สายตาของลูกเป็นสิ่งที่สำคัญมากนะคะ เพราะการมองเห็นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตของลูก คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองจึงต้องคอยสังเกตอย่างใกล้ชิด ว่าลูกอาจจะมีสายตาผิดปกติบ้างหรือเปล่า โดยเฉพาะเมื่อเจอแบบนี้ลูกอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตา หรือ retinoblastoma
โรคมะเร็งจอประสาทตามักพบในเด็กเล็ก ตั้งแต่ขวบแรกไปจนถึง 7 ขวบ ถ้าเป็นตาเดียวจะพบช่วง 2 ขวบครึ่ง แต่ถ้าเป็นทั้งข้างจะพบได้ตั้งแต่อายุประมาณขวบเศษ
เกิดจากเซลล์จอประสาทตาเด็กเจริญผิดปกติกลายเป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่ 94% เป็นเอง แต่ประมาณ 6% เป็นพันธุกรรมถ่ายทอดมาจากครอบครัวพ่อหรือแม่
การตรวจพบรูม่านตาเป็นสีขาว ซึ่งเกิดจากแสงที่สะท้อนจากก้อนมะเร็งจอตา เป็นอาการนำที่พบบ่อยที่สุด โดยพบถึง 50-60 % ผู้ป่วยจะมีลักษณะตาวาว สีขาวๆ กลางตาดำ
ภาวะตาเหล่พบได้เป็นอันดับรองลงมา ประมาณ 20 - 30 %
ตาอักเสบตาแดง ม่านตา 2 ข้างสีไม่เหมือนกัน เกิดจากการที่มีหลอดเลือดฝอยมากผิดปกติที่ม่านตา หรือมีเลือดออกในช่องหน้าม่านตา หรือต้อหิน เป็นต้น
ปวดตา และมีการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ ลูกตา
ที่มา : https://www.aao.org/.../diagnosing-children-from-photographs
มี 2 แบบ พ่อแม่ต้องรู้ไว้
ก้อนมะเร็งทะลุผ่านชั้นจอตาเข้าไปภายในวุ้นตา ลักษณะที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อสีขาว และอาจพบมีการกระจายของเซลล์มะเร็งสีขาวๆ อยู่ในวุ้นตา
ก้อนมะเร็งเจริญอยู่ภายในชั้นจอตาหรือใต้ต่อจอตา ทำให้จอตาลอก ลักษณะที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อสีขาวและจอตาคลุมไว้ ถ้าก้อนเจริญเติบโตเร็ว อาจพบหินปูนภายในก้อนเป็นสีขาวคล้ายชอล์ค ถ้าก้อนมะเร็งเกิดขึ้นบริเวณจุดภาพชัด จะทำให้ระดับการมองเห็นลดลงมาก
ส่วนใหญ่ถ้ามะเร็งโตเกิน 30% ของดวงตา จะต้องผ่าตัดควักตาข้างนั้นออก หรือควักข้างที่เป็นมากกว่าออกในกรณีที่เป็น 2 ตา แล้วแพทย์จะพิจารณาว่าต้องให้เคมีบำบัดหรือฉายแสงร่วมด้วย
ถ้าพ่อแม่พบสัญญาณเร็ว พาลูกไปรักษาเร็ว แพทย์จะฉายเลเซอร์จี้ตาด้วยความเย็นหรือให้เคมีบำบัดตรงบริเวณก้อนมะเร็ง เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่เสียชีวิต แต่อาจต้องใส่ตาปลอมหากรักษาไม่ทัน
ดังนั้นหากพบความผิดปรกติแบบกรณีนี้ ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กให้ละเอียดนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.si.mahidol.ac.th สถาบันราชานุกูล