ฝีดาษลิงหรือ Mpox เริ่มไม่ใช่เรื่องไกลตัวแบบเดิมอีกต่อไปเมื่อเชื้อมีการกลายพันธุ์และสามารถแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นได้ง่าย และเด็กที่ป่วยฝีดาษลิงมีโอกาสเสียชีวิตสูง
โรคฝีดาษลิง แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ คือ เคลด 1 (Clade 1) และเคลด 2 (Clade 2)
ฝีดาษลิง สายพันธุ์ เคลด 1 (Clade 1) เป็นสายพันธุ์ที่มีอาการรุนแรง อัตราการเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และปัจจุบันมีการกลายพันธุ์มาเป็นเคลด 1บี (Clade 1b) ซึ่งเคลท 1 บี ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และอันตรายกว่าสายพันธุ์เดิม
ฝีดาษลิง สายพันธุ์ เคลด 2 (Clade 2) อาการไม่รุนแรงนัก แม้มีการระบาดไปกว่า 100 ประเทศ แต่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำการระบาดส่วนมากกระจุกตัวในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ฝีดาษลิงทั้งสองสายพันธุ์สามารถติดต่อแพร่เชื้อได้หลายทาง
1. การสัมผัสผิวหนัง ผื่น รอยโรคของผู้ป่วย
2. สัมผัสบริเวณที่ผู้ติดเชื้ออยู่หรือสัมผัส เช่น ที่นอน เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เป็นต้น
3. สารคัดหลั่งของผู้ป่วย เลือด น้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม พูดคุย หรือแม้แต่การหายใจใกล้ชิดกัน
4. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์
5. ติดต่อจากแม่ตั้งครรภ์สู่ลูกในท้อง
6. การสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าที่ถูกนำมาเลี้ยงโดยไม่มีการคัดกรองโรค
นั่นหมายความว่าว่าการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ง่ายขึ้น และคนที่อยู่บ้านเดียวกันมีโอกาสได้รับเชื้อผ่านการสัมผัสบริเวณผิวหนังหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยแล้วใช้มือจับใบหน้า จมูก หรือขยี้ตา รวมถึงการไอจามใส่กัน ก็สามารถติดเชื้อได้
ฝีดาษลิงมีระยะฟักตัว 5-21 วัน ช่วง 5-13 วันหลังรับเชื้ออาจจะยังไม่แสดงอาการ ส่วนการแสดงอาการของโรคจะมี 2 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ช่วง 1-5 วันแรกจะมีไข้ บางรายอาจมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองบวม บางรายอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน ไอ เจ็บคอ
ระยะที่ 2 เป็นระยะออกผื่น เป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้ จะมีอาการหลังมีไข้ภายใน 1-3 วัน ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนองบนผิวหนัง แล้วกลายเป็นแผลพุพองและตกสะเก็ต ต้องหายสนิทก่อนจึงจะไม่แพร่เชื้อได้อีกต่อไป ซึ่งการติดเชื้อจะคงอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์
ลักษณะผื่นฝีดาษลิง ที่มา : Ruth Ann Crystal, MD
หลังจากเกิดการระบาดในต่างประเทศและยังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเด็กนั้น ล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ฝีดาษลิงในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกามีสถานะเป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" หลังพบฝีดาษลิงสายพันธุ์ เคลด 1 บี (Clade 1b) แพร่กระจายได้ง่ายและเชื้อมีความรุนแรงกว่าเดิม และสิ่งที่น่ากังวลคือหากเด็กได้รับเชื้อจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง ซึ่งจากรายงานข่าวพบว่าในจำนวนผู้ป่วยฝีดาษลิงนั้นเป็นผู้ป่วยเด็กสูงถึง 70% และยังเป็นการพบผู้ติดเชื้อนอกแอฟริกาเป็นครั้งแรกอีกด้วย
จากการติดตามข้อมูลในแอฟริกาพบว่า หากในครอบครัวมีคนป่วยและอยู่ในบ้านเดียวกันประมาณ 4 ชั่วโมงมีความเสี่ยงติดเชื้อได้
เนื่องจากแม่ท้องที่ติดฝีดาษลิงสารมารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ การป้องกันเบื้อต้นสำหรับแม่ท้องคือควรงดเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงที่มีการแพร่ระบาดของฝีดาษลิง โดยเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกา
แม้ฝีดาษลิงเคลด 1บี จะมีความรุนแรงและคร่าชีวิตเด็กป็นจำนวนมาก แต่สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยยังเป็นสายพันธุ์ที่พบในผู้ใหญ่และอาการไม่ได้รุนแรง และไม่ได้ติดต่อง่ายเหมือนโควิด ทั้งยังมีการเฝ้าระวังจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มงวด เพราะฉะนั้นพ่อแม่ยังไม่ต้องตื่นตระหนกไปค่ะ เพียงดูแลสุขอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปยังสถานที่แออัด ก็ช่วงป้องกันการโรคติดต่อต่าง ๆ ได้ค่ะ
อ้างอิง :
Dr,Ruth Ann Crystal, MD Stanford Clinical Faculty
https://www.hfocus.org/content/2024/08/31395