หลายบ้านมีกฎกับการใช้จอทุกประเภทแบบที่ทำได้ดีมาตลอด แต่...ทุกอย่างพังลงเมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ ความมั่นใจที่เคยคิดว่าเรารู้จักและใช้สื่อของลูกเป็นอย่างดีนั้น พอมาเจอภาคปฏิบัติ ตกม้าตายไปตามๆ กัน รักลูกThe Expert จึงชวนอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มาพูดคุยกัน เพื่อให้เรารู้เทคนิค วิธีการที่จะรับมือกับทั้งสื่อ จอ และ Content หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เราผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกันค่ะ
ถ้านิยามคำว่าสื่อนึกถึงแต่ก่อนย้อนไปสัก 40 ปีที่เรายังไม่มี Facebook สื่อก็คงเป็น เรานึกถึงสื่อประเภทวิทยุ ละคร ลิเก ลำตัด หนังตะลุง อันนั้นเรียกว่าสื่อชุมชน แต่ถ้าเป็นเด็กปฐมวัยเราไม่ได้พาลูกไปดูละคร ไปดูโรงลิเก ไปดูโขนแต่แรกเราก็คงให้อยู่กับพ่อแก่แม่เฒ่า ปูย่า ตายาย
เพราะฉะนั้นเวลาเราบอกว่าอะไรเป็นสื่อ หรือไม่เป็นสื่อ สื่อก็คืออะไรก็ตามที่สื่อสารความหมายข้อความได้ เพราะฉะนั้นบุคคลก็เป็นสื่อถ้าเราโฟกัสไปที่เด็กปฐมวัยตั้งแต่ตั้งครรภ์มารดาจนออกมาเป็นทารกเตาะแตะ แล้วก็เป็นเด็กวัยปีนป่าย แล้วก็วัย Pre School เข้าอนุบาล 0-6 ขวบ หรือจริงๆ ก่อนเกิดตั้งแต่ติดลบ 9 เดือน ตั้งแต่ตั้งครรภ์ อันนี้คือช่วงปฐมวัย
สื่อที่ดีที่สุดก็คือถ้าคุณแม่ฟังเพลงอะไรก็ตามเปิดเพลงที่ทำให้บรรยากาศดีอันนี้ก็เป็นสื่อเด็กๆ ก็ได้ยิน คุณแม่พูดผ่านสายรกลูบคลำ นั่นก็สื่อประเภทหนึ่ง คุณแม่อารมณ์ดีพูดคุยกับคุณพ่อ คุณพ่อดูแลดีอารมณ์ดี กินอาหารดีก็เป็นสื่อเหมือนกัน
สื่อไม่จะเป็นต้องเป็นโทรศัพท์มือถือ สื่อไม่จำเป็นว่าต้องเปิดทีวีหรือเปล่า หรือเปิดการ์ตูนหรือเปล่า สมุดภาพ นิทาน น้ำตก บ่อทราย ชายหาด กิ่งไม้ ก้อนหิน ปีนป่าย เสียงผึ้ง แสงแดด ทุกอย่างเป็นสื่อได้หมด อย่างเช่น เวลาที่เราพาลูกออกไปสนามสีเขียวเด็กก็จะรู้สึกผ่อนคลาย หรือเรานึกถึงผู้ป่วยที่โคม่านอนติดเตียงแล้วก็รู้สึกว่าอยากจะกลับบ้านถ้าเขามองออกไปเห็นนอกหน้าต่างเขารู้สึกว่าผ่อนคลายลง เสียงนกร้อง สายลม แสงแดดก็เป็นสื่อ
ฉะนั้นลองคิดดูว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้สำหรับเด็กปฐมวัยมีค่าและความหมายมากขนาดไหน แต่ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้อยู่กับบ้าน กักตัว ไม่ออกไปไหน Stay at Home / Work from Home / Social Distancing หรือ Lockdown ลองคิดดูเราอยู่ในบ้าน ผมจะคิดว่าในบ้านจริงๆ มีสื่อเยอะแต่สำหรับเด็กปฐมวัยสื่อที่สำคัญหรือบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูอาจจะเป็นลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยายก็แล้วแต่หรือพี่เลี้ยงที่เรามี
เพราะฉะนั้นเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องใช้ดิจิทัลมีเดียเลย สื่อที่เป็นวิทยุ ทีวี เพลงถ้าคุณพ่อคุณแม่ชวนร้องเพลงหรือว่าชวนอ่านนิทาน หรือเล่นสิ่งของต่างๆ ตุ๊กตา เด็กโตขึ้นมาหน่อยเล่นดินน้ำมัน วาดรูประบายสี ทุกอย่างเป็นสื่อได้ขึ้นอยู่กับว่าเจตนาเราจะใช้สิ่งนั้นเพื่อสื่อสารอะไรไปยังลูก แม้กระทั่งเด็กเล็กการโอบกอด Human Touch สัมผัส โอบกอดเอาหน้าลูกเข้ามาแนบอกเราเสียงหัวใจ ลูกสาวผมจะชอบนอนบนหน้าอกทุกคืนตอน 2 ขวบ เขาจะเอาหูแนบก็จะได้ยิน ตึ๊บตึ๊บ ตึ๊บตึ๊บ
ในช่วงขวบถึงขวบครึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กทารกคือ Trust หรือว่าความไว้วางใจต่อโลกใบนี้ พอเขาเริ่มเตาะแตะขาได้ประมาณขวบครึ่งถึง 3 ขวบ เขาจะรู้สึก Autonomy ก็คืออยากทำนู้นทำนี่ได้เอง เพราะฉะนั้นจาน ชาม ช้อน หยิบส้มแล้วก็โยนลงพื้น หยิบลูกปิงปอง ลูกบอลแล้วก็ขว้างปา พวกนี้เป็นสื่อเพราะเขากำลังเรียนรู้บางอย่าง
คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับความคิดความเข้าใจใหม่สื่อก็เป็นอะไรได้ทั้งหมดในบ้านตั้งแต่จาน ชาม ช้อน ซ้อม ลูกปิงปอง ตุ๊กตา ต้นไม้ ใบหญ้า เสียงสุนัข เสียงรถวิ่งข้างบ้าน ทุกอย่างเป็นสื่อได้หมดเลย แต่สื่อที่ดีที่สุดคือพ่อแม่
สเต็ปแรกเราต้องทำความใจว่าสื่อไม่ใช่แค่ทีวี คลิปวิดีโอ หรืออะไรต่างๆ ที่นี้เรามาสโคปเข้ามาในความใกล้ชิดของเรานิดหนึ่ง บางทีเราก็อยากใช้สื่อเหล่านั้นแต่บางทีเราที่เป็นพ่อแม่นี่ละไปยื่นโทรศัพท์ I-pad เราไปใช้สื่อที่เป็นเทคโนโลยีให้ลูกแทน อะไรเหล่านี้มองว่าเราทำไมพ่อแม่ต้องคิดว่าเราควรจะใช้สื่อที่ไม่ใช่เทคโนโลยีหรือที่เป็นไฟฟ้ามันมีอันตรายหรือความเสี่ยงอะไรถ้าลูกเราเสพติดในสื่อที่เป็นในส่วนของเทคโนโลยีมากเกินไป
เด็กปฐมวัยยังชอบสื่อที่ไม่ได้ใส่วงจรอัลกอริทึมไฟฟ้าอิเลคโทรนิค สื่อพวกนั้นเกิดจากกระบวนการ Production คือ มีโปรดิวเซอร์ มีแอนนิเมเตอร์วาดการ์ตูน มีคนใส่เสียง มีคนตัดต่อ มีคนทำกราฟฟิกอะไรเยอะแยะมากมาย สื่อพวกนั้นเป็นสื่อที่มนุษย์ประกอบสร้างขึ้นมาผ่านงานโปรดักชั่นเขาก็จะมีเจตนาที่จะทำให้ สมมติว่าเป็นเกมส์ เป็นการ์ตูนมีคลิปคอนเทนต์ ยูทุปเบอร์ สื่อพวกนั้นมีเจตนาหลายอย่างที่มันสลับซับซ้อนจังหวะการเล่าเรื่อง การหวังยอดวิวโฆษณา ดราม่า มีเจตนาแฝง เจตนาเหล่านั้นเป็นเจตนาประกอบสร้าง
แต่ผู้ผลิตตุ๊กตาขึ้นมาตัวหนึ่งเพื่อวางขายแล้วลูกก็บอกว่าอยากได้ตุ๊กตา หรือแม่ซื้อตุ๊กตาให้ลูก ตุ๊กตาเหล่านั้นไม่มีเจตนาอะไรอีก ตุ๊กตาไม่รู้ตัวเองว่าเป็นตุ๊กตามันไม่มีเจตนาของผู้สร้างอีกต่อไป มันก็คือตุ๊กตาผ้ายัดนุ่นยัดเส้นใยอะไรที่ดูนุ่มๆ ดูน่ารัก สมุดภาพเจตนาของผู้สร้างก็เป็นแบบนี้ แต่ผู้สร้างนิทานไม่สามารถไปคอนโทรลอย่างอื่นได้อีก ไม่บอกว่าต้องอ่านกี่โมง ต้องอ่านหน้านี้ก่อน ผู้สร้างแค่วาดภาพ หรือตัวต่อจิ๊กซอว์ บล็อกไม้ ก็คือซื้อไปต่อ
ฉะนั้นดิจิทัลเป็นสื่อที่มีลักษณะที่ร้อนหมายถึงว่าค่อนข้างที่จะเปิดปุ๊บติดปั๊บตัวมันร้อนได้เอง ได้ที่แล้วมันก็ร้อนเองกดเพลย์ เสียบปลั๊กปุ๊บมันก็ไหลไปเลย 5 นาที 10 นาที 20 นาที 2 ชั่วโมง แต่ว่ากลอง เปียโน มันวางอยู่เฉยๆ ตัวมันเย็นมันไม่มีปลั๊กให้เสียบ มันไม่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีอัลกอริทึม ไม่มีกดเพลย์ กลองเด็กก็ต้องตีถ้าหยุดตีคือเสียงไม่ดัง ดินน้ำมันวางอยู่เฉยๆ ถ้าไม่ปั้นมันก็อยู่ฟอร์มเดิม สมุดนิทานเล่มเล็กๆ 12 หน้า 8 หน้า ไม่เปิดอ่าน ถ้าง่วงนอนอ่านได้ไหม ไม่ได้ ฉะนั้นสื่อพวกนี้เราเรียกว่าสื่อเย็น
เด็กปฐมวัยการใช้สื่อเย็นสำคัญมากเพราะว่าหลังจากที่เขาประมาณ 3 ขวบที่เขามี Autonomy ก็คือทำเอง Autonomy คือความรู้สึกเอกอิสระอยากจะทำนู้นทำนี่ แม่ไม่เอาหนูอยากทำเอง แม่บอกอย่าลูกเดี๋ยวเกิดความเสียหาย ไม่ได้ครับปล่อยไป สื่อพวกนี้ ตุ๊กตาไม่เล่นกับเขาแต่เขาเล่นกับตุ๊กตาเด็กจะได้ใช้จินตนาการขึ้นเองไม่มีใครบอกบท ไม่มีสคริปต์ ไม่มีตัดต่อ ไม่มีใครบอกแอคชั่น เล่นยังไง คือเด็กจะเป็นโปรดิวเซอร์ของการเล่น เด็กเป็นผู้รังสรรค์การเล่นนั้นด้วยตัวเองซึ่งจะดีกับการพัฒนาเซลล์สมองเครือข่ายเส้นใยประสาทจะเชื่อมต่อเซลล์นี้กับเซลล์นี้เด็กต้องคิดริเริ่มขึ้นเองในการเล่น
ถ้าเราหยิบยื่นสื่อที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเปิดการ์ตูนหนังยาว หรือเปิดคลิปเปิดซีรีย์หรือแม้กระทั่งการเปิดเสียงทีวีที่บ้านทิ้งไว้ เพราะเดี๋ยวนี้โควิดต้องรับข้อมูลข่าวสารเยอะๆ ยอดผู้ติดเชื้อวันนี้เป็นอย่างไร วัคซีนมาแล้วหรือยัง ยอดผู้หายป่วย กลับบ้านเท่าไหร่ เรามนุษย์แม่มนุษย์พ่อ มนุษย์ลุง ป้า น้า อา ในบ้าน ซึ่งไม่ดีลองคิดดูว่าเวลาที่เด็กไปโรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็กเล็กหรือ Pre-School โรงเรียนจะเงียบแต่ที่บ้านจะ โช้ง เช้ง ล้งเล้ง ตลอดเวลา เดี๋ยวคนนู้นเดี๋ยวคนนี้เข้า เปิดข่าวเปิดทีวีตลอด พ่อแม่ Work from Home ประชุมออนไลน์
คิดดูสิว่า Noise ตลอดเวลา เหล่านี้เป็นตัวทำลายภาวะความสงบ เด็กจะไม่ได้ยินเสียงตัวเองเด็กจะรู้สึกว่าไม่ได้ยินเสียงที่อยู่ในสมองไม่ได้ยินเสียงของความต้องการของเขาเพราะว่าข้างนอกมันดังไปหมด เพราะฉะนั้นลักษณะของดิจิทัลก็คือว่ามันนำพาเราแต่ถ้าเด็กเล่นของเล่นที่ไม่ได้ใส่ถ่านไม่ได้มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้มีประจุไฟฟ้าเปิดปิดแบตเตอร์รี่พาวเวอร์
ตัวพาวเวอร์ที่แท้จริงคือตัวเด็กที่จะต้องนำพาสมาธิเหล่านี้เขาเรียกว่าเป็น Active concentration คือเด็กมีสมาธิเชิงรุก เพราะเด็กต้องไม่ง่วงเหงาหาวนอน เด็กต้องนั่งแบบกระตือรือร้น เด็กต้อง Move forward ก็คือ เขาเรียกว่าไม่นั่งพิงเก้าอี้ คือถ้าดูทีวีก็จะนั่งพิงเก้าอี้ นอนบนโซฟา เอื่อยเปื่อยเรื่อยแฉะ แล้วก็ Sedentary คือมีพฤติกรรมนั่งเนื่อยนิ่ง
แต่ถ้าเด็กใช้สื่อเย็น เช่น สนามเด็กเล่น เครื่องปีนป่าย ขี่จักรยาน ตัวต่อเลโก้ บล็อกไม้ ดินน้ำมัน บ่อทราย สระน้ำ อะไรแบบนี้เด็กต้อง Energy เด็กใช้สื่อเย็นแต่ตัวเด็กจะร้อนต้องเคลื่อนไหว ต้องมี Movement มันดีสำหรับเด็กเพราะว่าเขาได้ฝึกกำลังกายกล้ามเนื้อ Autonomy ของเขาจะชัด Autonomy ก็คือมี Will ความตั้งใจจะทำแต่พอเปิดสื่อดิจิทัล Will มันไม่มี เพราะมันเข้าสู่การนั่งเนื่อยนิ่งไม่มีเจตนาที่จะทำอะไร แต่ถ้าเดี๋ยววาดรูป เดี๋ยวไปเล่นตัวต่อ เดี๋ยวไปเล่นของเล่นไม้ เดี๋ยวไปเล่นไซโลโฟน เด็กจะมี Will มีเจตนาที่จะทำ จะออกตลอดเวลา นั่นคือการตอบสนองตามลักษณะพัฒนาการแล้ว
พอเข้าสู่ช่วงวัย 4-6 ขวบ ก็จะลักษณะ Stage ที่ 3 ก็คือความคิดริเริ่มเพราะฉะนั้นคุณดอยลองคิด เรามีลูกสาววัยใกล้เคียงกัน ลูกสาวผมเป็น ช่วงโควิด คุณพ่ออยู่บ้านแล้วไม่มีอะไรทำ มันเบื่อ พ่อแม่ก็พยายามหานู้นนี่ให้ทำ กะละมัง หม้อ ไห ขวดน้ำ เอามาเล่นหมดแล้วทุกอย่าง ของเล่นที่ซื้อมาก็ให้เล่น ของที่ไม่ให้เล่นก็ให้เล่นหรือนอกบ้านถ้าใครมีพื้นที่ก็พยายามที่จะให้พื้นที่
เช่น เตะฟุตบอล ขี่จักรยาน ขุดดิน ขุดทราย นึกๆ เบื่อเขาก็ถามว่าสมัยเด็กๆ พ่อเล่นอะไร ผมก็บอก พ่อก็เล่นแบบนี้ละเห็นต้นไม้ก็ปีน ต้นฝรั่ง ต้นชมพู ต้นมะม่วง พ่อก็ปีนอยู่ทั้งวันละ เพราะฉะนั้นเราคิดว่าธรรมชาติก็คือสื่อ ท่านใดที่บ้านมีพื้นที่ ที่บ้านสามารถเข้าถึงพื้นที่อากาศได้ เหล่านี้คือสื่อทั้งหมด แล้วถ้าเราโฟกัสอยู่ที่สื่อปฐมวัย เด็กปฐมวัยไม่จำเป็นเลยที่ต้องใช้สื่อดิจิทัล
ผมว่า 8 ใน 10 ของพ่อแม่ส่วนมากเป็นเหมือนคุณดอย บางครั้งผมก็หลุดขนาดเราว่าเราแม่นบางครั้งเราก็หลุดอยากจะใช้สื่อซึ่งจริงๆ ผลดีผลเสียมันมี การดูการ์ตูนการเล่นเกมหรือได้ดูหนังเรื่องยาวดูคลิปดูเพลงมิวสิควีดิโออะไรแบบนี้ พอเรายกมันไปเป็นสถานะของรางวัล เด็กก็จะรู้สึกว่าระบายสีน่าเบื่อ นั่งเรียนออนไลน์น่าเบื่อ ล้างจานน่าเบื่อ รดน้ำต้นไม้น่าเบื่อ ถ้าทำสิ่งนี้ สิ่งนี้เพ่อบอกถ้าทำเสร็จเดี๋ยวจะได้ดูการ์ตูนเด็กจะยก 2 กิจกรรมนี้ให้คุณค่าไม่เท่ากันก็จะกดคุณค่าของงานบ้าน
กิจวัตรประจำวัน ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน กินข้าว น่าเบื่อแต่ว่าถ้าได้ดูการ์ตูนก็จะดีขึ้น เขาก็จะมองว่าสิ่งนี้มี Value หรือมีคุณค่ามากกว่าดีกว่า เพราะว่าตั้งเงื่อนไข Before and After แต่ถ้าเราพูดใหม่ว่า การ์ตูนก็ดูได้ แต่วันหนึ่งจะดูได้หลังจากที่ทำเรื่องอื่นเสร็จแล้ว และการ์ตูนก็ไม่ใช่กิจกรรมที่ดีกว่าอย่างอื่น
บางทีผมก็เปลี่ยนแปลงคือวันนี้ถ้าเราทำนู้นทำนี่เสร็จ เรากินข้าวเร็วนะ วันนี้พ่อจะอ่านการ์ตูนนิทานให้ฟัง ผมก็ต้องยกเปรียบเทียบว่ามีกิจกรรมอย่างอื่นที่อยู่ในสถานภาพที่เป็นรางวัลเหมือนกัน เช่น วันนี้จะอ่านนิทานให้เป็นพิเศษคนละ 3 เรื่อง เด็กก็จะดีใจไปหยิบนิทานมาถือ 3 เรื่อง เขาก็จะหยิบเรื่องที่เขาอยากอ่าน
กฎที่คุณพ่อคุณแม่ท่องไว้ก็คือว่า
1.ดิจิทัล Content หรือการ์ตูนจะต้องไม่ถูกยกสถาปนาเป็นรางวัล
มันต้องปฏิบัติเสมือนเป็นเรื่องปกติเหมือนกิจกรรมอื่นๆ จะต้องไม่ตั้งมาเป็นเงื่อนไข
2.พัฒนาการของเด็กที่เรามุ่งเน้นที่จะพัฒนาคือว่ามันไม่มีคำว่าพัฒนาการเร็วไป
พัฒนาการเร็วไปไม่ได้ว่าดี พัฒนาการล่าช้ามีปัญหา พัฒนาการที่ดีคือพัฒนาการสมวัย และในช่วงเด็กปฐมวัยสิ่งสำคัญคือ เล่นและกิจวัตรประจำวันไม่มีการเร่งเรียนรู้ ไม่มีเร่งเรื่องวิชาการ
สมมติถ้าเขาไม่ได้เล่นหมดชั่วโมงของการเล่นแล้ว 45 นาทีนี้ 30 นาทีนี้ คุณแม่ WFH คุณพ่อคุณแม่ควร WFH ประชุมหรือทำงานทีละประมาณ 45 นาทีก็พอพยายามลุกขึ้นมาดูลูกไม่ใช่ว่าแม่ WFH 9.00-12.00 น. ไม่ได้นะ คุณแม่ WFH คุณพ่อแยกกันคนละห้องแล้วลูกอยู่อย่างไร ลูกต้องการเวลาและการสนใจจากเรา เพราะฉะนั้นจัดสมดุลเวลาหน่อย บอกในที่ประชุมเราประชุมกันสั้นดีไหม 45 นาที
เพราะว่าเราไม่ได้เป็นคนทำงานอย่างเดียวนะ เราเป็นมนุษย์พ่อมนุษย์แม่ เรามี 2 บทบาท อย่าง 11.30 น. ผมต้องลงไปเตรียมอาหารแล้วนะ พอเที่ยงภรรยาผม WFH ก็คือกล่อมนอนเราก็ต้องสลับบทบาทกัน นโยบาย WFH ต้องมาด้วยนโยบายที่มีความเป็นมนุษย์ เช่น WFH with humanity เราก็ต้องคำนึงถึงว่าบางคนต้องดูแลพ่อแก่ แม่เฒ่าเป็นผู้ป่วยติดเตียง เราอยู่ในสังคมสูงวัย เราจะมานั่งทำงาน 9.00 – 12.00 น. เป็นไปไม่ได้ 11.30 น. เราก็ต้องไปเตรียมหุงหาอาหารแล้วมื้อเที่ยงจะกินอะไร อาบน้ำตอนเที่ยงกล่อมเข้านอน นอนตอนที่ยงก็สำคัญ WFH ไม่ได้หมายความว่า 9.00-12.00 น. หรือ 13.00-17.00 น. มันเป็นไปไม่ได้ ไม่ได้แค่ดูแลลูก ดูแลตัวเราเองก็ด้วย เพราะฉะนั้นสรุปคือ
เทคโนโลยีใช้ได้แต่ต้อง...
1.อย่าให้มันเป็นรางวัล
2.อย่าให้มันเป็นเงื่อนไข
3.อย่าให้รู้สึกว่ามีความจำเป็นต้องใช้
เช่น เร่งเท่าทันคนอื่น ให้ทันสมัยเดี๋ยวลูกจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง บอกเลยว่าไม่จำเป็นพัฒนาการ 0-6ปี ไม่จำเป็นต้องใส่เทคโนโลยีเข้าไปในเด็กก็ยังได้ ไม่ต้องใช้เลยก็ได้ เพราะว่าความลับของทุกๆ เทคโนโลยีคือถูกออกแบบมาให้ใช้ง่าย ใช้วันนี้พรุ่งนี้เป็น
การที่ลูกจิ้ม I-Pad กดปุ่มคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่ใช่ Skill ไม่ใช่ทั้ง Hard Skill / Soft Skill เลยในเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยไม่มี Indicator ตัวบ่งชี้เหล่านี้เลย จนกว่าเขาจะไปเรียนชั้นประถมศึกษา คอมพิวเตอร์เปิดอย่างนี้ รู้จัก Digital literacy แต่ถ้าไปโฟกัสเด็กปฐมวัยทิ้งมันไปเพิกเฉยไปเลย หนังสือ สมุดภาพ ผนังบ้าน ประตู ห้องนอน เขียนรูป ทุกอย่างต้องเล่นได้
เทคโนโลยีถูกออกแบบมาเพื่อให้ User อย่างเราๆ ใช้ง่ายที่สุดไม่มีเทคโนโลยีไหนออกแบบมาแล้วมีคัมภีย์ 300 หน้า แล้วคุณต้องไปอ่าน 30 ชั่วโมงก่อนถึงจะมาใช้อุปกรณ์นี้ได้ ลองนึกถึงเราซื้อโทรศัพท์มือถือ ซื้อคอมพิวเตอร์มามีคู่มือมาคุณดอยเคยอ่านก่อนไหม ต้องอ่านจบให้เรียบร้อยแล้วค่อยเอามือถือมาชาร์จไหม ลักษณะของเทคโนโลยีออกแบบมาตาม User Friendly คือ ออกแบบให้เป็นมิตรกับผู้ใช้ เพราะฉะนั้นเด็กๆ จำเป็นต้องเขียนอัลกอริทึ่มในสมองตัวเองก่อนก็คือ หยิบนี่ โยนนู้น ปีนป่าย ดึงตัวเองขึ้นแล้วก็ Falling ลงมาแรงโน้มถ่วง แรงโยก แรงเหวี่ยง แรงหมุน แรงดึง แรงลม พวกนี้ต้องรู้จักก่อน
การเล่นกับแรงทำไมความลับของสนามเด็กเล่นคือการให้เด็กรู้จักแรงของตัวเองเพราะเด็กปีนป่ายแล้วจะเกิดความคิดเชื่อมั่นตรงที่ว่าเขามี Autonomy ได้ในการปีนป่าย เพราะฉะนั้นสนามเด็กเล่นตอนนี้ไม่มี คุณพ่อคุณแม่ทำชั้นขวนเสื้อผ้าราวตากผ้าต้องปีนได้ โหนบาร์ โหนประตู ปีนตู้หนังสือ เปลี่ยนบ้านเป็นสนามเด็กเล่น เพราะไปสนามเด็กเล่นไม่ได้ช่วงนี้ปิดหมดเลย
เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีถูกออกแบบมาแล้วโดยมนุษย์ แต่สนามเด็กเล่นธรรมชาติมันยังไม่ได้ถูกออกแบบมาเด็กจะต้องออกแบบการเล่นเอง นี่คือความลับว่าทำไมเราจะต้องชะลอเทคโนโลยีไว้ก่อน
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u