อาการแพ้นมวัวอาจเกิดขึ้นกับลูกทารกได้ค่ะ อาการแพ้นมวัวเป็นอย่างไร ผื่นแพ้นมวัวสังเกตอย่างไร รีบอ่านกันค่ะ เพื่อการป้องกันและรักษาได้อย่างถูกต้อง
พันธุกรรมเป็นสาเหตุเด่น โดยเฉพาะเด็กที่มีพ่อแม่เป็นภูมิแพ้ใด ๆ ก็ตาม เพราะอาการนี้ถ่ายทอดทางสายเลือด สาเหตุอีกประการ คือการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้อยู่เป็นประจำ เช่น ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่กินนมวัวมากเกินกว่าปกติ ทำให้ลูกในท้องมีโอกาสที่จะแพ้ได้ง่าย
ถ้าลูกมีอาการในข้อสุดท้าย และข้ออื่น ๆ มากกว่า 2 ข้อขึ้นไป แสดงว่าลูกมีโอกาสที่จะแพ้นมวัวสูง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอาการแพ้นมวัวอย่างถูกต้อง
‘แพ้นมวัว’ มักเป็นในเด็กเล็กวัยต่ำกว่า 1 ปี สามารถจัดแบ่งกลุ่มอาการได้ 3 ระบบหลัก ได้แก่
วินิจฉัยด้วยการเจาะเลือด ต้องวินิจฉัยให้ทราบก่อนว่าลูกแพ้นมวัวแน่นอนหรือไม่ ถ้าเป็นภูมิแพ้ชนิดรุนแรง หรือมีอาการแสดงทางผิวหนัง การวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดอาจได้ผล แต่ถ้าคนไข้มาด้วยอาการท้องเสีย จะต้องส่องกล้อง หรือตรวจอุจจาระ หรือทดสอบ Oral Challenge คือ ให้เด็กลองกินนมวัวทีละน้อยๆ จากนั้นสังเกตอาการเด็กภายใน 3-5 วัน ถ้าพบว่าแพ้ก็ต้องหลีกเลี่ยง วิธีนี้ไม่ควรทำเองที่บ้านเพราะถ้าอาจทำให้เกิดอาการแพ้แบบรุนแรงได้ ควรทำในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการแพ้
กินนมเสริมชนิดที่ใช้กินทดแทนนมวัว ที่ให้คุณค่าทางสารอาหารใกล้เคียงนมวัว เช่น นมถั่วเหลือง ซึ่งผลวิจัยทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่าให้ประโยชน์โภชนาการครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ และพบว่าเด็กส่วนใหญ่ที่แพ้นมวัวแล้วเปลี่ยนกินนมถั่วเหลืองจะไม่ปรากฏอาการแพ้
การพาลูกมาพบหมอด้วยอาการป่วยอื่นๆ เช่น น้ำมูกไหลเรื้อรัง หอบหืด เป็นหวัดบ่อย ต้องพึงระวังว่าอาจไม่ใช่อาการแพ้นมวัว ต้องให้แพทย์วินิจฉัยให้ชัดเจน และสิ่งสำคัญคือ การป้องกันสำหรับลูกคนต่อไปไม่ให้มีอาการแพ้ โดยคุณแม่ที่มีประวัติเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงการกินนมวัวปริมาณมากในขณะตั้งครรภ์ หรือต่อให้ไม่มีประวัติ แต่การกินนมวัวมากๆ อาจไปกระตุ้นให้เกิดการแพ้ได้
ความเชื่อที่ว่าให้กินอาหารทีละน้อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเองนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะการกินทีละน้อยๆ แบบนี้เหมือนเป็นการสะสม จะทำให้ร่างกายแพ้รุนแรงมากขึ้น เช่น เดิมทีอาจแพ้โดยมีอาการทางผิวหนังอย่างเดียว แต่พอคุณแม่ให้กินทีละนิดไปเรื่อยๆ อาจทำให้ลูกแพ้ถึงขั้นช็อกได้ เพราะหลักการของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ร่างกายจะไวต่อสิ่งกระตุ้น ถ้ายิ่งได้รับสิ่งที่แพ้ไป ยิ่งไปกระตุ้นอาการแพ้ให้เป็นมากขึ้น
วิธีแก้อาการลูกแพ้คือ ต้องทำให้ร่างกายลืมว่าเคยแพ้อะไร เช่น ถ้าลูกแพ้นมวัว ลองให้ลูกหยุดกินไป 3-5 ปี ก็จะหาย และสามารถกลับมากินนมวัวได้ แต่อาหารบางชนิดอย่างถั่ว อาจแพ้ตลอดชีวิต ดังนั้นระยะเวลาในการงดอาหารแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไป แค่คุณพ่อคุณแม่หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูกน้อย และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ลูกน้อยก็จะไม่เป็น 'เด็กขี้แพ้(นมวัว)' อีกต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ผศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล
หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์