สมองของเด็กปฐมวัยมีค่าและมีเวลาทองที่ต้องใช้เวลาบ่มเพาะ หากเราพลาด ละเลย หรือไม่เข้าใจการทำงานของสมอง ก็อาจจะทำให้พลาดโอกาสทองไปอย่างน่าเสียดาย มาฟังกันว่าแล้วสมองต้องการสื่อแบบไหน กิจกรรมแบบไหนที่สมอง need มากที่สุด โดย อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ปกติเวลาเราพูดว่าปัญหาออทิสติกที่ไม่ได้มาจากยีนไม่ได้มาจากพันธุกรรมที่พูดถึงปัญหาออทิสติกเทียมที่มาจากสื่อ พัฒนาการล่าช้าที่เราเจอเคสกันในทางการแพทย์ ส่วนใหญ่พัฒนาการล่าช้าทางด้านภาษา ทางด้านสังคม พอพัฒนาการช้าทางภาษาก็จะไม่ได้เรียนรู้กับมนุษย์เพราะพัฒนาการแรกๆ ของเด็กปฐมวัยคือเรียนรู้ทางจากภาษาเป็นหลัก
ภาษาคือเครื่องมือหลักในการที่จะเรียนรู้ทำความรู้จัก ภาษาไม่ใช่เพียงแค่ Verbal คำพูด ภาษายังคงหมายถึงสีหน้า แววตา ท่าทาง อารมณ์ บรรยากาศมาคุ บรรยากาศแฮปปี้ เสียงของพ่อแม่ phonic สัทศาสตร์ สำคัญหมด เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีไม่ได้สิ่งเหล่านั้น
เวลาเราบอกว่าพ่อแม่ให้เด็กดูการ์ตูนที่เป็นภาษาอังกฤษแล้วพ่อแม่บอกว่าลูกพูดภาษาอังกฤษเองได้ อันนั้นไม่ใช่การเรียนรู้ภาษาที่ถูกต้อง การเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติของมันคือ Two Way Communication สื่อสารสองทาง ถามไป รอคอย ประมวลผล ตอบกลับ > ตอบกลับ ประมวลผล โต้ตอบ การพูดคุยโต้ตอบสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ตั้งแต่เล็กที่พ่อแม่เล่น จ๊ะเอ๋ ก็คือ การมี การหาย เสียงของพ่อจำได้ แล้วก็เด็กเล็กๆ ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตดีๆ ลูกจะอ่านปากในวัยตั้งแต่ 0-3 ขวบ ลูกจะอ่านปากก็คือการเห็นริมฝีปาก
เพราะฉะนั้นพูดช้าๆ คอมพิวเตอร์ คลิปวีดิโอในยูทูป มันพูดแล้วพูดเลย กล้อง Wild Screen เด็กจะอ่านปากได้ไหม ยิ่งในแทปเล็ต ในมือถือจอมันก็ยิ่งเล็กลูกไม่มีโอกาสที่จะอ่านปาก นั่นคือเหตุผลว่าทำไมพัฒนาการภาษาล่าช้า พัฒนาการทางภาษาจะทำงานได้ดีก็คือว่า ตามองเห็นปาก หูได้ยินเสียง ตาทำงานกับหูสัมพันธ์กัน แม่บอก ดอกไม่สีแดง ลูกบอล ลูกปิงปอง ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ซาลาเปา
วิธีการประกอบสร้างคำภาษา คือ ตามองเห็นสิ่งนั้น หูได้ยินสิ่งนั้น ตามองเห็นปากการอ่านและเห็นรูปสิ่งนั้นอยู่ มันจะไป Mapping กันในหัว แล้วถ้าเด็กทำหน้าไม่เข้าใจ พ่อแม่สามารถ Repeat ซ้ำได้ แต่ในคลิปมัน Repeat ไม่ได้ มัน Replay ได้แต่เด็กจะกดตรงนั้นไหม
การเรียนรู้ของเด็กคือการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดเลย แต่สื่อดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ ทีวี อินเทอร์เน็ต วิทยุ เกม โทรศัพท์มือถือ ไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นปัญหาที่มักเกิดเลยในทางมิติของสมอง ก็คือพัฒนาการทางภาษาล่าช้าเพราะการเรียนรู้ภาษาผ่านอิเลคทรอนิคส์ ผ่านคลิปวีดิโอ ผ่านจอทีวี ไม่ใช่การเรียนรู้ทางภาษาแบบปกติ จึงทำให้เด็กขาดความมั่นใจในการที่สื่อความหมาย ออกเสียงได้ตามคำ และการอดทนรอคอยตีความ
ภาษามันคือการใส่รหัส ถอดรหัส แต่ในยูทูปในคลิปวีดิโอ ในสื่อสังคมออนไลน์ ในทีวี รายการโทรทัศน์ การ์ตูน มันเป็นแค่การได้ยินเสียงเฉยๆ แต่มันไม่ได้เห็น Non Verbal คือ อวัจนภาษา นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราไม่ควรให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากสื่อดิจิตอลมากเกินไป เพราะว่ามันทำให้เขามีระบบการเรียนรู้ทางภาษา
ทำไมพัฒนาการที่สองที่ล่าช้าถึงเป็นทางสังคม เพราะมาจากภาษาล่าช้า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมการเรียนรู้ การเข้ากลุ่ม การรู้อารมณ์ กาลเทศะ หมวดอารมณ์ของพ่อแม่ รู้น้ำเสียง รู้โทน วิธีการเรียนรู้เหล่านี้เด็กจะได้เรียนรู้ทั้งภาษาทางตรงและภาษาโดยอ้อม Denotative ความหมายตรง กับ Connotative ในดิจิตอลไม่มี Connotative มีแต่ Denotative ก็คือความหมายตรงๆ ทางเดียวด้วย
ภาษาคือการ Comparative เราไม่สามารถอธิบาย ก ไก่ ได้ถ้าเราไม่มี ข ไข่ แต่ในคลิปวีดิโอ ยูทูป หรือคลิปสื่อสังคมออนไลน์ หรือว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ มันไม่ใช่ภาษาแบบ Comparative มันคือการ Communicative เฉยๆ ฉันพูดคุณจะฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็เรื่องของคุณ ภาษาเหล่านั้นมันขาดบริบท ขาด Setting ขาดว่ากำลังพูดอยู่ในที่แห่งใด
ฉะนั้นเมื่อเด็กไม่ได้เอาตัวเองไปสถาปนาในเหตุการณ์ ในกาลเทศะ ในบริบท เหล่านั้น เด็กจะเรียนรู้ภาษาได้แย่มากและเมื่อเรียนรู้ภาษาได้แย่มาก การเรียนรู้ทาง Interactive ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก็แย่ลงไปด้วย พูดคุยไม่จ้องมองไม่สบตา ในยูทูปเราจะสบตาใคร ในจอ Screen ใน แทปเลต ใน Netflix / Tiktok เราจะดูอะไรเราไม่มี Eye Contact แล้วเรากำลังมองหน้าคนที่ไม่รู้จักอยู่ด้วย
เพราะฉะนั้น Attachment หรือสายใยสัมพันธ์ก็หายไปด้วย Intimacy พวกนี้จะหายไปหมด เด็กเล็กปฐมวัยส่วนใหญ่ที่มีปัญหาก็ตั้งแต่ 0-3 ขวบ เด็กใช้สื่อดิจิทัลเร็วเกินไป แล้วก็ทำให้เวลาที่เขาเรียนรู้ แปลเจตนาความหมายทางภาษามันก็พร่องลงไปด้วย แล้วก็ส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคม และแน่นอนเมื่อทั้งอย่างนี้ที่เป็นฐานรากหลักเสียไปก็จะส่งผลต่อ IQ สติปัญญา เพราะวิธีสร้างความฉลาดเกิดจากการเรียนรู้จากสังคมก่อน เรียนรู้ว่าอะไรทำได้ สิ่งไหนเกิดขึ้น มันเป็นเหตุผลซึ่งกันและกันในมิติเชิงสังคม
สื่อดิจิทัลเขามีเส้นเรื่องของมันเองที่เขาทำมาแล้วคลิป 5 นาที 10 นาที 2 ชั่วโมง สมองต้องการช่วงเวลาพักคิด โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม สมองทำงานคล้ายกัน คือ มันต้องมีเวลาในการเชื่อมโยงเซลล์ประสาทต่างๆ ถ้ามันเร็วเกินไป สมองของเด็กเหมือนคอมพิวเตอร์ที่ยังประมวลผลไม่ทัน ดิจิตอลเส้นเรื่องเส้นเดียวกันไม่ว่าคนจะดู คลิปนี้ วิดีโอนี้ การ์ตูนนี้ กี่ล้านคนเส้นเรื่องคือแบบเดียวกัน
แต่ถ้าคุยกับพ่อแม่ ช้าเร็ว เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน คุยกับย่าก็จะอะไรนะย่า อะไรนะปู ช้าเร็วไม่เหมือนกัน เราอยากรู้ว่าการ์ตูนเรื่องแค่ไหน กิจกรรมเพลงแบบไหนที่เราจะเปิดให้ลูกได้ วิธีการง่ายนิดเดียวดูจังหวะการก้าวเท้าเดินของลูกแล้วนับ เส้นเรื่องก็ประมาณนั้น ถ้าช้าลูกก็เดินช้าๆ เตาะแตะ ซ้ายขวา
ผมใช้เกณฑ์นี้ในการวินิจฉัย EF ของลูกต้องสัมพันธ์ในการคิดเชิงบริหารของลูกได้ ลูกไม่ใช่รีบิวต์คอมพิวเตอร์แบบนาโนเมตรการคิดคำนวน เพราะฉะนั้นต้องช้าๆ ก่อน เขาถึงพูดว่าในเด็กปฐมวัย Slow it Golden ช้าคือทองคำ เร่งคือทำลายวิธีคือของเด็ก ดิจิตอลเป็นระบบคิดที่อัลกอลิทึมคิดมาเสร็จแล้ว แต่ถ้าเด็กได้คิดเองได้ใช้สื่อเอง ได้ใช้ดินน้ำมันจับโยนวาง เล่นตัวต่อจับผิดจับพลาด tryout and Error การเรียนรู้การผิดพลาด คือสาระสำคัญของการเรียนรู้ของเด็ก
ไม่ใช่ว่าเด็กซึมซับ Absorb รับทุกอย่างดูคลิปแล้วสูบทุกอย่าง ลูกฉันต้องฉลาดแน่เพราะดูทั้งสารคดีสัตว์โลก สัตว์ป่า ลูกไม่ใช่ฟองน้ำ สมองรับได้ประมาณหนึ่งแล้วก็ต้องประมวลผลต้องเก็บนอนเอาไว้ก่อน
เพราะฉะนั้นเวลาที่หลับนอนตอนกลางคืน ความทรงจำระยะยาวถูกเขียน สมองก็จะดึงเอาความทรงจำที่มีประโยชน์ เพราะว่าอะไรละทำไมมันเป็นความทรงจำในระดับลึกละ เพราะว่ากิจกรรมนั้นเป็นกิจรรมที่ Immersive เต็มครบประสาทสัมผัส ตอนนั่งทำกิจกรรมนี้นั่งตักพ่อ พ่อโอบเห็นหน้าแม่ยิ้ม เห็นน้องหัวเราะ เห็นบรรยากาศ เหล่านี้สร้างความทรงจำไว้ทั้งหมด
แต่ถ้าเป็นดิจิทัลบริบทอื่นไม่เกี่ยว ยิ่งเด็กสวมหูฟังเล่นเกมใครเรียกไม่ได้ยิน เข้าสู่ภาวะ Voice Noise ห้องมืดไม่เห็นตัดบริบททั้งปวง เพราะฉะนั้นบริบทการเรียนของเด็กเป็นตัวช่วยประกอบสร้างประสบการณ์ให้เด็กทุกรูปแบบ ฉะนั้นคือเหตุว่าทำไม EF ในการเรียนรู้ในแบบโลกจริง โลกที่เป็น Real Experience จากการทำกิจกรรม EF เรารู้ คือ ทำงานบ้าน วาดรูป ปีนป่าย หรืออ่านนิทาน 4 อย่างนี้คือกิจกรรมที่ส่งเสริม EF ดีมากเพราะว่า 1 คือช้า 2 สร้างประสบการณ์เต็มรูปแบบ 3 Intimacy ที่เด็กได้รับตอนที่อยู่สัมผัสกับพ่อแม่ และที่สำคัญมี Interactive การ Two Way Communication เกิดขึ้นได้
ปกติสมองก็เหมือนต้นทุนถัวๆ ไปมันมีระยะเวลาการพัฒนาของมัน เราบอกเราลองปล่อยไปเรื่อยๆ ลองดูสิว่าผล 8 ปี 8 ขวบจะเกิดอะไรขึ้น 10 ขวบจะเกิดอะไรขึ้นแล้วค่อยไปซ่อมตอนนั้น ประเด็นคือมันไม่ใช่ เวลาที่เราง่วงนอน 3 ติด เราขอนอน 3 วันติดชดเชย 3 วันที่แล้วได้ไหม
การนอนเป็นการพักผ่อนวันต่อวัน การกินโภชนาการของเด็กวันนี้พร่อง วันนี้ก็คือพลาด ไปเติมวันพรุ่งนี้ได้ไหม ไม่ได้ โภชนาการเด็กสำคัญมื้อต่อมื้อ การนอนสำคัญวันต่อวัน ขวดนมสำคัญกล่องต่อกล่อง พลาดแล้วคือพลาดเลย เพราะฉะนั้นสมองมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ พลาดแล้ววันนี้คือพลาดแล้ว พรุ่งนี้ซ่อมไม่ได้ เพราะเราเสียโอกาสพลาดแล้วคือพลาดเลย
ฉะนั้นวิธีการคือการพัฒนามิติเชิงสมองหรือคุณภาพของสมองจะต้องทำในตอนที่เป็นเด็กปฐมวัย จะไปทำตอนเด็กโตไม่ทันแล้ว เมื่อกี้คำถามคือ ก็ปล่อยให้ดูไปก่อนได้ไหม ก็ยังไม่เห็นผลกระทบ มันยังไม่เห็นตอนสิ้นวันนี้แต่มันจะค่อยๆ สะสมไป ก็จะทำให้พัฒนาการของสมองล่าช้า คุณพ่อคุณแม่ถึงมามีปัญหาพัฒนาการทางภาษา ทางสังคม ทางสติปัญญา และส่งผลสุดท้ายที่คุณพ่อคุณแม่มักเอามามหาหมอจริงๆ คือ พัฒนาการทางด้านอารมณ์ไม่สมดุล กรีดร้อง โวยวาย ก้าวร้าว รุนแรง อาละวาด แย่แล้วถึงพามาหาหมอซ้ำ อันนี้คือล่าช้าไปมาก เป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดี ของพวกนี้คือของที่สะสม
อีกเรื่องคือดิจิทัล มีลูกบอกไหมระบายสีติดระบายสี วันนี้ไม่ได้ระบายสีรู้สึกขาดใจ ไม่เคยมีเด็กคนไหน หนูอยากเตะฟุตบอล ไม่มี ผมจะบอกว่ากิจกรรมเหล่าเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้พลังงานไปกับมัน แล้วเด็กก็จะรู้สึกผ่อนคลาย วิ่งออกกำลังกายสัก 45 นาที รู้สึกกระปรี้กระเปร่า เอ็นดอร์ฟิน โดมาปีนหลั่ง เวลาเราออกไปแคมปิ้ง เอาท์ดอร์ ปีนน้ำตก ปีนภูเขา ไปทะเล เรารู้สึกว่า เวลา 1 ชั่วโมง หรือ 1 วันที่เราทำกิจกรรมเหล่านี้เรารู้สึกเหมือนได้ชาร์จแบต ธรรมชาติจะมอบพลังเหล่านี้กลับมาให้เรา
จริงๆ คนเราการ Retreat การบำบัดทำให้ตัวเองได้ผ่อนคลาย ธรรมชาติหรือกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แต่ในทางกลับกัน แบบนี้แล้วกันลูกวันนี้ 8 ชั่วโมงแทนที่จะทะเล แม่ขอทดสอบหน่อย 8 ชั่วโมงนี้ให้ลูกเล่นเกมไปเลย เด็กจะรู้สึกอย่างไรหลังจากจบ 8 ชั่วโมงเล่นเกมต่อเนื่อง
การทดลองและข้อเท็จจริงส่วนมากบอกแล้วว่าดิจิตอลฉกฉวยเวลาพลังงานสูบไปจากเรา แต่ถ้าเด็กทำกิจกรรมเอาท์ดอร์เยอะๆ เด็กจะเหมือนกับว่าได้รับพลังงานธรรมชาติ ธรรมชาติมีกลไกเยียวยามนุษย์ให้รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้มันทำเรารู้สึกเติมเต็ม โอโซน อากาศ ออกซิเจน สีเขียว แสงแดด สายลม สายน้ำ ของพวกนี้คือการ Retreat
ฉะนั้นเด็กๆ ก็จะส่งผลการเรียนรู้ที่สมดุล เพราะธรรมชาติไม่พูดอะไรแต่ดิจิตอลพูดตลอดเวลา ธรรมชาติไม่พูดอะไรเด็กต้องเรียนรู้ Connotative ภาษาความหมายแฝงตลอดเวลา แสงแดดหมายถึงอะไร นกร้องหมายถึงอะไร คลื่นลมพัดหมายถึงอะไร เด็กจะได้เรียนรู้ มันไม่บอกเราโต้งๆ สังเกตดูว่าเด็กกลุ่มสแกนดิเนเวีย กลุ่มประเทศนอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน เขาจะให้เด็กเล่นตอนเช้า ปีนต้นไม้ตอนเช้า ออกกลางแดดกลางแจ้งตอนเช้า
นักเรียนไทยตอนเช้าทำอะไร เข้าแถว เคารพธงชาติ บางโรงเรียนมีออกกำลังกาย สาระของเราคือสวดมนต์ เคารพธงชาติ ธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา จริงๆ แล้วสิ่งที่ควรขึ้นสู่ยอดเสา ขึ้นสู่ส่วนสูง คือเด็กควรปีนต้นไม้ เด็กปฐมวัยควรปีนต้นไม้ทุกวันตอนเช้า กระบวนการทางสมองคือแบบนี้
สมมติลูกสาวผมปีนต้นไม้ เธอต้องคิดว่าระยะแขนของเธอ ชัก จับ ดึง ปีนป่าย ได้เท่าไหร่ เธอต้องคาดการณ์กิ่งนั้น ต้องมองกิ่งนี้ ต้นไม้ไม่บอกวิธีใช้ ต้นไม้ไม่บอกอะไร ไม่กระซิบอะไรเด็กต้องคิด ต้องฟังเสียงตัวเอง คาดการณ์กำลังของตัวเอง และเรียนรู้ว่าการคาดการณ์ว่าถ้าจับกิ่งนี้ จะไปกิ่งนี้ ขาแบบนี้จะลงไม่ได้ เด็กจะเรียนรู้ใช้วิธีการใช้การสมองครบทุกมิติ นั่นคือเหตุผลทำไมเด็กปีนต้นไม้ถึงฉลาด เพราะต้นไม้ไม่มีสูตรสำเร็จในการปีน
ต้นไม้ 1 ต้นมีวิธีการปีนแต่ละแบบของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันด้วย ปีนแบบเมื่อวาน ปีนแบบวันนี้ก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นนี่เป็นสิ่งที่บอกว่าทำไมเราถึงเลือกใช้สื่อ ต้นไม้คือสื่อถ้าเราเลือกใช้เป็น ดิจิตอลพักไว้ก่อน ต้นไม้ของจริง ขี่จักรยานของจริง เพื่อนเล่นมีจริง การมีเพื่อนเล่นสำคัญกว่าการมีของเล่น
ช่วงเด็กปฐมวัยสัมพันธภาพสำคัญมาก อีกเรื่องที่สำคัญคือ ความสัมพัทธ์ Relative ความสัมพันธ์คือ Relation ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ กับลูก กับพี่น้อง กับปู่ยาตายาย พวกนี้สำคัญมาก สำคัญมากกว่าที่เด็กจะไปให้ความสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ในดิจิตอล
อีกตัวก็คือ ความสัมพัทธ์ Relative คือ รู้ว่าตอนนี้ต้องทำอะไร รู้ว่าตอนนี้พระอาทิตย์ตก รู้ว่าลม รู้ว่าฝน รู้ว่ามีใครอยู่ที่บ้าน รู้ว่าข้างบน ข้างล่างเป็นอย่างไร รู้ว่าข้างหน้า ข้างหลัง รู้ว่ามื้อเช้ามือเย็น รู้ว่าร้อน รู้ว่าเย็น ความรู้สึกเหล่านี้ที่จะทำให้เด็กสนใจ ได้ยินเสียงของตัวเอง
เพราะฉะนั้นของเล่นอะไรก็ตามที่ทำให้เขาได้ยินเสียงของตัวเองได้สัมผัสอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง อันนั้นคือสิ่งที่มีความหมาย เพราะฉะนั้นการที่พ่อแม่เลือกของเล่น ตอนที่นั่งเล่นเราก็ต้องไปมีปฏิสัมพันธ์กับลูก ลูกได้รู้ว่าคนนี้สัมพัทธ์กับเรา ก็คือว่าอยู่ในเวลานี้ตอนนี้ในความทรงจำนี้
เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่สร้างประสบการณ์และความทรงจำในเวลานี้ตอนนี้คุณจะไปสร้างตอนไหน เพราะฉะนั้นเด็กปฐมวัย พัฒนาการสมวัยไม่ได้บอกเด็กฉลาดอย่างเดียว พัฒนาการสมวัยคือ ภาษา ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม 5 มิตินี้ต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน
มิติเชิงสัมพัทธ์ เช่น รู้ว่านกอยู่ข้างบน รู้ว่าไส้เดือนอยู่ข้างล่าง รู้ว่านกบินได้ รู้ว่านกบินเร็ว อันนี้คือการเรียนรู้มิติเชิงสัมพัทธ์ ซึ่งจะส่งผลให้สมองทำงานอย่างสมดุลด้วย แต่ในดิจิตอลโทรศัพท์มือถือ แทบเลต มันทำได้นิ้วสัมผัส ไม่ต้องออกแรง แต่ดินสอสี 1 แท่ง สีแดง จับกำ จับจด ดินน้ำมันจับบิด ของเล่นในชีวิตจริงคือของเล่น 3 มิติ
แต่ของเล่นในดิจิตอลมิติไม่มี เมื่อมันไม่มีมิติ กว้าง x ยาว x สูง x เวลา เพราะฉะนั้นเด็กถึงไม่อยู่กับ Rehourity เพราะว่าในของจริง เช่น ตอนนี้เล่นไม่ได้นะตนไม้ลื่นฝนตกถ้าปีนจะลื่นตก ต้นไม้ที่ปีนไม่ได้ มีเรื่องแห้งเรื่องเปียก เรื่องลื่น เรื่องจับถนัด แต่ดิจิตอลกดกี่ทีก็เรื่องเดิม แต่ในของจริงในชีวิตจริงบริบทมันมีมิติเชิงสัมพัทธ์เยอะมาก แล้วเด็กที่ฉลาดก็จะรู้ว่าไปสนามเด็กเล่นตอนนี้ไม่ได้ฝนเพิ่งตก เดี่ญวรออีกสักชั่วโมงมันแห้งคือเล่นได้ แห้งคือไม่ลื่น ไม่ลื่นคือปลอดภัย เด็กจะมีมิติของการใช้ความเชื่อมโยงสมองในเชิงบูรณาการสูงกว่า เขาถึงบอกว่าการเล่นในโลกจริงมันสร้าง EF ได้ดีกว่าการเล่นในโลกเสมือนจริง
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u