รวมสิทธิ์ฟรี! จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่แม่ท้องใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายสักบาท
บัตรทองหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) แม่ท้องสามารถนำไปใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลได้หลายสิทธิ์เลยค่ะ สิทธิ์บัตรทองสำหรับคนท้องทำอะไรได้บ้าง เรารวมมาให้แล้วค่ะ
รวมสิทธิ์ฟรี! จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่แม่ท้องใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายสักบาท
แม่ท้องได้ใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลฟรีด้วยบัตรทอง! โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- การฝากครรภ์ ไม่จำกัดจำนวนครั้งขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ฝากครรภ์พิจารณา
- ตรวจช่องปากและฟัน
- ตรวจยืนยัน “โลหิตจางธาลัสซีเมีย” ในหญิงตั้งครรภ์และสามี
- ตรวจซิฟิลิส HIV ไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจคัดกรอง “ดาวน์ซินโดรม” ในหญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป
- ตรวจคัดกรอง “ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์” ในเด็กแรกเกิด
- การป้องกัน “การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย”
- ได้รับยาต้าน HIV (กรณีแม่ท้องติดเชื้อ HIV)
- คลอดฟรี ทั้งธรรมชาติและผ่าคลอด ในโรงพยาบาลของรัฐ (สิทธิ์คลอดฟรีนี้สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้ทำประกันสังคมหรือเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ)
- การคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี
- บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป กรณีหลังยุติการตั้งครรภ์
- การตรวจคัดกรอง “มะเร็งปากมดลูก”
- แม่ท้องที่อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ยังมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลด้วยค่ะ
- สามีของแม่ท้องได้สิทธิตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและซิฟิลิส
- ได้รับการตรวจหลังคลอด
วิธีการสมัครบัตรทองสำหรับแม่ตั้งครรภ์
- มีสัญชาติไทย
- มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- ไม่มีสิทธิ์ประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ สิทธิ์ตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง
วิธีสมัครบัตรทอง บัตรประกันสุขภาพ
- ลงทะเบียนด้วยตนเอง
- กรณีต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 – 12
- กรณีในกรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพมหานคร สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
- ลงทะเบียนทางโทรศัพท์ ตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก
- ลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ สปปช. www.nhso.go.th หรือ app สปสช. (หากลูกอายุไม่เกิน 5 ปี พ่อแม่สามารถลงทะเบียนแทนได้)
เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทอง
- บัตรประจำตัวประชาชน ในกรณีที่ลูกอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าให้ใช้ใบสูติบัตร หรือใบเกิดแทน
- หนังสือรับรองการพักอาศัย (กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชน) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าตนเองนั้นอาศัยอยู่จริง เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ
- แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน)
อยากย้ายสิทธิบัตรทองทำได้ไหม
สามารถทำได้โดยการการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ หรือ การย้ายสิทธิ์การรักษา สามารถทำได้ 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ วิธีการคือต้องเตรียมหลักฐานเหมือนกับ เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทองค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
************************************************
เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่
- ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท
- คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง
- มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน
- รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท
- พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม
- แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน
- คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม
- ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ