กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ สร้างคนให้เป็นคน
ดร.นันทิวัฒน์ พงษ์เจริญ ประธานบริหารและผู้จัดการโรงเรียน "โรงเรียนดรุณพัฒน์ มีทั้งการสอนภาษาอังกฤษและมีการเตรียมความพร้อมให้เด็ก ใช้กิจกรรมนำหน้า ใช้ความสนุกสนานมาเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเรียนแล้วไม่เบื่อ แล้วก็ได้ภาษา และวิชาความรู้ด้วย ก็คงจะดี เลยเกิดเป็นโรงเรียนดรุณพัฒน์ขึ้นมา คิดว่าโรงเรียนสองภาษาที่ มีอยู่ยังขาดตรงไหน เราก็เพิ่มส่วนนั้นลงไปในโรงเรียนของเรา เช่น เรื่อง EQ เราจะตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า เด็กเรียนที่ดรุณพัฒน์แล้ว จะต้องมี EQ ที่ดี
"ผมคิดว่าสิ่งที่สร้างคนให้เป็นคน ก็คือ จิตใจและความรู้สึกนึกคิด ซึ่งส่วนใหญ่การทำกิจกรรมจะสอนเรื่องนี้กว่าการเรียนแบบทางวิชาการ เวลาเราเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย บางคนก็เป็นเด็กเรียน บางคนก็เป็นเด็กกิจกรรม อย่างผมเองก็เป็นเด็กกิจกรรม เราก็รู้สึกเลยว่า ถ้าเราเปรียบเทียบระหว่างเด็กเรียนกับเด็กกิจกรรม หลังจากที่เรียนจบไปแล้ว 10 ปี 15 ปี ความเจริญก้าวหน้าของเด็กกิจกรรมจะมีมากกว่าเด็กเรียน เพราะว่าคนที่เป็นเด็กกิจกรรมมาก่อน เขาจะรู้จักการใช้จิตวิทยากับคน รู้จักความสามัคคีในหมู่คณะ รู้จักมีความเห็นอกเห็นใจ รู้จักการถ้อยทีถ้อยอาศัย รู้จักการใช้คน รู้จักอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งในตำรา และในชั่วโมงเรียนไม่มีสอน แล้วความรู้พวกนี้จะทำให้คนไปถึงจุดที่ประสบความสำเร็จได้ ก็เลยคิดว่า กิจกรรมนี่แหละสร้างคน ก็เลยเอากิจกรรมมาใส่ในโรงเรียน เพราะฉะนั้น ดรุณพัฒน์ จึงมีทั้งภาษา ความสนุก และกิจกรรม 3 อย่างนี่เอามาผสมกันจนออกมาเป็น ดรุณพัฒน์
"7- 8 ปี ที่ผ่านมา ผลงานของนักเรียนรุ่นแรกๆ ไม่ว่าจะเป็นการสอบเรียนต่อก็ดี สอบแข่งขันเรียนต่อต่างประเทศก็ดี หรือออกไปแข่งขันตอบปัญหากับโรงเรียนอื่นก็ดี ผลออกมาก็ดีกว่าที่คาด คือ เด็กที่เรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ แล้วเรียนแบบสนุกๆ ไม่ได้วิชาการเคร่งเครียด และเน้นทำกิจกรรมเยอะๆ เราก็คิดว่าความเก่งกาจทางด้านวิชาการของเขาอาจจะไม่เด่นชัดนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย กลับกลายเป็นว่าเด็กหลายๆ คนที่เรียนอย่างสนุกสนาน ไม่ซีเรียส เวลาไปสอบแข่งขันระดับชาติกลับได้อันดับ 1 อันดับ 2 หรืออย่างระดับประถม1 – 6 ของเราเคยไปสอบแข่งขันในระดับชาติ ที่วัดมาตรฐานของโรงเรียน ปรากฏว่าดรุณพัฒน์อยู่ระดับเหรียญทอง เทียบเท่ากับโรงเรียนที่เขาอยู่มานาน 10 – 20 ปี มันพิสูจน์ว่าการเรียนแบบเสริมด้วยกิจกรรม มันไม่ใช่ว่าไม่ได้อะไร หรือที่บางครั้งคนคิดว่าเรียนแบบสองภาษาแล้ววิชาการจะอ่อน มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ผมพบว่าเมื่อเด็กได้เรียนสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่เขาชอบ ที่ทำให้เขาสนุก ผลของมันออกมาดีกว่าการเรียนแบบยัดเยียด ผมเอาวิธีการเรียนแบบนี้มาใช้ที่ดรุณพัฒน์ และได้พิสูจน์แล้วว่ามันได้ผล
"เมื่อเด็กต้องทำกิจกรรมกีฬาสี ก็ต้องมีประธานสี เด็กก็ต้องต้องคุยกัน ต้องมีการเลือก มีการเสนอชื่อคนนั้น คนนี้ แล้วก็มีการเลือกที่ทุกคนยอมรับ ถ้าไม่ลงตัว ก็โหวต เด็กก็จะได้รู้จักการมีประชาธิปไตย รู้จักฟังความคิดเห็นของคนอื่น และฟังเสียงส่วนใหญ่ ในกรณีที่มีคนที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน นอกจากนี้ยังสอนให้เด็กรู้จักการเลือกใช้คน การมองคน ว่าใครเหมาะจะทำอะไร แล้วกระบวนการพวกนี้ เมื่อมันเกิดการทำซ้ำบ่อยๆ จนเขาจบม.6 เขาก็จะได้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ติดตัวไป ซึ่งมันไม่มีวิชาไหนสอน มีแต่ตัวหนังสือให้ท่องจำ แต่มันจะไม่เกิดการบ่มเพาะ ถ้าไม่เกิดการกระทำขึ้นมา
แต่พ่อแม่ผู้ปกครองก็มั่นใจได้เลยว่า ถึงแม้ที่นี่จะมีกิจกรรมให้ทำเยอะ แต่เด็กมีเวลาเรียนตามมาตรฐาน ในขณะที่เด็กๆ ก็ได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ แต่เมื่อถึงเวลาเรียน เขาก็ต้องเรียน เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น มีการแยกแยะ ที่สำคัญคือเรียนแล้วต้องสนุก"
ครูและผู้ปกครอง ประสานสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด
ความสัมพันธ์ครูกับผู้ปกครอง เหมือนการปรบมือ ถ้าโรงเรียนปรบมือข้างเดียว ก็ไม่ดัง ผู้ปกครองปรบมือข้างเดียวก็ไม่ดัง ฉะนั้นการจะดูแลเด็กหนึ่งคนให้ได้ผล ทั้งผู้ปกครอง ทั้งโรงเรียนต้องร่วมมือกัน โรงเรียนดูแลให้ดีแค่ไหน ถ้ากลับบ้านแล้วพ่อแม่ปล่อย...ก็จบ ถ้าพ่อแม่เข้มงวด มากเลย พอมาถึงโรงเรียน แต่โรงเรียนปล่อย...ก็จบ ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครองจึงสำคัญที่สุด สำคัญกว่าความสามารถของเด็กอีก
ตอนเด็กเข้ามาสมัครเรียนครั้งแรก เราทดสอบความพร้อมของเด็ก แล้วก็สัมภาษณ์ผู้ปกครองด้วย แล้วเราก็ให้น้ำหนักมาที่สภาพจิตใจ และความพร้อมของผู้ปกครองมากกว่าความพร้อมของเด็ก เพราะเราเชื่อว่าถ้าผู้ปกครองพร้อมที่จะสนับสนุน เราสามารถสร้างเด็กได้ ต่อให้พัฒนาการของเด็กอาจจะยังไม่ค่อยดีก็ตาม ก็สามารถร่วมกันพัฒนาได้ กลับกันเด็กที่เก่งยังไงก็ตาม ถ้าผู้ปกครองไม่สนใจเลย เด็กก็จะไม่ได้รับการพัฒนา
เพราะฉะนั้นเราถึงเน้นมาก ว่าผู้ปกครองและครูต้องติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ต้องมีทั้ง contact book มีทั้งส่ง sms มีทั้งเบอร์มือถือ มีทั้ง class room meeting มีทั้ง tea party มีทั้งอีเมล์และเฟซบุ๊ค ทั้งหมดนี้ทำเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครองทั้งนั้น แล้วผมเองก็ย้ำในการประชุมทุกๆ สัปดห์ ทุกๆ เดือนว่า ถ้ามีอะไร เราต้องสื่อสารถึงผู้ปกครอง ส่วนผู้ปกครอง ถ้ามีอะไร ต้องให้ครูประจำชั้นทราบด้วยนะ แล้วเราก็สร้างค่านิยมแบบนี้ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน
ผู้ปกครองที่นี่จึงสามารถเดินเข้ามาพบครูได้ หรือโทรศัพท์มาหาครูประจำชั้น เมล์หาครูประจำชั้น หรือคุยกับครูในเฟซบุ๊คได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ผู้ปกครองยังสามารถเดินขึ้นมาพบผู้บริหารได้ตลอด ไม่ต้องนัดหมายอะไรล่วงหน้ามากนัก และโรงเรียนเราเป็นโรงเรียนที่ไม่ใหญ่ ขนาดกำลังเหมาะสม ใน 1 ห้องเรียนจะมีนักเรียนไม่เกิน 25 คน และสัดส่วนครูต่อนักเรียนทั้งโรงเรียนจะประมาณ 5 : 1 นักเรียน 5 คนต่อครู 1 คน เราจึงรู้จักชื่อเล่นของนักเรียนทุกคน ครูที่สอนป.1 ก็รู้จักนักเรียนชั้นม.6 เพราะว่ามีนักเรียนไม่มาก และการทำกิจกรรมหลายๆ ครั้ง รุ่นพี่กับรุ่นน้องก็ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ยกตัวอย่างครูที่คุมสีแต่ละสีในงานกีฬาสี เวลาคุมก็จะคุมตั้งแต่ชั้น Grade 1 จนถึง Grade 12 ครูจึงรู้จักนักเรียนทุกระดับชั้น โรงเรียนนี้จึงเหมือนเป็นพี่เหมือนน้องกัน ทุกคนไม่ต้องปักชื่อ แค่มองเห็นหลังไวๆ ก็รู้แล้วคนนี้ใคร เรียกได้เลย ผู้ปกครองมารับลูกตอนเย็นๆ คุณครูเวรแค่ชะโงกหน้าดู ก็รู้แล้วว่าเป็นผู้ปกครองของนักเรียนคนไหน โรงเรียนเราจะอยู่กันแบบนี้ เน้นความใกล้ชิด ใครทำอะไรก็รู้หมด ฉะนั้นเด็กๆ ก็จะอยู่ในสายตาของครูด้วย
การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน
การพัฒนาครูของเรา จะมี 2 ส่วน เริ่มจากการพัฒนาภายใน ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 ส่วนเช่นกัน คือ การพัฒนาภายในส่วนที่ 1 เราจะให้ครูมาแลกประสบการณ์กัน เพราะเราต้องยอมรับว่าครูแต่ละคนเก่งไม่เหมือนกัน ครูบางคนสอนสนุก ครูบางคนสอนไม่สนุก บางคนสอนเก่ง สอนแล้วเด็กเข้าใจ แต่ครูบางคนก็สอนไม่เก่ง สอนแล้วเด็กไม่เข้าใจ บางคนถนัดสอนเด็กเก่ง บางคนถนัดสอนเด็กที่หัวช้า ฉะนั้นความหลากหลายเหล่านี้ เราเลยเอามาทำเป็น work shop ให้ครูแต่ละคนมาเสนอความคิดแลกเปลี่ยนเทคนิคการสอนของตัวเองทุกสัปดาห์
การพัฒนาภายใน ส่วนที่ 2 เราก็เชิญวิทยากรจากภายนอกเข้ามาบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ครูของ เราอยากจะเรียนรู้ ซึ่งเราจะจัดให้มีแบบนี้อย่างน้อยเทอมละ 1 ครั้ง
ส่วนการพัฒนาภายนอก เราก็ส่งครูไปเข้าร่วมการสัมมนาระดับชาติ ระดับนานาชาติ และก็เปิดรับข่าวสารในเครือข่าย เช่น เครือข่ายการสอนวิทยาศาสตร์ หรือเครือข่ายการสอนภาษาอังกฤษ และก็ร่วมกับทางเคมบริดจ์ แลกเปลี่ยนด้านวิชาการกัน บางครั้งที่ไหนเขาเปิดอบรม เราก็ส่งครูของเราไป ทั้งครูไทยและครูต่างชาติ
อาหารของโรงเรียนต้องมีคุณภาพ
เรา มีอาหารของเราเอง และนักเรียนทุกคนต้องกินอาหารของโรงเรียน เพราะเราจะควบคุมคุณภาพ ความสะอาด ความอร่อย และความหลากหลายของอาหารได้ง่าย ของต้องสด ส่งมาใหม่ๆ ทุกวัน ความอร่อย เราก็เอาเชฟจากโรงแรม 5 ดาว มาปรุงอาหารให้เด็ก แล้วเราก็มีทั้งอาหารไทย และอาหารฝรั่งให้เด็กเลือก ซึ่งการมีอาหารต่างชาติเข้ามาในเมนูด้วย เป็นเพราะผมอยากให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทั้งครูไทยและครูต่างชาติก็กินอาหารแบบเดียวกันกับเด็ก
ดังนั้นเราก็มั่นใจว่า เมื่ออาหารดี สุขภาพก็ควรจะดี และจะส่งผลไปถึงจิตใจ แม้กระทั่งนม และของว่างต่างๆ เราก็คัดมาแต่ของที่มีประโยชน์ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราไม่ให้ร้านจากข้างนอกเข้ามาเช่าพื้นที่ขาย เพราะเราจะไม่สามารถควบคุมรายการอาหารของเขาได้ และเรายังห้ามไม่ให้มีน้ำอัดลม ลูกอม และขนมกรุบกรอบที่ไม่มีประโยชน์เข้ามาขาย เรามีนโยบายไม่ขายของที่ทำลายสุขภาพทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เราจึงทำร้านของเราเอง
การเรียนแบบสองภาษา และการสอบวัดควาสามารถทางภาษาอังกฤษด้วยข้อสอบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
อ.อารีย์ วิทวิยะรุจ ผู้อำนวยการ
(ดูแลงานวิชาการของระบบสองภาษา การควบคุมคุณภาพการเรียนการสอน) การเรียนวิชาต่างๆ ในโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ/ภาษาไทย 70/30
การแบ่งคาบเรียนสองภาษา 70/30 จะแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา ใน 8 กลุ่มสาระทั้งหมด สมมติ 100% เราจะสอนเป็นภาษาอังกฤษให้ภาพรวมครบ 70% ถ้าไม่ครบก็อาจจะสอนวิชาดนตรี หรือศิลปะเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเข้าไปให้ครบ เพราะว่าภาษาอังกฤษจะเป็นการเตรียมพร้อมให้เขาเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ส่วนวิชาไหนที่ต้องเรียนด้วยภาษาไทย ก็เรียนเป็นภาษาไทยให้ได้อีก 30%
และก่อนที่เราจะรับเด็กนักเรียนเข้ามา เราจะต้องวัดระดับความรู้ของเขาก่อน ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์เพื่อดูความพร้อมของเขา เมื่อได้ผลแล้วเราจะพิจารณาว่าจะต้องจัดให้เขาเรียนเสริมรึเปล่า ความสามารถของเขาจะเท่ากับ หรือสูงกว่า หรือต่ำกว่าเด็กที่เรียนในระดับเดียวกันหรือไม่
การสอบวัดผลของเคมบริดจ์
การ เรียนแบบ EP จะต้องมีการวัดพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็กอยู่ตลอด ว่าเรียนแล้วได้ผลสัมฤทธิ์มากน้อยแค่ไหน จึงต้องใช้องค์กรภายนอกที่มีข้อสอบที่สามารถใช้ทดสอบความสามารถในการใช้ภาษา อังกฤษของเด็กมาใช้วัดผล และเหตุที่เลือกของเคมบริดจ์ เพราะเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ปกติแล้วในโรงเรียน EP ของรัฐบาล ก็มีการวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กเหมือนกัน ซึ่งเขาจะใช้ข้อสอบวัดความสามาถของจุฬาฯ หรือของธรรมศาสตร์ หรือบางแห่งก็ใช้ของธุรกิจบัณฑิตย์ แต่ของเราใช้ของเคมบริดจ์ซึ่งมาตรฐานอยู่ในระดับสากล เนื่องจากเด็กดรุณพัฒน์หลายคน มีเป้าหมายที่จะไปต่อในโรงเรียนหลักสูตรนานาชาติหรือต่างประเทศ การใช้ตัววัดผลมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจึงเป็นการเหมาะ สม
การวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของเคมบริดจ์นั้น มีการแบ่งระดับ เช่น Young Learners จะเน้นใช้วัดเด็กระหว่างอายุ 7-12 ปี แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Starters Movers และ Flyers โดยกำหนดเป็นเกณฑ์ว่าแต่ละระดับ นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ที่วางไว้ในแต่ละทักษะในระดับใด ต่อจาก Flyers ก็จะสอบระดับ KET, PET, FCE, CAE และ CPE ซึ่งเป็นระดับสูงขึ้นไปตามลำดับ ซึ่งต้องศึกษาเป็นพิเศษในการสอบแต่ละระดับจากศูนย์สอบโดยตรง
ซึ่งตรงนี้ เด็กๆ สามารถสอบวัดระดับข้าม Level ได้ ถ้าเขามีความสามารถพอ ไม่ได้จำกัดว่าอายุเท่าใดต้องสอบระดับใด ซึ่งเด็กนักเรียนเราหลายคนก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายังอายุน้อยแต่สามารถสอบ วัดระดับสูงได้
แต่ผลการสอบวัดระดับตรงนี้ ยังไม่สามารถเอาไปใช้ในการสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในไทยได้นะคะ เพราะเป็นแค่การสอบวัดระดับความสามารถของตัวเด็กเอง ว่าเขาสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับไหน และแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษของเขาเองอยู่ด้วยเหมือนกัน
กระตุ้นเด็กให้กล้าพูด และใช้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติด้วยกิจกรรม
โรงเรียน ที่มีหลักสูตรเป็น EP (English Program) หลายๆ โรงเรียน จะบังคับให้นักเรียนพูดภาษาอังกฤษกันในโรงเรียนตลอดเวลา แต่ของเราจะไม่ได้บังคับ เพราะเห็นว่าการจะบังคับให้นักเรียนพูดภาษาอังกฤษในบรรยากาศที่ไม่ใช่สังคม ที่ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน มันจะฝืน และผิดธรรมชาติ นักเรียนจะพูดและใช้ภาษาอังกฤษในวิชาที่ครูสอนเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้เราพิจารณาว่าให้มีสัปดาห์หนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ และใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารภายในโรงเรียน ก็เกิดเป็นกิจกรรม “English Speaking Week” ขึ้นมา ให้นักเรียนได้ออกมาเสนอสาระน่ารู้หน้าเสาธง และมีการแข่งขัน Spelling Bee (การแข่งขันสะกดคำภาษาอังกฤษ) แล้วในอนาคตจะจัดให้มี Speaking Contest ระหว่างห้องเรียนด้วย เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ผลมากกับเด็กเล็กชั้นประถม แต่กับเด็กมัธยมเขาก็ยังมีเขินๆ อยู่บ้าง
วิธีแก้การเขินอายในการพูดภาษาอังกฤษของเด็กๆ
ในช่วงต้นๆ ของการเรียน เด็กๆ อาจจะอายที่จะพูดภาษาอังกฤษ แต่จากนั้นอีกสักเดือนสองเดือน เขาก็จะชอบและตื่นเต้นที่ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปเอง และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เขาพูด ทุกๆ สัปดาห์ เขาก็จะต้องออกไปพูดประโยคที่แตกต่างกัน 3 ประโยคหน้าห้อง และโรงเรียนนี้ก็มีกิจกรรม การประกวดแข่งขันต่างๆ รวมทั้งเกมที่ช่วยฝึกให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
การมีครูสองคนในห้อง ช่วยได้มาก
การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียน ผมจะไม่เน้นสอนแต่ในตำราเรียน แต่จะสอนให้เด็กเรียนรู้แง่มุมต่างๆ ของมนุษย์ด้วย และผมมีครูประจำชั้นคนไทยอีกคนในห้องเรียน ซึ่งในชั่วโมงที่ผมสอน บทบาทของเธอก็จะเป็นผู้ช่วย โดยเฉพาะเวลาที่สอนอะไรแล้วเด็กไม่เข้าใจ เธอจะคอยช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ ซึ่งจะเป็นช่วงแรกของปีการศึกษาเท่านั้น เพียงแค่เดือนสองเดือนหลังจากนั้นเด็กๆ จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้นจนอยู่ในระดับที่สามารถเรียนได้โดยไม่ต้องมี ครูไทยช่วย
เด็กไทยเรียนหนักกกว่าเด็กอเมริกัน
แม่ ของผมก็เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่แคลิฟอร์เนีย เลยทำให้รู้ว่าโรงเรียนไทยค่อนข้างเข้มงวดมาก การเรียนของเด็กไทยเข้มข้นมากๆ ไม่ค่อยจะมีชั่วโมงพัก และมีชั่วโมงเรียนเยอะมาก ต่างจากโรงเรียนในแคลิฟอร์เนียที่นักเรียนจะมีชั่วโมงพักมากกว่านี้ มีเวลาได้รีแลกซ์ แต่ผมคิดว่าแบบโรงเรียนไทยก็ดี เพราะเด็กได้เรียนหลายๆ คาบเรียนทั้งเลข วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และอีกหลายๆ วิชาที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อพวกเขาเรียนต่อเนื่องกัน ก็จะไม่ต้องปรับตัวไปมา ให้ตัวเองกลับมาโฟกัสเรื่องที่เรียนใหม่ หลังจากที่ไปพักมา
แต่ผมว่าเด็กที่ไหนก็เหมือนกันหมด เพราะว่าเด็กก็คือเด็ก ผมว่าเด็กที่นี่ก็คงเหมือนกับเด็กที่อเมริกา เพียงแต่เด็กไทยจะเรียนหนักกว่าเด็กที่อเมริกาเท่านั้นเอง
ครูหลากหลายเชื้อชาติ ยิ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
มัน เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ ที่มีทั้งครูที่มาจากอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย เพราะเด็กๆ สามารถเรียนรู้ถึงความแตกต่างของแต่ละชนชาติได้จากประสบการณ์ของครูแต่ละคน เด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวกับอเมริกา และได้เรียนรู้เรื่องของประเทศอังกฤษ กับออสเตรเลียด้วย การที่ครูแต่ละคนมาจากหลายๆ ประเทศ ไม่ได้มีปัญหาต่อการสอน กลับเป็นสิ่งที่ดีด้วยซ้ำ
วิธีช่วยให้เด็กเรียนเป็นภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น
วิธี ที่ผมใช้เพื่อช่วยให้กับเด็กเรียนเป็นภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น คือ ผมจะพยายามทำอะไรซ้ำๆ กันทุกวัน เช่น เริ่มต้นการสอนด้วยวิธีการเดิมทุกวัน ผมพยายามจะไม่เปลี่ยนวิธีการสอนมากนัก เด็กๆ จะได้คุ้นชินกับวิธีการสอนและคำศัพท์ที่ผมใช้ ซึ่งพอเด็กๆ ได้ยินสิ่งที่ผมพูดเหมือนเดิมซ้ำๆ กันทุกวัน วันละ 5 – 6 ชั่วโมง เขาก็จะจำได้เองว่าที่ครูพูดนี้หมายถึงอะไร และทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้ง่ายขึ้น เพราะจะรู้อยู่แล้วว่าในคาบเรียนนี้ตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง และบางทีก็มีเล่นเกม และให้รางวัลด้วย เด็กๆ จะได้ตื่นเต้นที่จะเรียนมากขึ้น
และถ้าเด็กมีปัญหาในการเรียน ครูที่นี่ก็จะมีการติดต่อกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ครูก็จะมีการคุยและปรึกษากับผู้ปกครองตลอดเวลา และเป็นเรื่องสำคัญมากที่ครูอย่างผมจะต้องทำให้เด็กเชื่อใจ เพราะบางทีตอนแรกๆ เด็กๆ ก็กลัวครู
ส่วนเรื่องการเสริมความรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน ผมคิดว่าการดูการ์ตูนภาษาอังกฤษ ก็สามารถช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษของเด็กๆ ได้เหมือนกัน แถมยังสนุกอีกต่างหาก
โรงเรียนดรุณพัฒน์ ถ.ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900
โทร 0-2589-6560
แฟกซ์ 0-2589-4639
Email admin@daroonpat.ac.th
เว็บไซต์ http://www.daroonpat.ac.th/