เด็กปฐมวั ยทั่วประเทศมีพัฒนาการล่าช้า 25% หลังสถานการณ์โควิด ยิ่งทำให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า และถดถอยไปมากกว่าเดิม
ความรักความหวังดีจากพ่อแม่ และครูที่ไม่เข้าใจพัฒนาการ และปัญหา ที่แท้จริง ยิ่งซ้ำเติมปัญหาพัฒนาการของเด็ก ให้มากยิ่งขึ้น แล้วเราจะทำกันอย่างไร เพื่อฟื้นฟูวิกฤตซ้อนวิกฤตนี้
ชวนคุยกับ The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย
รู้วิกฤต รู้ปัญหาและเห็นทางออกเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการให้เด็ก
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues
ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่
เลี้ยงปกป้องเกินไป เด็กขาดความมั่นใจ (Over Protection)
เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ
หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี
หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
เลี้ยงอ้วน เด็กเอาแต่ใจ (Overfeeding)
คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ
มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม
Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ
เลี้ยงอวดรวย (Multiple homes)
หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี
การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน
สร้างวิถีใหม่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงลูก
1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด
2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย
3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
เปิดศึกกลางบ้าน ไม่มีทีท่าว่าจะสงบและยังเกิดขึ้นถี่ๆ บ้านไหนเป็นแบบนี้ ชวนฟังวิธีแก้ 3 ปัญหาน่าหนักใจ เพื่อไม่ให้กระทบพัฒนาการ ระยะยาว ได้แก่ ติดจอ , ก้าวร้าวเอาใจ , นิ่ง เนือย เฉื่อยชา ฟังดูเป็นเรื่องยากแต่แก้ไขได้
ฟังแนวทางจากครูก้า กรองทอง บุญประคอง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย
จะทำให้พ่อแม่มองเห็นปัญหา เข้าใจพัฒนาเจ้าตัวเล็ก และเห็นแนวทางแก้ที่ไม่ยากเกินไป
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
สูตรปังพิซซ่าหน้ากุ้ง ของว่างแสนอร่อยสำหรับลูกน้อย
ของว่างของเด็กๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นขนมหวานหรือผลไม้ตลอดก็ได้นะคะ แต่อาจจะปรับสูตรตามวัตถุดิบที่มีเพื่อเพิ่มความหลากหลายในการกินให้ลูก และให้ลูกวัยกำลังซนกินอาหารที่ให้พลังงาน เพื่อให้เขามีแรงในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เสริมการเรียนรู้ของเขาอย่างพิซซ่าหน้ากุ้ง ฝีมือคุณแม่ก็ได้ค่ะ
ส่วนผสม
ขนมปังตัดขอบ 2 แผ่น
ชีส 2 แผ่น (มอสซาเรลล่าหรือเชดด้าชีสก็ได้)
กุ้งต้มสุก 5-6 ตัว
สับปะรดหั่นชิ้นบางๆ 5-6 ชิ้น
วิธีทำ
เรียงสับปะรดบนขนมปัง ตามด้วยกุ้งและชีสแผ่น จากนั้นเอาไปอบในเตาไมโครเวฟ ความร้อน 600-800 วัตต์ ประมาณ 1 นาที จะได้ขนมปังพิซซ่าหน้ากุ้งแสนอร่อยเสิร์ฟเป็นของว่างให้เจ้าตัวเล็กแล้วค่ะ
เมนูข้าวผัดกุ้งสำหรับเด็ก ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด
ข้าวผัดกุ้งเป็นอีกหนึ่งเมนูข้าวผัดแสนอร่อยที่ใครหลายคนก็ชื่นชอบ ไม่เว้นแม่แต่เด็กๆ ซึ่งวิธีทำก็ไม่ยุ่งยากค่ะ แถมใช้เวลาไม่นานก็อิ่มอร่อยได้ทั้งครอบครัว
ส่วนผสมข้าวผัดกุ้งสำหรับเด็ก
ข้าวสวย 1 ถ้วย
ผักคะน้า 1-2 ก้านใบ
กุ้งขาว 2-3 ตัว
ไข่ไก่ 1 ฟอง
ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา
น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
เครื่องเคียง
มะเขือเทศหั่นแว่น 2 ชิ้น
แตงกวา ครึ่งลูก
ต้นหอม 1 ต้น
วิธีทำ
ตั้งกระทะ เทน้ำมันลงไป รอน้ำมันร้อน จาากนั่้นตอกไข่ลงไปตามด้วยผักคะน้าและกุ้งที่แกะเปลือกเอาเส้นดำออกแล้ว
ผัดไข่กับผักและกุ้งจนใกล้สุก ใส่ข้าวสวยลงไปผัด เติมซอสปรุงรส คลุกเคล้าให้ทั่ว เสร็จแล้วตักใส่จาน ตกแต่งให้สวยงานยกไปเสิร์ฟเจ้าตัวเล็กได้เลยค่ะ
แซนด์วิชสลัดแซลมอน
แซลมอนเป็นปลาที่อุดมไปด้วย DHA โอเมก้า 3 กรดอะมิโน โปรตีน วิตามิน A B และวิตามิน D รวมทั้งแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและร่างกายของลูกให้เติบโตแข็งแรง
แซนด์วิชสลัดแซลมอน เป็นอีกเมนูที่รักลูกอยากแนะนำ ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนทำได้ง่ายๆ แม้ในเวลาเร่งรีบ แถมอิ่มอร่อยอยู่ท้องด้วยค่ะ
ส่วนผสมแซนด์วิชสลัดแซลมอน
แซลมอน 1 ชิ้น ประมาณ 150 กรัม
ไข่กุ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
ผักสลัด 2-3 ใบ
ขนมปัง 3 แผ่น
มายองเนส 2 ช้อนโต๊ะ
มะเขือเทศเชอรี่ 3-4 ลูก หั่นชิ้นเล็กๆ
วิธีทำแซนด์วิชสลัดแซลมอน
1 เตรียมส่วนผสมให้พร้อม
2 ย่าง (หรือทอด) แซลมอนให้สุก แล้วนำมายีให้ละเอียด
3 คลุกแซลมอน มายองเนส ไข่กุ้ง และมะเขือเทศให้เข้ากัน
4-9 วางผักสลัดสลับด้วยสลัดแซลมอนและประกบด้วยขนมปังอีก 1 ชั้น เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ลูกวัยกำลังโตจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการทำงานของร่างกายและสมองให้พร้อมเรียนรู้ แต่คุณแม่ทราบไหมคะว่า ทำไมลูกอนุบาลและลูกวัยเรียนยังต้องดื่มนมชง? ด้วยเหตุผลที่รับรองเลยว่า ถ้าแม่รู้แล้วจะอยากให้ลูกได้ดื่มนมชงต่อเนื่องไปจนโตแน่นอนค่ะ
ในแต่ละวันที่ลูกไปโรงเรียน คุณแม่มั่นใจไหมคะว่าลูกจะกินอาหารที่หลากหลาย กินข้าวหมดจานในทุกมื้อ ยิ่งวัยกำลังโตที่เลือกกินมากขึ้น สนใจทำกิจกรรมและการเล่นมากกว่าการกิน อาจทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและสมอง สุดท้ายแล้วคุณแม่อาจเกิดความไม่มั่นใจได้ว่า ในแต่ละวัน ลูกจะได้สารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการมั้ย
เชื่อเลยว่าคุณแม่หลายคนเลือกให้ลูกดื่มนมเพื่อเสริมโภชนาการ และนม UHT ก็เป็นทางเลือกหนึ่งเพราะความสะดวกรวดเร็วสามารถพกพาไปสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย แต่นมยูเอชทีอาจมีข้อจำกัดจากการผลิต ทำให้เติมสารอาหารต่างๆ ทั้งชนิดและปริมาณได้น้อยกว่านมผง คุณแม่มาเช็กกันดีกว่าว่านมที่ลูกดื่มมีสารอาหารต่างๆ เหล่านี้แล้วหรือยัง
ตัวอย่าง สารอาหารและแร่ธาตุที่ลูกวัยเรียน 3-8 ปี ควรได้รับในทุกวัน*
นมผงมีทั้งสารอาหารและแร่ธาตุหลากหลาย มีให้เลือกอร่อย หลากหลายรสชาติ การให้ลูกได้ดื่มอุ่น เป็นการช่วยระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกาย สามารถเลือกนมผงที่ราคาย่อมเยา แต่ยังให้สารอาหารที่หลากหลายใน 1 แก้ว ราคาคุ้มค่าสบายกระเป๋ากว่า วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด คุณแม่อาจจะแทบไม่เคยได้ยินและไม่รู้ว่าลูกต้องการ แถมยังเป็นสารอาหารที่ลูกได้รับไม่เพียงพอจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม นมผงสำหรับเด็กโตจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเสริมโภชนาการให้กับลูก เพราะมีการเติมสารอาหารรวมถึงวิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย จึงเป็นนมที่เหมาะสำหรับลูกวัยเรียนรู้ของเรา ซึ่งนอกจากสารอาหารที่หลากหลายแล้ว นมผงสำหรับเด็กโตยังมีความว้าวที่คุณแม่ต้องเปลี่ยนใจมาลองอีกหลายเหตุผล
ทำไมนมผงถึงดีกับลูกวัยกำลังโต
นั่นเป็นเพราะร่างกายลูกกำลังต้องการสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อไปช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายทุกส่วน ทั้งกระดูก กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมไปถึงสารอาหารที่จะไปช่วยในการทำงานของสมองและระบบประสาท หากลูกได้รับสารอาหารและแร่ธาตุที่หลากหลาย ตรงตามความต้องการของร่างกายในทุกวัน ก็เท่ากับเป็นการสร้างความพร้อมให้เขาออกไปเล่นและเรียนรู้ได้อย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งเท่ากับว่าคุณแม่มืออาชีพอย่างเราเข้าใจพัฒนาการและส่งเสริมลูกได้อย่างถูกต้องค่ะ
เทคนิคดื่มนมผงชนิดชงสำหรับลูกวัยเรียนวันละ 2 แก้วแบบไม่ยุ่งยาก
1. ชงดื่ม 1 แก้วก่อนไปโรงเรียน หรือ ชงใส่แก้วปิดฝาไว้ดื่มในรถหากเร่งรีบ
2. ชงดื่ม 1 แก้วหลังเลิกเรียนกลับบ้าน หรือ ก่อนเข้านอน
ครั้งต่อไปที่กำลังจะเลือกซื้อนมให้ลูก ลองเช็กสารอาหารและแร่ธาตุให้ดีก่อนค่ะ ว่าหลากหลายเหมาะกับความต้องการของลูกแล้วหรือยัง เพราะถ้าเทียบกับความคุ้มค่าในระยะยาวที่ลูกมีพัฒนาการดีสมวัย ฉลาดเรียนรู้ การเลือกนมผงสำหรับลูกวัยกำลังโตก็จะเหมาะกับคุณแม่ช่างเลือกและใส่ใจลูกอย่างเราค่ะ
*สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)
แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี จุลินทรีย์มีประโยชน์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง ลดโอกาสเกิดการติดเชื้อ
ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ตอนนี้ลูก ๆ คงพลาดโอกาส ไม่สามารถออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายได้ อาหารการกินที่มักพบว่ามีการปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ การที่เด็ก ๆ รับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ เหล่านี้ทำให้ส่งผลให้การสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายนั้นไม่เต็มที่
ยิ่งลูกเกิดเจ็บป่วยทีก็ลำบากน่าดูเลยค่ะ เพราะถ้าลูก ๆ ต้องเข้าโรงพยาบาลเราก็คงต้องกังวลมาก ๆ ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ควรเร่งเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อลดโอกาสที่ลูก ๆ จะป่วยและต้องไปโรงพยาบาล และทางเลือกหนึ่งที่ดีคือการเสริมโพรไบโอติกให้ลูก เพื่อจะได้สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ปกป้องลูกจากการเจ็บป่วย ซึ่งเด็กแต่ละวัยควรได้รับโพรไบโอติกในปริมาณที่เหมาะสมด้วยค่ะ
โพรไบโอติก คืออะไร
โพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต หรือบางครั้งเราก็เรียกว่าจุลินทรีย์มีประโยชน์ เมื่อเราได้รับในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลดีต่อสุขภาพ หรือเป็นประโยชน์ในการการแพทย์1 แต่โพรไบโอติกก็มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ไม่ได้ออกฤทธิ์เหมือนกัน โดยเฉพาะฤทธิ์ในการเสริมภูมิคุ้มกันนั้น มีเฉพาะบางสายพันธุ์เท่านั้นที่ทำได้2
อย่างเช่นโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 (Lactobacillus reuteri DSM 17938) เป็นโพรไบโอติกสายพันธุ์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเด็ก ๆ อีกทั้งยังมีมีงานวิจัยทางการแพทย์ออกมามากมายยืนยันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของจุลินทรีย์สายพันธุ์นี้3 เช่น มีคุณสมบัติในด้านการป้องกันการติดเชื้อ4
แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อในเด็ก
ต้องบอกก่อนว่าโพรไบโอติกแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี นี้เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่มีต้นกำเนิดมากจากน้ำนมแม่ ค้นพบโดย เจอร์ฮาร์ด รูเทอร์ นักจุลชีววิทยาชาวเยอรมัน โดยสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ดีเอสเอ็ม 17938 เป็นสายพันธุ์ที่มีการศึกษาทางการแพทย์จำนวนมากว่ามีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัยสำหรับเด็ก3
หนึ่งในการศึกษาจาก Pedro Gutierrez-Castrellon และคณะ (ตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics 2014) แสดงผลว่า การรับประทานโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 จะช่วยลดการเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ลดการเกิดท้องเสีย (จากการติดเชื้อ) ลดจำนวนวันที่ขาดเรียนเพราะลาป่วย และลดความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เมื่อเทียบกับเด็กที่รับประทานยาหลอก จากการศึกษายังพบอีกว่าการการรับประทานแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 เป็นเวลา 3 เดือนไม่พบผลข้างเคียงที่แตกต่างจากการรับประทานยาหลอก4
โดยโพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี จะช่วยกระตุ้นการสร้าง CD4-T helper cell ในเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ซึ่งจะช่วยประสานกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นในการต่อสู้ ยับยั้งเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและป้องกันโรคติดเชื้อได้ 5
ที่สำคัญยังมีคำแนะนำจากสมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารนานาชาติ (WGO- World Gastroenterology Organisation) แนะนำให้เสริมโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับเด็ก โดยเฉพาะที่ต้องเข้าโรงเรียนหรือต้องไปสถานรับเลี้ยง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ1
ช่วงนี้เด็ก ๆ อยู่บ้านเรียนออนไลน์ แม้ไม่ได้ไปโรงเรียนก็ยังวางใจไม่ได้ ยิ่งถ้าไม่ได้ออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน หรือกินอาหารที่ไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำและทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
การเสริมโพรไบโอติกให้ลูกถือเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สามารถเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเด็กได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องเลือกโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่เหมาะสม และมีการศึกษาและคำแนะนำทางการแพทย์รองรับด้วยค่ะ
เอกสารอ้างอิง
World Gastroenterology Organisation. World gastroenterology organisation global guidelines: probiotics and prebiotics. February 2017: 1-35.
Sanders ME, Merenstein D, Merrifield CA, Hutkins R. Probiotics for human use. Nutrition Bulletin. 2018; 43: 212–225.
Srinivasan R, Kesavelu D, Veligandla KC, Muni SK, Mehta SC. Lactobacillus reuteri DSM 17938: Review of Evidence in Functional Gastrointestinal Disorders. Pediatr Ther. 2018; 8(3): 1-8.
Gutierrez-Castrellon P, Lopez-Velazquez G, Diaz-Garcia L, et al. Diarrhea in preschool children and Lactobacillus reuteri: a randomized controlled trial. Pediatrics. 2014;133(4):e904-e909.
Valeur N, Engel P, Carbajal N, Connolly E, Ladefoged K. Colonization and immunomodulation by Lactobacillus reuteri ATCC 55730 in the human gastrointestinal tract. Appl Environ Microbiol. 2004;70(2):1176-1181.
THL2203319-2
พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์
โรคขาดธรรมชาติ โรคใหม่จากการใช้ชีวิตแบบ New Normal
วิกฤติโควิด-19 และปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทำให้หลายอย่างเปลี่ยนแปลง หลายคนปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ นอกจากการรักษาระยะห่างทางสังคมแล้ว บางคนยังงดเว้นการทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก จนกลายเป็น "โรคขาดธรรมชาติ " ที่กำลังเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคม และก็เป็นประเด็นเร่งด่วนของสังคมในยุคปัจจุบัน
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า “โรคขาดธรรมชาติ Children & Nature-deficit Disorder” เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากและในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเด็กๆ จะมีภาวะของการขาดธรรมชาติในหลายๆ มิติด้วยกัน ทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย ซึ่งทำให้เด็กขาด "พื้นที่เล่นตามธรรมชาติ" นอกเหนือไปจากปัญหาดิน น้ำ อากาศเป็นพิษ ปัญหาหมอกควัน PM2.5 หรือวิธีการทำงานที่พ่อแม่ต้องทำงานอย่างหนัก ทำให้เด็กขาดเวลาการเล่น และเวลาการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่
เมื่อพ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก เด็กก็จะอยู่กับโลกเสมือนจริง เด็กหลายคนแทนที่จะอยู่กับธรรมชาติในโลกแห่งความเป็นจริงก็ถูกกระตุ้น ถูกผลักดันให้กลับไปอยู่ในโลกเสมือนจริงต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันในการเล่นเกมหรือเล่นกับเพื่อนในโลกเสมือนจริงซึ่งส่งผลให้เด็กเกิดภาวะของการขาดธรรมชาติ
ผลจากเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมเอาแต่นั่งนอน ขลุกอยู่แต่ในห้อง เพื่อเล่นเกม และโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นเพียงโลกเสมือนจริง ที่แยกเด็กออกจากธรรมชาติ หรือ โลกแห่งความจริง
ผลเสียจากโรคขาดธรรมชาติของเด็กๆ ปรากฏให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ความสมบูรณ์ของร่างกายของเด็ก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสามารถของการใช้สมรรถภาพร่างกายและการเรียนรู้ก็ลดต่ำลง เห็นได้ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ซึ่งโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อาจไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังครอบคลุมถึงโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ต่างๆ ในอนาคต ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็ก และเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือตั้งแต่ในวันนี้
และผลจากวิกฤติโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เด็กและผู้ใหญ่ต้องถูกจำกัดพื้นที่เพื่อการเฝ้าระวัง โดยต้องอยู่แต่ในบ้าน และทำให้เด็กต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน ทำให้ขาดพื้นที่เล่นตามธรรมชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นตอที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หลายโรคในระยะยาว หรือตลอดชีวิตของครอบครัว เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดในครอบครัวที่สูงขึ้น จนเกิดภาวะ "ความเครียดเป็นพิษ" (Toxic Stress) ซึ่งส่งผลอย่างยิ่งต่อร่างกายและจิตใจ
วิธีป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคขาดธรรมชาติ คือการจัดการเพื่อหาจุดสมดุลของชีวิตที่ทำให้เด็กสามารถเติบโตได้ตามธรรมชาติ โดยการยึดเอาเด็กและครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ตลอดจนปรับรูปแบบการศึกษาให้เป็นไปในแนวทางที่สามารถดึงธรรมชาติในตัวเด็กออกมาให้พร้อมต่อการเรียนรู้ และปรับตัวให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง
โหลดเลยแม่ 40 เมนูสร้างสรรค์ ที่นักโภชนาการแนะนำ
หากคุณแม่กำลังประสบปัญหาลูกกินยาก ลูกไม่กินผัก กินอาหารซ้ำๆ กินแต่ขนมหรือน้ำหวาน ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะ Nestlé for Healthier Kids มีทางออกให้เสมอ
Nestlé for Healthier Kids เป็นโครงการหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายในการปรับพฤติกรรมการกินของเด็กๆ ให้มีนิสัยการกินที่ดี อันได้แก่ กินอาหารที่หลากหลายเพิ่มผักผลไม้ในมื้อนั้นๆ ด้วย กินในสัดส่วนที่เหมาะสม กินพร้อมหน้า ขยันขยับออกกำลังกาย และเลือกดื่มน้ำเปล่า
ล่าสุด Nestlé for Healthier Kids ได้รวบรวมเมนูอาหารฝีมือคุณพ่อคุณแม่คุณลูก ในกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ 40 เมนูทั้งอาหารคาวอาหารหวานที่น้องๆ หนูๆ ช่วยกันสร้างสรรค์กับคุณพ่อคุณแม่ที่ผู้เชี่ยวชาญคัดมาแล้วว่าดีต่อเด็กไทยจริงๆ
ดาวน์โหลด 40 เมนูหนูช่วยทำ โดย Nestlé for Healthier Kids
ขอบคุณข้อมูลจาก Nestlé for Healthier Kids ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/N4HKThailand