คลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ในบ้าน ด้วยการสร้าง Family Attachment เพราะฐานที่มั่นทางใจที่แข็งแรง จะสามารถสู้อุปสรรค ให้ล้มแล้วลุกได้ สร้าง Family Attachment กับ ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่องของความผูกพันในครอบครัว ถ้าถามว่ามันคืออะไร คือ ฐานที่มั่นทางใจ ถ้าเราบอกว่าฐานที่มั่นทางใจเหมือนคนเราต้องมีฐานทัพ ทัพเราแข็งแค่ไหน ฐานก็ต้องแข็งกว่า คนเราก็ออกไปต่อสู้โจมตีข้างนอก ก็ต้องมีอู่ข้าวอู่น้ำ แต่ถ้าเราฐานที่มั่นทางใจที่ดีเราก็จะมีอู่ข้าวอู่น้ำทางใจ เราออกไปข้างนอกไปสู้รบปรบมือกับใครกลับมาเราก็ยังมีที่ๆ ให้เราคอยพักพิง มีที่ๆ ค่อยทำให้จิตใจเราคลายกังวล ก็ไปสู้รบปรบมือได้ใหม่ อันนี้ในแง่ของการสู้รบปรบมือ
แต่ถ้าเราไม่ต้องไปสู้รบปรบมือกับใครคุณค่าของพวกเรา เราจะออกไปพิชิตอะไรสักอย่าง แล้วพิชิตให้ใคร ลองนึกถึงว่าถ้าเราประสบความสำเร็จแล้วมีคนมายินดีกับเราด้วย ฐานที่มั่นทางใจคอยสนับสนุนเรา พอเราสำเร็จก็ยินดีกับเรามันน่าจะมีความสุข แต่ถ้าเกิดเราทำอะไรสำเร็จแล้วดีใจคนเดียว เหงานะแค่คิดก็เหงา
ถึงเราจะประสบความสำเร็จมากแต่ไม่มีทัพหลังคอย Support เพราะฉะนั้นเรื่องของความผูกพันในครอบครัวคือฐานที่มั่นทางใจของมนุษย์คนหนึ่ง ที่เรามีปัญหาอะไรมีคนอยู่ข้างๆ เราประสบความสำเร็จอะไรมีคนดีใจกับเรา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของอาหารใจที่เราต้องการ ทางร่างกายก็ต้องการข้าวต้องการน้ำ ถ้าเป็นอาหารใจจิตใจเราจะแข็งแกร่ง จิตใจเราจะมั่นคงเราสามารถสู้อุปสรรคได้ ล้มได้ลุกได้ ฐานที่มั่นทางใจสำคัญมาก
ถ้าถามว่าความรักอย่างเดียวพอไหม เรื่องของความรักเป็นเรื่องของความรู้สึก ความรู้สึกจะมีอาการของมันมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามอารมณ์ แต่ความมั่นคงทางจิตใจมันเกี่ยวข้องกับเรื่องของความผูกพัน รักอย่างเดียวพอไหม เรื่องของความรักเป็นเรื่องของความรู้สึก เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ดี ที่ทำให้เราหลงใหลทำให้เรารู้สึกอยากเข้าไปเรียนรู้หรืออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แต่ความรักมันจะแปลกพอเราได้ลิ้มรสมันแล้วก็จะทำให้ความรู้สึกของเราเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ถ้ารักอย่างมั่นคงรักและให้มันพัฒนาต้องอาศัยการฝึกฝนด้วย เราจะรักอย่างไรให้พัฒนาทั้งแม่ทั้งลูกทั้งพ่อคือพัฒนาทั้งครอบครัว เพราะฉะนั้นถามว่ารักอย่างเดียวพอไหม ไม่พอ รักแล้วเราต้องรู้วิธีที่จะรักษาความรัก รวมไปถึงให้ทุกคนให้คุณค่าและให้ความสำคัญกับความรักของครอบครัวถ้าเราพาไปจนถึงจุดนี้ได้อะไรเราก็ผ่านไปได้
เวลาที่เราเห็นพ่อแม่ตามใจลูกครูหม่อมจะไม่ได้มองเห็นว่าพ่อแม่ตามใจลูก แต่ครูหม่อมกำลังเห็นพ่อแม่ตามใจตัวเอง เวลาที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องฝืนใจตัวเองเพื่อที่จะสอนลูกไปในทางที่ถูกที่ควร แน่นอนพ่อแม่ไม่อยากเสียอารมณ์ไปกับลูกไม่อยากจะทะเลาะกัน
เพราะฉะนั้นการตามใจเป็นอะไรที่ง่ายที่สุด แล้วตัวของคุณพ่อคุณแม่เองมีความคาดหวังกับลูกก็จริง แต่ที่เราไม่รู้เท่าทันก็คือเราค่อนข้างคาดหวังกับตัวเองว่าเราจะหาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ให้กับลูกให้ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นทำอย่างไรละให้รู้สึกว่าเราสมหวังแล้วในการคาดหวังตัวเองโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเราต้องหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก กดดันตัวเอง กดดันมากๆ ไม่รู้ทำอย่างไร เพราะฉะนั้นการที่เราตามใจลูก มันเหมือนทำให้การคาดหวังของตัวเองมันสำเร็จได้ง่าย
เราจะเห็นได้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีตั้งแต่ไม่ให้พอลูกง้อมากๆ ก็ให้ด้วยการตัดความรำคาญ อารมณ์ดีให้ อารมณ์เสียไม่ให้ การที่เราอารมณ์เสียแล้วต้องพูดจาดีๆ กับลูกเราก็ไม่ต้องตามใจตัวเอง ตามใจอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นเวลาที่ครูหม่อมเห็นคุณพ่อคุณแม่ตามใจลูก คุณพ่อคุณแม่เหวี่ยงลูก สิ่งที่ครูหม่อมเห็นไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่ตามใจลูกครูหม่อมกำลังเห็นคุณพ่อคุณแม่ตามใจตัวเองอยู่
เพราะฉะนั้นการตามใจตัวเองเป็นเรื่องของคนเดียว ถ้าเราพูดถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ความสัมพันธ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมันต้องเป็นเรื่องของกันและกัน เราต้องทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จแล้วเราจะไม่ทะเลาะกับคนอื่น
เริ่มได้เลย เมื่อไหร่ที่เราจะเริ่มที่จะเป็นครอบครัว เราต้องเริ่มสร้างได้เลยเรื่องของครอบครัวเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ การที่เราเริ่มเป็นแฟนกันศึกษากันและกันเริ่มแล้วนะที่เราต้องค่อยๆ ปรับตัวเป็นแค่หนึ่งเดียวไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้สึกว่าฉันอยู่ของฉันเองได้ไม่ต้องตามใจเธอไม่ต้องมีเธอก็ได้ อย่าเพิ่งมีครอบครัวยังไม่พร้อม การมีครอบครัวก็คือเราต้องมีกันและกัน
คำถามที่ครูหม่อมมักจะถามลูกศิษย์ เวลาที่เราจะแต่งงานเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราพร้อม ทุกคนก็จะตอบว่าเมื่อมันถึงเวลา นี่คือคำตอบเมื่อมันถึงเวลา เวลานั้นคือเวลาอะไร ครูหม่อมก็จะถามต่อ เขาก็จะตอบ ก็น่าจะเรียนจบ ก็น่าจะทำงานได้ มีบ้านมีรถ ครูหม่อมจะบอกเลยว่าถ้าอย่างนั้นยังไม่ใช่ ยังไม่พร้อมถ้าเกิดมันยังไม่ชัด สิ่งที่ครูหม่อมจะถามคือพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขหรือยัง เมื่อไหร่ที่คิดว่าตัวเองพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคู่เราได้
Family หรือครอบครัวจะเกิด ครอบครัวไม่ได้อยู่ที่บ้านครอบครัวไม่ได้อยู่ที่รถ ครอบครัวอยู่ที่เรา คนบางคนอาจไม่รู้ตัว แต่ครูหม่อมเจอคนหลายคนมากที่ถามว่าแต่งงานรู้ได้อย่างไรว่าพร้อม เขาก็ตอบว่ารอคนนี้เรียนจบ รอเขาได้งานก็เท่ากับพร้อม ครูหม่อมถามต่อว่ายังทะเลาะกันอยู่ไหม เขาตอบว่าคู่เราไม่เคยทะเลาะกันเลย ครูหม่อมก็จะทดไว้ในใจ แล้วค่อยๆ ตั้งคำถามขึ้นมาว่าแล้วถ้าเกิดเขาไม่มีงานจะแต่งงานกันไหม เขาก็ตอบว่าไม่แต่ง แล้วถ้าแต่งงานไปแล้วเขาตกงานจะทำอย่างไรจะหย่าหรือ
เพราะฉะนั้นพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับใครได้เมื่อไหร่ Family Attachment จะเกิดขึ้น ไม่ใช่ร่วมทุกข์แล้วไม่มีทางสุข หรือไม่ใช่ร่วมสุขอย่างเดียวพอทุกข์แยกกัน คำตอบแรกคือเริ่มที่ตัวเราสองคน
อันที่สองที่อยากให้ฝึกๆ กันไปก็คือเมื่อไหร่ที่เราเริ่มมีใจอีกคนมาอยู่ในตัวเรา ทำอะไรก็ต้องคิดถึงเขาทำอะไรจะพูดอะไร แน่นอนพวกเราอยู่ตัวคนเดียวอยากพูดอะไรอยากนอนท่าไหนอยากทำอะไรทำได้ แต่ถ้าพอเรามีอีกคนเข้ามาจะต้องมีการฝึกตัวเองอะไรที่เราเคยทำบางอย่างเราอาจจะได้ทำมากขึ้นก็ได้ แต่บางอย่างเราอาจจะได้ทำน้อยลงก็ได้ ถ้าเราฝึกฝืนได้เราก็อาจจะมีความสุขกับคนนี้ได้ มีลูกเรื่องง่ายไหม มันขัดเกลาตัวเองมาทีละระดับ
ครูหม่อมกำลังจะบอกว่า Family Attachment มีขั้นมีตอนของมัน เมื่อกี้เราร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้ละ อันที่สองคือเราเริ่มขัดเกลาตัวเองได้แล้วยอมรับความไม่น่ารักของกันและกันได้บ้างแล้ว อันนี้ครูหม่อมเรียกตามพัฒนาการด้านตัวตนด้วย แล้วก็เรียกตามคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ มักจะเรียก ขั้นแรกเป็นขั้นที่แม่มีอยู่จริงสำหรับเด็กๆ ถ้าเราถามว่า Family Attachment กับลูกเราควรสร้างเมื่อไหร่ คือลูกเกิดมาเมื่อไหร่พยายามทำตัวเองให้เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีอยู่จริง เรากำลังพูดถึงความสัมพันธ์ที่พอเราเริ่มเป็นครอบครัวสามีภรรยา ภรรยาคุณก็ต้องมีอยู่จริง ภรรยาก็ต้องมีสามีที่มีอยู่จริง
คำว่า มีอยู่จริงหมายความว่าอะไร มีอยู่จริงหมายความว่า มีอยู่แม้ไม่เห็นด้วยสายตา แม้ว่ามือสัมผัสไม่ได้แต่มีอยู่ นั้นแปลว่าไม่เห็นภรรยาอยู่ในสายตาแต่มีภรรยาอยู่ ความเกรงใจเกิดขึ้น ไม่มีสามีมาด้วยแต่สามีก็ยังอยู่กับเราการวางตัวพฤติกรรมของเราจะเป็นไปตามนั้น ไม่มีคำว่าแอบทำ ไม่มีคำว่าโกหก แต่อย่างไรก็ตามคำว่ามันมีอยู่จริง ยังเกี่ยวข้องกับถ้าเรารู้สึกว่าสามีเรามีอยู่จริงมันไม่ได้อยู่ที่ว่าแต่งงานแล้วเท่ากับสามีมีอยู่จริง หรือแต่งงานเท่ากับภรรยามีอยู่จริง มันอยู่ที่ภรรยาเราหรือสามีเราทำตัวอย่างไรด้วยให้มีอยู่จริง
เพราะฉะนั้นก็กลับมาที่ตัวเราพอเราเริ่มแต่งงานกันแล้วตัวเราเองก็ต้องเป็นภรรยาที่มีอยู่จริง ภรรยาหรือสามีที่มีอยู่จริงคือสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของคู่เราได้
คำว่าความต้องการพื้นฐานทางจิตใจร่างกายเรารู้เรื่องของอาหาร ยารักษาโรค การนอนหลับพักผ่อน แต่ทางจิตใจมันคือความรัก ความปลอดภัยทางอารมณ์ ถ้าเกิดเรานอกใจกันสามีเรามีอยู่จริงไหมหรือเป็นของคนอื่นด้วย หรือในยามที่เราต้องการความช่วยเหลือสามีเราอยู่ไหมถ้าเกิดสามีเราอยู่เราก็จะรู้สึกว่าสามีเรามีอยู่จริง
เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกมั่นคงในความรัก มั่นคงว่าสามีเรามีอยู่จริงเราไปไหนทำอะไรก็ได้สบายใจ สามีเราก็เช่นกันถ้าเราเป็นภรรยาที่มีอยู่จริงคอย Support ทางจิตใจ กลับมาถึงหิวไหม เหนื่อยไหม หรือกลับมาถึง ไปไหนมา จริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ฝึกไปเลยแม้ว่าเราจะรู้สึกว่ากลับมาบ้านแล้วฉันก็ทำงานบ้านเหนื่อยนะแต่กลับมาเขาต้องมาเอาใจฉันสิ ไม่ใช่นะต้องเอาใจซึ่งกันและกันเป็นเรื่องของกันและกัน
มาที่การเลี้ยงลูก วิธีเดียวกัน ก็คือถ้าเป็นลูกเรื่องของคำว่า “มีอยู่จริง” หมายความว่าตอบสนองความต้องการพื้นฐานได้ต่อเนื่องไม่ใช่ทำแค่วันนี้พรุ่งนี้ไม่ทำ ต้องทำจนถูกฝังไปเลยว่าถ้าอยากได้อันนี้เรียกหาพ่ออยากได้อันนี้เรียกหาแม่ นี่คือเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หากว่าเราเจอที่บอกว่าลูกฉลาดพออยากได้อันนี้แล้วต้องเรียกหาใคร ใช่เลยค่ะลูกเราฉลาด แต่ที่มากไปกว่านั้นคือเขามีพ่อมีแม่หรือใครก็ตามที่มีอยู่จริง
ครูหม่อมจะยกตัวอย่างเช่นที่บ้านคุณแม่ของครูซึ่งเป็นทั้งคุณยายคุณย่าด้วยสำหรับหลานๆ จะเป็นคนเดียวในบ้านเลยที่ทำกับข้าวแจกทุกคนในครอบครัว ครอบครัวครูเป็นครอบครัวใหญ่ เวลาที่หลานหิวเขาไม่ได้วิ่งหาพ่อแม่เขาเพราะย่าเขามีอยู่จริงวิ่งไปหาย่าได้กิน แล้วฉลาดแม้กระทั่งหยิบอะไรผิดไปหาย่าดีกว่า เช่น สมมุติเราบอกว่าทอดไข่ดาวให้กินง่ายๆ ถ้าเราหยิบไข่ก่อนกระทะ เขาจะไม่เอาหาย่าดีกว่า ทำไมละ ถ้าเป็นย่าย่าจะตั้งกระทะร้อนก่อน
นั่นคือความหมายที่ครูหม่อมบอกว่าความสม่ำเสมอที่เค้าเห็น พ่อแม่ก็ต้องทำแบบนี้ปฏิบัติกับลูกแบบนี้ เคยทำอะไรให้ได้ลูกจะเกิดภาพจำว่าเราทำแบบนี้ให้มันก็จะเป็นความผูกพัน หรือความสัมพันธ์ที่เราเรียกว่า Attachment
ที่ครูหม่อมบอก ฐานที่มั่นทางใจ เวลาที่เราอยากกินข้าวแล้วเรามีย่าความมั่นคงทางจิตใจเกิด แต่ถ้าเกิดเราหิวข้าวแล้วมองไปใครจะทำให้ ทำเองก็อาจจะทำได้แต่จะเหงาหน่อย เพราะฉะนั้นเรื่องของการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจเป็นฐานรากของเรื่องความผูกพันทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองมีอยู่จริงให้กับคนที่อยู่ข้างๆ เราหันมาเมื่อไหร่ไม่ว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งคนที่อยู่ข้างๆ เราจะต้องรู้ให้ได้ว่ามีเราอยู่ไม่สามารถช่วยเหลือได้แต่ช่วยปลอบใจได้หรือเราอาจจะทำอะไรที่เขาชินว่าต้องเป็นเรามันก็เป็นการสร้างฐานที่มั่นทางใจให้
1.ตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ
ถ้าเป็นเด็กเล็กแบเบาะเลยก็คือร้องไห้ก็ไปหา หิวก็ต้องเจอ เหงาก็ต้องมากลัวกังวลอะไรก็คืออยู่ตรงนั้น สำหรับเด็กเล็กเลยหรือตัวพวกเราเองสิ่งหนึ่งที่ทำได้ง่ายเลยคือเรื่องของสัมผัส สายตาท่าทาง สัมผัส น้ำเสียง เป็นอวัจนภาษาซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของสมอง
เราอาจจะเคยได้ยิน ซ้ายภาษา ขวาอารมณ์ เป็นเรื่องของการรับข้อมูลถ้าเราใช้ภาษาพูดสิ่งที่เขาจะถูกประมวลคือสมองซีกซ้ายจะเริ่มประมวลเราพูดอะไรหมายความว่าอะไร แต่ก่อนซีกซ้ายจะไปประมวลว่ากำลังพูดอะไร แปลว่าอะไร น้ำเสียงของเรา ท่าทางของเราถูกแปลโดยเร็วจากซีกขวาก่อนแล้ว
เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดว่า อะไรนะคะ อะไร คือซีกขวาจะเร็วมากในการรับอารมณ์เข้าไป เด็กเล็กสัมผัสเหมือนกันแต่ถ้าสัมผัสนั้นมาพร้อมความอบอุ่น สัมผัสอบอุ่นคิดว่าไม่ต้องต้องอธิบายเยอะคุณพ่อคุณแม่น่าจะรู้ สัมผัสที่นุ่มนวล อบอุ่น อ่อนโยน แม้ว่าไม่พูดอะไรก็ไปถึงกอดกันก็พอ
เพราะฉะนั้นในเรื่องของน้ำเสียง ท่าทาง สัมผัส สายตาต้องไปพร้อมคำพูดที่ดีๆ ด้วยเวลาที่เราเดินมาหาลูก โอ๋ลูกปลอบลูกใช้ท่าทางน้ำเสียงสัมผัสที่นุ่มนวลอ่อนโยนก็จะฝังตรึงตาเอาไว้กับลูก ต่อให้คุณพ่อคุณแม่ประชุมลูกแค่งอแงหรือต้องการความสนใจเราแค่เอื้อมมือไปสัมผัสเดิมๆ ตบเบาๆ ก็สื่อสารกับลูกได้แล้วแม้ไม่ต้องพูดเรียกว่าขั้นเบสิก ขั้น
2.การร่วมทุกข์ร่วมสุข
ต่อมาพอลูกเราโตสัก 2-3 ขวบ พอลูกเราเริ่มโตขึ้นเราไม่ได้พาเขาไปวางตรงไหนเขาก็อยู่ตรงนั้นเวลาที่ลูกเดินได้เวลาที่ลูกพูดได้ สังเกตได้ว่าเวลาลูกพูดอะไรกับเดินไปไหนมักสวนทางกับเราตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา เขาเดินไปเจอปัญหาอะไร หรือมีปัญหาอะไรที่เกิดความคับข้องใจ
อยากให้คุณพ่อคุณแม่อย่าปล่อย ห้ามเด็ดขาด ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งคนเดียวนานๆ อยากให้เข้าไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับลูกด้วย อย่างเช่นถ้าลูกเล่นเกมมือถือ สนุก อยู่คนเดียวได้ แต่อยู่นานไปกำลังอยู่ด้วยความสุขกับมือถือนานแปลว่าเขากำลังสร้างความสัมพันธ์ตัวเองกับมือถือเขาก็จะไม่ติดพ่อแม่ก็จะติดมือถือ
ฉะนั้นพยายามเข้าไปร่วมสุขกับเขาด้วยเล่นมือถือเมื่อไหร่ เห็นเขาสนุกนานเกินไปพาตัวเองเขาไปมีความสุขกับลูกอย่าให้ลูกมีความสุขอยู่คนเดียวนานไป ถ้าลูกมีอารมณ์ที่ Negative เชิงลบ เสียใจ โกรธ โมโห กังวล อย่าให้เขาอยู่กับอารมณ์นั้นนานเข้าไปอยู่กับเขาด้วยไปร่วมสุขร่วมทุกข์กับเขา ความมั่นคงทางจิตใจหรือฐานที่มั่นทางใจจะเกิด สุดท้ายเป็นผู้ประคองก็คือคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องประคองอารมณ์ตัวเอง
ในหนึ่งวันเรามี 24 ชั่วโมง เราทำงานกี่ชั่วโมง 8-10 ชั่วโมง มีเวลากับลูกได้กี่ชั่วโมง กลับมาที่เคล็ดลับของเราอยากเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงจะมีเวลาเท่าไหร่ก็ตามขอให้เวลานั้นเป็นเวลาที่ลูกมองหาเจอ เช่น เราจะมีเวลากับลูก 5-10 นาทีก็ได้แต่มันต้องเกิดขึ้นสม่ำเสมอทุกๆ วันจนลูกรู้ว่าช่วงเวลานี้ 10 นาที ฉันต้องได้พ่อมาเป็นของฉัน ฉันต้องได้แม่มาเป็นของฉัน
หากทำได้เราก็เป็นฐานที่มั่นทางใจให้กับลูกได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกถามแล้วเราก็บอกว่าทำงานอยู่ไม่ได้เลยแม้แต่นาทีเดียวลูกก็จะไม่มีฐานที่มั่นทางใจ ก็จะเกิดลูกเผื่อฟลุคขึ้นมาก็คือจะคอยกวนเราอยู่อย่างนี้ เผื่อฟลุคพ่อแม่ตัดความรำคาญแล้วก็มาเล่นกับเรา หรือแม้แต่แม่หยุดดุเราแล้วได้รับความสนใจจากพ่อแม่ก็เอา นี่ก็เป็นเรื่องเศร้าเป็นฐานที่มั่นทางใจแบบเศร้าๆ แต่ถ้าเราบอกว่าเรามีเวลาและเราใช้การสื่อสาร เราให้เขารอแบบมีเป้าหมายแปลว่าเขารอได้ แม้จะรอไม่ได้แต่อย่างน้อยมีที่ยึดเหนี่ยวว่าเดี๋ยวได้เจอ
วิธีการก็คือเราอาจจะนัดกับลูกไปเลยทุกก่อนนอนอาจจะไม่ใช่เป็นเวลาที่กำหนด 2-3 ทุ่ม ก่อนนอนจะเป็นพ่อหรือแม่ที่พาหนูเข้านอนแล้วจะมีเวลาคุณภาพด้วยกัน บ้านครูหม่อมจะมีข้าวเย็นเป็นเวลาคุณภาพ คือทุกคนจะไปเรียน ไปทำงาน ไปไหน ทุกคนก็ไปพอถึงเวลา 18.30 น. ทุกคนพร้อมเพียงกันที่โต๊ะอาหาร มันทำให้เราติดจนโตขึ้นมา เวลาเพื่อชวนกินข้าวข้างนอกครูหม่อมจะนัดหลัง 2 ทุ่ม เจอกัน คือต้องกินข้าวกับที่บ้านก่อนใจไม่ได้จริงๆ เพราะมันชิน มันต้องอยู่ที่ฐานนี้
แต่สิ่งหนึ่งที่มากไปกว่านั้นก็คือว่าเรารู้เลยเวลาที่เราไปโรงเรียน หรือไปทำงานไปเจออะไรก็ตาม ไม่เป็นไรครูหม่อมจะรอให้ 18.30 น. เราจะเล่าให้ที่บ้านฟังคือมีฐานที่มั่นทางใจ
การที่เด็กคนหนึ่งกำลังอยู่ในความทุกข์หรือความรู้สึกในเชิงลบแต่สามารถเก็บแล้วรู้ว่าจะสามารถไประบายได้เมื่อไหร่ นี่คือทักษะอารมณ์ เหมือนกับว่าฐานที่มั่นทางใจจะทำให้คนเราเกิดความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่เก็บกด ไม่ก้าวร้าว มีทางออก พอถึงช่วงวัยรุ่นถ้าเราสร้างฐานที่มั่นที่แข็งแรง เหมือนที่ครูหม่อมเคยบอกว่าทักษะ EF มันคือ 6 ปีแรก ถ้าเขายึดฐานที่มั่นนี้ไว้แล้วเขาโตไปไปเจออะไรเขาก็จะกลับมาฐานที่มั่นของเราได้เป็นฐานที่มั่นที่มีคุณภาพ
แล้วการสร้าง Family Attachment ไม่มีคำว่าไม่ทัน ครูหม่อมให้กำลังใจและคอนเฟิร์มด้วย สิ่งที่จะมีคือเราต้องฝืนตัวเองมากขึ้นเท่านั้นเอง แต่แพทเทิร์นเหมือนเดิมคือไปเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีอยู่จริง แล้วเมื่อไหร่ที่เราทำฐานที่มั่นนี้ที่มีอยู่จริงขึ้นมาแล้วความผูกพันมันจะถูกรีเซทใหม่จากที่ไม่ไว้ใจก็กลายเป็นไว้ใจ แล้วเมื่อไหร่ที่คนเราสามารถไว้ใจใครได้มันไม่ใช่แค่คนนั้นที่มีอยู่จริงมันคือตัวเราที่เรารู้สึกว่าเราสำคัญ เรามีอยู่จริงเราถึงมีคนที่เรารู้สึกมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้
ท้ายที่สุดเลยที่เรานั่งคุยกันตรงนี้มันคือการมองย้อนกลับมา แน่นอนเราอยากให้ลูกเรามีฐานที่มั่นทางใจแต่วันนี้เราสร้างฐานของเราอย่างไร ถ้าลูกมองหันหลังกลับมาที่ฐานเป็นความไม่ไว้ใจเป็นความระแวงความไม่มั่นคงปลอดภัยเป็นสิ่งที่พ่อแม่บ่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่คอยต่อว่าตำหนิ สั่ง ตัดสิน ตีตรา ฐานนี้ไม่น่ากลับ กลับไปเจอระเบิด ไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า
แต่ถ้ารู้ว่ากลับมาที่ฐานนี้แล้วมีกินมีใช้ ไปร่อแร่อยู่ข้างนอกแต่กลับมาจะได้สมานแผลใจ เดี๋ยวจะได้มีคนมาปลอบใจถ้าคุณพ่อคุณแม่ปลอบใจลูกได้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับลูกได้อย่างไรลูกก็กลับมา หากว่าเลยไปแล้วแสดงว่าฐานเราไม่เหลืออะไร
เพราะฉะนั้นเราค่อยๆ ระดมกำลังใจอีกทีหนึ่งอาจจะต้องใช้เวลาเพราะว่าลูกเขาอาจจะตีตราเราไปแล้วว่าฐานนี้มันไม่มี แต่ถ้าเราค่อยทำให้เห็นว่าฐานนี้มี กำลังสนับสนุนเยอะอย่างไรเขาก็ต้องกลับมานี่คือธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้วเราจะไม่ไปที่แห้งแล้ง
ขอทิ้งท้ายคำนี้เลย เราจะไม่ไปที่แห้งแล้ง คำว่า Family Attachment ฐานที่มั่นทางใจฐานที่มั่นที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าเราจะเหือดแห้งมาจากข้างนอก ถูกข้าศึกโจมตีมาอย่างไรลูกก็จะอยากจะกลับมาฐานที่มั่นทางใจ
พบกับ รายการ รักลูก The Expert Talk ทุกวันพฤหัสบดีที่ 1 2 และ 3 ของเดือน
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
www.rakluke.com/community-of-the-experts.html