ผิวไหม้แดด ภัยใกล้ตัวลูกน้อยที่ควรระวัง
ผิวไหม้แดดสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 15 นาทีหลังอยู่กลางแสงแดด อาการที่เกิดขึ้นคือผิวหนังมีสีแดงและอาการไม่สบายเนื้อตัว อีกทั้งการตากแดดบ่อยๆ สามารถนำไปสู่การเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ผิวที่โดนแดดโดยไม่มีการปกป้องยิ่งเป็นอันตรายโดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีไฝหรือกระ ผิวขาว หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งผิวหนัง
อาการเล็กน้อย
- ผิวหนังแดงและอุ่น
- เจ็บ
- คัน
อาการหนัก
- ผิวหนังแดงและพอง
- เจ็บและชา
- มีไข้และรู้สึกหนาว
- ผิวหนังบวม
- ปวดศีรษะ
วิธีรับมือ
- พาลูกเข้าที่ร่ม โดยให้อยู่ในที่เย็น (แต่ไม่หนาว) อาบน้ำ หรือประคบเย็น
- ให้ลูกกินยาแก้ปวดถ้าจำเป็น และให้กินน้ำเกลือแร่ 2-3 วัน
- ทาครีมหรือเจลว่านหางจระเข้เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง
- หากต้องออกนอกบ้าน ไม่ควรให้ผิวบริเวณที่ไหม้แดดโดนแสงจนกว่าจะรักษาให้หาย
อาการนี้ต้องรีบพบแพทย์
- ผิวบริเวณที่ไหม้กลายเป็นแผลพุพองหรือมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง
- ลูกมีอาการหน้าบวม
- ลูกมีไข้หรือมีอาการหนาวสั่น
- ลูกมีอาการปวดศีรษะ กระวนกระวาย หรือหมดสติ
- สังเกตเห็นว่าร่างกายลูกเริ่มขาดน้ำ (เช่น มีเหงื่อออกมากขึ้น ตาแห้ง ปากแห้ง)
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วง 10.00 – 16.00 น.
- ให้ลูกสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมแว่นกันแดด และสวมหมวกเมื่อต้องออกแดด
- ทาโลชั่นกันแดดที่สามารถกันได้ทั้งรังสี UVB และ UVA โดยเลือกที่มี SPF ไม่น้อยกว่า 15 โดยทาก่อนออกแดด 15-30 นาที และทาซ้ำเมื่อออกแดดแล้ว 30 นาที โดยเฉพาะหากลูกว่ายน้ำหรือมีเหงื่อออก