เครื่องนึ่งขวดนมเป็นหนึ่งในของใช้เด็กแรกเกิดที่จำเป็น แต่แบบไหนดีกว่ากันระหว่างเครื่องนึ่งขวดนมกับซึ้งนึ่งขวดนมธรรมดา เรามีคำแนะนำค่ะ
เครื่องนึ่งขวดนมกับซึ้งนึ่งขวดนม แบบไหนขวดนมลูกสะอาดปลอดภัยกว่ากัน
เครื่องนึ่งขวดนม เครื่องนึ่งขวดนมอบแห้ง
ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่นิยมซื้อและใช้เครื่องนึ่งขวดนมแบบอัติโนมัตกันมากขึ้น เพราะความสะดวกสบาย เบาแรง และฟังก์ชั่นที่ทำให้แม่ไม่ต้องกังวลเรื่องความสะอาดและการสะสมของเชื้อโรค เช่น ระบบฆ่าเชื้อ ระบบอบแห้ง เป็นต้น การใช้เครื่องนึ่งขวดนม มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
- อ่านคู่มือการใช้งานเครื่องนึ่งขสดนมก่อนการใช้งานให้ละเอียด ถึงแม้เครื่องนึ่งขวดนมไฟฟ้าจะมีความสะดวกมากมาย บางรุ่นอาจมีวิธีการใช้งานที่ง่ายแสนง่าย แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรละเลยการอ่านคู่มือการใช้งานที่ถูกต้องอย่างละเอียดนะคะ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ลดความผิดพลาดจากการใช้งานที่ไม่ถูกวิธี ขณะเดียวกันก็ต้องระวังในเรื่องของระบบไฟฟ้าที่อาจจะมีการรั่วหรือลัดวงจรด้วยค่ะ
- ใช้นึ่งอย่างเดียวเท่านั้น มีคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนที่เข้าใจว่า เครื่องนึ่งขวดนมนั้นสามารถใช้อุ่นอาหารได้ด้วย ซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่ผิดค่ะ เพราะแม้ว่าเครื่องนึ่งขวดนมไฟฟ้าจะสามารถทำได้ แต่การใช้งานตามวัตถุประสงค์จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
- เช็ดเครื่องนึ่งขวดนมให้แห้งทุกครั้งหลังทำความสะอาด เนื่องจากความชื้นเป็นตัวการหลักที่ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นเมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ควรล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งทุกครั้งค่ะ เพราะหากปล่อยให้เครื่องนึ่งเกิดความชื้น หรือไม่แห้งสนิท เชื้อโรคที่เจริญเติบโตก็จะเป็นอันตรายต่อลูกค่ะ
โดยปกติแล้วเครื่องนึ่งขวดนมจะได้รับการคำนวณเวลา อุณหภูมิมาในคู่มือแล้วว่าจะต้องใช้เวลานึ่งขวดนมนานแค่ไหน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรทำตามคู่มือเป็นหลักก่อนนะคะ เพราะหากใช้ความร้อนมากเกินไป หรือ นานเกินไป อาจทำให้ขวดนมบิดเบี้ยวได้ค่ะ
ซึ้งหนึ่งขวดนมแบบประหยัด
คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนเลือกที่จะนึ่งขวดนมให้ลูกเองโดยไม่ใช้เครื่องนึ่งไฟฟ้า อุปกรณืหลักคือซึ้งนึ่งนั่นเองค่ะ การใช้ซึ้งนึ่งขวดนมเองอาจจะยากหน่อยตรงการควบคุมเวลาและอุณหภูมิที่เราต้องกะเกณฑ์เอง จึงมีข้อควรระวังดังนี้ค่ะ
- การควบคุมอุณหภูมิ & ระยะเวลา ของการนึ่งขวดนมด้วยซึ่งนึ่ง ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ เพราะยิ่งอุณหภูมิสูงเท่าไหร่และใช้เวลาในการนึ่งนานมากแค่ไหน โอกาสที่เชื้อโรคจะตายก็ย่อมมีสูงขึ้นค่ะ โดยปกติแล้วเราจะต้องใช้ความร้อนที่จุดเดือด 100 องศาเซลเซียส ในการฆ่าเชื้อโรค ขณะเดียวกันระยะเวลาที่ใช้ในการนึ่งนั้นก็ต้องนานพอสมควร คืออย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อให้เชื้อโรคแตกตัว และไม่มีการเจริญเติบโตต่อไปได้
- ขวดนมต้องตากให้แห้งทุกครั้ง ทุกครั้งที่ลูกกินนมเสร็จแล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องล้างขวดนมให้สะอาดก่อน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วค่อยนำไปนึ่ง ทั้งนี้เพื่อลดกลิ่นอับที่จะเกิดขึ้น และเมื่อนึ่งเสร็จแล้วก็ให้นำไปตากแดดให้แห้งสนิทอีกครั้งค่ะ แต่ก็ต้องระวังเรี่องของลมและฝุ่นละอองด้วยนะคะ
ไม่ว่าจะใช้เครื่องนึ่งขวดนมไฟฟ้า หรือว่านึ่งเองด้วยซึ้งนึ่ง หม้อนึ่งธรรมดา ก็ใช้ได้ทั้งนั้นค่ะ ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ความสะดวกและความต้องการของแต่ละบ้าน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรักษาความสะอาดขวดนมของลูกที่ต้องสะอาดที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คราบนมสะสม เน่าเสีย และเกิดเป็นเชื้อโรคเกาะขวดนมค่ะ