ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เพราะการอักเสบแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาได้ด้วยยาต้านแบคทีเรีย ที่ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เช่น ปวดบวมตามข้อ
2. อักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านแบคทีเรีย ร่างกายมีภูมิที่สามารถหายเองได้ หากพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ แต่การกินยากันไว้โดยไม่จำเป็นอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น
การรับประทานยาปฏิชีวนะ ต้องเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ และโรคติดเชื้อแต่ละชนิดมีสาเหตุจากเชื้อโรคที่แตกต่างกัน แพทย์ต้องเป็นผู้วินิจฉัยโรคติดเชื้อก่อนที่จะสั่งยาปฏิชีวนะให้กับผู้ป่วย ไม่ใช่ว่าจะสามารถทานยาปฏิชีวนะตัวใดก็ได้ เช่น ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียก็ต้องใช้ยาต้านแบคทีเรีย ถ้าติดเชื้อไวรัสก็ต้องใช้ยาต้านไวรัส เป็นต้น ฉะนั้นหากป่วยอย่าซื้อยาทานเอง ให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการก่อนจะดีกว่าค่ะ
10 พฤติกรรม ที่เป็นต้นเหตุเชื้อดื้อยา
1. ซื้อยาต้านแบคทีเรียมากินตามคนอื่น
2. หยุดกินยาต้านแบคทีเรียเมื่ออาการดีขึ้น กลไกการทำงานของยามีผลต่อเชื้อโดยตรง ไม่ได้มีผลต่อคน ดังนั้นต้องกินยาจนหมดตามที่กำหนด เพราะเชื้อยังถูกกำจัดจากร่างกายไม่หมด จึงเป็นเหตุให้กลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยาได้
3. ซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ครั้งก่อนๆ การกินยานั้นต้องให้ตรงกับโรคที่เป็น ควรให้แพทย์วินิจฉัยไม่ควรไปซื้อยากินเอง
4. เคยอมยาอมที่ผสมยาปฏิชีวนะต้านเชื้อโรค ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา เพราะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสมแล้วยังเป็นการใช้ยาเกินจำเป็นด้วย
5. เปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรียที่แรงกว่าเดิม เพราะเห็นว่ากินแล้วไม่หาย การรักษาต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะดีขึ้น ดังนั้นการเปลี่ยนยาที่แรงขึ้นอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
6. เคยเอายาต้านแบคทีเรียมาโรยแผล นอกจากจะเป็นการรักษาที่ผิดวิธีแล้วยังส่งผลให้แผลติดเชื้อและเชื้อในแผลพัฒนาตัวเองไปสู่การดื้อยา
7. ใช้ยาต้านแบคทีเรียผสมในอาหารสัตว์ เป็นการใช้ยาที่ผิดและไม่ได้ผล ทำให้เนื้อสัตว์ที่เรากินเข้าไปอาจจะเป็นเนื้อสัตว์ที่ป่วยจากเชื้อดื้อยาก็เป็นได้
8. ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่ทราบชื่อสามัญของยา พฤติกรรมนี้เสี่ยงต่อการแพ้ยาและใช้ยาไม่ตรงกับเชื้อโรคด้วย
9. เคยไปซื้อยาแก้อักเสบมากินเอง เพราะหากเป็นการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ก็ไม่ควรกินยาแก้อักเสบเพื่อรักษาอาการ
10. การไม่แนะนำผู้ที่ใช้ยาต้านแบคทีเรียให้ใช้ยาอย่างเหมาะสม ทำให้ประชาชนในสังคมขาดความรู้ในการใช้ยาและพัฒนาไปสู่การป่วยเชื้อดื้อยาได้
ข้อมูลจาก : www.matichon.co.th , www.thaihealth.or.th