เลี้ยงลูกแบบหมอเดว พบกัน 4 EP ต่อเนื่อง เริ่มต้น EP67 คุณหมอเดวชวนมองภาพกว้างครอบครัวไทยในปัจจุบัน โครงสร้างที่เปลี่ยนไปส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
ครอบครัว 3 แบบที่คุณหมอชี้ให้เห็นภาพ : ครอบครัวใช้อำนาจในการเลี้ยงลูก ครอบครัวปล่อยปละละเลย และครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย พร้อมวิธีการเป็นครอบครัวที่ไร้ปัญหาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทำได้อย่างไร และใน EP ถัดไปฟัง 9 รูปแบบในการเลี้ยงลูกที่ทำให้เกิดปัญหา
ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
ครอบครัวไทยตอนนี้มี20ล้านครอบครัว ในจำนวนนี้มีประเด็นใหม่ๆเกิดขึ้น 2หมวดใหญ่ๆ คือ
โครงสร้างครอบครัวมีขนาดเล็กลง TFR (Total Fatality Rate) อัตราการมีลูกของเด็กในประเทศไทยตอนนี้ค่าเฉลี่ยที่ 1.4 เดิม 1.6 คือส่วนใหญ่มีลูก 1คน ซึ่งประเทศเสียเปรียบเพราะปิรามิดของประชากรเปลี่ยนแต่เดิมผู้สูงวัยน้อยฐานวัยแรงงานเยอะ คือ 10:1 (ทำงาน 10คน ผู้สูงอายุ 1คน) เมื่อ20ปีที่แล้วลดลงมาเหลือ 5:1 ปัจจุบันเหลือ 2:1 ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้นหมายถึงว่าประชากรวัยแรงงานจะต้องดูผู้สูงอายุ 1:1 ต้องทำงานและดูแลผู้สูงอายุด้วย ซึ่งถ้าเป็นสภาพนี้ผู้สูงอายุจะเยอะมากคือ ประชากร 10คนจะมีอย่างน้อย 3 คนที่อายุเกิน 60ปีและหนึ่งในสามนั้นมีหนึ่งคนที่อายุเกิน 65ปี และเริ่มมีคำใหม่คือ ชมรม DINK (Double Income No Kids)แต่งงานแต่ไม่มีลูก นี่คือโครงสร้างที่มีปัญหา ดังนั้นโครงสร้างใหม่คือSmall Family คือครอบครัวพ่อแม่ลูกชุมชนก็ไม่รู้จัก ไซซ์เล็ก ครอบครัวหย่าร้างซึ่งอัตราอยู่ระหว่าง 5-10% ก็จะมีพ่อเลี้ยงเดี่ยวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีครอบครัวแหว่งกลาง บางภาคตามหัวเมืองจะเห็นภาพที่ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน พ่อแม่ทำงานในเมือง
Unicef รายงานข้อมูลว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 18ปี สามล้านคนที่พ่อแม่มีชีวิตแต่ไม่ได้เลี้ยง ในจำนวนนี้ 500,000คนเป็นเด็กปฐมวัย ซึ่งเรารับรู้ว่าเด็กวัยนี้พ่อแม่ต้องเลี้ยงดู นี่คือโครงสร้างของครอบครัวที่มีปัญหา ซึ่งต้องยอมรับว่ามีปัญหาเดิมและมีปัญหามากขึ้น
และอีกประเด็นคือ Dysfunction คือการทำหน้าที่ของครอบครัวบกพร่องทั้งลบและบวกมีปัญหาทั้งนั้น หน้าที่ของครอบครัวคือให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข การมีความสุขคือการมีข้าวกินมีบ้านอยู่ เพราะฉะนั้นบทบาทของครอบครัวต้องดูแลร่วมกันเพื่อให้ได้ปัจจัยสี่ ขั้นพื้นฐาน และอีกปัจจัยคือ Psychological ทางด้านจิตใจ อารมณ์ เช่น สมาชิกเมื่ออยู่ในบ้านแล้วมีปฏิสัมพันธ์ มีความรู้สึกที่อบอุ่น ปลอดภัย Sense of security ถ้าเข้าบ้านแล้วมีทารุณกรรม แสดงว่าบ้านมีปัญหาหรือเข้ามาในบ้านไม่คุยกันเลย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างสังคมไม่เกี่ยวกับเรื่องหย่าร้าง แต่ฟังก์ชั่นมีปัญหานี่คือระดับทางจิตใจ
ส่วนด้านสังคมสมาชิกในครอบครัวต้องดูแลให้มีปฏิสัมพันธ์ทั้งในบ้าน นอกบ้าน ในชุมชนต้องรู้จักกัน เยี่ยมญาติพี่น้อง พบเพื่อนฝูง รู้จักการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม นี่คือลักษณะ Socialogical ถ้าดูง่ายเลยๆ Physical ปัจจัยขั้นพื้นฐาน Psychological ปัจจัยทางด้านจิตใจและอารมณ์และปัจจัยทางด้านสังคม ซึ่งถ้าบกพร่อง บ้านไม่มีให้อยู่ก็เดือดร้อนข้าวไม่มีกินนี่คือบกพร่อง แต่อีกฟากหนึ่งคือมีหลายบ้านหรืออีกบ้าน Ovefeed คือกินทิ้งกินขว้างทั้งลบและบวกจึงมีปัญหาเลยสุขภาพไม่ได้รับการดูแลก็มีปัญหา แต่ถ้าดู Over เกินไปก็มีปัญหาเหมือนกัน
มีทั้งหมด 9ประเภทแต่ก่อนที่จะไปตรงนั้นมีประเด็นที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูคือ ครอบครัวในประเทศไทยมีการเลี้ยงลูกคือ ใช้อำนาจในการเลี้ยงลูกพ่อแม่เป็นใหญ่เป็นกันเยอะ ไม่ได้เจตนาแต่ตัดสินใจแทนลูกทั้งหมด ทำบนฐานของความรักซึ่งมีเกิน50% ไม่ได้ทำสำรวจแต่ด้วยประสบการณ์เวลาที่เอาลูกมาปรึกษาหมอจับทางได้ว่าใช้อำนาจ คือจับทางจากประสบการณ์และความรู้ที่หมอมีมาร้อยเคสครึ่งหนึ่ง คือรักษาคนที่พามาและอีก 25% ตามไปซ่อมคนส่งมา บริวารของเด็กมีปัญหามากกว่าตัวเด็ก บางคนที่พามาได้ยาแทนคือพ่อแม่อาการหนักเกินเด็ก อำนาจมีไว้ให้กับพ่อแม่นั้นถูกต้องแต่มีไว้ให้ผ่อนลงเรื่อยๆ
ก่อนที่จะลงไปการเลี้ยงดูผิดประเภทหมออยากให้เข้าใจก่อนว่า ด้วยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กพ่อแม่จะต้องช่วยทำให้ลูกทุกคนอยู่รอดและปลอดภัย ได้รับการเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองและได้การรับการพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วม
เมื่อลูกเป็นทารกอำนาจจึงอยู่เต็มที่พ่อแม่ในการทำให้ลูกอยู่รอดปลอดภัย ต่อเมื่อพัฒนาการเติบโตและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตรงนี้อำนาจของพ่อแม่ต้องถอย คืออายุ 2ปีแรกพ่อแม่มีอำนาจเต็ม100% แต่พอหลัง2ขวบเริ่มเดินเองได้ นั่งเล่นกับเพื่อนแม้ไม่แบ่งปันแต่ก็นั่งเล่น ช่วยเหลือตัวเองได้อำนาจของพ่อแม่ต้องค่อยๆถอยลงมา เหลือประมาณ 80% แต่พอเข้าสามขวบพ่อแม่เอาลูกไปฝากที่อนุบาลระบบนิเวศน์เปลี่ยน อำนาจของพ่อแม่จะถอยลงมาเหลือ 60 -40% พออยู่ชั้นประถม เพื่อนครู รร. เป็นบ้านหลังที่สองอำนาจของพ่อแม่จะถอยลงไปเรื่อยๆแล้วจะเหลือแค่30%ตอนเข้าสู่วัยรุ่น
ถ้าเป็นวัยรุ่นตอนกลางและเป็นเด็กโตด้วยอำนาจพ่อแม่เหลืออยู่10% แล้วพอเข้ามหาวิทยาลัยพ่อแม่เป็นติ่งห้อยอยู่อยากมาปรึกษาก็มา ไม่อยากก็อย่าเข้าไปยุ่ง แต่ปัญหาของการใช้อำนาจครอบครัวบ้านเรากลับหัวหมดเลย ตอนเด็กใช้ทีวีเลี้ยงลูกใช้พี่เลี้ยงimportมาดูแลลูกเราไม่ได้ใช้อำนาจเต็มตรงนั้น แต่พอโตกลับลาออกแล้วมานั่งเฝ้าลูกแล้วไปรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวจึงทำให้เกิดปัญหาแล้วยิ่งไม่ผ่อนด้วย พ่อแม่มีปัญหากับลูกเร่งรัดกับลูกแล้วก็ไม่ดึงลูกเข้ามาแก้ปัญหาร่วมกัน ถามตัวเองว่าคุยกับลูกกับลูกวัยรุ่นรู้เรื่องไหม
ครอบครัวที่อยากได้ลูกเป็นคนดี จะเห็นว่าสังคมสมัยนี้พ่อแม่เริ่มมีฐานะก็กลายเป็นว่าอยากให้ลูกเป็นคนดีแต่ช่วยเลี้ยงลูกฉันให้เป็นคนดีนะคือการซื้อระบบนิเวศน์ลงทุนเต็มที่ รร.อินเตอร์จะแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย และความคาดหวังก็ตามมา ได้รร.ดีแล้วช่วยเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีหน่อยแต่ไม่ได้กลับมาดูว่าตัวเองกำลังทุ่มอะไรอยู่
ครอบครัวปล่อยปละละเลย บางบ้านไม่ได้ทำหน้าที่บทบาทพ่อแม่ซึ่งคาดหวังสูงมากแต่ใช้เงินซื้อหรือให้คนอื่นทุ่มเทซึ่งเริ่มมีเยอะขึ้นมาจากครอบครัวที่ปล่อยปละละเลย
ครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย สร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่อนุบาล ลูกทุกคนมีความหมาย ลูกมีศักดิ์และศรี ไม่เปรียบเทียบเวลาจะตั้งกฏเกณฑ์ก็มีการพูดคุยแบบนี้อยากให้มีเยอะขึ้น ซึ่งมีเยอะก็จะเป็นประโยชน์กับการเลี้ยงลูกสร้างครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย
1.รักอบอุ่นและไว้วางใจ ต้องไม่สำลักความรักหรือเยอะเกินไป รักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขพ่อแม่ที่รักกันอยู่ได้ต้องมองว่าตอนที่รักกันไม่ได้มีแต่เรื่องดีแต่เป็นการฝ่าฟันมาด้วยกัน รักต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่เจอแต่ความสุขทุกข์ไม่ได้
2.สื่อสารที่ดีต่อกัน สื่อสารพลังบวก สื่อสารดีบ้านป็นสุข
3.การจัดการควบคุมอารมณ์ตัวเอง เริ่มคุมอารมณ์ตัวพ่อแม่คุมสถานการณ์ได้ แต่การจะให้ลูกเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ลูกดูเราเป็นตัวอย่างที่ดีจะเรียนรู้วิธีการจากเรา ถ้าทำเป็นและมีศิลปะในการควบคุมอารมณ์เอาอยู่ในทุกสถานการณ์
4.มีวินัย วินัยเกิดขึ้นจากส่วนร่วมไม่ใช่พ่อแม่เป็นคนกำหนดกติกาและมีผลบังคับใช้ทุกคนยกเว้นตัวเอง
5.เด็กไม่ใช่ผ้าขาวอย่าเข้าใจผิด เด็กทุกคนเกิดมาล้วนมีความหมายหมอต้องการให้ปรับจูนทัศนคติในการเลี้ยงลูก พ่อแม่ต้องล้างทัศนคติไม่ได้เรียนเก่งแต่ชอบวาดรูป พ่อแม่ก็ต้องเข้าใจและอย่าเอาลูกไปวัดกับระบบการศึกษาแบบแพ้คัดออก อย่าเลี้ยงลูกแบบเปรียบเทียบ จะไม่มีปัญหาในการเลี้ยงลูก
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
ในขณะที่เกมสำหรับเด็กมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ คาสิโนออนไลน์เช่น sa88 ให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่ที่แสวงหาความบันเทิงและความตื่นเต้นของการพนัน