“พฤติกรรมเนือยนิ่ง” นั่งๆ นอนๆ อยู่นิ่งๆ ไม่ออกกำลังกาย ไม่ค่อยได้เล่น เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ปรากฎการณ์ที่เห็นได้คือ เด็กอ้วนขึ้น ซึม ง่วงเหงาหาวนอน แต่ที่ส่งผลกระทบมากกว่าที่ตาเห็นคือ หากเด็กอยู่ในภาวะเนือยนิ่งนานๆ รู้ไหมว่าส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ ทำให้เด็กเกิดความเครียดได้ง่าย
ฟังผลกระทบ พฤติกรรมเนือยนิ่ง นั่งๆ นอนๆ ส่งผลเสียกับลูกมากกว่าที่คิด โดย The Expert พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาล พญาไท 1
ก่อนหน้านี้เราคุยกันเรื่องความสูงว่ามีผลกระทบต่อพัฒนาการอย่างไร พ่อแม่จะทำอย่างไรให้ลูกสูงขึ้นได้อย่างถูกต้อง วันนี้อย่างที่บอกค่ะเจ้าตัวเล็กนั่งเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านบางคนเรียนตั้งแต่ 9.00-11.30 น. บ่ายสามเรียนต่อเรียนกันทั้งวัน กลายเป็นว่าบางบ้านไม่ได้ออกกำลังกายเพราะออกไปไหนไม่ได้ พฤติกรรมเหล่านี้ถ้าเรายังปล่อยให้ลูกเป็นแบบนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระยะยาวของลูกบ้าง
ก็ต้องดูเรื่องพัฒนาการด้านการเจริญเติบโต ด้านร่างกายและ การเคลื่อนไหว ด้านการเรียนรู้สติปัญญา สังคม อารมณ์ เพราะเด็กที่เขานั่งๆ นอนๆ ส่วนใหญ่ที่เจอก็จะนั่งไปกินไปอาจจะกินอย่างเดียวไม่ได้เผาพลาญไม่ได้ออกแรงไม่ได้ใช้แรงก็อาจจะเจอเด็กที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเยอะ อาจจะเจอเด็กที่ควรจะสูงแต่สูงไม่ได้เท่าที่ควรด้วยการที่ขาดการออกกำลังกายอย่างที่เราบอกไปใน EP ที่แล้ว
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือพัฒนาการเรื่องการเคลื่อนไหว การที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหว เวลาที่เด็กเล่นได้เคลื่อนไหวได้ใช้ร่างกายสิ่งหนึ่งที่เราจะได้รับคือการที่เด็กได้ระบายพลังงาน ได้ฝึกเรื่องของความตื่นตัว เด็กหลายๆ คนที่มาปรึกษาคุณหมอเรื่องซน สมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่งหลายๆ ครั้งหมอให้ฝึกออกกำลัง ออกแรง
ก่อนที่จะทำงานที่มีสมาธิ เด็กบางคนพอเขาอยู่นิ่งๆ มากเกินไปดีไม่ดีก็อาจจะอยู่ไม่นิ่งอยู่ไม่สุขหรือสมาธิในการเรียนรู้ถูกกระทบไหมอันนี้เป็นคำถามที่หมอสงสัยแล้วก็ได้ยินจากเด็กว่าตอนที่หนูอยู่หน้าจอแต่ว่าตามองไปทางอื่น หรือไปแชทคุยกับเพื่อน เพราะฉะนั้นเด็กที่นั่งๆ นอนๆ อย่างเดียวเขาก็อาจจะมีประเด็นเรื่องของความตื่นตัว ความพร้อมที่จะเรียนรู้ถ้าเป็นเด็กเล็ก
เราพบว่าสมองของเด็กเวลาที่เรียนรู้เวลาที่เราจะอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ มันจะต้องมีการเชื่อมโยงกันของสมอง 2 ส่วน เพราะฉะนั้นการออกกำลังกาย การใช้ร่างกาย การได้เคลื่อนไหว การได้เล่น การใช้ร่างกาย 2 ซีกประสานกัน ก็จะช่วยให้การเรียนของเขาประสานกันได้ดีขึ้น
เด็กที่ขาดการเคลื่อนไหวเด็กที่นั่งๆ นอนๆ จริงๆ เราเจอมาก่อนโควิดคือเด็กจะนั่งๆ นอนๆ เล่นเกมกับดูทีวี เราก็พยายามจะบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าเป็นไปได้ควรจะฝึกสมอง 2 ซีกให้ลูก
กิจกรรมหลายๆ อย่าง เทคนิคหลายๆ อย่างที่นักวิชาชีพฝึกให้เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนก็คือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกร่างกายเพื่อฝึกสมอง 2 ซีก หมอยังเป็นห่วงอยู่ว่าเด็กยุคนี้การเชื่อมโยงข้อมูลในสมองเขาจะมีประโยชน์ไหม
นอกจากนี้การที่เด็กได้เคลื่อนที่เคลื่อนไหวมันเป็นการระบายพลังงาน การระบายความคับข้องใจ อึดอัดใจ หมอจะได้ยินเด็กบางคนก็บอกว่าเบื่อ บางคนก็บอกว่าไม่ไหวแล้ว บางคนก็มาหาด้วยปัญหาพฤติกรรม เพราะเขาไม่มีโอกาสได้เคลื่อนไหว ได้ปลดปล่อยความคับข้องใจซึ่งมีอยู่เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทุกคน
สมาธิสั้น
หมอเจอเด็กบางคนมาปรึกษาด้วยอาการซนสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่ง ครูบอกเดินไปเดินมาในห้องเรียน อันนี้หมอพูดในเคสที่พบเกิดก่อนโควิด เด็กบางคนพอหมอประเมินแล้วหมอขอแก้ไขร่างกาย เพราะว่าลักษณะเหมือนออฟฟิศซินโดรมเลย เช่น หมอยกตัวอย่างเคสที่เดินไปเดินมาในห้องเรียน
ปรากฏว่าเวลามาประเมินกับหมอบางทีเขาก็ยืนบางทีก็นั่งกับเก้าอี้ บางทีก็นั่งกับพื้น หมอก็จะเห็นอิริยาบถของเขาอย่างเคสที่คุณหมอแนะนำคุณพ่อคุณแม่ไปหมอก็จะบอกคุณพ่อเคยสังเกตไหมว่าลูกไม่เคยยืนลงน้ำหนักที่เท้าทั้ง 2 ข้างในเวลาเดียวกัน หมอก็เลยให้เด็กยืนแล้วเด็กยืนไม่ได้ต้องยืนสลับขาซึ่งหมอสงสัยว่าอาจจะเป็นการตึงของกล้ามเนื้อบางส่วนที่อาจจะใช้อิริยาบถที่ผิดๆ ก็ต้องไปแก้ไขร่างกายไปฝึกหมอแนะนำท่าโยคะ ไปนวด
หรือเด็กบางคนมาหาหมอเพราะนั่งไม่ได้พอหมดตรวจร่างกายไม่มีก้น ไม่มีกล้ามเนื้อก้นแล้วนั่งผิดท่ามาตลอดเขาจะนั่งเลื้อย ปรากฏว่ากล้ามเนื้อก้นลีบไปหมดแทบไม่มีกล้ามเนื้อก้นกลายเป็นว่านั่งผิดตั้งแต่เล็กๆ
หมอบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าลูกอาจจะซนแต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขเขาจะได้ไม่ยุกยิก ถ้าผู้ใหญ่เรียกว่าออฟฟิศซินโดรม แต่เป็นเด็กหมอเรียกตามสถานการณ์คนที่ก้นหายแต่ในที่สุดก็มาได้พอเราแก้ กล้ามเนื้อก้นก็ฟูขึ้น
พัฒนาการด้านร่างกาย
นอกจากพัฒนาการทางด้านร่างกายที่คุณหมอให้แนวทางคือร่างกายหายไปก็ต้องฟื้นฟูร่างกายขึ้นมา เช่นการใช้โยคะ การออกกำลังกาย จะช่วยได้ แล้วในส่วนของจิตใจหรือความเครียด เราเทียบว่าเคียงเด็กเป็นออฟฟิศซินโดรมเหมือนผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่อยู่หน้าจอนานๆ มีเบิร์นเอ้าท์ เด็กมีภาวะแบบนี้ไหมที่เขาเนือยนิ่งไม่มีกะจิตกะใจอยากจะทำอะไร เขามีภาวะแบบนี้ไหมแล้วพ่อแม่จะรับมืออย่างไร
ที่คุณหมอเจอหลักสูตรเรียนออนไลน์ของประเทศไทยก็แตกต่างกัน หมอเจอทั้งแบบ การบ้านเยอะกว่าไม่เรียนออนไลน์ บางโรงเรียนก็ไม่มีการบ้าน ถ้าถามเด็กมีความเครียดไหม จริงๆ แล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและมนุษย์ในช่วงวัย 6 ขวบขึ้นไปโดยประมาณเป็นเรื่องที่เด็กๆ เขาต้องมีโอกาสคล้ายๆ กับเจอประสบการณ์ตรง เช่น เราเรียนเรื่องต้นถั่วเด็กก็ควรจะเรียนจากต้นถั่วจากเมล็ดถั่วปลูกขึ้นมาไม่ใช่เรียนจากจอคอมพิวเตอร์แล้วเห็นถั่วงอก
ด้วยความเป็นเด็กเขาต้องเจอของจริงได้ลงมือปฏิบัติจริงได้เห็นภาพที่แท้จริง คาบการเรียนออนไลน์หมอไม่ใจว่าบางโรงเรียนเขาอาจจะจัดไหม คือสมมติเป็นชั่วโมงวิทยาศาสตร์ถ้าไปโรงเรียนครูอาจจะให้ทำให้ทดลองแต่อยู่ที่บ้านจะได้ทดลองไหม เด็กจะขาด
เรื่องพวกนี้ที่หมอเป็นห่วงหมอพยายามบอกพ่อแม่ว่าอยู่ที่บ้านมีเวลาอย่าไปโฟกัสแต่เรื่องเรียนออนไลน์ลองคิดกิจกรรมสนุกๆ ได้ผ่อนคลายได้ให้ลูกได้มีโอกาสเจอของจริงเพื่อที่เขาจะได้ไม่ขาดตกบกพร่องงานพัฒนาการของเขาให้เขามีโอกาสลงมือทำลงมือปฏิบัติมากกว่าการเรียนออนไลน์
แน่นอน มนุษย์เราจะมีฮอร์โมนความเครียด ซึ่งจริงๆ แล้วเราควรจะมีฮอร์โมนความเครียดบ้าง มีบ้างนิดๆ ให้ชีวิตมีอะไรท้าทายเพื่อที่จะสร้างเป้าหมาย แต่ถ้าความเครียดนั้นรุนแรงเกินไปเราก็พบว่าฮอร์โมนความความเครียดหลั่งมากเกินไปมีผลต่อการงอกของเซลประสาท
แต่พอเด็กค่อนข้างโตเซลล์ประสาทไม่แบ่งตัวแล้วแต่จะเป็นเรื่องของการเชื่อมโยงเครือข่ายสายใยประสาทอาจจะมีประเด็นปัญหาเรื่องพวกนี้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้หาโอกาสหากิจกรรมที่เด็กจะได้มีโอกาสคลายเครียดอาจจะถามจากเขาว่าอะไรที่ทำให้เขาผ่อนคลายอาจจะเน้นจากธรรมชาติเพราะหน้าจะก็ไม่ธรรมชาติอยู่แล้ว ช่วงนี้ฝนตกไปสัมผัสฝน ไปดมกลิ่นดินบ้าง ได้สัมผัสใบไม้ใบหญ้าทั้งหมดนี้มันช่วยผ่อนคลาย
สังเกตเรื่องการกินการนอนและพัฒนาการเขา ถ้าดูว่าลูกกินน้อยไปกินมากไป นอนน้อยไปนอนมากไป อะไรมากไปน้อยไปต้องเริ่มสังเกตแล้ว หรือแม้แต่เรื่องของพัฒนาการเด็กบางคนกลายเป็นพัฒนาการดูถดถอยเคยทำได้กลายเป็นทำไมได้ เราอย่าเพิ่งรีบไปดุลูกว่าทำไมทำไม่ได้ อาจจะค่อยดูว่าลูกกำลังสื่อสัญญาณอะไรหรือเปล่าว่าตอนนี้หนูจะไม่ไหวแล้วนะ
ที่หมอเจอเยอะคือเด็กที่รับมือกับความเครียดไม่เป็น แต่เหตุผลที่เขารับมือกับความเครียด หมอใช้คำว่า ความทุกข์ คือจัดการกับมันไม่ได้ ปัจจัยเด็กยุคนี้ที่หมอเจอแล้วเขารับมือกับความทุกข์ไม่ไหวเป็นเพราะอะไร
1.พ่อแม่ไม่เข้าใจเรื่องของการเป็นโค้ชทางอารมณ์ให้ลูก
คือ พ่อแม่หลายคนไม่อยากเห็นลูกเสียใจ ไม่อยากเห็นลูกผิดหวัง เวลาที่ลูกแสดงแบบนั้นหรือแสดงอารมณ์โกรธอะไรก็ตามก็มักจะใช้คำว่า หนูอย่าเสียใจซิ แค่นี้ไม่เห็นต้องโกรธเลย ไม่เห็นต้องผิดหวังเลยไม่ได้ก็ไปซื้อเอา ความทุกข์เล็กที่เขาฝึกเจอตั้งแต่เด็กมันจะเป็นภูมิคุ้มกัน พ่อแม่ต้องยอมกับก่อนว่ามนุษย์มีความทุกข์ได้ มีอารมณ์เชิงลบได้ 17.20
2.ไม่รับฟังความรู้สึกของลูก
แสดงให้ลูกรู้สึกว่าอันนี้เป็นเรื่องปกติ ถ้าพ่อแม่ยอมรับลูกก็จะยอมรับความรู้สึกนี้ และเราค่อยๆ ปรับให้เขาแสดงออกอย่างเหมาะสมกับความรู้สึกนั้น เช่น เขารู้สึกโกรธหมอก็บอกเขาว่าโกรธได้เป็นเรื่องปกติเด็กๆ ใครมาทำแบบนี้กับคุณหมอ คุณหมอก็โกรธ เด็กก็จะทำหน้าว่าโกรธได้หรอ คุณหมอก็จะบอกว่าโกรธได้สิแต่ไม่มีสิทธิ์ไปทำร้ายใคร หรือโกรธได้แต่ทำร้ายตัวเองไม่ได้ มีอะไรที่อยากให้ผู้ใหญ่ช่วยบอกซิ
อันนี้คือการรับฟังไม่ได้ตามใจเขาแค่ให้เขาได้พูด ถ้าเรื่องที่เขาพูดเราไม่สามารถทำได้เราก็ปฏิเสธลูกได้ แม่รู้ว่าลูกโกรธเพื่อนมากจนอยากจะเอามีดไปฟัน อันนี้เรารับฟังแต่เราไม่ได้ให้เขาทำแล้วหมอก็จะก็บอกเขาว่าอันนี้แม่คงปล่อยให้ลูกทำไม่ได้หรอกมันมีวิธีอื่นไหมที่จะทำให้หนูรู้สึกดีขึ้น
คือถ้าพ่อแม่ฝึกฝนลูกในเรื่องนี้ความเครียดของยุคนี้ที่เด็กๆ รับมือกันได้ไม่ดีลูกจะค่อยรับมือได้ดีขึ้น โดยฝึกจากคนที่เขารู้สึกว่าไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กดีหรือว่าตัวร้ายกำลังออกผู้ใหญ่คนนี้ก็ยอมรับ แต่ไม่ได้ยอมรับพฤติกรรม ยอมรับที่เราจะโกรธเราจะเด็กร้าย
หมอเจอปัญหานี้เยอะมากตั้งแต่เด็กโตไปถึงวัยรุ่นตอนปลาย ผู้ใหญ่ตอนต้นไปถึงผู้ใหญ่ตอนกลางก็จะพบว่าทุกข์แต่ไม่รู้จะรับมือกับความทุกข์อย่างไร บางคนซึมเศร้าบางคนก็เครียด บางคนรับมือกับชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
เรามีสิทธิ์เครียดแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเครียด ความเครียดใครๆ ก็มีหมอก็เคยมีทุกวันนี้ก็อาจจะมีอยู่ เด็กเล็กๆ ก็เครียดได้ เด็กเบบี๋แค่เขาส่งเสียงเรียกแล้วแม่ทำหน้าบึ้งตึงไม่ยิ้มกับเขาๆ ก็เครียดแล้ว เบบี๋วัยแรกเกิดจนถึงหนึ่งปีครึ่ง เป็นที่เขาต้องสร้างความรักใคร่ผูกพันที่มั่นคงปลอดภัยกับผู้เลี้ยงดูเพราะฉะนั้นการเลี้ยงดู มีร้องบ้างแต่ต้องไม่ปล่อยจนหยุดร้องด้วยตัวเองอันนั้นจะเครียดไปต้องตอบสนองเขาทันที
ช่วงวัย 1-3 ปี วัย Terrible กรี๊ดๆ คือเขาเครียดหรือยังค่ะ ไม่เครียด ถ้าในมิติของพัฒนาการทางสมอง 1 ขวบ เด็กจะเริ่มรับรู้ว่าฉันเกิดความรู้สึกแต่เด็กไม่รู้ว่าอันนี้เรียกว่าอะไรรู้แค่ว่าตัวมันร้อนหน้ามันแดงหัวใจเต้นเร็วแล้วก็อยากจะกรี๊ดๆ ซึ่งเวลาเจอแบบนี้หมอก็มักจะบอกเด็กว่าหนูโกรธเหรอ หนูหงุดหงิด บางคนเขาเป็นเพราะคับข้องใจ เขาอยากทำอย่างนี้แต่เขาทำได้ไม่เหมือนผู้ใหญ่
ในช่วง 1-3 ปีสมองส่วนอารมณ์กำลังพัฒนา เด็กเริ่มทำอะไรด้วยตัวเองได้มากขึ้น ถ้าเขาสามารถได้ทำอะไรด้วยตัวเองได้เราพยายามส่งเสริมให้เขาได้ทำ แต่ถ้าเขาทำไม่ได้เขาอาจจะเกิดความคับข้องใจ เช่น อยากได้อันนี้แต่แม่ไม่ให้แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องให้เพราะบางอย่างให้ไม่ได้จริงๆ ถ้าเขาจะร้องก็จำเป็น เราไม่เรียกว่าความเครียดแต่เขากำลังฝึกรับมือกำกับความรู้สึกขับข้องใจโดยมีเราเข้าใจเขา ไม่ดุซ้ำ หรือตัดใจซ้ำ
วัย 3-6 ปี เช่นเดียวกัน ถ้าใครมีลูก 3-4 ขวบ เรียกว่าพ่อแม่ต้องแกร่งเพราะว่าลูกเราช่วง 3-4 ขวบกำลังพยายามเปลี่ยนสถานะจากลูกของเรามากลายเป็นเจ้านายเราพยายามควบคุมพ่อควบคุมแม่ซึ่งหมอจะบอกพ่อแม่ว่ามันเป็นพัฒนาการตามวัยแต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องให้เขาทำ ก็คือให้เขาทำก็ได้แต่เราไม่ได้ตามใจเขา
ยกตัวอย่าง เด็กบางคนพ่อพามาบอกว่านอนไม่ได้ทั้งคืน อุ้มลูกแล้วก็ชี้ขึ้นบนบันไดพ่ออุ้มขึ้นชั้นสอง ถึงชั้นสองลูกชี้ลงข้างล่างไม่ได้ชี้ธรรมดาชี้ไปร้องไปพ่อเลยเดินทั้งคืน หมอบอกว่าจริงๆ พ่อต้องหยุดลูกแค่ลองเฉยๆ ว่าฉันทำอย่างนี้ได้ไหม ฉันกับพ่อใครคือ authority
เราพบว่าเด็กหลายคนที่พ่อแม่ไม่เข้าใจประเด็นนี้แล้วไปตามใจลูกกลายเป็นเด็กยิ่งร้องยิ่งสับสนในตัวเอง เพราะเขาไม่ได้ต้องการให้พ่อแม่ตามใจเขาขนาดนั้นเขาต้องการให้พ่อแม่ Set boundary ที่เหมาะสมให้เขา
วัย 6-9 ปี ในมุมมองที่หมอมองบางทีก็ปล่อยผ่านในเรื่องวิชาการ หมอเข้าใจว่าพ่อแม่ซีเรียสเรื่องนี้แต่หมอก็พบหลายคนที่ต้องมาหาหมอตอนโตด้วยปัญหาทางอารมณ์ทางจิตใจ อยากให้พ่อแม่ปล่อยผ่านบ้างอย่าเอาจริงเอาจัง
แต่ก็เข้าใจคุณพ่อคุณแม่เช่นเดียวกันบางทีหลักสูตรก็ค่อนข้างเกินตัวเด็ก เราเรียนกันเยอะเกินไปหรือเปล่าหมายถึงว่าบางเรื่องมันก็ไม่จำเป็น บางเรื่องจำเป็นแต่อาจไม่ได้ถูกฝึก เช่น จากที่หมอเห็นลูกเพื่อน เห็นเด็กๆ เห็นทั้งเด็กที่เรียนเร่งๆ จนสามารถสอบได้ทุนไปเรียนต่างประเทศแต่ไม่สามารถรับมือกับความเครียดได้ แบกรับความคาดหวังจากพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก ต้องผ่อนคลายบ้าง
หมอว่าเด็กอาจจะผู้ใหญ่ด้วยขาดเรื่องการคิด หมอเคยอ่านบทความที่บอกว่า “จะให้ลูกคิดเป็น หรือจำเก่ง” ถ้าคิดเป็นไม่ต้องจำก็ได้พอเขาคิดปุ๊บว่าเจอปัญหานี้เขาจะไปค้นได้ที่ไหน
จริงสภาพความเป็นอยู่ก่อนเราจะมา WFH ทุกคนมีพื้นที่ส่วนตัว มีเวลาส่วนตัว ถึงแม้เวลานี้จะเป็นเวลาทำงานของแม่แต่แม่ก็อยู่ออฟฟิศแม่ในพื้นที่ส่วนตัวของแม่ ตอนนี้ความเครียดที่มันเกิดคือพื้นที่ส่วนตัวของเราหายเราจำเป็นต้องเอา Space ของเรามาอยู่ที่บ้าน
ลูกจำเป็นต้องเอา Space ของเขามาอยู่ที่บ้าน ทุกคนมาอยู่ด้วยกันหมด เพื่อให้ผ่อนคลายบ้างเราจำเป็นต้องหาเวลาเพื่ออยู่ตามลำพัง ต้องจัดตารางที่เด็กๆ รู้ว่าเวลานี้รบกวนแม่ได้ ตอนนี้แม่ขอเวลา ตอนนี้หนูมีเวลาส่วนตัว ถ้ามีลูกคนเดียวให้นึกถึงวงกลม 3 วง มันจะสวยถ้ามีช่วงที่เชื่อมโยงกันแต่ก็มีช่วงที่ไม่มาทับซ้อนกันแต่วงกลม 3 วงมันจะไม่สวยถ้ามาทับซ้อนกันหมดเพราะมันจะกลายเป็นวงกลมวงเดียว
หมอว่า WFH ข้อดีก็คือลองหากิจกรรมที่ในอดีตเราเลี้ยงลูกอยู่บ้านลองหากิจกรรมร่วมกัน ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ เลี้ยงหนอนไหม
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u