หลังเจ้าตัวเล็กหลับแล้ว ชวนเช็กเสียงกรนกันค่ะ เพราะเสียงกรน อาจจะไม่ใช่แค่เสียงในลำคออีกต่อไป แต่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคระบบทางเดินหายใจ โรคอ้วน และอีกหลายโรค หากเรารู้เร็วก็จะสามารถแก้ไข ป้องกันได้เร็ว เพราะเรื่องกรนวันนี้ อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการที่ไม่ดีในวันข้างหน้า ฟังวิธีการรับมือ และสังเกตลูกนอนกรน โดย พญ.นันทินี สายหยุดทอง กุมารแพทย์ สาขาโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิภาวดี
เสียงนอนกรนจริงๆ คือเสียงของการหายใจที่ผ่านทางเดินหายใจที่ตีบแคบเมื่อทางเดินหายใจตีบแคบแล้วอากาศผ่านมา ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนได้ เสียงกรนหลักๆ ของเด็กก็จะแบ่งเป็น 2 อย่าง ก็คือ กรนเป็นครั้งคราว กับกรนเป็นประจำอย่างเด็กน่าจะเป็นกรนเป็นครั้งคราว เวลาที่กรนเป็นครั้งคราวก็คือกรนน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือว่ากรนเฉพาะเมื่อมีอาการไม่สบาย ป่วย หรือมีน้ำมูก กลุ่มนี้จะไม่ค่อยอันตรายเท่าไหร่ เพราะว่าเดี๋ยวเมื่ออาการดีขึ้น มลภาวะหายไป อาการป่วยดีขึ้น ก็จะกรนน้อยลง
กลุ่มที่อันตรายจริงๆ เป็นกลุ่มที่กรนต่อเนื่อง กรนตลอดเวลา กลุ่มนี้จะกรนมากกว่า หรือเท่ากับ 3 คืนต่อสัปดาห์ หรือว่ากรนตลอดไม่ว่าจะช่วงสบายดี ช่วงป่วย กลุ่มนี้อาจจะอันตรายได้ ความอันตรายของมันเนื่องจากว่าอาจจะสามารถเกี่ยวข้องกับโรคๆ หนึ่งที่เราเรียกว่า “โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ” หรือว่า OSA (Obstructive Sleep Apnea: OSA
สาเหตุของการนอนกรนอย่างที่บอกว่ามันเป็นเสียงของทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ตีบแคบหลักๆ ของเด็กมีอยู่ 2 อย่าง ก็คือ
สาเหตุแรก ตีบแคบจากการที่มีต่อมทอนซิลกับต่อมอะดีนอยด์โต
ต่อมนี้เป็นต่อมที่อยู่ในคอของเรา เมื่อมันโตขึ้นเราก็จะหายใจลำบากขึ้นโดยเฉพาะตอนนอน จะโตได้จากอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะโตจากการที่เราป่วย ไม่สบายบ่อยๆ หรือในบางคนเช่น เด็กที่เป็นภูมิแพ้ กลุ่มนี้ก็จะกระตุ้นให้ต่อมโตได้มาก
สาเหตุที่สอง เด็กที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
กลุ่มนี้ตัวไขมันที่อยู่รอบคอของเขา ก็จะไปกดเบียดทางเดินหายใจเวลานอนหลับเช่นเดียวกัน ส่วนสาเหตุอื่นๆ จริงๆ ก็พบได้น้อย เช่น ในกลุ่มที่มีโรคระบบประสาทควบคุมกล้ามเนื้อผิดปกติ หรือว่ามีรูปร่างหน้าตาโครงสร้างของใบหน้าผิดปกติ เช่น คางสั้น หรือขากรรไกรผิดปกติ กลุ่มนี้ก็จะกรนได้มากกว่าเด็กทั่วไป
สำหรับสาเหตุแรกโดยเฉพาะเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี ต่อมทอนซิลกับต่อมอะดีนอยด์โตจะโตเป็นปกติอยู่แล้ว พอเขาไปโรงเรียนด้วย ป่วย ติดหวัด มันก็จะยิ่งโตเรื้อรัง ส่วนสาเหตุที่ 2 ก็คือ อ้วน น้ำหนักเกิน มาแรงในช่วงนี้ ด้วยลักษณะการกินอาหาร แล้วก็ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายของเด็กๆ เป็นเทรนด์ใหม่ ส่วนใหญ่สมัยก่อนเราก็จะไปวิ่งเล่นออกกำลังกาย
แล้วเมื่อเด็กอายุประมาณ 5-6 ปี ต่อมทอนซิลกับต่อมอะดีนอยด์โตจะเริ่มยุบแล้ว แต่ในบางรายที่ยังโดนกระตุ้นบ่อยๆ เช่น เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นหวัดเรื่อรัง ก็สามารถโตไปได้ถึง 7-8 ปี ก็ยังโตได้อยู่ ทีนี้กรนแบบไหนที่อันตราย ก็คือ
1.กรนเรื้อรัง กรนต่อเนื่อง หนึ่งสัปดาห์กรน 4-5 ครั้ง
2.กรนเสียงดังมาก เสียงดังกว่าคุณพ่อ คือเริ่มไม่ปกติแล้ว
3.ขณะกรนมีลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หยุดหายใจ หายใจเฮือก หรือว่าตื่นบ่อยๆ
นอกจากนั้นก็มีบางราย เนื่องจากตื่นบ่อยก็จะมีปัสสาวะรดที่นอนในเด็กที่โตแล้ว เช่น 5 ปีเขาเคยหยุดปัสสาวะรดที่นอนไปแล้ว กลับมาปัสสาวะรดที่นอนใหม่ กลุ่มนี้ก็เป็นเสียงกรนที่อันตราย แสดงว่าถ้าเขากรน มันไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องกรน มันกระทบต่อพัฒนาการด้านใดบ้างคะคุณหมอ
หากกรนแล้วมีอาการเยอะจนมีอาการภาวะหยุดหายใจ ก็จะมีปัญหาว่าช่วงที่เราหยุดหายใจ ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงสมอง ก็จะมีออกซิเจนตกระหว่างนอนหลับได้ พัฒนาการจะมีปัญหาทั้งทางร่างกาย แล้วก็ทางจิตใจ ทางร่างกายอย่างที่ทราบกันว่าโกรทฮอร์โมนของเราจะหลั่งตอนกลางคืน ตอนที่เรานอนหลับ พอนอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ โกรทฮอร์โมนหลั่งไม่เต็มที่
เด็กก็จะมีปัญหาตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หรือว่าตัวเล็ก ตัวเตี้ย ส่วนทางจิตใจนึกภาพเหมือนผู้ใหญ่นอนหลับไม่สนิท ไม่ได้นอน นอนไม่พอ ตื่นมาตอนเช้าบางคนง่วง หลับกลางวัน หลับที่โรงเรียนตลอด หรือบางคนหงุดหงิด ก้าวร้าว สมาธิสั้น บางคนคิดว่าลูกสมาธิสั้น จริงๆแล้วปัญหาของเขาคือ เขานอนไม่พอ
การรักษา ต้องเริ่มจากการหาสาเหตุว่าการกรนของเด็กมีอันตรายหรือเปล่า สาเหตุก็อย่างที่กล่าวไป เวลาที่มาพบหมอ หมอก็จะเริ่มจากการซักประวัติ แล้วก็ตรวจร่างกายดูว่าการกรนของเขาสัมพันธ์แค่ไหน เป็นเยอะแค่ไหน ตรวจร่างกายก็อาจจะดูลักษณะอื่นๆ ลักษณะขากรรไกร ระบบประสาท ดูว่ามีลักษณะของภูมิแพ้หรือเปล่า แล้วก็อ้าปากดูต่อมทอนซิล ส่วนต่อมอะดีนอยด์จะอ้าปากไม่เห็น เราจะต้องทำการเอกซเรย์ดูต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ เพื่อหาสาเหตุ
จากนั้นก็อาจจะมีการทำการทดสอบอื่นๆ นอกจากการเอกซเรย์ เช่น ถ้าเกิดลูกมีอาการเหมือนภูมิแพ้ ก็อาจจะมีการทดสอบเรื่องภูมิแพ้ดูว่าแพ้อะไรบ้าง และอีกวิธีคือทดสอบการนอนหลับ โดยหลักๆ จะมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1.การติดออกซิเจนระหว่างที่เขานอนตอนกลางคืน
2.การตรวจแบบ Polysomnogram สามารถตรวจได้หลายๆ ค่าในเวลาเดียวกัน ตรวจทั้งคลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ค่าออกซิเจน ดูทั้งลมที่ออกมาจากจมูกตอนที่นอน
การทดสอบประเภทนี้ค่อนข้างแน่นอน แล้วก็ตรวจได้ชัดเจนกว่าประเภทแรก แบ่งการนอนกรนออกเป็นตามความรุนแรงของการหยุดหายใจ เป็นน้อย ปานกลาง มาก ถ้าอาการน้อยๆ เราอาจจะเริ่มจากการใช้ยาก่อน ทั้งแบบยากินและยาพ่นจมูก แล้วก็ติดตามอาการไป 2-4 อาทิตย์ แต่ถ้าไม่ตอบสนอง หรือว่าตรวจแล้วมีอาการค่อนข้างเยอะ เป็นรุนแรง ถ้าต่อมทอนซิลโตเราก็จะแนะนำให้ตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
ซึ่งเวลาที่ตัดไม่ได้ตัดหมดเลย ก็จะเหลือเซลล์ไว้บ้าง เอาไว้สร้างสาร จริงๆ แล้วเวลาตัดก็จะเป็นคุณหมอหู คอ จมูก ตัดไม่มีแผลนะคะ เป็นอ้าปาก แล้วก็ใช้อุปกรณ์เข้าไปตัดข้างในปาก หลังตัดก็จะเจ็บอยู่ประมาณอาทิตย์นึง ตัดแล้วพบว่าประมาณ 80% จะหายจากอาการนอนกรน แต่มันสามารถโตขึ้นมาได้ใหม่ หากยังควบคุมเรื่องภูมิแพ้ หรือว่ายังควบคุมเรื่องเป็นหวัดบ่อยๆ ไม่ได้
Sleep Test ของโรงพยาบาลวิภาวดีใช้แบบ Polysomnogram ผลที่ได้ค่อนข้างชัดเจน แล้วสามารถแบ่งความรุนแรงของโรคได้แน่นอน ทดสอบเหมือนผู้ใหญ่ เวลาทดสอบหมอจะนัดมา 1 คืน จองห้องให้ เวลานัดมาอาจจะมาเย็นๆ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่มาติดอุปกรณ์ต่างๆ ตามร่างกายไม่ว่าจะเป็นที่หน้าผาก จมูก หน้าอก ที่นิ้วเพื่อวัดค่าออกซิเจน แต่ทั้งหมดจะไม่มีการเจาะเลือด หรือไม่มีความเจ็บปวดอะไร หลังจากนั้นก็จะให้นอนธรรมดาเลยค่ะ นอนพักในห้องที่มืด แล้วก็ไม่มีเสียงรบกวน นอนอยู่กับผู้ปกครอง
ตื่นมาตอนเช้าเจ้าหน้าที่ก็มาเก็บอุปกรณ์ออก แล้วก็กลับบ้านไปใช้ชีวิตได้ปกติเลย ผลจะออกหลังจากทำเทสต์ 1 อาทิตย์ คุณหมอก็จะนัดมาฟังผลอีกที ซึ่งก็จะรักษาไปตามสาเหตุที่เกิดขึ้น
สำหรับผู้ใหญ่ฃวสาเหตุจะต่างจากเด็กตรงที่ไม่มีสาเหตุจากต่อมทอนซิลกับต่อมอะดีนอยด์โต เพราะว่าต่อมจะยุบไปแล้ว เกิดจากกล้ามเนื้อที่คอค่อนข้างหย่อนไปตามอายุ มันก็เลยเป็นสาเหตุว่า เราไม่ค่อยได้ตัดต่อมในผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่เป็นเยอะจริงๆ จะมีการใส่เครื่องเครื่องนึงที่เรียกว่า CPAP เป็นการอัดลมเข้าไปในจมูกในช่วงที่เรานอนหลับ คิดภาพเหมือนหลอดที่มันตีบ แล้วเราอัดลมเข้าไปเพื่อเปิดหลอดให้มันเปิดช่วงนอนหลับ ก็จะทำให้ทางเดินหายใจเราเปิดช่วงนอนหลับ เครื่องนี้ก็ใช่แค่ช่วงนอน ไม่เจ็บอะไร มีแค่หน้ากากมาครอบที่จมูกนิดนึง
ดูแลช่วงสภาวะฝุ่น PM2.5 ช่วงที่ ฝุ่นเยอะและอากาศเริ่มเปลี่ยนทำให้เด็กป่วยบ่อย นอกจากเรื่องการเป็นหวัด นอนกรน ก็มีเรื่องหอบหืดที่ต้องระวัง หอบหืดบางทีเราคิดว่าจะโดนกระตุ้นโดยการป่วยหรือหลอดลมอักเสบจากเชื้อโรค แต่บางครั้งแค่เจออากาศเปลี่ยน หรือเจอฝุ่นเยอะๆ หอบก็กำเริบขึ้นมาได้
กลุ่มนี้ต้องระวังเพราะบางทีคิดว่าลูกเราเป็นหลอดลมอักเสบ แต่ทำไมเป็นบ่อยมากเลย คือต้องพ่นยาเกิน 3 ครั้ง ในแต่ละเดือน ถ้าเป็นแบบนี้ต้องหาสาเหตุของโรคเพิ่มขึ้นว่ามาจากปัญหาเรื่องหอบ หรือหลอดลมไว
นอกจากเรื่องภาวะทางร่างกายที่เราบอกว่าเจริญเติบโตไม่ดี ตัวเล็ก ทางจิตใจทำให้เป็นเด็กที่หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว นอกจากนี้มีการศึกษาว่าส่งผลต่อ IQ ของเด็กด้วยในกรณีที่เป็นระยะยาวแล้วเรานอนหลับไม่เพียงพอ IQ เขาอาจจะไปไม่ถึงเท่าที่เขาควรจะเป็น แล้วถ้าเด็กนอนกรนไปนานๆ ก็อาจจะเกิดภาวะความดันสูงในเด็ก หรือว่าหลอดเลือดในปอดมีความดันสูง บางรายถึงขั้นหัวใจวายได้เลยถ้าไม่ได้รับการรักษา
รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของเด็ก คิดภาพว่าเรานอนไม่พอทุกวันคุณภาพชีวิตก็จะไม่ดีหรือว่าการเรียนเขาก็จะไม่ดี อย่างอื่นก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบหายใจ เด็กที่ป่วยบ่อยๆ ทอนซิลโตก็จะยิ่งป่วยบ่อยเข้าไปอีก ทอนซิลที่โตแล้วก็จะยิ่งอักเสบเข้าไปอีก มันคือวนลูปพออักเสบบ่อยก็จะยิ่งโต
ดูแลรักษาตัวเองให้แข็งแรง พยายามลดการเจอเชื้อต่างๆ กินอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชน หรือที่ที่มีฝุ่นมลภาวะ ส่วนใหญ่หมอจะแนะนำให้ดูค่า PM2.5 ในแอพมือถือ ถ้าเกิดว่าช่วงไหนมันสูง ขึ้นสีแดง สีม่วง พยายามหลีกเลี่ยงการออกไปกลางแจ้ง อยู่ในบ้านก่อนแล้วก็เปิดเครื่องฟอกอากาศ นอกจากนั้นถ้าเกิดเรารู้ว่าลูกเราเป็นภูมิแพ้ แพ้อะไรบ้าง แพ้ฝุ่น แพ้หมา แพ้แมว ก็พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
นอกจากนั้นที่สำคัญเลยก็คือพยายามรักษาน้ำหนักเราให้อยู่ในเกณฑ์ปกตินะคะ ผอมไป อ้วนไป ส่วผลต่อภูมิคุ้มกันทั้งหมด
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u