebrand disease – VWD) ซึ่งอาจมีประวัติเลือดออกง่ายหยุดยากในครอบครัวร่วมด้วย
ทำให้เกล็ดเลือดมีปริมาณต่ำลง เช่น โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิต้านทานตนเอง (immune thrombocytopenia – ITP) ซึ่งเป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็ก, โรคไขกระดูกฝ่อทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้อย่างพอเพียง ทำให้มีโลหิตจาง ติดเชื้อง่ายเนื่องจากมีเม็ดเล็ดขาวต่ำลง และเกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแทรกซึมอยู่ในไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดที่ปกติได้ลดลง
นอกจากนี้ หากลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยและเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เด็กเกิดภาวะซีดจากการสูญเสียเลือดเรื้อรัง จนเกิดภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ หากเด็กมีอาการเวียนศีรษะ เป็นลมง่าย เหนื่อยง่าย หรือมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว
พยายามไม่ให้จมูกของลูกแห้ง โดยอาจจะใช้น้ำเกลือหยอดจมูก หรือทาวาสลินเคลือบในรูจมูกก่อนนอน
ปรับอุณภูมิในห้องนอนของลูก ไม่ให้อากาศแห้งเกินไปให้ลูกกินผักและผลไม้ที่มีวิตามินซี เพื่อช่วยให้หลอดเลือดฝอยในจมูกแข็งแรง
ให้เด็กนั่งตัวเอียงไปด้านหน้า ก้มศีรษะลงเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลออกทางจมูกแทนที่จะไหลลงคอ ซึ่งอาจทำให้เด็กอาเจียนออกมาเป็นเลือดจากที่กลืนเข้าไป ใช้มือบีบบริเวณปีกจมูกข้างที่มีเลือดกำเดาไหลเบา ๆ ประมาณ 10 นาที และหากเลือดยังไม่หยุดไหลนานเกิน 30 นาที ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์