facebook  youtube  line

"ให้มือถือลูกได้เมื่อไรคะ และควรมีแนวทางอย่างไร"

2221

ให้ได้เมื่อประเมินแล้วว่าเขาควบคุมตัวเองได้  อธิบาย

ข้อที่ 1 ทำไมเราจึงเคร่งครัดนักกับเรื่องการไม่อนุญาตให้เด็กเล็กก่อน 2 ขวบดูหน้าจอใดๆเหตุผลคือเพราะสมองของเด็กเติบโต เปลี่ยนแปลง และพัฒนาทุกวัน  เซลล์ประสาท เส้นประสาท จุดเชื่อมต่อของเส้นประสาท วงจรประสาทเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกวัน  ภาษาอังกฤษเรียกว่า wiring แปลตามตัวว่าวางขดลวด

เด็กเล็กก่อน 2 ขวบดูหน้าจอมากเกินไป เราห่วงว่าสมองของเขาจะพัฒนาเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าจอ แทนที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าคน (face) โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบหน้าแม่  ซึ่งจะเป็นต้นแบบของใบหน้ามนุษย์คนอื่นๆในสังคม

เด็กทารกแต่ละคนจดจำหน้าแม่ด้วยความเร็วต่างกัน เราเรียกกระบวนการนี้ว่า face recognition คือการรับรู้ว่าวงกลมสองดวงที่มีสันจมูกตรงกลางและเรียวปากด้านล่าง นี่คือหน้ามนุษย์ การดูหน้าจอมากไปจึงกระทบต่อเด็กเล็กแต่ละคนไม่เท่ากัน

หลายบ้านอาจจะอ้างได้ว่าไม่เห็นเป็นไร แต่หลายบ้านพบว่ากว่าจะรู้ตัวเด็กก็ไม่สบตาคน และไม่พูดหรือพูดช้าหรือพูดไม่เป็นภาษาหรือพูดได้แต่สื่อสารไม่ได้ ดังนั้นข้อห้ามที่ 2 ขวบยังเป็นประเด็น

ข้อที่ 2 เด็กในประเทศพัฒนาแล้วใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาตั้งแต่อายุ 7 ขวบคือเข้าประถม 1 ด้วยข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกเข้าสู่ยุคไอที มีไวไฟ และความรู้หลากหลายมิได้อยู่ในห้องเรียนหรือตำราเรียนแต่อยู่ในอินเทอร์เน็ต

คำว่าการศึกษาในที่นี้มิได้หมายถึงการท่องจำความรู้บนหน้าจอ แต่เป็นการศึกษาสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นให้เด็กทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาหรือทำโครงงานตามความใฝ่รู้ของตนเอง  เครื่องมือที่ดีอย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยพัฒนาทักษะไอทีซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21

กล่าวอย่างสั้น เด็กๆ ต้องคงความใฝ่รู้ อยากรู้ และสามารถใช้เครื่องมือไอทีเพื่อพัฒนาตนเองตามความใฝ่รู้นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ  ความรู้ข้อนี้บอกเราว่าเด็กควรได้ใช้เครื่องมือไอทีแน่ระหว่างอายุ 3-6 ขวบ คำถามที่ยากกว่าคือใช้อย่างไร

ข้อที่ 3 เด็กควรมี EF คือการควบคุมตัวเอง (self control) ที่ดี เพราะเด็กจะต้องใช้ความสามารถนี้ในการควบคุมตัวเองให้พัฒนาไปข้างหน้าโดยไม่ว่อกแว่กไปกับสิ่งเย้ายวนระหว่างทาง  ดังนั้นเด็กจึงต้องมีความสามารถในการควบคุมหรือกำกับตัวเองให้ใช้เครื่องมือไอทีตามกติกา เวลา และวัตถุประสงค์ที่เหมาะสม

การควบคุมตัวเองในเรื่องไอทีมิได้มีอะไรพิเศษไปกว่าการควบคุมตัวเองในทุกๆเรื่อง กล่าวคือเป็นความสามารถที่มากับพัฒนาการตามลำดับชั้นโดยเริ่มจากตัวเองเป็นศูนย์กลาง (self-centered)

การฝึกเด็กให้ควบคุมตัวเองได้สามารถทำได้ด้วยการฝึกเด็กทำงานบนพื้นที่ความรับผิดชอบ 4 พื้นที่โดยเรียงลำดับจากร่างกายของตัวเองที่ศูนย์กลาง รอบร่างกาย บ้าน และรอบบ้าน ควบคุมตัวเองได้คือควบคุมไอทีได้

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

“คุณหมอคะ พี่แกล้งน้องตีน้องประจำเลย สอนไม่รู้กี่ครั้งแล้ว”

 

หมอประเสริฐ รักลูก Community of the experts
เรื่องพี่น้องแกล้งกันหรือตีกันนี้พบเสมอ เรื่องที่ควรรู้ไว้ก่อนคือเรามีเวลาสิบปีที่จะรอให้เขารักกัน  เวลาสิบปีนั้นนานมาก เราไม่จำเป็นต้องบีบบังคับให้เขารักกันวันพรุ่งนี้

อย่าลืมว่าความรักมิสามารถบังคับกัน แม้แต่ความรักระหว่างพี่น้องเราก็บังคับให้ใครรักใครไม่ได้  และอย่าลืมว่าความรักเกิดจากการร่วมทุกข์ร่วมสุขเสมอ มิได้เกิดจากการร่วมสุขอย่างเดียว  ดังนั้นหลักการข้อแรกๆ คือ เราสามคนคือ แม่-พี่-น้อง อยู่ด้วยกันมากที่สุด มิใช่พอมีน้อง ส่งพี่ไปให้คนอื่นเลี้ยง ส่งไปโรงเรียนพอดี หรือส่งไปนอนกับคนอื่นในยามค่ำคืน

สมมติว่ามีพี่เลี้ยงหรือคนช่วยเลี้ยง เราจ่ายงานธุรการหรืองานวิ่งซื้อของหรืองานเดินหยิบของให้เราแก่ผู้ช่วย แต่งานแตะเนื้อต้องตัวลูกสองคนเป็นของเราเสมอ ใช้ผู้ช่วยให้ถูกวิธีด้วย

หลักการถัดมาคือให้ความสำคัญแก่พี่มากกว่าน้องเล็กน้อยเสมอ ประโยคนี้มิได้บอกให้ลำเอียงเพียงแต่ทำให้พี่เขารู้ตัวว่าเขาเป็นคนสำคัญ เขาเกิดก่อน ตัวใหญ่กว่า มีสิทธิบางประการมากกว่าเล็กน้อย ให้เกียรติแก่เขา เขาจะรับเกียรตินั้นเอาไว้

ทำให้พี่เขารู้ว่าเขาช่วยเหลือแม่ได้ ถ้าแม่เป็นนายอำเภอ ติดดาวผู้ช่วยนายอำเภอให้เขา เขาช่วยแม่ได้เมื่อไรเขาจะช่วยน้องได้ด้วย
ผู้ช่วยนายอำเภอก็ต้องมีเงินเดือน พี่จึงได้ขนมมากกว่าน้อง-เล็กน้อย มีไอติมมาสองก้อน พี่เอาก้อนใหญ่กว่า-เล็กน้อย ซื้อใจเขาให้ได้ วันหนึ่งเขาจะแบ่งขนมและไอติมให้น้องเอง

ในทิศทางตรงข้าม น้องก็จะได้เรียนรู้ว่าพี่ใหญ่ เราควรเคารพพี่บ้างมิใช่เถียงคำไม่ตกฟาก แย่งของพี่มาเป็นของตัว มิหนำซ้ำมีแม่ถือหางเสียอีก
ด้วยหลักการนี้เราจะไม่มีคำว่าลูกคนกลาง มีแต่ลูกคนที่ 1 และ 2 และ 3 และไล่ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่กลัวยากจน แต่ทุกคนจะได้รับความรักจากแม่เท่ากันแต่แม่ทำให้ดูว่าพี่คนโตเป็นผู้ช่วยนายอำเภอ ความรักนั้นจะไหลท่วมพี่แล้วล้นลงไปหาน้องๆ ตามลำดับ เรื่องนี้เป็นจิตวิเคราะห์ กล่าวคือความรักนั้นมีปริมาณและท่วมตายได้ถ้าไม่ไหลล้นออกไปเสียบ้าง

บางบ้าน ปัญหาเรื่องพี่ “รู้สึก” ว่าไม่เป็นที่ต้องการนี้เกิดจากคำพูดของคนรอบข้างได้ เช่น แต่นี้ไปเป็นหมาหัวเน่าแล้ว ทำนองนี้ หรือแม้กระทั่งทุกคนในบ้านแสดงความสนใจน้องที่เกิดใหม่กันอย่างออกนอกหน้าและพร้อมเพรียง ดังนั้นเวลามีน้องใหม่ อย่าลืมให้พี่ขายตั๋วก่อนเข้าเยี่ยมน้อง

พี่น้องทะเลาะกันเราควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้เวลาเจรจาต่อรองและเรียนรู้นิสัยใจคอของกันและกัน อย่าผลีผลามเข้าไปตัดสินความ จะได้ไม่คุ้มเสีย พวกเขาจะทะเลาะกันอีกหลายครั้ง อีกหลายปี แล้วจะเรียนรู้จักกันในที่สุด แล้ววางตำแหน่งของตัวเองอย่างถูกต้องต่อไป เรา-พ่อแม่-มีหน้าที่เพียงแค่ห้ามทำร้ายร่างกายกันเท่านั้น

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

12 กิจกรรมสร้าง EF ให้ลูกวัยซน

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

วัย 2-3 ปี เป็นวัยที่เริ่มเข้าโรงเรียน มีการปรับตัวหลายอย่าง เจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เจอผู้คนใหม่ๆ ลูกจะรู้จักควบคุมตัวเองได้มากขึ้น รู้จักรับผิดชอบงานที่ครูมอบหมาย และรู้จักคิดยืดหยุ่นเพื่อที่จะแก้ปัญหาได้ 
พ่อแม่สร้าง Self-Monitoring ให้ลูกได้

1. เล่นดนตรีกับลูก นอกจากเป็นการฝึกสมาธิแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะการฟัง การพูดและภาษาของลูกด้วย

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention และ Shift Cognitive Flexibility

2. อ่านซ้ำๆ ทำบ่อยๆ การอ่านหนังสือนิทาน โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวให้ลูกฟังบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกเกิดการจดจำและเกิดสมาธิ เพราะเด็กๆ จะชอบมองรูปในหนังสือและตั้งใจฟังพร้อมกับสนอกสนใจเรื่องนั้นๆ

พัฒนา EF...Working Memory และ Focus/Attention

3. วาดภาพตามใจปรารถนา ให้ลูกได้จดจ้องกับผลงานการสร้างสรรค์ของตนเอง ด้วยการแปะติดผนังหรือกำแพงบ้าน เพื่อให้ลูกเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ เกิดเป้าหมายและการจดจ่อ ซึ่งเด็กๆ อาจจะอยากวาดรูปมาติดเพิ่มอีก หรือมีการพัฒนาฝีมือการวาดให้ดีขึ้นอีก

พัฒนา EF... Working Memory Focus/Attention Planning/Organizing Initiating และ Goal-directed Persistence

4. ต่อบล็อกไม้ ได้สมาธิ และยังได้เรียนรู้เรื่องของรูปทรง สี และจำนวน เป็นการฝึกพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้วย

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention Planning/Organizing Initiating และ Goal- directed Persistence

5. สอนให้ลูกรู้จักรอคอย เมื่อต้องต่อคิว เข้าแถว หรือทำในสิ่งที่ทำไม่ได้ทันที พ่อแม่ห้ามแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลูกเห็น เช่น การแซงคิว แต่ควรปลูกฝังความมีระเบียบ รู้จักรอคอยให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยให้ลูกไปในตัว ซึ่งจะเป็นผลดีต่อไปในอนาคตของลูก

พัฒนาEF... Working Memory Inhibit Shift Cognitive Flexibility และ Emotional Control

6. เล่นบทบาทสมมติ ให้ลูกทำท่าทางตามที่พ่อแม่บอก เช่น หนูทำท่าหมีให้แม่ดูสิคะ หรือสั่งให้เขาจับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย กิจกรรมนี้ช่วยฝึกเรื่องไหวพริบ การแยะแยะ และเรียนรู้เรื่องกิริยา การแสดงออกในท่าทางและอารมณ์ต่างๆ และฝึกความยืดหยุ่นทางความคิด

พัฒนา EF... Working Memory Inhibit Shift Cognitive Flexibility

7. ชวนลูกทำกับข้าวนอกจากจะได้เรียนรู้คำศัพท์ ฝึกลูกให้รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว การให้ลูกเข้าครัวพร้อมพ่อแม่ ให้ล้างผัก เด็ดผัก ยังเป็นการฝึกสมาธิและการจดจ่อให้กับลูก

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention และ Planning/Organizing

8. นักสำรวจน้อย ชวนลูกสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เพราะสิ่งต่างๆ รอบตัวเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับลูก พ่อแม่ควรเข้าใจและสนับสนุนการสำรวจของลูก ซึ่งอาจเป็นไปตามสิ่งที่เขาคิดหรือสงสัย โดยช่วยให้ลูกได้ค้นพบและสำรวจด้วยตัวเอง ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่มีเหตุผล พ่อแม่แค่เพียงตอบคำถามลูก พร้อมกับกระตุ้นให้ลูกได้คิดต่ออย่างสร้างสรรค์ ที่สำคัญต้องเป็นไปอย่างสบายๆ ไม่ใช่ออกคำสั่งกับลูก

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention Initiating Inhibit และ Planning/Organizing

9. ชวนลูกแยกแยะและจับคู่สิ่งของเช่น เสื้อผ้าของเขาเอง เวลาซักและตากแห้งแล้วให้ลูกช่วยแยกเสื้อผ้าและกางเกงออกจากกัน หรือเวลาล้างจานก็ให้ลูกช่วยแยกช้อนกับส้อมออกจากกัน ถ้าลูกรู้จักสีแล้วก็ให้แยกชุดหรือสิ่งของเป็นสีๆ ไป

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention

10. ซ่อนของ 2 มือ ให้แม่ถือของเล่นชิ้นเล็กๆ ไว้ในมือ แล้วกำมือให้ลูกเห็นว่ามีของเล่นในมือไหนบ้าง แล้วส่งไปมาระหว่างมือซ้ายกับมือขวา เพื่อฝึกสายตา การสังเกต และจดจ่อของลูก

พัฒนา EF... Working Memory Focus/Attention และ Shift Cognitive Flexibility

11. ให้ลูกเล่นแป้งโดว์หรือดินน้ำมัน พ่อแม่อาจปั้นผลไม้หรือขนมสีคล้ายของจริง แต่ควรปล่อยให้ลูกปั้นตามจินตนาการ อาจหลากสีหลายรูปแบบได้ เช่น แอปเปิ้ลลูกหนึ่งมีทั้งสีแดง ม่วง เขียว เป็นต้น

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention Initiating และ Shift Cognitive Flexibility

12. ทำทุกวันให้เป็นกิจวัตร พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี มีความสม่ำเสมอ จัดเก็บของให้เป็นระเบียบ และเมื่อลูกทำงานสำเร็จ ก็สร้างแรงใจด้วยรางวัลเล็กๆ น้อย หรือคำชื่นชม 

พัฒนา EF...Working Memory และ Inhibit


 

3 วิธี ช่วยลดอาการสมาธิสั้นเทียมในเด็ก

4510

มีกรณีตัวอย่างจากพ่อแม่หลาย ๆ คนที่มักจะแชร์เรื่องลูกตัวเองที่เกือบเป็นเด็กสมาธิสั้น หรือสมาธิสั้นเทียม

สมาธิสั้นเทียมเกิดจาก...

ไม่จำกัดขอบเขตให้ลูกว่าสิ่งไหนควรทำ หรือไม่ควรทำ อาจคิดว่าลูกยังเด็กอยู่ การสอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ยากเกินที่เขาจะเข้าใจ เวลาลูกจะทำอะไรเลยตามใจทุกอย่าง เมื่อลูกได้ทำทุกอย่างตามความเคยชินที่เขาต้องการ ก็ยากที่เขาจะปรับตัวให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคมได้

ปล่อยลูกไว้กับสิ่งเร้า โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ด้วย เช่น ปล่อยให้ดูโทรทัศน์ อยู่กับจอคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต  ก็มีผลต่ออาการสมาธิสั้นเทียมของลูกทั้งสิ้นค่ะ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่บางคนจะชอบที่ลูกไม่ซน ไม่วิ่งเล่น ไม่รื้อของเล่นกระจายเต็มบ้าน แต่ผลเสียที่ได้กลับมาไม่คุ้มค่า ทำให้ลูกรอคอยไม่เป็นและไม่มีความอดทน

3 วิธีลดสมาธิสั้นเทียม

1. จัดตารางชีวิตให้ลูก นำกิจวัตรประจำวันของลูกมาทำเป็นขั้นตอน ให้เขารู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร อาจทำเป็นรูปภาพเพื่อจูงใจให้เขาเดินมาดูว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง เช่น ตื่นนอน ต่อไปต้องล้างหน้า แล้วลงไปกินข้าว กินข้าวเสร็จต้องมาแปรงฟัน อาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน เป็นต้น

ข้อดีคือลูกจะเรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร มีการจัดลำดับเป็น และเป็นการหัดวางแผนด้วยค่ะ เช่น หากเขาทำการบ้านเสร็จเร็ว ก็จะมีเวลาเล่นของเล่น หรือทำกิจกรรมที่เขาต้องการได้นานขึ้น การฝึกลูกทำกิจวัตรเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดการจดจำและเกิดการคิดวิเคราะห์จากการใช้สมองส่วนหน้าค่ะ

2. ฝึกสมาธิ และการฝึกจิตให้รู้เท่าทันกับปัจจุบัน ลองฝึกให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่ง ในระยะเวลาที่ทำได้และไม่นานมาก แต่ควรจะทำให้พัฒนาจากเดิม เช่น อาทิตย์นี้ทำได้ 30 วินาที อาทิตย์หน้าก็ควรจะได้ 40 วินาทีเป็นต้น

การพัฒนาสมาธินี้จะฝึกควบคู่ไปกับการที่ลูกรับรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเองในปัจจุบัน เช่น รู้ว่าตอนนี้เขากำลังยกมือซ้าย กำลังหยิบส้อมขึ้นมา กำลังยกมือขวา กำลังหยิบช้อนขึ้นมา วิธีการนี้ไม่ต้องมีขั้นตอนเยอะค่ะ แรกเริ่มอาจจะมีสัก 3–4 ขั้นก่อนก็ได้ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  

ข้อดีคือจะทำให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีความอดทนมากขึ้น แต่ต้องทำสม่ำเสมอ และไม่เร่งลูกจนเกินไป อย่ากดดันลูก การเล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือแม้แต่การวาดรูป ก็เป็นการฝึกวินัยและฝึกให้ลูกได้รู้จักควบคุมร่างกายของตัวเองค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตและประเมินลูกด้วย บางทีลูกเราอาจจะไม่เหมาะกับวิธีการแบบนี้ก็ได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความพร้อมและความชอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องคอยสังเกตและปรับให้เหมาะกับลูก โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น

3. If … then = การเตือนตนด้วยตน วิธีนี้อาจฟังดูยากแต่จริง ๆ ไม่ยาก หลัก If … then แปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่า ถ้า (ทำสิ่งนี้นะ) ให้ (ทำสิ่งนั้นต่อ) เช่น หากเวลาลูกอยู่ที่โรงเรียนแล้วชอบลืมหนังสือ ให้พ่อแม่บอกลูกถ้าได้ยินเสียงออด ให้หยิบหนังสือ และยังใช้ได้อีกหลายเรื่องเลยนะคะ

ถ้าคุณครูเปิดปาก ให้ลูกหยุดพูด ถ้าเปิดประตูบ้าน ให้เอากระเป๋าไปเก็บ แต่พ่อแม่ต้องอย่าลืมว่า ตัวพ่อแม่เองต้องคอยบอกลูกเป็นประจำทุกวันทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของลูกได้ในไม่ช้า

ข้อดีคือ จะช่วยแก้นิสัยของลูกที่พ่อแม่อาจเป็นห่วงอยู่ เช่น ลืมเอารองเท้ากลับบ้าน ชอบคุยในห้องเรียน ไม่ยอมเก็บกระเป๋ารองเท้า เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อแม่ต้องเตือนให้ทำอยู่ตลอดเวลา ต่อไปนี้ลูกก็จะรู้จักเตือนตัวเองได้ด้วยตัวเอง ทำให้เขาภาคภูมิใจในตัวเอง และยังเพิ่มความสามารถในการควบคุมตัวเองของลูก เพิ่มความมั่นใจ ทั้งเป็นการรับผิดชอบตัวเองได้มากขึ้น ถ้าลูกทำได้แล้วคุณพ่อคุณแม่อาจจะมีรางวัล เช่น พาไปขี่จักรยาน พาไปสวนสัตว์ หรือหมั่นให้คำชมเชยค่ะ

3 วิธีสยบเด็กชอบกรี๊ด

4651 


ปัญหาเด็กชอบกรี๊ดพบได้บ่อยเลยค่ะ โดยเฉพาะเด็กวัย 1-3 ปี สาเหตุส่วนใหญ่ก็เพราะเขาถูกขัดใจ แต่บางครั้งเด็กก็มักจะกรี๊ดในทุกๆ อารมณ์ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ ชอบใจ กรี๊ดออกมาหมด ซึ่งการที่เด็กกรี๊ดออกมานั้นก็เนื่องจากยังไม่เข้าใจอารมณ์ของตนเอง รวมถึงยังสื่อสารกับพ่อแม่ได้ไม่ดีนัก ลูกไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกของตนเอง ณ ขณะนั้นว่าอย่างไร นอกจากนี้ถ้าเด็กติดนิสัยกรี๊ดมาตั้งแต่เล็ก พร้อมทั้งได้รับการตอบสนองที่ดีจากพ่อแม่ เด็กก็จะรู้สึกว่าการกรี๊ดเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย และทำได้บ่อยๆ ซึ่งหากปล่อยไว้จนโตจะกลายเป็นความเคยชินของลูกได้ ซึ่งย่อมกระทบกับการแสดงอารมณ์ของลูกอย่างแน่นอน 

3 วิธีสยบลูกกรี๊ด

1. เตือนสติลูก  แต่ไม่ต้องตีหรือดุนะคะ เพียงแค่บอกลูกสั้นๆ ว่า “ไม่กรี๊ดนะคะ เราคุยกันดีๆ ได้ ไหนบอกแม่ดีกว่าหนูรู้สึกยังไง” ถ้าลูกยังกรี๊ดอยู่ก็เตือนเป็นระยะว่าเขาไม่จำเป็นต้องกรี๊ด แค่นั้นพอค่ะ   

 

2. สอนลูกให้รู้จักอารมณ์ตัวเอง  เมื่อสังเกตได้ว่าแต่ละครั้งที่ลูกกรี๊ดนั้นเขากำลังรู้สึกอย่างไร ให้พูดสะท้อนอารมณ์ลูก เช่น “หนูดีใจใช่มั้ย ดีใจอะไรบอกแม่ซิ” หรือ “หนูโกรธใช่มั้ยคะ โกรธเนอะโกรธ” เพื่อให้เขารู้ว่าอารมณ์แบบที่เขากำลังรู้สึกนั้นคืออารมณ์อะไร และชวนลูกแสดงอารมณ์ในรูปแบบที่เหมาะสมโดยไม่การบังคับ แต่ทำให้ลูกดู เช่น ดีใจ แม่อาจยกแขน 2 ข้างแล้วร้อง “เย้” “ไชโย” หรือ โกรธ แม่ก็ใช้การบอกให้อีกคนรู้ว่า “โกรธแล้วนะ” แล้วหายใจช้าๆ เป็นต้น

 

3. ชมลูก  เมื่อลูกสามารถสื่อสารแสดงอารมณ์ได้ตรงกับอารมณ์ดี และเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม  

 

เพราะการรู้อารมณ์ตัวเองเป็นเรื่องสำคัญมากในชีวิตมนุษย์ ถ้าเราไม่รู้ทันอารมณ์อาจถูกปรุงแต่งต่อ ทำให้เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายอย่าง แม้จะเป็นเรื่องไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากที่ควรฝึกฝนให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ ค่ะ

5 กิจกรรมที่บ้าน สร้างช่วงเวลาดี ๆ ที่มีร่วมกันกับลูก

กิจกรรม-กิจกรรมครอบครัว-ของเล่นเสริมพัฒนาการ

มาตรการกักตัวอยู่บ้าน ตามนโยบายของรัฐบาลไทยเพื่อป้องกันโรค ‘โควิด-19’โรงเรียนก็ปิดยาว ๆ โดยล่าสุด กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีประกาศให้สถานศึกษาเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง ปีการศึกษา 2563 จากวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เมื่อพ่อแม่ Work from Home และลูกปิดเทอมหรือโรงเรียนปิด ออกไปเที่ยวที่ไหนอย่างเคยก็ไม่ควร ฉะนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะใช้เวลากับลูกที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า อยู่กับลูกของเรา ที่บ้านของเรา กับกิจกรรมและช่วงเวลาดี ๆ ที่มีร่วมกัน

 

5 กิจกรรมที่บ้าน สร้างช่วงเวลาดี ๆ ที่มีร่วมกันกับลูก
  1. ทำอาหาร ปูทักษะดี ๆ ให้ชีวิต

ชวนลูกลองทำอาหาร กระบวนการตั้งแต่เลือกเมนูนั้น เรายังสามารถสอดแทรกสาระประโยชน์ด้วยการพูดคุยถึงประโยชน์ของอาหารแต่ละประเภทได้ด้วยนะคะ ที่สำคัญพ่อแม่อาจต้องวางใจให้ลูกได้ลองหยิบจับเครื่องครัว แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้นเด็กๆ ยังได้ฝึกอดทนรอคอย เพราะการทำอาหารเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา กว่าจะตระเตรียม ปรงสุก จัดโต๊ะ ล้วนใช้เวลาทั้งสิ้น และสุดท้ายเด็กๆ ได้เรียนคู้คุณค่าของการรับประทานอาหาร ว่ากว่าจะได้มาแต่ละจานนั้นต้องใช้อะไรบ้าง จะได้ไม่ทานอาหารเหลือทิ้ง และแน่นอน อาหารที่เราทำกันเองในครอบครัวแบบนี้ ย่อมสะอาด ถูกสุขอนามัย วางใจได้จริง ๆ

 

  1. ทำงานบ้าน สร้างวินัยเชิงบวก

ในเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน เราเริ่มได้จากการเก็บของเล่นเมื่อเสร็จ ครั้งแรกหากลูกปฏิเสธ จูงมือชวนลูกมาเก็บด้วยกันเลย ถือว่าเป็นงานบ้านส่วนตนที่ต้องให้ดูแลรับผิดชอบ และหากลูกเริ่มโต เราสามารถมอบหมายงานบ้านทั้งส่วนตน และส่วนรวมเพิ่มเข้าไป เช่น พับผ้าของตนเองที่เป็นงานส่วนตน และกวาดบ้าน เช็ดโต๊ะทานอาหาร ล้างจานให้คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นงานส่วนรวม  เด็กๆ จะได้รู้หน้าที่ มีวินัย และรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น

 

  1. อ่านหนังสือนิทาน  เสริมจินตนาการและตรรกะ

หนังสือกับเด็กเป็นของคู่กัน เพราะนอกจากส่งเสริมให้เป็นเด็กรักการอ่านแล้ว ยังสามารถช่วยกล่อมเกลาความคิด และสร้างความสนุกได้ด้วย ในเด็กที่เริ่มเข้าชั้นประถม เราอาจจะลองให้สรุปใจความ หรือสอบถามความคิดเห็นว่า เพราะเหตุใดตัวละครตัวนี้จึงทำเช่นนั้น สะท้อนถึงความคิดหลังได้อ่าน หัดเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล

 

  1. ทำงานประดิษฐ์ สร้างสมาธิและความคิดสร้างสรรค์

งานประดิษฐ์แบบง่ายๆ ได้ประโยชน์ทั้งสร้างสมาธิ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และความสัมพันธ์ของมือและดวงตา เช่นการร้อยลูกปัด ความพยายามที่จะจับลูกปัด และเส้นเอ็นร้อยเข้าด้วยกัน หากเด็กที่กำลังจะพ้นช่วงปฐมวัยอาจจะลองทำตุงใยแมงมุม ต้องใช้สมาธิมากขึ้นไปอีก เพราะมีการพันอ้อมหน้าไขว้หลัง ทั้งยังต้องดึงให้ตึง ให้ไหมพรมเรียงเส้นเรียบเสมอกัน หรือหากใครจะลองเย็บผ้า ปักผ้า งานปั้น หรือทำเปเปอร์มาเช่ ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนุก เด็กๆ ยังสามารถใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ เมื่อทำเสร็จแล้ว สามารถนำมาประดับบ้านให้สวยงาม สร้างความภาคภูมิใจให้เด็กๆ อีกด้วย

 

  1. เล่น และออกกำลังกาย เติมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

เพราะหน้าที่ของเด็กคือ “การเล่น” ดังนั้นงานเล่นจึงเป็นงานที่สำคัญมากๆ สำหรับเด็ก แต่ต้องเป็นการเล่นแบบอิสระ ดิน น้ำ ทราย โคลน ปีนป่าย ให้เด็กได้ออกกำลังเพื่อช่วยสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก 

 

ในช่วงที่โรงเรียนปิดเทอมและเด็ก ๆ อยู่บ้าน คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเองก็อาจจะอยากลองหากิจกรรมที่ได้ทำกับลูกให้มากขึ้น ทำให้เราได้สร้างสัมพันธ์ไปยาว ๆ ในช่วงเวลาที่ต้องอยู่บ้านกันค่ะ 

ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ที่ตอนนี้ต้องเข้าสู่โหมด  Work From Home เราจะสู้ไปด้วยกันนะคะ!

 

6 วิธีรับมือลูกทารกร้องไห้ไม่หยุด ลูกอารมณ์ดีง่ายๆ ด้วยมือมือแม่

ทารก ร้องไห้, ลูก ร้อง ไม่ หยุด, ทารก ร้อง ไม่ หยุด, ลูก ร้องไห้ ไม่มี สาเหตุ, วิธีทำให้ลูกหยุดร้องไห้, วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้, ทำไม ทารกร้องไห้บ่อย, ทารก ร้องไห้งอแง, ทำยังไงให้ลูกทารกหยุดร้อง, ทำยังไงให้ลูกหยุดร้องไห้

ลูกทารกร้องไห้บ่อย ร้องไห้ไม่หยุด คุณแม่ไม่ต้องร้อนใจ ลองนำ 6 วิธีนี้ไปใช้กัน จะช่วยให้ลูกอารมณ์ดีขึ้นได้ง่าย ๆ ค่ะ 

6 วิธีรับมือลูกทารกร้องไห้ไม่หยุด ลูกอารมณ์ดีง่ายๆ ด้วยมือมือแม่

  1. กระดิ่งลม
    แขวนเจ้านี่ไว้ที่ประตูบ้าน ส่วนที่ลมพัดผ่านได้ เสียงดังกังวานและความเคลื่อนไหวของกระดิ่งช่วยเบนความสนใจและทำให้ลูกสงบขึ้นได้

  2. สัมผัสบรรยากาศนอกบ้าน
    พอเริ่มเตาะแตะแล้ว เด็ก ๆ มักจะชอบออกนอกบ้าน เพราะมีหลายสิ่งรอบตัวแปลกตา ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี

  3. ห่อตัวทารก
    เด็กเล็กส่วนใหญ่ชอบการห่อตัวค่ะ เพราะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนอยู่ในท้องแม่ที่คุ้นเคย

  4. นั่งหน้ากระจก
    จับลูกนั่งตักหน้ากระจกเงาบานใหญ่ เบี่ยงเบนความสนใจได้ดีเชียว เพราะเด็กๆ ชอบที่จะเห็นปฏิกิริยาของตัวเองอยู่แล้วฅ

  5. สถานที่ไร้สิ่งรบกวน
    พาลูกไปที่ที่สงบ ไม่มีสิ่งรบกวนใดๆ เพราะบางครั้งลูกก็งอแงเพราะมีสิ่งกระตุ้นเร้าเกินไป

  6. เสียงของแม่
    อุ้มลูกไว้แนบอกแล้วคุยกับเขา เสียงนุ่มๆ ของแม่ลดอาการหงุดหงิดของลูกได้ค่ะ

 

6 วิธีสร้าง EF ให้ลูกวัยเบบี๋

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

วัย 0-1 ปี เป็นวัยที่ต้องได้รับการตอบสนองทันที เมื่อได้รับการตอบสนองที่ดี ลูกจะมีอารมณ์มั่นคง เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 1 ปี ก็จะเริ่มพัฒนาความสามารถเรื่องการตั้งเป้าหมาย พัฒนาความคิดได้ดี มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ และพัฒนาการใช้ภาษาได้ดีขึ้น ซึ่งการใช้คำพูด จะเป็นพื้นฐานให้เด็กๆ ได้คิดและฝึกการวางแผนที่ดีด้วย
กิจกรรมกระตุ้นทักษะ EF

1. ทำเสียงอ้อแอ้ลูกน้อยวัย 4 เดือน เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ ให้แม่ส่งเสียงโต้ตอบ พูดคุยกับลูก โดยทำเสียงแปลกๆ ให้ลูกสนใจฟัง และหันตามเสียงนั้น

พัฒนา EF: Working Memory ...การสนทนาโต้ตอบไปมา จะช่วยให้สมองสร้างเซลล์ประสาทเชื่อมต่อกันมากขึ้น เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ภาษาและการสื่อสารได้ดี

2. ขยับแข่งขยับขา พาเต้นรำ แม้ลูกจะยังพูดหรือเดินไม่ได้ ลองเปิดเพลงเบาๆ แล้วอุ้มลูกเต้นรำหมุนตัวไปมา หรือจับแขนลูกยกไปมาตามจังหวะเพลง จะช่วยให้ร่างกายลูกได้เคลื่อนไหว ได้บริหารกล้ามเนื้อไปด้วย

พัฒนา EF: Working Memory และ Focus/Attention...การที่ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกาย มีความสนใจเสียง และจังหวะดนตรี จะเป็นพื้นฐานการฟังเสียง และส่งเสริมทักษะการอ่านในอนาคตได้ดี

3. จ๊ะเอ๋ ของอยู่นี่ลูกวัย 6-7 เดือน เริ่มนั่งและคืบคลานได้ ให้ลูกได้คว้าจับสิ่งของหรือของเล่นชิ้นโปรดด้วยตัวเอง หรือเล่นซ่อนของ โดยเอาของเล่น หรือใช้มือแม่ซ่อนใต้ผ้าห่ม ให้ลูกลองหา เมื่อลูกเจอก็พูดว่า “จ๊ะเอ๋” ลูกจะรู้สึกแปลกใจ และสนุก
           
พัฒนา EF:Working Memory และ Shift Cognitive Flexibility...การนำของไปซ่อน และหาเจอจะทำให้ลูกได้เรียนรู้ถึงการมีสิ่งของนั้น รับรู้ว่าสิ่งของนั้นมีอยู่จริง เป็นการพัฒนาความจำของ

4. พูดคุยถึงสภาพอากาศ ก่อนนอนชวนลูกพูดคุยถึงสภาพอากาศในวันนี้ และเรื่องราวต่างๆ ที่พ่อแม่เจอมาให้ลูกฟัง เช่น วันนี้ฝนตก อากาศเย็น แม่จะห่มผ้าให้นะจ๊ะ มีการสื่อสารโต้ตอบกัน ลูกจะสนใจฟังเสียงแม่ 

พัฒนา EF: Working Memory...การเล่าเรื่องราวต่างๆ ของแม่ จะทำให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ พัฒนาทักษะการสื่อสาร และช่วยให้สมองมีการจดจำที่ดีมากขึ้น

5. ต้องตอบสนองความต้องการของลูกได้ แม่ควรเตรียมของใช้ทุกอย่างของลูกให้พร้อม เวลาที่ลูกมองตาม หรือส่งเสียงร้องไห้ ต้องเข้าไปตอบสนองความต้องการ และสังเกตว่าลูกต้องการอะไร หรือคอยส่งเสียงเรียกอยู่ตลอด เพื่อให้ลูกรู้ว่าแม่ไม่ได้ไปไหน อยู่ใกล้ๆ นี่เอง

พัฒนา EF:Emotional Control...การตอบสนองความต้องการของลูก จะช่วยให้ลูกมีอารมณ์มั่นคง มั่นใจ อารมณ์ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี รู้จักยั้งคิดและไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ก่อนลงมือทำได้

6. ทำเสียงตลก ขบขัน ขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนเสื้อให้ลูก หวีผม เช็ดตัว อาบน้ำ ขณะที่ทำนั้นลองทำเสียงตลกๆ หรือทำเสียงแปลก ให้ลูกได้ยิ้มและหัวเราะ โดยองหน้าและพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนไปด้วย

พัฒนา EF:Working Memory...การพูดคุย และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันนั้น จะกระตุ้นให้เซลล์ประสาททำงานได้ดี พัฒนาความจำ และทักษะด้านภาษาได้ดี

กิจกรรมของลูกวัย 0-1 ปีนี้ จะกระตุ้นทักษะด้าน Working Memory ได้ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนา EF ด้านอื่นๆ ได้ดีต่อไปค่ะ 
 
 

7 วิธีรับมือ “ปัญหาสุขภาพจิตของลูก” ช่วงโควิด-19

โควิด19-การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ

เด็ก ๆ ที่ติดอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน อาจเผชิญภาวะที่เรียกว่า “Cabin fever” หรือสภาวะกดดันทางจิตใจที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้านลบและความทุกข์ที่เกิดจากการถูกจำกัดพื้นที่ ตลอดจนความหงุดหงิดใจ เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หรือแม้กระทั่งมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ กระสับกระส่ายและไม่มีสมาธิ 

เรามีคำแนะนำสำหรับผู้ปกครองเพื่อการดูแลสุขภาพจิตเด็ก ในสถานการณ์โควิด-19 โดย อ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากค่ะ

7 คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง ดูแลสภาวะจิตใจเด็ก ช่วงโควิด-19

1.ทำให้ลูกรู้ว่า  เขาคือคนสำคัญที่สุดของพ่อแม่

2.มองวิกฤตโควิดเป็นโอกาส ครอบครัวได้ใช้เวลาดี ๆ ร่วมกัน

3.ทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำตารางกิจกรรม เพื่อฝึกทักษะและระเบียบวินัย

4.สอนเรื่องโควิด-19  ลูกเล็กเน้นสอนให้สนุก มีจินตนาการ  ส่วนลูกคนโต เน้นความจริง ใช้เหตุผล ช่วยเหลือผู้อื่น 

5.พ่อแม่จัดการความเครียดตัวเองก่อน  เปิดใจ ยอมรับ เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น

6.รับฟังลูก พ่อแม่ต้องรับฟัง แล้วค่อยแนะนำ

7.เลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์  ทำดี ชื่นชมให้รางวัล หากทำไม่ดี ลงโทษอย่างเหมาะสม 

 

ที่มา : อ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Mom's Issue EP 16 (Rerun) : นิทานก่อนนอนช่วยหนูอ่านออก

 

“นิทาน” คือฮีโร่ของแม่ ๆ เป็นตัวช่วยชั้นดียามคิดมุกไม่ออก หยิบนิทานมาเล่า มาเล่น ทั้งสนุก สร้างการเรียนรู้และสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัว และที่สำคัญจะได้อย่างไม่รู้ตัวเลยคือนิทานเป็นบันไดขั้นแรกของการให้อ่านหนังสือออก

 

ฟังเทคนิคจากแม่ดอยและป้าปอย ที่จะทำให้นิทานช่วยให้เจ้าหนูอ่านออก

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

 

Mom's Issue EP 20 : ของเล่น Unisex เล่นได้พัฒนาการดี

 

ป้าปอยและแม่ดอยชวนมาแชร์ไอเดียเลือกซื้อของขวัญให้เด็กๆ ไม่ว่าจะเด็กชายเด็กหญิง เลือกซื้อแบบไหนดี ไปฟังกันเลย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP 24 (Rerun) : นิทานก่อนนอน ช่วยหนูอ่านออก

 

“นิทาน” คือฮีโร่ในสถานการณ์ที่ต้อง Learn from home อย่างแท้จริง

ปรากฎการณ์ Learning Loss ที่เกิดขึ้น ทักษะด้านภาษาเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ขาดหายไป โดยเฉพาะในเรื่องการอ่านที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก

 

ฟังเทคนิคจากแม่ดอยและป้าปอย ที่จะทำให้นิทานช่วยให้เจ้าหนูอ่านออก

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 26 (Rerun) : เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้าน มีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไป ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP.09 : นิทานก่อนนอน ช่วยหนูอ่านออก

 

“นิทาน” คือฮีโร่ในสถานการณ์ที่ต้อง Learn from home อย่างแท้จริง ปรากฎการณ์ Learning Loss ที่เกิดขึ้น ทักษะด้านภาษาเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ขาดหายไป โดยเฉพาะในเรื่องการอ่านที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก

 

ฟังเทคนิคจากแม่ดอยและป้าปอย ที่จะทำให้นิทานช่วยให้เจ้าหนูอ่านออก

✅ Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

✅ Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

✅ YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP.10 (Rerun) : เทคนิคป้องกันลูกจากสื่อร้ายในโลกโซเชียล

 

กลับมาเรียนออนไลน์กันแบบลักปิดลักเปิด แม่ก็ยังวางใจจากโลกออนไลน์ไม่ได้

ชวนฟังวิธีการป้องกันลูกจากสื่อร้ายในโลกโซเชียล แม่ดอยและป้าปอยมาบอกวิธีให้พ่อแม่

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP.12 : ชวนลูก Outdoor แก้ปัญหา Indoor Generation

 

แม่ดอยและป้าปอย แนะนำไอเดียพาลูกออกไปทำกิจกรรม Outdoor ที่ไม่ใช่การเดินห้าง ชวนออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ สัมผัส สายลมและแสงแดด ทุกที่ล้วนกระตุ้นพัฒนาการและแก้ปัญหา Indoor Generation มีที่ไหนไปได้บ้าง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP.14 : เรียนพิเศษ!! แก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหา

 

ความหวาดกลัวของผลกระทบของ Learning Loss ทำให้พ่อแม่ต้องการเสริม เติม เพิ่ม และอุดรอยโหว่ของพัฒนาการที่หายไป

ป้าปอยและแม่ดอยชวนคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกัน และการทำแบบนี้เป็นการแก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหากันแน่ ฟังแนวคิดจากนักวิชาการด้านการศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

 

การท่องเที่ยวทางการแพทย์ในประเทศไทยกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการรับการรักษาทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทย โดยที่ไทยเป็นที่รู้จักในระดับสากลว่าเป็นประเทศที่มีระบบการแพทย์ที่เชื่อถือได้และคุณภาพสูง นอกจากนี้ การท่องเที่ยวทางการแพทย์ในประเทศไทยยังมีความเป็นไปได้ที่จะรับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่ทันสมัยและมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย การผสมผสานระหว่างการรักษาทางการแพทย์และการเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของประเทศไทย ทำให้มีความน่าสนใจและเป็นประสบการณ์ที่หลากหลายสำหรับผู้ที่เดินทางมาที่นี่ เจ้าของคาสิโนระดับโลก เช่น The Venetian Macao, Lockdown168, Cosmolot เป็นต้น ก็มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเช่นกัน เนื่องจากเป็นเรื่องปกติทั่วโลกและสำหรับประชากรทุกกลุ่ม

Mom’s Issue EP 05. ตอน “เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง”

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้านมีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไปส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง

รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า

อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ติดตามรายการรักลูก podcast ได้ที่

Apple podcast : Rakluke Podcast

Spotify : Rakluke Podcast

YouTube Channel : Rakluke Club

Mom’s Issue EP 06. ตอน "เปิดเทอมยุคโควิด พ่อแม่ต้องพร้อมแค่ไหน ลูกได้หรือเสีย"

 

ไขข้อข้องใจ ช่วยคลี่คลายความกังวลให้กับพ่อแม่ หลากหลายคำถามจะฉีดวัคซีนดีไหมนะ ปลอดภัยแล้วหรือยัง? เปิดเทอมแล้วจะพาลูกไปโรงเรียนดีไหม?

แม่ดอยและป้าปอยมาชวนคิด ชวนคุย แบ่งปันมุมมอง และนำข้อมูลจากคุณหมอมาช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจได้อย่างรอบด้าน และสังเกตอาการ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ

 

ติดตามรายการรักลูก podcast ได้ที่

Apple podcast : Rakluke Podcast

Spotify : Rakluke Podcast

YouTube Channel : Rakluke Club 

Mom’s Issue EP 07. ตอน เทคนิคป้องกันลูกจากสื่อร้ายในโลกโซเชียล

 

ลูกเรียนออนไลน์ไม่ได้เปิดแค่โปรแกรมเรียนเท่านั้น เพราะหลายครั้งจะต้องใช้เว็บไซต์ค้นหาความรู้ไปด้วย จะให้ลูกท่องเว็บยังไงให้ไกลจากบรรดาเว็บไม่เหมาะสม ทั้งเว็บโป๊ เว็บพนัน เว็บขายของหลอกลวง พร้อมการป้องกันที่ดีที่สุดคือการให้ลูกมี Digital Literacy จะสอนและทำได้อย่างไร แม่ดอยและป้าปอยมีวิธีการบอก

 

ติดตามรายการรักลูก podcast ได้ที่

Apple podcast : Rakluke Podcast

Spotify : Rakluke Podcast

YouTube Channel : Rakluke Club