เรื่องใหม่ เรื่องใหญ่ ท้าทายพัฒนาการ ผลลัพธ์ของการอยู่ในร่ม น่ากลัวและต้องกังวลมากกว่าที่เราคิด
กระทบพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านใดบ้าง ชวนฟังก่อนกระทบพัฒนาการไปมากกว่าที่เป็น
โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
1.กระทบกับสุขภาพร่างกายของเด็ก
การอยู่ในอาคารตลอดเวลา อยู่ในแสงไฟประดิษฐ์ ฮอร์โมนไม่ได้ปรับตามปกติ เคยมีการทดลองการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย กลุ่มแรกอยู่ในห้องที่ไม่มีอะไร ห้องที่สองมีจอทีวีที่ฉายภาพธรรมชาติ ห้องที่สาม ไม่มีจอแต่มีหน้าต่างบานใหญ่ที่เห็นธรรมชาติ
เพราะการมองเห็นธรรมชาติไม่ใช่แค่ดู แต่ต้องได้กลิ่น ได้รับอุณหภูมิผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 มีผลต่อการฟื้นฟูผู้ป่วย เพราะเราออกแบบบ้านให้ได้เจอกับสภาพแวดล้อมบ้าง
2.การเรียนรู้
ในดิจิตอลกับการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้แบบองค์รวม เพราะเขาสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ ทำไมเด็กที่เรียนรู้ตามธรรมชาติถึงเรียนรู้ได้ดีกว่า เพราะว่ามองเห็นถึงความสัมพันธ์กันทั้งหมด แต่การเรียนรู้ผ่านดิจิตอล ผ่านสื่อ ผ่านใบงาน วิดีโอ เหล่านี้ก็เรียนรู้เข้าถึง เข้าใจได้แต่ไม่เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และเด็กขาดการเชื่อมโยง บูรณาการ
เพราะฉะนั้นเราก็มักจะบอกว่าเด็กที่เรียนแบบ outdoor จะเรียนรู้ได้รวดเร็ว เชื่อมโยง ปฏิภาณไหวพริบดี แตกต่างจากเด็กที่ใช้สื่อดิจิตอล “ LD Learning Disability ผลกระทบถ้าเป็นเด็กIndoor”
3.LD Learning Disability
เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว เด็กมีโอกาสที่จะเป็นได้ เพราะการเรียนจากสื่อดิจิตอลไม่ได้เรียนแบบองค์รวม ตัดมาเฉพาะคลิป ในเกม ออกแบบมาให้โดยไม่ต้องคิดเชื่อมโยง การเรียนรู้ในธรรมชาติเด็กต้องหาแสวงหาความเป็นไปได้ และเชื่อมโยงทางมิติสัมพัทธ์เอง
ต้นไม้ไม่บอกว่าโจทย์คืออะไร ก้อนหินไม่บอกว่าต้องตอบว่าอะไร เด็กต้องหาคำถามและคำตอบด้วยตัวเอง และความเชื่อมโยงสัมพันธ์เองทั้งหมด แต่เด็กที่อยู่ในห้องเรียน มีโจทย์ มีช้อยส์ มีวิธีการ มีเวลาที่บอกว่าต้องทำภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ซึ่งออกแบบมาให้แล้ว เรียนในเชิงวิชาการอาจจะเก่ง แต่ทักษะการใช้ชีวิตจะลำบาก เพราะว่าในธรรมชาติกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
เราถึงบอกว่าโอกาสมากหากขาดธรรมชาติ ใช้ชีวิตในร่มและใช้สื่อดิจิตอลมากเกินไป อาจจะเกิดผลกระทบสูงสุดคือเป็น LD และออทิสติกเทียม เกิดจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และการใช้สื่อดิจิตอล
จริงๆ อินดอร์เจนเป็นทั้งหลุมพรางและเป็นทั้งสิ่งที่เราสร้างมาเพื่อตอบสนองเรา อินดอร์ทำให้เราใช้สื่อมากขึ้น เวลาที่เราเห็นข่าวมีทั้งเรื่องที่ดี และแย่มากๆ ยิ่งไปดูข่าวดราม่า เวลาเด็กที่เสพสื่อที่มีความรุนแรง ความน่ากลัว การใช้กำลัง การทำร้าย
ทำให้เกิดอีกโรคคือ Mean World Sysdrome เด็กเห็นข่าว เห็นสื่อต่างๆ ว่ามีแต่ความน่ากลัว ทำให้เด็กหวาดระแวง ไม่กล้าออกไปใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริง โลกข้างนอกน่ากลัว ยิ่งใช้สื่อมากก็ยิ่งหวาดกลัวมาก ทำให้เด็กจะเกิดอุบัติเหตุ อันตราย ความรุนแรงที่ไม่ปลอดภัย ที่เกิดขึ้นในสื่อจะเกิดขึ้นกับตัวเอง
จึงทำให้เรายิ่งอยู่ในร่มมากไปอีกเพราะเราใช้สื่อมากเกินไป ความหวาดกลัวนี้แหล่ะทำให้เรามีความเข้าใจผิดกับโลกข้างนอกมากขึ้น เกิดเป็นภาวะซึมเศร้า หวาดกลัว ไม่ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และอย่าลืมว่าเด็กปฐมวัยคือการเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u