วิธีคิด วิธีการเลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา จะทำให้เราก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากของการเลี้ยงลูกในแต่ละช่วงวัยไปได้ เลี้ยงแบบไหนที่นักจิตวิทยาแนะนำ ฟังวิธีการเลี้ยงลูกโดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า
จริงๆ ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตลูกตัวเอง ถ้าตอนนี้เรามีลูก 4 ขวบแล้วจะเห็นว่า 1 ขวบแบบหนึ่ง 2 ขวบแบบหนึ่ง 3 ขวบแบบหนึ่ง 4 ขวบแบบหนึ่งอัพเลเวลความยากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นความรู้พื้นฐานเลย
1.พ่อแม่ต้องรู้ก่อนว่าโดยธรรมชาติของเด็กนั้นเป็นอย่างไร
ถ้าเราไม่รู้เหมือนเราปลูกต้นไม้ถ้าเราไม่รู้ว่าต้นไม้ต้นนี้ชอบน้ำ ต้นไม้ต้นนี้ต้องให้ปุ๋ยอย่างไร ต้นไม้นี้จะไม่เติบโต เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ว่าธรรมชาติของเด็กคือมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเคลื่อนที่จิตใจ นิสัย และร่างกายอยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น 1 ขวบไป 2 ขวบ มีการเปลี่ยนตลอด ต้องยอมรับข้อนี้ถ้าลูกเปลี่ยนวิธีการก็ต้องเปลี่ยน ถ้าวิธีการยังเหมือนเดิมยัน 15 ไม่เวิร์คแล้ว เหมือนอากาศเปลี่ยน ร้อน หนาว เย็น ต้องหาเครื่องมือที่จะมารับสิ่งนี้ให้ได้
2.ความต้องการของลูกสิ่งนี้ไม่เคยเปลี่ยน
ความต้องการของลูกที่ไม่เคยเปลี่ยนคือเขาต้องการความรักต้องการความอบอุ่น ต้องการการยอมรับจากเราซึ่งไม่เคยเปลี่ยน 15 ปีก็ไม่เคยเปลี่ยน ยกเว้นเราทำให้รู้สึกว่าเขาถูกเราปฏิเสธ เขาจะเปลี่ยนเลย เขาจะหันมาปฏิเสธเราเพราะเขาเจ็บปวด
สมมติเราสนใจเขาไม่มากพอ หรือเลือกที่จะสนใจอย่างอื่นเขาจะจำเอาไว้พอถึงช่วงเวลาหนึ่งที่เขามีทางออก เช่น เมื่อเราเริ่มให้จอ ให้มือถือเขา เขาจะเลือกปฏิเสธเราทันทีแล้วเขาก็จะไปยึดติดกับสิ่งนั้น เราเด็กสมัยนี้ก็เรียกมันว่าเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแทนที่จะเป็นพ่อแม่ เพราะปล่อยให้เขาอยู่กับอะไรเขาก็จะเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นข้อที่ 2 ลูกไม่เคยเปลี่ยนความต้องการเลยไม่ว่าจะ 1 ขวบ จนถึง 15 ขวบ สิ่งที่เขาต้องการคือความรักความสนใจการยอมรับจากเรา ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าเขายอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้คำชม ให้เรารู้สึกพอใจ หมุนวนรอบเราตรงนี้คือโอกาสในการที่เราจะสอนจะพัฒนาเขา
แต่เรามักจะไม่ใช้โอกาสคือคนส่วนใหญ่จะชอบใช่ชีวิตให้จบไปวัน 1 วันจบก็แฮปปี้แล้วเราขาดการวางแผนในอนาคต ถ้าเรารู้ว่าเขาต้องการความรักความสนใจเพราะฉะนั้นเราใช้จุดนี้พัฒนาเขาได้เราคือศูนย์กลางของความรู้สึกของเขา เราสามารถให้คุณให้โทษกับความรู้สึกเขาได้เราไปสร้างสิ่งที่ดีในตัวเขาด้วยข้อ Condition อันนี้เราก็จะสามารถทำให้เขาจากปิศาจร้ายมาเป็นนางฟ้า
เป็นโอกาสที่ดีเราเป็นเหมือน Reward ของเขา จริงๆ ลูกเขารักเรามากนะ รักพ่อแม่มากที่สุดหัวใจ กลับมามองตัวเอง จริงๆ เราบอกว่าเรารักลูกสุดหัวใจแต่พองานมาเราก็เอางานก่อน ธุระมาเอาธุระก่อน มันสุดหัวใจตรงไหน มันไม่สุดหัวใจขนาดเขาในขณะที่เขารู้สึกว่าเราสุดหัวใจมาก เพราะฉะนั้นเรามี Condition เยอะแยะเลยรอบตัวเรา เราทำแบบที่เขารักเราแบบนั้นไม่ได้ ในเมื่อเขามองแต่เราเหมือนสายตาเขาหัวใจเขามันปักอยู่ที่เรา เราก็ใช้มันให้เป็นประโยชน์
3.พ่อแม่ต้องรู้พัฒนาการ
ที่บอกว่าเด็กเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเราต้องรู้การเปลี่ยนแปลงอันนั้นเพื่อทำความเข้าใจและใช้มันให้ถูก ในช่วงเวลาขวบปีแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้อะไรบ้างในเชิงจิตวิทยา ใครที่กำลังจะมี ใครที่กำลังจะตั้งท้อง หรือใครกำลังมีลูก 6 เดือน มีประโยชน์มาก
ขวบปีแรกสิ่งที่เด็กต้องการคือการตอบสนองในเรื่องของกินอยู่หลับนอนให้ดี ดีหมายความว่าต้องการแล้วต้องได้และต้องได้เดี่ยวนั้นทันทีอย่ารออย่าปล่อยให้ร้อง คุณปล่อยให้เขารอปล่อยให้เขาร้องเขาจะยิ่งไม่มั่นใจในตัวคุณ
เขาจะรู้สึกว่าเราพึ่งพาได้เหรอเราร้องตั้งนานเขายังไม่ถึงตัวเราเลย ไม่มั่นคงปลอดภัย 1 ขวบปีแรกตอบสนองให้ดีร้องปุ๊บพยายามทำความเข้าใจอย่างน้อยตัวเราไปถึงเขาก่อนพูดคุยกับเขาสัมผัสเขาให้เขารู้สึกมาแล้วนะลูก แต่แม่ก็พยายามคาดเดาแม่ก็ไม่รู้แต่ความพยายามอันนี้ลูกจะรู้
เพราะฉะนั้นอย่าพึ่งตกใจ บางคนพึ่งท้องแรกก็ไม่เข้าใจว่าร้องต้องการอะไรก็เดาไปเรื่อยแต่จริงๆ เสียงของเด็กก็มีเลเวลของเขาอยู่เราเลี้ยงกันมาเราจะรู้ว่านี่คือเปียก นี่คือหิว นี่คือหนาว อันนี้อยากให้กอดอยากให้อุ้มช่วงขวบปีแรกคือช่วงสปอยทำเลยโอบอุ้มอยากจะสปอยอยากจะเป็นทาสทำเลยทำเต็มที่
ทีนี้หลังจากขวบปีแรกแบ่งเป็น 2 ขวบไปถึง 3 ขวบ ช่วงนี้เด็กจะใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่การเป็นศูนย์กลางอันนี้ไม่ใช่เรื่องที่เขาพยายามเป็นแต่มันเป็นโดยธรรมชาติ ธรรมชาติบอกว่าเขาต้องเสพทุกอย่างเพื่อเขาจะได้เติบโตและอยู่รอด ถ้าลูกเอาแต่ใจอย่าไปรู้สึกว่าทำไมลูกเอาแต่ใจ
ทำไม tantrum ทำไมไม่มีเหตุผล มันไม่มีคือมันไม่มีอย่าพยายามไปสร้างเหตุผลตอนนี้เพราะตอนนี้จะเป็นช่วงที่จะเสพทุกอย่างเข้ามาให้ฉันมั่นใจว่าฉันจะรอด ในขวบปีนี้ 2 ขวบไปจนถึง 3 ขวบ
การร้องตอนนี้เป็นการพยายามจัดการเราแล้วเกิดการควบคุมเรา ตอนนี้ปล่อยให้ร้องได้เราต้องปล่อยให้เขาปรับตัว เวลาที่เขาร้องในช่วงนี้ถ้าเราตอบสนองทันทีเขาจะเรียนรู้ว่าเขาร้ายกับเราได้ เอาแต่ใจได้ใช้อารมณ์ได้เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็จะอยู่ต่อ แต่ถ้าเรารู้สึกว่าจริงๆ เราทำมาดีแล้วใน 1 ขวบปีแรกช่วง 2 ขวบ 3 ขวบ ตอนนี้เราต้องให้เขาปรับตัวเข้ามาสู่การพูดการสื่อสารการรอคอยการบอกความต้องการเพราะฉะนั้นต้องปล่อยให้ร้องนี่คือเทคนิค
พ่อแม่บางคนทำสลับหมดเลยตอนเล็กๆ ปล่อยให้ร้องพอตอนนี้ประคบประหงมเอาใจ แล้วก็ต้องปล่อยให้เขาเรียนรู้บางครั้ง 2-3 ขวบ เรารู้สึกว่าเดินก็ยังไม่แข็งแรง วิ่งก็ยังไม่ดีเราไม่ค่อยจะปล่อยแต่อยากให้ปล่อย
ธรรมชาติสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่มาเพื่อเคลื่อนที่เข้าไปหาสิ่งที่เรียนรู้ สร้างนิ้วมาเพื่อไปหยิบสิ่งของต่างๆ เข้ามาหาเราเพื่อเราจะต้องเรียนรู้มัน เพราะฉะนั้นต้องปล่อยให้ลูกได้ใช้ฟังก์ชั่นนี้ ปล่อยให้ลูกปรับตัว ปล่อยให้ลูกเรียนรู้ ปล่อยให้ลูกรอคอยทำให้ลูกเข้าใจอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น
โดยการที่เขาอารมณ์ไม่ดีร้องให้ก็อยู่กับเขาตรงนั้นเป็นแบบอย่างให้เห็นว่าร้องก็ไม่ได้ช่วยอะไร ร้องพ่อแม่ก็จะรออย่างสงบ วิธีการคือรออย่างสงบไม่ต้องตอบสนองอะไรทั้งสิ้นจนเขาหยุดเราก็จะออกประโยคคำสั่งสักประโยคหนึ่ง เช่น ขอมือหน่อย Hi5 หน่อย แล้วก็ชมเขาก็จะเรียนรู้ว่าถ้าเขาทำตามคำสั่งพ่อแม่เขาจะได้รับการยอมรับนี่คือความต้องการของเขาเลย
ทีนี้หลังจาก 3 ขวบไปจนถึง 5 ขวบ 7 ขวบ ช่วงนี้เริ่มเติบโตขึ้นสื่อสารได้เป็นประโยค มีเหตุผล เริ่มใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลงแต่สิ่งที่ต้องการคือความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่เหมือนเดิม ปัญหาคือ พ่อแม่ชอบคาดหวังกับเขาเพราะรู้สึกว่าโตแล้ว ลูกพูดมาเยอะตอบมาเยอะประเด็นคือเราพูดเยอะสอนเยอะผิดเวลา เราไปพูดเยอะสอนเยอะตั้งแต่ขวบปีแรก 2 ขวบ 3 ขวบ ไม่พูดในขณะที่เขายังฟังไม่เป็นประโยค 2 ขวบ 3 ขวบ ฟังได้เป็นประโยคสั้นๆ 3 ขวบ เริ่มเข้าใจเหตุผลนิดหน่อย
จะเข้าใจเหตุผลจริงๆ ประมาณ 5 ขวบ 4 ขวบ ยังเป็นเหตุผลของตัวเองอยู่เลย เพราะฉะนั้นการพูดด้วยเหตุผลกับเขาเราต้องรู้ด้วยว่าข้อจำกัดของเขาคืออะไรแต่เราพยายามใช้แต่เราอย่าไปถามหาเหตุผลจากเขา เราทำให้เขาเห็นทำให้เขาเรียนแบบเพื่อให้เขาชินกับการใช้เหตุผล แต่อย่าไปคาดคั้น ไหนบอกเหตุผลแม่มาสิ เขายังไม่เข้าใจ
เพราะฉะนั้นในช่วงนี้สอนด้วยเหตุผลได้ แล้วก็เรียนรู้เรื่องอารมณ์มากขึ้น เช่น การรู้จักอารมณ์ของเขาว่าตอนนี้เขากำลังรู้สึกอะไรอยู่ บางครั้งเขาร้องไห้เราก็ต้องบอกเขาว่าหนูร้องไห้เพราะอะไร เพราะหนูเสียใจ รู้สึกน้อยใจ มันมีความละเอียดของอารมณ์อีก
ถ้าสมมติว่าเรารู้เราก็บอกเขาไปว่าหนูน้อยใจ หนูเสียใจ หนูรู้สึกอย่างไรเราบอกเขา หรือเราจะให้ช้อยส์เขาเลือกก็ได้เราต้องรู้ก่อนว่า
1.อารมณ์นั้นคืออะไร 2. อะไรทำให้เกิดอารมณ์นั้น เช่น หนูน้อยใจคุณพ่อไม่เล่นด้วย หลังจากนั้นเมื่อเกิดอารมณ์นั้นแล้วหนูจะควบคุมอารมณ์นั้นไว้กับตัว ควบคุมอารมณ์นั้นได้อย่างไรเป็นสิ่งที่ต้องสอน เพราะเอาจริงๆ ผู้ใหญ่บางครั้งก็ไม่มีเวลาเราขับรถใครปาดหน้าเราก็โกรธแล้วเราก็ไม่ทันว่าเราโกรธขับรถจี้เลย บีบแตรเลย
เพราะฉะนั้นเราอย่าไปคาดหวังกับลูกว่าเราอยากให้ลูกโตแบบเรา มันไม่ได้เพราะเราเอาตัวเราไปเทียบเราลืมไปว่าถ้าจริงเรา 4 ขวบไปเทียบกับเขาเราก็ห่างไกลกับเขา เขาเก่งกว่าเราเยอะ ชิพสมองก็ดีกว่าเราทุกอย่างสังคมพร้อมกว่าเราเยอะ
เราก็บอกเขาเลยโกรธ น้อยใจ พ่อไม่เล่นด้วยก็เลยน้อยใจมาค่ะเรามาจัดการอยู่กับมันกัน เราก็นับ 1-10 ลูกรู้สึกอย่างไรบ้างดีขึ้นหรือยัง ถ้ายังไม่ได้แม่นับต่อนะ คือไม่ต้องไปสนใจไม่ต้องไปหมกมุ่นไปกับอารมณ์ เปลี่ยนโฟกัสตั้งสติ
เหมือนเอาอารมณ์มาวางบนมือ ทุกข์ ไม่มีความสุข อยู่กับมันซิแล้วพออยู่กับมัน ทุกข์ ไม่มีความสุข วางไหม วาง หยุดไหม หยุด ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็จะพาไปถึงการจัดการกับอารมณ์แต่สำหรับเด็กก็คงจัดการกับอารมณ์ยากเพราะผู้ใหญ่เองบางคนก็จัดการยากมาก
ถ้าเป็นเด็กแล้วเราอยากให้เขาจัดการ จัดการได้ระดับหนึ่ง เช่น หนูน้อยใจที่คุณพ่อไม่เล่นด้วย หนูรู้สึกแย่หนูอยู่กับมันพออารมณ์แล้ว ทำอย่างไรคุณพ่อจะเล่นด้วยนี่คือการแก้ปัญหา ไปที่ปัญหานั้นแล้วจัดการที่ปัญหานั้นแล้วให้เขาบอกว่าเขาจะทำอะไรได้บ้างก็แชร์กับลูก เช่น ถ้าเป็นแม่แม่จะ…. แล้วก็เลือกเวลาส่งให้ลูกเลือกถ้าลูกเลือกไปทางสิ่งที่เราไม่อยากได้เราก็ต้องมีวิธีการ
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านไปไม่ถูกเลือกสิ่งที่ไม่ดีเลย สมมติเพื่อนตี ตีเพื่อนกลับ ถ้าแบบนี้ให้สอนต่อว่าผลที่ได้คืออะไรบ้าง ผลดี ผลเสีย และถ้าทำวิธีที่คุณแม่แนะนำผลที่ได้คืออะไร ผลเสียคืออะไร
เพราะฉะนั้นทำอะไรดี ถ้าสมมติเขาบอกว่าไม่เขาจะเลือกวิธีที่หนูทำ หนูพูด หนูคิด ก็ปล่อยแล้วหนูรับมือกับมันได้นะ ถ้าเพื่อนโกรธหนูไม่คบกับหนู ถ้าเพื่อนเกลียดหนูกลับหนูทนได้นะ คุณครูดุหนูๆ โอเคนะหนูต้องรับผิดชอบกับมันนะ นี่คือการสอนถ้าสอนอย่างนี้ได้ก็ปล่อยบินเลย กลับมากระเซอะกระเซิงเพื่อนจิกตบกลับมาก็ค่อยมาบอกที่เราคุยกัน กับนี่ไงที่แม่บอกแล้ว ไม่เหมือนกันนะ นี่ไงแม่บอกแล้ว คือการซ้ำเติม ที่เราคุยกันคือสิ่งที่เราได้ Discuss กันแล้ว ได้คุยกันแล้วเรารู้แล้ว นี่คือการจัดการในอายุ 3-7 ขวบ
ความคาดหวังจะสูงมากในช่วงอายุนี้ ตัวเขายืดขึ้นเขาไม่ใช่เด็กเบบี๋เดินกระเซาะกระแซะแล้วเราจะคาดหวังเขาในช่วงนี้สูง เราอยากให้เขารับผิดชอบตัวเอง เราอยากให้เขาทำสิ่งที่ดี เราอยากให้เขาเรียนดีๆ เราอยากให้เขาตั้งใจ แต่เราไม่เคยสอน How To เวลาเราสอนลูกเราเอาความหวังไปไว้กับอะไรไม่รู้ที่เขาไม่มี Way
เราต้องให้ Way กับลูก เราอยากให้เขารับผิดชอบอะไรที่เป็นไปได้บ้างไม่ใช่เกินตัวเขา อาจจะเริ่มง่ายๆ ก่อนในตัวเองที่ต้องรับผิดชอบแล้วพ่อแม่หลายๆ คนชอบให้รางวัลลูก เวลาที่ลูกต้องรับผิดชอบตัวเองนี่ก็ตลกอีกเหมือนจ้างให้คนหายใจ อะไรที่เป็นพื้นฐานชีวิตคุณต้องทำคือต้องทำ
พ่อแม่ก็ไม่เคยจ้างเราให้มีชีวิตอยู่เพราะจ้างอย่างนั้นก็กลายเป็นว่าคุณทำให้เด็กไม่มี Passion ในการมีชีวิตอยู่ แต่มี Passion ในการหาเงิน วันๆ หนึ่งคุณแม่อาบน้ำแล้วขอเงินหน่อย มี Passion ในการหาเงินไม่ได้มี Passion ในการมีชีวิตอยู่ แล้วต่อไปใครจะจ้างเขาให้อาบน้ำกินข้าว ซักผ้า ที่จะต้องดูแลตัวเอง
ฉะนั้นอย่าจ้างลูกให้มีชีวิตอยู่แต่จงสอนลูกว่าการมีชีวิตอยู่ต้องมีเครื่องมืออะไรบ้าง อย่างน้อยเขาต้องช่วยตัวเองได้ การที่จะสอนลูกให้มีความรับผิดชอบเริ่มจากรับผิดชอบตัวเอง สิ่งง่ายๆ ที่ตัวเองต้องทำ อาบน้ำกินข้าว แปรงฟัน
ส่วนการรับผิดในเรื่องการเก็บที่นอน เสื้อผ้าก็ทำตามลำดับค่อยๆ สอนไป เริ่มจากเก็บเสื้อผ้าใส่ตะกร้าก่อน เมื่อได้สมบูรณ์แล้วก็ย้ายจากตะกร้าไปสอนซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ซักผ้าเสร็จเอาผ้าออกมาต้องทำอะไรต่อสอนได้เลย เด็กบางคนชอบด้วย จริงๆ เด็ก 3 ขวบ ชอบมากพอ 4 ขวบจะขี้เกียจสุดเมื่อทำได้แล้วก็จะเลิก แต่ก็ต้องสร้างแรงจูงใจให้อยู่ต่อได้ไม่ต้องจ้าง
แรงจูงใจที่ดีที่สุดก็คือข้อที่ 2 พูดไปตั้งแต่ต้น คือ การถูกรัก ถูกยอมรับจากพ่อแม่ ถูกสนใจจากพ่อแม่ ถ้าเขาทำแล้วเราเฉยๆ เหมือนเขาไม่ได้รางวัล ถ้าเขาทำแล้วเราชมเขาจะรู้สึกชื่นใจมีกำลังใจที่จะทำมันให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
อย่าคิดว่าเป็นกิจวัตรของเขา มันง่ายมากแค่ชมแค่กอดเวลาลูกทำสิ่งดีๆ เพื่อให้เขามีกำลังใจจะทำสิ่งนั้นได้ต่อ เพราะฉะนั้นจากรับผิดชอบตัวเองจาก 3-7 ขวบ เริ่มโตแล้วต้องรับผิดชอบคนอื่นด้วย
งานบ้านต้องมี 4 ขวบ อาจจะเอาเสื้อผ้าของคุณพ่อมาไว้ที่เครื่องซักผ้า เอาน้ำมาให้คุณพ่อคุณแม่เวลากลับจากที่ทำงาน ต้องสอนนะบางบ้านบอกว่าสิ่งนี้ไม่ต้องมันจะเกิดขึ้นเอง มันจะเกิดได้อย่างไรเมื่อไม่เคยเห็น มันจะเกิดได้ถ้าเคยเห็น เช่น เวลาพ่อกลับบ้านแม่เอาน้ำให้พ่อกิน เพราะฉะนั้นเราจะสอน เราจะทำให้ลูกดู ทำให้ลูกเห็นทำเป็นตัวอย่างให้ดู พ่อกลับบ้านเอารองเท้าไปเก็บใส่ตู้ให้พ่อ
การมีน้ำใจแบบนี้เป็นการปลูกฝังความรับผิดชอบ ความเอื้อเฟื้อ เขาเรียกว่าต่อยอดสายสัมพันธ์ คนที่บอกอยากให้ลูกกตัญญู คุณไม่เคยทำให้ลูกรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบคนในบ้านความกตัญญูไม่เกิด
คุณทำให้เขารู้สึกว่าคุณเป็นสิ่งที่ต้องเลี้ยงเขาไปจนโตแล้วเขาจะกตัญญูกับอะไร เขาไม่รู้สึกเป็นบุญคุณด้วย เขาจะรู้สึกว่าก็อยากมีก็รับผิดชอบไปสิ เพราะฉะนั้นต้องปรับวิธีการแต่ไม่ใช่การทวงบุญคุณกับลูก แต่ถ้าราสอนลูกเหมือนพวกเรา เราต้องดูแลพ่อแม่ด้วยสิ่งที่พ่อแม่ทำให้เราต้องดูแล เราต้องแคร์พ่อแม่ด้วยสิ่งที่พ่อแม่ทำให้เห็นว่าเขาเหนื่อยเราอยากถูกยอมรับเหมือนกันแต่เราเลือกทำอีกแบบหนึ่งเราเลือกทำตัวเองให้ดีเรียนหนังสือให้ได้ประสบความสำเร็จเพื่อให้เขาชื่นใจ
แต่เด็กสมัยนี้คุณต้องยอมรับว่าจุดที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของลูกมีเยอะโดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย แทนที่ลูกจะโฟกัส พวกเราโฟกัสง่ายตอนสมัยเราเด็กๆ เราไม่ค่อยมีอะไรให้ทำมากเราก็เรียนหนังสือกลับบ้านเพื่อนก็อยู่ที่โรงเรียน หรือเพื่อนข้างบ้าน แต่เด็กสมัยนี้อยู่มือถือแผ่นเดียวมีทุกอย่างจะไปอเมริกา อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ หรือจะเล่นเกม เขาไม่เคยโฟกัสคือโฟกัสเขาเสีย
เรากำลังยื่นสิ่งที่ทำให้เขาหลุดโฟกัสไปได้ง่าย เพราะจริงๆ มนุษย์สามารถโฟกัสสิ่งสำคัญได้ครั้งละ 1 โฟกัสเท่านั้น เช่น ถ้าเรามีกล้องอยู่สัก 2 ตัว เรามองกล้อง 2 ตัวพร้อมกันไม่ได้ เราจำเป็นจะต้องมองกล้อง 1 ตัว ในเมื่อลูกสามารถหลุดโฟกัสได้ง่ายด้วยเทคโนโลยีต่างๆ คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องเป็นผู้ช่วยที่จะลดโฟกัสที่มากมายให้เขามีโฟกัสแค่โฟกัสเดียวก่อน
ล่าสุดมีเด็กเข้ามาแล้วเขาเล่นเกม เล่นมาแค่ 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ให้เล่นวันละ 1 ชั่วโมง แต่ผลกระทบคือเด็กเริ่มไม่สนใจการเรียนเลยไม่โฟกัสการเรียน ข้อสอบมาครูกำลังให้ทำข้อสอบยังไม่โพสต์ขึ้นมาเขาทำครบ 10 ข้อไปแล้วตอบคำถามตั้งแต่ยังไม่มีคำถาม
เขาทำทุกอย่างให้มันผ่านพ้นชีวิตเขาไปเพื่อให้เขามี 1 ชั่วโมงที่เขามีความสุขและรอคอยนั่นคือการเล่นเกม นั่นคือเขาไม่มีโฟกัสอยู่กับชีวิต 23 ชั่วโมง เขาไปโฟกัส 1 ชั่วโมงนั้น เขาก็หลุดโฟกัสจากสิ่งที่เขาต้องทำ
เด็กน่ารักมากเขาเดินเข้ามาในห้อง คือคุณพ่อคุณแม่คงคุยกับเขาว่าให้คุยกับคุณหมอสิว่าคุณหมอว่าอย่างไรเรื่องเล่นเกม เขาเข้ามาเขาก็ถามว่าหนูจะสามารถเล่นเกมได้วันละกี่ชั่วโมงคะ เราเลยถามเขากลับไปว่าทำไมหนูต้องเรียนหนังสือคะ เขาก็บอกหนูจะได้มีงานดีๆ ทำแล้วหนูก็จะได้มีชีวิตที่ดีๆ
เลยบอกว่าหนูก็ไปเล่นเกมตอนนั้นไง จะเล่น 24 ชั่วโมงก็ได้ เขาก็บอกว่าถ้าหนูทำงานแล้วหนูก็ไม่ควรเล่นเกมไงคะ หนูก็ต้องทำงานสิคะ เลยบอกว่า ใช่ค่ะ ตอนนี้หนูเป็นนักเรียนหนูก็ต้องเรียนสิคะ ไม่ใช่เล่นเกมเพราะฉะนั้นเล่นเกมไม่ได้เลยค่ะ
เคสนี้เราทำ IQ Test เราเจอว่า 1. สมาธิไม่ดี เหมอลอยง่าย 30 นาที ไม่มี Consent แล้วก็ทำอะไรชุ่ยๆ อยากเสร็จเร็วๆ อยากให้มันผ่านๆ ไป จริงเป็นคนฉลาดเป็นคนที่เก่งมาก่อน เป็นคนตั้งใจเรียน พูดเก่ง แต่ตอนนี้ลักษณะลอย ทำไมต้องถามหนูละคะ ไม่รู้หรอคะถึงมาถามหนู หนูก็ไม่รู้เหมือนกัน ให้มันผ่านๆ ไปทำอะไรให้มันพ้นไปเพื่อจะมี 1 ชั่วโมงดีๆ เท่านั้นเอง ฉะนั้นเวลานี้คุณพ่อต้องรู้แล้วว่าเรากำลังอยู่กับอะไร
เด็กในช่วงนี้ต้องการการควบคุมเยอะ เพราะเขายังขาดการยับยั้งชั่งใจคอนโทรลตัวเองได้ไม่ดี เราอาจจะยังต้องพูดเรื่องเดิม สอนเรื่องเดิมแต่ไม่ได้บ่น การบ่น การสอน ไม่เหมือนกันถ้าตามหลักจิตวิทยาเราอยากให้สอนด้วยการใช้เหตุผล
เวลาเราใช้เหตุผลแล้วใครที่ไม่ฟัง คนที่ไม่ฟังเขาจะรู้ตัวเองว่าเป็นคนไม่มีเหตุผล แต่เวลาที่เราบ่นแล้วใครไม่ฟังไม่เหมือนกันเวลาที่เราพูดบ่นๆ ไปเรื่อยๆ ไม่มีเหตุผลเลย เขาจะรู้สึกว่าเราผิดเพราะเราไม่มีเหตุผลมันต่างกัน
ช่วงที่ต้องควบคุมดูแลใกล้ชิด คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านบอกว่าไว้ใจให้เลยมือถือ รู้อีกทีลูกมีแฟน 7 คน เครียดเลย เกิดเหตุนี้ อย่าคิดว่ามันไม่เกิด อย่าคิดว่าไม่เป็นไร ลูกเราไม่เป็นแบบนั้นหรอก แต่ทุกอย่างเข้ามาเร็ว บอกแล้วว่ามันกว้างและเร็วและ Impact มาก และสิ่งที่เรารู้สึกกังวลก็คือเมื่อมือถือมันเข้ามาเร็วใน
ช่วงนี้ 3-7 ขวบ เป็นช่วงที่ยังไม่มีเหตุผลแล้วก็ยังเป็นช่วงที่ยังไม่แข็งแรงเป็นช่วงที่รับกับ Negative Emotional ยาก โพสต์ไปไม่มีใครกดไลค์รู้สึกแย่ โพสต์ไปมีคอมเม้นท์ไม่ดีแคร์ สิ่งที่จะตามมาคือปัญหาเรื่องของอารมณ์ รู้สึกเศร้าทำไมเราไม่ถูกยอมรับ ทำไมเขาไม่ชอบเรา ซึ่งเราเป็นผู้ใหญ่เรารู้ว่าเขาไม่ยอมรับเราก็ไม่แปลก เขาไม่ชอบเราก็ไม่แปลก แต่เด็กไม่ได้เพราะความรู้สึกเขาคือต้องการการยอมรับอย่างมาก ปกป้องลูกให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้
ถ้าเราพูดถึง Self Esteem ก็จะต่างกับ Self Confident ไม่เหมือนกันเลย Self Confident เป็นแค่จุดเล็กๆ ของ Self Esteem เพราะ Self Esteem มันหมายความว่าเขามีความเข็มแข็งทางจิตใจ รักตัวเองเป็น รู้จักตัวเองทั้งข้อดีข้อเสียรับกับข้อเสียของตัวเองได้แล้วรู้จักขายข้อดีของตัวเอง
ถึงฉันจะเตี้ยแต่ฉันก็ฉลาด รู้จักที่จะ Defend ให้ตัวเอง เวลาใครว่าอะไรรับมือกับสิ่งที่ว่าได้คอมเม้นท์ได้ แล้วรู้จักรักษาขอบเขตของตัวเองไม่ไปล้ำเส้นคนอื่น และไม่ปล่อยให้คนอื่นมาล้ำเส้นตัวเองปกป้องตัวเองได้ ซึ่งสิ่งนี้ผู้ใหญ่บางคนก็ไม่ดี ถ้าพูดถึง Self Esteem ก็จะยาวมากมีลักษณะของ Self เล็ก คือ ใครว่าอะไรก็รู้สึก Sensitive ไม่มั่นใจรู้สึกว่าเราไม่มีคุณค่า เรามันบังเอิญ ที่อยู่ได้ ประสบความสำเร็จทุกวันนี้เพราะบังเอิญ
ส่วนคน Self บวม คือ Over มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นแต่รู้สึกอย่างนั้น เช่น ฉันสวย ฉันเก่ง แต่จริงๆ ไมได้เก่งขนาดนั้นแต่รู้สึก Proud to Present / Proud to be แล้วทำให้ตัวเองลืมไปว่าจริงลึกๆ เรา Self เล็กกว่าคน Self เล็กอีก เพราะฉะนั้น Self ที่ดีคือ Self ที่พอดีตัวรู้จุดอ่อน จุดแข็ง จุดไม่ดี ยอมรับจุดไม่ดีได้ ไม่ใช่ไม่เห็นจุดไม่ดีของตัวเอง คน Self บวม
คือคนที่ไม่เห็นจุดไม่ดีของตัวเองแล้วพยายามหลอกตัวเองว่าฉันดีพอ ส่องกระจกแล้วบอกว่าฉันดี ฉันเก่ง ฉันสวย ฉันทำได้ ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น ความจริงเป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้
ฉะนั้นพ่อแม่ต้องมีสิ่งนี้ก่อน ถึงจะพัฒนา Self Esteem ให้ลูกได้ ต้องเช็กตัวเองก่อนเราเซไหม เราโดนคอมเม้นท์ เราเซไหมเราไม่มีใครกดไลค์ เราเซไหมเวลาใครบอกว่าเราเป็นแบบนู้น แบบนี้ ทั้งที่เราเป็นหรือไม่เป็น
ถ้าคุณไม่เซแล้วเคารพตัวเองเป็น รักตัวเองเป็น รักคนอื่นได้แบบที่ดี ไม่ไปหมุนวนรอบคนอื่น ไม่แคร์การตอบสนองคนอื่น แปลว่าคุณแข็งแรงมากพอที่จะสอนลูก ช่วงนี้ก็เป็นช่วงดีที่จะสอน ตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไปเขาเริ่มมีภาษาที่ดีขึ้นและบางครั้งเองเราก็เป็นตัวถ่วง Self Esteem ของลูกด้วยคำติ คำชม คำแซว การหยอก การว่า ก็เหมือนเราบูลลี่ลูกเราทุกวัน พ่อแม่ยังรังแกเขา แล้วเขาจะปกป้องตัวเองได้อย่างไรเพราะเราเป็นพ่อแม่เขาก็ไม่กล้าจะปกป้องตัวเอง นั่นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้ด้วยว่าเรามีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ลูกมีความเข้มแข็งในตัวเอง
ฉะนั้นในช่วงนี้เน้นไปเลยว่าทำอะไรทำได้ทำให้เต็มที่ เป็นช่วงทองของการเรียนรู้ เพราะถ้าเมื่อไหร่ก็ตามไป 8- 10 ปี เข้าสู่กระบวนการวัยรุ่นตอนนั้นถ้าความสัมพันธ์ของคุณไม่ดีคุณอย่าหวังว่าจะจัดการลูกได้ เพราะลูกจะเริ่มรู้แล้วว่าการยอมรับหรือความรักของคุณที่มีให้เขามันโอเคไหม
ถ้าเขารู้สึกว่าคุณไม่ได้รักเขาเลยเขาจะเริ่มปฏิเสธคุณทันทีในวันนี้เขาจะเริ่มมีโลกของตัวเองเพื่อนของตัวเองเริ่มอยู่กับตัวเองแข็งแรงขึ้นที่จะอยู่กับตัวเองเพราะฉะนั้นช่วงวัยต้นที่พูดมาต้องแน่นๆ เลยแล้วสร้างความสัมพันธ์ดีๆ เวลาคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมันจะง่าย
อย่างเช่นเราสองคนจะพูดอะไรก็ง่ายไปหมดเพราะเรามีความสัมพันธ์ที่ดีรู้จักกันแล้ว แต่คนที่ไม่รู้จักกันคนแปลกหน้าขับรถชนกันยากทุกเรื่องเลย ยากตั้งแต่อารมณ์ ลงมาปุ๊บอารมณ์มาเต็ม แต่ถ้าเราสองคนเห็นหน้ากันแล้วขับรถชนกันเราก็จะทักกันแล้วเราก็จะไม่เป็นไรมันจะเล็กทันที
เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีเป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาของคนกับคนไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม ที่ทำงาน ที่บ้าน ในสังคม
เริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกในช่วงวัยรุ่นเป็นสิ่งสำคัญมากวัยรุ่นเป็นวัยที่ไม่ต้องการการสอนแล้ว เพราะเขารู้สึกว่าเขารู้แล้ว เก่งแล้วโตแล้ว ปีกกล้าขาแข็งแล้วต้องยอมรับมองกลับไปที่ตัวเองเราก็เคยรู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน เราสอนลูกมาเพื่อสิ่งนั้นไม่ใช่หรอ เราเรียนมาเพื่อสิ่งนั้นไม่ใช่หรอ
พอวันหนึ่งเขาปลีกกล้าขาแข็งเราก็ว่าเขา มาย้อนดูจริงๆ เราก็อยากให้เขาขาแข็งไม่ใช่หรอ ต้องเข้าใจแล้วว่าสอนมาเยอะแล้วเป็น 10 ปี ถ้าคนทำงานมา 10 ปีถือว่าเก่งแล้วนะ
เพราะฉะนั้นเปลี่ยนวิธีเราจะไม่คุยแบบเดิมแล้ว เราต้องทำตัวเป็นเพื่อนมากขึ้นใช้เหตุผลเหมือนเดิมรับฟังมากขึ้นรับฟังด้วยใจ ให้รู้ก่อนว่าเขากำลังรู้สึกอะไรมองออกมาจากมุมของลูกมันอาจจะไม่ถูกต้อง เขาไปบูลลี่เพื่อนมันอาจจะไม่ถูกต้องมองในมุมของเขาๆ อาจจะไม่รู้ว่านั่นคือบูลลี่
เขาอาจจะไม่รู้ว่าเพื่อนกำลังเสียใจ เขาอาจจะไม่รู้ว่าสังคมไม่ยอมรับสิ่งนี้ หน้าที่เราทำให้เขาแคร์คนอื่นมากขึ้นคนอื่นได้รับผลกระทบอะไร ซึ่งถ้าเราสอนเขาด้วยเหตุผลมาตั้งแต่ต้น ถึงจุดนี้จะง่ายมาก ฉะนั้นช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่พ่อแม่บอกว่าเป็นช่วงเลี้ยงยากที่สุดนั่นจริง เพราะพูดกันไม่ได้เลย เริ่มพูดไม่เข้าหู
มีเคสวัยรุ่นที่เข้ามาสู่กระบวนการบำบัดด้วยตัวเอง เขามาเพราะเขาบอกว่าเวลาที่เขาอยู่กับแม่ แม่เป็นคนที่เขารักมากแต่เขารู้สึกหายใจไม่ออกเขาเลยอยากจะมาเปลี่ยนตัวเองมันอึดอัดน้ำตาจะไหลอยู่ตลอดเวลา เพราะเขารู้สึกว่าอยู่ด้วยไม่ได้
จริงถ้าเราย้อนกลับไปดูพ่อแม่เราพ่อแม่เราก็ทำให้รู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน เวลาที่เราเหนื่อยเราต้องการคนที่บอกเราว่ามานี่มานั่งลงแล้วก็กอดเรา เราไม่ต้องการถามว่าทำไมกลับมาป่านนี้ ทำไมเพิ่งกลับ เพราะฉะนั้นเราต้องหยุดแล้วพอลูกเริ่มเป็นวัยรุ่น เดี๋ยวนี้เข้าเร็ว 8 ขวบแววมาแล้ว แต่ทำไม 8 ขวบถึงเริ่มเข้าเร็วเพราะช่วงต้นทำไมดี ช่วงต้นไม่ได้ให้เวลาไม่ได้อยู่กับเขาปล่อยเขาอยู่กับโซเชียล มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอันอื่นเพราะเราปฏิเสธเขา เพราะเราอาจจะไม่ได้โฟกัสที่เขามากพอ
วิธีการที่จะโฟกัสมากพอทำให้เห็นจริงๆ ว่าอยากเจออยากคุยทุกครั้งที่เขาเดินเข้ามา เช่น เขามาปุ๊บทำงานอยู่กับมือถือเงยหน้าขึ้นพูดไม่ได้ก็ลูบหัว หอม กอด ทำให้เห็นจริงๆ เขาเป็นสุดที่รักของเราเขาก็จะรู้สึกได้ ช่วงวัยรุ่นเขาก็จะเบาลง
ปัญหาวัยรุ่นมีอีกเยอะมาก ช่วงวัยรุ่นเป็นเคสที่ใครๆ ก็ไม่ค่อยอยากทำจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จิตวิทยาคลินิกเองก็รู้สึกว่าปัญหาถูกสะสมมาเป็น 10 ปี เวลาเราจะมารื้อใช้เวลาเปลี่ยนแปลงแล้ววัยรุ่นมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่เป็นความคิดที่เจลลี่กึ่งเด็กกึ่งผู้ใหญ่
ซึ่งเปลี่ยนยากในขณะที่เราเปลี่ยนเด็กเลยตั้งแต่ 0-7 ขวบ เปลี่ยนง่ายมากพร้อมเปลี่ยนทุกอย่างใส่ทรีทเม้นท์เข้าไปดี เปลี่ยนวัยรุ่นวันนี้ได้พรุ่งนี้ไม่ได้มะรืนนี้ได้มันไม่มั่นคงไม่อยู่กับที่เลยไม่ Stable แล้วแต่เขาไปเจออะไรมาบ้างที่สำคัญพอเวลาทำงานกับวัยรุ่นเราจะเจอปัญหาว่าพอทำงานกับวัยรุ่นไม่ใช่วัยรุ่ยที่เป็นปัญหาอย่างเดียวพ่อแม่เองก็เป็นปัญหาด้วย Mindset ของพ่อแม่ก็มีปัญหาด้วย
เพราะฉะนั้นอยากให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจว่าทุกคนถ้ามองว่าคนอื่นเป็นปัญหามันไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ เลยถ้าเรามองว่าเราอยากแก้ปัญหานี้แล้วเรายอมรับว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาแล้วเปลี่ยนเราก่อนปัญหาทุกอย่างจะเล็กทันที
เพราะฉะนั้นเปลี่ยน Mindset ควรจะเปลี่ยน ถ้ามันมีปัญหาสักอย่าง สมมติคุณปลูกต้นแอปเปิ้ลพอออกลูกมามันกินไม่ได้ คุณต้องยอมรับระบบของคุณมันไม่ดีไม่ใช่ตัวคุณไม่ดี ไม่ใช่ต้นแอปเปิ้ลมันไม่ดีแต่ระบบมันไม่ดี ระบบน้ำ ระบบปุ๋ย ระบบธรรมชาติ ระบบสิ่งแวดล้อม มันไม่ดีถึงได้ออกมาเป็นผลผลิตที่ไม่ดี
เราไม่ต้องบอกว่าฉันไม่ดีไม่ต้องโทษตัวเอง การโทษตัวเองไม่ได้ทำให้คุณหลุดออกจากปัญหาได้ แต่การยอมรับปัญหาว่ามันมีโอกาสที่จะเกิดแล้วเราไม่รู้มันก็เลยเกิด สิ่งที่จะต้องทำเมื่อมีปัญหาคือต้องยอมรับก่อนว่าเกิดปัญหา เราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเราปรับเราก่อนเพราะคุณบอกว่าจะเอาลูกวัยรุ่นมาหาคุณหมอมันเป็นเรื่องยากมาก เพราะวัยรุ่นจะรู้สึกว่าหนูมีปัญหาหรอ
จริงๆ ต้องเปลี่ยน Mindset ก่อน เพราะเดี๋ยวนี้คนตั้งแต่คลอดก็เอามาเจอนักจิตวิทยาคลินิกเลย เขาอยากรู้ว่าเขาจะต้องเลี้ยงอย่างไร เขาอยากรู้ว่าจะต้องจัดการอย่างไร เขาอยากรู้ว่าทำอย่างไรลูกจะฉลาด
เพราะฉะนั้นเราเปลี่ยน Mindset เราต้องยืนยันก่อนว่าเราต้องการสิ่งนี้เรารู้ตัวเองเราต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยเราตรงนี้ การสร้างดีกว่าการแก้ถ้าราเอาตั้งแต่เล็กๆ ก็ค่อยๆ สร้างเหมือนสร้างตึกเขาบอกเราว่าอันนั้นอย่าทำเพราะอะไร แต่ถ้าอยากลองอยากทำก็ลองทำดู แต่ถ้าทำแล้วผิดจะแก้อย่างไรก็มาคุยกัน แล้วเวลาที่จะพาลูกมามันก็จะมีสายตาคนอื่น บางคนโพสต์ในเฟสบุ๊คว่ามา
รพ.พระรามเก้าอยู่แผนกกระตุ้นพัฒนาการ มากระตุ้นพัฒนาการคนมาคอมเม้นท์เลยไม่เห็นต้องรีบเลย ลูกเธอไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรเลย ไม่ต้องสนใจ เพราะโดยส่วนตัวแล้วไม่เคยรีบแต่เวลาไหนต้องทำคือทำ เวลาไหนยังไม่ทำไปทำมันจะเสียต้องรอทำให้มันพอดี
เราต้องรู้คอมเม้นท์ของเพื่อนเพราะเพื่อนไม่รู้เพื่อนก็เลยกังวลก็อธิบายตัวเองก่อน ถ้าเพื่อนสนิทก็อธิบาย ถ้าเพื่อนไม่สนิทเราก็ต้องมี Self Esteem ที่แข็งแรงพอที่บอกว่าฉันรู้ว่าฉันทำไปเพื่ออะไร ในส่วนของลูกที่โตขึ้นมาหน่อยอยากพาลูกมาหานักจิตวิทยาคลีนิคจะพูดกับลูกว่าอย่างไร
คุณพ่อคุณแม่กังวลมากจะพูดอย่างไร เด็กเดี๋ยวนี้ฉลาดเข้ามาเด็กก็ถามเลย เด็กที่มาเทรนเพื่อต้องการฉลาดขึ้นเพราะต้องการพัฒนาตนเองเขาจะถามเลยว่าอันนี้ทำแล้วได้อะไร อันนี้คุณหมอกำลังทำอะไรอยู่ เขาจะถามกลับไปที่บ้านเขาต้องทำอะไรบ้าง คุณอย่าไปรู้สึกว่าต้องกลัวแน่เลย
เปิดใจครั้งแรกก่อนบอกว่าเราจะมาหาคนที่สามารถทำให้หนูมีความสุขได้ ทำให้หนูเรียนรู้ได้ดีขึ้น ทำให้พ่อแม่เข้าใจหนูมากขึ้น พ่อแม่อยากเข้าใจหนูมากเลยแต่บางครั้งพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ มันจะมีคนที่เข้าใจหนูๆ ลองมาคุยดู
เพราะจริงๆ แล้วตัวเองนั่งอยู่ที่คลินิกเด็กทุกคนที่เข้ามาก็อยากจะกลับมาอีกรอบหนึ่ง เขาจะมา Report เลยว่าพ่อแม่หนูยังไม่เปลี่ยนเลย พ่อยังชอบเล่นมือถืออยู่เลยคะ ส่วนในตัวของวัยรุ่นเองตอนนี้ Process ของเราในการรับมือกับเด็กแก้ปัญหาเด็กเป็นในเชิงรุกกับเชิงรับ
พ่อแม่บางคนอยากให้มีโค้ชชิ่งสำหรับลูก พอเริ่มเขาวัยรุ่นเขาก็มาเลยเขาก็แค่บอกลูกว่าอยากให้มีใครสักคนอยู่กับลูกแล้วไว้ใจได้ที่ไม่ใช่แม่ เพราะบางอย่างลูกก็ไม่อยากคุยกับแม่ แต่คนๆ นี้แม่ไว้ใจเขาได้ เขาสามารถบอกในสิ่งที่ลูกควรต้องทำและสามารถให้เหตุผลกับลูกได้ด้วย หรือในเชิงรับที่มันเกิดปัญหาแล้วให้พ่อแม่บอกลูกว่าปัญหาอยู่ที่พ่อแม่
แม่รู้สึกว่าแม่ไม่เข้าใจหนูแล้วทำให้หนูรู้สึกไม่สบายใจ หนูช่วยมาคุยกับคุณหมอได้ไหมว่าอะไรบ้างที่แม่ทำให้หนูไม่สบายใจแม่อยากเปลี่ยนตัวเองแม่อยากปรับตัวเองให้ดีขึ้น ยอมรับว่าเราเป็นปัญหาลูกจะสบายใจที่จะมาหาผู้ที่จะมาฟ้องว่าถูกทำอะไรมาบ้าง ผู้เชี่ยวชาญช้วยเหลือชี้แนะ
ในฐานะนักจิตวิทยาคลินิกเรามองว่าปัญหาของการเลี้ยงลูกเยอะและละเอียดมาก ให้คุณพ่อคุณแม่ดูแค่ช่วงๆ หนึ่งของลูก ช่วงนี้ควรต้องทำอะไร แล้วก็ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่คุณสะดวกจะได้มีโค้ชที่จะบอกว่าทำได้ ทำไม่ได้เหตุผลอะไร เราเลี้ยงตามกระแสจะทำให้ไปไหนก็ไม่รู้ กระแสมี Base Basic อยู่ไม่กี่ทฤษฎีแต่จะแตกไปตามจุดขาย อย่างเช่น เราพูดกันถึงเรื่อง EQ ก็ออกมา EF AQ เต็มเลยเราหมุนตามกระแสไม่ทัน
เพราะฉะนั้นไปเจอผู้เชี่ยวชาญเขาจะรู้ว่าอะไรที่เป็น Point จริงๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องโฟกัส อะไรจริงๆ ที่เราจะต้องรู้ เราจะได้ไม่ต้องตื่นตูมกับความมากมายของข้อมูลเราจะได้ใช้ข้อมูลที่มีเอาพอดีๆ
เพราะตัวเองจะบอกพ่อแม่เสมอเอาเท่านี้ก่อน อย่าเยอะเพราะเยอะคุณก็จำไม่ได้คุณก็ทำไม่ไหว ผิดที่ผิดเวลาผิดเทคนิคไปหมด เพราะฉะนั้นเลี้ยงลูกอย่างไรแบบมีจิตวิทยาก็ต้องเข้าใจความต้องการของลูก ต้องเข้าใจธรรมชาติของลูก เราจะเลี้ยงต้นไม้ต้นนี้ให้ออกดอกออกผลเขามีธรรมชาติของเขาไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้าเขารดน้ำเรารดบ้าง เขาใส่ปุ๋ยเราใส่บ้าง เราใส่ปุ๋ยต้องมีเทคนิคไม่ใช่ใส่จนท่วมโคนต้นก็ตาย ให้เยอะก็ตายให้น้อยก็ขาดให้พอดีๆ เดินทางสายกลาง
วันนี้คงได้กันแล้วว่าเอาพอดีๆ แล้วก็อย่าแตกตื่นเอาตามจังหวะชีวิตของลูกตั้งสติดีๆ ช่วงนี้อยู่ในช่วง 4-7 ขวบ ต้องเลี้ยงแน่นๆ ด้วยเหตุผลไม่ใช่ด้วยอารมณ์ เป็นตัวอย่างให้ลูก คอยช่วยเหลือเขาต้องเข้มงวดเรื่องของระเบียบวินัยและการช่วยเหลือตัวเองอย่างนี้ก็ทำเลย
ช่วยให้ลูกง่ายขึ้นด้วยการเอาสิ่งล่อลวงของลูกให้ออกไปไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันนี้เป็นอุปสรรคของการเจริญเติบโตของลูกมาก พ่อแม่ก็ตลกบางครั้งอยากให้ลูกเป็นตัวของตัวเองมีความคิดพอลูกเถียงก็ว่าลูก อยากให้ลูกมีความคิดของตัวเอง อยากให้ลูกฉลาด อยากให้ลูกเป็นคนเก่ง แต่อย่าเถียงเรา ก็ไม่ได้
ต้องโฟกัสดีๆ เลี้ยงลูกต้องการอะไร ประเด็นของเป้าหมายสำคัญมากถ้าคุณพ่อคุณแม่บอกว่าเลี้ยงเพื่อ 1 2 3 แล้วคุณก็จะรู้ว่าคุณจะไปทางไหน แต่อย่าบอกว่าเลี้ยงให้เขามีความสุขกว้างไป อยากให้ลูกมีความสุขไม่ใช่ทำทุกอย่างให้ลูกมีความสุข การมีความสุขไม่ใช่ใครมาทำแล้วเรามีความสุข แล้วถ้าคนที่ทำให้เรามีความสุขหายไปจากชีวิตเขาจะอยู่ต่ออย่างไร
ตอนี้คุณอยู่คุณทำได้ คุณซื้อรถ ซื้อบ้านให้เขาได้ คุณให้เงินให้อาหารให้สิ่งดีๆ ได้ แล้ววันหนึ่งเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าใครจะมาให้ต่อ อย่างนั้นความสุขก็คงต้องเปลี่ยนละ อยากให้ลูกมีความสุขก็ต้องเพิ่มว่ามีความสุขได้ด้วยตนเองมีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ยอมรับในจุดบกพร่องของตัวเองได้มี Self Esteem ที่ดีอันนี้เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ลูกอยู่รอด
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u