facebook  youtube  line

รักลูก The Expert Talk EP.10: เลี้ยงลูกเชิงบวก ตอน ชวนพ่อแม่เป็น "ผู้ประคอง" แทนผู้ปกครอง

เลี้ยงลูกเชิงบวก ตอน ชวนพ่อแม่เป็น "ผู้ประคอง" แทนผู้ปกครอง

เพราะเราอยู่กับลูกตลอดเวลาไม่ได้ การเป็นผู้ปกครองไม่เพียงพอให้ลูกอยู่รอดได้โลกที่มีความผันผวนได้ ครูหม่อม ชวนเปลี่ยนจากผู้ปกครองเป็น “ผู้ประคอง” เพื่อให้ลูกสามารถอยู่รอดได้อย่างมีความสุข

ฟังวิธีการโดยครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ความหมายของผู้ประคอง

 

ที่จริงคำนี้ครูหยิบมาพูดเพราะว่า พอพูดแล้วมันคลิกว่าคุณพ่อคุณแม่ติดเป็นผู้ปกครองลองเป็นผู้ประคอง พอบอกเป็นผู้ประคองคำนี้ทุกคนจะผ่อนคลาย กลายเป็นว่าที่ครูหม่อมอธิบายมาเป็นชั่วโมงมันจบอยู่ที่ผู้ปกครองแต่พอเราคลายคำว่าลองเป็นผู้ประคองดูแล้วความปกครองเราจะหายไป ปรากฏว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจครูหม่อมเลยหยิบยกคำนี้ขึ้นมาและพูดถึงอยู่บ่อยๆ ความต่างก็ตามความรู้สึกหรือความหมายตามที่เรารู้สึก

ถ้าเราเป็นผู้ปกครองเมื่อไหร่ก็กลายเป็นเราต้องไปปกครองเขาคอยสั่ง ตัดสิน ควบคุม ตีตรา แต่ถ้าเราลองเป็นผู้ประคองแปลว่าเรากำลังอนุญาตให้ลูกได้รู้สึกในแบบที่เขารู้สึกจริงๆ คิดในแบบที่เขาคิดจริงๆ มันจะผิดหรือถูกไม่รู้มันไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ความคิด ความรู้สึกนึกคิดของลูกเกิดขึ้นจริง แล้วเราจะประคองลูกเราอย่างไรให้กลับมาอยู่บนทิศทางที่ควรจะเป็นถ้าเราประคองเขาได้วันหนึ่งเขาก็จะอยู่ได้ประคองตัวเองได้

แต่ถ้าเราปกครองเขาวันหนึ่งเราไม่อยู่แล้วใครจะไปควบคุมเขา หรือถ้าเราไปทำแทนไปทำให้วันหนึ่งเราไม่ทำให้ใครจะไปทำให้เขา แต่ตอนนี้เรากำลังให้เขาทำให้เขาคิดให้เขารู้สึกแล้วเราประคองสิ่งที่เขาคิดสิ่งที่เขาทำสิ่งที่เขารู้สึกให้อยู่ในลู่ในทาง

คนเป็นพ่อเป็นแม่มักไม่ค่อยอนุญาต บางทีไม่อนุญาตตัวเองให้ทำอย่างนู้นอย่างนี้ด้วย ยิ่งเป็นลูกเราก็เผลอไปปกครอง เราอนุญาตให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยที่เราค่อยๆ เรียกให้เขากลับเข้าลู่ทางที่มันควรจะเป็น อย่างเช่น ถ้าลูกอยากไปพัทยาเราไม่ห้ามลูกไปพัทยาแต่เขาก็จะหาวิธีทางไปของเขาถ้าเขาอ้อมไปหัวหินเราก็ต้องกวักมือกลับมาแต่ในการกวักมือเราก็ต้องอยู่ข้างๆ ทางที่เขาไปหัวหินประคองเขากลับมาเพื่อไปสู่พัทยา แต่ถ้ายืนอยู่ตรงนี้แล้วตะโกนไปตรงนั้น มาทางนี้ ต้องไปทางนี้ แบบนี้ก็จะยากคือการปกครอง ลูกจะมาเวลาที่เราไปสั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุมลูก

สิ่งที่เกิดขึ้นคือลูกทำเพราะกลัวกับลูกไม่ทำเพราะก้าวร้าวเราจะได้ลูกแบบนี้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราประคองเราจะได้ลูกที่เรียนรู้ลองผิดลองถูกเรียนรู้ได้จากสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมคือเขาจะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่าอันนี้ไม่เหมาะสมและสิ่งที่เขาทำไม่เหมาะสมมันเกิดอะไรไม่ดีกับเขาบ้าง

แต่ถ้าเราเป็นผู้ประคอง เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เขารักอะไรที่เราเสียใจจะกลายเป็นบทลงโทษของลูกเราอย่างหนักมาก แต่ถ้าเรายังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับลูก บางครั้งลูกประชดประชันแกล้งทำให้มันไม่ดีเพื่อให้พ่อแม่เสียใจเพราะสะใจลูกอันนี้คือความต่างผลลัพธ์ของผู้ประคองและผู้ปกครอง

Checklist เราเป็น

1.วันนี้ทั้งวันเราพูดอะไรกับลูกมากที่สุด

ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ส่วนใหญ่ที่ครูหม่อมเจอคือชื่อลูก เสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสาม ถ้าวันหนึ่งๆ เรามีเสียงไหนเราต้องเรียกลูกด้วยน้ำเสียงอย่างไรตลอดทั้งวัน เราสามารถจะตัดสินเองได้ว่าเราเป็นผู้ประคองหรือผู้ปกครอง

2.ถามตัวเองว่าเราสั่งหรือสอนลูกมากกว่ากัน

ตั้งแต่เช้าเราพูดอะไรกับลูกเป็นคำสั่งหรือคำสอนมากกว่ากัน ถ้าเป็นคำสอนต้องเป็นการสอนจริงๆ ไม่ใช่เป็นการปรับพฤติกรรมเด็กไทยในวันหนึ่งๆ ได้ยินเสียงคำสั่งเยอะ ครูหม่อมเคยทำงานวิจัยเชื่อหรือไม่ภายใน 1 นาที เด็กไทยได้ยินคำว่า ห้าม ไม่ อย่า หยุด เกือบประมาณ 80 ครั้ง ภายใน 1 นาที จากหลายๆ ทาง ลูกไม่ อย่า ห้ามอยู่ตลอดเวลา คำถามคือให้เราลองนึกถึงตัวเรามีคนมาสั่งเราทั้งวันมันกระตุ้นอารมณ์เราไหม

3.คำถามต่อไปลองเช็กดูเราดุหรือปลอบลูกมากกว่ากัน

4.ตำหนิลูกหรือชมลูก

ทั้งวันมานี้เราตำหนิหรือชมลูก วันหนึ่งๆ คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คตัวเองดูว่าสายตาเราไปจ้องจับผิดหรือมองเห็นสิ่งดีๆ ของลูกเรา ผู้ปกครองจะคอยมองว่าทำอะไรผิด จับผิด

แต่ถ้าจะเป็นผู้ประคองเราต้องประคองเขาจากสิ่งที่เขาทำได้ดี แล้วไปพัฒนาตัวเขาให้ดีขึ้นไปอีกเพราะธรรมชาติของมนุษย์คือการเรียนรู้ เราอยากประสบความสำเร็จก็จะมีกำลังที่จะไปต่อ แต่ถ้าทำอันนี้ก็ย่อท้อ อันนั้นก็ไม่ดีเราจะรู้สึกว่าไม่กล้าทำ ไม่ยากทำ ยิ่งทำแล้วโดนดุด้วย ทำแล้วโดนตัดสินว่าเป็นคนไม่ดี ทำแล้วโดนตัดสินว่าเป็นคนไม่เก่ง มันจะไม่อยากโชว์ ไม่มีใครอยากโชว์ความไม่เก่งของตัวเองความมั่นใจสูญเสีย แต่ถ้าเกิดทำแล้วมันมีคนเห็นมันเพิ่มพลังใจ มันอยากจะทำเข้าไปอีก

4 ข้อนี้ เอาไว้ Checklist ก่อนนอน หากว่าเราเช็กในวันนี้คืนนี้กลายเป็นว่าสั่งมากกว่า ดุมากกว่า ตำหนิมากกว่า ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เริ่มใหม่ เราเริ่มใหม่แล้วเราอยู่กับลูกไม่ใช่แค่วันนี้พรุ่งนี้เราอยู่กับลูกอย่างน้อย 30 ปี ก่อนเขาแต่งงาน เพราะฉะนั้นใน 30 ปี ตั้งจิตอธิษฐานไว้เลย อะไรที่ผ่านมาลูกเราอาจจะแค่ 5 ขวบ 6 ขวบ หรือ 10 หรือ 15 ขวบ ไม่เป็นไรยังเหลือเวลาอีก 25 ปี เหลือเวลาอีกเยอะที่เราจะปรับและลองใหม่ ค่อยๆ ปรับไป

พ่อแม่เป็น “ผู้ประคอง” สำคัญในยุคนี้

ต้องบอกว่ายุคนี้อะไรก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ยิ่งเป็นยุคที่โควิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เทคโนโลยีเรายังตั้งรับมือได้ไม่ดีเลย แต่สถานการณ์ที่มันผันผวนปรวนแปร โควิดเราก็ไม่เคยคิดว่าจะมีระลอก 2 ระลอก 3 แล้วก็ไม่รู้จะมีอะไรอีก เพราะฉะนั้นเรื่องความมั่นคงทางอารมณ์ของมนุษย์เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ผันผวนปรวนแปรอยู่อย่างนี้ ถ้าเราไม่มีคนคอยประคองอารมณ์เราก็จะรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ลำบาก

ผู้ประคองมีเอาไว้สำหรับ เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ที่จะต้องประคองอารมณ์ตัวเองพอเราประคองอารมณ์ตัวเองเสร็จเราจะไปประคองอารมณ์คนข้างๆ ได้ ถ้าเกิดเราหวั่นไหว คนข้างๆ ก็หวั่นไหว

ในยุคสมัยนี้อารมณ์ของเราจะขึ้นลงเยอะเพราะสิ่งที่มาปะทะหรือข้อมูลภายนอกจะเร็วผันผวนควบคุมไม่ได้มันส่งผลกันมนุษย์เราแน่นอน อะไรที่เราหวังไว้ อะไรที่เราตั้งใจไว้มันไม่เป็นไปตามนั้น ความเครียดก็เกิดถ้าไม่มีผู้ประคองความเครียดเรา เราก็จะประคองความเครียดตัวเองลำบาก แต่ถ้ามีคนมาประคองความเครียดเรา เราก็จะประคองความเครียดตัวเองได้ และเราก็จะไปประคองความเครียดก็คือไปรับมือความเครียดของคนอื่นได้อีก เพราะฉะนั้นผู้ประคองจะสำคัญมากๆ ในยุคสมัยนี้

เวลาที่เราบอกว่าประคองไม่ไหวแล้วครูว่าอันนี้คือเทคนิค เมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้ตัวว่าเราประคองไม่ไหวแล้วนั่นคือทักษะอารมณ์อีกเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่คนที่เขวี้ยงอารมณ์ ขว้างปาอารมณ์ เหวี่ยงอารมณ์ใส่คนอื่น คือคนที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังประคองอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ เพราะฉะนั้นจุดเริ่มแรกในเทคนิคเลยคือ

1.รู้ความรู้สึกตัวเอง

ถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่อยากให้คิดไว้เลยว่าถ้าเมื่อไหร่ที่เราโมโหเราจะทำอย่างไร มันคือเรื่องของ Anger management หรือเรื่องการจัดการความโกรธเป็นเรื่องที่เราต้องฝึกและคิดด้วยตัวเอง เราอาจจะฟังคนอื่นมาเวลาโกรธหายใจเข้า – ออก นับ 1-10 สิ เราอาจจะรู้วิธีแต่เราไม่เคยฝึกก็ต้องฝึกด้วยตัวเองว่าวิธีนี้มันเวิร์คกับเราไหม ถ้าไม่เวิร์คหาวิธีใหม่มันไม่ได้มีวิธีเดียว

2.หาวิธีประคองตัวเอง

แต่ต้องคุยกับตัวเองเยอะๆ ทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จ อย่างที่ครูบอกทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จแล้วเราจะไม่ไปทะเลาะกับใคร เราไม่เคยทะเลาะกับตัวเอง พอเราโมโหเราไปทะเลาะกับคนอื่น แต่ถ้าเราโมโหเมื่อไหร่และเราบอกว่าฉันกำลังโมโหฉันอยากจะพูดคำนี้แต่ฉันจะไม่พูดคำนี้เดี๋ยวจะทำให้สายสัมพันธ์ฉับลูก กับสามี ฉันกับภรรยาเกิดการขัดแย้งกัน ฉันจะต้องทำอย่างไรกับความโกรธนี้ คุยกับตัวเองให้เสร็จ

เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะคิดได้ว่าเราจะจัดการความโกรธอย่างไรเราต้องคิดตอนที่เราไม่โกรธ ว่างๆ คุณพ่อคุณแม่นั่งคิด เป็นอีกหนึ่งเรื่องนะคะนอกจากคิดหาเงินเข้าบ้าน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราต้องคิดว่าเวลาโกรธเราทำอย่างไร ถ้าเรารำคาญลูกทำอย่างไร นั่งคิดไว้เลย ครูจะเล่าให้ฟังว่ามีงานวิจัย งานวิจัยนี้เขาทำการแบ่งกลุ่มคนที่ไม่เคยชู้ตบาสลงห่วงมาก่อน เขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เป็นงานวิจัยที่ทำกับเด็กอายุ 15 – 60 แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือไม่เคยชู้ตบาสอย่างไรก็ไม่เคยชู้ตบาสอย่างนั้นไม่ต้องชู้ตเลย

กลุ่มที่สองให้ดูคลิปวีดิโอให้ดูจนกว่าจะจำได้ พอดูเสร็จในทุกๆ วันจะพาคนกลุ่มที่สองมานั่งเปิดเพลงแล้วให้เรานึกถึงการชู้ตบาสที่เราดูคลิปมา

กลุ่มที่สามคือให้ไปชู้ตบาสจริงเลย

ผ่านไป 1 เดือนเขาเอาคนทั้งสามกลุ่มมาชู้ตบาส ปรากฏกลุ่มที่1 ก็ตามคาดชู้ตสะเปะสะปะชู้ตไม่ได้เพราะไม่เคย สิ่งที่เราสนใจกลุ่มที่ 2 ชู้ตได้ไม่ดีเท่าฝึกปฏิบัติเหมือนกลุ่มที่ 3 แต่จุดสำคัญคือบางคนในกลุ่มที่ 2 สามารถทำได้ดีกว่ากลุ่มที่ 3 งานวิจัยชิ้นนี้สรุปไว้แบบนี้ว่ากลุ่มที่ 3 ทำได้ดีฝึกซ้อมด้วยการปฏิบัติจริงทำให้คนที่ไม่มีพรสวรรค์เลยก็สามารถทำได้

แต่กลุ่มที่ 2 ที่ให้ใช้สมองนึกจินตนาการ เขาให้ดูทีเดียวแต่วันที่เหลือนั่งนึกวิธีการชู้ตบาสไม่ให้ทำท่า ให้นั่งแล้วก็นึกว่าต้องชู้ตบาสตามภาพที่เคยเห็นให้มันลงได้อย่างไรคลิปดูทีเดียวแล้วหลังจากนั้น 1 เดือนให้นึกจินตนาการ แล้วเขาก็บอกว่าให้นึกจินตนาการพอมาให้ชู้ตจริงๆ บางคนชู้ตได้ดีมากเป็นเพราะเรื่องของพรสวรรค์ด้วย แต่ที่น่าแปลกใจคือเขาชู้ตได้ทุกคน แล้วงานวิจัยนั้นก็บอกว่าสมองของคนเราแม้ว่าตัวเราไม่เคยชู้ตบาส แต่การนั่งนึกไปตลอดหนึ่งเดือนนั้นสมองเราได้ฝึกแล้ว

ครูกำลังจะชวนทุกท่านมาเป็นนักบาสกลุ่มที่ 2 คือเราโกรธ เราต้องทำใจไปก่อนเลยว่าเราไม่ได้ฝึกตัวเองว่าไม่ให้โกรธเราต้องโกรธเหมือนที่บอกว่าผู้ประคองจะอนุญาตความรู้สึกนึกคิดเพราะเราเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ อิจฉาคนอื่นได้ไหม ได้แต่อิจฉาแล้วทำอย่างไรเป็นเรื่องที่เราต้องคิด โกรธคนอื่นได้ไหม โกรธได้แสดงว่าเราปกติแต่การโกรธนั้นเรารู้แล้วว่าเราโกรธ โกรธเสร็จเราจะจัดการกับมันอย่างไร

ผู้ประคองสอนลูก

ผู้ประคองสอนลูกอย่างไร เหมือนกันเวลาลูกโกรธก็สอนลูกแบบนี้ว่าครั้งหน้าหนูโกรธหนูจะทำอย่างไร เวลาลูกโกรธถ้าเราเป็นผู้ปกครองเราจะบอกว่าอย่าทำอย่างนี้ โกรธแล้วตีแม่ไม่ได้นะ คำพูดนี้ สั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุม ครบเลยแต่ถ้าเราบอกลูกว่า หนูกำลังโกรธ แล้วหยุดแล้วไม่ต้องพูดอะไร หนูกำลังโกรธหนูเลยตีแม่ แค่นั้นไม่ต้องพูดอะไร ทำไมถึงให้หยุดอยู่แค่นั้น

เพราะว่าเวลาที่ลูกของเรากำลังโกรธอยู่เป็นช่วงเวลาที่ลูกของเราต้องการผู้ประคองมากที่สุด โกรธแล้วเขาไม่รู้จะทำอย่างไร วิธีการที่จะระบายโกรธได้ดีที่สุดก็คือการตีคนอื่น การขว้างของ การตะโกน มันไม่ผิดเป็นเรื่องปกติเหมือนปวดฉี่ก็ต้องระบายออก ปวดฉี่มากมันต้องระบายออกเพราะฉะนั้นการระบายออกที่ดีที่สุดนั่นคือฉี่ราด โกรธแล้วตี โกรธแล้วขว้างของ โกรธแล้วกรี๊ด โกรธแล้วตะโกน นี่คือง่าย

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการบอกให้เขารู้ตัวก่อนว่าหนูกำลังโกรธ แต่พออารมณ์เขาลงสิ่งที่เราจะสอนเขาคือครั้งหน้าแทนการกรี๊ดเมื่อหนูโกรธแทนการตีแม่หนูจะทำอะไรได้ นั่นคือสิ่งที่เราจะสอนลูก ที่ครูถามว่าสั่งหรือสอนมากกว่ากันเราสอนลูกให้ลูกคิดหรือเปล่าเวลาสอนก็บอกเป้าไปว่าถ้าโกรธต้องทำอย่างไรแต่ที่เหลือคือลูกเป็นคนคิด

แต่ถ้าเราบอกว่าถ้าครั้งหน้าหนูโกรธหนูต้องนับ 1-10 ไม่ก็เดินหนีไป ไม่ใช่มาตีแม่ แบบนี้สอนหรือสั่ง ในคำพูดจะบอกเลยว่าเป็นคำสั่งหรือคำสอน ปกติที่ผ่านมาเราอาจจะคิดว่าเราพูดแบบนี้ว่า คราวหน้าถ้าโกรธทำอย่างนี้อีกไม่ได้นะ ไม่น่ารักเลย เราคิดว่าเราสอนอยู่แต่คนฟังไม่ใช่นะ สั่งไม่พอ ตัดสิน ตีตรา ทำแบบนี้ไม่น่ารัก ถ้าแม่ปล่อยไปลูกก็จะไปทำกับคนอื่น. แบบนี้เราคิดว่าสอน แต่ถามว่าลูกได้คิดอะไรไหม ความรู้สึกนึกคิดของลูกไม่มีเลย มีแต่เราไปปกครองเขาอยู่อย่างเดียว

ผู้ประคองประคองอารมณ์ ประคองให้เขาค่อยๆ ฝึกทักษะไปกับเรา เวลาเห็นลูกโมโหสิ่งที่ครูอยากให้มองใหม่คือดีใจในเผ่าพันธุ์ ภูมิใจว่าลูกเรามีสมองส่วนความรู้สึก มีรัก มีหลง มีอารมณ์ มีโกรธ มีอิจฉา มีอยากได้ ถ้าเกิดว่าลูกเราเป็นแบบนี้ดีใจเอาไว้ เพราะมีเด็กที่ไม่รู้สึกอะไรเลย มีตั้งแต่ไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่เข้าใจ เด็กเฉย เด็กที่ตัดตัวเองออกจากโลกไม่อยากจะรู้สึกอะไรชินชา

เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกเรามีอารมณ์ที่หลากหลายนั่นคือพรอันประเสริฐแล้ว ที่เหลือคือเราจะประคองให้เขาแสดงออกอารมณ์เหล่านั้นอย่างไรให้อยู่บนลู่บนทางที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่นั่งคิดฝึกตัวเอง ฝึกตัวเองเสร็จเอาวิธีนี้ไปสอนลูก

คาถาการเป็นผู้ประคอง

คาถาของครูหม่อมจะมีคำว่า มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ ถ้าเมื่อไหร่ที่เราท่องคาถา มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ แล้วคาถานี้เข้าไปอยู่ในใจลูกเราจะกลายเป็นฐานที่มั่นทางใจให้ลูกได้ทันที เพราะฉะนั้นให้ท่องคาถานี้เมื่อไหร่ก่อนจะพูดอะไรก่อนพูด มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ ไหมถ้าพูดไปแล้ว มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ พูดเลย

 

พบกับ รายการ รักลูก The Expert Talk ทุกวันพฤหัสบดีที่ 1 2 และ 3 ของเดือน

ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk 

Apple Podcast:  https://apple.co/3m15ytB

Spotify:  https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:  https://bit.ly/3cxn31u

www.rakluke.com/community-of-the-experts.html

 

รักลูก The Expert Talk EP.11: เลี้ยงลูกเชิงบวก ตอน "เลี้ยงลูกเชิงบวก" กับครูหม่อม

เลี้ยงลูกเชิงบวก ตอน เลี้ยงลูกเชิงบวก กับครูหม่อม

การสร้างวินัยเชิงบวก ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในครั้งเดียวนะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำวนไป จนเกิดเป็นนิสัยและวินัยเชิงบวกที่จะติดตัวลูกไปตลอด ฟังวิธีการสร้างวินัยเชิงบวก ที่ไม่ได้ยากเกินมือพ่อแม่ จากครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

การเลี้ยงลูกเชิงบวกสัมพันธ์กับทักษะสมอง EF อย่างไร

วิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวกเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทักษะสมอง EF ให้กับเด็กๆ เพราะการเลี้ยงลูกเชิงบวก คือการที่คุณพ่อคุณแม่สอนและฝึกฝนลูกไปสู่พฤติกรรมเป้าหมายบนฐานของความรักความอบอุ่นความไว้ใจ และการรู้ว่าต้องใช้เวลาในการฝึกฝนด้วยและใช้เวลาในการปลูกฝังความไว้ใจกันและกันด้วย

ที่พูดไปทั้งหมดมันเป็น Key Word ทั้งหมดเช่น ถ้าเราให้คุณพ่อคุณแม่สอนและฝึกฝนลูกให้ไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย คำถามคือในแต่ละวันที่เราสอนลูกทุกครั้งที่เราสื่อสารกับลูกเรามีเป้าหมายในการสอนลูกไหม เช่น ลูกกำลังวิ่งเล่นอยู่แล้วเราบอกอย่าเล่นลูกเดี๋ยวล้ม เป้าหมายของเราคืออะไรกลัวเขาล้ม เรากำลังสอนและฝึกฝนพฤติกรรมเป้าหมายไหม คำตอบคือ ไม่ใช่เพราะคำพูดนั้นมาจากความกลัวของเรา

ถ้าจะไม่ให้เขาวิ่งแล้วล้มเราอยากสอนอะไรสอนให้เขาระวัง สอนให้เขาเดิน เราอยากสอนอะไรเขา เราต้องมีเป้าหมายแล้วสื่อสารฝึกฝนเขาไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย ถ้าเราอยากสอนให้เขาระวังต้องสื่อสารว่าวิ่งอย่างไรก็ได้ไม่ให้ล้ม หนูจะวิ่งอย่างไร ได้ใช้ EF คือการทำงานสมองส่วนหน้าเป็นสมองขั้นสูงที่ใช้ในการกำกับความคิด กำกับอารมณ์ กำกับพฤติกรรมเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

เวลาที่เด็กวิ่งเล่นอยู่แน่นอนอารมณ์ฟุ้งซ่าน อารมณ์มาก คึกมากก็จะวิ่งพ่อแม่ดูก็จะกลัวพอกลัวแล้วเราจะให้ EF เขากำกับอารมณ์เขาอย่างไร ถ้าเราบอกหยุดอย่าวิ่ง เขาหยุดแต่ EF ก็จะไม่ทำงานเพราะเขาหยุดจากคำพูดของเราไม่ได้หยุดจากการใช้ EF ของตัวเองกำกับพฤติกรรม กำกับอารมณ์ เพื่อไปสู่เป้าหมาย แถมถ้าเราบอก หยุด อย่าวิ่งเดี๋ยวก็ล้ม เรากำลังขัดใจเขาไหม นอกจากอารมณ์สนุกที่หยุดลงแล้ว เรายังไปเพิ่มความรู้สึกไม่พอใจขึ้นมาอีก เท่ากับเรากำลังจุดประกายอีกว่าเรากับลูกกำลังพร้อมบวก ถ้าเราไม่ใช้วินัยเชิงบวก คำพูดที่เราสื่อสารไปก็พร้อมบวกแน่นอน

ตั้งเป้าหมายกับลูก

ฉะนั้นถามตัวเองเราอยากได้อะไรจากลูก ตั้งเป้าหมายก่อน เรากำลังอยากฝึกฝนลูกเรื่องอะไร วิธีการสื่อสารพูดไปแล้วลูกมีส่วนร่วมในการคิดไหม ถ้ามีและอยู่บนฐานของความไว้ใจซึ่งกันและกันแล้วแน่นอนเรากำลังสอน ฝึกฝนเขาเพราะวินัยจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลา

ฉะนั้นอยากให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่าถ้าเราสอนลูกวันนี้ หนูวิ่งอย่างไรก็ได้ลูกแต่ดูแลตัวเองไม่ให้ล้ม เราพูดวันนี้ครั้งที่ 1 ไม่ได้แปลว่าพรุ่งนี้ได้เลยต้องใช้เวลา แปลงความห่วงใยของคุณพ่อคุณแม่เป็นเชิงบวกอยู่บนฐานเมื่อพูดออกไปแล้วมีเป้าหมายที่จะพูด พูดไปแล้วอยู่บนฐานที่ให้เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพราะเท่ากับไว้ใจเขาและให้เขาได้ใช้ EF ด้วย แต่ถ้าเราไม่แปลงความห่วงใยของเราเป็นคำพูดเชิงบวกคำพูดของเราที่ออกไปจากอารมณ์เชิงลบก็พร้อมบวกลูก

เป็นพ่อแม่เชิงบวก

ตามหลักเลยก่อนที่เราจะพูดอะไรหยุดคิดนิดหนึ่งว่าเราอยากได้อะไรจากเขาแปลงความกังวล รู้ตัวเองก่อนว่าเรากำลังกังวลลูกนะ เรากำลังกลัวว่าลูกจะเกิดอะไรขึ้น กลัวว่าจะเกิดอะไรแล้วเราจะสอนอะไรเขา ลองคิดไปว่าถ้าไม่มีเรายืนอยู่ตรงนี้เราอยากให้เขาเป็นคนอย่างไร เราก็ใช้วิธีการสอนตั้งเป้าหมายแล้วสอนเลย ยกตัวอย่างอะไรได้บ้าง

แม่ดอยอยากสอนลูกเรื่องอะไรหรือกังวลเรื่องอะไรอยู่ไหม คือตอนนี้กำลังกังวลว่าเขากำลังอยู่ในวัยอนุบาล แล้วถ้าถูกเพื่อแกล้งมากๆ ปฏิกิริยาที่เขาโต้ตอบไปมันจะไปพร้อมบวกกับคนอื่นไหม จะมีวิธีการป้องกันอย่างไรเพื่อไปเรื่องของการสร้างสรรค์ เพราะเห็นว่าสถานการณ์เดี๋ยวนี้มีเด็กแกล้งกัน ชกกัน บูลลี่กัน เรื่องเหล่านี้มีวิธีคิดเชิงบวกที่พ่อแม่จะให้กับลูกในวิธีการแก้ปัญหาสถานการณ์

ในคำถามครูหม่อมได้ยินอยู่หลายอย่าง เวลาที่ได้ยินคำว่าคิดเชิงบวก การคิดเชิงบวกเป็นผลพลอยได้จากการมีประสบการณ์ที่บวก เพราะฉะนั้นการสร้างวินัยเชิงบวกที่เราได้ยินกันที่บอกว่าเป็นเครื่องมือที่เราสื่อสารกับลูกแล้วทำให้เขามีภาพจำระหว่างเรากับเขาในทางที่ดีถึงจะคิดบวกได้

ที่นี่ถามว่าลูกเราจะรับมืออย่างไรเวลาที่ถูกเพื่อนบูลลี่ ถูกเพื่อนแกล้ง คำถามครูหม่อมคือที่แม่ดอยถามว่าเรามีวิธีป้องกันอย่างไร เราอยากป้องกันอะไร ป้องกันไม่ให้เพื่อนมาแกล้งหรือป้องกันลูกเราให้ก้าวข้ามหรือป้องกันไม่ให้ลูกถูกแกล้งอะไรคือเป้าหมายอันนี้คือคำถามก่อน ถามตัวเองก่อนทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จ เรามองเหตุการณ์ไปเด็กอนุบาลบูลลี่กันสำหรับครูหม่อมมองว่าคือเด็กที่ไม่มีทักษะสังคมมาอยู่ด้วยกันมาแย่งความสนใจกันและกัน เพราะฉะนั้นถามว่าวินัยเชิงบวกช่วยป้องกันลูกเราได้อย่างไรบ้าง คือ

ลูกเราจะให้ความสนใจกับคนอื่นได้ถ้าเขาได้รับความสนใจจากเราจนอิ่มแล้ว เหมือนเขามีข้าวผัดอยู่ถุงหนึ่งแล้วเขาอิ่มอยู่มีคนมาขอเราให้ไหม เรานึกถึงตอนจ่ายตลาดตอนอิ่มซื้ออะไรได้เยอะไหม แต่ถ้าเราไปซื้อตอนหิวเราก็จะอยากได้ไปหมด เพราะฉะนั้นป้องกันอย่างไรเวลาที่ลูกเรามีเพื่อนมาขอความสนใจจากครูจากเพื่อนอย่าไปเล่นกับลูกเรานะมาเล่นกับหนูดีกว่าลูกเราอย่างนั้นอย่างนี้ ลูกเราจะรู้สึกว่าอยู่ได้เพราะว่าไปเล่นอย่างอื่นเล่นกับคนอื่นก็ได้

บูลลี่จะเกิดคำว่าเหยื่อหรืออันธพาลได้สำหรับเด็กๆ คือเหมือนมีคนมายั่วโมโหเรา ยั่วโมโหจะสำเร็จเมื่ออีกฝ่ายโมโหแต่ถ้าอีกฝ่ายไม่โมโหมันไม่สำเร็จนะ ถามว่าอันไหนเรียกแกล้งอันไหนเรียกกลั่นแกล้งหรืออันไหนเรียกเล่นกัน บางทีกลั่นแกล้งอาจจะเป็นมุมมองของผู้ใหญ่ว่าไปพูดแบบนี้ไม่ดีแต่ถ้าอีกฝ่ายไม่ได้รู้สึกอะไรมันไม่ได้เรียกว่ากลั่นแกล้ง

เพราะฉะนั้นถ้าลูกเรามีความมั่นคงทางจิตใจคือได้รับความสนใจที่อิ่มถ้ามีใครมาเรียกร้องไม่ให้ใครมาเล่นด้วยเขาก็จะอยู่ของเขาได้ ที่สำคัญป้องกันไม่ให้ลูกเราไปบูลลี่คนอื่น ถ้าลูกเราไม่บูลลี่คนอื่นแสดงว่าลูกเราน่าคบเพราะฉะนั้นลูกเราจะมีเพื่อนแน่นอน ไม่ว่าเพื่อนนั้นอย่าไปเล่นกับคนนั้นอย่าไปเล่นกับคนนี้แต่ลูกเราไม่ต้องทำอะไรมากแต่เพื่อนจะอยากเล่นด้วย เพราะลูกเราจะเป็นคนที่มั่นคงทางอารมณ์ไม่ไปบูลลี่คนอื่น วิธีพูดจาก็จะมีแต่คนอยากเข้าหา

ที่นี่ถามว่าถ้าลูกเราถูกบูลลี่แล้วลูกเราอารมณ์มันไปเราจะทำอย่างไร เราไม่ได้ป้องกันไม่ให้คนมาบูลลี่เพราะทำไม่ได้ อันนี้พ่อแม่ต้องยอมรับก่อนที่จะไม่ไปพร้อมบวกกับคนอื่นมันห้ามสถานการณ์แบบนี้ไม่ได้ ที่นี่ให้เราคิดบวกมองในแง่ดีให้ลูกเราเจอแต่เล็กถ้าเราสอนวิธีการป้องกันเท่ากับลูกเรามีโอกาสที่จะฝึกเรื่องทักษะอารมณ์ก่อนใคร

ทักษะอารมณ์เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่งคือว่าถ้าลูกเราไม่โกรธก่อนเราสอนไม่ได้นะ ลูกเราต้องโกรธก่อนถึงจะสอนลูกควบคุมอารมณ์ได้ ลูกเราต้องโกรธก่อนถึงจะสอนลูกให้ๆ อภัยคนอื่นได้ นี่คือเรื่องทักษะอารมณ์ สังคมที่แปลกมากแล้วสิ่งหนึ่งเลยเราไม่ Protect มากเกินไปยอมรับไปเลยว่าต้องเกิดขึ้น เกิดขึ้นแต่เด็กยิ่งดีแปลว่า

1.ลูกเรามีโอกาสที่จะฝึกได้ยาวนานขึ้นตั้งแต่แรกเริ่ม

2.เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กจะดีคือบูลลี่กันตั้งแต่เด็กอนุบาลไม่ร้ายแรงเท่าบูลลี่ตอนโตถ้าฝึกตอนนี้ลูกเรารับมือตอนโตได้ ป้องกันโตไปลูกเราไม่บูลลี่ใครกับเมื่อถูกบูลลี่รับมือเป็นเพราะฝึกตั้งแต่อนุบาล ซึ่งเป็นการฝึกพ่อแม่ฝึกลูกฝึกวิธีการรับมือสถานการณ์ต่างๆ

วิธีการฝึก ถ้าลูกเราถูกบูลลี่ เหมือนเดิมมันเป็นเรื่องของอารมณ์ เราแสดงความเข้าใจอารมณ์นั้นได้กับลูกเล็กๆ เราบอกเลยว่าพ่อเข้าใจ แม่เข้าใจ ว่าหนูรู้สึกอย่างไรเมื่อเพื่อนมาทำอะไร อันนี้ในกรณีที่เขามาเล่าอะไรให้ฟังและเรามองไปรู้ว่าลูกโกรธ ลูกไม่พอใจ “พ่อรู้ว่าหนูเสียใจที่เพื่อนมากันไม่ให้คนอื่นมาเล่นกับหนู พ่อรู้ว่าหนูไม่พอใจที่เพื่อนมาหยิบของเล่นของหนูไปแล้วไปปาทิ้ง” คือเราใช้การแสดงความเข้าใจทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกรู้ว่าเป็นพวก แต่ถ้าเราฮึดฮัดขึ้นมา “ไปทำอีท่าไหนให้เพื่อนปาของไปได้ คราวหลังไม่ต้องเอาไป ก็บอกแล้วว่าอย่าเอาไป” อันนี้เรียกซ้ำเติมและทับถม

คุณพ่อคุณแม่มักไม่รู้ตัวว่าจริงๆ แล้วตัวเองไม่พอใจที่คนอื่นมาทำกับลูกแบบนี้ แล้วแสดงความไม่พอใจนั้นโดยการโทษลูก แต่ลูกไม่เข้าใจทำไมเพื่อนเป็นคนเอาของหนูไปปาทิ้งแล้วหนูยังโดนดุอีก แล้วข้างในของเด็กคืออะไรความคับข้องใจจะเกิด

เพราะฉะนั้นมันจะไม่ตรงกับคำว่าสอนและฝึกฝน Teach and train target behavior คือสอนและฝึกฝนพฤติกรรมเป้าหมาย พฤติกรรมเป้าหมายคือการที่ลูกสามารถที่จะรับรู้อารมณ์ตัวเองและแสดงออกมาอย่างเหมาะสม ซึ่งนี่คือทักษะ EF ด้วย แต่ทักษะ EF หรือสมองจะกำกับไม่ได้เลยถ้าเขาไม่มีคำสอนหรือประสบการณ์เดิมที่จะดึงออกมาแล้วก็ฟังแล้วฝึกตัวเอง เช่น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่เคยบอกว่าแบบนี้เรียกว่าโมโห หนูไม่พอใจที่เพื่อนเอาของเล่นหนูไปปา ถ้าเขาไม่มีศัพท์คำนี้ครั้งหน้าเมื่อเกิดขึ้นเขาจะไม่มีคำศัพท์ว่าโมโหในการเข้าใจอารมณ์ตัวเองในการสื่อสารกับตัวเอง

ซึ่งเด็กเล็กไม่มีคำศัพท์เหล่านี้อยู่ในหัว มีแต่ความรู้สึก พอเขาเข้าใจอารมณ์ตัวเองแล้วก็จะนำไปสู่การสอน หนูลองคิดสิถ้าครั้งหน้าเพื่อนมาทำแบบนี้อีก หนูจะทำอย่างไร ให้ลูกคิดลูกเด็กแค่ไหนก็ตามให้ถามแล้วก็วางใจกันและกัน วางใจว่าลูกเราตอบได้

ผู้ประคองมองเชิงบวก

เราผ่าน EP ผู้ประคองมาแล้ว นี่คือหน้าที่ของผู้ประคอง ผู้ประคองไม่ไปบวกเอง ไม่ไปบวกแทน ไม่ไปรบราเอง แต่ไว้ใจฝึกฝนคนของเรา เพราะฉะนั้นถามว่าทำไมถึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่วางใจลูก เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่วางใจลูก ลูกจะได้โอกาสในการฝึก EF ของตัวเองไม่พอผลที่ตามมาจะทำให้เขาเกิดการไว้ใจตัวเองได้ด้วย แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่บอกว่า “ต้องทำแบบนี้”

1 เป็นประโยคคำสั่งไม่เป็นมิตรกับสมอง

2 คำสั่งนี้ไปทำอย่างนี้นะ แต่มันไม่ใช่ตัวเขา ลูกเราเป็นคนที่อยู่หน้างานแล้วเขารู้สึกไม่ Comfortable ที่จะทำวิธีนั้นมันเป็นไปได้ว่าเขาจะไม่ทำหรือเป็นไปได้ว่าเขาทำแต่ไม่เวิร์ค

ถ้ากรณีทั้งสองอย่างมันไม่เวิร์คสำหรับเขา คิดว่าเขาจะโทษใคร ทำตามแม่แล้วมันไม่เวิร์คโทษตัวเองโทษแม่ด้วย ฐานที่มั่นก็ไม่ดีตัวเองก็ไม่ดีไม่เหลืออะไรนะ แต่ถ้าเราเอาใหม่เราถามลูกว่าครั้งหน้าหนูจะทำอย่างไรให้เขาตอบอะไรมาก็ตามให้เขาไปลอง ถ้ามันไม่เวิร์คทำอย่างไร เปลี่ยนวิธีครั้งหน้าหนูทำอย่างไรเราพาเขาเปลี่ยนวิธี เห็นไหมคำว่าร่วมทุกข์ร่วมสุขเกิดขึ้นแล้ว

ขณะเดียวกันเรากำลังโมเดลคำว่าคิดบวก คิดบวกคือไม่คิด Blame ใครแต่คิดไปทางเป้าหมายว่าถ้าแบบนี้ไม่เวิร์คเราเรียนรู้แล้วว่าไม่เวิร์ค ถ้าไม่เวิร์คมีทางเดียวไหม ไม่เวิร์คเปลี่ยนวิธี ไหนลองเปลี่ยนวิธีลองอันนั้นสิ ถ้าเขาบอกอะไรมาให้เขาลองดู ถ้าคิดไม่ออกจริงๆ แม่ลองอาจจะแชร์แต่ขอให้แชร์ประสบการณ์ว่าถ้าเป็นแม่แม่เคยทำแบบนี้

คุณพ่อคุณแม่หลายคนถามว่า Fake ได้ไหมถ้าเป็นพ่อแม่ทำแบบนี้หรือไม่เคยทำแต่อยากเล่าได้ไหม เล่าได้แต่ให้อยู่ในโทนที่ไม่ได้แบบไปทำตามนี้นะลูก คือเราให้เป็นข้อมูลแต่ที่เหลือลูกเราเป็นคนตัดสินใจมันถึงจะอยู่บนฐานของความวางใจไว้ใจ

เพราะฉะนั้นครูหม่อมมองว่าวินัยเชิงบวกจะเป็นแบบนี้ไปตลอดชีวิตไม่ใช่เรื่องนั้นก็เรื่องนี้ หมายความว่าปัญหาที่เข้ามาเพียงแต่ว่าสิ่งที่เรากำลังสื่อสารให้ลูกฟังก็คือเมื่อไหร่ที่ลูกมีปัญหาแม้ในวันที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ คุณพ่อคุณแม่กำลังพูดอยู่ซ้ำๆ ว่าครั้งหน้าลองใหม่ ครั้งหน้าทำใหม่วิธีนี้ไม่เวิร์คเหรอ ครั้งหน้าเราเปลี่ยนวิธี

เพราะฉะนั้นหลักคิดตรงนี้มันจะอยู่กับลูกของเรา ลูกเราโตขึ้นไป ง่ายๆ เลยถ้าวันนี้ลูกเรามีเราที่คอยบอกว่าพ่อเข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ลูกเราโตขึ้นไปมีแฟนจะพูดกับแฟนเขาอย่างไร ก็พูดแบบนี้ ไม่เป็นไรเอาใหม่เริ่มใหม่ได้ พรุ่งนี้ยังมีโอกาส คือมันจะเป็นลู่ทางไปแบบนี้เลยแสดงว่าลูกเรากลายเป็นคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ในตัวเอง ให้ความสำคัญกับคนอื่นเป็นเคารพในความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น

ความคาดหวังจะอยู่บนความคาดหวังร่วมกันก็คือเราเดินไปด้วยกัน แต่ไม่ใช่ความคาดหวังที่เป็นคำสั่งว่าเธอต้องทำแบบนี้เธอจะได้เป็นแบบนี้

เลี้ยงลูกเชิงบวกได้เมื่อไหร่

สามารถเริ่มได้เลย เพราะวินัยเชิงบวกมีไว้ให้คุณพ่อคุณแม่เป็นไม่ได้มีไว้ปรับลูก ในความหมายของครูหม่อมก็คือว่าถ้าไม่ได้ใช้วินัยเชิงบวกมันก็คือวินัยเชิงลบ วินัยเชิงลบหมายความว่าคือการเลี้ยงลูกด้วยความรุนแรง การเลี้ยงลูกให้เกิดความอับอาย การเลี้ยงลูกด้วยการประจาน ประชด เลี้ยงลูกด้วยการทำร้ายร่างกายหรือการทำร้ายจิตใจ เป็นการเลี้ยงลูกที่ให้เกิดการตีตราว่าห่วยว่าไม่ดี

ส่วนวินัยเชิงบวกคือการเลี้ยงลูกด้วยการสอนและฝึกฝนพฤติกรรมเป้าหมายบนความไว้วางใจลูก เป็นวิธีการที่ให้คุณพ่อคุณแม่เป็น สมมติเราเป็นคุณพ่อคุณแม่เชิงบวกอาจจะโอ๋ลูกว่า รู้ว่าลูกเสียใจหนูเลยร้องไห้ไม่ได้แปลว่าลูกจะต้องหยุดนะคะ

แต่คำถามคือถ้าลูกไม่หยุดคุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไร ก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่เป็นเชิงบวกต่อไป รู้ว่าลูกเสียใจมากหนูเลยยังร้องไห้อยู่ แล้วถ้าไม่หยุดทำอย่างไร ก็ทำต่อไป เพราะฉะนั้นถามว่าเริ่มได้เลยเพราะมันอยู่ที่ตัวเราไม่ได้อยู่ที่ผลของมัน ถ้าเราอยากเป็นคุณพ่อคุณแม่เชิงบวกต่อให้ลูกจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าลูกจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเราก็ยังต้องบวกอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่เรา โอ้ย ร้องอยู่ได้ รำคาญ แบบนี้เราหยุดการเป็นเชิงบวกและเป็นเชิงลบทันที

ผลของวินัยเชิงลบ

การสร้างวินัยเชิงลบส่งผลทั้งสมองและจิตใจด้วย เมื่อตอนต้น EP เราบอกว่าการสร้างวินัยเชิงบวกเป็นเครื่องมือทำให้ EF ทำงาน แต่ถ้าเราใช้เชิงลบเมื่อไหร่ เรากำลังกระตุ้นให้สมองส่วนอารมณ์ทำงาน ถ้าสมองส่วนอารมณ์ทำงานจะเกิดอะไรขึ้นเขาเรียกว่าสมองปิด สมองส่วนอารมณ์จะไม่ปล่อยข้อมูลให้ EF ลงมาทำงานร่วมด้วย

เพราะฉะนั้นเราจะหาเด็กที่มีเหตุผลไม่ได้เลยเพราะสมองส่วนอารมณ์จะทำงาน เมื่อเวลาที่สมองส่วนอารมณ์ทำงานอะไรจะเกิดขึ้นเด็กจะใช้ Defence mechanism หรือว่ากลไกปกป้องตัวเอง กลไกปกตัวเองมีอยู่ 3 รูปแบบ

รูปแบบแรก “กลไกปกป้องตัวเองแบบสู้”

ถ้าสู้คือง่ายๆ เลยเวลาลูกเราประทะคารมกันลูกเราก้าวร้าว เถียงไหม นั่นคือลูกเรามีสัญชาตญาณปกป้องตัวเองเป็นแบบสู้ เขาไม่ได้เป็นคนก้าวร้าว กลไกปกป้องตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ทุกคน มนุษย์ทุกคนไม่สามารถเหตุผลแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ในยามคับขันเราจำเป็นต้องใช้กลไกปกป้องตัวเองความสำคัญอยู่ที่เราไม่ได้คับขันจนเป็นนิสัยและสันดาน คืออะไรที่มันคับขันเช่น ไฟไหม้ต้องยกตุ่มหนี แบบนี้คับขัน หรือว่าอะไรที่ต้องอาศัยการเอาตัวรอดเฉพาะหน้าไหวพริบอะไรแบบนี้

กลไกลปกป้องตัวเองสำคัญ แต่ถ้าการดำเนินชีวิตแบบมีเป้าหมาย EF สำคัญเพราะฉะนั้นถ้าเราใช้วินัยเชิงลบเราชวนลูกบวกบ่อยๆ ไม่ใช้วินัยเชิงบวกนั่นแปลว่าเราจะเป็นคนที่ไปกระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ของลูกเราให้ลูกเราใช้กลไกปกป้องตัวเองจนเป็นนิสัย แบบแรกคือ แบบสู้ลูกเราจะเถียงก้าวร้าวลูกเราจะกลายเป็นคนแบบนั้นไหม จะกลายเป็นถ้าเราให้ลูกเราใช้สมองส่วนอารมณ์ในการเถียงเราบ่อยๆ เพราะฉะนั้นวินัยเชิงบวกจึงจำเป็น

รูปแบบที่สอง “กลไกปกป้องตัวเองแบบถอย” กลไกปกป้องตัวเองแบบถอยเราก็จะเจอลูกดื้อตาใส ดื้อตาใสคือไม่ทะเลาะด้วยแต่ก็ไม่ทำ ดื้อเงียบ แอบทำ โกหก เหมือนจะเรียบร้อย เหมือนคนพูดง่ายแต่ทำไมยาก

รูปแบบที่สาม “กลไกปกป้องตัวเองแบบสมยอม” สมยอมคือทำเพราะกลัวพ่อแม่ไม่รัก ทำเพราะกลัวถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจก็ตาม ก็คือจะสมยอม บอกให้นั่ง นั่ง บอกให้ยืน ยืน ทำไมถึงทำกลัวไม่รัก กลัวพ่อแม่ตี กลัวประจานหนูต่อหน้าคนอื่น ใช้ชีวิตไปด้วยความกลัวระแวง

เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกของเราใช้กลไกปกป้องตัวเองบ่อยๆ จนเป็นนิสัยก็ลองคิดดูว่าลูกเราจะเป็นอย่างไรส่วนใหญ่เราจะใช้ตอนที่เราเอาตัวรอดจริงๆ แต่ถ้าลูกเราต้องดำเนินชีวิตด้วยการเอาตัวรอดก็แสดงว่าเราเป็นพ่อแม่ที่ไม่มั่นคงไม่ปลอดภัยให้กับลูก เพราะฉะนั้นนี่แหละทำไมถึงอยากให้ใช้วินัยเชิงบวก และมันสำคัญอย่างไร ถ้าไม่ทำแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้ลูกใช้กลไกปกป้องตัวเองจนเป็นนิสัย ถ้าใช้วินัยเชิงบวกเมื่อไหร่ EF ของลูกก็ได้ทำงานเมื่อนั้นเรียกว่าการเลี้ยงลูกเชิงบวกกับทักษะสมอง EF มันต้องมาคู่กัน

 

ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

รักลูก The Expert Talk EP.12: รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" กับครูหม่อม

รักลูก The Expert Talk EP.12: รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" กับครูหม่อม

“Self คือตัวตน” ตัวตนที่แข็งแกร่ง เป็นเคล็ดลับให้ลูกอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด Self สร้างได้ และเริ่มต้นที่พ่อแม่ พบวิธีการสร้าง Self ตัวตนที่แข็งแกร่ง โดยครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Self คืออะไร

สำหรับครูหม่อมแปลเลยว่าคือความรู้สึกนึกคิดของคนๆ หนึ่ง self ก็คือตัวตนเขาต้องมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเขาเอง เป็นความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของตัวเองไม่ใช่ที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดที่มีใครมาครอบงำให้รู้สึกอย่างนั้นให้เป็นแบบนั้นเพราะฉะนั้นเรื่องของตัวตนเป็นเรื่องที่เราเป็นตัวเรา เรามีความคิดของเรา เรามีความรู้สึกของเรา เรากล้าที่จะรู้สึกแบบนั้น

Self ดีอย่างไร เรื่องนี้เหมือนที่เราคุยกันว่าถ้าเราให้ลูกรู้หมดทุกอย่าง กูเกิ้ลช่วยเราได้ทุกอย่างให้เรารู้ทุกอย่างบนโลกใบนี้แต่ไม่สามารถทำให้เรารู้จักตัวเองได้อันนี้เรื่องสำคัญ ซึ่งเราจำเป็นต้องมี Self เพราะเป็นแก่นของมนุษย์ว่าฉันรู้สึกมีตัวตนนี่เป็นจุดเริ่มต้น ถ้าเรารู้ว่าความรู้สึกนึกคิดของเราถูกได้ยิน ถูกได้ฟัง Self นี้ก็จะมีพัฒนาการขึ้นไปเรื่อยๆ ถามว่า Self ดีอย่างไร เมื่อเรารู้สึกว่าเรามีตัวตน เราจะต้องมีคุณค่าอีก 4 คุณค่า

1.ตัวตนนี้สำคัญกับคนที่รักไหม

คือตัวตนนี้มีคนรักไหม ตัวตนนี้มีคนให้ความสำคัญไหมมีคนรักมีคนให้ความสำคัญ ถ้าอย่างนั้นตัวตนนี้มีอยู่จริง

2.ตัวตนนี้มีความสำคัญกับตัวเองไหม

เราสามารถรักตัวเองได้ไหม เราสามารถภูมิใจในตัวเองได้ไหม เราสามารถชอบตัวเองได้ไหม

3.ตัวตนนี้มีคุณค่ากับคนอื่นไหม

เรียกว่า Self worth การรู้สึกมีคุณค่ากับคนอื่น คือตัวตนนี้ทำประโยชน์อะไรให้กับคนอื่นได้บ้าง เป็นที่ยอมรับของสังคมไหม

4.ตัวตนนี้มีหลักคิดในชีวิตไหม

เรียกว่าคุณค่าในชีวิตหมายความว่าถ้าตัวตนนี้ถูกเลี้ยงมาให้มีความรัก ความผูกพันในครอบครัวเขาก็จะยึดไว้เป็นหลักคิดในชีวิตว่าตัวตนนี้ต่อไปเขาก็จะต้องสร้างครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น สร้างจากสิ่งที่เขาเป็นไม่ใช่ว่าอยากเป็น คือรู้วิธีด้วยแล้วก็ใช้ประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพมาเป็นหลักคิดในชีวิตได้ด้วย ถ้าเกิดคุณพ่อคุณแม่ให้คุณค่าเรื่องของความกตัญญูตัวตนนี้ก็จะมีหลักคิดในชีวิตในเรื่องของการดำเนินชีวิตด้วยความกตัญญู รู้คุณ เป็นต้น

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ตัวตนนี้มันจะเติบโตขึ้นมามีตัวตนแล้วตัวตนจะมีคุณค่ากับคนที่รักอย่างไร มีคุณค่ากับตัวเองอย่างไร มีคุณค่ากับผู้อื่นอย่างไร มีคุณค่าในการดำเนินชีวิตอย่างไร นี่คือหลักในการดำเนินชีวิต ถามว่ามีแล้วดีอย่างไร มีแล้วคือตัวเรามีคุณค่า มันคือคุณค่าของตัวตนเราแต่มันจะแบ่งออกเป็น 4 คุณค่า

เสีย Self

หากว่าเด็กขาดคุณค่าใดคุณค่าหนึ่งไป ลองคิดดูว่าถ้าเราดำเนินชีวิตไปแล้วเรารู้สึกไม่มีคุณค่ากับคนที่เรารักเลยเสียSelf ไหม เสีย Self ดำเนินชีวิตไปสักพักหนึ่งเรารู้แล้วว่าคุณแม่ให้ความสำคัญรู้ว่าเป็นที่รักของคุณพ่อคุณแม่ แต่คุณพ่อคุณแม่ทำทุกอย่างให้หมดเลยมองไปที่ตัวเองฉันไม่เคยทำอะไรเองเลยฉันไม่เคยมีความสามารถเลย พอจะทำอะไรคุณพ่อคุณแม่บอกไม่ต้องทำเดี๋ยวเลอะ เดี๋ยวแม่ทำให้เดี๋ยวพ่อทำให้ อาจจะมีคุณค่าแบบที่ 1 มีคุณค่าต่อคนรัก แต่เขาจะไม่มีคุณค่าต่อตัวเองหรือ Self esteem ความภาคภูมิใจในตัวเองหรือการเคารพตัวเองได้เลย

ดำเนินชีวิตไปสักพักหนึ่งเช่นเดียวกันไม่เคยมีจิตสาธารณะไม่เคยไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่นไม่เคยทำตัวเองให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น Self นี้ก็จะไม่สบายใจอีก รู้สึกภูมิใจในตัวเองแต่ไม่เคยเป็นที่ยอมรับในสังคม ก็ต้องหาการเติบโตของ Self นี้อีกในด้าน Self worth การรู้สึกมีคุณค่าต่อผู้อื่นของชีวิตนี้

ดำเนินชีวิตสักพักหนึ่งมีลูกหลานหรือมีหลักการในการดำเนินชีวิต ดำเนินชีวิตไปเพื่ออะไร เรา Value เรื่องอะไรเราจะหาเจอไม่ได้เลยถ้าเราไม่เคยถูกสืบทอดมาจากวิธีการที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเรา เพราะฉะนั้นถามว่า Self นี้มีประโยชน์อย่างไร สำหรับครูหม่อมคือ Self คือตัวของเราถ้ามีแล้วพัฒนานั่นคือแก่นของการใช้ชีวิต

สร้าง Self ให้ลูก

เวลาที่เราบอกว่าเด็กบางคนมีตัวตนมากไปหรือเปล่าใหญ่คับบ้าน สั่งชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้ คือกลับไปอยู่ในตัวตนสี่ด้านที่ครูหม่อมบอก คุณค่าในสี่ด้าน เขาอาจจะมีคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าเป็นที่ยอมรับ เป็นที่รักเป็นเลเวลเริ่มต้นของเด็กเล็กๆ ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้แต่ทำไมยัง Act Out หรือยังสั่งคนทั้งบ้านเรียกร้องความสนใจอยู่ เป็นไปได้ที่เขาอาจยังไม่เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง ตัวเองเป็นที่รักแต่ตัวเองยังไม่เห็นว่าทำอะไรได้

เพราะฉะนั้นอาจจะต้องแล้วแต่บ้านอาจจะต้องเพิ่มให้เขาหน่อยว่าควรเพิ่มด้านไหนบ้าง หรือเป็นไปได้ว่าสั่งชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้แต่นั่นแปลว่าเฉพาะแต่เวลาที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะอยู่ด้วย 10 นาทีต่อวันก็ได้นั่นแปลว่าหนูจะรู้สึกมีตัวตนอยู่ 10 นาทีนี้ นอกจากนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่อยู่ไหนก็ไม่รู้ก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นการเช็กว่าตัวตนสำคัญไหมเวลาที่เราบอกว่าเราอยากให้ลูกรู้ว่าตัวเองมีตัวตนก็คือการรู้ว่าความรู้สึกนึกคิดของเขาถูกฟัง ถูกฟังเมื่อไหร่ตัวตนที่หนึ่งจะเกิดต่อมาเขาจะเริ่มรู้แล้วว่าเขามีตัวตน ตัวตนนี้เป็นที่รักที่ยอมรับของพ่อแม่กับคนที่รัก หากเขาอยากทำอะไรแล้วคุณพ่อคุณแม่ส่งเสริม เรียนรู้ด้วย และมองเห็นว่าเขาทำอะไรได้บ้าง Value ที่สองของตัวตนเกิดเราค่อยๆ ดูไปทีละ Value

พัฒนาการของ Self

กว่าคนๆ หนึ่งจะมีความรู้สึกนึกคิดเป็นตัวของตัวเองมีพัฒนาการ 3 ขั้นด้วยกัน เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน เด็กแรกเกิดจะยังไม่รู้ว่าตัวเองมีตัวตนคือยังไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิดปฏิกิริยาต่างๆ เกิดจากการทำงานของสมองอัตโนมัติเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดก่อน รวมถึงการเตรียมพร้อมการทำงานของสมองที่จะให้ออกมารับรู้เรื่องรูปรสกลิ่นเสียงต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสะสมเอาไว้ก่อนที่จะรับรู้ว่าตัวเองมีตัวตน เพราะฉะนั้นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจะยังไม่รู้ว่าตัวเองมีตัวตน ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิด

พอถึงประมาณ 6 เดือน จะเป็นขั้นที่หนึ่งของพัฒนาการด้าน Self ก็คือขั้นวัตถุมีอยู่จริงเราก็ต้องอ้างอิงคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์อีกแล้วเพราะคุณหมอใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย

ขั้นแรกที่เราเรียกว่าวัตถุมีอยู่จริง

วัตถุแรกที่ควรมีอยู่จริงคือแม่ แม่ต้องมีอยู่จริงและคำว่าแม่ของคุณหมอประเสริฐก็ไม่ได้หมายความว่าแม่ที่เป็นแม่จริงๆ ด้วยก็คือผู้เลี้ยงดูตัวจริงอาจจะเป็นปู่ย่าตายายก็ได้ คุณพ่อก็ได้หรือคุณพ่อมีอยู่จริงได้เหรอ ได้ ก็คือพ่อมีอยู่จริงแม่มีอยู่จริงใครสักคนหนึ่งมีอยู่จริงวัตถุมีอยู่จริง

คำว่าวัตถุมีอยู่จริงหมายความว่าอะไรที่อยู่ในสายตาสำหรับเด็กเล็กคือมีอยู่ อะไรที่ไม่อยู่ในสายตาแปลว่าไม่มี 6 เดือนนี้ที่สิ่งที่เกิดการทำซ้ำคือ ร้องไห้คุณแม่เดินมา มองหน้า โอบอุ้ม สัมผัส ให้กินนมลิ้มรสจากที่หิวเปลี่ยนเป็นอิ่มรู้สึกฟิน

พอคุณแม่เดินไปล้างขวดนมสำหรับลูกคือกำพร้า ไม่มีแม่ แม่หาย เหงาร้องไห้ แม่เดินมาหาใหม่ พอแม่เดินมาหาใหม่มองสบตา โอบอุ้ม ปลอบประโลม จากที่กลัวกลายเป็นไม่กลัว มีแม่มีพ่อ แม่เดินไปล้างจานไม่มีอีกละ อาศัยการร้องไห้ การสื่อสารคุณแม่เดินมาทำให้ลูกเปลี่ยนจากกลัวเป็นไม่กลัว เปลี่ยนจากหิวเป็นอิ่ม ไม่สบายตัวเป็นสบายตัว ไม่ปลอดภัยเป็นปลอดภัย

ผ่านไป 6 เดือน ร้องไห้หิวนมคุณแม่แค่ส่งเสียงมาลูกหยุดร้องไห้ได้ นั่นคือสัญญาณแรกของการที่ลูกรู้ว่าวัตถุมีอยู่จริงหรือว่าแม่มีอยู่จริง คำถามก็คือว่าทำไมเด็ก 6 เดือนถึงหยุดร้องไห้ได้เพราะเขามีภาพอยู่ในหัวว่า 6 เดือนที่ผ่านมาคุณแม่มาตอบสนองความต้องการพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นขั้นที่หนึ่งก็คือแม่มีอยู่จริง

ขั้นที่สองเกิดขึ้นประมาณ 8 เดือน

คือการสร้างความผูกพันคือต้องมีวัตถุก่อนถึงจะสร้างความผูกพันได้ ความผูกพันนี้ก็จะมีไปตั้งแต่ 8 เดือนเป็นต้นไป ความผูกพันนี้มีคุณภาพด้วย มีคุณภาพแบบ Secure Attachment คือความผูกพันแบบปลอดภัยคือเกิดจากการเลี้ยงดูที่มีความสม่ำเสมอตอบสนองความต้องการพื้นฐานได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความสม่ำเสมอ ลูกคาดเดาได้ว่าถ้าทำแบบนี้แม่จะทำอย่างไร อันนี้รู้สึกมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้ แต่ก็มีแบบรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งมีอยู่สองอย่างเกิดจากการตอบสนองเชิงลบคือไว้ใจได้ว่าแม่ตีหรือแม่ตะวาด ก็คือรู้สึกไม่ปลอดภัยไม่ใช่ไว้ใจว่าเดี๋ยวแม่มาปลอบ

แบบไม่ปลอดภัยก็จะแบ่งออกเป็นแบบนี้ค่ะมาทีไรมาเชิงลบมาชวนลูกบวกตั้งแต่เบบี๋ กับแบบที่สองคือทิ้งขว้าง ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าการเรียกร้องความต้องการอันนี้ที่ร้องไห้ออกไป สื่อสารออกไปจะรับการตอบสนองกลับมาหรือไม่ แต่แบบไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ก็คือรูปแบบรุนแรงหรือรูปแบบๆ คาดเดาไม่ได้ ก็จะเป็นการทำให้เด็กเกิดการพัฒนาเรื่อง Defense Mechanisms อีกเช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้นการตอบสนองแบบไม่ปลอดภัยหรือว่าการคาดเดาไม่ได้ ปล่อยปละละเลยมาบ้างไม่มาบ้างก็แล้วแต่ว่าเมื่อมาปะทะกันแล้วลูกเราจะสู้ ถอย หรือสมยอม ซึ่งอันนี้ไปฟังได้ใน EP เลี้ยงลูกเชิงบวก ไม่ให้พร้อมบวก ทีนี้พอเราสร้างความผูกพันแบบมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้แล้วก็จะไปสู่ขั้นตอนที่สามของพัฒนาการด้าน Self จะเกิดขึ้นประมาณ 2 ขวบไป 3 ขวบ นั่นคือ

ขั้นตอนที่สามหนูมีอยู่จริงเป็นขั้นที่แยกตัวตนออกจากพ่อแม่

ตอนแรกลูกจะคิดว่าตัวเองกับพ่อแม่เป็นคนเดียวกัน แต่มันมีที่มาที่ไปคุณพ่อคุณแม่ลองดูตอนที่ลูกเป็นเบบี๋ถ้าเราจะไปธนาคารเราจะคุยกับลูกไหม เราบอกลูกไหมว่าเดี๋ยวจะไปธนาคาร หรือเราลงจากรถมาปวดฉี่อยากเข้าห้องน้ำเราก็ถือตะกร้าลูกมาเราก็วางตะกร้าลูกไว้แล้วก็วิ่งไปเข้าห้องน้ำ เพราะฉะนั้นการสื่อสารอะไรแบบนี้จะยังไม่รู้

ทีนี้ให้เรานึกถึงตอนเราเป็นลูกอยู่ในตะกร้าเวลาเราจะไปไหนเราจะไปตามพ่อแม่ เพราะฉะนั้นลูกจะรู้ยากมากว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง หรือถ้าเราเคยบดข้าวให้ลูกกินเวลาที่เราบดผัก บดผลไม้ บดตับ มีไหมที่ลูกไม่ชอบ ลูกเคยแหวะออกมาไหม แล้วทำอย่างไร ก็ป้อนเข้าไปอีก ลองนึกถึงถ้าเราเป็นลูก อะไรมันเข้าปาก ไม่ชอบเลยก็แหวะออกมารู้สึกตัวอีกทีอยู่ในปากอีกแล้ว เพราะฉะนั้นลูกจะแยกออกยากว่าอันไหนคือฉันอันไหนคือเขา

ฉะนั้นตรงนี้มันมีที่มาที่ไป เกิดการสะสมประมาณ 2 ขวบไป 3 ขวบ ที่ลูกเริ่มรู้ว่าตัวเองแยกตัวตนออกจากพ่อแม่ นั่นก็เพราะว่าลูกพูดได้หรือยัง 2 ขวบ วิ่งได้หรือยัง ได้แล้ววิ่งไปไหนต่อไหน พ่อแม่เพิ่งจะเดินตามมา เพราะฉะนั้นฉันอยู่ตรงนี้มองไปพ่อแม่อยู่ตรงนู้น เริ่มรู้แล้วว่าฉันกับพ่อแม่เป็นคนละคน เวลาที่พ่อแม่บอกไปอาบน้ำ หนูไม่อาบ พ่อแม่โมโห หนูกับพ่อแม่เป็นคนละคนความอยากความต้องการคนละอย่างกัน

ฉะนั้นเขาจะเริ่มรู้แล้วว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเองที่แตกต่างจากพ่อแม่ มีความสามารถที่ทำให้พ่อแม่โมโหได้ เวลาที่ลูก 2 ขวบ 3 ขวบ เป็นช่วงที่เขาเริ่มเดินได้ทำอะไรด้วยตัวเองได้เขากำลังเห่อความสามารถ เพราะฉะนั้นถ้าเขาทำให้พ่อแม่โมโหได้เขาก็เห่อ การเห่อคือการอยากอวดอยากใช้ พ่อแม่ต้องไม่เป็นเหยื่อ ดีใจไปกับลูกอย่าลืมร่วมทุกข์ร่วมสุข ดีใจและภูมิใจในเผ่าพันธุ์ของตัวเองว่าลูกเรามีความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง

วันไหนที่บอกลูกนั่ง ลูกก็นั่ง ลูกยืน ลูกก็ยืน ลูกหันมาถามให้เดินไปตรงไหนอีก แบบนี้ให้กังวลได้เลยเป็นปัญหาอย่างมากด้วย เพราะฉะนั้นถ้าลูกเริ่มมีตัวตนเราเริ่มสอนลูกได้แล้วเราเริ่มใส่ Value ก็คือ Sense of Belonging การรู้สึกว่าเป็นที่รักของคนสำคัญ Self Esteem ความรู้สึกภูมิใจ ภาคภูมิใจในตัวเอง แต่ต้องมี Self ก่อน

เพราะฉะนั้น 3 ขั้นนี้จะเห็นว่าเริ่มตั้งแต่ 6 เดือน ขั้นพ่อแม่มีอยู่จริง วัตถุมีอยู่จริง ขั้นที่สองความผูกพัน และขั้นที่สาม หนูมีอยู่จริง สิ่งที่ครูหม่อมอยากจะพูดคืออันนี้เป็นการพัฒนาเรื่องของตัวตนสำหรับเด็กแรกเกิด

แต่ครูหม่อมอยากให้จำรูปแบบของความสัมพันธ์ หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกที่โตแล้วและลูกเราเสีย Self ทำอย่างไร เราไม่ต้องย้อนลูกกลับไปแรกเกิด แต่อยากให้พ่อแม่ทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงให้กับลูกและสร้างความผูกพันมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้ใหม่ แล้วลูกจะรู้สึกว่าตัวเองมีตัวตนเป็นคนสำคัญ

ยิ่งเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น ทำไมเรากับลูกถึงมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีจำแพทเทิร์นนี้ไว้เลยค่ะ อย่างไรก็ตามทำได้เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ทำอย่างไรก็ได้ให้เขารู้ว่าตัวเองมีตัวตน ตัวเองมีตัวตนแล้วเพิ่ม Value เข้าไป อยู่กับเราแล้วเขารู้สึกว่าเป็นที่รักของเราไหม เราสื่อสารความรักอย่างไรถ้าเกิดว่าเขารู้สึกว่าเขาเป็นที่รักของพ่อแม่ แล้วพ่อแม่เป็นฐานที่มั่นทางใจ เป็นที่ปลอดภัยของเขา เขาก็จะมีตัวตน ส่งเสริมให้เขามีความสามารถไหม

คำพูดพ่อแม่ที่บอกว่าศักดิ์สิทธิ์เพราะมันไปกระทบกับ Self ของลูก ถ้าเราบอกลูกดื้อ ทำอะไรก็ไม่ดีเขาจะไม่สามารถชอบตัวเองได้เลย เพราะแม้แต่คนที่เขารักยังไม่ชอบเลย เขาจะชอบตัวเองได้อย่างไร แล้วถ้ายิ่งเขาเองไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถอะไร จะไปช่วยเหลือคนอื่นต้องคิดเยอะอีก ยากเข้าไปอีกชีวิตนี้ ถามว่าแล้วจะมีหลักคิดในการดำเนินชีวิตอย่างไร มองหันหลังกลับมาประสบการณ์เดิม พ่อด่าแม่ตี ไล่ออกจากบ้านแล้วฉันจะต้องเป็นคนอย่างไร ฉันควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร

หรือบางคนที่มี Self ปลอมสร้างให้มาเป็นที่รักของคนอื่นแต่ไม่ใช่ตัวเองจริงถือเป็นโรคทางจิต อาจเป็นโรคของคนที่มีบุคลิกภาพเสีย การมีหลายบุคลิกภาพ การสร้างบุคลิกภาพปลอมขึ้นมาเพื่อที่จะสามารถเข้ากับคนอื่นได้ สร้างแต่ว่าไม่ได้เป็นมันก็ต้องใช้ Energy เยอะเหมือนกัน ใช้แรงโกหกเยอะ แรงที่จะต้องสร้างให้เห็นว่าฉันเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นเวลาที่เรามีคำว่า True Self เป็นเรื่องที่ต้องสะสม แล้วสิ่งที่สะสมเหล่านี้ก็คือเกิดจากคำว่าต่อเนื่อง หากว่าเราจะเริ่มสร้าง Self ใหม่กับลูก เพิ่มความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูก สำหรับลูกที่โตแล้วสิ่งที่มันยากขึ้นแค่เวลาเท่านั้นเอง ไม่เหมือนกับเริ่มสร้างแต่ไม่ได้แปลว่ามันจะเป็นแบบนั้นตลอดไป แปลว่าเราสามารถกลับมาแก้ใหม่ได้แต่ต้องใช้ Energy เพิ่มมากขึ้น แต่ครูหม่อมว่าไม่มีพลังอะไรที่จะกล้าแกร่งได้เท่าพลังพ่อแม่อีกแล้ว

 

ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

 

 

รักลูก The Expert Talk EP.13: รักลูกเชิงบวก “เป็นพ่อแม่ไม่ยาก! สร้างทักษะพ่อแม่" กับครูหม่อม

รักลูก The Expert Talk EP.13: รักลูกเชิงบวก "เป็นพ่อแม่ไม่ยาก! สร้างทักษะพ่อแม่" กับครูหม่อม

ว่ากันว่าเลี้ยงเด็กสมัยนี้ยากกว่าเมื่อก่อนหลายเท่า…เป็นเรื่องจริงค่ะ แต่ด้วยความรู้ เทคนิค วิธีการและตัวช่วยต่าง ๆ ที่มีอยู่ ก็ทำให้พ่อแม่อย่างเราก้าวผ่านไปได้อย่างไม่ยากนัก EP นี้ชวนคุณพ่อคุณแม่ มาสร้างทักษะการเป็นพ่อแม่กับครูหม่อมกันค่ะ หนทางที่จะทำให้เราไม่ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมเลี้ยงเด็กยุคนี้ยากจัง ฟังครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ทักษะพ่อแม่คืออะไร

ทักษะพ่อแม่ คือความสามารถในการเป็นพ่อแม่ ไม่ใช่ทุกคนเกิดมาจะมีความสามารถในการเป็นพ่อแม่คือมันไม่ได้ติดต่อแต่กำเนิด แต่ข้อดีคือมันสามารถติดอยู่ในเนื้อในตัวเราได้จากวิถีที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเรามา นั่นแปลว่าถ้าสมมติในรุ่นของเรา เราสามารถมีวิถีทางที่ไปในทางบวก ลูกของเราไม่ต้องไปหาเพิ่มเลยว่าฉันจะเป็นพ่อแม่ที่ดีได้อย่างไรเพราะเป็นวิถีที่ถูกถ่ายทอดมา แต่ถ้าเราไม่ได้ถูกถ่ายทอดมาด้วยวิถีทางที่เหมาะสม เราก็จำเป็นที่ต้องฝึกฝน

ทักษะพ่อแม่ฝึกฝนได้ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะเหล่านี้ แต่เป็นทักษะที่เราอาจจะได้มาจากสิ่งที่พ่อแม่เราสอนเรามา หรือเราอาจจะได้มาจากการที่เราหาวิธีการที่เหมาะสมกับลูกเราเหมาะสมกับตัวเองก็ฝึกทำกันไป

ทักษะที่พ่อแม่ต้องมี

1.Growth Mindset คือการเติบโตภายใน

กรอบแนวคิดของเราที่เติบโตขึ้น ทีนี้เรื่อง Growth Mindset กับ Fixed Mindset เป็นของคู่กัน Fixed Mindset ก็คืออยู่กับกรอบแนวคิดเดิมๆ อยู่กับความเชื่อเดิมๆ ที่เราคิดว่าเราไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แล้วเราก็ติดมาโดยที่เราไม่รู้ตัว ถ้าเราจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีทักษะในการเป็นคุณพ่อคุณแม่ได้เราต้องมีกรอบแนวคิดเติบโตในการเป็นคุณพ่อคุณแม่ก่อนเช่น พวกเราอาจไม่ทันระวังว่าเรามี Fixed Mindset Parenting อย่างไร

เช่น ถ้าครูหม่อมถามทุกคนตอนนี้ว่า สมมติทุกคนนั่งอยู่กับลูก 5 ขวบ คำถามคือถ้าลูกกินข้าวไป 5 คำ แล้วบอกว่าอิ่ม “คุณพ่อคุณแม่จะบอกลูกว่าอะไร” “อีกคำ” อีกคำ มาจากไหน จากในตำราหรือเปล่า ทีนี้ถามว่าวิธีนี้มันใช่ทักษะพ่อแม่ไหม

ทักษะก็คือความสามารถที่จะพาลูกเราเป็นไปตามที่เราหวังตั้งใจเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ถ้าเรายังใช้กรอบแนวคิดเดิมๆ อยู่ ก็คือสิ่งที่ครูหม่อมไว้ตั้งแต่ต้นว่าทักษะไม่ได้เป็นเรื่องที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดมันสามารถฝึกกันได้ หรือว่ามันอาจจะติดมาจากพ่อแม่ของเราได้

การสืบทอดรุ่นต่อรุ่นจะว่าน่ากลัวก็ไม่เชิงถ้าเป็นในทางที่ดีเราก็ไม่ต้องหาทำมากมายมันก็ติดตัวเรา แต่ถ้ามันเป็น Fixed Mindset หรือว่ามันเป็นอะไรที่ไม่เคยได้ผลและเราไม่เคยหยุดและมองดูว่าวิธีการเหล่านี้มันใช่ทักษะของพ่อแม่หรือไม่หรือเป็นการจำเขามา ถ้าจำเขามาไม่ใช่ทักษะ

ครูหม่อมเชื่อเลยว่าถ้าลูกของเรากินข้าวไป 5 คำ แล้วบอกว่าอิ่ม สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะทำก็คือ ขออีกคำ หรือบอกว่า กินให้หมด ขออีก 5 คำ สเต็ปต่อไปคือแกล้งนับผิด พอแกล้งนับผิดเสร็จลูกกินครบ 5 คำ สเต็ปต่อไปคือซดน้ำแกงด้วย กินผักด้วย พอทำทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยหมดแล้วเก็บข้าวที่หกเอาไปเก็บ มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มขึ้นไม่พอแต่นึกถึงเด็กกินข้าวมื้อหนึ่งไม่มีอะไรดีเลย

แค่กินข้าวมื้อหนึ่งรู้สึก Self ตัวเองเหลือนิดเดียวคำถามที่สำคัญมากกว่านั้น คิดว่าเด็กไทยกินข้าวเคล้าน้ำตากี่เปอร์เซ็นต์ เด็กไทยถูกเข้มงวดเรื่องการกินข้าวตั้งแต่เด็ก โตขึ้นมาเด็กไทยเป็นโรคอ้วนกี่เปอร์เซ็นต์ โรคขาดสารอาการกี่เปอร์เซ็นต์ คำถามคือเข้มงวดตั้งแต่เด็กโตขึ้นมาควรจะกินเป็นใช่ไหม นี่คือสิ่งที่ครูหม่อมอยากเอามาว่าทำไมเราถึงต้องมีทักษะคุณพ่อคุณแม่

เพราะฉะนั้นถ้าเราทำตามที่เขาบอกหรือทำตามที่เราจำมา หลายครั้งที่เรามีแพทเทิร์นในการสอนที่ไปไม่ถึงเป้าหมาย เราลองดูนะคะนี่ครูหม่อมพูดแค่เรื่องกิน ครูหม่อมถามว่าปัจจุบันที่เราโตมาแล้วถามตัวคุณพ่อคุณแม่เองว่าไม่กินสักมื้อหนึ่งคุณพ่อคุณแม่มาว่าอะไรเราไหม ไม่ว่า กินขนมก่อนกินข้าวได้ไหม ได้โตแล้ว แล้วเด็กกินได้ไหม ไม่ได้ เพราะอะไร นี่คือสิ่งที่เราอยากจะมาพูดกัน

เพราะฉะนั้นที่ถามว่าทักษะอะไรบ้างที่จะต้องมี ทักษะการหยุดคิดแล้วทำกรอบแนวคิดของการเป็นพ่อแม่ให้เติบโตขึ้น ก็คือ Growth Mindset เปิดใจ รู้ว่าตัวเองฝึกฝนและเรียนรู้ไปพร้อมกับลูกได้ อะไรที่ลูกทำแล้วเรารู้สึกว่าพูดไปตามแพทเทิร์นเดิมเลยแต่ไม่ได้สอน เช่น พอลูกบอกแม่อิ่ม กินข้าวอีก 5 คำ กลืนคำนี้ลงไปแค่นี้ทักษะแรกเลย

ถามตัวเองว่าอยากได้อะไรจากลูก ใน EP เรื่องของการสร้างวินัยเชิงบวกสอนเอาไว้ว่าเราต้องมีเป้าหมาย ถ้าเราบอกว่าเราอยากให้ลูกกินข้าวให้หมดเรากำลังมีเป้าหมายสอนให้ลูกรับผิดชอบข้าวของตัวเอง พอเรามีเป้าหมายอย่างนั้นลองคิดวิธีการถ้าลูกต้องกินข้าวให้หมดต้องทำอย่างไร ใครควรเป็นคนตัก

เพราะฉะนั้นหากอยากให้ลูกกินข้าวให้หมด ให้ลูกหัดกะประมาณตนเอง หิว ถ้าลูกหิวกินเยอะแปลกไหม ถ้าลูกอร่อย กินไก่ทอดแล้วอร่อยก็จะกินแต่ไก่ทอดแปลกไหม เอาหลักการก็ไม่แปลก แต่จะกินแต่ไก่ทอดอย่างเดียวเหรอ กินอย่างอื่นบ้าง แต่พ่อแม่บางคน ตะกละไม่เหลือให้คนอื่นเลย พออะไรที่ตัวเองไม่ชอบไม่กินเลยเห็นแก่ตัว คำพูดเหล่านี้ถามว่าคุณพ่อคุณแม่หมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ ไหม หรือคิดว่าตัวเองสอนอยู่จากการที่ตัวเองจำเขามา เพราะฉะนั้นแยกให้ออก ลูกต้องกินข้าวให้หมดขอให้ลูกตักเอง

คำถามอีกถ้าวันนี้ลูกตักเองแล้วลูกกินข้าวไม่หมดทำอย่างไร ลองใหม่ มันใช้เวลาในการเลี้ยงลูกมันต้องมีการฝึกฝน ตักมากินไม่หมดจำไว้นะลูกวันนี้หนูตักเท่านี้ไม่หมดพรุ่งนี้ลองใหม่ เราไม่ได้เลี้ยงลูกแค่วันนี้ถึงวันพรุ่งนี้ ถ้าเราอยู่กับลูกอย่างน้อย 30 ปีที่เราจะอยู่ด้วยกันถ้าไม่มีใครเป็นอะไรไปซะก่อน 30 ปียังฝึกฝนกันได้

เพราะฉะนั้นพรุ่งนี้ลองใหม่ ถ้าเราให้ลูกหัดลองตั้งแต่เล็ก หากวันนี้เขารู้ว่าเขาตักแค่นี้แล้วเขาเหลือเขามีข้อมูลเพียงพอที่จะตักใหม่วันพรุ่งนี้

ครูลองพูดให้ฟังแล้วลองดูว่าแบบไหนที่ลูกอยากจะให้ความร่วมมือ ตักซะเยอะเลยตะกละแล้วก็กินไม่หมดเหลือทิ้งพรุ่งนี้ตักใหม่ กับอันนี้มันเยอะไปใช่ไหมลูก ตอนนี้หนูอิ่มแล้ว ยังดีนะที่ลูกรู้จักอิ่มหนูจำไว้นะลูกอันนี้คือปริมาณที่มันเหลือพรุ่งนี้หนูว่าจะต้องทำอย่างไร มันมีอย่างหนึ่ง ดีนะที่ลูกรู้จักอิ่ม มันคือการเคารพตัวเขา แล้วเราก็ให้คุณค่าเขาว่าหนูอิ่ม แม่เข้าใจว่าหนูอิ่ม เป็นเรื่องของการสร้าง Self ด้วย

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ที่จำมาจำวิธีมาก็มักจะเหลือทิ้งไม่ให้คุณค่าสงสารชาวนา ก่อนลูกจะสงสารชาวนาได้ ลูกต้องรู้สึกต้องถูกเห็นอกเห็นใจก่อนจากคุณพ่อคุณแม่ก่อนหนูถึงจะเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้

เพราะฉะนั้นหากเรารู้ว่านี่คืออิ่ม พรุ่งนี้ลองใหม่เท่ากับว่าเรายังมีโอกาสให้เขาได้ฝึกอีกมาก พรุ่งนี้พอลองใหม่แล้วสำเร็จ ตรงนี้เป็นคุณค่าเป็นที่รักของคุณพ่อคุณแม่ ตัวเองมีความสามารถ เพราะฉะนั้นเราต้องมีโอกาสให้ลูกพัฒนา

2.ทำใจ

ทักษะนี้สำคัญแต่ไม่ยาก แค่คุณพ่อคุณแม่รู้หลักการคือว่าในโลกปัจจุบันคำว่าพัฒนาการเด็กมีอยู่ทั่วเลย คุณพ่อคุณแม่จะเสพข้อมูลเรื่องพัฒนาการเด็กอย่างไร เพื่อเอาไปเปรียบเทียบว่าลูกฉันทำไม่ได้ แล้วก็ไปเคี่ยวเข็ญ กดดัน ลูก หรือรู้พัฒนาการไปเพื่อเข้าใจลูก

ถ้าจะให้รู้พัฒนาการไปเพื่อเข้าใจลูกคุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจยอมรับให้เร็ว เมื่อทำใจยอมรับให้เร็วได้เมื่อไหร่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถฝึกทักษะได้เร็ว

ตัวอย่างเช่น คุณพ่อที่มีลูกสาว ลูกต้องมีแฟนตอนนี้ลูกยังเล็กอยู่ พอลูกสัก 9 ขวบ 10 ขวบ ลูกต้องมีเรื่องของเพศตรงข้ามเข้ามา ถามว่าลูกเราผิดปกติไหม ไม่ผิดปกติ แต่นั่นแปลว่าคุณพ่อมีเวลาฝึกตัวเอง 9 ปี ที่จะทำใจสอนลูกให้รับมือกับเรื่องเพศตรงข้ามอย่างไร เรามองแบบนี้แทนที่จะไม่ยอมรับ แล้วก็เลี้ยงไปเสร็จแล้วก็รับความคิดของคนอื่นที่จำเขามา เช่น เดี๋ยวโตมันก็ต้องมีแฟน ไปเป็นแฟนคนอื่นแล้วเราก็หัวเน่า ถ้าความผูกพันเราดี อย่างไรเราก็ไม่หัวเน่า เหมือนเราตอนนี้ที่แต่งงานกันแล้วพ่อแม่เราก็ไม่หัวเน่า

เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำใจยอมรับ ทำใจดูเหมือนเป็นเรื่องยากแต่จริงๆ แล้วเป็นขั้นตอนเพื่อให้เรายอมรับว่าเดี๋ยววันหนึ่งพัฒนาการของลูกจะเป็นอย่างไร เมื่อวันนั้นมาถึงเราจะได้มี Growth Mindset ทัน แล้วก็ฝึกฝนทัน

วันหนึ่งลูกอาจจะเดินมาบอกว่าขอค้างบ้านเพื่อนได้ไหม เคยเตรียมคำตอบไหม เราคิดตอนนี้เราก็มักจะปฏิเสธตัวเองตลอด นี่คือเรื่องของธรรมชาติมนุษย์ คุณพ่อคุณแม่ถ้าใช้สัญชาตญาณเลี้ยงลูกจะไม่ค่อยยอมรับเรื่องเหล่านี้เพราะคิดไปถึงเรื่องนี้อีกยาวไกล แต่จริงๆ แล้วถ้าเราคิดเชิงบวกนี่คือช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ทำใจและฝึกฝนไม่ให้หน้าตัวเองกระตุกเมื่อเวลานั้นมาถึง แม่ขาขอไปเที่ยวกลางคืนได้ไหมค่ะ แค่นี้เราก็เวลามันเร็วเวลานี้มาถึงแล้ว ลูกเรา 15 แล้ว กับ ทำอย่างไรดีละ ไป Panic ตอนนู้น ลูกอยู่กับเราตั้ง 15 ปีมีเวลาให้ Panic มานานแล้ว

นี่คือทักษะที่สองที่จำเป็นมากๆ คือ ทำใจยอมรับ วิธีการคือไปดูพัฒนาการเพื่อให้เข้าใจลูกและเตรียมพร้อมตัวเองเอาไว้ว่าเมื่อถึงเวลาเหล่านี้ ครูหม่อมเชื่อว่าตามธรรมชาติสัญชาตญาณของมนุษย์อะไรที่เป็นเรื่องไม่ดีเราจะมองเป็นเรื่องไกลตัวแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เช่น ลูกเราไม่ติดยาเสพติดหรอก ลูกเราไม่ท้องวัยใสหรอก ลูกเรายังไม่มีแฟนหรอก ลูกเราไม่สํามะเลเทเมาหรอก ของทุกอย่างมีเหตุและผล ลูกเราไม่เป็น เป็นเพราะเราไม่ได้เป็นเพราะใคร เพราะฉะนั้นในวันนี้เราก็ต้องหัดทำใจยอมรับและฝึกตัวเองให้ได้

หากเป็นพ่อเป็นแม่ที่เข้าใจลูกก็จะรู้ว่าในแต่ละช่วงวัยเราควรจะยืดหยุ่นได้ประมาณไหน หากว่าเราทำใจเตรียมพร้อมยอมรับเตรียมพร้อมตัวเองได้มากเท่าไหร่ ก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้มากเท่านั้น หากเราตกใจกับคำของลูกก็เท่ากับเราไม่เป็นฐานที่มั่นทางใจให้ลูก เขาก็จะรู้สึกว่าเรื่องใหญ่ พ่อแม่ไม่เข้าใจหนู จากที่เคยเข้าใจกลายเป็นไม่เข้าใจ แต่เมื่อไหร่ที่หนูกลับบ้านตอนกลางคืนได้ไหม หนูไปเที่ยวตอนกลางคืนได้ไหม เพราะฉะนั้นอะไรที่เคยสอนเขาหลักการเหมือนเดิมเลย ถ้าจะไปต้องทำอย่างไร

3.“ได้” แทนคำว่า ห้าม ไม่ อย่า หยุด

เรียกว่าให้หัดพูดคำว่าได้ แล้วคิดเร็วๆ ว่าได้เมื่อไหร่กับได้อย่างไร หนูขอเล่นโทรศัพท์มือถือได้ไหม ได้ เมื่อหนูอายุ 12 ขวบ อันนี้ได้เมื่อไหร่ ได้อย่างไร เช่น ได้ ทำการบ้านเสร็จ กินข้าวเสร็จ อาบน้ำเสร็จ 10 นาที แล้วคืน หัดตัวเองฝึกตัวเองไปเรื่อยๆ มีแฟนได้ไหม ได้ ได้เมื่อไหร่สำหรับครูหม่อมเรื่องของหัวใจครูหม่อมไม่รู้ว่าได้เมื่อไหร่

แต่ครูหม่อมสอนเรื่องได้อย่างไร อย่างหลานครู 5 ขวบ คนนั้นเป็นแฟนหนู คนนี้เป็นแฟนหนู แต่เราบอกไม่ใช่แฟนลูกคือเพื่อนเปิดช่องโหว่อีก เรากำลังชี้โพรงอีกว่าเพื่อนกับแฟนต่างกันโดยที่เรายังไม่รู้เลยว่าเขารู้ไหมว่าอะไรคือแฟนอะไรคือเพื่อน คนนี้คือแฟนหนู แล้วปฏิบัติต่อแฟนอย่างไรลูกจริงๆ เราก็สอนเหมือนปฏิบัติต่อเพื่อนคนอื่น หรือถ้าลูกโตแล้วมีแฟนได้ไหม ได้ แต่ละบ้านไปคิดกันเองว่าได้อย่างไร

อย่างบางบ้านที่ครูหม่อมพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ลูกอายุ 12 มีแฟน นี่คือมีแฟนของจริง ถามว่าได้ไหม คุณพ่อคุณแม่บอกกัดฟันกล้ำกลืนอยู่ว่า ได้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ตกลงกันว่าอย่างไร คุยโทรศัพท์ได้วันละเท่าไหร่ ไลน์หากัน เรื่องเพศเปิดเลย เปิดเลยในที่นี้หมายถึงพูดกันเลย 12 แล้ว ห้ามมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวที่ขอ ไม่กลับบ้านกลางคืนกลับบ้าน 4-5 ทุ่ม อะไรก็ว่าไป พ่อหรือแม่ไปด้วยไม่ทางนั้นก็ทางนี้ คุณพ่อคุณแม่ฉลาดมากเกิดการคุยกัน

ถ้าเป็นเมื่อก่อนพ่อแม่สองฝ่ายเป็นอย่างไรค่ะ ไม่เจอหน้ากัน พ่อแม่ฝ่ายชายก็หวงลูกชายเขา พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็หวงลูกสาวเขาเหมือนกัน แต่ครูหม่อมบอกเลยนี่คือความชาญฉลาดของผู้ใหญ่ว่าพอพ่อแม่คุยกันปุ๊บกลายเป็นว่าพ่อแม่ฝั่งนี้ไม่ว่า พ่อแม่ฝั่งนู้นดูไปมาหาสู่กันได้มาบ้านได้ มาบ้านสิดีพอมาในบ้านเขาก็บอกเลยว่าอะไรที่เรากังวลคือพูดความกังวลและความเป็นห่วงออกไป ไปเป็นว่าได้อย่างไรและถ้าลูกไม่ทำตามนั้นก็คือมีผลที่ตามมา หากไม่ทำตามนั้นแสดงว่าไม่พร้อมมีแฟน ถ้าพร้อมมีแฟนแสดงว่าเราดูแลตัวเองได้แบบนี้ มีขอบเขตกันอย่างไรได้

ทั้ง 3 ข้อนี้คือพูดถึงทักษะแต่ถ้าพูดถึงตัวเบสิกเลยครูหม่อมอยากให้คุณพ่อคุณแม่ ปลอบเป็น สอนเป็น ชมเป็น ซึ่งตรงนี้เราเคยพูดคุยกันหลายครั้งว่า

1.ปลอบให้เป็น

แปลว่าคุณพ่อคุณแม่แสดงความเข้าอกเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของลูกบอกไปเลยว่าเข้าใจว่าลูกรู้สึกอย่างไร ไม่ว่าลูกเราจะมีพฤติกรรมร้ายแรงอย่างไร กรี๊ด ตีคนอื่น เตะข้าวของ โตขึ้นมาต่อยกำแพง ทุบรถคนอื่น นั่นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้คนๆ หนึ่งที่จะแบ่งเบาอารมณ์ของเขาได้คือ การแสดงความเข้าใจอารมณ์ครูหม่อมถือว่าเป็นอะไรที่อยากให้ทำจนเป็นนิสัยของคุณพ่อคุณแม่ มองอารมณ์ลูกปุ๊บคอยแสดงความเข้าใจ นั่นคือการปลอบ

2.สอน

ก็คือการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา พอเขาอารมณ์เย็นลงถามเขา ครั้งหน้าถ้าเกิดแบบนี้จะทำอย่างไร มีเพื่อนมาแกล้งจะทำอย่างไร เขาทำอะไรผิดพลาดไป เช่น บอกว่าเล่นเกม 30 นาที แล้วเอามาคืนปรากฏว่าไปแอบเล่น เราจะไม่พูดถึงคำว่าทำไมแอบ ทำไมขโมยเอาไปเล่น คราวหน้าเราจะถามว่าครั้งหน้าอยากเล่นควรทำอย่างไร

สิ่งหนึ่งที่ครูอยากจะบอกคือว่าที่อย่าเพิ่งดุ เพราะการที่เราบอกเขาว่าทำไมแอบเล่น ทำไมขโมยนี่คือการตัดสินตีตรา จริงๆ แล้วคือคนอยากเล่นแล้วมันควบคุมอารมณ์ไม่ได้เขาขาดทักษะ เพราะฉะนั้นพ่อแม่จะต้องสอนทักษะเหล่านี้เขาถึงจะสามารถควบคุมอารมณ์ได้

การแสดงความเข้าใจก็คือการปลอบมันเป็นช่วงหนึ่ง เช่น รู้เลยว่าอยากเล่นมากหนูเลยเอาไปเล่น แต่สิ่งที่ตามมา คราวหน้าอยากเล่นมากขนาดนี้อีกแทนการหยิบไปเล่นเลยหนูว่าหนูควรทำอย่างไร ก็คือการทวนอยู่อย่างนี้

3.การชม

คือการที่เรามองเห็นคุณค่าในตัวลูกเมื่อเขาทำดี ทำให้ลูกอยากมีส่วนร่วมกับเรา อยากทำความดีให้เห็นขึ้นไปอีก เวลาชม ชมให้ถึงคุณค่าเพื่อที่ตัวตนเขาจะได้พองฟู เช่น ถ้าเขาเอาน้ำมาให้เรา การเอาน้ำมาให้คุณค่ามันคืออะไร มีน้ำใจ ชมไปให้ถึง ขอบคุณมากเลยลูกหนูเอาน้ำมาให้หนูเป็นคนมีน้ำใจ หยอดกระปุกคุณค่าให้กับลูก

เมื่อไหร่ที่เราบอกว่าขอบคุณมากหนูถือน้ำมาให้หนูเป็นคนมีน้ำใจ คุณค่าของตัวตนแรก คุณค่าของคนรักได้ไหม คุณค่าต่อตัวเองได้ไหม คุณค่าต่อผู้อื่นได้ไหม ครบไหม คุณค่าต่อการใช้ชีวิตได้ไหม ครบถ้วน เมื่อเราชมลูกเป็นลูกก็ไปชมคนอื่นเป็น เขาก็จะมีวิธีที่ทำแบบนี้กับคนอื่นได้เหมือนกัน ก็กลับไปที่ต้น EP ที่ครูหม่อมบอกว่าวิธีการสอนมันถ่ายทอดได้จากรุ่นสู่รุ่น

ถ้าเกิดเรามาในทางที่ถูกรุ่นลูกเราจะสบายไม่ต้องไปหาอะไรที่ไหนเลย มันอยู่ในเนื้อในตัวของเขาเลยเพียงแต่ว่าที่ผ่านมาของพวกเรา เราถูกสอนโดยคุณพ่อคุณแม่รุ่นหนึ่งที่ความรู้ยังไม่เยอะขนาดนี้ และสถานการณ์โลกยังไม่สลับซับซ้อนขนาดนี้เราก็อยู่กันอย่างเบสิกได้ แต่เมื่อมันซับซ้อนมากขึ้นคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องอัพเลเวล อัพสกิลตัวเองเหมือนกันความรู้ที่มีก็เอามาช่วย Growth Mindset ของตัวเอง ช่วยทำใจตัวเอง

สังเกตอย่างไรลูกเสีย Self

อันนี้คือทักษะการสังเกต ถ้าเกิดว่าลูกเราเป็นคนร่าเริงแล้ววันหนึ่งเงียบไปอันนี้ผิดสังเกตแน่นอนเห็นชัดเจน ถามตัวเองก่อน ตัวเองพูดอะไรหรือช่วงหนึ่งคงไม่ใช่แค่วันเดียวน่าจะเป็นเรื่องอะไรที่เราผิดใจกันทิ้งช่วงไว้นานไม่เคลียร์ใจหรือว่าสะสมเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นคนสำคัญจึงทำให้ลูกเงียบไป

หากไม่ใช่ย้ายไปเรื่องที่สองคุณค่าที่สองในตัวตน เขากำลังไม่ชอบใจในตัวเองอยู่หรือเปล่าเขากำลังทำอะไรแล้วรู้สึกตัวเองไม่สำเร็จไหม ไม่มีความสามารถไหมโดนคนอื่นไม่ยอมรับไหม ลองค่อยๆ ย้ายไปว่าที่มันเกิดถ้าไม่ใช่ตัวเราลูกกำลังประสบปัญหากับการไม่เห็นความสามารถของตัวเองหรือคนอื่นจากวงนอก

ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นเด็กเล็กสองคุณค่าแรกจะสำคัญมากคือคุณค่าต่อคนรักคือคุณพ่อคุณแม่และตัวเองเห็นความสามารถของตัวเอง ถ้าลูกของเราเริ่มโตและเป็นวัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่อย่าได้โทษตัวเอง อีกอันที่สำคัญคือถ้าลูกเป็นวัยรุ่นแล้วหรือเริ่มโตแล้วตัวตนเขาจะโหยหาความสำคัญจากคนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งคุณพ่อคุณแม่จะช่วยได้ก็เหมือนเดิม ปลอบ สอน ชม สำคัญ

ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยู่ข้างเขาและแสดงความเข้าใจแล้วสอนไม่ใช่สั่ง เช่น ทะเลาะกับเพื่อนมา รู้เลยว่าลูกไม่สบายใจเพื่อนสนิทลูก ไปง้อเขาสิ หรือเพื่อนมีตั้งเยอะแยะก็ไปเล่นกับคนอื่นสิไม่เห็นต้องเล่นกับคนนี้เลย อย่าได้ทำ

ถ้าเรารู้แล้วและเราบอกลูกว่าเกิดจากแบบนี้ถ้าลูกมีเพื่อน ก็ต้องให้ทักษะเขาเรื่องนั้น ก็ต้องสอนเขาสอนอย่างไรให้เขามีส่วนร่วม หนูว่าหนูจะทำอย่างไรหนูไปลองถ้าลองไม่ได้เรามาหาวิธีกันใหม่ มั่นใจไปอีกว่ามันไม่ใช่วิธีการเดียว เพราะฉะนั้นลองดูว่าสังเกตลูกแล้วดูตัวเองเช็คตัวเองแล้วก็เช็ค Self ของลูกในแต่ละด้าน คุณค่าตรงไหนลดลงเราก็เพิ่มได้

มีลูกอีกประเภทนะ ถ้าตัวตนของลูกเราเป็นคนเงียบอยู่แล้วหรือเป็นคนขี้อายทำอย่างไรดียากเข้าไปอีก แต่ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่สนิทกับลูกเราก็จะพอรู้หรือคลำแนวทางได้ ทีแรกที่ตอบว่ายากเข้าไปอีกอันนี้เรียกว่าตอบตามสัญชาตญาณ สัญชาตญาณพ่อแม่คือ ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นถ้าเป็นอย่างนั้นจะทำอย่างไร

แต่พอมีทักษะเราจะคิดได้ว่า ถ้าเราสนิทเราจะยอมรับได้ว่านี่คือตัวตนของลูก ลูกเป็นคนขี้อายได้ไหม ได้เพียงแต่ว่าถ้าเขาอายแล้วเขาจะอยู่กับความรู้สึกนั้นอย่างไร ก้าวข้ามอย่างไร อันนี้มากกว่าที่จะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะอยู่เคียงข้างเขาตลอดไป ไม่ใช่พอลูกอายปุ๊บ ไม่เห็นต้องอายเลยไปยืนข้างหน้าเลยนี่คือการไม่เคารพตัวตนของเขาด้วยนะวิธีการแบบนี้

ทักษะพ่อแม่กับสถานการณ์ปัจจุบัน

ครูหม่อมมองเห็นว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนแปลงไป สมัยก่อนพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะอะไรมากเพราะว่าพ่อแม่อยู่กับเรา แต่ว่าสมัยนี้พ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูกเราลองมองภาพว่าในวันหนึ่งพ่อแม่อยู่กับลูกได้กี่ชั่วโมง แล้วตอนที่อยู่เราพูดอะไรกัน เมื่อก่อนพ่อแม่ดุเราแต่เราก็ยังอยู่กับพ่อแม่

แต่สมัยนี้ดุกันเสร็จต่างคนต่างแยกย้าย ดุเสร็จลูกไปโรงเรียนตั้งแต่เล็กพ่อแม่ไปทำงานพอกลับมาเข้าบ้านความเดิมที่ทะเลาะกันเมื่อเช้าเก็บกดเอาไว้ไม่ได้เคลียร์ลูกก็เก็บไว้ตอนเย็นมาเก็บเข้าไปอีกแล้วก็รีบนอนพรุ่งนี้ก็มีเรื่องใหม่เติมเข้ามาอีก

สิ่งที่สะสมอยู่ในจิตใจของพ่อแม่และจิตใจของลูกมันเป็นลบ ด้วยความเร่งรีบและยุคสมัยที่เปลี่ยนทำให้เวลาที่เราอยู่ด้วยกันน้อยลงและเทคโนโลยีที่เข้ามา เมื่อก่อนพ่อแม่ตีเรา เราเข้าห้องไปเรารอพ่อแม่มาง้อในหัวเราสมองเราคิดถึงพ่อแม่ พ่อแม่ก็อยู่กับเรา ทำไมพ่อแม่ไม่เข้าใจทำไมไม่มาง้อสักที เพราะพ่อแม่อยู่เรารู้ว่าเดี๋ยวพ่อแม่ต้องมา เด็กสมัยนี้โกรธกับพ่อแม่ปิดประตูเข้าห้องไปที่เทคโนโลยีไปที่โซเชียลมีเดียพ่อแม่ไม่ได้อยู่ในหัว

เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่มีทักษะพ่อแม่ที่จะมี Growth Mindset ที่จะรู้จักพัฒนาการลูกแล้วก็ทำใจฝึกตัวเองรู้จักคำว่า ได้ ไม่รู้จักปลอบ ไม่รู้จักสอน ไม่รู้จักชม ในแต่ละวันที่เราอยู่กับลูกเราก็จะไปที่สั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุม ลูกเมื่อไหร่ เราก็จะเป็นพ่อแม่ที่ไม่อยู่ในหัวลูกทันที

เพราะลูกเขามีที่ระบายอารมณ์ไปกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เราใครทำให้เขาสบายเขาก็ไปหาแต่อย่าลืมว่าสิ่งที่น่ากลัวคือ ใครละอยู่ในโซเชียลมีเดีย ถ้าเป็นเพื่อนทักษะสังคมมีเหมือนกันไหม ทักษะอารมณ์ก็คงเท่าๆ กันไหม วุฒิภาวะ หรือไม่ใช่เพื่อนเขาแต่เป็นใครไม่รู้ที่มาหวังผลประโยชน์จากลูกเราตอนที่ลูกเราจิตอ่อนนี่คือความน่ากลัว เพราะฉะนั้นทักษะของพ่อแม่ในยุคนี้จึงต้องมีและต้องแกร่งกว่าพ่อแม่ยุคก่อน

 

ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

รักลูก The Expert Talk Ep.53 : Toxic Stress รู้ก่อนลูกเครียดเป็นพิษ

 

 

รักลูก The Expert Talk Ep.53 : Toxic Stress รู้ก่อนลูกเครียดเป็นพิษ

 “ความเครียด” เป็นอาการที่ฟังดูแล้วไม่เป็นมิต แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมว่า มีความเครียดประเภทที่เกิดขึ้นแล้วดี!! และก็มี “ความเครียดที่เป็นพิษ” ที่เมื่อเกิดกับลูกแล้วส่งผลกระทบแน่นอน

ชวนฟังความเครียด 3ประเภท เพื่อเรียนรู้ เตรียมพร้อมและรับมือเพื่อไม่ให้กระทบกับสมองและพัฒนาการ โดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ความเครียดเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากเวลาที่เราเกิดความเครียด เวลาที่เราวิตกกังวล กลัว หวาดระแวง คิดมาก นอนไม่หลับ เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ ทั้งเราไม่ปกติและเหตุการณ์ไม่ปกติ แต่ความเครียดไม่มีเลยไม่ได้ความเครียดเป็นสิ่งที่อยู่กับเรา มองความเครียดดีๆ ความเครียดมีหลายประเภท ความเครียดหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องมีความเครียดเพราะเป็นความรู้สึกที่ทำให้เราเติบโตและพัฒนาตัวเอง เติบโตจากข้างใน Mindset เราเติบโตได้เมื่อเราผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคไปได้ หรือสิ่งที่ทำให้เราเครียด ทำใจเลยว่าเครียดอยู่กับเรา และความเครียดเป็นเรื่องที่ดี เหตุการณ์ที่เข้ามากระทบเราควบคุมไม่ได้ แต่ความเครียดเราควบคุมได้

ความเครียดแบ่งได้ 3 ประเภท

ความเครียดคือเวลาที่เราต้องคิดมาก ปวดหัว คิดไม่ตก ระแวง กลัว คิดมาก เป็นสิ่งที่เกิดกับด้านจิตใจ และที่เกิดกับด้านสรีระเรา เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แล้วร่างกายมุนษย์สามารถตอบสนองต่อความเครียดได้ โดยใช้วงจรประสาทอัตโนมัติ คือ เวลาที่เราเจอความเครียด กลัว กังวล ประสาทอัตโนมัติ จะส่งสัญญาณกัน จากนั้นต่อมหมวกไตจะหลั่งสารเครียดออกมาคือ อะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ม่านตาขยาย เลือดลมสูบฉีด ระดับน้ำตาลสูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เรารับมือกับภัยที่กำลังคุกคามกายหรือจิตใจเราอยู่ นี่คือการตอบสนองร่างกายเมื่อรู้สึกเครียด

หากความเครียดนั้นเรารับมือ มีปัญหาในชีวิตประจำวัน รับมือและผ่านไปได้ คือการตอบสนองความเครียดแบบบวก Positive Stress หมายความว่า เมื่อผ่านพ้นความเครียด ปัญหาถูกแก้ไข ระดับจิตใจเราสูงขึ้น ปัญญาเราสูงขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น เช่น เด็กคนหนึ่งตอนที่เราจะเข้ามหาวิทยาลัยเกิดความเครียด เราวางแผนต่างๆ พอเข้าได้ความเครียดหาย พอเราผ่านพ้นเหตุการณ์ไปแล้วจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง เกิดการเรียนรู้ ชีวิตพัฒนาก้าวไปข้างหน้า นี่เป็นระดับความเครียดจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเราปรับตัวได้
ตอนเกิดการเปลี่ยนแปลงร่างกายก็จะหลั่งสารเครียดออกมา เพื่อให้เราสามารถตื่นตัว เหมือนเวลาที่งานไม่เสร็จก็จะกระตุ้นให้งานเสร็จได้ ทำให้เราเตรียมพร้อม รับมือ แล้วก็ผ่านไปได้ ผลหลังจากนั้นก็เป็นทางบวก เราก็ได้กับมัน

ความเครียดแบบ Positive Stress ทิ้งร่องรอยไว้?
ไม่ทิ้ง เพราะทางจิตใจเราก็รู้สึกภาคภูมิใจและฟิน เมือฟินสารเครียดก็กลับเข้าไป ไม่อยู่ ไม่สะสม กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ได้เป็นการทำงานของระบบความเครียดอีกต่อไป

ความเครียดระดับที่ทนได้ ตอบสนองความเครียดระดับที่เราทนได้ เมื่อเราต้องไปเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดในชีวิตประจำวัน หรือปรับเปลี่ยนในช่วงวัย เช่น วัยเด็กที่ต้องเข้าอนุบาล เราสามารถพอจะเดาออกและรับมือได้ หรือการเกิดปัญหาในชีวิตประจำวันเล็กๆ น้อย หาอะไรไม่เจอแล้วต้องใช้ ลืมของไว้ที่รร. นี่คือประเภทที่1 ส่วนประเภทที่2 จะวิกฤตขึ้นมา เช่น การสูญเสีย แมวตาย การแยกจาก การสูญเสียพ่อแม่ ญาติ หรือการที่ต้องแยกจากไปจากพ่อแม่ แบบกะทันหัน เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นผ่านไปได้ ถ้ามีคนมาช่วยซัพพอรท์ทางด้านอารมณ์ จิตใจของเรา

หากเกิดสถานการณ์รุนแรง ร้ายแรงในครอบครัว ต้องบอกว่าการตอบสนองความเครียดเหมือนเดิม แต่ไม่อยู่นานถ้าพ่อแม่ ซัพพอร์ต อยู่ข้างๆ ขณะหนึ่งเพื่อให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ เป็นความเครียดที่ทนได้ เป็นการตอบสนองต่อความเครียดที่เราทนได้ ผลหลังจากนั้นคือเราได้เรียนรู้ว่าเหตุการณ์ร้ายๆ เราสามารถอยู่ได้รอดได้ เพราะฉะนั้นในครั้งต่อไป หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ความสามารถของเราจะรับมือได้ง่ายขึ้น เมื่อเรารู้ว่าเกิดสถานการณ์แบบนี้ จะรับมือยังไง มีอยู่สองอย่างคือ เมื่อเกิดสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น ประสบการณ์เดิมเรียนรู้แล้วว่า จะมีใครสักคนอยู่ข้างๆ ที่จะผ่านพ้นไปได้ เราเคยผ่านเรื่องนี้มา และนี้เป็นอีกเรื่องที่เราจะผ่านไปได้และเราเคยใช้วิธีการอะไรเมื่อก่อน ครั้งนี้ก็จะทำได้ เป็นประสบการณ์เดิมที่ทนได้ เพราะเราผ่านมันมาได้แล้ว

ความเครียดที่ทนได้ ใช้ได้กับสถานการณ์ที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติ ช่วงโควิดเป็นช่วงที่พ่อแม่เองก็ต้องการคนมาซัพพอร์ทให้ผ่านพ้นวิกฤต ลูกเองก็จำเป็นต้องมีพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดมาซัพพอร์ทไปได้ด้วย ไม่ทิ้งร่องรอยแต่ทิ้งประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพให้ใช้ในอนาคตแล้วก็ทนได้

Toxic Stress

การตอบสนองความเครียดแบบเป็นพิษ ดู 3 เรื่องคือ เป็นความเครียดแบบรุนแรง สถานการณ์ทำให้เครียดมาก

  1. ความเข้มข้นของความเครียด
  2. ความถี่ เจอบ่อยๆ ไม่หมดสักที เดี๋ยวก็มาให้เครียด เรื่องเดิมๆ ซ้ำ
  3. ระยะเวลายาวนาน เครียดอยู่อย่างนั้น เพราะทุกครั้งที่เราเครียดร่างกายเราจะตอบสนองโดยประสาทอัตโนมัติ หลั่งสารเครียดออกมาเพื่อให้เราตื่นตัว หากเครียดแบบนั้นนานๆ ก็อยู่แบบนั้นนานๆ นี่ละที่เป็นพิษ เมื่อเกิดแบบนั้นม่านตาขยาย นอนไม่หลับ ตื่นตัว หัวใจเต้นแรง ความดันสูง ระดับน้ำตาลสูง เพื่อให้ตัวเราเกิดความระวัง ระแวง คิดมาก ตื่นตัวตลอดเวลา ไม่ได้เข้าโหมดความผ่อนคลายเลย เครียดนานจนเป็นนิสัย ไม่สามารถเข้าสู่ภาวะปกติได้ นี่คือความเป็นพิษ ร่างกายที่ตื่นตลอดเวลาจะทำให้เหนื่อยนี่คือทางสรีระ ส่วนทางจิตใจว้าวุ่นขนาดไหนเมื่อต้องอยู่ในเหตุการณ์ที่เครียดนานๆ จนเป็นพิษ เพราะฉะนั้นการตอบสนองต่อความเครียดแบบเป็นพิษจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตในชีวิตและไม่มีใครมาช่วยซัพพอร์ททางอารมณ์และจิตใจ คอยช่วยผ่อนคลาย

แบบไหนเรียกว่า “เครียดเป็นพิษ"

เช็กว่าลูกกำลังอยู่ในสภาวะ Toxic Stress

-มีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด

-พ่อแม่ไม่ได้ซัพพอร์ตลูกทางอารมณ์

-ปล่อยปละละเลยทางด้านร่างกายและอารมณ์ ด้านร่างกายอาจจะไม่ห่วง แต่ในช่วงโควิดที่ผ่านมาพ่อแม่อาจจะปล่อยปละละเลย เพิกเฉยอารมณ์ของลูก

ช่วงนี้ครูหม่อมมีพ่อแม่มาปรึกษาเรื่องลูก ครูจะถามว่าเวลา wfh กับลูกและลูกเรียนที่บ้าน

1.เวลาที่ลูกวิ่งมาหาแล้วเบรคลูก เดี๋ยวก่อนอย่าเพิ่ง ห้ามเข้าห้อง ห้ามเข้ามากำลังประชุม คือลูกเล็กทั้งวัน บางทีคิดถึง พอวิ่งเข้าไปก็โดนห้าม หากว่าเคย บ่อยไหม ถ้าไม่บ่อยไม่เป็นไร แต่ถ้าอยู่แบบนั้นนานๆ ความถี่ๆ บ่อย สะสมเป็นระยะเวลานาน นี่คือเกิด Toxic Stress เด็กจะเกิดคำถามว่าทำไมหาพ่อแม่ไม่ได้ ทำไมพ่อแม่ปฏิเสธมา

2.ถูก Abuse ทางร่างกายและจิตใจ ทางเพศ ถ้าลูกประสบสถานการณ์แบบนี้ ถ้าไม่รู้แล้วไม่มีใครมาซัพพอร์ทก็เกิด Toxic Stress ได้ แต่ถ้าช่วยซัพพอร์ท ก็จะกลายเป็นความเครียดที่ทนได้

3.ดูคนในครอบครัวว่ามีใครมีปัญหาสุขภาพจิตไหม มีคนใช้สารเสพติดหรือเปล่า หรือว่ามีการแยกจากแบบกะทันหัน หย่าร้าง หากไม่มีคนไปซัพพอร์ตก็จะเกิด Toxic Stress

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.54 : Toxic Stress เสี่ยงลูกป่วยและกระทบพัฒนาการ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.54 : Toxic Stress เสี่ยงลูกป่วยและกระทบพัฒนาการ

ความเครียดเป็นพิษส่งผลกระทบกับพัฒนาการและทำให้ลูกป่วย

พบวิธีการรับมือเพื่อลดผลกระทบพัฒนาการลูก เช็กสัญญาณแบบนี้ลูกกำลังเครียด / อาการแบบนี้แหล่ะ ที่หนูเครียด / พัฒนาการและพฤติกรรมด้านไหนพังบ้างหากหนูเครียดเป็นพิษ / Stress Management ฉบับเจ้าหนู แม่รู้ไว้สอนหนูได้ โดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

การรับมือกับความเครียดในร่างกายจะใช้ระบบประสาทอัตโนมัติระดับล่าง ยังไม่ใช้สมองระดับสูง ซึ่งการใช้สมองระดับสูง ที่เราเรียกว่า EF หรือสมองส่วนหน้าที่เป็นเรื่องของเหตุผล การควบคุมอารมณ์ การวางแผน การคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจแบบมีเหตุผล เมื่อไหร่ที่ลูกใช้สมองระดับล่างนานๆ นั้นแปลว่าสมองระดับสูง EF ไม่ได้ถูกใช้งาน พอไม่ได้ใช้ก็จะส่งผลให้พัฒนาการ การใช้เหตุผล การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมอารม์ของลูกหายไป

พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเครียด

หากพ่อแม่สังเกตได้ง่ายๆ ที่เรามองไม่เห็นเพราะว่าเราไม่ได้มอง ถ้าเราดูตัวเราเองเราเครียดก็ไม่รู้ตัว เพราะว่าเราไม่ได้กลับไปสังเกตลูก สัญญาณลูกเครียด

1.เมื่อหลับเป็นอย่างไร หลับยากไหม ฝันร้ายหรือเปล่า หรือตื่นตัวแต่งัวเงีย ตื่นอยู่แต่ไม่ง่วง แต่ซึม ไม่มีแรงทำอะไร

2.เมื่อตื่นเป็นอย่างไร เงียบลง ไม่ค่อยพูด ถอนหายใจ ไม่ร่าเริงเหมือนเคย ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น ซึ่งบ้านไหนที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันเด็กจะค่อยๆ ปลีกวิเวกไป หงุดหงิดง่าย ต่อต้านแบบไร้เหตุผล EF ไม่ทำงานเพราะว่าเครียดอยู่

3. เมื่อกิน กินอย่างไร อยากอาหารไหม และกินอิ่มไหม กินหวาน กินแต่ขนม เพราะว่าเวลาเครียดเหมือนร่างกายขาดน้ำตาลเพราะต้องการความสดชื่นอย่างรวดเร็ว

4.เมื่อเข้าห้องน้ำ ท้องผูก อุจจาระราด ฉี่ราด ฉี่รดที่นอน ถดถอยจากทักษะเดิม เคยเข้าได้เป็นเข้าไม่ได้ วิตกกังวลมาก เลยฉี่บ่อยๆ
พฤติกรรมที่ไม่เหมือนเดิม ให้ลองสังเกตดูเลยว่า ลูกเริ่มมีเรื่องเครียดอะไรหรือเปล่า แค่พ่อแม่ดู มันจะกลายเป็นการตอบสนองความเครียดแบบทนได้

จุดตัดอยู่ตรงนี้คือ จะกลายเป็น Toxic ลูกอยู่ในภาวะนั้นนานๆ ใช้วงจรความเครียดนานๆ แล้วไม่มีใครช่วยออกจากความเครียดได้ ค่อยดูและสังเกตลูกเมื่อตื่น เมื่อหลับ เมื่อกินเป็นยังไง ความเครียดทำให้เกิดโรค NCDs โรคไม่ติดต่อ โรคเรื้อรัง หายยาก เป็นแล้วกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดัน และการใช้สารเสพติด

Stress Management จัดการรับมือความเครียด

1.สอนลูกให้รู้จักความเครียด มองว่าความเครียดเป็นเรื่องที่มาแล้วก็ไปได้ แต่ต้องเห็นก่อนว่ามีความเครียดมา แล้วจัดการให้ออกไป อยู่กับความเครียดยังไง รู้ว่าเรากำลังเครียดเรื่องนี้อยู่ แต่ยังมีเรื่องอื่นที่สบายใจ เพราะฉะนั้นเวลาสอนลูกสอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเองสำคัญมาก อยากให้ดู EPที่ครูบอกว่าให้ปลอบก่อน สอนทีหลัง (รักลูก The Expert Talk EP.10: เลี้ยงลูกเชิงบวก ตอน ชวนพ่อแม่เป็น "ผู้ประคอง" แทนผู้ปกครอง) การปลอบก่อน สอนทีหลังทำให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเอง และในขณะที่เราบอกลูกว่า แม่เข้าใจว่าหนูกำลังรู้สึกอะไร นอกจากจะได้รู้คลังคำศัพท์ชื่อของอารมณ์แล้วเขายังรู้ด้วยว่าแม่อยู่ข้างเขานะ เพราะฉะนั้นมันจะไม่สามารถพัฒนาไปเป็น Toxic Stress ได้แน่นอนสอนให้รู้ว่าอารมณ์นี้คืออะไร

2.ปลอบเสร็จ สอนทีหลัง สอนลูกเลยว่าหนูจะจัดการยังไง พ่อแม่ไม่ต้องกังวลหรือบอกว่าเวลาหนูกำลังโกรธให้หนูหายใจยาวๆ นับ 1 2 34 ยังไม่ต้องสอน แต่ให้ถามเราสอนด้วยการถามลูก ถามว่า หากหนูกำลังเสียใจอยู่ กำลังโกรธอยู่ แทนการเขวี้ยงของ ตีคนอื่น เก็บไว้ข้างใน หนูมีวิธีการระบายอารมณ์นั้ันออกไปอย่างไร อีกเรื่องที่เราจะสอนได้

3.สอนให้ลูกมีเป้าหมายในชีวิต จะทำให้เกิดความเครียดแบบบวก เพราะว่าตื่นมาแล้วจะมีเป้าหมายแล้วว่าจะไปทำอะไร ต้องวางแผน ตัดสินใจ จัดบริหารเวลา ซึ่งการตัดสินใจ บริหารเวลา ควบคุมอารมณ์ ใช้สมอง EF

4.พาลูกไปเปิดโลกกว้าง ให้รับข้อมูลและดูว่าเขาสนใจอยากทำอะไร ลองคิดดูว่าทุกเช้าที่ตื่นมาแล้ว เช้านี้รู้ว่าเขาจะไปทำอะไรที่ชอบ จะรู้สึกคลายเครียด แค่คิดก็สนุก เวลาที่คนเรามีปัญหาอะไร ถ้าเป็นปัญหาที่เรารู้ว่าจะข้ามมันไปได้ พอข้ามไปแล้วจะรู้สึกภูมิใจกับมัน ทำให้เกิดเชิงบวกกับเรา ทำให้ระดับจิตใจดี สูงขึ้น รู้ว่าตัวเองมีความสามารถอะไร ทำให้รู้ว่าปัญหามีไว้แก้ ไม่ได้มีไว้กลุ้ม

พฤติกรรมของลูกเมื่อเครียด

1.สมยอม ไม่ค่อยพูดกับพ่อแม่ ไม่เสวนา ไม่โต้เถียง สมยอม ทำเพราะตัดรำคาญ ไม่อยากให้พ่อแม่บ่นเยอะ ทำเพราะกลัว จับทางพ่อแม่ได้ เพราะถ้าไม่ทำพ่อแม่จะดุว่าตะโกนใส่ หรืออาจจะแสดงพฤติกรรมที่ลูกคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก เรียกว่าสมยอม ทำเพราะตัดรำคาญ ทำเพราะพ่อแม่ไม่รัก

2.ดื้อเงียบ ไม่ทำ ไม่เถียง ไม่เสวนา

3. สู้ ต่อต้าน เถียง เอาชนะ หงุดหงดใส่ พ่อแม่พูดอะไรก็ผิด พอจะเริ่มสอนก็ไม่อยากฟัง มันคือ Defense Mechanism Mode กลไลกปกป้องตัวเอง เพราะเวลาที่ลูกเครียดแล้วรู้ว่าลูกเป็นที่มาของความเครียด คือพ่อแม่ไม่ปลอดภัย ลูกก็ไม่อยากจะยุ่งด้วย เพราะฉะนั้นลองดูว่าถ้าลูกไม่เสวานากับเราไม่ว่ารูปแบบไหน แบบไม่พูดแต่ยอมทำตาม สมยอม ทำตามเพราะกลัว แบบถอย ดื้อเงียบ พูดไปแต่ไม่ทำต่อต้านคือสู้ทุกอย่าง ถ้าเป็นแบบนี้ คือเริ่มเป็นไปได้ว่าเราเป็นที่มาของความเครียดของลูก

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

ดาวน์โหลดเรื่องราว Facebook ออนไลน์

รักลูก The Expert Talk Ep.56 : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.56 : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

หาทางออก คลี่คลายตัวเองจากการการเป็นพ่อแม่เป็นพิษ เข้าใจความต้องการ สื่อสารความคาดหวังและรับมือจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก เพื่อลดความเป็นพิษในตัวพ่อแม่ลง

 

ฟังวิธีการโดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิด

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.57 : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.57 : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

คลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง จะเป็นได้อย่างไร

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues