Learning Loss ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ เป็นผลของการเสียโอกาสในการเรียนรู้มีผลทำให้ทักษะต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยมันสูญเสียตามไปด้วย ภาวะถดถอยการเรียนรู้คืออะไร กระทบกับพัฒนาการด้านใดบ้าง พ่อแม่จะรับมือ ฟื้นฟู ภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร ฟังมุมมองจากนักวิชาการด้านการศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต้องอธิบายก่อนว่าในหลายๆ ประเทศที่เป็นประเทศชั้นนำโอกาสของเด็กๆ ค่อนข้างมีความพร้อมในหลายๆ มิติการประสานความร่วมมือของเขามีความพร้อม อย่างอุปกรณ์ในการเข้าถึงการเรียนรู้ออนไลน์เขาก็จะไม่มีปัญหา ปีที่แล้วในช่วงแรกๆ ที่จำเป็นจะต้องหยุดเรียน ยกตัวอย่าง ประเทศสิงคโปร์เขาจะมีนโยบายว่าถ้าเด็กคนไหนไม่มีอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ที่บ้านคือใช้ยืมโรงเรียนได้เลยให้สัญญาณอินเตอร์เน็ต
ฉะนั้นโอกาสที่เด็กจะไม่ถูก Lost ก็ค่อนข้างน้อยลง ถ้าเปรียบเทียบกับหลายๆ ประเทศที่เขารับมือกับเรื่องนี้ได้ดีก็อาจจะต้องมองในเชิงของความพร้อมตรงนี้เลยเป็นปัจจัยที่ทำให้การ Lost มีสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน แต่ถึงจะเรียนออนไลน์สิ่งที่ได้จากการเรียนออนไลน์ก็ไม่เท่ากับการเรียนในโรงเรียนไม่เท่ากับการเรียนในห้องเรียนแต่อย่างน้อยที่สุดก็ดีกว่าเด็กไม่ได้อะไรเลย
ที่เรามองในเชิงของ Learning Loss เรามีความกังวลใจในการพัฒนาในบางมิติของเด็กที่มันจะมีช่วงเวลาของมันถ้าเลยพ้นช่วงเวลาหรือเลยช่วงอายุช่วงนี้ของเขาไปแล้วมันจะพัฒนาเรื่องนี้ค่อนข้างยากแต่ที่ไม่สบายใจได้อย่างคือเรื่องที่มันมีช่วงเวลาไม่ใช่เรื่องของวิชาการ เพราะอย่างการเรียนรู้ของวิชาการโตขึ้นไปเรียนรู้อย่างไรก็ไม่สาย
คนสมัยก่อนที่เขาไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือตอนเด็กๆ ต้องทำงานพอเขาโตขึ้นมาเขากลับมาเรียนแบบศึกษาผู้ใหญ่การเรียนรู้เชิงวิชาการก็สามารถทันได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเราในแง่ Learning Loss เรามองว่าในแง่การเรียนรู้เชิงวิชาการสามารถตามทันกันได้
ขาดทักษะทางสังคม
สิ่งที่เรากังวลใจในเรื่องพัฒนาการคือการพัฒนาเด็กในด้านอื่นๆ ที่เป็นตัวสำคัญที่จะหล่อหลอมตัวตนลักษณะนิสัยบุคลิกภาพของเขา ยกตัวอย่างทักษะทางสังคมใน EP ที่แล้วเห็นตัวอย่างชัดเจนเลยว่าวิธีการเรียนการสอนแบบออนไลน์มันทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบตัวต่อตัวหรือในบางรูปแบบเช่น On Air On Hand หรือ On demand ที่ไม่มีเลยเรื่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
เป็นสิ่งที่เห็นภาพได้ชัดเจนเลยว่าเด็กไม่มีการพัฒนา แล้วจะโชคร้ายมากเลยถ้าสมมุติว่าเด็กเรียนจาก On Hand แต่ถ้าไปอยู่ในบ้านที่เป็นครอบครัวใหญ่มีลูกพี่ลูกน้องเล่นด้วยกัน หรือมีพี่ป้าน้าอาที่มีคนหลายเพศหลายวัยอย่างน้อยบริบทที่เขาอยู่ในบ้านแบบนั้นก็จะมีโอกาสได้ฝึกฝนทักษะทางสังคม แต่ถ้าเด็กที่อยู่ในคอนโดคุณแม่ก็ทำงานออนไลน์ทั้งวัน คุณพ่อออกไปทำงานข้างนอก ก็จะสังเกตเห็นว่าเป็นลักษณะของการที่เขาหายไปเลยเด็กจะไม่ได้รับการสูญเสียตรงนี้
เพราะฉะนั้น Learning Loss เป็นผลของการเสียโอกาสในการเรียนรู้มีผลทำให้ทักษะต่างๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยมันสูญเสียตามไปด้วย อย่างทักษะทางสังคม
เรื่องของ Value ทั้งหลายค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม อะไรที่เป็นตัวตนของเด็กที่จะฟอร์มตัวเป็นบุคลิกของเขาว่าเขาจะเป็นคนเฟรนลี่ คนเก็บตัว คนขี้อาย หรือเป็นคนมั่นใจในตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะถูกฟอร์มได้สภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีผลกับเขาเยอะมากการมีเพื่อน
การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน การมีโอกาสได้ทำอะไรหน้าชั้นเรียนหน้าเสาธงแสดงความเป็นผู้นำสิ่งนี้ที่เรากังวลว่าจะไป Learning Loss สำหรับเด็ก เพราะ Online ไม่สามารถทำให้เด็กได้ฝึกฝนสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นจริงเป็นจัง On Air On Hand หรือ On demand ไม่ต้องพูดถึงลืมไปได้เลย
นั่นคือสิ่งที่เรามองในแง่ของ Learning Loss แต่สิ่งเหล่านี้ก็มีผล อย่างถ้าเราพูดถึงการเรียนรู้เชิงวิชาการมันมีผลสืบเนื่องกัน สมมติว่าเรามองในแง่ของพัฒนาการในด้านภาษาการเรียนรู้ของเด็กในช่วงนี้ที่เป็น On Site ไม่ได้ สมมุติว่าเด็กไม่ได้รับการพัฒนาในเรื่องของภาษาอยู่บ้านไม่ค่อยได้พูดคุยกับใคร เล่น I Pad ดู YouTube อย่างเดียวหรือเล่นเกมอย่างเดียว
เด็กไม่ได้ฝึกฝนภาษาเลยพอเข้ามาสู่บริบทของการเรียนรู้ข้อจำกัดของภาษาในการสื่อสารทำให้ศักยภาพหรือประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเขาก็จะลดลงมันก็จะมีผลตามมาเพราะฉะนั้นมันก็จะสัมพันธ์กันไปหมด หรือบางคนเกิดความเคยชินกับการอยู่บ้านถ้าถึงวันหนึ่งโรงเรียนพร้อมแล้วปลอดภัยแล้วปรากฏว่า School Phobia ไม่ไปไม่ชอบ ชอบอยู่บ้าน
อีกส่วนหนึ่งคือระเบียบวินัยความรับผิดชอบอันนี้เสียหายแล้วเป็นช่วงวัยเพราะพัฒนาการเด็กโดยเฉพาะเด็กอนุบาลหรือเด็กประถมครูหรือบริบทแวดล้อมยังมีส่วนจูงใจเขาในการทำอะไร อย่างสมมุติว่าอยู่ในห้องก็จะมีกฎกติกาข้อตกลงในห้องเรียน เขารู้ต้องทำแบบนี้ๆ แล้วเพื่อนทำเขาจะไม่ทำเหรอ เพื่อทำแล้วครูชมทำไมเขาจะไม่ทำ มันก็จะมีกลไกในการที่จะหล่อหลอมเขา
อันนี้คือข้อจำกัดที่เราบอกว่ามันหายไปแล้วข้อที่น่ากังวลคือมันมีช่วงเวลาของมัน สมมุติถ้าเราอยู่แบบนี้ไปอีก 1-2 ปี เด็กประมาณ 5-6 ขวบแล้วอยู่แบบนี้ 1-2 ปี แล้วเขาไม่ได้พัฒนาเรื่องนี้เลยมันน่าจะมีผลกับบุคลิกภาพของเด็กกลุ่มนี้อาจจะนำพาไปถึงเข้าสังคมไม่เป็นหรือปรับตัวกับคนอื่นไม่ได้
คือผลจากการ Learning Loss ที่มองว่าควรจะเป็น แต่ส่วนตัวไม่ได้มอง Learning Loss ในแง่ของวิชาการอ่านเขียนไม่ได้ บวกลบเลขไม่ได้ แก้โจทย์ปัญหาเลขสามสี่ชั้นไม่ได้เรามองว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ตามทันได้
พัฒนาการของเด็กแต่ละด้านไม่เท่าต้องสังเกตอย่างเดียว คือต้องสังเกตและรู้จักเขาด้วย ถ้าเราสังเกตลูกตลอดและเรารู้จักตัวตนของลูกอะไรเปลี่ยนเราจะรู้ทันทีว่าอันนี้ผิดปกติ อย่างจากที่คุยพูดเยอะๆ มาวันหนึ่งถามคำตอบคำเราก็จะงอนอะไรพ่อหรือเปล่าหรือเป็นอะไรบอกพ่อได้ไหมมาคุยกันหน่อยสองคนคือต้องสังเกตถึงจะรู้
อีกส่วนที่สามารถจะรู้ได้คือสถานการณ์ให้เห็นสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแล้วเขาแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมอะไรออกมาบางทีดูจากตรงนั้นได้ เช่น พฤติกรรมด้าน Value ตัวหนึ่งคือการแบ่งปันถ้าสมมุติเขาอยู่แต่บ้านเขาไม่เคยแชร์กับใครเพราะเขาเป็นลูกคนเดียวปรากฏว่าช่วงเวลา On site เขาไม่เคยได้รับการถูก Treatment สอนว่าการแบ่งปันดีอย่างไรเราก็ไม่รู้ว่าลูกหายตรงนี้ไป
พอมีสถานการณ์ที่ลูกต้องแชร์อะไรบางอย่างแล้วเราเห็นว่าลูกทำไม่ได้ เราจึงเกิดการเรียนรู้ว่าเราลูกมีปัญหาตรงนี้จริงๆ บางเรื่องบาง Learning ของเด็กเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรอก ต้องสังเกตเขาไปเรื่อยๆ รู้จักเขาเพียงพอหรือต้องมีสถานการณ์บางอย่างมาให้เราเห็นว่าเขาทำได้เปล่าหรือเขาไม่มีตัวนี้เราต้องช่วยเขาเรื่องนี้ พ่อแม่รับมือลูกพัฒนาการถดถอย
เอาตำราการเป็นครูมาใช้กับที่บ้าน อย่างลูก 2 คน จะเรียนผสมระหว่าง Online กับ On Hand ในแต่ละวันคุณครูก็จะมีคลิปประมาณ 9.30 น. คุณครูก็ส่งคลิปมาทางไลน์ไม่ได้เป็น Real time เป็นลักษณะ On demand คุณพ่อคุณแม่สะดวกเวลาไหนก็ดู แต่อย่างที่บอกพอเราอยู่กับลูกเราต้องดูแลลูกเรื่องนี้
เด็กต้องมี routine เหมือนเวลาอยู่โรงเรียน เวลาเราอยู่ที่บ้านเราก็จะมี routine คุณจะตื่นนอนกี่โมงก็ได้แต่แปดโมงเช้าทุกคนต้องทานข้าวแล้ว อาบน้ำแต่งตัวทานข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็จะรู้แล้วว่าเวลาที่เราจะช่วยเขาดูแลในเรื่องของอาบน้ำแต่งตัวเราจะช่วยดูแลเขาได้ก่อนแปดโมง ถามว่าเขาดูนาฬิกาเป็นไหม ไม่เป็น แต่เขาจะใช้วิธีถามว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว เขายังเด็กยังดูนาฬิกาไม่เป็นแต่เราก็จะให้เขารู้ว่าต้องตื่นได้แล้วใกล้ถึงเวลาแล้ว
ช่วงเวลา 8.00 – 9.30 น. โดยประมาณคือช่วงเวลาที่เขาทานอาหารเช้า แล้ว 9.30 น. เป็นช่วงเวลาที่เขาดูคลิปของคุณครู คลิปก็จะมีความยาว 10-15 นาที ก็จะใช้วิธีเปิด I-Pad แล้วเราก็จะนั่งทำงานของเราไปด้วย พ่อจะเริ่มทำงานประมาณ 8.30 น. หรือ 9.00 น. พอถึงเวลาที่เขาทานข้าวเสร็จก็ปล่อยเขาเล่นอิสระของเขาไปก่อนพอถึงเวลา 9.30 น. เราก็จะเรียกเขากลับเพื่อมาดูคลิป พอเรียนเสร็จ 2 คลิป คลิปแรกเหมือนเป็นเสริมประสบการณ์มีเรื่องเราตามธีมตามหัวเรื่องตามหน่วย เสร็จแล้วก็เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
คลิปที่ 3 กิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งบ้านนี้ไม่เคยทำเลยเพราะกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ใช้เวลามากเคยทำกับลูกแล้วเราก็เครียดไปด้วยเพราะเหมือนลูกไม่ฟังคำสั่งครูเลยครูบอกให้พับเขาก็ขยำ ทำไมหนูไม่พับละครับครูให้ทำอย่างไรเราก็ Replay ให้ดูใหม่กระดาษแผ่นใหม่เขาก็ไม่ได้ เราเลยรู้สึกว่าก่อนหน้ากิจกรรมสร้างสรรค์เขาเรียนผ่านมาแล้ว 2 คลิป คุณครูเขาก็ยืดหยุ่นคุณครูก็ไม่ได้อะไรกับเรามากว่าต้องได้นะคุณพ่อ เราก็จะบอกวันอาทิตย์เช้าเราจะมาเคลียร์
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม เพราะคุณครูเขาจะมีลิสต์มาในแต่ละวันต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง ช่วงแรกๆ ก็มีเหมือนกันบางวันเปิดคลิปมาพร้อมจะทำละปรากฏว่าต้องมีแกนกระดาษชำระ ก็ต้องไปหาในห้องน้ำแล้วแงะออกมา
เพราะฉะนั้นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เราจะยกยอดไปวันอาทิตย์เลยทำพร้อมกัน พอเสร็จแล้วก็ปล่อยให้เขาเล่นอิสระทานข้าวบ้านนี้ยังคงให้นอนกลางวันอยู่ routine พวกนี้เราต้องจูนกันพักใหญ่ไม่ใช่จู่ๆ เราเซทขึ้นมาโดยที่ลูกเราโอเคหรือไม่โอเคกับ routine เหล่านี้หรือเปล่าก็ไม่รู้
แล้วก็มีระบบการชมเชยเขาใช้ระบบเหมือนกับเวลาเขาอยู่ในห้องเรียน ที่ฝาตู้เย็นจะมีกระดาน Reward อย่างวันนี้ถ้าอาบน้ำเดี๋ยวได้หนึ่งดาวแล้วเราจะสะสมแต้มไปเรื่อยๆ แต่ก็จะไม่บอกว่ารางวัลคืออะไรพอให้เป็นสีสันเป็นลูกเล่นให้เขามีอะไรตื่นเต้นว่ามีอะไรท้าทายเขาบ้างในบางเรื่อง
แต่ที่โรงเรียนเขาจะดีอย่างตรงที่จะมี VDO Call ให้สัปดาห์ละครั้งไว้ใช้คุยกับเพื่อนเขาจะมีหัวข้อให้ว่าอาทิตย์นี้จะคุยเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นก่อนที่จะคุยกับเพื่อนๆ ในห้องเราต้องคุยกับลูกก่อนเพื่อเตรียมข้อมูลว่าต้องคุยอะไรกับเพื่อน หลังเขาก็จะรู้งานเขาจะเรียนรู้ระบบที่ว่านี้เอง
แต่ช่วงหลังตื่นนอนกลางวันจะเหมือนโรงเรียนเลยก็จะมีอาหารว่างให้เขารีเฟรช แล้วก็ออกกำลังกายแล้วก็จะมีช่วงเวลาทองของเขาให้เรารู้ว่าเด็กกับจอเด็กกับการ์ตูนเป็นของคู่กัน เราจะมีกติกาเราจะมีเช็คลิสต์ให้เขาว่าถ้าวันนี้ตั้งใจเรียนคุณครู 2 คลิป นอนกลางวันครบ กินข้าวหมด เก็บจานที่อ่างล้างจานทำหน้าที่ครบมี 5 ติ๊ก จะได้รางวันดู I-Pad ให้ดู YouTube เขาก็จะมีลิสต์ของเขามาเราก็จะมี Reward ให้ เราก็จะคุมให้ดูในช่วงเวลาคือตอนหนึ่งก็ประมาณ 20 นาที จะบอกว่ากว่าจะได้มาถึงตรงนี้ต้องปรับต้องจูน
ซึ่งช่วงแรกๆ ก็ผ่านความเครียดกันมาพอสมควร เพราะว่าลูกก็ยังปรับตัวไม่ได้กับการที่อยู่ๆ วันหนึ่งพ่อแม่ต้องมาดูเขาในเรื่องที่ต้องเรียนกับคุณครู ในมุมลูกเขาจะมีความรู้สึกว่าในเรื่องของการเรียนคุณครูต้องเป็นคนดูแลเขาสิทำไมวันนี้เป็นพ่อเป็นแม่แล้วเขาต้องฟังไหม พอถึงจุดหนึ่งสรุปเราต้องฟังพ่อแม่หรือฟังครูก็เป็นจุดนั้นที่เป็นจุดเปลี่ยนผ่านจนกระทั่งเขาเกิดการเรียนรู้ว่าต้องฟังพ่อแม่แล้วเพราะพ่อแม่ช่วยเราดูแลเรื่องที่เราเรียน
อาจารย์เคยคุยกับเพื่อน เพื่อนก็มีลูกเหมือนกันก็มาปรึกษาว่าต้องทำอย่างไรลูกทำนี่ทำนั่นไม่ได้เลย ผมเลยถามเพื่อนว่าตอนเด็กๆ พ่อแม่เคยดูเราไหม เขาบอกดูสิ แล้วเรารู้สึกชอบไหม เขาก็บอกไม่ชอบ นั่นละลูกเราก็รู้สึกเหมือนกัน
ไม่เรียนอนุบาลข้ามชั้นไปเลย? คนที่กำลังจะส่งลูกเข้าเรียนอนุบาล 1 ก็จะมีคำถามว่าไม่ต้องส่งลูกเข้าเรียนไหมดรอปเลยได้ไหม เพราะลูกเรียนออนไลน์ที่บ้านเราก็ต้องเรียนกับลูกดูแลลูกอยู่ดี แบบนี้ทำให้ลูกเสียโอกาสไหม
ต้องอธิบายอย่างนี้ในอนุบาลการศึกษาปฐมวัยยังไม่นับว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับพอยังไม่เป็นการศึกษาภาคบังคับการดรอปไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่อันนี้มองในแง่ตัวบทกฎหมายก่อนดรอปได้ถ้าอยากดรอปไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ มองในมุมของคุณพ่อคุณแม่ประเด็นข้อคำถามข้อนี้มักได้ยินในบริบทโรงเรียนที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น โรงเรียนนานาชาติ ที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เข้าใจในข้อจำกัดของทุกฝ่ายว่าตอนนี้ทุกคนได้รับผลกระทบในทางใดทางหนึ่งเหมือนกันหมด
ในมุมมองนักวิชาการอย่างที่บอกไปตอนต้นพัฒนาการบางด้านมันรอคอยไม่ได้หรือพัฒนาการเรียนรู้บางอย่างมันจำเป็นต้องอาศัยความต่อเนื่องในการพัฒนาในส่วนๆ นั้นมันถึงจะทำให้ฐานการเรียนรู้ของเขามีความแม่นยำ คงทน หนักแน่น พอจะใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ในระดับที่มันสูงขึ้นต่อไปได้
เพราะฉะนั้นถ้าถามในมุมของนักวิชาการถ้าการดรอปของคุณพ่อคุณแม่อยู่บนเงื่อนไขและความจำเป็นของข้อจำกัดเรื่องของค่าใช้จ่าย เรื่องของอะไรต่างๆ นานา แล้วเรามีความมั่นใจว่าเรามีความสามารถที่จะดูแลลูกได้อย่างเต็มที่ในขณะที่เขาอยู่ที่บ้านในช่วงระหว่างที่เขาดรอปอันนี้ก็ค่อนข้างคลายความกังวลใจไปได้เยอะ
ถ้าเป็นรูปการแบบนี้ดีไม่ดีอาจจะดีกว่าด้วยถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็น Full Time ที่อยู่กับลูกทั้งวันได้สามารถ Educate หากิจกรรมทำกับลูกก็เข้ากับ In person การพัฒนาที่เป็นแบบ In person อาจจะดีกว่า Online แต่ต้องมีความพร้อมจริงๆ ถึงจะสามารถทำได้
แต่ถ้าในบริบทที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มีเวลาให้กับลูกเต็มที่ขนาดนั้นหรือลักษณะของการให้ลูกอยู่กับคุณย่าคุณยายหรือคุณปู่คุณตาพี่ป้าน้าอาช่วยดูแล้วทุกท่านก็มีภาระกิจส่วนตัวของท่านหมด อันนี้ค่อนข้างกังวลใจการดรอปเป็นการทำให้เด็กสูญเสียโอกาสไปโดยปริยาย มันพูดยากว่าควรหรือไม่ควรเพราะแต่ละบริบทมีความพร้อมมีข้อจำกัดแต่ละบ้านจะมีเหตุมีผลเชิงปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน
แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่จะคิดเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจเรื่องนี้คือต้องดูที่ประโยชน์ของตัวลูกเป็นหลักถ้าดรอปแล้วลูกไม่เสียประโยชน์ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าสมมุติว่าดรอปแล้วจากเดิมที่ลูกเรียนปกติได้เต็มร้อยพอเรียนออนไลน์อาจจะลงมาเหลือ 50 หรือ 60 แต่ถ้าเราดรอปแล้วเราไม่มีความพร้อม 50-60 เราก็จะไปไม่ถึง
เพราะฉะนั้นมันคือได้นิดได้หน่อยก็ถือว่ายังได้ ที่น่ากลัวคือถ้ามันผ่านไปแล้วมันจะกลับมาแก้ไม่ได้ โอกาสที่จะพัฒนาเรื่องนี้มันผ่านไปแล้วมันจะกลับมาพัฒนาได้แต่โอกาสที่ได้จะไม่เต็มที่ไม่เต็ม 100
ต้องจัดการตัวเองที่เป็นพ่อแม่ก่อน ถ้าเรายังจัดการตัวเองไม่ได้เราจะไม่มีความพร้อมที่จะไปช่วยลูกได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการเรียนรู้ของลูกที่เรียนรู้จากที่บ้านขณะนี้ลูกเราอยู่ในวัยพึ่งพิงผู้ใหญ่
ลูกยังไม่มีวุฒิภาวะที่จะพึ่งพาตัวเองได้ในทุกๆ เรื่องยังต้องการพึ่งพาเราอยู่ เพราะฉะนั้นในแง่ของการดูแลลูกเพื่อที่จะไม่ให้สูญเสียอะไรไปมากกว่านี้เราก็ต้องพร้อมก่อน ความพร้อมของเราหลักๆ ที่ลูกต้องการคืออะไร คือเวลา เราอาจจำเป็นจะต้องปรับเวลาชีวิตของเราใหม่
อย่างอาจารย์เองช่วงเวลาที่จะสามารถตรวจการบ้านนิสิตหรือทำงานคือช่วงเวลา 5.70-7.30 น. คือตื่นแต่เช้ามืดแล้วมาทำก่อนเขาตื่น ถ้าเขาตื่นขึ้นคืองานของเราต้องพักก่อนแล้วก็มีภาคบ่ายต่อ เราทำงานถึง 7.30 น. ก็ไปดูเขาอาบน้ำ ทานข้าวเสร็จ เราก็ทำงานต่อประมาณ 8.30 น. พอ 9.30 น. ก็ช่วยเขาดูเรื่องเรียนในขณะที่เราเรียนด้วยความที่เขาเรียนจากคลิปเราก็ทำงานของเราไปด้วย อีกช่วงเวลาทองคือช่วงเขานอนกลางวัน
พอมันจัดระบบตัวเองได้ จัดระบบชีวิตได้แล้วเราเอาตัวเองไปอยู่ในระบบชีวิตนั้นได้แล้วแล้วลูกก็เรียนรู้กับระบบเราก็สามารถปรับตัวเขามาได้ มันก็ทำให้การใช้ชีวิตมันไปได้
ปกติบ้านอาจารย์ต้องออกบ้านตลอดทุกเดือนต้องไปเที่ยวสักที่หนึ่งมาถึงตอนนี้ที่เราอยู่ในสภาวะล็อคดาวน์บ้านเราจะอยู่ได้หรือเปล่า เราไม่เคยอยู่กันนิ่งๆ เลย ช่วงแรกคิดว่าเราจะมีปัญหากับเรื่องนี้เหมือนกัน
ปรากฏว่าพอเราปรับ Routine การใช้ชีวิตของเราทั้งตัวเราเองแล้วก็ลูกด้วย บางช่วงเราคิดว่าลูกอยู่แต่ในบ้านเราควรต้องพาไปเปิดหูเปิดตา เช่น วันอาทิตย์เราก็จะไปนั่งรถเล่นไม่ต้องไปแวะไหน ไม่ต้องไปลงตรงไหน นั่งรถเล่น พาไปได้ 2 ครั้งๆ 3 เขาก็ไม่ไปแล้วเพราะเวลาที่ไปคือเวลาหลังจากที่เขาตื่นนอนกลางวันมันจะเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของเขา เช่น ทานอาหารว่าง เล่น การที่ออกไปนั่งรถเล่นเขาไม่สนุก เราก็ฟังเขาหลังจากนั้นก็บอกถ้าหนูอยากออกเมื่อไหร่ให้บอก แต่ถ้าหนูไม่อยากออกก็ไม่เป็นไรเราก็อยู่บ้าน คือ 1.ให้เวลาเขา 2. ต้องสังเกตดูความต้องการเขาว่าต้องการความช่วยเหลืออะไรจากเราแล้วก็ให้ในสิ่งที่เขาต้องการความช่วยเหลือ
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u