facebook  youtube  line

รักลูก The Expert Talk Ep.80 (Rerun) : รู้ก่อนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหืด

 

รักลูก The Expert Talk Ep.80 (Rerun) : รู้ก่อนเป็น...สาเหตุทำเกิดโรคหืด

โรคหืดไม่ใช่แค่กระทบพัฒนาการ แต่อาจจะทำให้เสียชีวิตได้

รู้ก่อนเลี่ยงได้ก่อน แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากพันธุกรรมที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่สภาพแวดล้อมก็เป็นส่วนสำคัญมากที่กระตุ้นให้เป็นโรคหืด และมีอาการมากขึ้น

 

ฟังสาเหตุของโรคหืด จาก The Expert ผศ.ดร.นพ.สิระ นันทพิศาล หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้

เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้

เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

 

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

เด็กปฐมวัยทั่วประเทศมีพัฒนาการล่าช้า 25% หลังสถานการณ์โควิดยิ่งทำให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า และถดถอยไปมากกว่าเดิม

ความรักความหวังดีจากพ่อแม่ และครูที่ไม่เข้าใจพัฒนาการและปัญหาที่แท้จริง ยิ่งซ้ำเติมปัญหาพัฒนาการของเด็กให้มากยิ่งขึ้น แล้วเราจะทำกันอย่างไร เพื่อฟื้นฟูวิกฤตซ้อนวิกฤตนี้

 

ชวนคุยกับ The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

รู้วิกฤต รู้ปัญหาและเห็นทางออกเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการให้เด็ก 

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

ติดจอใสทำลายพัฒนาการมากกว่าที่พ่อแม่คิด ตั้งแต่ออทิสติกและอาการสมาธิสั้นที่น่ากังวล ซ้ำยังส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งหากพ่อแม่ไม่รู้เท่าทัน อาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในอนาคต

 โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

"จอใส" กระทบพัฒนาการ

เริ่มจากการวิจัยที่ผมเองก็มีการติดตามเด็กในระยะยาวตั้งแต่เด็กอายุ 6เดือน ติดตามไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เด็กที่อยู่ในโครงการอายุ10ขวบแล้ว ผลพบว่าเด็กอายุตั้งแต่6เดือน-18เดือน แนวโน้มถ้าเขาอยู่บริเวณสื่อหน้าจอซึ่งในยุคนั้นเป็นแค่ทีวี พบว่าเด็กจํานวนหนึ่งมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก มากขึ้น แล้วเรื่องของเด็กออทิสติกก็มีข้อมูลงานวิจัยของต่างประเทศพบมากขึ้นว่า ยิ่งให้มากให้เร็วตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะทําให้เด็กเนี่ยมีความเสี่ยงไปทางเด็กออทิสติก คืออยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ ในงานวิจัยนั้นยังพบอีกว่า เด็กที่ดูหรือว่าได้รับสื่อประเภทพวกทีวีค่อนข้างมาก มีโอกาสที่เขาจะมีปัญหาพฤจิกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น หมายความว่าเวลาหงุดหงิดไม่พอใจก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์

ซึ่งก็สอดคล้องเลยว่าหลังจากช่วงที่โควิดเคสคต่างๆ เริ่มกลับม คุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่าว่าจากที่เคยดีมาโดยตลอด แล้วพอเราเริ่มให้ใช้จอก็จะรู้สึกเหมือนว่าหงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ขอจอคืน ถึงเวลาต้องไปทํากิจวัตรประจําวันก็ม่ได้ทํา แล้วในงานศึกษายังเจออีกว่าสัมพันธ์กับเรื่องของพฤติกรรม และสมาธิสั้นมากขึ้นด้วย

ต้องเรียนว่าการใช้สื่อจอใสแบบไม่ค่อยเหมาะสม ปัจจุบันมันไม่ใช่แค่ทีวีก็มีสื่ออื่นๆมากมาย มือถือหรือว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการศึกษาทั้งในเด็กเริ่มโตขึ้นมาวัยก่อนเรียน วัยอนุบาลหรือว่าในช่วงวัยเรียน รวมถึงวัยรุ่นพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านอารมณ์เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเด็กบางคนปถึงขั้นมีความคิดหรือความพยายามอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาโรคทางด้านจิตเวชต่างๆ เพิ่มขึ้น พบเด็กมีปัญหาเรื่องของการรับประทานอาหารผิดปกติเพิ่มสูงขึ้น เช่น ถ้าเรียกทางการแพทย์เรียกEating Disorder เช่น ทําไมบางคนเรียกเป็นโรคคลั่งผอมเพราะว่าเราก็คือเข้าไปเสพสื่อประเภทนี้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าสื่อมันไม่ดีอย่างเดียว จริงๆ เราสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้

เด็กที่เล่นสื่อเยอะๆ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งคืออยู่กับความเบื่อไม่เป็น ความเบื่อเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของเราเหมือนกันหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เหมือนกันบางทีเราก็ไม่รู้จะทําอะไร ทุกวันนี้ทุกคนก็เล่นมือถือตลอดเวลา เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราดึงเอาใจไปอยู่ทางอื่นเพราะว่าเราอยู่กับความเบื่อไม่ได้ ซึ่งพออยู่กับความเบื่อไม่ได้เนี่ย ลูกๆก็ไม่รู้จะทํายังไง ซึ่งถ้าจะเป็นสมัยก่อนที่เราไม่มีสื่อเหล่านี้ พอเบื่อเราก็ต้องชวนกันมาเล่น มาคุยกัน ร้องเพลง อ่านหนังสือ แต่เด็กไม่รู้จะทําอะไรดี ก็เลยเข้าไปอยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น แล้วพอลไม่ได้ดูก็โวยวาย หัวร้อนง่าย

ใช้สื่อกับลูกอย่างไร

  1. Background Media คีย์เวิร์ดสําคัญเลยเด็กถ้าอายุเกินสองปีเล่นได้ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าสองปีมีข้อมูลพบว่ากระทบกับพัฒนาการ มีงานวิจัยจากสิงคโปร์รายงานว่าแค่เสียงทีวีที่เปิดทิ้งไว้ สามารถเปลี่ยนคลื่นสมองเด็กได้สัมพันธ์กับการเป็นสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น เพราะว่าสื่อต่างๆ เวลาเปิดมันจะเข้าไปเร้าระบบประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เพราะสื่อมันมีทั้งภาพและเสียง เมื่อเข้าไปกระตุ้นมากทำให้สมาธิสั้นเพิ่มขึ้นแม้จะไม่ได้ดู และส่วนใหญ่เป็นรายการสําหรับผู้ใหญ่ ซึ่งที่เราศึกษาวิจัยก็พบว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านที่เปิดBackground Mediaน้อย สติปัญญาของเด็กที่เปิดน้อยกว่ามีแนวโน้มสติปัญญาดีกว่าและพัฒนาการดีเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

  2. เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมตามวัยและต้องลองเข้าไปดูเนื้อหาก่อน ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างประเทศที่สามารถเข้าไปเช็กได้ที่ www.commonsense.org/education (Common Sense Media) นอกจากนี้ต้องกําหนดกฎกติกา ถ้าจะให้ลูกใช้หน้าจอก็ต้องหลังจากที่เขารับผิดชอบงานที่ควรจะทำก่อน เช่น กิจวัตรประจําวันเสร็จแล้ว การบ้านเสร็จ รับผิดชอบงานบ้านแล้ว นอกจากเรื่องกฎกติกาแล้ว เด็กต้องเรียนรู้ผลที่ตามมาว่าถ้าไม่ทําตามกฎกติกาจะเกิดอะไรขึ้นบ้างด้วย

  3. ทำข้อตกลงก่อนให้ลูกใช้งาน บ้านที่กำลังจะซื้อจอให้ลูก ต้องมีการทําสัญญากับลูกตั้งแต่เริ่มแรกเลย เช่น มือถือเครื่องนี้เป็นมือถือของแม่ซื้อมาให้ลูก ลูกจะสามารถเล่นได้ตอนไหนบ้าง ถ้าลูกไม่สามารถทําตามกฎอันนี้ได้มือถือเครื่องนี้แม่สามารถริบคืนได้ พ่อแม่มีสิทธิ์เด็ดขาดและให้ลูกเซ็นชื่อกํากับด้วย ซึ่งเด็กบางคนก็ยอมเซ็นไปก่อน แต่ต้องอย่าลืมที่จะบอกถึงผลที่ตามมาและต้องทำตามข้อตกลงร่วมกัน หรือบอกถึงผลกระทบถ้าใช้งานนานเกินไป เช่น หาวบ่อย ปวดต้นคอ ปวดมือ

  4. ดูไปพร้อมกับลูก อยากให้คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเข้าไปดูสื่อกับลูกด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะมี pop up ขึ้นมาระหว่างที่ลูกดูคลิปต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เข้าสู่คอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย อีกเรื่องหนึ่งกฎกติกาที่ว่า หมอคิดว่าเราอาจจะต้องมองกันที่สถานที่ภายในบ้านด้วยว่าตรงที่ไหนที่เราไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ รวมไปถึงเวลาช่วงไหนที่เราไม่ควรจะใช้ เช่น ห้ามใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างด้วย และในห้องนอนก็ไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ

นอกจากนี้หน้าจอจะมีแสงสีน้ำเงินออกมาที่เรียกว่า Bluelight ซึ่งแสงเหล่านี้จะไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนการนอนหลับที่ชื่อว่า "ฮอร์โมนเมลาโทนิน" ทําให้เด็กจะนอนหลับยากขึ้น รวมถึงต้องงดเล่นเกม ดูคอนเทนต์ที่เร้าอารมณ์ความสนุก เพราะถ้าเด็กนอนหลับไม่ดีก็ส่งผลต่อเรื่องของการคุมอารมณ์ระหว่างวันด้วย สิ่งที่พ่อแม่ควรทําก็คือ อย่าให้มาก อย่าให้เร็ว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.93 : ลูกอ้วนส่งผลเสียรอบด้าน


 

รักลูก The Expert Talk Ep.93 : ลูกอ้วน...ส่งผลเสียรอบด้าน

 

ภาวะโรคอ้วนในเด็ก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพลูกอย่างไร?

และรู้หรือไม่ เด็กไทยมีภาวะอ้วนมากถึง 15 - 20% และหากปล่อยให้เจ้าตัวเล็กมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ต่อไป จะยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกรัก

 

EP.นี้ พญ. ปิยธิดา วิจารณ์ กุมารแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคต่อมไร้ท่อในเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเมดพาร์ค จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโรคอ้วนในเด็กและผลกระทบต่อสุขภาพที่คุณแม่ต้องรู้ค่ะ

 

สถานการณ์ภาวะเด็กอ้วน

ตอนนี้ปัญหาเรื่องโรคอ้วนทั้งในเด็กแล้วก็ผู้ใหญ่ เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อทั่วโลกมาก ในเด็กมีข้อมูลจากทั้งโลกประมาณ10% แต่ที่น่ากลัวคือในประเทศไทยมีประมาณ15-20% คือเป็นเปอร์เซนต์ที่เกินของทั่วโลกไปแล้ว

ภาวะอ้วนหรือว่าภาวะน้ําหนักเกินเกณฑ์ ดูจากดัชนีมวลกายหรือที่เรียกว่า BMI คํานวณจากน้ําหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกําลังสอง ซึ่งสามารถเสิรจ์หาข้อมูลได้หรือว่าดูในคู่มือพัฒนาการที่ได้ตั้งแต่แรกเกิดก็ได้

โดยเด็กที่อายุ5-19ปี ภาวะอ้วนตัดที่BMIมากกว่าหรือเท่ากับตัวสองสแตนดาร์ดดีวีเอชั่นหรือว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือค่าBMIมากกว่ายี่สิบห้า โดยดูกราฟได้ตามเพศและอายุได้ สามารถหาดูเพิ่มเติมได้จากเว็บของสมาคมต่อมไร้ท่อเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นกราฟเป็นของประเทศไทย

ทำแบบนี้แหล่ะเข้าสู่อ้วน

ภาวะอ้วนเป็นปัญหาเรื้อรังแล้วก็ประกอบด้วยหลายหลายปัจจัย ปัจจัยหลักคือ สิ่งแวดล้อม เพราะว่าในยุคปัจจุบันถูกล้อมไปด้วยอาหาร และอาหารฟาสต์ฟู้ดก็ราคาถูกกว่าสลัดอีก คือเด็กสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า และไม่ทำกิจกรรม ไม่ออกกำลังกายอยู่นิ่ง ติดจอ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ซึ่งก็มาจากสภาพแวดล้อม

ส่วนปัจจัยอื่นก็จากเรื่องของกรรมพันธุ์หรือว่าโรคแต่ส่วนน้อยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่ทําให้อ้วนจริงๆ เช่น โรคทางฮอร์โมน เช่น มีปัญหาภาวะขาดไทรอยด์ หรือว่ามีต่อมหมวกไตทํางานผิดปกติก็ทําให้มีภาวะอ้วน มีการศึกษาพบว่าเด็กที่มีภาวะอ้วนหรือน้ําหนักเกินเกิดขึ้นมาจากครอบครัวด้วย

และอีกปัจจัยหนึ่งที่เริ่มเจอมากขึ้นแล้วคือคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงที่ทําให้ลูกมีภาวะอ้วนได้มากกว่า คุณแม่ที่สามารถคุมน้ําหนักได้

อ้วนกระทบพัฒนาการ ส่งผลกระทบต่อระบบต่างต่างๆ ของร่างกาย อย่างแรก คือระบบต่อมไร้ท่อ บางคนมีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยก็พบได้มากขึ้นหรือว่ามีเรื่องของถุงน้ํารัง หรือว่าโรคพีซีโอเอส ทำให้เด็กโตหรือเด็กผู้หญิงวัยรุ่นอาจจะมีประจําเดือนมาไม่สม่ําเสมอ

ส่วนระบบที่ 2 ก็คือระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงได้ มีไขมันในเลือดสูง ระบบที่ 3 ก็คือเรื่องเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ บางคนนอนกรนทำให้หยุดหายใจตอนกลางคืน

เรียกว่าเป็น 3 กลุ่มหลัก แต่ก็มีโรคอื่นๆ เช่น ในเรื่องทางเดินอาหารก็มีไขมันพอกตับ อย่าคิดว่ามีแต่ในผู้ใหญ่อย่างเดียว คือเด็กก็มีตรงนี้ด้วย รวมถึงการเคลื่อนไหวและระบบข้อต่อต่างๆ จะปวดเข่า มีโอกาสข้อสะโพกเคลื่อนได้ง่ายกว่าในเด็กที่น้ําหนักปกติ

รักษาภาวะโรคอ้วน

หมอจะเริ่มจากประเมินน้ําหนักส่วนสูงว่าเข้าเกณฑ์หรือยัง โดยดูจากกราฟน้ําหนักส่วนสูงย้อนหลังเพื่อดูว่าน้ําหนักมากมาตั้งแต่เด็กหรือว่าเพิ่งมาเกิน เพราะบางครั้งอาจจะมีโรคที่เหมือนน้ําหนักขึ้นเยอะแต่ส่วนสูงไม่ขึ้น ซึ่งก็ต้องหาสาเหตุ เช่น โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ หรือมาจากต่อมหมวกไตทํางานเกินหรือเปล่า ขาดฮอร์โมนการเติบโตหรือเปล่า ซึ่งก็ต้องรักษาโรคเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย

แต่ถ้าตัวใหญ่แบบภาวะอ้วนจากไลฟ์สไตล์เป็นหลักเลยก็ประเมินเรื่องของภาวะแทรกซ้อน หมอก็จะเช็กไขมัน เบาหวานและดูเรื่องโรคตับ และถ้าเช็กแล้วไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะดูวิธีการควบคุมน้ำหนัก

ภาวะอ้วนที่เกิดขึ้นกับเด็กตอนนี้มีความมันสัมพันธ์กับเรื่องของเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง บางครั้งเราจะเห็นเขาตัวโตกว่าเพื่อนแต่ถ้ามีภาวะเป็นสาวก่อนวัย สุดท้ายจะหยุดสูงก่อนเพื่อน นอกจากนี้ก็มีการศึกษามากขึ้นว่าภาวะอ้วนอาจจะมีผลต่อเรื่องความจํา หรือว่าอนาคตจะเสี่ยงเรื่องของอัลไซเมอร์ในผู้ใหญ่ รวมถึงเด็กที่มีภาวะอ้วนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยรุ่นหรือบางครั้งวัยเรียนประถม บางคนขาดความมั่นใจในตัวเอง โดนเพื่อนล้อก็ทำให้หงุดหงิด ขาดความมั่นใจ บางคนมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งพอต้องกินยารักษา ยานั้นก็ทำให้อ้วนขึ้นด้วย ก็เรียกว่ามันกระทบซึ่งกันและกัน

ปรับพฤติกรรมลดความอ้วน ใช้วิธีการลดน้ำหนักโดยต้องมีเป้าหมายเดียวกันทั้งหมอ เด็ก และผู้ปกครองเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหมอไม่อยากให้อดอาหาร ต้องกินอาหารให้ครบ 5หมู่ 3มื้อเหมือนเดิม แต่งลดอาหารที่มันมีแคลอรีสูง ลดอาหารฟาสต์ฟู้ด ของมัน ของทอด หรือน้ําหวานต่างๆ รวมถึงโพรเซสฟู้ดเบเกอรี่ เน้นกินอาหารที่มีไขมันดี หรือว่าเป็นโปรตีนที่ดี กินอาหารที่มีกากใยเยอะขึ้น เพื่อเพิ่มเรื่องของความอยู่ท้องให้มากขึ้นด้วย รวมไปถึงต้องออกกําลังกายเคลื่อนไหวให้มากขึ้น ประมาณ 60นาทีทุกวัน ซึ่งก็ต้องพยายามหากิจกรรมเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง

นอกจากนี้กลุ่มที่ปรับพฤติกรรมแล้วยังลดน้ําหนักไม่ได้ถึงเกณฑ์หรือว่ายังมีภาวะแทรกซ้อนอยู่ เด็กโตที่อายุมากกว่า 12 ปี และมีBMI มากกว่า 30 ในประเทศไทยก็มีอนุมัติให้ใช้เรื่องของตัวยาฉีดลดน้ําหนัก ก็จะช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น ส่วนยาลดความอ้วนไม่ควรใช้เลย รวมถึงเครื่องดื่มต่างๆ ที่บอกว่าช่วยควบคุมความหิว วิตามินเสริม ลดความอ้วน หมอไม่แนะนํา เพราะเราไม่รู้ส่วนประกอบและจะส่งผลกระทบอะไรยังไงกับเด็กบ้างก็ไม่ควร เน้นใช้แนวทางธรรมชาติบําบัด พฤติกรรมบําบัดดีกว่า

 

ตรวจวินิจฉัยโรคอ้วนในเด็ก สุขภาพและพัฒนาการลูกรัก ได้ที่

ศูนย์สุขภาพและโรคเฉพาะทางเด็ก โรงพยาบาลเมดพาร์ค

โทร. 02-090-3138

www.medparkhospital.com/center/pediatric-center 

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.94 : รับมือภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

 

รักลูก The Expert Talk Ep.94 : รับมือภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

 

ลูกตัวสูงและตัวใหญ่กว่าเพื่อน พ่อแม่ต้องคอยสังเกตเพราะอาจจะมีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย หากละเลยลูกอาจจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ตัวเตี้ย และมีปัญหาพัฒนาการทางอารมณ์

 

ฟัง The Expert พญ. ปิยธิดา วิจารณ์

กุมารแพทย์ผู้ชำนาญการ ด้านโรคต่อมไร้ท่อในเด็กและวัยรุ่น

ศูนย์สุขภาพและโรคเฉพาะทางเด็ก โรงพยาบาลเมดพาร์ค

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.96 (Rerun) : "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.96 (Rerun) : เข้าใจ "วัยทอง" ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง "กล้าพอไหม เปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"
 

เปิดศึกกลางบ้าน ไม่มีทีท่าว่าจะสงบและยังเกิดขึ้นถี่ๆ บ้านไหนเป็นแบบนี้ ชวนฟังวิธีแก้ 3 ปัญหาน่าหนักใจ เพื่อไม่ให้กระทบพัฒนาการระยะยาว ได้แก่ ติดจอ, ก้าวร้าวเอาใจ, นิ่ง เนือย เฉื่อยชา ฟังดูเป็นเรื่องยากแต่แก้ไขได้

 

ฟังแนวทางจากครูก้า กรองทอง บุญประคอง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

จะทำให้พ่อแม่มองเห็นปัญหา เข้าใจพัฒนาเจ้าตัวเล็ก และเห็นแนวทางแก้ที่ไม่ยากเกินไป

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.98 (Rerun) : Toxic Stress เสี่ยงลูกป่วยและกระทบพัฒนาการ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.98 (Rerun) : Toxic Stress เสี่ยงลูกป่วยและกระทบพัฒนาการ 


ความเครียดเป็นพิษส่งผลกระทบกับพัฒนาการและทำให้ลูกป่วย

พบวิธีการรับมือเพื่อลดผลกระทบพัฒนาการลูก เช็กสัญญาณแบบนี้ลูกกำลังเครียด อาการแบบนี้แหล่ะ ที่หนูเครียด พัฒนาการและพฤติกรรมด้านไหนพังบ้างหากหนูเครียดเป็นพิษ Stress Management ฉบับเจ้าหนู แม่รู้ไว้สอนหนูได้ โดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รับมือฉุกเฉิน...ลูกตกจากที่สูง

4081

 

ลูกวัยซนมักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ แถมบางครั้งก็ยังอันตรายมาก ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะป้องกันไว้ดีกว่าแก้อย่างแน่นอน

ลูกเล็กตั้งแต่วัยคลานขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กวัย 1-3 ปี นี่กำลังซนสุดๆ เลย เพราะลูกจะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดั่งใจต้องการ แถมยังชอบปีนป่ายและไม่รู้จักกลัวเสียด้วย เผลอแค่แป๊บเดียว ลูกก็อาจจะกลิ้งตกลงมาได้ มาดูการรับมือและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากเจ้าตัวเล็กตกจากที่สูงกันค่ะ

 

1. หลังจากหล่นตุ๊บลงมา ขณะที่เจ้าตัวเล็กร้องไห้ ควรรีบเข้าไปอุ้ม หรือประคองให้ลุกขึ้นนั่ง จะช่วยปลอบโยนให้ลูกหายตกใจ

2. รีบเช็กดูว่าลูกบาดเจ็บบริเวณใดบ้าง แขนขาหักหรือไม่ มีบาดแผลหรือเปล่า โดยเฉพาะตรงบริเวณศีรษะของลูก ต้องตรวจสอบอย่างละเอียด

3. ถ้าศีรษะลูกกระแทกแล้วโนบวมปูดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก็อย่าตกใจไป เพราะศีรษะมีเส้นเลือดอยู่มาก จึงทำให้เกิดอาการบวมได้ง่าย ควรรีบใช้ผ้าเย็น ประคบบริเวณที่บวม ความเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บบวมให้ลดน้อยลง ประมาณ 1 สัปดาห์ศีรษะก็จะหายโนแล้ว

4. หากร่างกายลูกมีบาดแผลเลือดไหลซึมๆ หรือไหลเพียงเล็กน้อย ให้หาผ้าสะอาด กดแผลห้ามเลือด และทำความสะอาด แต่ถ้าแผลลึกเลือดไหลมากควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยด่วน

5. หลังเกิดอุบัติเหตุและปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ต้องสังเกตดูว่าภายใน 12-24 ชั่วโมงลูกยังปกติดี ไม่เงียบซึม พูดคุยรู้เรื่อง ขยับแขนยกขาได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ สบายใจได้ว่าลูก ไม่เป็นอะไรมาก แค่ดูแลให้หายเจ็บก็พอ

6. ถ้าระหว่าง 12-24 ชั่วโมง ลูกมีอาการร้องไห้มากและนานผิดปกติ ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว ดูง่วงนอน ปลุกไม่ยอมตื่น กระสับกระส่าย หรือบ่นว่าปวดหัวมาก ต้องรีบพาไปพบคุณหมอด่วน เพราะศีรษะอาจจะกระทบกระเทือนรุนแรงจนมีเลือดคั่งในสมองได้

รับมือเมื่อลูก เมื่อลูกเล่นใหญ่ ไฟกระพริบ Over Acting ตั่งต่าง

4620

 

พฤติกรรม “Over Acting” เป็นการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ของเด็ก โดยเฉพาะวัย 1-3 ปี เช่น แสดงความเจ็บปวดมากเกินจริง ร้องคร่ำครวญ โวยวาย ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่พ่อแม่มักแยกไม่ออกว่าลูกแค่เรียกร้องความสนใจตามธรรมชาติของวัย หรือมีปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการทางจิตใจกันแน่

 
เพราะลูกเป็นวัยเรียกร้อง 


เป็นธรรมดาของเด็กวัย 1-3 ปี ที่ยังดูแลตัวเองได้ไม่ดีและยังไม่มีเล่ห์เหลี่ยม โดยเฉพาะช่วง 1-2 ขวบ ที่มักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง จนพ่อแม่ต้องตามใจและทำตามที่เขาต้องการทั้งหมด ส่วนหนึ่งเพราะเขายังต้องการความช่วยเหลือ แม้ตัวเองจะเดินได้ วิ่งได้ แต่ก็ยังทำอะไรเองไม่ได้ทั้งหมด จึงเป็นธรรมดาที่จะเรียกร้อง หรือรู้สึกว่าหากร้องหรือทำอะไรในระดับที่มากกว่าปกติ ตัวเองจะได้รับความสนใจและการดูแลเป็นพิเศษนั่นเอง 



แบบไหนเรียกว่า Over Acting แบบไหนปกติ 


เส้นแบ่งของพฤติกรรมที่ลูกเรียกร้องความสนใจตามปกติ และเรียกร้องมากเกินไปจนถือเป็นปัญหาพ่อแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้ค่ะ
 
หากลูกเรียกร้องความสนใจ แล้วพ่อแม่ไม่ให้จนเขาหยุดไปเอง นั่นคือคาแร็กเตอร์และลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมปกติของลูก
 
หากลูกเคยได้รับการฝึกฝนวินัยรู้จักกฎระเบียบของการได้หรือไม่ได้สิ่งใดอย่างชัดเจนแล้ว พ่อแม่ใจแข็งแล้ว พอถึงเวลาลูกยังเรียกร้อง ไม่ยอมฟัง แบบนี้ถือว่าผิดปกติ
 
ส่วนในกรณีที่ลูกคล้ายกับมี 2 บุคลิก เช่น อยู่ที่บ้านเรียกร้องได้ แต่อยู่โรงเรียนไม่เรียกร้อง เป็นเพราะเขารู้ว่าเรียกร้องไปก็ไม่เป็นผล เขาก็ไม่ทำ ถือว่าปกติค่ะ ไม่ใช่ปัญหา แต่หากที่บ้านและที่โรงเรียนมีการตั้งกติกาชัดเจนแต่ลูกยังเรียกร้อง อันนี้อาจจะก่อปัญหาเรื่องการอยู่ร่วมกับเพื่อนได้ ต้องมาหาสาเหตุแล้วละค่ะว่าเป็นเพราะอะไร

 

ปรับพฤติกรรมเพื่อพัฒนาการที่ดี

ฝึกวินัยด้วยกฎที่ชัดเจนและสม่ำเสมอพ่อแม่หลายคนมักมีคำถามค่ะว่าเด็ก 1-3 ขวบเริ่มฝึกวินัยได้หรือยัง คำตอบคือสามารถฝึกได้ตั้งแต่วัยขวบกว่าๆ แล้วค่ะ เพราะเขาเริ่มเข้าใจภาษาได้ดีแล้ว จึงเริ่มฝึกวินัยโดยการกำหนดกติกา เช่น อันนี้ทำได้ เล่นได้ กินได้ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการฝึกต้องสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 3-6 เดือน ไม่ใช่วันนี้ไม่ให้กินขนมอันนี้แต่อีกวันลูกร้องโยเยเลยยอมให้กิน แบบนี้ไม่ได้ค่ะ แต่หากฝึกอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องแล้วลูกยังไม่ดีขึ้น อาจเป็นปัญหาจริงๆ ต้องพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อดูว่าเป็นปัญหาพฤติกรรมหรืออารมณ์ของลูกที่ทำให้ฝึกได้ยาก

สิ่งแวดล้อมต้องคงที่หากที่บ้านเป็นครอบครัวใหญ่ คนในบ้านต้องช่วยกันทั้งปู่ย่าตายาย รวมทั้งต้องระวังเรื่องลูกเลียนแบบสื่อ เช่น บอกว่าถ้าไม่ได้อย่างนี้จะฆ่าตัวตายเพราะจำมาจากทีวีหรือละคร ทั้งที่ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าฆ่าตัวตายคืออะไร ไม่ได้ห้ามหรอกนะคะว่าเด็กไม่ควรดูทีวี แต่พ่อแม่ควรจะต้องอยู่ด้วยและคอยชี้แนะว่าสิ่งที่เขาเห็นคืออะไร ลูกจะได้เข้าใจว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ และต้องทำให้สภาพแวดล้อมทุกอย่างคงที่ เพราะหากสิ่งแวดล้อมไม่คงที่และมีสื่อต่างๆ ที่ลูกไม่เข้าใจ จะทำให้ลูกทำตามเพราะคิดว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ตัวเองต้องการค่ะ
 
สอนด้วยเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์ สิ่งสำคัญอีกอย่าคือตัวอย่างจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เมื่อจะพูด จะสอนลูก ต้องไม่ใช้อารมณ์ แต่ใช้เหตุผลว่าที่ให้หรือไม่ให้เขาเพราะอะไร ไม่ใช้เสียงดังโวยวายในการบอกลูกเพราะเขาจะจำไปทำกับเพื่อนหรือคนอื่นๆ ได้ว่าหากอยากให้หยุดต้องโวยวาย
 
สังเกตตัวเอง ยอมรับฟังคนรอบข้าง หากลูกมีปัญหาพัฒนาการแบบ Over Acting จริงๆ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทำพฤติกรรมเดียวกัน ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ฝึกแล้วก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง กรณีนี้คุณหมออาจต้องใช้ยาช่วยนะคะ เพราะลูกอาจมีปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเอง พ่อแม่จึงต้องสังเกตจากการเลี้ยงดู และยอมรับฟังคนอื่น เช่น คุณครู ว่าเวลาที่เขาอยู่โรงเรียนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ฝังชิพในใจไว้ว่าเราเลี้ยงดีแล้ว ถูกแล้ว ลูกปกติ ไม่เปิดใจยอมปรับพฤติกรรม ลูกก็จะยิ่งมีปัญหาพัฒนาการต่อเนื่องได้ค่ะ
 
สิ่งที่พ่อแม่ต้องใส่ใจอย่างมากเกี่ยวกับพฤติกรรม Over Acting คืออย่าทำให้ลูกไม่มั่นใจ หวั่นไหว และต้องการพึ่งพา ควรส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้การเติบโตและอยู่ได้ด้วยตัวเอง เพราะสุดท้ายหากเขาพึ่งพาและช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องเรียกร้อง จะทำให้เขาอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขนะคะ




 

ลูกมีมือถือของตัวเองได้เมื่อไร

3203

 

ต่อคำถามที่ว่าเราควรให้ลูกมีมือถือของตนเองเมื่อไร หรือเราควรให้มือถือแก่ลูกเมื่อไร ควรใช้หลักการลูกดูแลตนเองและพื้นที่สาธารณะได้เมื่อไร ทบทวนหลักการดูแลตนเอง ให้สอนและประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง 4 พื้นที่จากร่างกายของตนเองเป็นศูนย์กลางขยายออกไปรอบตัว

พื้นที่ที่ 1 ดูแลร่างกายของตนเองได้ เรื่องพื้นฐานได้แก่ กินข้าวด้วยตนเอง อาบน้ำและแปรงฟันด้วยตนเอง
พื้นที่ที่ 2 ดูแลพื้นที่รอบตนเองได้ได้แก่สมบัติของตนเอง เช่น เก็บของเล่น เก็บที่นอน เก็บจานไปล้าง
พื้นที่ที่ 3 ดูแลพื้นที่ที่ขยายออกไปอีก นั่นคือทำงานบ้าน เช่น กวาดบ้านถูบ้าน ล้างจานเก็บจาน ซักผ้าตากผ้า และรวบขยะทั้งบ้านไปเทหน้าบ้าน
พื้นที่ที่ 4 ดูแลหน้าบ้าน นอกบ้าน และที่สาธารณะ ได้แก่ดูแลขยะหน้าบ้านให้เรียบร้อย หน้าบ้านสะอาด รอบบ้านสะอาด ไปนอกบ้านรู้จักเข้าคิว ข้ามถนนบนทางม้าลาย ไม่ทิ้งขยะลงบนถนน ไม่ส่งเสียงดังในที่สาธารณะ เป็นต้น

จะเห็นว่ากว่าที่เราจะสอนและฝึกลูกให้ทำงานบนพื้นที่ทั้งสี่จากในไปนอกนี้ได้สำเร็จเด็กๆจะพัฒนา Executive Function(EF) สำเร็จด้วย  เพราะงานทั้งหมดที่เล่ามาไม่สนุกและยากลำบากอีกทั้งเสียเวลาเล่น  เด็กๆ ไม่สามารถทำได้หากไม่มีความสามารถหลัก 3 ประการของ EF คือ
ควบคุมตนเองซึ่งประกอบด้วยความตั้งใจมั่น ไม่ว่อกแว่ก และอดเปรี้ยวไว้กินหวาน
บริหารความจำใช้งาน
คิดยืดหยุ่น

อาจจะเขียนใหม่ได้ว่าเด็กควรมี 3 วิชาพื้นฐานแล้วเรียบร้อยนั่นคือ ลำบากก่อนสบายทีหลัง ถอนตัวจากความสนุก และอดทนทำงานที่ไม่ชอบได้จนสำเร็จ เพราะการทำงานต้องใช้ความสามารถ 3 ประการนี้แน่

การมีมือถือของตนเองแล้วเด็กสามารถรับผิดชอบเครื่องมือชิ้นนี้ได้ ใช้มันเพื่อการเรียนรู้และเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของตนเอง มิใช่ถูกมันใช้ หรือถูกมันกลืนกิน หรือถูกมันดึงดูดเข้าหาโดยไม่ลืมหูลืมตา
ไปจนถึงสามารถใช้มันตามกติกาสังคม เช่น ไม่เปิดมือถือในที่ห้ามเปิด ไม่คุยโทรศัพท์ในที่ห้ามคุย ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากจนเป็นอันตรายต่อตนเองไปจนถึงเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ไม่แอบถ่ายรูปคนอื่น ไม่ใช้รูปภาพหรือบทความของผู้อื่นโดยไม่บอกกล่าวหรือไม่ขออนุญาตหรือบอกที่มาที่ไปไปจนถึงไม่กลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยกลไกของโซเชียลเน็ตเวิร์ค

อย่าลืมว่าการฝึกทำงานทำได้ด้วยหลักการพื้นฐาน 4 ข้อคือทำให้ดู จับมือทำ ทำด้วยกัน และปล่อยเขาทำ เราคอยให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเขาทำได้

ก่อนให้มือถือแก่เขาเราควรมีกติกาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าจำนวนหนึ่งด้วย กติกาเหล่านี้มีอะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละบ้าน ข้อสำคัญคือให้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าซึ่งเด็กๆ มักจะทำตามโดยง่าย  อย่าประมาทที่จะปล่อยปละละเลยให้เกิดเหตุแล้วค่อยมาตกลงกติกาทีหลัง เพราะมักจะสายเกินแก้

 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

ของเล่น-ของเล่นเด็ก1-3ปี-พัฒนาการ-เสริมพัฒนาการ-ของเล่นตามวัย-ของเล่นเสริมพัฒนาการ-ร้านของเล่น-ขายของเล่นเด็ก

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

พัฒนาการทุกด้านของเด็กนั้นเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะพัฒนาให้ครบรอบด้านมีปัจจัยสำคัญหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือการเล่นที่เหมาะสมกับวัย

วัย 1-2 ปี

เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองแม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเกี่ยวเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เป็นการเรียนรู้เรื่องระยะทางและฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆ ลูกจะสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่ได้พบเห็น ชอบปีนป่ายขึ้นบันได มุดโต๊ะ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยให้มาก และวัยนี้ชอบขีดๆ เขียนๆ เข้าใจคำพูดรวดเร็วมาก ใครพูดอะไรจะพูดตามทันที

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย ของเล่นควรเป็นประเภทลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อกันเป็นขบวน หรือกล่องกระดาษมีเชือกร้อยต่อกัน
  • พัฒนาการสมอง การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อน ไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน-ทราย-น้ำ การหยิบของตามคำบอก เป็นต้น
  • พัฒนาการทางภาษา หาเพลงง่ายๆ ประเภท Music for Movement สนุกๆ มาให้ลูกฟัง ร้องและเต้นตามจังหวะ หรือจะเล่นเกมร่างกายของหนูสอนให้ลูกรู้จักชื่ออวัยวะต่างๆ ก็ได้เช่นกัน

Concern : ของเล่นที่มีขนาดเล็ก ของเล่นแหลมคมและมีน้ำหนักเกิน อาจเกิดอุบัติเหตุได้จากการขว้างปา ขนาดของรูหรือช่องต่างๆ ในของเล่นควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่านิ้วมือทุกนิ้ว เพื่อป้องกันการติดของนิ้วมือ

 

วัย 2-4 ปี

เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้นและทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นออกแรงมากๆ ทั้งวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อซึ่งช่วยฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กได้ดีขึ้น สามารถเล่นใช้นิ้วมือหยิบจับหรือหมุนได้

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น บล็อกหยอดกล่องรูปทรง ภาพตัดต่อ เป็นต้น
  • พัฒนาการทางสมอง ชอบเล่นอิสระและเลียนแบบท่าทางของคนและสัตว์จำลองบทบาทสมมติด้วยของเล่นเหมือนจริงจะช่วยเสริมจินตนาการให้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสนใจฟังนิทาน เรื่องเล่าและหนังสือภาพ ชอบแสดงท่าทางประกอบและเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง
  • พัฒนาการทางสังคมและภาษา เริ่มเล่นกับเด็กอื่นมากขึ้นและทำงานเป็นกลุ่มได้ เช่น แสดงบทบาทสมมติ และเล่นขายของ ซึ่งเด็กวัยนี้จะมีการพูดจาสื่อสารกันระหว่างที่เล่นมากขึ้น

Concern : ด้วยวัยที่มีจินตนาการสูง พ่อแม่จึงควรการตักเตือนและแนะนำการเล่นด้วยเหตุผล เพื่อให้ลูกไม่นำเอาจินตนาการไปเล่นแบบเสี่ยงๆ หรือเป็นพื้นฐานความรุนแรง เช่น เลี่ยงเล่นต่อสู้ ไม่ซื้อของเล่นที่เลียนแบบอาวุธ ฯลฯ

 

ประโยชน์จากของเล่นเสริมพัฒนาการ

1.ฝึกแก้ไขปัญหา

ของเล่นเสริมพัฒนาการ เช่น การต่อบล็อกไม้ การต่อจิ๊กซอว์ หรือกล่องหยอดรูปทรง จะช่วยให้ลูกรู้จักการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เล่นได้สำเร็จ

2.เสริมสร้างจินตนาการ

ลองนึกถึงภาพเด็กกำลังเล่นรถถัง รถบังคับ อุลตร้าแมน หรือตัวการ์ตูนยอดฮิต อย่าง Ben 10 สิคะ เขาจะใช้ปากทำเสียงต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน นั่นเพราะเด็กได้นำตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและจินตนาการที่สร้างขึ้น ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

3.ร่างกายแข็งแรง

เพราะลูกน้อยได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ แขนและขาจึงได้ขยับ ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายที่ดี ที่จะช่วยให้เขามีศักยภาพในการเรียนรู้โลกกว้างในอนาคต

ของเล่นเป็นอีกตัวช่วยสำคัญในการสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่หาเวลาว่างทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ที่บ้านกันด้วยนะคะ 

 

 

ลูกไม่สูง ลูกตัวเตี้ยกว่าเด็กคนอื่น เพราะอาจขาดโกรท ฮอร์โมน

 ลูกไม่สูง-ลูกตัวเตี้ย-ลูกเตี้ย-โกรทฮอร์โมน-เด็กตัวเตี้ย-พัฒนาการส่วนสูง-โรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต-ฮอร์โมนเจริญเติบโต-ต่อมใต้สมอง-ลูกเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน-เด็กมีภาวะตัวเตี้ย

เด็กที่ฮอร์โมนปกติ จะมีพัฒนาการ ส่วนสูง และน้ำหนักที่สมวัย แต่ถ้าพ่อแม่เห็นว่าลูกตัวเตี้ยผิกปกติ ลูกเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน ลูกอาจจะเป็นโรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตก็เป็นได้

ลูกไม่สูง ลูกเตี้ยกว่าเด็กคนอื่น เพราะอาจขาดโกรทฮอร์โมน

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ หน่วยต่อมไร้ท่อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกไว้ว่า ฮอร์โมนเจริญเติบโต หรือ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) จะถูกผลิตและสร้างออกมาจากต่อมใต้สมอง ซึ่งอยู่บริเวณกลางของศีรษะ ต่อมใต้สมองขนาดเล็กนิดเดียวแต่สร้างฮอร์โมนออกมาหลายชนิด หนึ่งในนั้นก็คือฮอร์โมนเจริญเติบโต ในเด็กที่มีปัญหาขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตหมายความว่าอาจจะมีความผิดปกติของต่อมใต้สมอง 

ความผิดปกติของต่อมใต้สมองมี 2 ลักษณะ

1. เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

ต่อมใต้สมองอาจจะมีขนาดเล็ก มีรูปร่างผิดปกติไป หรือว่าอาจมีพันธุกรรมบางอย่างทำให้การสร้างฮอร์โมนผิดปกติ

2. เกิดขึ้นมาภายหลัง

อาจจะมีก้อนเนื้อไปกดต่อมบริเวณนี้ เด็กอาจจะได้รับอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บในศีรษะชนิดรุนแรง มีการผ่าตัด หรือมีการเอกซเรย์ในศีรษะเพื่อรักษาโรคบางอย่างแล้วไปทำลายหรือรบกวนต่อมใต้สมอง ทำให้ต่อมสร้างหรือผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตไม่ได้

เด็กกลุ่มนี้ตัวเตี้ย แต่รูปร่างของเด็กจะดูค่อนข้างจ้ำม่ำ ไม่ได้เตี้ยผอม ลักษณะเหมือนกับมีพุงนิด ๆ เพราะมีไขมันไปพอกตามที่ต่าง ๆ เสียงพูดจะเล็กและแหลม ใบหน้าจะดูอ่อนกว่าวัยเดียวกัน รูปร่างใบหน้าเหมือนตุ๊กตา ช่วงกลางของ ใบหน้าจะหวำลึกลงไป


ลูกไม่สูง-ลูกตัวเตี้ย-ลูกเตี้ย-โกรทฮอร์โมน-เด็กตัวเตี้ย-พัฒนาการส่วนสูง-โรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต-ฮอร์โมนเจริญเติบโต-ต่อมใต้สมอง-ลูกเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน-เด็กมีภาวะตัวเตี้ย

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต

  1. ถ้ารู้สึกว่าลูกโตไม่เท่าเพื่อน ๆ หรือพี่น้องคนอื่น ๆ โดยเฉพาะพี่น้องท้องเดียวกัน คนพี่ดูตัวเล็กกว่าคนน้อง

  2. วัดความสูงเด็กแล้วความสูงไม่เพิ่มขึ้น โดยมีตัวเลขคร่าว ๆ ว่า ถ้าเด็กอายุ 4-10 ขวบ ปีหนึ่งโตไม่ถึง 5 เซนติเมตร ถือว่าค่อนข้างตัวเล็กกว่าที่ควรจะเป็น

  3. ถ้าพ่อแม่เห็นกราฟการเจริญเติบโตของลูก ซึ่งมักจะมีอยู่ในสมุดคู่มือตรวจสุขภาพ พบว่าความสูงของลูกเบี่ยงจากเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น 

  4. เด็กตัวเตี้ยร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะบ่อย ๆ  มีปัญหาทางสายตา ปวดศีรษะบ่อย ๆ คลื่นไส้อาเจียน ควรปรึกษาแพทย์

 

เด็กขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตต้องพาไปพบแพทย์ 

  • เพื่อประเมินการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต
  • แพทย์จะซักประวัติของเด็กและครอบครัว  
  • แพทย์จะชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความยาวรอบศีรษะ วัดความยาวของแขนขา เพื่อบันทึกผลในกราฟการเจริญเติบโตของเด็ก
  • อาจมีการเอ็กซเรย์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของกระดูก
  • มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาความผิดปกติ เช่น การตรวจวัดระดับของฮอร์โมนต่าง ๆ

 

เมื่อพบว่าเด็กมีภาวะตัวเตี้ยแพทย์จะรักษาตามสาเหตุของเด็กแต่ละคน เช่น ฉีดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ให้ยาชะลอความเป็นหนุ่มเป็นสาว (GnRH-analogue) ให้ไทรอยด์ฮอร์โมน ให้วิตามินดี เป็นต้น

 

การดูแลเมื่อลูกตัวเตี้ย 

1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม 

2. ดื่มนมรสจืด อย่างน้อยวันละ 2-3 แก้ว

3. ให้ลูกออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและมวลกระดูก โดยให้พิจารณาความเหมาะสมตามวัยของลูกด้วย เช่น การกระโดดโลดเต้น ปีนป่าย ว่ายน้ำ บาสเกตบอล แบดมินตัน ฟุตบอล ฯลฯ ครั้งละ 30 นาที ประมาณ 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ 

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ฮอร์โมนเติบโตทำงานได้เต็มที่ และไม่ควรนอนดึกเนื่องจากฮอร์โมนเจริญเติบโตจะหลั่งออกมาช่วงกลางดึก ประมาณ 22.00 -02.00 น. ดังนั้นเด็กจึงควรเข้านอนก่อนช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้ฮอร์โมนเติบโตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ, โรงพยาบาลสินแพทย์


 

วิธีสังเกต ลูกเป็นออทิสติกหรือไม่

 
ออทิสติก-ออ ทิ สติ ก คือ-วิธีสังเกตลูกเป็นออทิสติก-อาการออทิสติก-รักษาออทิสติก-วิธีตรวจออทิสติก-ออทิสติกรักษาหายไหม-ลูกเป็นออทิสติก-เด็กออทิสติก-เด็กพิเศษออทิสติก-ออทิซึม-ออทิสติก พัฒนาการ-ออทิสติก ก้าวร้าว-ออทิสติก เล่นซ้ำๆ-ออทิสติกกลัวคนแปลกหน้า-ออทิสติกเข้าสังคมยาก-ช่วยลูกออทิสติกเข้าสังคม

ออทิสติก เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่พบมาในเด็ก พ่อแม่รุ่นใหม่จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องออทิสติก เพื่อสังเกตอาการและรักษาอย่างถูกต้อง พญ.เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม จิตแพทย์เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ มีคำแนะนำค่ะ
ออทิสติกคืออะไร

โรคออทิสติก (Autistic Disorder) ออทิสซึม (Autism) หรือ ออทิสติกสเปกตรัม (Autistic Spectrum Disorder) เกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของสมองที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการพูดสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ร่วมกับมีพฤติกรรมและความสนใจแบบแคบ จำกัด และเป็นแบบแผนซ้ำ ๆ

ความบกพร่องเหล่านี้จะเริ่มแสดงให้เห็นในวัยเด็กเล็ก และมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ออทิสติกเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยเหลือให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะหากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มแรก

  • ลักษณะอาการของโรคออทิสติก ความบกพร่องด้านการพูดและสื่อสาร
    ผู้ปกครองมักเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติในขวบปีที่ 2 เมื่อเด็กยังไม่เริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมาย ไม่ตอบสนองเมื่อเรียกชื่อ ไม่ทำตามคำสั่ง ไม่ค่อยสบตาเหมือนเด็กทั่วไป โดยเด็กอาจไม่พูดเลย พูดเป็นคำที่ไม่มีความหมาย หรือมีภาษาเฉพาะตัว (ภาษาต่างดาว) หรือสื่อสารโดยการดึงมือผู้ปกครองให้ทำในสิ่งที่ต้องการ เด็กบางคนอาจเคยพูดเป็นคำได้แล้วแต่พัฒนาการด้านการพูดมาหยุดชะงัก หรือถดถอยในช่วงอายุ 1.6 - 2 ปี

    เด็กบางคนอาจจะเริ่มพูดสื่อสารได้ดีเมื่อโตขึ้น หรือบางคนอาจไม่มีความล่าช้าของพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ชัดเจน แต่จะมีลักษณะการพูดที่ผิดปกติ เช่น พูดทวนคำพูดของผู้อื่น พูดโดยใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับบริบท พูดซ้ำๆแต่เรื่องที่ตนสนใจ หรือไม่พูดคุยแบบตอบโต้กับผู้อื่น นอกจากนี้เด็กออทิสติกยังมักมีความผิดปกติของการใช้ภาษาท่าทาง (หรือภาษากาย) (Non-verbal language) ในการสื่อสาร เช่น มีการแสดงมีหน้า ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เข้าใจการใช้ภาษาท่าทางของผู้อื่น

  • ลักษณะอาการของโรคออทิสติก ความบกพร่องในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
    ความบกพร่องนี้อาจแสดงให้เห็นตั้งแต่ขวบปีที่ 2  โดยเด็กอาจจะแสดงอาการติดผู้ปกครอง หรือไม่กลัวคนแปลกหน้าเหมือนเด็กทั่วไป เมื่อโตขึ้นมักมีการแสดงออกของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางสังคม ชอบเล่นคนเดียว ไม่แสดงความสนใจหรือความสนุกร่วมกับผู้อื่น ไม่เล่นแบบมีจินตนาการหรือบทบาทสมมติกับเพื่อน ไม่มีความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิท หรืออาจไม่สนใจที่จะมีเพื่อนเลย
ลักษณะอาการที่มักพบร่วมมในเด็กออทิสติก
  • เด็กมักมีการเล่นหรือแสดงออกของพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนซ้ำ ๆ เด็กชอบนำของเล่นมาเรียงต่อกัน หมุนเล่นไปมา ไม่เล่นตามฟังก์ชั่นของของเล่นชิ้นนั้น ๆ (เช่นจับรถของเล่นหงายเพื่อหมุนล้อ) ชอบเล่นแบบเดิมซ้ำ ๆ ชอบไปสถานที่เดิมๆ หรือมีกิจวัตรที่เป็นแบบแผนเปลี่ยนแปลงได้ยาก

  • เด็กบางคนมีความหมกมุ่นสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป หรือมีความสนใจแปลกกว่าเด็กทั่วไป นอกจากนี้ยังอาจมีประสาทสัมผัสที่ไวมากหรือน้อยเกินไป เช่น การรับสัมผัสด้านความเจ็บปวด อุณหภูมิ เสียง แสง หรือการเคลื่อนไหวของวัตถุ หรือแม้แต่เนื้อสัมผัสของอาหารบางชนิด ผิวสัมผัสของเนื้อผ้าบางประเภท เป็นต้น

  • เด็กออทิสติกอาจพบมีภาวะความบกพร่องของสติปัญญาและการเรียนในด้านต่างๆ อาการขาดสมาธิ ซนและอยู่ไม่นิ่ง พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือพฤติกรรมกระตุ้นตนเองซ้ำๆ เช่น สะบัดมือ เคาะวัตถุ โยกตัว หรือกระโดด เป็นต้น
แนวทางการวินิจฉัยโรคออทิสติก

ออทิสติกสามารถวินิจฉัยได้โดยอาศัยประวัติพัฒนาการ การประเมินทางร่างกายและพฤติกรรมของเด็ก เนื่องจากไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการทดสอบจำเพาะใดๆ สำหรับโรคนี้ แต่ทั้งนี้ แพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยแยกโรคบางอย่าง เช่น ส่งตรวจการได้ยินเพื่อแยกจากภาวะการได้ยินบกพร่อง เป็นต้น

พ่อแม่ควรทำอย่างไร ถ้าสงสัยว่าลูกป็นออทิสติก

เมื่อสังเกตเด็กตามข้อมูลที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้นแล้ว สงสัยว่าเด็กเป็นออทิสติก ควรนำเด็กมารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อให้การวินิจฉัยและช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด และระหว่างนี้ผู้ปกครองควรกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยการเล่นกับเด็กมากขึ้น ฝึกให้เด็กพูดตาม สบตา หรือให้ทำตามคำสั่งง่ายๆ

แนวทางการรักษาออทิสติก

แนวทางการรักษา การช่วยเหลือเด็กและครอบครัว ขึ้นกับผลการตรวจประเมินเป็นหลัก โดยเป้าหมายคือเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการแต่ละด้านอย่างสมวัย หรือใกล้เคียงพัฒนาการปกติมากที่สุด โดยมีทีมสหวิชาชีพทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองในการช่วยเหลือเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้

การกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ สำหรับเด็กออทิสติก

การฝึกทักษะและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น การฝึกให้เด็กมีทักษะการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน ฝึกทักษะการเล่นและการเข้าสังคม แก้ไขปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งปรับการเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม การช่วยเหลือด้านการเรียนที่เหมาะกับศักยภาพของเด็ก ซึ่งอาจเป็นชั้นเรียนพิเศษ หรือชั้นเรียนร่วมกับเด็กปกติโดยมีการช่วยเหลือเพิ่มเติมรายบุคคล

การใช้ยารักษาอาจมีความจำเป็นในการรักษาบางอย่างที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น อาการขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด ก้าวร้าว หรือกระตุ้นตนเอง ทั้งนี้การใช้ยารักษาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควบคู่ไปกับการฝึกกระตุ้นพัฒนาการและพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น

รักลูก Community of The Experts

พญ.เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม
จิตแพทย์เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ 
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

สังเกตให้ดี! ลูกเราเป็น ADHD โรคสมาธิสั้นหรือไม่ พ่อแม่รู้ไวแก้ไขทัน

สมาธิสั้น-เด็กสมาธิสั้น-โรคสมาธิสั้น-การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-พัฒนาการผิดปกติ-ลูกพูดไม่หยุด-ลูกไม่ชอบอยู่นิ่ง-ลูกขยับตัวตลอดเวลา-อาการสมาธิสั้น สังเกตให้ดี! ลูกเราเป็น ADHD โรคสมาธิสั้นหรือไม่

ปัญหาใหญ่ของเด็กไทยกับการป่วยโรคสมาธิสั้น โดยกระทรวงสาธารณสุขพบว่า เด็กไทยป่วยสมาธิสั้นกว่า 1 ล้านคน และกว่าครึ่งจะมีปัญหาสุขภาพจิตตามมาค่ะ

โรคสมาธิสั้น (ADHD , Attention Deficit Hyperactivity Disorder)

โรคสมาธิสั้น เป็นปัญหาทางพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียนและเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เด็กมีปัญหาการเรียน เกิดจากความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมได้แก่ ขาดสมาธิ ซนอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ ที่เป็นมากกว่าพฤติกรรมตามปกติของ เด็กในระดับพัฒนาการเดียวกัน

 

วิธีสังเกตอาการของโรคสมาธิสั้น

1.ซน อยู่ไม่นิ่ง

เด็กจะมีอาการซน ยุกยิก นั่งนิ่งไม่ค่อยได้ เคลื่อนไหวตลอดเวลา เล่นโลดโผน

2.ขาดสมาธิ

เด็กไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการเรียน ไม่สามารถตั้งใจฟังครูสอนได้อย่างต่อเนื่อง มีอาการเหม่อลอย วอกแวกง่าย ทำงานไม่เสร็จ เบื่อง่าย ผลงานที่ออกมาไม่เรียบร้อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กเรียนรู้ไม่เต็มศักยภาพ หลงลืมกิจวัตรที่ควรทำเป็นประจำ หรือทำของหายบ่อย ขาดการยับยั้งใจตนเอง หุนหันพลันแล่น

3.ขาดการยั้งคิด

ทำโดยไม่ไตร่ตรองถึงผลกระทบที่ตามมา อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ ไม่สามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำให้จนเสร็จ

 

8 วิธีดูแลเด็กสมาธิสั้น เพื่อช่วยเด็กรับมือกับโรคได้ดีขึ้น 
  1. จัดมุมที่เงียบสงบไว้ให้เด็กได้ทำงาน หรือทำการบ้าน ห่างจากโทรทัศน์ไม่ให้มีเสียงเข้ามารบกวนสมาธิ และจัดของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดสิ่งเร้าที่ดึงความสนใจของเด็ก
  2. ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน ให้เด็กทวนคำสั่งว่ามีอะไรบ้าง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักมีความอดทนในการฟังต่ำ
  3. ฝึกฝนวินัยในเด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปละละเลยหรือตามใจจนเคยตัว
  4. เบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กดื้อหรือซนมากให้หากิจกรรมอื่นมาแทน
  5. ให้เด็กออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อช่วยลดพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิและลดความเครียด
  6. การนอนหลับให้เพียงพอก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี
  7. ลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลง แต่ทำบ่อยขึ้น เน้นเรื่องความรับผิดชอบและอดทน ตั้งเป้าหมายของกิจกรรมให้ง่ายๆ สั้นๆ อย่างชัดเจนและเสร็จเป็นชิ้นๆ ไป
  8. ควรให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป

ทั้งนี้ การเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับกับโรคสมาธิสั้นที่เกิดในเด็กของพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนช่วยลดความเครียดในครอบครัว และป้องกันโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ที่อาจตามมาในเด็ก ช่วยให้เด็กมีความสุขกับการเรียน การใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสมวัย และทำได้เต็มความสามารถมากขึ้น

 

 

อ้างอิงข้อมูลโดย : 

เกณฑ์ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่ ของเด็กแรกเกิด-5 ปี จากสำนักโภชนาการ

ลูกเราอ้วนไปไหม เตี้ยไปหรือเปล่า ตารางน้ำหนักส่วนสูงจะเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่ติดตามพัฒนาการทางร่างกาย เมื่อพบความผิดปกตินี้จะได้รีบแก้ไข

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

เกณฑ์ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่ ของเด็กแรกเกิด-5 ปี จากสำนักโภชนาการ

ตารางน้ำหนักส่วนสูงของลูกเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้เพื่อติดตามพัฒนาการด้านร่างกายและการเจริญเติบโตของลูก สำนักโภชนาการโดยกรมอนามัยได้เผยแพร่เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงใหม่ ที่สอดคล้องกับตารางน้ำหนักส่วนสูงของ WHO

ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าในประเทศไทย ทำให้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2538 ไม่ตรงกับสภาวะในปัจจุบัน เนื่องจากตารางที่ใช้อยู่วิเคราะห์ปัญหาต่ำกว่าความจริง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับเกณฑ์เติบโตเด็กขึ้นใหม่ เพื่อให้ภาวะโภชนาการของเด็กไทยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ตารางน้ำหนักส่วนสูง เด็กแรกเกิด-5 ปี

 

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

 

ดาวน์โหลด คลิก

 

โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กชายควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ หนัก 8.2 - 11.4 กิโลกรัม

อายุ 2 ขวบ หนัก 10.3 - 14.4 กิโลกรัม

อายุ 3 ขวบ หนัก 12.00 - 17.2 กิโลกรัม

อายุ 4 ขวบ หนัก 13.5 - 19.8 กิโลกรัม

อายุ 5 ขวบ หนัก 15.00 - 22.5 กิโลกรัม

 

 

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

ดาวน์โหลด คลิก

 

 

โดยส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กชายควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ สูง 71 - 79.2 เซ็นติเมตร

อายุ 2 ขวบ สูง 83 - 92.2 เซ็นติเมตร

อายุ 3 ขวบ สูง 90.5 - 101.5 เซ็นติเมตร

อายุ 4 ขวบ สูง 97 - 109.5 เซ็นติเมตร

อายุ 5 ขวบ สูง 103 - 117 เซ็นติเมตร

 

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

 

ดาวน์โหลด คลิก

 

โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กหญิงควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ หนัก 7.5 - 10.7 กิโลกรัม

อายุ 2 ขวบ หนัก 9.15 - 13.8 กิโลกรัม

อายุ 3 ขวบ หนัก 11.5 - 16.9 กิโลกรัม

อายุ 4 ขวบ หนัก 13.15 - 20.00 กิโลกรัม

อายุ 5 ขวบ หนัก 14.7 - 23.00 กิโลกรัม

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

 

ดาวน์โหลด คลิก

 

โดยส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กหญิงควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ สูง 70 - 78 เซ็นติเมตร

อายุ 2 ขวบ สูง 81.5 - 91.2 เซ็นติเมตร

อายุ 3 ขวบ สูง 89.3 - 100.4 เซ็นติเมตร

อายุ 4 ขวบ สูง 96.2 - 110เซ็นติเมตร

อายุ 5 ขวบ สูง 102.2 - 116.5 เซ็นติเมตร

 

การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทารก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือส่วนสูงเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่ยังขึ้นอยู่กับโภชนาการ การนอนนอนหลับพักผ่อน การขับถ่าย การเล่น รวมถึงพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมด้วย 

เด็กบางคนอาจมีน้ำหนักและความสูงไม่ตรงตามเกณฑ์ อาจต้องพิจารณาจากพันธุรรมและปัจจัยอื่นประกอบด้วย ถ้าหากลูกอ้วน ผอม หรือเตี้ยเกินเกณฑ์ พ่อแม่ต้องปรึกษากุมารแพทย์ หรือพาลูกไปเช็กกับกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการอีกทีค่ะ 

 

ที่มา : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 

เช็ก Reflex พัฒนาการลูกทารกแรกเกิด Reflex ทารกคืออะไร

Reflex ทารกแรกเกิด, Reflex ลูกแรกเกิด, Reflex ทารก คืออะไร, ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์, เช็กพัฒนาการลูกแรกเกิด, พัฒนาการทารกแรกเกิด, สุขภาพเด็กแรกเกิด, เช็กพัฒนาการ ทารกหลังคลอด, พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ, ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

ร่างกายของทารกหลังคลอดจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ เช็กได้จากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือ Reflex ของเด็กทารกค่ะ

เช็ก Reflex พัฒนาการลูกทารกแรกเกิด Reflex ทารกคืออะไร

Reflex..ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ คือการตอบสนองของกล้ามเนื้อตามธรรมชาติที่มีผลมาจากการถูกกระตุ้น โดยมีปัจจัยจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และเป็นผลมาจากพัฒนาการด้านระบบประสาทในเด็ก ถือเป็นการแสดงหน้าที่อย่างหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีความจำเป็นในเด็กทารกแรกเกิด เพราะนั่นหมายถึงการมีพัฒนาการที่ปกติ และนำไปสู่การอยู่รอดของเด็กนั่นเอง

ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือ Reflex พื้นฐานของลูกทารกแรกเกิด

1. ปฏิกิริยาสะท้อนทางปาก (Oral Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

  • ปฏิกิริยาการค้นหา (Rooting Reflex) หากมีบางสิ่งมาสัมผัสที่ข้างแก้มของลูก ลูกจะค่อยๆ หันหน้าและขยับปากไปหาสิ่งที่มาสัมผัส เช่น เมื่อคุณแม่จะป้อนนม แล้วใช้หัวนมเขี่ยข้างแก้ม ลูกก็จะค่อยๆ หันหน้าไปหาหัวนม และงับหัวนมได้

  • ปฏิกิริยาการดูด (Sucking Reflex) จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถดูดนมได้ การที่มีอะไรสักอย่างไปกระตุ้นริมฝีปาก เมื่อลูกงับหัวนมได้ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการใช้ลิ้นกับเพดานดุนเข้าหากัน จากลานนมไปหาหัวนมทำให้มีน้ำนมไหลออกมา

  • ปฏิกิริยาการกลืน (Swollowing Reflex) เมื่อลูกดูดนมได้แล้ว ต่อไปก็จะกลืน ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ลูกกลืนได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ใดๆ

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติแล้วปฏิกิริยาชนิดนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 2-3 เดือนแรก แล้วจะค่อยๆ หายไป หลังจากนั้นลูกน้อยจะกินได้ด้วยการเรียนรู้ ว่าควรหันไปหาหัวนมแม่อย่างไร และต้องดูดนมอย่างนี้ถึงจะไหลออกมา สามารถบังคับ และกำหนดการดูดได้ด้วยตัวเอง

 

2. ปฏิกิริยาทางตา (Eye Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

  • ปฏิกิริยาการกะพริบตา (Blink Reflex) เมื่อมีอะไรมาโดนตา หรือเข้ามาใกล้ตา ก็จะกะพริบตาทันที

  • ปฏิกิริยาของแก้วตา (Pupil Reflex) เมื่อมีแสงมากระทบที่ม่านตา หรือเวลาที่ลูกจ้องมองแสงไฟ ม่านตาของลูกจะค่อยๆ หดลง เหมือนเป็นการป้องกันไม่ให้แสงเข้านัยน์ตามากเกินไป

  • ปฏิกิริยาการกลอกตา (the dolls eye response) ลูกสามารถกลอกตาไปมา เพื่อมองหา หรือมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรก

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติปฏิกิริยาชนิดนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด และจะไม่หายไปไหน จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตเลย

 

3. ปฏิกิริยาโมโร (Moro Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

เวลาที่อุ้มลูกแล้วประคองบริเวณต้นคอลูก ถ้ามือเลื่อนลงมาบริเวณหลัง ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทันที คือแขนขาจะเหยียดและกางออกหลังจากนั้นจะโผเข้าหาเหมือนจะโอบกอด หรือการที่ลูกได้ยินเสียงดังๆ หรือการวางลูกนอนลงอย่างกะทันหัน ลูกจะตกใจ และแสดงอาการสะดุ้ง หรือผวาออกมา Moro Reflex ทารกหลังคลอดทุกคนจะมีให้เห็น เพื่อเป็นการบ่งบอกให้รู้ว่าลูกมีพัฒนาการสมบูรณ์ ฉะนั้นเวลาที่ลูกสะดุ้งตกใจ ให้คุณพ่อคุณแม่รู้ไว้ว่าลูกมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติค่ะ

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติแล้วปฏิกิริยานี้จะเริ่มมีตั้งแต่แรกเกิด จะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุ 3 เดือน และหายไปเมื่ออายุ 5-6 เดือนค่ะ

 

เช็กพัฒนาการทางร่างกายที่สำคัญของลูกทารกวัย 6-12 เดือน

พัฒนาการทารก 6 เดือน, พัฒนาการทารก 7 เดือน, พัฒนาการทารก 8 เดือน, พัฒนาการทารก 9 เดือน, พัฒนาการทารก 10 เดือน, พัฒนาการทารก 11 เดือน, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เช็กพัฒนาการทารก, ประเมินพัฒนาการทารก, เลี้ยงลูกอายุ 6 เดือน, ของเล่น ทารก 6 เดือน, ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 
ลูกทารกวัย 6-12 เดือนมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง และพ่อแม่จะส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างไรให้ลูก เช็กกันได้ที่บทความนี้

เช็กพัฒนาการทางร่างกายที่สำคัญของลูกทารกวัย 6-12 เดือน

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 6 เดือน

  • พลิกคว่ำเองได้คล่อง 
  • ชันตัวได้ในท่านอนคว่ำเหมือนพยายามโหย่งตัว
  • ทรงตัวในการนั่งได้ดีแต่ต้องมีหมอนพิง
  • จับถือขวดนมหรือของเล่นได้อยู่มือ

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 6 เดือน

  • เตรียมพื้นที่คลานให้ลูกด้วยแผ่นรองคลานหรือผ้านุ่มๆ
  • วางหมอนป้องกันไว้รอบๆ พื้นที่เพื่อไม่ให้ลูกพลิกแล้วตกที่นอนหรือแผ่นรอง
  • หมั่นตรวจดูผ้าอ้อมลูกไม่ให้ตุง เพราะถ้าผ้าอ้อมตุง หนัก บวม จะทำให้ลูกพลิกตัวยาก

---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 7 เดือน

  • ยันตัวในท่าคลานหรือเริ่มคืบไปข้างหน้าได้ทีละนิด
  • จับของเพื่อดึงตัวเองขึ้นยืนได้
  • อาจยกตัวขึ้นนั่งได้จากท่านอน
  • ถ้ามีคนพยุงจะยืนทรงตัวและก้าวขาสั้นๆ ได้

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 7 เดือน

  • จัดการกับเหลี่ยมมุมในบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ปลั๊กไฟเพื่อให้ลูกไม่ให้ลูกคืบหรือเกาะไต่ไปโดน
  • ควรลองพาลูกไปหัดคลานหรือเดินนอกบ้าน เช่น ในสวน เพื่อให้เขาได้สัมผัสธรรมชาติและสนุกกับการคลานมากขึ้น
  • เลือกเสื้อผ้าที่ไม่รุงรัง ไม่รัดจนทำให้ลูกคลานหรือยืนไม่คล่องตัว

---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 8 เดือน

  • คลานได้
  • ยืนเกาะไต่และก้าวขาไปได้เรื่อยๆ ทีละก้าวสั้นๆ
  • นั่งได้มั่นคง ไม่ล้มหงายหลัง ไม่ต้องมีหมอนพิง
  • สามารถเปลี่ยนจากการคลานไปนั่งเองได้ด้วยการยันแขนขึ้น

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 8 เดือน

  • ควรจัดพื้นที่คลานในบ้านให้กว้างขึ้น เช่น ย้ายเฟอนิเจอร์ ปูพื้นที่คลาน หรือส่วนไหนที่คลานไปไม่ได้ก็ให้หาฉากหรือคอกกั้น
  • จับมือพยุงให้ลูกยืนและก้าวเดินบ่อยๆ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยให้ขาลูกแข็งแรงและพัฒนาการเดินได้ไวขึ้น
  • เลือกผ้าอ้อมที่กระชับกับตัวลูก เพื่อให้ลูกคลานได้คล่องตัว ไม่เกิดการเสียดสี

---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน

  • คลานคล่องแคล่ว คลานไว หรืออาจคลานขึ้นบันไดได้
  • จับของยืนเองได้และยืนได้นานโดยไม่มีคนพยุง
  • บางคนลุกยืนเองได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
  • นั่งลงได้จากท่ายืนโดยไม่ล้ม

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน

  • ช่วงนี้ควรเลือกผ้าอ้อมแบบกางเกงที่บางกระชับ เพื่อให้ลูกเคลื่อนไหวได้แบบไม่ติดขัด
  • จับให้ลูกได้เกาะโซฟาแล้วไต่เดินเองเพื่อเพิ่มพลังขา
  • ช่วงที่จะใส่กางเกงให้ลูกถือเป็นจังหวะฝึกยืน โดยให้ลูกยืนเกาะไหล่แม่พยุงตัวไว้และใส่กางเกงแทนการนั่งใส่เหมือนเดิม
---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 10 เดือน

  • ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
  • ยืนได้โดยไม่ต้องจับอะไร
  • เดินได้หลายก้าวขึ้นแต่ยังต้องจับเครื่องเรือนไต่เดินไปรอบๆ
  • ปีนขึ้นลงเก้าอี้เองได้

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 10 เดือน

  • ร้องเรียกหรือปรบมือให้ลูกเดินเข้ามาหาเพื่อฝึกการเดินให้มั่นคง
  • บอกให้ลูกลองลุกนั่งบ่อยๆ เพื่อฝึกการทรงตัวจากการยืนนั่งและนั่งยืน
  • ลองนำของเล่นที่เขาชอบไปวางไวในมุมปลอดภัยต่างๆ หรือในสวน แล้วให้เขาเดินไปหยิบเพื่อฝึกการมอง การเดิน การทรงตัว
---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 11 เดือน

  • เดินได้เองโดยจับมือคนอื่นหนึ่งหรือสองมือ
  • ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งยองๆ ได้
  • ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้มือยันพื้นแล้วดันตัวขึ้นยืนตรง
  • จับของเล่นส่งต่อมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้โดยของไม่ตก

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 11 เดือน

  • เดินจูงมือลูกให้ก้าวเดินไปพร้อมกับแม่เพื่อกระตุ้นความสนุกและอยากเคลื่อนไหว
  • หาของเล่นที่มีพื้นผิวและขนาดที่หลากหลายเพื่อให้ลูกได้จับและส่งจากมือหนึ่งไปมือหนึ่งได้คล่องมากขึ้น
---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 12 เดือน (1 ขวบ)

  • ลุกนั่งได้คล่องแคล่ว
  • คลานขึ้นลงบันไดได้
  • ใช้มือขณะเดินได้ เช่น โบกมือ ถือของ
  • เริ่มก้าวได้ก้าวขึ้น เร็วขึ้นจนเกือบเหมือนวิ่งเพราะสนุกที่จะเดินไปหาของที่อยากไปเล่น

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 12 เดือน (1 ขวบ)

  • ช่วงนี้ลูกจะสนุกกับการคลาน แม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อระบายความร้อนจากร่างกาย
  • ควร เลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดีเพื่อให้ลูกคลานได้นานขึ้นและไม่รั่วซึม รวมถึงควรเป็นผ้าอ้อมที่ไม่ตุงเทอะทะ เพราะน้ำหนักของผ้าอ้อมอาจจะถ่วงให้ลูกคลานได้ช้าลง ไม่สบายตัว

 

เช็กพัฒนาการเด็ก ลูกวัย 0-1 ปี ได้ง่าย ๆ ทุกวันด้วยตัวพ่อแม่เอง

พัฒนาการทารก, พัฒนาการทารก 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน 9 เดือน 10 เดือน 11 เดือน 12 เดือน, พัฒนาการทารกแต่ละเดือน, พัฒนาการทารกแรกเกิดเป็นยังไง, เช็กพัฒนาการทารก, เช็กพัฒนาการเด็ก
 
อยากรู้ว่าพัฒนาการลูกทารกแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ต้องทำอะไรได้ เรามีวิธีสังเกตพัฒนาการทารกวัย 0-1 ปี มาแนะนำให้พ่อแม่เช็กกันได้ตรงนี้ค่ะ 

เช็กพัฒนาการเด็ก ลูกวัย 0-1 ปี ได้ง่าย ๆ ทุกวันด้วยตัวพ่อแม่เอง

พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่
    • งอแขนขาทั้งในท่านอนคว่ำและนอนหงาย
    • ชันคอได้ชั่วขณะในท่านอนคว่ำ
  • กล้ามเนื้อตาและมือ
    • มองเหม่อ อาจจ้องมองในระยะ 8-12 นิ้ว
    • กำมือเมื่อถูกกระตุ้นที่ฝ่ามือ
  • การรับรู้ภาษา
    • สะดุ้งหรือ เปิดตากว้างเมื่อได้ยินเสียง
  • การสื่อภาษา
    • ส่งเสียงร้อง
  • สติปัญญา
    • ไม่สนใจเมื่อสิ่งที่มองเห็นหายไป
  • อารมณ์และสังคม
    • มองหน้าคนช่วงสั้นๆ

พัฒนาการทารก 2-3 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - ชันคอได้เองเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำ
  • กล้ามเนื้อตาและมือ - มือกำหลวม ๆ และ มองตามสิ่งของได้ข้ามกึ่งกลางลำตัว
  • การรับรู้ภาษา - หยุดเคลื่อนไหว หรือกะพริบตาตอบสนองต่อเสียง
  • การสื่อภาษา - ส่งเสียงอ้อแอ้
  • สติปัญญา - จ้องมองในจุดที่เห็นสิ่งของหายไปชั่วขณะ
  • อารมณ์และสังคม - สบตาและยิ้มโต้ตอบเวลามีคนเล่นด้วย

พัฒนาการทารก 3-6 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่
    • คว่ำหรือหงายได้เอง
    • นั่งได้เองชั่วครู่
  • กล้ามเนื้อตาและมือ
    • เอื้อมมือคว้าของ
    • ประคองขวดนม
  • การรับรู้ภาษา
    • หันหาเสียง
  • การสื่อภาษา
    • เลียนเสียงพยัญชนะหรือสระเช่น “อา” “บอ”
  • สติปัญญา
    • จ้องมองมือของพ่อแม่ที่ถือของเล่นไว้แล้วปล่อยให้ตกไปชั่วครู่
  • อารมณ์และสังคม
    • ดีใจเวลาเห็นผู้เลี้ยงดูที่คุ้นเคย

พัฒนาการทารก 6-9 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - นั่งบนพื้นเองได้นานขึ้น
  • กล้ามเนื้อตาและมือ - หยิบของด้วยมือทั้งมือ และประคองขวดนม
  • การรับรู้ภาษา - รู้จักชื่อตัวเอง
  • การสื่อภาษา - เล่นเสียงพยัญชนะหรือสระติดต่อกันเช่น “ปาปา มามา”
  • สติปัญญา - มองตามของที่ตก
  • อารมณ์และสังคม - แยกแยะคนแปลกหน้าและคนใกล้ชิดได้ และร้องตามแม่


พัฒนาการทารก 9-12 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - เกาะยืน
  • กล้ามเนื้อตาและมือ - หยิบของโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • การรับรู้ภาษา - ทำตามคำสั่งง่ายๆได้เช่น “บ๊ายบาย” “ขอ” เข้าใจคำสั่งเช่น “หยุด” “อย่า”
  • การสื่อภาษา - สื่อสารภาษากาย เช่น ชี้ แบมือขอของ อวดของเล่น ฯลฯ
  • สติปัญญา - เปิดหาของที่ซ่อนไว้
  • อารมณ์และสังคม - เลียนแบบท่าทาง เช่น โบกมือ สาธุ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการตามวัยที่ระบุในที่นี้เป็นพัฒนาการขั้นต่ำที่เด็กในแต่ละวัยสามารถทำได้ครับ หากลูกยังไม่สามารถทำได้และคุณแม่มีข้อสงสัยควรปรึกษากุมารแพทย์ แต่ขณะเดียวกันเด็กบางคนอาจพัฒนาได้เร็วกว่าเกณฑ์นี้ได้เช่นกันค่ะ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

รศ.นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม 
คณะแพทยศา
สตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

เรียนรู้ผ่านการเล่นที่ Qualitykids Brainfitness โรงเรียนเสริมทักษะที่เข้าใจธรรมชาติความเป็นเด็ก

Qualitykids, Qualitykids Brainfitness, โรงเรียนเสริมทักษะ, เรียนภาษา, ภาษาอังกฤษ, พัฒนาการเด็ก, โรงเรียน ไหน ดี , ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส รีวิว, ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส พันทิป, ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส รีวิว พันทิป, โรงเรียน อะไร ดี , ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส ราคา, Qualitykids Brainfitnessส์ รีวิว, Qualitykids Brainfitness พันทิป, Qualitykids Brainfitness รีวิว พันทิป, Qualitykids Brainfitness ราคา

เรียนรู้ผ่านการเล่นที่ Qualitykids Brainfitness โรงเรียนเสริมทักษะที่เข้าใจธรรมชาติความเป็นเด็ก

เมื่อธรรมชาติของเด็กคือการเล่น การเรียนรู้ผ่านการเล่น จึงทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย หรือเบื่อที่จะเรียนรู้ ทำให้ห้องเรียนที่ Qualitykids Brainfitness ไม่มีหนังสือเล่มหนาเตอะ มีแต่เกมดี ๆ เป็นครูฝึกทักษะด้านต่าง ๆ มีคุณครูพี่เลี้ยงทำหน้าที่เป็นแว่นขยาย และมีหลักสูตรที่ดีเป็นครูแนะแนว เพื่อดึงศักยภาพของเด็ก ๆ ออกมาแบบที่ไม่สูญเสียความเป็นตัวเอง นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องเรียนที่ Qualitykids Brainfitness

Qualitykids, Qualitykids Brainfitness, โรงเรียนเสริมทักษะ, เรียนภาษา, ภาษาอังกฤษ, พัฒนาการเด็ก, โรงเรียน ไหน ดี , ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส รีวิว, ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส พันทิป, ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส รีวิว พันทิป, โรงเรียน อะไร ดี , ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส ราคา, Qualitykids Brainfitnessส์ รีวิว, Qualitykids Brainfitness พันทิป, Qualitykids Brainfitness รีวิว พันทิป, Qualitykids Brainfitness ราคา

เพราะเด็ก ๆ ที่มาเรียนที่ Qualitykids Brainfitness จะได้เรียนรู้ผ่านการเล่น เด็ก ๆ จะสนุกกับการเรียนรู้ ได้คิด ได้ลงมือทำ ได้ประมวลผล ทั้งแบบเล่นเดี่ยว เล่นกลุ่ม และเล่นคู่ ผ่านรูปแบบเกมที่หลากหลายไม่เน้นผลแพ้ชนะ แต่เน้นเกิดทักษะระหว่างการเล่น ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ การคิดเป็นระบบ จนสามารถนำมาต่อยอดเชิงวิชาการได้แบบไม่ต้องท่องจำ แต่เป็นการเรียนรู้จดจำผ่านพฤติกรรมแทน

Qualitykids, Qualitykids Brainfitness, โรงเรียนเสริมทักษะ, เรียนภาษา, ภาษาอังกฤษ, พัฒนาการเด็ก, โรงเรียน ไหน ดี , ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส รีวิว, ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส พันทิป, ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส รีวิว พันทิป, โรงเรียน อะไร ดี , ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส ราคา, Qualitykids Brainfitnessส์ รีวิว, Qualitykids Brainfitness พันทิป, Qualitykids Brainfitness รีวิว พันทิป, Qualitykids Brainfitness ราคา

ดร.ชญานิธิ แบร์ดี้ หรือ ครูแอ๊นท์ ประธานกรรมการ ควอลิตี้คิดส์ เบรนฟิตเนส และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและผู้คิดค้นการสอนระบบ A.N.T. (Advance Neurological Teaching) เล่าให้ฟังว่า เด็กจะเรียนรู้ตามวัยของเขา เด็กแต่ล่ะคนมีความพิเศษ มีความฉลาดมาตั้งแต่เกิด นี่คือความเชื่อของเรา การสอนเด็กให้มีคุณภาพจึงต้องสอนให้เขามีความสุข เราสอนเขาไปทีละ step จากง่าย แล้วก็ค่อย ๆ ยากขึ้น เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น ไม่ให้หยุดอยู่กับที่ เมื่อเด็กรู้สึกว่าตัวเองเล่นเกมได้ เขาจะรู้สึกมั่นใจ ภูมิใจในตัวเอง และเกมที่ยากขึ้นจะทำให้เขาต้องจดจ่อ เมื่อมีการจดจ่อก็ทำให้เกิดสมาธิ เมื่อเด็ก ๆ มีสมาธิก็ทำให้เกิดปัญญา และสุดท้าย คือ “มีความสุข” มี EQ สูงตามไปด้วย เพราะเมื่อเขาไม่กลัวกับปัญหา เขาสมองดี สมาธิดี ความคิดความอ่านก็จะปลอดโปร่ง คิดได้ไว คิดได้ทะลุปรุโปร่ง ทำให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูงตามไปด้วย

ที่ Qualitykids Brainfitness ยังมีการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาที่ลูกเจอให้ไวที่สุด หรือบางครั้งเราจะมีกิจกรรมแนะนำ ที่คุณแม่สามารถนำไปทำกับลูกที่บ้านได้ เช่น ลูกคุณแม่ชอบเรียนคณิตฯ หรือชอบดนตรีเป็นพิเศษ คุณแม่ก็ต้องเสริมด้วยการให้ลูกฟังบ่อย ๆ โดยเปิดเพลงหลายสไตล์ เพื่อให้ลูกมีประสบการณ์หลากหลายไม่ยึดติดกับแนวเพลงใดแนวเพลงหนึ่งหรือต้องชองเพลงแนวเดียวกับแม่

โดยเป้าหมายที่เราวางไว้ เราอยากให้เด็ก ๆ เป็นในสิ่งที่เขาเป็นโดยเราจะช่วยดึงและค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดของเขาออกมา เพราะเราเชื่อว่าเมื่อไรที่เด็ก ๆ ได้เจอตัวเอง ได้อยู่กับสิ่งที่รัก โลกนี้สำหรับเขาจะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะเลยเพียงพ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก ๆ การพัฒนาทักษะของเขาจะไวขึ้น เขาก็มีความสุข และค่อย ๆ ฉายแววความเป็นอัฉริยะออกมาให้คุณพ่อคุณแม่เห็นชัดเจนขึ้น

สนใจชมหลักสูตรของ Qualitykids Brainfitness คลิก www.qualitykids.com แล้วคุณพ่อคุณแม่จะรู้ว่าการมีหลักสูตรที่เป็นแบบเฉพาะตัวของลูกดีอย่างไร ยืนยันความสำเร็จกับ 30 สาขา ทั่วประเทศ และเข้ามาตกหลุมรัก Qualitykids Brainfitness มากขึ้นผ่านคลิปที่เรานำมาฝากค่ะ