facebook  youtube  line

Q&A มีลูกหัวปี ท้ายปี ลูกคนที่สองจะไม่แข็งแรง พัฒนาการไม่ดีจริงไหม

มีลูกหัวปีท้ายปี

Q&A มีลูกหัวปี ท้ายปี ลูกคนที่สองจะไม่แข็งแรง พัฒนาการไม่ดีจริงไหม

Q: เพิ่งคลอดลูกชายไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ค่ะ พอพฤศจิกายนมีอาการแปลกๆ เลยไปตรวจ ปรากฏว่าตั้งท้อง ตอนนี้เครียดมาก เพราะลูกก็ยังเล็กและติดแม่มาก แล้วเขาบอกว่ามีลูกติดกันแบบหัวปีท้ายปีแบบนี้ ร่างกายแม่ยังไม่ฟื้นเต็มที่ จะทำให้ลูกคนที่สองไม่แข็งแรง พัฒนาการไม่ดีจริงหรือเปล่าคะ

A:ความจริงแล้วคุณแม่ควรตั้งครรภ์ห่างกันอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากการตั้งครรภ์แรก รูปร่างและน้ำหนักตัวเริ่มเข้าที่ หรือลูกคนแรกก็อาจจะเริ่มเข้าโรงเรียน ทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกว่าทรุดโทรมหรือเหนื่อยมากจนเกินไป เพราะลูกคนแรกช่วยเหลือตนเองได้แล้ว อีกทั้งเสื้อผ้าเครื่องใช้ก็ใช้ต่อด้วยกันได้ ไม่ต้องซื้อหาใหม่ ประหยัดเงินได้อีกด้วย ลูกไม่รู้สึเหงาเพราะวัยไล่เลี่ยเป็นเพื่อนเล่นกันได้

แต่ในกรณีนี้ที่ท้องแล้วก็ไม่เป็นไรครับ ดูแลเขาให้ดีที่สุดดีกว่า การเครียดต่างหากที่อาจจะทำให้ลูกไม่แข็งแรงได้ คุณแม่ควรฝากท้องทันทีเมื่อรู้ว่าท้อง ดูแลตัวเองในด้านโภชนาการให้ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ร่างกายมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ควรเน้นอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ลดอาหารจำพวกแป้งและไขมัน ทานยาบำรุงเลือดตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง บุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

ท้องสองคุณอาจจะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติโดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรคนแรกไม่กี่เดือน ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายยังไม่กลับเข้าสู่สภาวะเดิม ดังนั้นจึงควรควบคุมอาหารให้ดี อย่าให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป พยายามให้น้ำหนักตัวเพิ่มทีละน้อยตามเกณฑ์ แต่ในบางรายคุณแม่อาจจะรู้สึกเหนื่อยมากจากการเลี้ยงดูลูกคนแรกทำให้เบื่ออาหาร ทานไม่ลง ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ที่มีภาวะโภชนาการที่ดีจะมีน้ำหนักตัวขึ้นตามเกณฑ์ปกติ ถ้าน้ำหนักตัวไม่ขึ้นตามที่ควรจะเป็นก็ควรเพิ่มปริมาณสารอาหารตามความเหมาะสม

เมื่อรู้ว่าท้องคุณแม่อาจจะเกิดความลังเล ความกังวลใจ ความไม่พร้อม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเครียดขึ้นมาจนทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สดชื่นไม่สบายใจในการท้องครั้งใหม่ คุณแม่ต้องพยายามปรับตัวเตรียมใจให้พร้อมที่จะต้อนรับสมาชิกใหม่ มั่นใจต่อการท้องครั้งนี้ให้มาก อาจมองในแง่ดีว่าเป็นความโชคดีที่เคยมีประสบการณ์จากท้องแรกมาแล้ว และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่และลูกน้อย

คุณแม่ควรมีเวลาพักผ่อนให้มากกว่าตอนที่ท้องแรกเพราะจะเหนื่อยจากการเลี้ยงลูกคนแรก คุณพ่อควรช่วยเลี้ยงลูกในเวลากลางคืน ให้คุณแม่มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น การออกกำลังกายจะช่วยให้คุณแม่คลายความเครียด รู้สึกสดชื่น กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น อาจเป็นการเล่นโยคะ กายบริหารเล็กน้อย แต่ถ้าคุณแม่ไม่มีเวลาออกกำลังกายก็สามารถเลือกใช้เวลาระหว่างการดูแลลูกคนแรกมาออกกำลังกายร่วมด้วย เช่น การพาลูกคนแรกนั่งรถเข็นเดินเล่น

นอกจากสภาพร่างกายที่คุณแม่จะต้องดูแลเป็นพิเศษแล้ว สภาพจิตใจก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะด้วยสภาพร่างกายของคุณแม่ท้องที่เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อยากพักผ่อน แต่ขณะเดียวกันหากลูกคนแรกยังเล็กก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากคุณแม่ ซึ่งกรณีนี้จะทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย เป็นสาเหตุให้อารมณ์แปรปรวน ทั้งยังไม่มั่นใจกับสภาพร่างกายตัวเอง กังวลว่าสามีจะเบื่อหน่าย ซึ่งภาวะเช่นนี้อาจจะทำให้คุณแม่เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งไม่ดีแน่สำหรับคุณแม่ที่ท้องและต้องเลี้ยงลูกเล็กครับ

รศ.ดร.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

การอาบน้ำเด็กทารกช่วยสร้างพัฒนาการที่คุณคาดไม่ถึง!

การอาบน้ำ, การอาบน้ำเด็กทารก, การอาบน้ำเด็ก, การอาบน้ำเด็กเล็ก, อาบน้ำให้ลูก, อาบน้ำเด็กเสริมพัฒนาการ, อาบน้ำให้ลูก 1 ขวบ, วิธีอาบน้ำเด็ก, วิธีอาบน้ำเด็กให้ถูกวิธี, อาบน้ำเด็กแรกเกิด, อาบน้ำเด็กทารก, ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เด็กแรกเกิด, ทารกแรกเกิด, การเลี้ยงลูก, ส่งเสริมพัฒนาการ
 

คุณแม่หลายคนที่เชื่อว่าการอาบน้ำลูกน้อยเป็นแค่การทำความสะอาด คงเริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่าการอาบน้ำแนวใหม่ให้สมาร์ทๆ เป็นอย่างไร ถึงเวลาแล้วค่ะ ที่จะเปิดรับมุมมองใหม่ลองมาฟังเกร็ดความรู้จากคุณหมอและคุณแม่ที่จะเผยให้เห็นพัฒนาการที่ลูกน้อยจะได้รับจากช่วงเวลาอาบน้ำที่หลายคนนึกไม่ถึงกันดีกว่าค่ะ

การอาบน้ำ, การอาบน้ำเด็กทารก, การอาบน้ำเด็ก, การอาบน้ำเด็กเล็ก, อาบน้ำให้ลูก, อาบน้ำเด็กเสริมพัฒนาการ, อาบน้ำให้ลูก 1 ขวบ, วิธีอาบน้ำเด็ก, วิธีอาบน้ำเด็กให้ถูกวิธี, อาบน้ำเด็กแรกเกิด, อาบน้ำเด็กทารก, ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เด็กแรกเกิด, ทารกแรกเกิด, การเลี้ยงลูก, ส่งเสริมพัฒนาการ

"หลายคนเชื่อว่าการอาบน้ำให้ลูกน้อยเป็นแค่เรื่องการทำความสะอาด" แต่ทราบไหมคะการอาบน้ำนี่แหละเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ช่วยสร้างสายใยแม่ลูกและยังช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 4 ของลูกน้อยไม่ว่าจะเป็น การได้ยินเสียงแม่ร้องเพลงหรือเล่านิทานที่จะนำไปสู่พัฒนาการด้านการฟังและการเรียนรู้ให้ลูกน้อยมีคลังคำศัพท์ที่ใหญ่ขึ้น หรือการมองเห็นที่จะช่วยให้ลูกน้อยฝึกทักษะการใช้สายตาสังเกตเสริมพัฒนาการด้านการคิดอย่างเป็นระบบเมื่อโตขึ้น รวมทั้งการสัมผัสตัวต่อตัวและการได้กลิ่นหอมอ่อนๆในช่วงเวลาอาบน้ำด้วยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 4 เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและการพัฒนาศักยภาพของลูกน้อยต่อไปในอนาคตดังนั้นการอาบน้ำลูกน้อยจึงให้อะไรมากกว่าที่คิดค่ะ”

พญ. ปิ่นประภาธรรมวิภัชน์

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม รพ. รามคำแหงการอาบน้ำ, การอาบน้ำเด็กทารก, การอาบน้ำเด็ก, การอาบน้ำเด็กเล็ก, อาบน้ำให้ลูก, อาบน้ำเด็กเสริมพัฒนาการ, อาบน้ำให้ลูก 1 ขวบ, วิธีอาบน้ำเด็ก, วิธีอาบน้ำเด็กให้ถูกวิธี, อาบน้ำเด็กแรกเกิด, อาบน้ำเด็กทารก, ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เด็กแรกเกิด, ทารกแรกเกิด, การเลี้ยงลูก, ส่งเสริมพัฒนาการคราวนี้มาดูเรื่องราวน่ารักๆ ของน้องคริสกันค่ะ

น้องคริสอายุ 1ขวบกับ 1 เดือน เรียนรู้ไวมากค่ะ คุณแม่เองจบทางด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง แต่ก็ยังหาข้อมูลต่างๆรอบด้านและปรึกษาคุณหมอด้วยน้องคริสเป็นเด็กซนกระตือรือร้นช่างสังเกตเดินได้ทั้งวันโดยไม่เหนื่อย

เรื่องการอาบน้ำตอนแรกกังวลมากค่ะ แต่คุณหมอบอกว่าไม่ต้องกังวลยิ่งน้องคริสได้อาบน้ำก็ยิ่งได้กระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ไปด้วย ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการที่ดีตั้งแต่เขาอายุได้ 3 เดือนคุณแม่ก็เริ่มอาบน้ำให้เค้าคล่องค่ะ เขาชอบอาบน้ำมากบางวันจะอาบให้ถึง 3 ครั้งๆ ละ 15 นาทีเพราะเขาาเล่นและเดินได้ตลอดทั้งวันค่ะ

เวลาอาบน้ำคุณแม่จะร้องเพลงที่เกี่ยวกับการอาบน้ำโดยเฉพาะ อยากช่วยเสริมพัฒนาการด้านการฟังของเขา และให้เขาได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆไปด้วยน้องคริสชอบหมดค่ะ ทั้งตีน้ำเล่นฟองสบู่เล่นลูกบอลคุณแม่ก็จะสอนเรื่องการไหลของน้ำโดยใช้ถ้วยตักน้ำให้เขามองตามและสังเกต ซึ่งตรงนี้คุณหมอสนับสนุนบอกว่าจะทำให้เขาพัฒนาการใช้สายตาและการคิดอย่างเป็นระบบ และมีทักษะเรื่องเหตุและผลเมื่อโตขึ้น คุณหมอแนะนำว่าสิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาอาบน้ำนอกจากจะทำให้ครอบครัวผูกพันมากขึ้นแล้วยังช่วยกระตุ้นให้น้องคริสมีพัฒนาการสมวัยด้วยค่ะ”

คุณนิตยา ยงรัตนมงคล (คุณแม่น้องคริส)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/JohnsonsBabyClub

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)



กุมารแพทย์ เผย 'เล่นจ๊ะเอ๋' กับลูก ส่งผลต่อสมองอย่างคาดไม่ถึง

1871
ในงานของขวัญเด็กไทย 'สิ่งเล็กๆที่สร้างลูก' เครื่องมือดูแลลูกยุคใหม่ ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสิ่งเรียนรู้ 5 เครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูก หนึ่งในนั้นคือ หนังสือนิทานจ๊ะเอ๋
 
พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น บอกว่า พัฒนาการที่ดีเริ่มต้นที่พ่อแม่และผู้ปกครอง จึงไม่อยากให้กังวลว่าการที่ลูกจะมีพัฒนาการที่ดีจะต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนมากหรือมีเวลาที่มาก แต่มีจุดเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน ด้วยกิจกรรมธรรมดาที่เติมความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่และความสม่ำเสมอในทุกๆ วัน เช่น เล่นกับลูก อ่านหนังสือกับลูก การชวนลูกคุยเพราะยิ่งชวนลูกคุยมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะช่วยสะสมคลังศัพท์มากขึ้น การชวนให้ลงมือทำงานบ้านร่วมกัน และพาลูกออกไปเที่ยวเพื่อเรียนรู้สิ่งแวดล้อมนอกบ้าน
 
และพญ.จิราภรณ์ ได้ตัวอย่าง เช่น การเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก ซึ่งแฝงความมหัศจรรย์ที่ช่วยให้สมองและพัฒนาการของเด็กในหลายด้านถูกกระตุ้นอย่างที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึง การเล่นจ๊ะเอ๋ช่วยให้เด็กในช่วง 2 ขวบปีแรก ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการคงอยู่ของสิ่งต่างๆ จากการที่ผู้ใหญ่ปิดตาหรือซ่อนแอบ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารระหว่างกัน ฝึกการจดจำข้อมูล โดยเด็กจะจำว่าผู้ปกครองชอบโผล่ทางไหนและคาดเดาว่าครั้งต่อไปจะเป็นทิศทางใด ฝึกให้รู้จักรอคอย ช่วงเวลาที่ปิดหน้าหรือซ่อนหลังสิ่งของ เด็กจะรู้จักรอคอยว่าเมื่อไหร่จะเปิดตาหรือโผล่ขึ้นมา และเกิดสายสัมพันธ์ความผูกพันในหัวใจของลูกเพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กเป็นศูนย์กลาง การสบตา การใช้เสียงสูงต่ำ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะทำให้ถักทอสายสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นต้น

 

พ่อแม่ควรรู้ โรคซึมเศร้าในเด็ก สังเกตอย่างไร ก่อนจะสายไป

การเลี้ยงลูก-โรคซึมเศร้า-โรคซึมเศร้าในเด็ก

โรคซึมเศร้าในเด็ก สังเกตอย่างไร ก่อนจะสายไป

โรคซึมเศร้า สุดอันตรายนี้ ถ้าใครคิดว่าเด็กเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้ ขอบอกว่าเป็นได้นะคะ แต่ถ้ารู้ทัน สังเกตดี ๆ จะมองง่ายมากกว่าผู้ใหญ่ด้วย เพราะเด็กจะเก็บอาการไม่อยู่ แสดงออกตามสิ่งที่รู้สึก และหากพ่อแม่กังวลว่าลูกเราเข้าข่ายหรือไม่ ลองเช็กตามนี้เลยค่ะ เพื่อเป็นการรับมือให้ทันกับอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของลูก

 

โรคซึมเศร้า (depression) เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ที่อารมณ์ซึมเศร้าจะมีมากกว่าปกติ เศร้าติดต่อกันเกือบทั้งวัน ติดต่อกันทุกวันนานเกิน  2 สัปดาห์

สาเหตุของโรคซึมเศร้าในเด็ก
  • ทางชีวภาพ

เกิดจากพันธุกรรม ถ้ามีประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้า มากกว่าเด็กทั่วไป ยาบางชนิดสามารถทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้

  • ทางสิ่งแวดล้อมอื่น

ประกอบไปด้วย ความเครียดหรือรู้สึกไม่ชอบ กลัว กังวล กับบุคคลรอบข้าง หรือ เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง กลัวการแข่งขัน


 

ลูกเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ สังเกตได้ดังนี้
  1. ลูกจะมีอารมณ์ที่ซึมเศร้าลง เบื่อหน่ายมากขึ้น หรืออาจมีอารมณ์หงุดหงิดบ่อยทั้งวัน
  2. ชอบแอบร้องไห้
  3. ลูกไม่มีความสุข ความเพลิดเพลินเมื่อทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น เคยชอบวาดรูป แต่กลับเกลียดการวาดรูป
  4. ลูกไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดลง หรือในขณะที่เด็กบางรายก็ทานอาหารมากเกินไป
  5. ลูกจะนอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นเร็วกว่าปกติ หรือนอนทั้งวัน
  6. ลูกทำอะไรก็เฉื่อยชาไปหมด 
  7. เริ่มเก็บตัว ไม่ค่อยพูดเหมือนก่อน
  8. ลูกไม่มีสมาธิในการเรียน ความจำแย่ลง
  9. ชอบรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกไร้ค่า สุดท้ายพูดเรื่องการตาย อยากฆ่าตัวตาย
 
วิธีรับมือ เมื่อลูกเป็นโรคซึมเศร้า
  1. พ่อแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูก สังเกตพฤติกรรม สอบถามอาการสารทุกข์สุกดิบ ถามถึงความสุขของลูก  เพื่อช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้น ก่อนที่ลูกจะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
  2. การทำกิจกรรมร่วมกับลูก ไปทำกิจกรรมใหม่ ๆ บรรยากาศใหม่ ๆ เพื่อให้เด็กมีความสุขเพิ่มขึ้น แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ทำให้แย่ลงไปกว่าเดิม พูดคุยกับลูกโดยเหตุและผล
  3. ไม่ใช้อารมณ์ ให้ความเอาใจใส่และความอบอุ่นแก่ลูกอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่เร่งรัด ให้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด คอยสำรวจพฤติกรรมหรือขอความช่วยเหลือจากคุณครู ให้ช่วยสอดส่องพฤติกรรมของลูก และเปิดเผยพูดคุยกับคุณครูเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาของลูกที่พบที่บ้านและโรงเรียน เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

 

เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

พ่อแม่ 5 ประเภท ที่ผลักลูกเผชิญโรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ. กมลวิสาข์  เตชะพูลผล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพญาไท 2



พ่อแม่ต้องสังเกต! 5 สัญญานเตือนพัฒนาการทารกที่อาจผิดปกติ

พัฒนาการทารกแรกเกิด, พัฒนาการ ทารก ผิดปกติ, สังเกต พัฒนาการทารก ผิดปกติ, สังเกต พัฒนาการ เด็ก ผิดปกติ, พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ผิดปกติ, ลูกไม่ยอมคลาน, ลูกไม่ยอมยืน เดิน, ลูกไม่ยอมหยิบจับ, ลูกทารกคอเอียง, ลูก ทารก พัฒนาการผิดปกติ ต้องทำยังไง, พัฒนาการ ทารก ผิดปกติ รักษา ยังไง

แค่ลูกทารกกินนมอิ่ม นอนหลับสบายอาจจะยังไม่พอค่ะ พ่อแม่ต้องสังเกตุพัฒนาการตามวัยของทารกรกด้วย และถ้ามีสัญญาณดังต่อไปนี้อาจบอกได้ว่าลูกของเรากำลังมีพัฒนาการผิดปกติ

พ่อแม่ต้องสังเกต! 5 สัญญานเตือนพัฒนาการทารกที่อาจผิดปกติ

  1. ลูกทารกหน้าบึ้ง ไม่ยิ้ม เป็นธรรมดาของทารก 0-3 เดือน จะยิ้มเก่งเป็นปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อปากยังไม่ค่อยแข็งแรงค่ะ แต่พอเวลาผ่านไป 3 เดือนลูกเริ่มมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ถ้าลูกยังยิ้มเล่นสดใสก็ยังปกติอยู่ค่ะ แต่เมื่อไหร่เวลาพ่อแม่มาเล่นหรือคนแปลกหน้ามาอยู่ใกล้ๆ ลูกทำหน้านิ่ง บึ้งตึงไม่ยิ้มเมื่อตอนแรกเกิดใหม่ ๆ  นั่นเป็นเพราะลูกไม่ไว้ใจคนรอบข้าง น้องเลยรู้สึกหวาดกลัวนะคะ

    สิ่งเดียวที่พ่อแม่ทำได้คือการสังเกตว่าลูกกลัวอะไร แล้วนำสิ่งนั้นออกไปให้ห่างจากตัวลูกค่ะ ถ้าปล่อยไว้ ลูกจะร้องไห้และหลวดกลัวตลอดเวลา จะส่งผลให้ลูกเติบโตมามีนิสัยก้าวร้าว ขี้กลัว ไม่มั่นใจตนเองและไม่ช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วยนะคะ
  1. ลูกทารกหน้างอคอหัก คอไม่ตั้ง วัย 4-6 เดือน ทารกจะเริ่มพลิกตัวแล้วนะคะ และเริ่มมีการพลิกคว่ำได้ดี ชันคอได้ เพราะกล้ามเนื้อบริเวณส่วนกลางของลำตัว กล้ามเนื้อคอเริ่มมีความแข็งแรงขึ้นค่ะ เมื่อพลิกตัวคว่ำจะสามารถชันคอโชว์พ่อแม่ได้

    ในกรณีที่ลูกถ้ายังชันคอไม่ได้ เวลาคุณแม่อุ้มแล้วคอยังเอียงไปเอียงมา ต้องคอยจับอยู่ตลอด อาจเป็นสัญญาณบอกว่ากล้ามเนื้อมีปัญหา หรืออาจมีปัญหาเรื่องสมองอ่อนแรงค่ะ ส่งผลให้พัฒนาการกล้ามเนื้อล่าช้าด้วย ทางที่ดีคุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ 
  1. ลูกทารกไม่ยอมนั่งเด็กวัย 7-9 เดือน ช่วงวัยนี้เด็กจะเริ่มลุกนั่งได้เองแลล้วค่ะ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องคอยประคองแล้ว เริ่มยันแขนหมุนตัวเองให้นั่งได้

    แต่ถ้าลูกไม่สามารถนั่งเองได้ คุณแม่ต้องระวังนะคะ เป็นสัญญาณบอกว่ากล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณหลังอาจเกิดความผิดปกติ อาจมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง และจะส่งผลต่อพัฒนาการขั้นอื่นต่อไปต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ 
  1. ลูกทารกมือเบาหวิว กล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรง เด็กวัย 7-9 เดือน ช่วงวัยนี้ลูกจะหยิบจับหรือคว้าสิ่งของได้แม่นยำมากขึ้นค่ะ สามารถควบคุมนิ้วมือเล็กๆ ให้จับของได้มั่นคง เป็นการเรียนรู้เรื่องระบบประสาทสัมผัสที่ดี

    กรณีถ้าลูกยังหยิบจับของเล่นเองไม่ได้ หยิบของเล่นแล้วหล่น หรือมือไม่มีแรงหยิบ อาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรงพอค่ะ ลองหาของเล่นนิ่มให้เขาบีบจับบ่อยๆ เพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงขึ้น
  1. ลูกทารกไม่ยอมยืนเด็กวัย 9-10 เดือน ช่วงนี้เด็กๆ จะเริ่มเหนี่ยวตัวเองเกาะสิ่งของที่อยู่รอบตัว แล้วยกตัวเองขึ้นมาเกาะยืนและค่อยๆ เกาะเดิน  จะเป็นช่วงล้มลุกคลุกคลานนะคะ สามารถยืนได้เอง เวลาเดิน จะเดินได้ 2-3 ก้าวแล้วล้มนั่งลง เหมือนตุ๊กตาล้มลุกให้ลูกได้ฝึกลุกนั่ง แต่ต้องหาที่เหมาะๆ นะคะหาหมอนมาวางรอบๆ ตัวด้วยนะคะเพื่อความปลอดภัย

    ในกรณีลูกไม่ลุกยืน วัยนี้ยังไม่ผิดปกติอะไรมากค่ะ เพราะพัฒนาการช่วงนี้เด็กแต่ละคนจะช้าเร็วแตกต่างกัน แต่ถ้าเลยขวบครึ่งไปแล้วยังไม่ยอมลุกเดิน แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อขามีความผิดปกติ หรืออาจเกี่ยวกับระบบประสาทมีความผิดปกติและส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีความผิดปกติเกิดขึ้น

พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้ลูกเล็กหยิบจับของได้อยู่มือ

กล้ามเนื้อมัดเล็ก, กล้ามเนื้อมือ, กล้ามเนื้อข้อมือ, กล้ามเนื้อนิ้ว, กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก, พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก, พัฒนาการมือ, ลูกหยิบของอยู่มือ, ลูกจับของอยู่มือ, กล้ามเนื้อมือลูก, พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก, สอนลูกหยิบจับ, สอนลูกใช้มือ

กล้ามเนื้อมัดเล็กที่มือของลูกก็ต้องได้รับการฝึกฝนเป็นประจำเพื่อให้แข็งแรง หยิบจับอยู่มือ เรามีวิธีส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่มือลูกแรกเกิด - 6 ปี มาแนะนำค่ะ

พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้ลูกเล็กหยิบจับของได้อยู่มือ

กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ ส่วนนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ฯลฯ ซึ่งจะต้องพัฒนาไปพร้อมกับสายตา แขน ขา และอวัยวะส่วนอื่นๆ หากกล้ามเนื้อมือพัฒนาล่าช้าก็อาจส่งผลให้พัฒนาการด้านอื่นๆ ช้าตามไปด้วย ดังนั้นมาดูกันสิคะ ว่าลูกมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมือในแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไรกันบ้าง

วิธีพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

  • กล้ามเนื้อมัดเล็กลูกวัย 0 - 3 เดือน : นิ้วมือจะค่อยๆ ยืดและเหยียด ลูกจะเริ่มกำและกางนิ้วมือได้ และสามารถคว้าจับสิ่งของใกล้ตัวได้
    กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก : หาของเล่นชิ้นใหญ่ๆ นุ่มๆ ให้ลูกได้ลองสัมผัส จับ กำ ขยำ หรือแม้แต่เวลาดื่มนมแม่ คุณแม่อาจให้ลูกกำนิ้วแม่ จับหน้าแม่

  • กล้ามเนื้อมัดเล็กลูกวัย 3 - 6 เดือน : กล้ามเนื้อมือของลูกจะแข็งแรงมากขึ้น ลูกจะเริ่มคว้าจับสิ่งของใกล้ตัวด้วยมือทั้ง 2 ข้างได้ เช่น ของเล่นที่มีเสียง ฯลฯ
    กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก : หาของเล่นมีเสียงมาเขย่าให้เขามืองตาม แล้วนำไปยื่นให้ใกล้ๆ เพื่อให้ลูกลองคว้าจับ โดยของเล่นควรมีชิ้นใหญ่ เพื่อให้ลูกได้ลองจับทั้งสองมือไปพร้อมๆ กัน และหากยังจับไม่อยู่มือ คุณแม่ก็ควรหยิบมาลองให้ลูกจับบ่อยๆ อย่าเพิ่งท้อ เพราะเขาเองก็อยากจับเล่นให้อยู่เหมือนกันคะ
  • กล้ามเนื้อมัดเล็กลูกวัย 6 - 9 เดือน : ลูกเริ่มเคลื่อนไหวมือได้คล่องแคล่วขึ้น สามารถหยิบจับของชิ้นเล็กๆได้ เช่น เมล็ดถั่ว ลูกปัด ฯลฯ
    กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก : เพิ่มของเล่นให้หลากหลายมากขึ้นทั้งขนาดและผิวสัมผัส เพราะลูกจะได้ลองขยับมือจับได้ตามขนาดของเล่น จดจำได้ว่าของเล่นชิ้นไหนควรจับอย่างไร มีสัมผัสอย่างไร เป็นการช่วยเรื่องความจำและการเรียนรู้ได้มากขึ้นด้วยค่ะ

  • กล้ามเนื้อมัดเล็กลูกวัย 9 เดือน - 1 ปี : ลูกจะสามารถบังคับนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หยิบของจากพื้น และปล่อยให้หลุดจากมือได้ตามต้องการ วัยนี้เรียกว่า "วัยทิ้งของ"
    กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก : ช่วงนี้ลูกจะจับแล้วปล่อยของเล่นหลุดมือตลอดเวลา เขาไม่ได้กำลังแกล้งแม่นะคะ แต่กำลังสนุกกับร่างกายตัวเองที่สามารถหยิบของและปล่อยของได้ ดังนั้นคุณแม่อาจจะเหนื่อยหน่อยกับการเก็บของขึ้นๆ ลงๆ คุณแม่จึงควรเน้นของเล่นที่หล่นไม่แตกหัก น้ำหนักเบา และช่วงนี้ให้ลูกลองใช้มือยืดเกาะขอบโซฟานุ่มๆ หรือขอบเตียงให้มั่นเพื่อตั้งไข่ได้เลย จะช่วยเพิ่มกำลังที่มือและแขนขาด้วยค่ะ

  • กล้ามเนื้อมัดเล็กลูกวัย 1 - 3 ปี : ลูกจะสามารถจับดินสอขีดเขียนหรือลากเส้นตรง เส้นโค้ง วงกลมตามรอยปะได้ และสามารถพับกระดาษให้เป็นชิ้นเล็กๆ ได้
    กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก : หาดินสอสีให้ลูกลากเส้นเล่นได้เลยค่ะ หรือให้เขาของหยิบจับของใช้ในบ้านช่วยแม่ด้วยก็ได้ เช่น ขยำผ้ามาช่วยถูพื้น หยิบไม้กวาดเล็กๆ มาช่วยกวาดบ้านเลียนแบบแม่

  • กล้ามเนื้อมัดเล็กลูกอายุ 3 - 6 ปี : สามารถควบคุมนิ้วมือ และมือได้มากขึ้น ลูกจะชอบเล่น หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้นิ้วมือ เช่น แกะชิ้นส่วนของเล่น วาดภาพระบายสี ฯลฯ
    กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก : ลูกอนุบาลหยิบจับของได้อยู่มือแล้ว กล้ามเนื้อมัดเล้กแข็งแรงมากแล้วค่ะ นอกจากการหยิบจับดินสอเพื่อขีดเขียนหนังสือ หรือวาดรูปแล้ว คุณแม่อาจจะมอบหมายงานบางอย่างให้เขาลองทำ เช่น กรอกน้ำใส่ตู้เย็น ยกจานข้าวเบาๆ ก็ช่วยให้เขาพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่มือได้ดี รวมทั้งฝึกความรับผิดชอบได้ด้วยค่ะ


พัฒนาการของอวัยวะส่วนต่าง ๆ มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของลูก หากคุณแม่ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อมือของลูกแข็งแรง อวัยวะส่วนอื่นๆ ก็จะมีการพัฒนาที่ดีตามไปด้วยค่ะ

พัฒนาการทารกวัย 2 เดือน พัฒนาการเด็ก 2 เดือน มีเรื่องไหนบ้างที่แม่ต้องดูแลและส่งเสริม

 พัฒนาการทารก 2 เดือน, พัฒนาการเด็ก อายุ 2 เดือน, พัฒนาการทารกแรกเกิด 2 เดือน, พัฒนาการของทารก, ทารก 2 เดือน พัฒนาการทางร่างกาย, เด็ก 2 เดือน พัฒนาการทางสมอง, ทารก 2 เดือน พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์, การดูแลทารกแรกเกิด, ทารก 2 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, เด็ก อายุ 2 เดือน เป็นยังไง, ทารก  2 เดือน ต้องดูแลยังไง

พัฒนาการทารก 2 เดือน เด็กอายุ 2 เดือน พ่อแม่ต้องดูแลอะไรบ้าง มีวัคซีนเด็กอะไรต้องฉีด พัฒนาการอะไรที่เด่นชัดกว่าตอนอายุ 1 เดือน มาเช็กกันค่ะ

พัฒนาการทารก 2 เดือน พัฒนาการเด็ก 2 เดือน มีเรื่องไหนบ้างที่แม่ต้องดูแลและส่งเสริม

พัฒนาการทางร่างกายของทารกอายุ 2 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

ลูกวัย 2 เดือนจะมีตัวหนักขึ้นจากเมื่อตอนอายุ 1 เดือนประมาณ 1 กิโลกรัม เริ่มบังคับศีรษะโงนเงนไปมาได้ สามารถเงยขึ้น 45 องศา เพื่อมองสิ่งแวดล้อมรอบๆ ได้ประมาณ 2-3 นาที ลูกจะกินนมเป็นเวลามากขึ้น ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อครั้ง เฉลี่ย 35 ออนซ์ต่อวัน และหากไม่ได้ดั่งใจก็จะแผดเสียงร้องลั่นบ้าน

เด็กบางคนอาจจะนอนหลับเพลินจนลืมเวลากินนม เพราะเมื่อมีอายุเลย 5 อาทิตย์แล้ว จะนอนตอนกลางคืนได้ยาวนานขึ้นรวดเดียวถึง 7 ชั่วโมง และในตอนกลางวันจะอยู่ในภาวะตื่นมากขึ้นเป็น 10 ชั่วโมงต่อวัน เด็กจะเริ่มเรียนรู้ร่างกายตนเอง ชอบถีบขายืดแขน หันหน้าหันหลังพลิกตัวไปมาอย่างสนุกสนาน ยิ่งหากมีคนอื่นๆ อยู่ด้วยเจ้าหนูจะโชว์ท่าทางเป็นพิเศษ

ด้านการมองเห็นในเดือนที่ 2 เลนส์ของตาจะปรับระยะตามความห่างของวัตถุ แต่ประสาทของตากับหูยังไม่สัมพันธ์กันมากนัก อาจจะไม่ค่อยหันตามเสียงแต่จะหันตามของเล่นสีสดใสหรือแสงวิบวับแทน อย่างไรก็ตามลูกจะชอบใบหน้าของคนมากกว่าสิ่งของอยู่ดี และการเรียนรู้ของลูกมักจะเป็นการเรียนรู้ด้วยปากและพอใจกับการได้ดูดนมหรือนำนิ้วเข้าปากมากกว่าเรียนรู้ด้วยสายตา

พัฒนาการทางร่างกายที่เด่นชัดของทารก 2 เดือน ได้แก่

  • ตื่นนอนกลางวันราว 10 ชั่วโมง
  • แขนขายังกระตุก มีสะดุ้งตกใจบ้าง
  • การเคลื่อนไหวนุ่มนวลขึ้นกว่าเดือนแรก
  • เมื่อนอนคว่ำผงกศีรษะได้ 45 องศา แต่ได้เพียงชั่วครู่
  • เมื่อจับนั่งศีรษะจะตั้งขึ้นแต่โงนเงนอยู่
  • การหยิบฉวยจะเป็นตามคำสั่งสมองมากกว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
  • พยายามคว้าของและหยิบฉวยได้นาน 2-3 นาที
  • เริ่มมองเห็นว่าลูกมีความถนัดข้างใด
  • สามารถทำได้อย่างเดียวในเวลาเดียว
  • มองเงามือตนเองโดยคิดว่าเป็นสิ่งของ
  • มองสิ่งต่างๆ ด้วยสายตาที่เลื่อนลอย
  • มองตามแสง และเห็นภาพชัดในระยะ 7-8 นิ้ว

พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจของทารก 2 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

อารมณ์ของลูกจะเป็นเหตุผลมากขึ้น เช่น ร้องเพราะได้ยินเสียงดัง โกรธ โมโห หรือหิว เมื่อร้องไห้จะอาละวาดถีบขาและแกว่งแขนจนสั่นไปหมด อีกทั้งจะเริ่มสังเกตความเป็นตัวตนของลูกมากขึ้น เช่น เด็กนิสัยเรียบร้อยก็จะนิ่งๆ เงียบๆ หากเด็กนิสัยกระตือรือล้นก็จะซุกซนกว่าปกติ

เด็กบางคนก็จะมีชั่วโมงแห่งความหงุดหงิด โดยเฉพาะช่วงเย็นและช่วงค่ำ เขามักร้องไห้พร้อมกับกลั้นหายใจหรือเรียกว่า “ร้องดั้น” จนหน้าเปลี่ยนสี แม้จะให้นมหรือปลอบโยนก็มักจะหยุดเพียงชั่วครู่ แล้วก็จะร้องใหม่อีกครั้ง การร้องแบบนี้บ่งบอกถึงความไม่สบายใจและความไม่สบายกาย รู้สึกถึงความไม่สมดุลของระบบประสาทและร่างกายของตนเอง เมื่อลูกโตขึ้นก็จะคลายลง แต่ลูกก็สามารถทำให้ตนเองรู้สึกสงบลงได้ด้วยการดูดนิ้ว สำหรับช่วงเวลาที่ลูกอารมณ์ดีที่สุดคือช่วงที่ลูกเพิ่งกินนมเสร็จประมาณครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง และมีปฏิกิริยาตอบโต้สูง

พ่อแม่ควรดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้ลูกอารมณ์ดี หลีกเลี่ยงเสียงดัง เปิดเพลงเบาๆ หรือแม้แต่การเล่นกับลูกบ่อยๆ ก็เป็นการพัฒนาพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกได้

พัฒนาการทางภาษาของทารก 2 เดือน และการส่งเสริมการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

ลูกน้อยยังใช้การร้องไห้เป็นการสื่อสารหลัก เสียงส่วนใหญ่จะออกมาเป็นเสียงอ้อแอ้ คูๆ ไม่เหมือนเสียงพูดของผู้ใหญ่สักเท่าไรนัก แต่ว่าจะสนใจฟังเสียงต่างๆ และจดจำเสียงนั้นไว้ หากคุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ลูกจะอ่านริมฝีปากและหัดพูดไปในตัวด้วย

พัฒนาการทางสังคมของทารก 2 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

เริ่มมองคนและส่งยิ้มหวานให้ และจะยิ้มเป็นพิเศษเมื่อคนๆ นั้นมักตอบสนองในทางบวกได้ เช่น เข้ามาคุยด้วย หรือเอานมมาให้ หรือแม้แต่พี่น้องที่เข้ามาเล่นซุกซนด้วยกันเขาก็จะรู้สึกอยากเล่นด้วย

พัฒนาการทางสังคมที่เด่นชัดของทารกวัย 2 เดือน ได้แก่

  • เริ่มแสดงอารมณ์ หงุดหงิด ดีใจ ตื่นเต้น ยิ้มแย้ม
  • สงบอารมณ์ตัวเองด้วยการดูดนิ้ว
  • ตื่นตัวเวลามีคนจ้องมอง
  • หยุดฟังและจับจ้องใบหน้าคน
  • จะตื่นนานเมื่อมีคนมาเล่นด้วย
  • เมื่อมีคนพูดด้วยจะชะงักและทำหน้าตาว่าได้ยิน

พัฒนาการทางสมองของทารก 2 เดือน  และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

ลูกจะยังไม่สามารถจดจำหน้าแม่หรือแยกใบหน้าแม่ออกจากกลุ่มคนได้ แต่เขาจะสามารถแยกแยะได้จากกลิ่นกายและลักษณะท่าทางการอุ้ม อีกทั้งหากคุณแม่ลองแตะรสชาติเค็ม เปรี้ยว หรือขม ที่ริมฝีปากลูก ลูกจะสามารถตอบสนองความไม่พอใจใจออกมาในรูปแบบปิดปาก สำลัก หน้าแดง ขบกราม แต่หากเป็นสิ่งใดที่ลูกชอบ เขาจะสนใจและกระตือรือล้นยิ้มให้เอง

นอกจากนั้นเด็กบางคนมีลักษณะชอบทำอะไรด้านเดียว เช่น นอนตะแคงขวา ดูดมือขวา เอียงคอทางขวา หรือแม้แต่ดูดนมด้านขวา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อาการผิดปกติ แต่เป็นลักษณะความถนัดของลูกที่ก่อตัวมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ทารกวัย 2 เดือนนี้จะเริ่มเชื่อมโยงพฤติกรรมบางอย่างที่พ่อแม่ทำให้และตีความหมายได้บ้างแล้ว เช่น ถ้าวางลูกลงบนเปลในท่าทางพร้อมนอน แต่ลูกยังไม่อยากนอน เขาก็อาจจะแผดเสียงออกมาได้ การส่งเสริมควรพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ตอบสนองความต้องพื้นฐานของเขาโดยเฉพาะเรื่องกินและเรื่องความเปียกชื้น ที่เป็นต้นตอของความหงุดหงิดจนทำให้ลูกเสียเวลาในการเรียนรู้ได้

พัฒนาการทางสมองที่เด่นชัดของทารก 2 เดือน ได้แก่

  • แยกความแยกต่างของคน เสียง รส และวัตถุได้
  • เชื่อมโยงคนกับการกระทำได้ เช่น แม่กับอาหาร
  • เคลื่อนไหวร่างกายตอบโต้การกระตุ้น

พัฒนาการทารก 2 เดือน, พัฒนาการเด็ก อายุ 2 เดือน, พัฒนาการทารกแรกเกิด 2 เดือน, พัฒนาการของทารก, ทารก 2 เดือน พัฒนาการทางร่างกาย, เด็ก 2 เดือน พัฒนาการทางสมอง, ทารก 2 เดือน พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์, การดูแลทารกแรกเกิด, ทารก 2 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, เด็ก อายุ 2 เดือน เป็นยังไง, ทารก  2 เดือน ต้องดูแลยังไง

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ลูกวัย 12 เดือนมีพัฒนาการอะไรที่โดดเด่น พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ

 พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, พัฒนาการทารก 12 เดือน, พัฒนาการเด็ก อายุ 12 เดือน, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พัฒนาการทางร่างกาย, เด็ก 1 ขวบ พัฒนาการทางสมอง, 1 ขวบ พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์, 1 ขวบ  ทำอะไรได้บ้าง, เด็ก 1 ขวบ เป็นยังไง, เด็ก 1 ขวบต้องดูแลเรื่องอะไร, เด็ก 1 ขวบมีพัฒนาการอะไรบ้าง, เช็กพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ

ลูกวัย 1 ขวบมีพัฒนาการอะไรบ้างที่โดดเด่น พ่อแม่ต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 12 เดือนอย่างไรให้สมวัย และพร้อมพัฒนาต่อยอด เรามีคำแนะนำค่ะ

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ลูกวัย 12 เดือนมีพัฒนาการอะไรที่โดดเด่น พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ

พัฒนาการทางร่างกายเด็กวัย 1 ขวบ

เมื่อลูกอยู่ที่บ้านอาจจะเดินเล่นได้อย่างเพลิดเพลิน เพราะว่าอยู่ในสถานที่ที่คุ้นเคย สามารถเดินชะลอเพื่อสำรวจสิ่งที่ตนเองสนใจ และสามารถหยุดมอง นั่ง และเล่นได้อย่างเบิกบานมีความสุข เพราะว่าเขาสามารถเคลื่อนตัวเองไปยังจุดที่น่าสนใจได้ ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงใคร แต่เมื่ออยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยลูกอาจจะไม่ยอมเดิน อยู่เกาะติดกับคุณแม่ และมีความรู้สึกกลัวเข้ามาแทรกทั้งๆ ที่อยู่บ้านเคยทำได้ อย่างเช่น จะคลานแทนทั้งๆ ที่เคยเดินได้คล่องแคล่ว ลูกสามารถใช้มือทั้งสองข้างได้ อย่างคล่องแคล่วว่องไว โดยเฉพาะนิ้วโป้งและนิ้วชี้ที่จะสามารถหยิบของต่างๆ ได้เต็มมือ มีการหยิบวางอย่างบรรจงและแม่นยำ ถือของต่างๆ ได้เหนียวแน่นและตกยาก

พัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัย 1 ขวบ ได้แก่

  1. ยืนได้เอง และยืนได้ตรง
  2. ย่อตัวลงนั่งได้แข้งขัน
  3. เดินได้ แต่ก็ยังชอบคลาน
  4. ชอบคลานขึ้นลงบันได
  5. ใช้มือขณะเดินได้ อย่างเช่น เดินไปพร้อมกับเล่นของเล่น เดินพร้อมกับโบกมือ ชอบใช้มือข้างเดียว และอีกข้างก็สามารถทำอย่างอื่นได้
  6. ใช้นิ้วชี้สิ่งของและผลักของ ถอดเสื้อผ้าออกได้เอง
  7. ชอบเปิดฝากล่องและฝาขวด
  8. ทำท่าเหมือนว่ายน้ำในอ่างอาบน้ำ

พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ เด็กวัย 1 ขวบ

ลูกจะเริ่มกลับมาติดแม่อีกครั้ง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมข้างนอก การติดแม่แจในวัยนี้ลูกจะไม่ยอมเล่นกันใคร จนทำให้คุณแม่หลายคนคิดมาก แต่พฤติกรรมนี้จะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อโตขึ้น ลูกจะรู้สึกว่าเริ่มอยู่ได้เมื่อปราศจากแม่ เขาจะปรับตัวและจัดการอารมณ์ของตนเอง เพื่อนำไปสู่พัฒนาการทางอารมณ์ที่จะเข้มแข็งขึ้นทีละน้อย โดยเฉพาะเวลาที่ลูกโกรธหรือโมโห ต้องปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้อารมณ์ตรงนี้และสงบได้ด้วยตนเอง

พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจของเด็กวัย 1 ขวบที่เด่นชัด ได้แก่

  1. มีปฏิกิริยารุนแรงเมื่อจับแยกจากแม่
  2. มีอารมณ์ขัน
  3. มีอารมณ์แห่งการปฏิเสธมากขึ้น อย่างเช่น ไม่กิน ไม่ไป ยืนยันความต้องการของตนเอง

พัฒนาการทางภาษาเด็กวัย 1 ขวบ 

ลูกยังไม่สามารถพูดเป็นภาษาได้ แต่ก็สามารถฟังคุณพ่อคุณแม่และแปลความหมายที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างแม่นยำ

การพัฒนาด้านภาษาของลูกขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ โดยพูดและอธิบายให้ลูกฟังบ่อย ๆ ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ โดยเริ่มจากของใกล้ตัวที่สุดคืออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของเขา อย่างเช่น มือ เท้า ท้อง เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ และรู้จักบอกความต้องการของตนเองได้ โดยเฉพาะเมื่อตนเองเกิดเจ็บปวดขึ้นมา

พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 1 ขวบที่เด่นชัด ได้แก่

  1. จับโทนเสียงบ่งบอกอารมณ์ได้
  2. พูดเสียงอื่น ๆ ได้มากขึ้น
  3. พยายามพูดเสียงต่าง ๆ บางครั้งใช้การแผดเสียงเพื่อเรียนรู้ลำดับของโทนเสียง

พัฒนาการทางสังคมเด็กวัย 1 ขวบ

แม้ลูกจะมีความผูกพันกับคุณแม่มาก แต่กลับมักออกฤทธิ์และมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมาเมื่ออยู่กับคุณแม่ ราวกับว่าไม่กลัวใครเมื่อมีคุณแม่อยู่ด้วย อย่างเช่น ชอบตีพี่เลี้ยง สั่งอะไรก็ไม่ยอมทำ เป็นต้น กลับกันคุณจะเห็นว่าเมื่อฝากลูกไว้ กับคุณตาคุณยายหรือพี่เลี้ยงเพียงลำพังโดยที่คุณแม่ไม่ได้อยู่ด้วย ก็มักจะได้ยินเสียงบอกเล่าว่าลูกเป็นเด็กน่ารัก ให้ทำอะไรก็เชื่อฟัง แต่พอมาอยู่กับคุณแม่อีกครั้งกลับเป็นเหมือนเดิม สั่งอะไรก็ไม่ยอมทำตามแถมอาจจะก้าวร้าวอีกด้วย พฤติกรรมนี้จะค่อย ๆ หายเมื่ออาการติดแม่มีน้อยลงไปเมื่อเขาโตขึ้น

พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 1 ขวบที่เด่นชัด ได้แก่

  1. แสดงอารมณ์มากขึ้น และก็เข้าใจอารมณ์คนอื่นมากขึ้น
  2. ระแวงคนแปลกหน้าและสถานที่ใหม่ ๆ
  3. เข้าใจการเล่นเกมง่าย ๆ เป็นกลุ่ม ใครขอของเล่นก็จะให้บ้าง บางครั้งก็แยกตัวเล่นคนเดียว
  4. จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีเมื่อมีคนชมเชยอยู่ข้าง ๆ

พัฒนาการทางสมองเด็กวัย 1 ขวบ

เมื่อลูกมีพลังงานเยอะเหลือเฟือและโลกใบใหม่ก็น่าสนุกและน่าเรียนรู้ ทำให้เจ้าหนูวัยนี้ส่วนใหญ่นอนยาก และไม่ชอบที่จะเข้านอนสักเท่าไร ทั้ง ๆ ที่การนอนเป็นส่วนหนึ่งการพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และผลิต Growth Hormones ออกมาเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นหากอยากให้ลูกแจ่มใสคุณพ่อคุณแม่จะต้องจัดตารางเวลาการนอนของลูกให้ดี รวมทั้งสร้างบรรยากาศการนอนที่เป็นสุข ไร้แสงสว่างกวนตาและเสียงรบกวนด้วย

พัฒนาการทางสมองของเด็กวัย 1 ขวบที่เด่นชัด ได้แก่

  1. ชอบจับของแยกออกจากกัน อย่างเช่น แกะห่อของเล่น
  2. เรียนรู้เรื่องการแทนที่ การหมุน และการกลับหัวกลับท้ายของสิ่งของ
  3. ค้นหาของเล่นที่มองไม่เห็น แต่จำได้ว่ามีอยู่
  4. จดจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้นานขึ้น และจำรายละเอียดได้มากขึ้น
  5. เริ่มรู้ว่าตนเองใช้มือถนัดด้านไหน
  6. เมื่อเกิดปัญหาหรือความผิดผลาด จะหาทางแก้ปัญหา
  7. สามารถแยกของเล่นตามสีและรูปร่างได้
  8. รู้ว่าตัวเองแตกต่างจากสิ่งของ
  9. เลียนแบบกิริยาท่าทางได้ดีขึ้น
  10. ไม่ค่อยยอมนอน

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, พัฒนาการทารก 12 เดือน, พัฒนาการเด็ก อายุ 12 เดือน, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พัฒนาการทางร่างกาย, เด็ก 1 ขวบ พัฒนาการทางสมอง, 1 ขวบ พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์, 1 ขวบ  ทำอะไรได้บ้าง, เด็ก 1 ขวบ เป็นยังไง, เด็ก 1 ขวบต้องดูแลเรื่องอะไร, เด็ก 1 ขวบมีพัฒนาการอะไรบ้าง, เช็กพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ

​พาลูกทำกิจกรรมกลางแจ้ง ปลูกผัก ทำนา เลี้ยงสัตว์ สัมผัสธรรมชาติ

 
กิจกรรมกลางแจ้ง-พัฒนาการเด็ก-สถานที่ท่องเที่ยว-แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก-ที่เที่ยวสำหรับเด็ก-สถานที่พาลูกเที่ยว

ช่วงปิดเทอมหรือวันหยุดยาว พ่อแม่ต้องหาที่เที่ยวให้ลูกใช่ไหมคะ สถานที่เที่ยวแบบธรรมชาติแลดูจะเป็นที่เที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่สุด เพราะจะทำให้ได้เรียนรู้โลกกว้างจากการได้สัมผัสกับธรรมชาติ มีการต่อยอดความรู้ มีจินตนาการ และจากกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำ ก็จะช่วยฝึกทักษะการเอาตัวรอดให้เด็กๆ ได้ด้วยค่ะ พาลูกไปเที่ยวฟาร์มกันเลย

4 กิจกรรมกลางแจ้ง พาลูกไปเที่ยวฟาร์ม มีดังนี้
  1. กิจกรรมกลางแจ้ง : เรียนรู้การทำนา

การทำนา จะสอนให้เด็กๆ รู้จักการลำดับขั้นตอน การวางแผน และมีเป้าหมาย โดยจะเริ่มตั้งแต่สอนการเตรียมข้าวเปลือก ปลูกข้าว ดำนา เกี่ยวข้าว ตำข้าว ฝัดข้าว แล้วเอามาหุงกิน ได้ทั้งความรู้และความสนุกไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

กิจกรรมกลางแจ้ง-พัฒนาการเด็ก-สถานที่ท่องเที่ยว-แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก-ที่เที่ยวสำหรับเด็ก-สถานที่พาลูกเที่ยว

  1. กิจกรรมกลางแจ้ง : เรียนรู้การให้อาหารสัตว์

เด็กๆ จะได้เพลิดเพลินไปกับการให้อาหารสัตว์ เช่น วัว ไก่ เป็ด ได้ประเมินสถานการณ์ ว่าควรมีระยะห่างกับสัตว์แค่ไหน ควรให้สัตว์กินแต่พอดี ไม่เหลือทิ้งมากเกินไป ช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้เด็กได้ดีมากๆ

 

กิจกรรมกลางแจ้ง-พัฒนาการเด็ก-สถานที่ท่องเที่ยว-แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก-ที่เที่ยวสำหรับเด็ก-สถานที่พาลูกเที่ยว

  1. กิจกรรมกลางแจ้ง : เรียนรู้การปลูกผัก เก็บผัก ทำอาหาร

เด็กๆ จะได้ลงมือปลูกผักด้วยตัวเอง จะทำให้มีความอดทน มีเป้าหมายว่าจะได้เก็บผักมาทำอาหาร และทางสวนก็จะให้ไปเก็บผักเองเพื่อมาทำอาหารจริงๆ ทำกับข้าวแบบง่ายๆสร้างความภูมิใจได้มากเลยทีเดียว

กิจกรรมกลางแจ้ง-พัฒนาการเด็ก-สถานที่ท่องเที่ยว-แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก-ที่เที่ยวสำหรับเด็ก-สถานที่พาลูกเที่ยว

  1. กิจกรรมกลางแจ้ง : การละเล่นผ่อนคลาย

ยามเย็นที่ฟาร์ม เด็กๆ จะได้สนุกแบบสุดเหวี่ยง ทั้ง เล่นขี่ม้าก้านกล้วย จับแมลง เล่นน้ำคลอง เล่นสไลเดอร์ดิน เป็นกิจกรรมที่สนุกมากๆ ชีวิตในเมืองหาแบบนี้ไม่ได้เลยนะคะ เด็กๆ EF แข็งแรงแน่นอนค่ะ

กิจกรรมกลางแจ้ง-พัฒนาการเด็ก-สถานที่ท่องเที่ยว-แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก-ที่เที่ยวสำหรับเด็ก-สถานที่พาลูกเที่ยว

 
ในฟาร์มกิจกรรมเยอะจริง เลอะจริง แต่ลูกเราจะได้สนุกกับการลงมือทำจริงเช่นกันค่ะ และที่สำคัญคือ ความสนุกจากการเล่นและลงมือทำคือ วิธีเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กในการต่อยอดไปสู่ความฉลาด ความกล้า และการรู้จักดูแลตัวเองนะคะ 

แนะนำ 7 สถานที่พาลูกไปเปิดประสบการณ์ ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  1. ดวงตวัน บ้านสวน
  2. Farm de Lek
  3. ไร่หยดพิรุฬ : ไร่ปลูกเด็ก - Farm School
  4. ไร่ปลูกรัก RAI PLUK RAK Thai Organic Farmer
  5. Little tree, house of learning
  6. ครูธานี หอมชื่น (บ้านนาครูธานี)
  7. เบิกบานบุรี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

รักลูก The Expert Talk EP 85 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวก พ่อแม่มีอยู่จริง สร้างฐานที่มั่นทางใจของลูก

 

รักลูก The Expert Talk Ep.85 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวก "พ่อแม่มีอยู่จริง สร้างฐานที่มั่นทางใจลูก"

 

คลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ในบ้าน ด้วยการสร้าง Family Attachment

เพราะฐานที่มั่นทางใจที่แข็งแรง จะสามารถสู้อุปสรรค ให้ล้มแล้วลุกได้

 

กับ The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP 87 : ฟื้นฟูสมอง เร่งเรียน เร่งรู้ด้วยนิทาน EF

 

รักลูก The Expert Talk Ep.87 : ฟื้นฟูสมอง เร่งเรียน เร่งรู้ด้วยนิทาน EF

 

นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง โอ๊ะโอ! ขอโทษนะ และ เรื่อง ให้เวลาหน่อยนะ จะช่วยตอบคำถามที่ค้างคาในใจของพ่อแม่ได้ว่าทำไมลูกเราช้ากว่าคนอื่น? ทำไมคนอื่นต้องทำผิดกับเรา ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเลย?

คำถามที่ต้องการมุมมอง ความคิด เพื่อทำความเข้าใจกับพัฒนาการของลูกและสถานการณ์ปัจจุบัน

 ชวนฟังแนวคิดและหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้เลี้ยงลูกได้จากนิทานของย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป

 

ให้เวลาหน่อยนะ ชุดในสวนของย่า

ในสวนของย่า เริ่มจากที่ชวนหลานมาช่วยทําสวนครัวเล็กๆ บนหลังคาโรงรถ มันทําให้เราได้สังเกตชีวิตของพืชพันธุ์ ของผักที่เราปลูก แมลงต่างๆ มันทำให้มีชีวิตชีวา ซึ่งก็เป็นจุดที่ดึงความสนใจเด็กได้พอสมควร นิทานเรื่องให้เวลาหน่อยนะก็มาจาก จากการที่เราสังเกตว่าเวลาเราปลูกต้นไม้แม้จะปลูกพร้อมกัน แต่มันขึ้นไม่พร้อมกัน การเติบโตก็ไม่เหมือนกัน มันจะมีต้นใหญ่ต้นเล็ก แล้วแต่เหตุปัจจัย ก็เกิดไอเดียขึ้นมาว่าเด็กๆ ก็อาจจะต้องเข้าใจพัฒนาการของแต่ละช่วงเวลา สําหรับเด็กเขาน่าจะได้มีโอกาสรู้ว่า อะไรต่ออะไรมันก็ไม่ได้ต้องเป็นไปตามแบบนั้นแบบนี้เสมอไป ก็เลยใช้เรื่องต้นถั่วขึ้นมาเพื่อที่จะให้หลานได้เรียนรู้ เขาเองก็มีข้อสงสัยอยู่แล้วว่าก็หยอดเหมือนกันแล้วทำไมไม่โตสักที จากการที่ว่ามันไม่โตสักที ทําไมมันไม่เท่าคนอื่นไม่เหมือนคนอื่นก็เป็นที่มาของการเขียน

เข้าใจจังหวะเวลาการเติบโต

สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ สิ่งต่างๆถ้าตามธรรมชาติ มันจะมีจังหวะเวลาของมัน เช่น ผักถ้าเป็นเมล็ดถั่วยังไงก็ต้องประมาณเกือบ 10 วัน กว่ามันจะงอกหรือถ้าเป็นผักเล็กๆน้อยๆประมาณ 4-5วัน แต่ละชนิดมันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าเขาพอจะเข้าใจว่าแต่ละสิ่งนั้นมันมีจังหวะเวลาของมัน มันมีเวลาของชีวิตมันซึ่งไม่เหมือนกัน มนุษย์ สัตว์ ต้นไม่ก็มีเวลาของตัวเอง

เพราะฉะนั้นการที่เราเข้าใจก่อนว่าแต่ละสิ่งมีเวลาที่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกันก็เป็นการทําความเข้าใจโลก ซึ่งการชวนให้เขาไปสังเกตเขาจะได้ความรู้ ได้ทักษะรวมทั้งได้เจตคติ Mindsetว่าธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น เราจะไปเร่งให้มันเร็วหรือทำให้สิ่งนี้ช้าลงก็ไม่ได้ เหมือนไปบอกผักว่าไม่อยู่บ้าน อย่าเพิ่งโตนะกินไม่ทันเราก็บอกมันไม่ได้ และสิ่งที่สําคัญก็คือถ้าเรารู้จักเวลามันจะทําให้เรารู้จักรอด้วย เราจะรู้จักรอ รู้ว่าอย่าเพิ่งไปเร่งมัน แล้วสิ่งที่ได้ประโยชน์มากก็คือคนอ่านพ่อแม่ก็ได้เข้าใจลูกไปด้วยว่า ลูกเราก็จะเหมือนต้นถั่วนี้แหล่ะ ถ้าอะไรที่เรารู้สึกยังไม่ถูกใจไม่ชอบใจ ทําไมทำนั่นทำนี่ไม่ได้ เราก็อาจจะต้องมาดูก่อนว่าอันที่หนึ่ง ใช่เวลาของเขาไหมยังรอได้ไหม อันที่สองมันจะนําไปสู่การเข้าใจที่มาของการที่มันไม่ได้ มันไม่ได้ต้องตรงกัน

เด็กในห้องเรียนห้องเดียวกัน ทําไมคนนี้สอบได้ คนนี้สอบไม่ได้ ทําไมลูกเขาได้ ABCแล้วทําไมลูกเราไม่ได้ กระบวนการทําความเข้าใจอย่างนี้ นอกจากจะมีเวลาเป็นตัวตั้งแล้ว มันยังมีการเข้าใจถึงปัจจัยและเหตุที่มาว่าทําไมเขาถึงไม่ได้ เด็กบางคนก็ช้ากว่าเพื่อนแต่เขาเป็นม้าตีนปลาย ดังนั้นการที่ผู้ใหญ่เข้าใจเราก็จะเปลี่ยน คือไม่ไปเร่งเด็ก ไม่คาดหวังเด็กเองพอเขาเข้าใจก็จะไม่คาดหวังทุกเรื่องมากจนเกินไป รู้จักจังหวะรู้จักรอคอย ใช้ธรรมชาติให้เขาได้เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง และเด็กจะค่อยๆ เข้าใจธรรมชาติของตัวเองด้วย และปรับเข้ากับเรื่องอื่นด้วย อย่างเช่นบางที น้องชายบอกทําไมเขาไม่ได้อันนี้เท่านี้เท่านั้นเหมือนพี่ พี่ชายเขาตอบเองเลยก็พี่เกิดก่อนไงพี่ก็ต้องรู้ก่อน แล้วพี่ก็ต้องกินมากกว่าอะไรทํานองแบบนี้ พอจะมีคําอธิบายถูกบ้างผิดบ้างแต่อย่างน้อยก็ยังรู้จักเอาไปใช้

อีกเรื่องที่สําคัญเราจะพบว่าหลายอย่างเราแก้ปัญหาได้ เช่น สมมติว่าเรารู้ว่ามันโตช้ากว่าคนอื่นเราอาจจะต้องเติมดินเติมปุ๋ย เพราะว่าความต้องการ มันไม่เหมือนกั เมื่อเขาโตขึ้นเขาก็จะเข้าใจว่ามนุษย์ก็มีความต้องการไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าคนนี้เขาขาดสิ่งนั้นสิ่งนี้เราเติมเข้าไปก็ยังมีโอกาส ที่จะทําให้เขาเติบโตต่อไปได้ยังแก้ได้ไม่มีอะไรที่แบบว่าจะไม่โตเลย

ไม่ยัดเยียด ไม่เร่งรัด สร้างใยประสาทให้เติบโตด้วยความสุข

หลังโควิดพ่อแม่เร่งเรียนลูกเป็นความเข้าใจของพ่อแม่ที่คิดว่าต้องอัดให้เท่ากับสิ่งที่เขาไม่ได้เรียนมา ก็คือเป็นการชดเชยที่ตรงไปตรงมาเพียงแต่ว่ามนุษย์ มันไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างนั้นซะทั้งหมด เพราะว่าสิ่งที่หายไปมันไม่ใช่แค่เวลาที่เขาไม่ได้เรียนแต่สิ่งที่หายไปคือ เช่น เส้นใยประสาทมันไม่งอกในช่วงเวลานั้น ถ้ามันไม่มีอะไรกระตุ้นเลย ใช้แต่มือถือแล้วก็นั่งจับเจ่าอยู่กับที่ เพราะฉะนั้นเส้นใยประสาทที่ควรจะงอกเมื่อเขาได้วิ่งเล่น ได้เจอผู้คน ได้อ่าน ได้อยู่กับเพื่อน พอมันไม่งอก มันคุดไปแล้วเปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอะไรมาบัง อาจจะโตได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าเราเอาสิ่งที่บังออกเราจะทําให้มันเท่ากับต้นที่โตไปแล้ว 1ฟุตได้ไหม อาจจะไม่ได้ เพราะว่ามันแกร็นไปแล้ว และถ้าจะทำให้โตเท่ากับอีกต้นที่มันไม่ถูกแกร็นก็คงจะต้องเอาใจใส่มากพอ มันอาจจะไม่ได้ต้องการแค่น้ำกับปุ๋ยเท่านั้น ต้องมีการพรวนดิน ดูแลกันอย่างละเอียด

เพราะฉะนั้นเด็กก็เหมือนกันหลังโควิดว่านอกจากจะต้องเข้าใจว่าพัฒนาการมันถดถอยไป ล่าช้าไป สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ หนึ่งต้องร้อนใจแต่ไม่ใช่ไปเร่ง โดยการไปอัดโน่น อัดนี่ ยัดเยียดทุกอย่างเข้าไป แต่เราต้องไปดูว่าที่จะทําให้เขาโตมันมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่มันไปครอบเอาไว้ เช่น ความสุขใยประสาทที่หายไป ก็เรื่องนึงแต่ถามว่าทําอย่างไรจะให้ใยประสาทโตขึ้นมา ก็ต้องมาจากการที่เด็กรู้สึกมีความสุข มีสมองส่วนอารมณ์ที่เบิกบาน มีความรู้สึกพร้อมอยากจะเรียน จะมีความรู้สึกว่าชีวิตเป็นปกติไม่เครียดเหมือนเมื่อก่อน

แต่ถ้าเติมแล้วสิ่งนั้นมันทําให้เขาทุกข์เครียดไปอีก สมองเขาก็จะชะงักอีก เพราะฉะนั้นกระบวนการของการที่เราจะทําให้เขาเลิกแคระแกร็นได้มันก็จะต้องมีความประณีต ซึ่งเวลานี้ก็เราก็ชี้กันไปแล้วว่าอย่างนี้ 1.แทนที่จะให้เด็กไปอ่าน คัด ABC อ่านตัวอักษรอย่างเดียวก็มาอ่านนิทาน

2.วิ่งเล่นและเคลื่อนไหวร่างกาย

3.ครูกอดและพูดคุยกับเด็กให้มากขึ้น

4.อ่านนิทานเยอะๆ แล้วก็พูดคุยซักถามไปเรื่อยๆ ชวนคิดชวนคุย ทํากิจกรรมต่อเนื่องมากขึ้น ให้เด็กได้ทำบทบาทสมมติ คือทําให้มันเกิดการงอกงาม เพื่อไปกระตุ้นให้มันกลับมาดีและก็พร้อมที่จะโตต่อไป

3 เร่ง 3ลด 3เพิ่ม

เนื่องจากว่าพอมันมีโควิดเด็กก็กระทบทุกด้านร่างกายก็เนือยนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวพ่อแม่ก็โยนมือถือให้เพราะว่าพ่อแม่ก็จะไม่มีเวลาทํางานแต่มันกลายเป็นทําร้ายลูก มีงานวิจัยว่าสายตาเด็กเสียไปเยอะ ด้านอารมณ์เด็กก็กระทบคือเด็กมันต้องวิ่ง ต้องวิ่ง ต้องเล่น ต้องอยู่กับเพื่อน ปรากฏว่าก็ไม่ได้วิ่งไม่ได้เล่นอะไรแล้วก็ใช้มือถือมากๆ สายตาก็ใช้งานหนักก็เครียดโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเด็กก็จะอารมณ์หงุดหงิดแล้วก็ไม่ค่อยมีความสุข โดยที่ผู้ใหญ่เราอาจจะไม่รู้ก็คิดว่านิ่งกับโอเคแล้ว นอกจากนี้ในเรื่องสังคมคือเด็กก็ไม่ได้อยู่กับสังคม เพราะการเข้าสังคมมันทําให้เด็กนอกจากจะเรียนรู้แล้ว ยังเป็นที่ระบายอารมณ์ ได้เล่นกับเพื่อนก็สนุกสนาน หัวเราะ แต่บรรยากาศอย่างนี้มันไม่มีมันหายไป แล้วก็ด้านจิตปัญญาเด็กไม่ได้เรียนอะไร แต่สิ่งที่เป็นห่วงกันมากที่สุดก็คือเส้นใยประสาทที่ช่ฃวงอายุ 3-6ปีจะแผ่ขยายมาก แต่พอไม่ได้มีกระบวนการเรียนรู้ มีประสบการณ์ที่ดี มันก็จะแกร็นแล้วถ้าพ่อแม่ ไม่เข้าใจก็ฟื้นไม่ได้ ผลกระทบก็คือเด็กก็อาจจะไม่ใช่คนที่พอใจต่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เด็กที่อยากเรียนรู้ เพราะว่าสมองส่วนที่ควรจะกําลังเรียนรู้มันแกร็นไปแล้ว

เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นคนที่ไม่พอใจกับเรื่องต่างๆ เพราะภาวะอารมณ์โครงสร้างสมองมันทําให้กลายเป็นแบบนั้นไปแล้ว คือไม่ค่อยมีความสุข หงุดหงิดงัวเงียๆ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเป็น Learning Lossของจริง สิ่งที่เป็นข้อเสนอออกมาก็คือว่าต้องเร่งแก้ปัญหา เคสที่หนักๆ เช่น เด็กที่เจอกับความรุนแรงในบ้าน รวมถึง อ่านหนังสือชวนกันอ่านนิทานบ่อยๆ ให้เด็กไปวิ่งเล่น เรารณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกายว่าต้องให้เด็กวิ่งทุกวัน ร่างกายได้ขยับขับเคลื่อน สมองได้ทํางาน ได้เล่นกับเพื่อน ได้หัวเราะ ได้อากาศที่เข้าไปปอดทํางาน ซึ่งต้องกลับมาทำอย่างจริงจัง

แล้วถามว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่ากิจกรรมที่เราทํามันจะพาเด็กไปสู่การแก้สถานการณ์นะคะหรือฟื้นฟูได้จริง วิธีเช็กเบื้องต้นคือ

1.เด็กมีความสุขหรือเปล่า มีความอยากทํากิจกรรมอะไรเหล่านี้ไปพร้อมกับคุณครูกับคุณพ่อคุณแม่ไหม

2.สัมพันธภาพดีไหมถ้าในกิจกรรมนั้นสัมพันธภาพดีเชื่อได้ว่าสมองส่วนอารมณ์เขาจะดีและมันก็พร้อมที่จะไปกระตุ้นสมองส่วนคิดให้ทํางาน

3.กิจกรรมนั้นทําได้หลากหลายอย่างหรือเปล่า เช่น สมมติว่าการอ่านหนังสือคือเด็กก็ได้อ่าน สมองได้ทํางาน แล้วครูก็ชวนทำท่า ต้นถั่ว ท่าที่มันกําลังเติบโตทํายังไงบ้าง เป็นMusic Movement ได้เคลื่อนไหวทั้งร่างกาย ทั้งสายตา ทั้งสมอง ประสาทสัมผัสทั้งหมดได้ทํางาน อย่างนี้จะช่วยกระตุ้นได้เร็ว

4.สิ่งนั้นมีความหมายต่อชีวิตของเด็กๆ ไหม เช่น จะพูดเรื่องถั่วเราก็อาจจะต้องดึงกลับมาว่าเด็กๆ เราไปปลูกสวนครัวกันไหมเรามีถั่วคนละต้น ชวนเด็กๆ นั่งเฝ้า เพราะฉะนั้นเด็กรู้สึกว่าสิ่งที่อ่านกับสิ่งที่เขากําลังจะทํามันเป็นเรื่องเดียวกัน มันมีความหมายต่อชีวิตเขา เดี๋ยวพรุ่งนี้ มะรืนนี้จะรดน้ํา จะเริ่มเกิดความรับผิดชอบจะเริ่มเกิดความรู้สึกผูกพันรอคอยว่าเมื่อไหร่มันจะโต เพราะฉะนั้น 4ข้อนี้จะเป็นตัวเช็ก ถ้ามันไปได้ดีผู้ใหญ่เราจะตอบตัวเองได้ว่าเกิดความสุขเกิดแรงจูงใจเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเกิดการใช้ประสาทสัมผัสครบถ้วน ไม่ได้สอนอะไรที่ไกลตัวแล้วเด็กไม่รู้เรื่องไม่สนใจ ถ้าทำทั้ง 4ข้อนี้ได้ยังไงก็ฟื้นได้ค่ะ

โอ๊ะ โอ ขอโทษนะ

ตามธรรมชาติของบวบจะสังเกตว่ามันโตเร็ว แล้วด้วยความที่ใบใหญ่ใบหนาก็จึงต้องมีจุดยึดเกาะที่แข็งแรง เพราะใบใหญ่และต้นยาวมาก เพราะฉะนั้นอะไรที่คว้าได้ก็จะคว้า แต่ประเด็นสําคัญก็คือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการขอโทษ สมมติมีใครมาทําเราเจ็บคนนั้นก็ควรจะขอโทษใช่ไหมคะ แต่ว่าบางครั้งความไม่ตั้งใจที่ทำคนนั้นทำลงไปเด็กอาจจะไม่เข้าใจ ทําไมเขาต้องมาทําผิดกับเรา กรณีที่ไม่ตั้งใจจะเกิดขึ้นเยอะ เราจะทำให้เด็กเข้าใจ เรื่องนี้ได้ง่ายขึ้นอย่างไรบ้าง บางทีความปรารถนาดีของคนคนหนึ่งอาจจะทําให้เราไม่โอเค ไม่พอใจ เสียใจ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการ ที่ต้องสื่อสาร ถึงจะทําให้เด็กได้เรียนรู้สองเรื่องไปพร้อมกันคือหนึ่งคนไม่ตั้งใจมันมีอยู่เยอะ คนไม่ได้เพอร์เฟกต์หรอก แต่ว่าเบื้องหลังการทําผิดนั้น บางทีเราต้องไปทําความเข้าใจต้องใจเย็นพอที่จะให้โอกาสในการชี้แจงสื่อสาร แล้วเราก็จะพบว่าหลายเรื่องมันไม่ได้ร้ายแรงจนเราจะรับไม่ได้ ให้อภัยไม่ได้

ฉะนั้นนิทานเรื่องนี้ก็มีเรื่องการสื่อสารที่อยากจะเติมไป เช่น อ๋อขอโทษนะที่ฉันเอาใบไปบังเธอเพราะฉันก็เข้าใจว่าแดดมันร้อน แล้วฉันก็มีใบ ที่แข็งแรงก็ช่วยเธอเธอจะได้ไม่ต้องร้อนเกินไป แต่กลับกลายเป็นว่ามันไปทําให้ต้นมะเขือเทศก็ไม่ได้แดดเลย เพราะฉะนั้นการชี้แจงทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ขอโทษก็ต้องชี้แจงว่าเราคิดอะไร เราพูดกันได้ตรงไปตรงมา ถ้าเด็กเค้ามีทักษะเหล่านี้ ก็จะไม่ใช่แค่พูดเพียงคําว่าขอบคุณหรือขอโทษ เท่านั้น แต่จะสามารถไปได้ลึกกว่านั้นจะเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างประณีต มันเป็นลึกอีกชั้นหนึ่งว่าถ้าเกิดเขาเข้าใจที่มาที่ไปของมัน เขาก็จะนําไปสู่วิธีการคิดต่อทุกเรื่องไม่ใช่แค่เรื่องขอโทษ เขาจะมีความเข้าใจคนอื่น แล้วเขาก็จะรู้ว่าเราก็มีโอกาสเป็นอย่างนั้น บางทีเราก็ไม่ตั้งใจ ที่จะไปทําอะไรกับคนอื่นแต่ว่าเพื่อนเจ็บซะแล้ว ความเข้าใจ สื่อสารและรู้วิธีอธิบายเรื่องต่างๆ มันก็จะประสานไมตรีกันได้ง่ายขึ้น ก็จะทําให้เขา สามารถอยู่ร่วมได้กับคนอื่นได้อย่างเป็นปกติสุขที่สุด

EF ที่ได้รับจากนิทาน

เรื่องโอ๊ะโอขอโทษนะ ได้เรื่อง Empathy การเข้าอกเข้าใจว่าถ้าฉันเป็นเธอฉันจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่สําคัญมาก ถ้าเราไปอยู่ในสถานการณ์ของเขาเราจะทํายังไง ถ้าเราเจอแบบนั้นเราจะทํายังไง เราจะจัดการไง เพราะฉะนั้นการคิดแบบนี้มันเป็นการคิดสองชั้น ไม่ใช่แค่ว่าผิดแล้วขอโทษ แต่ว่าถ้าฉันเป็นถ้าเขาเป็นเราเขาคงจะทําอย่างงี้มั้งหรือเราเป็นเขาเราก็อย่างงี้มั้ง

การคิดอย่างนี้มันคือการยืดหยุ่นการที่พร้อมจะให้อภัยมันก็จะมาจากตรงนี้ แล้วมันไม่ได้เพราะว่าเธอแย่กว่าฉัน ฉันสงสารเธอแต่ว่าถ้าฉันเป็นเขา ถ้าเขาเป็นฉันเราจะเหมือนๆ กัน เราต่างมีความรู้สึกได้แบบนี้เหมือนกัน เรามีความเสียใจได้ เราทําผิดได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นการเข้าใจตัวเอง แล้วก็เข้าใจคนอื่นด้วย แล้วก็เปล่งวาจาออกมาว่าขอโทษนะด้วยเหตุแบบนี้นะ ก็จะช่วยลดความขัดแย้ง เป็นการประนอมกันมันคือการทําความเข้าใจ

ในเรื่องEFก็เช่นกัน เราสามารถเอาสถานการณ์มาถามเด็กได้ว่าตอนไหนที่รู้สึกโกรธเพื่อน เพื่อนทําอะไรให้เราโกรธ แล้วเขาคิดอย่างไง กับสิ่งที่เพื่อนทำ หรือหลังจากที่อ่านหนังสือแล้วก็คุยกัน เด็กจะได้กลับไปทบทวนความรู้สึกตัวเอง มุมมองของตัวเอง วิธีปฏิบัติที่ตัวเองควรจะทํา เพราะฉะนั้นเรื่องนี้พี่มองว่าเวลานี้โอกาสที่คนจะเข้าใจกันมันน้อยลงเพราะว่าอะไรๆมันก็เร็วแล้วมันก็จะมีสื่อกั้น เช่น บางทีเขียนในไลน์ มนุษย์ควรมีโอกาสปฏิสัมพันธ์เห็นหน้าตา แต่ตอนนี้ Face to Face มันน้อย เพราะฉะนั้นความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งก็จะน้อย อย่างเวลาเราเขียนขอโทษ ตอนพูดยากกว่ากันเยอะเขียนขอโทษมันจบ มันก็ดูเหมือนก็ไม่เป็นไร แต่เวลาเราจะพูดต่อหน้าเขาว่าขอโทษนะ มันใช้ความรู้สึกตัวเอง เป็นความรู้สึกที่จริงๆ ของเรา

เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องให้เด็กๆได้มีโอกาสเรียนรู้แบบว่าไม่ต้องไปผ่านสื่ออะไร เอาความรู้สึกเราแล้วก็ที่สําคัญอธิบายชี้แจง เอาความจริงมาสื่อสารกันแล้วค่อยๆ ประนอมเรื่องต่างๆ ให้มันไปในทางบวก ก็จะช่วยให้เด็กมีชีวิตที่ง่ายขึ้นตั้งแต่เรื่องเล็กๆไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่เราเผลอทําโดยไม่รู้ตัวก็เรียกว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ทําให้เด็กเข้าใจรู้จักตัวเองก่อน

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP 90 : รู้อารมณ์ลูกก็รับมือได้ ทุกสถานการณ์ ทุกอารมณ์

 

รักลูก The Expert Talk Ep.90 : รู้อารมณ์ลูก ก็รับมือได้ทุกสถานการณ์ ทุกอารมณ์

 

จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ระบุว่า วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ และจากผลการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนทั่วโลกในประเทศไทยเมื่อปี 2564 พบว่า 17.6 %ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งการฆ่าตัวตายคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย

 

สาเหตุส่วนหนึ่งของการเป็นโรคซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายนั้นคือการมีปัญหาพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่พ่อแม่สามารถรับมือได้ตั้งแต่เด็ก แต่ละเลยและไม่รู้วิธีการ

 

ฟังวิธีการรับมือกับอารมณ์ลูกจาก The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP 91 : สอนลูกรับมืออารมณ์ก่อนเป็นโรคซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.91 : สอนลูกรับมืออารมณ์ก่อนเป็นโรคซึมเศร้า

 

ถ้าอยากฝึกลูกควบคุมอารมณ์ พ่อแม่ต้องฝึกก่อน เพราะการเรียนรู้การจัดการอารมณ์ที่ดีที่สุดคือจากพ่อแม่ และอย่าให้ลูกต้องสุขตลอดเวลา เด็กเรียนรู้จากอารมณ์ลบและความทุกข์ได้ โดยมีพ่อแม่อยู่เคียงข้าง

 

ฟังวิธีการฝึกให้ลูกรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิธีการรับมือจัดการกับอารมณ์

ถ้าอยากจะฝึกลูกต้องฝึกที่พ่อแม่หรือว่าคนเลี้ยงก่อน เพราะว่าหลายครั้งการที่เด็กแสดงอารมณ์อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับคนที่อยู่รอบตัว แต่ละบ้านก็แตกต่างกัน บางวัฒนธรรมหรือบางคนก็อาจจะรู้สึกว่าเราไม่ได้อยากพูด หรือบอกแสดงความรู้สึกอารมณ์อะไรออกมา แต่จริงๆ แล้วการจะรับมือกับอารมณ์ของลูกผมอยากให้พ่อแม่มองอย่างนี้ว่า ทุกคนมักจะชอบอารมณ์ลูกในด้านบวก ดีใจ ยิ้ม น่ารัก เราอยากให้ลูกเราอารมณ์ดีตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่มีทาง อยากให้มองว่าลูกสามารถเรียนรู้จากอารมณ์เชิงลบได้ อารมณ์เชิงลบถ้าเรียนรู้ได้ดี มันทําให้เขาพัฒนาตัวเองแล้วทําให้เขาสามารถจัดการกับอารมณ์เชิงลบไม่ว่าจะเป็นโกรธ เสียใจ ผิดหวังอะไรต่างๆ ได้ เมื่อเขาโตขึ้น

สิ่งสําคัญเลยก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเข้าไปช่วยเขา พ่อแม่ต้องคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน หลายครั้งก็คือเราต้องสูดหายใจเข้าลึกๆ เลย เพราะว่าบางครั้งพอเราคุมอารมณ์เราไม่ได้ มันจะยิ่งทําให้เราใส่อารมณ์เราเข้าไปกับลูกมากขึ้น เลยทําให้อารมณ์เชิงลบของเขามันเกิดนานขึ้น ลองนึกภาพอารมณ์เชิงลบเหมือนไฟ คําพูดหรืออะไรต่าง ๆ น้ําเสียงของเราเข้าไป มันจะเหมือนเรากําลังโยนน้ํามันเข้าไป หรือเราโยนพวกฟืน พวกกระดาษเข้าไป ให้มันยิ่งเผาไหม้มากขึ้น ไฟเวลามันเกิดขึ้นมันต้องดับได้

ดังนั้นเราควรจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ไฟมันเริ่มน้อยๆ ลูกหงุดหงิดอะไรนิดหน่อย จริงๆ ต้องเริ่มรู้แล้วนะครับว่าเป็นยังไง แต่ก่อนที่จะมาถึงอารมณ์เชิงลบ ถ้าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านพอทราบแล้วรู้natureลูกเราอย่างที่เมื่อกี้กล่าว เรื่องของพื้นอารมณ์ เช่น เป็นเด็กที่แบบอะไรนิดนึงก็ไม่ได้ ถ้าเราป้องกันได้ก็จะดี ยกตัวอย่างเช่น สมมติวันนี้เราไปเที่ยวกัน เรารู้เลยว่าไปเที่ยวที่นี่ มันจะต้องมีตัวกระตุ้นตรงนี้ ถ้าสมมติว่าลูกเดินผ่านตรงนี้ ลูกจะต้องอยากได้แน่นอน อย่างนี้ครับเราต้องรู้เขารู้เรา ดังนั้นวันนี้ก่อนออกจากบ้านเราต้องเตรียมการเลยครับ ลูกวันนี้เราจะออกไปข้างนอกไปซื้อของ แล้วก็เราจะแวะไปตรงนี้ๆ ไปถึงนี่เราจะทําอะไรบ้าง เสร็จแล้วเรากินอาหารเสร็จกลับบ้าน วันนี้เราไม่แวะซื้อของเล่นนะ ก็เป็นการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เชิงลบแบบนั้น

สะท้อนอารมณ์ลูก ช่วยลดอารมณ์เชิงลบ

แต่ถ้าเมื่ออารมณ์เกิดขึ้นแล้ว สิ่งสําคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องนอกจากตั้งสติเแล้ว เราจําเป็นที่จะต้องพูดบอกอารมณ์ลูกหรือว่าสะท้อนอารมณ์ อันนี้เป็นคีย์เวิร์ดสําคัญ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ทํางานผมคิดว่าพ่อแม่จํานวนมาก อาจจะไม่ค่อยพูดบอกอารมณ์อย่างนี้กับลูก การพูดบอกอารมณ์ของลูก เช่น ลูกกําลังเสียใจ ลูกโกรธ ลูกหงุดหงิด แต่สิ่งสําคัญคือพ่อแม่ต้องพูดบอกอารมณ์เขาด้วยน้ําเสียงที่ค่อนข้างกลางๆ เพราะลูกสามารถจะจับอารมณ์ความรู้สึกของพ่อแม่ได้หมดมันจะยิ่งทําให้อารมณ์เค้าเกิดขึ้นมากขึ้นได้

การที่เราพูดบอกอารมณ์ของลูกออกมาหรือการสะท้อนอารมณ์ของลูก ไม่ได้แปลว่าจะทําให้อารมณ์ของลูกสงบลงทันที ต้องดูลักษณะนิสัยลูกเราด้วยนะครับ การที่เราพูดอย่างนี้วัตถุประสงค์เพื่อทําให้เด็กรับรู้ได้ว่า พ่อแม่หรือคนเลี้ยงเข้าใจว่าตอนนี้เขารู้สึกอย่างไร ดังนั้นเราก็แค่พูดบอกและสะท้อนอารมณ์ออกมา แต่คุณพ่อคุณแม่บางท่านก็เล่าให้ผมฟังว่า บางทีพอบอกไปลูกยิ่งหงุดหงิดร้องกว่าเดิม แสดงว่าเขาอาจจะไม่ชอบสไตล์แบบนี้ก็ได้ก็แล้วแต่บ้าน บางครั้งเราก็อาจจะพูดให้น้อยลงหรือรอจังหวะและแค่บอกเขานะครับว่า ลูกกําลังโกรธ หงุดหงิดเดี๋ยวลูกอยู่ตรงนี้ก่อน พออารมณ์ดีเราค่อยคุยกันนะ

แต่สิ่งสําคัญที่ผมอยากจะเน้นนะครับว่าเมื่อไหร่ก็ตามลูกมีพฤติกรรมที่เรียกว่าก้าวร้าวโดยแสดงอารมณ์ออกมามากขึ้นแล้วทําร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่นหรือทำลายข้าวของ จําเป็นที่จะต้องช่วยให้เขาสงบให้ได้ไว ถ้าลูกยังเล็กให้จับมือแล้วพูดว่าลูกกัดแม่ไม่ได้ น้ําเสียงนิ่ง ชัดเจน หรือหากกำลังดิ้นโวยวายละวาด บางบ้านถึงขั้นเอาผ้าห่มมาพันตัวลูก คือทําอย่างไรก็ได้ให้เขาสงบ แม้จะดิ้นไปดิ้นมา แต่สุดท้ายถ้าเขารู้ว่าพ่อแม่เอาจริง เขาจะค่อยๆสงบเอง ซึ่งก็ไม่ง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่นะครับ แต่ว่าต้องฝึกเขาเพราะว่าไม่อย่างนั้นถ้าเขาไม่เคยถูกควบคุมแบบนี้จากภายนอกเขาจะไม่สามารถควบคุมตัวเองจากภายในได้ อย่างที่กล่าวไปใน epก่อนหน้านี้

ดังนั้นเวลาเขาโกรธโมโหเขาอาจจะไปทําร้ายเพื่อนหรือไปกัดเพื่อน ถ้าอารมณ์รุนแรงถึงขั้นก้าวร้าวจําเป็นที่จะต้องช่วยให้เขาสงบแล้วพอลูกสงบเสร็จ เราถึงค่อยอธิบายหรือสอน บ้านเราส่วนใหญ่ที่ผมเจอคุณพ่อคุณแม่มักจะชอบสอนหรืออธิบายเยอะมากเลย แต่เวลาที่อารมณ์ไม่พร้อม สมองส่วนอารมณ์ตอนนั้นมันกําลังทํางานเยอะอยู่ สมองส่วนเหตุผลจะยังไม่มา ดังนั้นต้องรอให้สมองส่วนอารมณ์ทํางานได้ดีแล้วก็คุมได้ก่อน แล้วสมองส่วนเหตุผลเขาจะเปิดใจรับฟัง ตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่สอนอะไรเขาก็จะเริ่มฟังมากขึ้น

ช่วยลูกออกแบบวิธีจัดการอารมณ์

พออารมณ์สงบจริงๆ บางคนอาจจะไม่อยากพูดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาเพราะว่าบางคนรู้สึกว่าเหมือนเป็นการกระตุ้นต่อไป แต่ผมคิดว่าเราสามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งนี้ได้นะครับก็คือพอเขาอารมณ์ดีจริงๆ เช่น ผ่านการเล่นอะไรไปค่อยค่อยคุยกัน เช่น เมื่อกี้ลูกโกรธมากเลย ที่ไม่ได้ซื้อของเล่นอย่างที่บอก งั้นครั้งหน้าถ้าลูกโกรธเราทํายังไงกันดีนะ อันนี้ก็เป็นอีกวิธีขั้นตอนต่อๆไปในการที่จะฝึกหรือสอนให้ลูก เรียนรู้ว่าเวลาโกรธ เขาจะรับมือจัดการกับอารมณ์โกรธยังไงบ้าง เช่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะสาธิตว่าถ้าแม่โกรธเรามาเล่นเกมกันดีกว่า ถ้าเวลาพ่อแม่โกรธพ่อแม่ทํายังไงกันบ้าง เช่น นับ1 ถึง 10 แม้ลูกจะยังไม่หายโกรธ เราก็ชมระหว่างทางที่เขากําลังคุมอารมณ์อยู่ หลายครั้งบางทีลูกร้องโวยวายแต่ว่าเริ่มสงบลงก็ชมได้

แต่ต้องบอกว่าเด็กเล็กอายุ3-5ปี บางทีเรายิ่งพูดเหมือนบางคนจะเหมือนเติมเชื้อไฟ ลูกบางคนจะรู้สึกเหมือนว่าเกือบจะได้แล้ว แปลว่าพ่อแม่กําลังมาง้อแล้ว เราต้องเล่นใหญ่อีกนิดนึง ดังนั้นพ่อแม่ต้องรับรู้นะครับว่าบางทีไฟมันไม่ได้ดับสนิทแบบนี้ บางทีพอดับปุ๊บเราพูดไปนิดนึงเหมือนเราจะไปช่วยนะครับ เพราะเด็กบางคนขึ้นแล้วค้างนานลงไม่เป็น พอเราไปช่วยปรากฏร้องขึ้นมาอีกเหมือนเดิม เราก็ใช้หลักการเหมือนเดิมคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อนแล้วค่อยไปจัดการที่ลูก

ปัจจุบันมีหนังสือนิทานเยอะมากเลย เด็กๆโดยเฉพาะวัยที่เขาเริ่มฟังนิทานเยอะๆ เราสามารถจะเอาหนังสือนิทานเหล่านี้มาสอนเขาได้เลย สามารถพูดแล้วก็คุยกัน เพราะว่าในหนังสือนิทานบางทีจะมีวิธีพูดบอก เช่น เวลาโกรธเราทําอะไรได้บ้าง เช่น เป่าลูกโป่งแล้วปล่อยให้มันลอยไป เปลี่ยนเรื่องไปวาดรูประบายสี ปั้นดินน้ํามัน ปั้นแป้งโดว์

เป็นแบบอย่างจัดการอารมณ์

1.พ่อแม่ต้องพัฒนาสติหรือบางคนเรียกว่าเจริญสติของตัวเอง ทุกคนมีเวลา 24ชั่วโมงเท่ากันแต่เราให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆไม่เท่ากัน บางทีแค่เราอยู่เฉยๆไม่ดูโซเชียลไม่อะไร หายใจเข้าออกลึกๆก็ได้ คือแต่ละคนอาจจะมีวิธีการอยู่กับตัวเองแตกต่างกันให้ตัวเองมีช่วงเวลาสงบ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามเรารู้จักตัวเองได้ดีพอทําให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองได้ไว แล้วพอเรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองได้ไว เวลาลูกเกิดอารมณ์อะไรที่ไม่โอเค เราก็เข้าไปจัดการหรือรับมือได้อย่างมีสติมากขึ้นนะครับ

2.เป็นแบบอย่างที่ดี หลายครั้งเลยครับเด็กเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่ บางคนพ่อแม่ก็เป็นสไตล์ขี้งอนไม่ต้องแปลกใจเลยครับ ดังนั้นมันก็คงหลีกเลี่ยงกันได้ยาก เพราะว่าลูกไม้ก็หล่นใต้ต้นอยู่แล้ว ดังนั้นอะไรก็ตามที่คิดว่าไม่ดีก็ไม่ต้องทำให้ลูกเห็น พ่อแม่เองก็สามารถบอกอารมณ์ตัวเองกับลูกได้นะครับ เช่น ตอนที่น้องอารมณ์ไม่ดีแบบนี้แม่ก็อารมณ์ไม่ดีเหมือนกัน แม่เนี่ยขนาดตัวแม่เองเป็นผู้ใหญ่บางทีแม่ยังคุมอารมณ์ยากเลย เพราะฉะนั้นสําหรับน้องเนี่ยแม่คิดว่ายิ่งยากขึ้นเนาะ งั้นเดี๋ยวเรามาช่วยกันดีกว่าว่าเราทํายังไงกันดี

การที่คุณพ่อคุณแม่บอกอารมณ์ของตัวเองกับลูกก็จะทําให้เหมือนเราเป็นตัวอย่างด้วยนะครับว่าเราทํายังไง ดังนั้นเนี่ยเวลาเราอารมณ์ หงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่าง ๆ นอกจากเรามีสติเรารับมือกับอารมณ์ได้ดีคุณพ่อคุณแม่ต้องทําให้เห็นนะครับว่าเราจะต้องทําอย่างไรได้บ้าง ที่จะไม่แสดงออกทางอารมณ์ที่รุนแรงให้ลูกเห็น

3.ไม่ลงโทษลูกด้วยความรุนแรง หลายครั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นเนี่ยมันไม่ได้เกิดจากการตีอย่างเดียวหรือทําร้ายลูกอย่างเดียวแต่ว่ามันเกิดจากคําพูดยิ่งเราโกรธคําพูดเรา บางทีมันเชือดเฉือนยิ่งทําร้ายมาก บางทีบาดแผลกายหายแล้วแต่บาดแผลทางใจมันยังคงอยู่ตลอดไป ซึ่งหลายๆ ท่านก็คงไม่ได้อยากเห็นลูกเรา จําเราได้ในด้านไม่ดี ซึ่งตรงนี้มันไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเป็นนางฟ้าตลอดเวลาสําหรับลูก แต่ว่าอย่างน้อยเราควรจะมีโมเมนต์ที่ดี มากกว่าโมเมนต์ที่ไม่ดี มันไม่มีทางเป็นไปได้ที่เราจะมีโมเมนต์ที่ดีทั้งหมด แต่อย่างน้อยมีโมเมนต์ที่ดีกับมากกว่าไม่ดี อย่างน้อยมันก็เป็นต้นทุนที่จะทําให้ลูกรับรู้ได้ว่า เวลาเขาไม่พอใจ หงุดหงิด โมโหต่อไปเขาจะมาหาใครได้บ้าง ดังนั้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่กับลูก เป็นเกราะป้องกันเลยสําหรับการเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ต่อไปในอนาคต

พ่อแม่จัดการอารมณ์ได้ดีเกราะป้องกันเมื่อลูกเป็นวัยรุ่น

โดยธรรมชาติวัยรุ่นต้องการค้นหาอัตลักษณ์ของตัวเองว่าจะพัฒนาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ดังนั้นเป็นธรรมชาติที่เขาจะต้องไปหาเพื่อนติดเพื่อนมากกว่าติดพ่อแม่ ดังนั้นเขาจะค่อยๆ เรียนรู้ไปว่าเพื่อนคนนี้เป็นยังไง คนนี้นิสัยเป็นยังไง ถ้าเรายิ่งสนิทกับลูกมากตั้งแต่ตอนเล็กๆ มีอะไรเขาก็จะกล้ามาเล่าให้เราฟัง ซึ่งอันนี้เป็นจังหวะที่ดี แม้กระทั่งขับรถรถติด แล้วลูกเล่าเรื่องเพื่อน เราก็ฟัง เป็นยังไงบ้างล่ะลูก แล้วลูกคิดว่ายังไง จริงๆ การworkกับลูกวัยรุ่นเนี่ยง่ายมากเลยฟังให้เยอะแล้วตัดสินให้น้อย พยายามอย่าไปตัดสินคือควรจะต้องเข้าไปอยู่ในโลกของลูกด้วย เทรนด์อะไรใหม่ๆ เราก็ฟังกับเขาไปด้วยจะทําให้ลูกเปิดใจมากขึ้น

เมื่อเกิดอารมณ์เชิงลบอย่ามองว่าเป็นศัตรูของลูก คนเราทุกคนลองนึกภาพของตัวเรากว่าคนเราจะเติบโตมาถึงขั้นนี้เราต้องเจอทั้งอารมณ์เชิงบวกเชิงลบ การที่เรารับมือกับอารมณ์เชิงลบได้ดีเราได้ทําให้ลูกเรียนรู้ในชีวิตจริงนะ เพราะชีวิตจริงเราต้องเจอกับสิ่งที่ผิดหวัง เสียใจ ไม่ได้ดั่งใจ หงุดหงิด อะไรต่างๆ ยิ่งถ้าลูกเรียนรู้รับรู้อารมณ์ตัวเองได้ไว แล้วเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มันจะยิ่งทําให้เขาเนี่ยสามารถค่อยๆ เติบโตมากขึ้น มีภูมิต้านทานทางด้านทางจิตใจหรืออารมณ์ มันต้องผ่านการฝึกฝนโดยเขาแค่อาศัยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูที่เปรียบเสมือนเขาเรียกเป็นนั่งร้าย เป็นโครงสร้างที่คอยค้ําจุนพยุง เพื่อไม่ให้โครงสร้างนั้นมันหล่นลงมา

ไม่จําเป็นที่เวลาลูกเผชิญกับความไม่โอเค ไม่พอใจแล้วเราต้องเข้าไปช่วยจัดการทุกอย่างเพราะสุดท้ายแล้วลูกก็สามารถเรียนรู้จัดการด้วยตัวเองได้ระดับหนึ่ง แล้วเราควรจะต้องชื่นชมยินดีกับเขาด้วย เราเองมีหน้าที่รับฟังและอาจจะช่วยเติมในจุดที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้เพื่อทําให้ลูกเรียนรู้ที่จะคิดถึงวิธีต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นเนี่ยครับเราเป็นแค่นั่งร้านแต่สุดท้ายลูกจะภูมิใจนะครับ สิ่งสําคัญคือลูกจะภูมิใจว่า ฉันเองก็สามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ แล้วเด็กที่มีภูมิต้านทานแบบนี้ผมคิดว่า เขาจะห่างไกลจากพวกโรคหรือภาวะที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล

เช็กเบื้องต้นลูกมีปัญหาด้านอารมณ์ คีย์หลักๆ คือถ้าลูกเบื่อไม่อยากทําอะไรที่เคยอยากทําเหมือนเดิม เช่น ลูกชอบวาดรูป เล่นกีฬา แต่จู่ๆ ไม่อยากเล่น เบื่อ แสดงว่าลูกอาจจะถึงขั้นที่ อาจจะมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ หรือลูกมีอารมณ์เศร้า ซึ่งแบบนี้พ่อแม่ต้องพอจะรู้แนวโน้มว่าลูกมีลักษณะพื้นฐานเป็นอย่างไร ถ้าเมื่อไรก็ตามลูกแบบเก็บตัว อยากอยู่คนเดียว เศร้าหรือถ้าอารมณ์เศร้าอาจจะสังเกตยาก แต่เขาจะมาด้วยอารมณ์หงุดหงิด อะไรนิดหน่อยก็ขึ้นง่าย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะรีบพาไปปรึกษาคุณหมอ

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.100 : สร้างสมดุลฮอร์โมนให้ลูก ก่อนลูกแก่เกินวัยและเติบโตช้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.100 : สร้างสมดุลฮอร์โมนให้ลูกก่อนลูกแก่เกินวัยและเติบโตช้าเกินไป 

 

“ทำไมลูกมีประจำเดือนเร็ว ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ กินก็เยอะทำไมไม่อ้วน ลูกดูไม่ค่อยแข็งแรง อ่อนเพลียง่าย” รู้ไหมว่าอาการเหล่านี้เป็นผลลัพธ์จากการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล แล้วจะทำให้ฮอร์โมนทำงานสมดุลได้อย่างไร เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างสมวัย

ฟัง The Exeprt พญ.นวลผ่อง เหรียญมณี
กุมารเวชศาสตร์ โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลพญาไท 2

รู้จักฮอร์โมนไทรอยด์

มีฮอร์โมนที่สําคัญกับการเจริญเติบโตของเด็กมีสามตัว ได้แก่ 1.ฮอร์โมนเพศ 2.ฮอร์โมนไทรอยด์ 3.โกรทฮอร์โมน สำหรับEPนี้ทำความรู้จักกับฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสําคัญกับการเจริญเติบโตของเด็ก ได้แก่ 1.การพัฒนาทางด้านสมองของเด็ก 2. การพัฒนาทางด้านร่างกาย 3.ระบบการเผาผลาญก็เกี่ยวข้องนะคะ ฮอร์โมนตัวนี้ทําให้การเผาผลาญของร่างกายเป็นไปด้วยดี แต่ก็มีโรคหรืออาการที่เกิดจากไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษเด็กจะมีอาการตาบวม ตาโปน คอโต บางทีมาด้วยปัญหาเรื่องสมาธิสั้นไฮเปอร์แอคทีฟ และอีกอย่างคือกินเยอะแต่น้ำหนักไม่ขึ้น กินแล้วผอมเหมือนที่เขาบอกว่ามีไทรอยด์อ้วนกับไทรอยด์ผอม หรืออาจจะมีอาการท้องเสีย เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สนิท เช็กลิสต์เบื้องต้นที่พ่อแม่อาจจะนำไปเช็กได้แก่ นอนน้อย นอนไม่หลับหลับไม่สนิท สมาธิสั้น เหนื่อยง่าย ใจสั่น กินจุแต่น้้ำหนักไม่ขึ้น ถ้าสังเกตว่าลูกมีอาการเหล่านี้ สามารถพามาพบคุณหมอเพื่อเช็กเรื่องไทรอยด์เป็นพิษ

สำหรับเรื่องฮอร์โมนจะต้องมีความสมดุล ถ้าเยอะก็ไทรอยด์เป็นพิษ แต่ถ้าน้อยไปก็เป็นกลุ่มของไทรอยด์ต่ำ อาการก็จะตรงกันข้ามคือ กินเยอะแต่อ้วน เนือยๆไม่active ท้องผูก นอนเยอะ ดูอ้วนๆ ฉุๆ แต่ว่าทั้งสองกลุ่ม พ่อแม่จะสังเกตเห็นชัดว่าทําไมลูกเราคอโตจังหรือที่เขาเรียกว่าคอพอก อาการแบบนี้ก็จะเจอได้ทั้งสองกลุ่ม ซึ่งต่อมไทรอยด์จะเป็นต่อมที่อยู่ใต้ผิวหนังนี้บริเวณคอเป็นลักษณะรูปผีเสื้อ พอมีความผิดปกติมันก็จะบวมโตขึ้นมา ซึ่งถ้ารุนแรงมากอาจจะดูโตแบบทั้งคอแต่ถ้าไม่มาก พอเงยคอขึ้นมาก็จะสังเกตเห็นได้

ไทรอยด์เป็นพิษ

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษจะใช้ยาเป็นหลัก ทั้งการกลืนแร่รังสีและผ่าตัด สำหรับการกลืนแร่รังสีจะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่เด็กที่อายุมากกว่า10ปีขึ้นไป ส่วนการผ่าตัดอาจจะต้องดูเป็นกรณี เพราะจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ส่วนการรักษากลุ่มของไทรอยด์ต่ำ มีวิธีรักษาแบบเดียวคือให้ยากินฮอร์โมนไทรอยด์เสริม เด็กบางคนอาจจะกินแต่ช่วงระยะสั้น แต่บางคนก็ต้องกินยาไปตลอดชีวิต ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มที่ร่างกายสร้างต่อมไทรอยด์ไม่ได้และเป็นมาตั้งแต่กําเนิด

สาเหตุที่ต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติเกิดจากการภูมิต้านทานของร่างกายเข้าไปทําลายทำให้สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่ได้ อย่างที่เราคุ้นเคยกับคําว่าภูมิต้านทาน ทําร้ายเซลล์ของร่างกาย สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นคือต้องทำให้ฮอร์โมนสมดุล ร่างกายมีความสมดุล พักผ่อนดี ออกกําลังกายดี กินอาหารครบถ้วน และให้หลากหลายร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล และถึงแม้ว่าเด็กคนนั้นจะมีความเสี่ยงอยู่ที่จะเป็นโรคไทรอยด์ แต่ความเสี่ยงอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบกับเด็กมาก ถ้าสามารถรักษาภาวะสมดุลได้

ภาวะการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ตั้งแต่กําเนิดเป็นเรื่องที่สําคัญมาก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายคัดกรองทารกแรกเกิดทุกคนว่ามีการขาดฮอร์โมนตัวนี้ไหม ดังนั้นจะเห็นว่าหลังคลอด 2วันแรกเด็กจะโดนเจาะส้นเท้าเพื่อตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน เพราะถ้าขาดและเสริมฮอร์โมนให้ได้ภายใน2สัปดาห์แรก สมองเด็กก็ได้รับ ฮอร์โมนไทรอยด์พัฒนาไปได้ปกติ

รู้จักฮอร์โมนเพศ

ฮอร์โมนเพศทำหน้าที่แบ่งแยกเพศหญิงเพศชาย ฮอร์โมนเอสโตรเจนทําให้เกิดลักษณะเพศหญิง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทําให้เกิดลักษณะของเพศชาย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ฮอร์โมนมาเร็วมาเยอะก่อนเวลาที่ควรจะเป็นทําให้เกิดภาวะที่เรียกว่าเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ในช่วงแรกจะเห็นว่าเด็กโตดีโตเร็วสูงกว่าเพื่อน แต่ปรากฎคือกระดูกโตไปมากแล้วอีกไม่นานกระดูกปิด ทําให้ตอนหลังความสูงหยุดก่อนเพื่อน กลายเป็นตัวเตี้ยกว่าเพื่อนและเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็นตามพันธุกรรม และพอเราโตเร็วเป็นสาวเร็วแต่ใจเรายังเป็นเด็กก็กระทบต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมและจิตใจของเด็ก ในแง่ของเรื่องอารมณ์อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดเพราะยังควบคุม อารมณ์ได้ไม่ดีนัก คือร่างกายมันไม่ไปกับพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และเสี่ยงต่อการถูกการละเมิดทางเพศ เพราะยังป้องกันตัวเองไม่ได้

สาเหตุเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

หลังช่วงโควิดที่ผ่านมามีความชัดเจนขึ้นว่าเด็กเป็นสาวเร็วขึ้นเกิดจากความสมดุลนั่นเองค่ะ คือการที่มีฮอร์โมนเร็วมีจาก 2ปัจจัย 1.เด็กสมบูรณ์มากไป คือมีภาวะอ้วน และ2.ฮอร์โมนไม่สมดุล และส่วนน้อยคือต้องระวังเรื่องโรคที่มีเนื้องอกที่ต่อมไร้สมองมากระตุ้นทําให้เกิดฮอร์โมนเพศหญิงชายเร็วขึ้น ส่วนการรักษา เริ่มต้นก็จะต้อง MRIสมองเพื่อดูว่ามีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองไหม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของเนื้องอกซึ่งก็รักษาไปตามนั้น และเรื่องการมีภาวะอ้วนหรือฮอร์โมนไม่สมดุลก็ต้องปรับเปลี่ยนนิสัยลูกและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และหากคุณหมอประเมินแล้วว่าความสูงสุดท้ายได้น้อยก็มียาควบคุมฮอร์โมนไว้ก่อน ลดฮอร์โมนลงให้สมกับวัย เพื่อให้กระดูกก็จะไม่แก่เร็วไม่ปิดเร็ว ทําให้ความสูงสุดท้ายไปได้ดีขึ้นตามศักยภาพของเด็ก

ซึ่งการดูความสูงน้ําหนักตั้งแต่เด็กมีประโยชน์มาก หมั่นสังเกตน้ำหนักและส่วนสูงของลูก วิธีสังเกตคือ สำหรับเด็กผู้หญิงส่วนสูงจะขึ้นเร็วมากประมาณช่วงอายุ 10ปี และเด็กผู้ชายอายุ 13ปี แต่หากก่อนหน้านี้สูงเร็วมากก็อาจจะต้องคอยสังเกต สมมติว่าลูกอายุ 5ปี เขาควรจะสูงที่ 120ซม. แต่ก็สูงขึ้นมาทันที อาจจะสูงทีละ 5-10ซม. เพราะโดยปกติเด็กจะสูงขึ้นประมาณ 4-6ซม.ต่อปี แต่พอมีฮอร์โมนเพศอัตราส่วนสูงจะขึ้นเป็น 10ซม.ต่อปี พ่อแม่ก็ต้องคอยสังเกตและอาจจะพามาพบคุณหมอ ซึ่งฮอร์โมนเพศของเด็กผู้หญิงจะมาช่วงอายุ 10ปี เด็กผู้ชายจะมาตอนอายุ 13ปี

ฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัย10-13ปี อาจจะกลับมาดูกราฟของเราได้ว่ากำลังสูงเกินไปหรือเปล่าหรือเตี้ยเกินไป ซึ่งภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย เนี่ยเขาตัดเกณฑ์กันที่อายุ 8ปี ถ้าโตเร็วฮอร์โมนจะมาเร็วในช่วง 7-8ปี กราฟพุ่ง หรือเด็กผู้ชายจะตัดเกณฑ์กันที่อายุ9ปี แต่ถ้าอายุ 8-9ปี แล้วทำไมดูโตเร็ว หน้ามัน เริ่มมีสิวก็ต้องเริ่มเอ๊ะ ว่าฮอร์โมนเพศมาเร็วหรือเปล่า

เมื่อมาที่โรงพยาบาลหมอจะตรวจร่างกาย เด็กผู้หญิงดูว่าหน้าอกนั้นเป็นจากเต้านมหรือว่าเป็นแค่ไขมันอ้วน หน้ามันมีสิวไหม มีขนฮอร์โมนขึ้นไหม โดยเฉพาะรักแร้กับหัวหน่าว หรือการเอกซเรย์อายุกระดูก ถ้ากลุ่มที่มีฮอร์โมนอายุกระดูกก็จะเร็วกว่าอายุจริงไปเกิน1-2ปี และสุดท้ายก็คอนเฟิร์ม โดยการวัดฮอร์โมนจากเลือด

สอบถามเพิ่มเติม โปรแกรมตรวจภาวะเด็กเติบโตช้าโปรแกรมตรวจคัดกรองโรคอ้วนในเด็ก 02-617-2444 ต่อ 3219, 3220 รพ. พญาไท 2

แนะนำทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านต่อไร้ท่อและเมตาบอลิซึม รพ. พญาไท 2

พญ. นวลผ่อง เหรียญมณี นพ.ไพรัช ไชยะกุล พญ. ณัฐกานต์ นำศรีสกุลรัตน์

FB @Phyathai2Hospital
Line: @Phyathai 2 , @parenting_school

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.101 : รู้จักโกรทฮอร์โมน….ต้นเหตุทำเด็กเติบโตช้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.101 : Growth Hormone ฮอร์โมนสำคัญของเด็ก 

 

“โกรทฮอร์โมน” ฮอร์โมนสำคัญมากกว่าแค่ลูกโตไว โตช้า โตไม่สมวัย แต่เป็นต้นทางของการทำงานในร่างกายทุกส่วน จะทำอย่างไรให้โกรทฮอร์โมนสมดุล

 ฟัง The Expert พญ.นวลผ่อง เหรียญมณี

กุมารเวชศาสตร์ โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลพญาไท 2

รู้จัก Growth Hormone

Growth Hormone คือฮอร์โมนการเจริญเติบโตเป็นฮอร์โมนแห่งการสร้าง ช่วยสร้างเซลล์ ทําให้เซลล์กระดูกเติบโตเด็กสูง ทําให้เซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงเด็กมีกําลัง ทําให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงการทํางานของหัวใจดี นอกจากนี้โกรทฮอร์โมนยังช่วย สร้างน้ำตาลด้วยทําให้ตับสร้างน้ำตาล ปล่อยน้ำตาลออกมาในกระแสเลือดทําให้เซลล์ต่างๆ ได้พลังงานจากน้ำตาลเซลล์ก็ทํางานดี ช่วยทำให้เกิดการสร้างพลังงานจากการสลายไขมัน

การที่ Growth Hormone จะทำงานได้ดีต้องมี 3 เรื่องสำคัญได้แก่

1. อาหารต้องครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะกลุ่มโปรตีน ซึ่งจะไปกระตุ้นการสร้าง Growth Hormone แต่ทุกอย่างต้องพอดีไม่มากเกินไป Growth Hormone ก็จะออกได้น้อย เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องกินแบบพอเหมาะตามวัย

2. ออกกําลังกายอย่างเพียงพอ ครั้งละ 30-60 นาที แนวของแอโรบิก ประมาณ 5-7 วันต่ออาทิตย์

3. การนอน Growth Hormone จะออกมาช่วงที่เราหลับสนิท ซึ่งแต่ละวัยก็ควรจะนอนให้เหมาะสมกับวัยด้วยค่ะ อายุ 3-6 ปี นอนประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน อายุ 6-10 ปี นอนประมาณ 8-9 ชั่วโมงต่อวัน ช่วงมัธยม-ผู้ใหญ่นอนประมาณ 6-7 ชั่วโมงต่อวัน

Growth Hormone ไม่สมดุลกระทบกับสุขภาพ

คําว่าไม่สมดุลเราแบ่งเป็น ถ้ามันเยอะเกินกับน้อยเกิน สำหรับเด็กจะเจอแบบที่น้อยเกินไปมากกว่า ทำให้เด็กโตช้ากว่าเพื่อน กล้ามเนื้อต่างๆ พัฒนาไม่ค่อยดี โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อาจจะไม่แข็งแรงเท่าเพื่อน โครงสร้างกระดูกพัฒนาช้าลักษณะภายนอกที่เห็นได้คือหน้าจะกลมๆ เล็กๆ ถ้าพูดกันตามวิชาการเด็กกลุ่มนี้จะหน้าเหมือนตุ๊กตา พอโตขึ้นไปแล้วยังไม่มี Growth Hormone จะมีผลกับคอลลาเจนและผิวเหี่ยวเร็ว นอกจากนี้ Growth Hormone ยังเกี่ยวกับการสร้างน้ำตาล อาการที่เกิดขึ้นได้จั้งแต่แรกเกิด คือเด็กอายุ 1 เดือนมีอาการชัก น้ำตาลต่ำ พอตรวจก็เจอภาวะ Growth Hormone ต่ำ ซึ่งส่งผลกับสมองใช้พลังงานไม่ได้ทำให้ IQ ต่ำ รวมถึงเด็กกลุ่มนี้ก็จะค่อนข้างแบบอ้วนหน่อยๆ เพราะอย่างที่บอกว่า Growth Hormone ช่วยสลายไขมัน ถ้าสลายไขมันได้ไม่ดีก็จะทำให้ดูอ้วน กลม เตี้ย เนื้อนิ่มๆ

รักษา Growth Hormone 

การรักษาต้องเป็นแบบฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังฉีดทุกวัน แต่ตอนนี้กําลังพัฒนาชนิดที่ฉีดสัปดาห์ละหนึ่งครั้งแต่ยังไม่เข้ามาในประเทศไทย ส่วนที่โฆษณาว่าเป็น Growth Hormoneชนิดกิน ต้องบอกว่าเป็นลักษณะพวกโปรตีน เพราะอาหารกลุ่มโปรตีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกาย สร้างโกรทฮอร์โมนต่อ ถามว่าพูดผิดไหมก็ไม่ผิดแต่เป็นการก้าวข้ามบางประโยคไปว่าเป็นสารอาหารที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง Growth Hormone ได้เพียงพอมากกว่า แต่ก็อาจจะเป็นช็อตสั้น ๆ ว่าเป็น Growth Hormone ชนิดรับประทาน แต่ไม่ได้พูดคําว่ามันเพียงพอ หรือมันจะมีผลอะไรแต่ว่ามันเป็นในรูปแบบของโปรตีนมากกว่า หากถามว่าเด็กสามารถกินได้ไหม สำหรับเด็กที่กินอาหารได้ดีแล้วการเสริมเข้ามาอาจจะไม่ได้ช่วย มันก็เป็นสิ่งที่เกินจําเป็น แต่ถ้าเด็กคนไหนที่กินยากจริงๆ แล้วจะเสริมด้วยโปรตีนเสริมก็ไม่มีผลกระทบ แต่ต้องดูว่ามีอย.และเด็กสามารถใช้ได้ไหม และควรปรึกษาคุณหมอของลูกด้วยก็ได้

เพราะการที่ได้รับฮอร์โมนเยอะเกินไปด้วยความที่เป็นฮอร์โมนแห่งการสร้างการเติบโตของเซลล์ถ้ามันเยอะเกินไป อาจจะทำให้เกิดเซลล์เติบโตมากผิดปกติ แล้วเป็นเนื้องอก หรือถ้าหากกินเราก็อาจจะต้องตรวจวัดระดับฮอร์โมนในเลือดว่าพอดีเปล่าเพราะถ้าให้มากไปก็ล้นเป็นข้อเสีย แล้วก็มีอีกหนึ่งวิธีสังเกตตั้งแต่แรกเกิดเลยคือ พ่อแม่สังเกตว่าทําไมลูกชายอวัยวะเพศเล็กหรือสั้นจัง ซึ่งคุณหมอก็จะเช็กระดับโกรทฮอร์โมน ว่ามันมาจากโกรทฮอร์โมนต่ําหรือว่ามันเป็นภาวะที่มันเกิดขึ้นตามวัยของเด็กหรือมีภาวะอื่นด้วย

ถ้าหาก Growth Hormoneสูง เด็กจะโตเร็วโครงสร้างของกระดูกใหญ่ ตัวสูง มือจะดูหนาๆใหญ่ๆ แต่ก็อาจจะไม่ได้มีแสดงออกของเรื่องฮอร์โมนเพศ เรื่องสิว เต้านม นอกจากจะโดนเพื่อนล้อแล้วอีกประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ Growth Hormone ทําให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเติบโต การมีฮอร์โมนเยอะก็ทำให้หัวใจต้องทํางานมากไปทำให้หัวใจโต หัวใจวายได้

ซึ่งการรักษาคือเจาะวัดระดับ Growth Hormone ในเลือดหรือMRI เพื่อดูว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นไหมมีขนาดเท่าไหร่ถ้ามีก็อาจจะต้องตัดออก ซึ่งที่โรงพยาบาลพญาไท2 มีโปรแกรมการตรวจวัดระดับ Growth Hormone ก็เป็นจุดสําคัญเบื้องต้นที่ทำให้รู้ว่าขาด Growth Hormone หรือเปล่า ซึ่งตรวจได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี

สำหรับการดูแลสุขภาพต้องมีพื้นฐาน 3 ข้อค่ะ ได้แก่เรื่อง 3 อ. ได้แก่ อ. แรกคือ เรื่องอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ก็คือการนอนเร็วก็จะช่วยให้เด็กอารมณ์ดี และก็ทำให้ฮอร์โมนสมดุลด้วย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.102 (Rerun) : ชวนพ่อแม่ “รู้” และ “เท่าทัน” สื่อ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.102 : ชวนพ่อแม่ "รู้" และ "เท่าทัน" สื่อ

 

รับมือเมื่อลูกเข้าสู่โลกดิจิตอล พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันอย่างไร

 

ฟัง The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เพื่อให้เรารู้เทคนิค วิธีการที่จะรับมือกับทั้งสื่อ จอ และ Content หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน

  

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.103 (Rerun) : ภัยร้าย RSV

 รักลูก The Expert Talk Ep.103 : ภัยร้าย RSV

 

RSV ไม่ใช่แค่โรคหวัดแต่อาการรุนแรงมากกว่า เด็กรับเชื้อได้ง่ายกระทบระบบทางเดินหายใจ

มารู้จักและรับมือเจ้าเชื้อไวรัส RSV รับมือก่อนอาการรุนแรง

 

ฟัง The Expert รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์

รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม

 

RSV สาเหตุเกิดจากอะไร

RSV เกิดจากเชื้อ ไวรัส RSV Respiratory Syncytial Virus เหมือนการติดเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจทั่วไป RSV มักจะเกิดการติดเชื้อในเด็ก และความรุนแรงตั้งแต่เป็นหวัดเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรง เช่น มีอาการลามไปที่แขนงถุงลมของปอดแล้วลงไปถึงเนื้อปอด ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการหอบ เวลาที่เราเห็นเด็กเป็นหวัดแล้วมีอาการไอมาก หายใจมีเสียงหวีดๆ

พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น RSV หรือโรคหอบ

จริงๆ แล้วบอกได้ยาก สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 1ปี เพราะในครั้งแรกอาจจะเกิดจาก RSV แต่ถ้าเป็นหอบจะมีอาการซ้ำๆ หลายครั้ง ครั้งแรก RSV กระตุ้นให้เกิดอาการ ครั้งต่อไปบริเวณของหลอดลมที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ก็อาจจะมีความไวมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าเจอเชื้ออื่นๆ หรือมีอาการอื่น เช่น มีฝุ่นละอองกระตุ้นให้เกิดมีอาการภูมิแพ้ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการหอบได้

ช่วงอายุที่เป็นมากที่สุดและอาการรุนแรง

อายุน้อยกว่า 1ปี อาการจะค่อยๆรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอาการรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจากจำนวนตัวเชื้อที่ติด ร่างกายเด็กไม่ค่อยแข็งแรง สุขภาพไม่ดี การดูแลของพ่อแม่ช่วงที่เป็นโรคดูแลได้ไม่ค่อยดี ก็อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงของโรคได้ ซึ่ง RSV เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ การป้องกันเรื่องที่ดีที่สุดและมีความสำคัญ

ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด RSV

1.เด็กอายุน้อยกว่า 1ปี มีโอกาสเป็นมากขึ้น

2.เด็กที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เป็นโรคเรื้อรัง

3.เด็กที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคหัวใจ โรคปอดที่มีแผลในปอด ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพราะช่วงที่มีการระบาดเชื้อก็ล่องลอยในอากาศ ทำให้ติดเชื้อได้

สังเกตอาการ RSV

ดูอายุของเด็กน้อยกว่า 1 ปี อยู่ในช่วงระบาด มีอาการที่หลอดลมฝอย หลอดลมมีอาการตีบ อักเสบ เนื้อปอดอักเสบก็มีอาการ RSVได้เยอะ ซึ่งก็ดูจากอาการ หากติดไม่รุนแรงจะไม่แยกจากการติดเชื้ออาการอื่นๆ เพราะการดูแลรักษาเหมือนกัน

อาการรุนแรงของRSV

การติดเชื้อไวรัสทุกชนิด ทิศทางการดำเนินของโรคใกล้เคียงกัน เวลาที่มีความรุนแรงนอกจากระบบทางเดินหายใจแล้ว

หากรุนแรงมากขึ้นจะเลือกที่ไปขึ้นส่วนบน อาการแทรกซ้อน เช่น จากที่เป็นหวัดแถวๆ ลำคอ มีน้ำมูกในลำคอ อาจจะทำให้เกิดไซนัส อักเสบ หูอักเสบ สูงไปอีกอาจจะไปถึงสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ลงส่วนล่างหรือไปที่แขนงปอดและเนื้อปอด ถ้าลงมาแล้วถึงหัวใจก็อาจจะเป็นหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ลักษณะการติดเชื้อไวรัสจะมีทิศทางคล้ายๆ กัน

วิธีการรักษาRSV

รักษาตามอาการ เพราะเซื้อไวรัสส่วนใหญ่ไม่มียารักษายกเว้นไวรัสบางชนิด รักษาตามอาการคือ มีน้ำมูก เด็กเล็กจะไม่ให้ยาลดน้ำมูก ล้างจมูก หากเป็นมากๆ แล้วเป็นเด็กโตก็อาจจะให้ยาลดน้ำมูก

ได้รับน้ำเพียงพอ การได้รับน้ำเพียงพอจะช่วยลดอาการไข้ ทำให้เสลดไม่เหนียวและขับเสมหะได้ด้วย เช็ดตัวบ่อย ดูแลตามอาการ ถ้ามีอาการหอบหืด เช่น แขนงหลอดลมมีอาการตีบ หมออาจะให้ยาขยายหลอดลมช่วย หรือถ้าปอดอักเสบก็จะรักษาปอดอักเสบด้วย เป็นการรักษาตามอาการ

เกิดเป็นโรคระยะยาว

เด็กที่เป็น RSV มีโอกาสเป็นโรคระยะยาว หากลงไปที่แขนงหลอดลมฝอยหรือว่าลงไปที่เนื้อปอด หายได้แต่ไม่สนิทจะมีรอยแผลที่ปอด เมื่อมีการกระตุ้น เช่น ติดเชื้อครั้งถัดไปหรือว่าอากาศเปลี่ยน มีฝุ่นกระตุ้นทำให้เกิดความไวมากขึ้น เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด

เพราะบางทีการหายไม่สมบูรณ์ ผนังทางเดินหายใจอาจจะมีแผล เมื่อมีเชื้อโรคก็เกาะง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น มีโอกาสหายขาดเมื่อโตขึ้น แข็งแรงขึ้น ไม่ติดเชื้อซ้ำร่างกายก็จะเยียวยาตัวเอง

ค่ารักษาพยาบาลหากต้องนอนรพ.

โดยทั่วไปเมื่อมีอาการน้อยๆ ดูแลที่บ้านได้ ไม่มีอาการแทรกซ้อน สามารถดูแลที่บ้านได้ แต่เมื่อลูกป่วย การจะออกไปทำงานนอกบ้านก็จะห่วงลูก และเด็กเวลามีไข้การกินยาก็ไม่ค่อยลด ยิ่งช่วงแรกๆ ของการเกิดไข้ ต้องใช้การเช็ดตัวช่วย พอตัวแห้ง ไข้ก็กลับมาอีก

เวลาที่เด็กเป็นไข้ กินยาแล้ว เช็ดตัวแล้ว ทำไมไข้ไม่ลง เพราะได้น้ำไม่เพียงพอ เพราะเวลาที่ลูกไม่สบายก็จะกินอาหารและดื่มน้ำน้อยลง จะเห็นว่าเวลาอยู่บ้านไข้ไม่ลง แต่พอไปรพ.คืนเดียวไข้ลงเลย เพราะการขาดน้ำทำให้ไข้ไม่ลง แต่ถ้าอยูบ้านแล้วกินน้ำมากพอ ก็จะช่วยให้ไข้ลง แต่เวลาที่ป่วยก็ไม่อยากกินอะไร ทำให้เป็นภาระกับพ่อแม่ เป็นมากขึ้นก็ต้องนอนรพ. ใช้เวลาไม่เกินสัปดาห์อาการก็จะหายดี

การป้องกัน RSV

ถ้ารู้แล้วว่าเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ คือไม่สัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ป่วย สำหรับผู้ใหญ่เวลาติดไวรัส อาการไม่ค่อยรุนแรงเพราะเราป่วยกันมาเยอะแล้ว

1.ลดการสัมผัส การพาลูกไปที่อากาศปิด ไปเดินห้าง ดูหนัง คนเยอะ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ

2.ดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบถ้วน อาหารตามวัย มีนมเป็นอาหารเสริม ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ

3.ดูแลสุขอนามัย ล้างมือเป็นประจำ

4.ใส่หน้ากากอนามัย สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 2ปี เพราะตั้งแต่ใส่หน้าการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสลดลง

  

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.104 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่สำลักความรัก จนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.104 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว ไม่สำลักความรักจนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง

รักมากไปทำร้ายลูก? รักจนสำลักความรัก ประคบประหงมจนไม่ให้ลูกทำอะไร ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก แต่มากไปก็ทำลายลูก

 The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เลี้ยงประคบประหงม เด็กป่วยได้ง่าย (Munchausen Syndrome by Proxy)

เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเลี้ยงดูและดูแลสุขภาพแต่มีประเภทที่เยอะเกินไป มีเคสที่ลูกตกเตียงซึ่งอยู่กับพี่เลี้ยงตกตอนเที่ยงแต่พอตกเย็นก็พาลูกมาที่รพ. ให้หมอเช็กอย่างละเอียดเพราะว่ามีลูกคนเดียวและแม่ก็อ่านมาแล้วว่าเลือดที่ซึมออกมาจากในสมองมันจะไม่มีอาการ แต่อยากให้หมอรับรอง100% ว่าลูกไม่มีปัญหา หมอถามว่าเกิดอะไรขึ้น ความจริงคือเด็กตกเบาะเลี้ยงเด็กซึ่งกลิ้งแล้วหัวกระแทกพื้นไม่ปาร์เก้ลูกตกใจ ร้องไห้ เสร็จแล้วก็เล่นปกติ แต่ว่าแม่ไม่ไว้ใจ และอยากให้ทำMRI ซึ่งการทำกับเด็ก 9เดือนไม่ได้ง่าย แต่ด้วยความที่มีลูกคนเดียวและไม่พลาดไม่ได้เลยขอให้แม่ยืนยันซึ่งไแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย

การทำMRIเด็กต้องนิ่งมากซึ่งทางเดียวที่จะทำคือเพื่อให้เด็กหลับ แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดว่ามีปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็อาจจะต้องดมยา พอแม่ได้ยินก็บอกหมอว่าเต็มที่ไม่อั้นแต่คนเจ็บตัวคือลูก ลักษณะแบบนี้คือ Munchausen Syndrome by Proxy เครียดมากและวิตกกังวลมาก อาจจะมาจากการเห็นคนในบ้านป่วยจากประสบการณ์เดิม จึงตรวจหาความเสี่ยงของลูกทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพที่เยอะเกินไป

อีกเคสคือย่าเป็นมะเร็งไตแล้วเสียชีวิต แม่ต้องการทำRenal scan (การตรวจสแกนไต) ซึ่งทำไม่ได้ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้แม่ก็ไปเอาน้ำแดงมาผสมในปัสสาวะ แล้วให้หมอตรวจคือสำหรับหมอตรวจไม่ยากว่าเป็นน้ำแดงหรือเลือด แบบนี้คือทำให้เกิดเครียด วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ เครียดแล้วมาลงที่ลูก ผลที่เกิดกับลูกคือเกิดความหวาดระแวงไปกับแม่ ลูกซึมซับความหวาดระแวงจากแม่นี่คือในแง่ของสุขภาพ ลูกกังวล เครียดมาก

เลี้ยงแบบเร่งรัด เด็กต่อต้าน (Overstimulation)

ตอนนี้มีปัญหาเยอะเพราะด้วยระบบแพ้คัดออก เรียนทุกวัน ตื่นตั้งแต่ตีห้าเลิกเรียนก็กวดวิชาแล้วก็ติวกลับมาทำการบ้าน นอนตี1 ตื่นตี5วนไปแบบนี้ทั้งสัปดาห์ พอเสาร์อาทิตย์ก็กวดวิชาเช้าบ่าย หมอเคยเจอเคสรร.สาธิตชื่อดังพอลูกสอบเสร็จพ่อก็ให้ไปเรียนกวดวิชาที่ลงเรียนไว้ ลูกก็โมโหว่าทำไมไม่ถามว่าลูกอยากเรียนไหม เขาอาจจะอยากเล่นไวโอลิน อยากไปเที่ยว พ่อบอกว่าก็อยากจะเป็นหมอ ตอนที่มาหาหมอคือแม่ร้องไห้ พ่อความดันขึ้นเพราะว่าหวังดีแต่ทำไมเป็นแบบนี้

หมอก็ถามว่านี้เป็นเป้าของใครพ่อบอกว่าเป็นของลูก แล้วพอเราลงกวดวิชาเต็มที่แล้วแต่ลูกไม่ได้เป็นหมอจะเสียใจไหมพ่อบอกว่าไม่เสียใจเพราะว่าไม่ใช่เป้าของพ่อ เป็นเป้าของลูกและพ่อก็บอกว่าการที่พ่อจะทำให้ลูกคนหนึ่งมันผิดด้วยหรือ ซึ่งพอคุยไปพ่อก็บอกว่าผมไม่ได้อยากให้ลูกเป็นหมอเขาจะทำอาชีพอะไรก็ได้ที่รักและชอบและขอให้เป็นคนดี หมอก็บอกว่าพูดดีมากให้กลับไปบอกลูก ซึ่งหลังจากนั้นความดันในบ้านก็ลดลงมากเพราะที่ผ่านมาทะเลาะกันตลอด

ตอนนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่วางเป้าให้ลูกเรียบร้อยเลยแล้วลูกก็มีหน้าที่เดินตามเป้าและบอกตัวเองว่าการที่พ่อแม่ทำให้ลูกมันผิดด้วยเหรอ ไม่ผิดแต่เป็นเป้าของพ่อแม่หรือของลูก แล้วการที่ส่งสัญญาณว่าไม่ได้อยากให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ ได้บอกตรงๆหรือยัง ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ก็จะไม่เจอกับการเรียนแบบOverstimulationเร่งรัดบังคับจันทร์ถึงจันทร์ แต่จะได้ใจถึงใจ

เลี้ยงแบบสำลักความรัก (Over Indulgence/Spoiled Child)

มีบ้านไหนที่ลูกทำงานบ้านบ้าง นี่เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้านเรามีเด็กเยอะที่ไม่ปัดกวาด ถูบ้านล้างจาน พ่อแม่สปอยทุกอย่างจนทัศนคติของลูกเปลี่ยนว่า งานบ้านไม่ใช่หน้าที่เขาไม่จำเป็นต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้าน ความรักไม่เกิดบนการร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่สุขอย่างเดียว เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนมนุษย์

เวลาจะรักใครก็รักแบบฉาบฉวย พ่อแม่ไม่รู้ตัวว่ากำลังพัฒนาลูกไปเป็นแบบนั้นไม่สามารถรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุข ปรนเปรอให้ทุกอย่าง นี่คือการสปอยล์ รักเยอะ ผิดหวังไม่ได้ เจอกับความผิดหวังก็เบรคเลย ไปไกล่เกลี่ยก็ลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง พ่อแม่ต้องรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่มีแต่ความสุข ปรนเปรอแต่ความสุขเจอความยากลำบากไม่ได้ ต้องเจอความยากลำบากร่วมกันง่ายๆ คือ ปัดกวาด ถูกบ้าน ซักผ้า ล้างจาน

เลี้ยงขาดพื้นที่ส่วนตัว เด็กเกิดความเครียด (Parenting Enmeshment)

หมอเคยเจอบ้านที่ไม่ดูทีวีจนอายุ 18ปีจะใช้เครื่องมือสื่อสารไม่ได้ เมื่อเข้าบ้านห้ามใช้ใช้ได้อย่างอิสระเมื่ออายุ 18ปีขึ้นไป ลูกมีห้องส่วนตัวแต่ปิดไม่ได้เพราะว่าพ่อสามารถ เข้าไปดูได้ทุกเมื่อสามารถไปดูแชทส่วนตัวได้ มีเคสที่แม่ลูกชายอายุ 14ปี ยังอาบน้ำกับแม่ขาดพื้นที่ส่วนตัวมาก ถ้าบ้านไหนทำอยู่ให้กลับมาตั้งหลักใหม่

ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ที่อยากทำอะไรก็ได้เป็นความเข้าใจผิดการให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของลูกจึงมีนัยยะแม้ลูกโตมาถึงชั้นประถมไม่ต้องรอถึงมัธยม การที่พ่อไม่จับที่สงวนของลูกเลย เคารพในพื้นที่ส่วนตัว ลูกจะเกิดการเรียนรู้เลยว่าขนาดคนเป็นพ่อยังเคารพพื้นที่ส่วนตัว แล้วคนอื่นที่เป็นคนนอกจะมารุกล้ำได้อย่างไร ถ้าไม่สอนด้วยวิธีนี้จะสอนด้วยการท่องจำหรือ

การที่พ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวลูกเมื่อโตขึ้น อยากให้ลูกเป็นแบบนั้นไหน อยากให้ลูกเป็นคนเคารพพื้นที่ส่วนตัวก็ต้องทำแบบนั้นกับลูกเช่นเดียวกัน ศรัทธาและสัจจะของลูกมีความหมาย วันนี้เราไม่มั่นใจลูกเลยก็ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ซึ่งศรัทธาเกิดขึ้นจากพลังบวก เช่นเดียวกันเด็กที่โตมาในครอบครัวที่เข้มงวด ก็จะขาดความมั่นใจไม่เหลือเลย ขาดภาวะผู้นำไม่มีsense of propority การเคารพพื้นที่ส่วนตัวไม่มีถูกล่อลวงโดยไม่รู้ตัวและเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

เด็กจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ จุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการ รู้วิธีรับมือและพลิกเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมพัฒนาทักษะลูก เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจาก The Exeprt ครูก้า กรองทอง บุญประคอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.106 (Rerun) : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.106 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน รับมือ แก้ไข ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง

เมื่อลูกเครียดพ่อแม่ต้องรู้ เพื่อรับมือและคลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ก่อนเกิดสถานการณ์ความเครียดที่ไม่คาดคิด

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u