โลกดิจิตอล และโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างทุกวันนี้ อาจจะกำลังทำให้พ่อแม่กำลังหลงทิศผิดทาง พาลูกกระโจนลงไปด้วย…
แต่ในความเป็นจริง เด็กปฐมวัยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องท่องโลกดิจิตอล เด็กควรได้เรียนรู้โลกใบเล็กๆ ของเขา ได้เติมเต็มความไว้เนื้อเชื้อใจ ให้มีความไว้วางใจในโลกใบเล็กของเขาก่อน.... จะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ในโลกที่ทุกวันเด็กต้องเรียน Online!! ฟังวิธีการรับมือจาก อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ผมก็เป็นมนุษย์คุณพ่อมนุษย์คุณแม่ทั่วไปที่โตมาในยุคที่สื่อเยอะมาก สื่อปัจจุบันที่เป็นเทคโนโลยีมือถือ คุณพ่อคุณแม่บางคนคิดว่าเราอยู่ในยุค 5G ยุค IT แต่ในทางนิเทศศาสตร์เราจะเรียกสื่อยุคนี้ว่า Immersive Media คือ Immersive แปลว่า จุ่มให้เปียก มีแก้วทำปากกา ดินสอหล่นลงไป ดินสอเปียก ลูกชิ้นจุ่มลงไปน้ำจิ้มลูกชิ้นเปียกน้ำจิ้ม ฟังดูไม่รู้เรื่องเลย Immersive Media ยุคนี้ก็คือยุคที่สื่อเต็มไปด้วยประสบการณ์ เต็มรูปแบบ
โทรศัพท์มือถืออยู่ในกระเป๋า ทีวีอยู่ตรงหน้า โน้ตบุ๊กอยู่ตรงนี้ tabletอยู่ตรงนั้น วิทยุก็เปิดฟัง มีสื่อเยอะไปหมดประสบการณ์ผมก็โตมาจาก Generation X ก็อายุผมประมาณ 40 เพราะฉะนั้นผมโตมาในยุคที่คุ้นชินกับการมีสื่อตั้งแต่ดั้งเดิมคือวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ถ้าย้อนกลับไปตอนที่ผมยังไม่เป็นพ่อตอนที่ผมเป็นเด็ก ผมก็จะบอกว่าประสบการณ์ในวัยเด็กของผมคือเล่นอยู่กับธรรมชาติ เล่นอยู่กับเพื่อน ในวัยเด็กการมีเพื่อนเล่นสำคัญกว่าการมีของเล่น
กุศโลบายของการละเล่นไทยก็คือการให้เด็กมีเพื่อนเล่นมากกว่ามีของเล่น ของเล่นก็มาจากธรรมชาติ ม้าก้านกล้วย ทางมะพร้าว ต้นไม้ใบหญ้า ลูกกะลา ลูกหมาก อะไรก็ตาม เล่นหม้อข้าวหม้อแกง วันนี้ผมเดินเข้ามาลูกสาวผมเขาก็มา พ่อๆ ดูนี่สิหนูเอาดอกไม้สีต่างๆ แล้วเขาก็คั้นเป็นน้ำ สีแดงมาจากดอกเข็ม สีเหลืองมากจากทองอุไร ฉะนั้นเราจะค้นพบว่าธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ก็เหมือนธรรมชาติประสบการณ์ของผมตอนเล็กๆ ก็คือว่าเด็กปฐมวัยต้องการเรียนรู้ที่จะไว้ใจโลกใบนี้เขาต้องแน่ใจว่าโลกใบนี้อยู่รอดปลอดภัยอาศัยได้ เพราะฉะนั้นถ้าเขาไปเล่นดิจิทัลนั่นคือโรคเสมือนจริงมันเป็น Virtual World มันไม่สามารถทดแทนกับโลกจริงๆ ได้ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยก็คือ แม่มีอยู่จริง พ่อมีอยู่จริง ยายมีอยู่จริง บ้านนี้มีอยู่จริง ร้องแล้วได้กินนมมีอยู่จริง ร้องแล้วได้อกไออุ่นมีอยู่จริง เพื่อนมีอยู่จริง หิวแล้วได้กินไม่อยู่จริง
ที่นี้สำรวจโลกของเขานี่ห้องนอน นี่ห้องน้ำ ไฟมืดกลางคืนหนูไม่กล้าไปห้องน้ำไม่เป็นไรลูกลองไปห้องน้ำดูเปิดไฟห้องน้ำดู ในบ้านไว้ใจได้ หน้าบ้านไว้ใจได้ ข้างบ้านไว้ใจได้ ซอยข้างๆ ซอยนี้เดินปลอดภัย ถ้าเราเลี้ยงลูกมาในช่วงปฐมวัยเราจะเข้าใจว่า Trust ของเขาวิธีการสร้างความรู้สึกว่าเขา Trust ดิจิทัลไม่สามารถทดแทนได้เลยเพราะสิ่งแรกที่เขาต้องไว้ใจได้คือโลกใบนี้ที่เขาอาศัยอยู่ เพื่อน 4-5 คน ที่โรงเรียน คุณครูคนนี้ที่เข้าไปโรงเรียนวันแรกกลัวแต่วันหลังๆ “ครูคะ หนูปวดท้องมากเลยค่ะ” เขาต้องกล้าที่จะมอบความไว้ใจให้กับโลกใบเล็กๆ
แต่ดิจิทัลไม่ใช่โลกใบเล็ก ดิจิทัลเป็นโลกใบใหญ่และเป็นโลกเสมือนจริงและเป็นโลกที่เขาไม่จำเป็นต้องไว้ใจ มันเป็นโลกห่างไกลระยะความใกล้ชิดสัมพันธ์มันไม่มี โลกดิจิทัลเราไม่รู้พูดว่ากี่เมตรแต่คุณพ่อคุณแม่คือเดินออกจากห้องนู้นเจอห้องนี้ มันพูดได้ว่าจากชั้น 1 ลงมาชั้น 2 มันมีระยะในเชิงกายภาพ เพราะฉะนั้นดิจิทัลถ้าผมแชร์ประสบการณ์ก็คือว่า
โลกของเด็กช่วงปฐมวัยที่ผมมีลูก 2 คน ต่อไปลูกก็จะออกห่างไปเรื่อยระยะเชิงกายภาพ คือ โลกที่แท้จริงที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเขาจะต้องมีเพื่อนสนิทที่อยู่ในซอยในโรงเรียนในหมู่บ้านเดียวกันในกิจกรรมเดียวกัน เขาไม่จำเป็นที่จะต้องมีเพื่อนที่อยู่ในดิจิทัล เขาไม่จำเป็นต้องสร้างจินตนาการที่ห่างไกลมากไปกว่า Intimacy ระยะความสัมพันธ์ใกล้ชิดในความเป็นมนุษย์
เพราะฉะนั้นเราถึงพูดว่ามนุษย์ในสถานการณ์โควิดจริงๆ แล้วเราไม่ต้องการ Content หรอกเราต้องการ Context มากขึ้นก็คือว่าเราต้องการบริบทว่าเรายังเป็นมนุษย์อยู่ พ่อแม่ที่คิดว่าจะเองสื่อดิจิทัลมาเพราะเราอยู่ในยุคสังคมสารสนเทศทุกคนต้องมีมือถือ มีความเร็วของอินเตอร์เนท มีความแรง บ้านไหนเข้าไม่ถึงแสดงว่าลูกฉันด้อยโอกาส ให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติก่อนดิจิทัลเทคโนโลยียังไม่จำเป็นลูกของฉัน 0-6 ขวบ โลกของเขาเป็น Small World สวนสัตว์ไว้ใจได้ แปลงเกษตรชุมชน สวนบ้านท้ายสวน บ้านริม 4 5 บ้านในซอยนี้ไว้ใจได้ฝากฝังได้ ดังนั้นเราลองมองว่าโลกของเด็กยังไม่จำเป็นต้องขยายใหญ่เหมือนกับโลกดิจิทัล
อย่าเพิ่งไปสร้างโลกใหญ่ขนาดนั้น ผมจะพูดประโยคถ้าฟังแล้วคุณพ่อคุณแม่ตั้งสติให้ดี มนุษย์ไม่ได้มีวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อให้เรามีเพื่อน 1 ล้านคน เด็กไม่จำเป็นต้องมีเพื่อน 1 ล้านคน เราไม่จำเป็นต้องมี follower 10,000 คน เราไม่จำเป็นต้องมีผู้ติดตาม 2 แสนคน เด็กปฐมวัยจำเป็นที่จะต้องไว้ใจคนในครอบครัว หรือมีเพื่อนสัก ป. 4-5 มีเพื่อนที่รู้จักสนิทชิดเชื้อนอนคุยบอกความลับเล็กๆ กันได้ตอนกลางวันประมาณ 2-3 คนเท่านั้นเอง อย่าลืมว่าเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ใช่เทคโนโลยีเพียงแค่ดูการ์ตูน เทคโนโลยีดิจิทัลคือสื่อสังคมที่สร้างสังคมเสมือนจริงขึ้นมาด้วย
โดยกฎทั่วๆ ไปวัย 0-2 ขวบ ห้ามใช้สื่อดิจิทัลเลย ใช้ได้อย่างเดียวเท่านี้คือ VDO Call จะคุยกับปู่ย่าตายายที่ต่างจังหวัดใช้ได้แค่ VDO Call นั่นคือสิ่งเดียว แต่ว่าถ้าเป็นวัย 2 ขวบเป็นต้นไปพอจะใช้ได้ที่เป็นดิจิทัลที่เป็นการ์ตูนอาจจะจำกัดเวลาระยะต่อครั้งประมาณ 10 นาที แต่ทั้งวันไม่ควรเกิน 45 นาที ถ้าเป็นเด็กเล็ก มากที่สุดที่ให้ได้คือประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวันที่เป็นดิจิทัล
เราไม่นับรวมค่าชั่วโมงพ่อแม่ต้องคิดแบบนี้ถ้าเป็นดิจิทัลคุณหมอบอก กุมารแพทย์บอก ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อบอกว่าต้องไม่เกิน 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมงต่อวัน ที่นี้กิจกรรมอื่นๆ การเล่นดินน้ำมัน การไปสนามเด็กเล่นไม่นับเป็นชั่วโมงการเล่นใช้สื่อเลย คุณแม่บ้างคนบอกแล้วเรียนออนไลน์นับด้วยไหม ไม่นับ เรียนออนไลน์ไม่นับคุณครูจะเรียกเข้ามาเจอเพื่อนกี่นาทีก็ต้องไม่นับ
เพราะฉะนั้นนับชั่วโมงจะเป็นแบบนี้ 0-2 ขวบ ใช้ไม่ได้ / 2-4 ขวบ วันละประมาณ 35-45 นาที พอไปถึง 6 ขวบ ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมง จำนวนที่ผมพูดเมื่อกี้คือจำนวนที่เป็นดิจิทัลที่เป็น Content ที่เป็นทีวีออนไลน์ ที่เป็นการ์ตูน ที่เป็นคลิป คำแนะนำอื่นๆ เช่น ถ้าพ่อแม่อยากเปิดการ์ตูนให้ลูกดูต้องเป็นเรื่องสั้นๆ หรือมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน การ์ตูนค่ายใหญ่ๆ ทำการ์ตูนหนังยาวปกติการ์ตูนเหล่านั้นไม่เหมาะกับเด็กต่ำกว่า 7 ขวบ
เพราะว่าวัย 0-6 สิ่งที่เขาจะเรียนรู้มีแค่เรื่องกิจวัตรประจำวันเรื่องของเหตุการณ์ในชีวิตจริง เขายังไม่พร้อมที่จะไปแฟนตาซี ความแฟนตาซีคือจินตนาการเรื่องที่ต้องแฟนตาซีเรื่องที่ surreal เหนือชีวิตมากเกินไปเขาจะไม่คุ้นชิน ซินเดอเรลล่า สโนวไวท์ ทำไมเปิดฉากมามีแม่เลี้ยงแล้วก็ต้องทำงานบ้าน เพราะแม่มีอยู่จริงถึงจะแม่เลี้ยงใจยักษ์แต่ว่างานบ้านก็มีอยู่จริงเหมือนแม่ด้วย
เพราะฉะนั้นเหตุผลที่เราบอกว่าจำนวนชั่วโมงที่เราพูดกันก็คือจำนวนชั่วโมงของการใช้สื่อแต่จำนวนชั่วโมงที่สำคัญกว่าก็คือไม่ใช่ Screen Time แต่เป็น Play Time หรือ Face Time ก็คือจำนวนชั่วโมงที่ตามองตาเราคุยกันโอบกอดกันใกล้ชิดกันอย่างนี้สำคัญ Face Time สำคัญ Screen Time อย่าเกิน 1 ชั่วโมง Play Time สำคัญด้วยคือเวลาที่เล่นด้วยกันจริงๆ แล้ว Play Time ไม่ต้องไปนับเลยกี่ชั่วโมงเล่นลูกเดียว คือมีลูกกี่คนก็เล่นกับลูกอย่างเดียวเลย เพราะฉะนั้นจำนวนชั่วโมงที่จะใช้คำถามของพ่อแม่ก็คือในช่วงนี้ Screen Time อาจจะเสี่ยงมากขึ้นเด็กอยู่บ้านมากขึ้น
ลูกสาวผมก็เป็นผมแชร์ประสบการณ์ก็คือไม่อะไรทำวิธีการที่ผมใช้คือจะให้ทำกิจกรรมคือวาดรูปก่อนวาดนู้นวาดนี่ ผมจะไม่ได้ให้ดูสื่อทุกวันถ้าจะให้ดูจะ Fix คือให้ดูอยู่กับที่การ์ตูนจะไม่ตามเราไปในรถยนต์ การ์ตูนจะไม่ตามเราไปทะเลไม่ตามเราไปน้ำตก ไม่ตามเราไปตลาดไม่ตามเราไปนั่งรอเบื่อๆ การ์ตูนจะอยู่กับที่อยู่ที่จอทีวีจอใหญ่ พอลูกติดกับดักเสร็จแล้วลูกเรียกร้องอยากจะดูจะทำอย่างไร
อยากจะดูบนรถไม่อนุญาตให้ดูบนรถมันคือเมื่อไหร่ก็ได้ยิ่งไปตอบสนองความเมื่อไหร่อย่างไรก็ได้มันก็จะมาบ่อยๆ เหล่านี้เป็นเทคนิคที่ผมใช้ ยอมรับว่าเทคนิคพวกนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านมีระเบียบวินัยสไตล์การเลี้ยงลูก
0-2 ขวบ ไม่ควรใช้เลย ยกเว้น VDO Call
2-4 ขวบ ไม่เกินวันละ 30 นาที
4-6 ขวบ ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมง
และทั้งหมดที่พูดไปก่อนการนอนครึ่งชั่วโมงห้ามใช้เด็ดขาด วันนี้หนูยังไม่ดูเลยขอดูก่อนนอนได้ไหม แต่หนูกำลังจะนอนแล้วนะลูกใช้ไม่ได้ กิจกรรมก่อนนอนควรเป็นกิจกรรมที่ไม่มีแสงสีฟ้าจากหน้าจอ นาที16.57 จำนวนชั่วโมงสะสมได้ไหม ลูกเจ้าเล่ห์เจรจาต่อรองเมื่อวานไม่มีสักชั่วโมงวันนี้ขอสองชั่วโมงได้ไหม ไม่ได้เรื่องนี้ไม่ใช่คูปองสะสมนะลูก ห้ามใช้ระบบสะสม ระบบคูปองกับลูก บางบ้านก็มีทริคแปลกๆ แต่ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี เช่น
ถ้าทำดีติดดาวแล้วหนูมาขออะไรก็ได้ ถ้าอย่างนั้นขอดูการ์ตูนได้ไหม เห็นไหมเขาให้คุณค่าการดูการ์ตูนกลายเป็นเรื่องดีกว่า ระบบพวกนี้เน้นว่าต้องเพลาๆ หน่อย พอโตไปจะไปสร้างแรกจูงใจที่ผิดจะทำดีสำหรับตัวเองกิจวัตรประจำวันไม่บกพร่องก็ต้องมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาล่อลวงล่อหลอกคืออย่าไปวางเล่ห์กลกับลูกมาก ลูกก็จะเลียนแบบรู้จักเล่ห์กลภายหลังเราก็จะปวดหัวฉันไม่น่าวางกฎไว้แบบนี้เลยแล้วลูกก็เอามาย้อนรอยเราทีหลังในที่สุด
เพราะฉะนั้น 0-2 ขวบ ไม่ควรใช้เลย ใช้ได้เฉพาะVDO Call โควิดห่างไกลกันแบบนี้โทรติดต่อกันได้กับปู่ย่าตายาย 2-4 ขวบ วันละ 30 นาที 4-6 ขวบ ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมง หลัง 2 ทุ่ม หรือครึ่งชั่วโมงก่อนอนไม่ควรใช้เลย วันเสาร์อาทิตย์ถึงจะบอกว่านอนดึกจริงๆ แล้วกิจกรรมที่ดีที่สุดสำหรับเสาร์อาทิตย์คือกิจกรรม Outdoor Intimacy ใกล้ชิด Interaction ปฏิสัมพันธ์ 2 In นี้สำคัญที่ต้องบ่มเพาะในเด็ก สัมพันธ์ใกล้ชิดและให้ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นมนุษย์จะดีกว่า
รายการทีวีที่ออนแอร์รายการนี้ต่อรายการนี้ผมจะไม่ให้ดูเพราะว่าดูจบแล้วหยุดไม่ได้เพราะลูกจะเห็นว่ามีรายการถัดไปเพราะฉะนั้นการดูแบบออนแอร์บ้านผมจะไม่ไห้ดู ผมจะไม่เปิดทีวีทิ้งไว้เพราะลูกจะรู้สึกว่าทีวีเป็นเรื่องปกติ ทีวีไม่ใช่เรื่องปกติก่อนหน้านี้เราไม่มีทีวี ถ้าจะเปิดให้ดูจริงๆ ผมจะเปิดออนดีมานในยุคนี้เราเปิดออนดีมานได้แต่ทีวีหรือสื่อดิจิทัลจะเป็นเบื้องหลังก่อนเพราะว่าผมจะลงทุนกับหนังสือการ์ตูนหนังสือนิทาน
ถ้าจะต้องเปิดจริงๆ สมมตินิทานอ่านแล้วหรือวันนี้ผมหมดแรงแล้วแม่ก็หมดแรงด้วยต้องใช้ตัวช่วยผมจะเลือกออนดีมานคือการ์ตูนที่สามารถจะเปิดเมื่อไหร่ก็ได้หยุดเมื่อไหร่ก็ได้ และจบก็คือจบ จบเป็นตอนๆ ไป การ์ตูนที่เลือกก็ให้ต่ำกว่าวัย 7 ขวบ ถามว่า 5 ขวบดูต่ำกว่า 7 ขวบได้ไหม ดูได้ การ์ตูนที่ผมมักเลือกมีเนื้อหาไม่แฟนตาซีแบบ Surreal
ผมจะเน้นเรื่อง Child Center คือเกี่ยวกับเด็กเป็นหลัก เช่น เรื่องการผจญภัย DORA หรือ Puffin Rock สำหรับเด็ก 3-4 ขวบ หรือดูการ์ตูนที่เป็นเรื่องสั้นๆ การ์ตูนที่ไม่มีคำพูดและตัดภาพเร็ว บางคนสงสัย คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องนี้นะ การ์ตูนที่ตัดภาพเร็ว การ์ตูนที่ดี
สำหรับเด็กปฐมวัยคือไม่ตัดฉากเร็วเพราะเด็กยังคงต้องการ Mapping ในสมองว่าตรงนี้เกิดขึ้น ตรงนี้เกิดขึ้นเหมือนเราดูสมุดนิทานภาพ เพราะฉะนั้นถ้าจะต้องดูซินเดอเรลล่าผมจะเลือกนิทานก่อน 36 หน้า เลือกนิทานที่ตัวอักษรน้อยเพราะผมต้องเล่าเองก่อน ถ้าจะต้องดูการ์ตูนจากจอทีวีจริงๆ จะเลือกทีมีความยาวต่ำกว่า 20 นาที เพราะว่าเด็กมี concentration
ในช่วงปฐมวัยในช่วง 3-4 ขวบ ประมาณ 35 นาทีเต็มที่แล้วลากกว่านั้นสมองจะล้า เพราะฉะนั้นเทคนิคก็คือดูเป็นตอนๆ สมมติการ์ตูนยาวมากผมจะให้ดูเป็นพัก แล้วก็จะนั่งดูไปกับลูกเสมอเพื่อบ่งชี้อธิบายฉากบงฉากที่เขาไม่ทันหรือตีความไม่ได้การรับรู้ของเด็กตีความได้ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่
เพราะฉะนั้นพ่อแม่นั่งอยู่ข้างๆ โซฟาเป็นสิ่งจำเป็นมากพ่อแม่บางคนบอกเปิดดูการ์ตูนแล้วฉันก็สบายใจฉันจะไปทำงานไม่ต้องมานั่งดูลูก การนั่งทำงานอยู่กับลูกคือสาระสำคัญพ่อแม่บางคนบอกเปิดการ์ตูนไว้แล้วสบายใจ อย่าทิ้งลูกไว้กับทีวี ถ้าเป็นไปได้ปล่อยทีละ 35 นาทีหยุดก่อน
เพราะว่ามันออนดีมานเราสามารถกดหยุดได้ เอาละแม่ว่าน่าจะพอก่อนนะเรื่องมาถึงตรงนี้ทบทวนดูสิว่าเป็นอย่างไรพรุ่งนี้มาดูต่อถ้าเป็นเรื่องยาว แต่อย่างที่บอกเด็กปฐมวัยเขาอยากดูอะไรที่มันสั้นๆ 10 นาทีกำลังดี เลือกสีที่ไม่ฉูดฉาด เลือกสีละมุนละม่อมสีที่มันเป็นธรรมชาติ จังหวะเล่าเรื่องไม่เร็วเกินไปไม่มีแสงตัดวูบวาบไม่มีเสียงดังอึกกะทึกไม่มี Visual Graphic ที่เยอะแยะมากมาย
แต่การ์ตูนที่เล่าเห็นในปัจจุบันมันตัดภาพเร็วเกินไปนั่นคือแรกที่จะสกรีนก่อน เพราะฉะนั้นเทคนิคสำหรับผม ผมจะดูก่อนภาพ เนื้อเรื่องเหมาะสมไหม ปัญหาอย่างมากที่พ่อแม่นึกไม่ถึงนี่เป็นกับดักเลยพ่อแม่คิดว่าการ์ตูนก็คือวาดแอนิเมชั่น เป็นภาพวาดการ์ตูนระบายสี ตัวละครคาแรคเตอร์เป็นการ์ตูนปลอดภัยจริงๆ ไม่ใช่
ในเด็กปฐมวัยพ่อแม่ต้องดูมากกว่านั้นคือจะต้องดูโครงเรื่องเส้นเรื่องพลอตเรื่องคาแรคเตอร์ของการ์ตูนดูสาระสำคัญของการ์ตูนว่ามีเหตุการณ์ สถานการณ์อะไรแล้วเรื่องเหล่านั้นที่กำลังฉายอยู่เป็นเรื่องที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยหรือเปล่า เพราะการ์ตูนหลายเรื่องภาพวาดดูเป็นการ์ตูนจริงแต่เรื่องราวเนื้อหามันไม่ใช่สำหรับเด็กปฐมวัย เพราะฉะนั้นต้องสกรีนเอาออกไปยังไม่ใช่เวลาที่จะต้องดู
อันนี้เป็นเทคนิคที่ผมให้เวลาคุยกับลูกซึ่งผมก็จะพูดว่าการ์ตูนเรื่องนี้หนูยังอายุไม่ถึง ตอนนี้หนู 4 ขวบ อันนี้เขาบอกว่า 7 ขวบ แล้วพ่อดูแล้วเนื้อหายังไม่เกี่ยวข้องกับวัยหนู อย่าเพิ่งดูดีกว่าเดี๋ยวเราหาเรื่องอื่นดีไหม สัปดาห์หนึ่งจะไม่ได้ดูทุกวันจะดูวันศุกร์กับวันเสาร์เท่านั้น สไตล์การเลี้ยงลูกของพ่อแม่สำคัญลักษณะงานของพ่อแม่ การมีเวลาหรือไม่มีเวลาของพ่อแม่อันนี้ก็สำคัญมาก
แต่ลักษณะที่สำคัญน้อยและไม่ค่อยเกี่ยวข้องแล้วพ่อแม่อย่าเพิ่งหามาเป็นเหตุข้ออ้างคือความรู้เรื่องนี้ฉันไม่มี จงนึกไว้ก่อนว่าตัวเองคือเทคโนโลยีสิ่งที่สำคัญที่ลูกจะเล่นได้ บางวันผมนึกไม่ออกลูกสาวก็มาเกาะแกะปีนหลังวันนี้คุณพ่อเป็นควายให้หน่อยก็คือผมต้องลงไปนั่งคุกเข่าแล้วให้ลูกสองคนปีนแล้วก็เล่น
เห็นไหมว่าร่างกายของพ่อแม่ก็คือสนามเด็กเล่นของลูก หลังบ่าไหล่คอแขนขาในวันที่สนามเด็กเล่นทำไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องแข็งแรงร่างกายกระดูกทุกอย่างใช้กำลังวังชาจงใช้พื้นที่ร่างกายเพื่อเป็นสนามเด็กเล่นให้ลูกทุกวันนี้ผมก็ทำอยู่แล้วรู้สึกว่าลูกยิ้มได้ อันนี้เราพูดถึงเด็กเล็กนะ 4-5 ขวบ เขายังสนุกกับเราอยู่ ฉะนั้นฉกฉวยเวลาพวกนี้เอาไว้ วันหนึ่งที่ลูกไม่เล่นกับเราจะรู้สึกอย่างไร จริงๆ
แล้วผมใช้ความเป็นพ่อมากกว่านักวิชาการนะสัญชาตญาณความเป็นพ่อจะมากกว่า เวลาเราเลี้ยงลูกเราจะรู้สึกว่าความรู้เอาไว้ก่อนเพราะลูกแต่ละคนคาแรคเตอร์ไม่เหมือนกันจริตจิตวิทยาแต่ละคนไม่เหมือนกันฉะนั้นใช้สัญชาตญาณของความเป็นพ่อเป็นแม่เรียนรู้จากลูกใช้ความรักเยอะๆ ให้เวลาเยอะๆ รับรองไม่มีผิดพลาด
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u