facebook  youtube  line

10 วิธีปรับพฤติกรรมเด็กดื้อเด็กซน

10 วิธีปรับพฤติกรรมเด็กดื้อเด็กซน-การเลี้ยงลูก-พฤติกรรมลูก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กดื้อ-เด็กซน

10 วิธีปรับพฤติกรรมเด็กดื้อเด็กซน

โดยทั่วไปธรรมชาติของเด็กวัย 2 - 5 ขวบนี้ยังพูดสื่อสารได้ไม่ดีนัก เด็กจะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม ชอบทำตามหรือเลียนแบบผู้ใหญ่ แม้จะห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนดูเหมือนดื้อต่อต้าน นอกจากนี้ยังคิดว่าของทุกอย่างเป็นของตัวเอง หวงของเล่น ไม่รู้จักแบ่งปันสิ่งของ และอารมณ์ก็แปรปรวนง่าย ถ้าไม่ได้อะไรดั่งใจก็อาจจะร้องอาละวาดได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรมีความเข้าใจพัฒนาการและปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก ซึ่งจะช่วยให้การปรับพฤติกรรมเด็กประสบผลสำเร็จด้วยดี

สาเหตุของพฤติกรรมดื้อซน

1. พัฒนาการตามวัย เมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่ขวบปีที่สอง เด็กจะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ต้องการความเป็นอิสระมากขึ้น ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ และอาจมีลักษณะดื้อ ต่อต้านมากขึ้น สังเกตจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การกิน การนอน การร้องอาละวาด เอาแต่ใจตนเอง เป็นต้น ผู้เลี้ยงดูจึงต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยนี้และไม่ควรคาดหวังกับเด็กมากเกินไป ควรมีความยืดหยุ่น เลือกใช้วิธีการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างสมบูรณ์

2. พื้นฐานอารมณ์ เด็กแต่ละคนจะมีนิสัยหรือพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกันไป บางคนเรียบร้อยแต่บางคนกลับค่อนข้างซุกซน เป็นต้น หากพ่อแม่คาดหวังว่าลูกควรจะเรียบร้อย แต่ลูกไม่ได้มีพื้นฐานอารมณ์เป็นดั่งที่คาดหวัง พ่อแม่อาจจะมองว่าลูกซนมากผิดปกติและเกิดความหงุดหงิดกับพฤติกรรมของลูก ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงดูตามมาได้ ซึ่งพื้นฐานทางอารมณ์นี้เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด จึงจำเป็นที่ผู้เลี้ยงดูต้องเข้าใจและปรับทัศนคติต่อเด็กและการเลี้ยงดูให้เหมาะสมด้วย

3. สิ่งแวดล้อม ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องสำรวจสิ่งแวดล้อมด้วยว่ามีอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นหรือส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่ เช่น ในสถานที่เลี้ยงเด็กซึ่งแออัด มีเด็กมากเกินไป หรือมีของเล่นน้อยไม่เพียงพอสำหรับเด็กทุกคน ทำให้เด็กมีโอกาสทะเลาะแย่งของเล่นกันได้บ่อย ๆ และเด็กอาจถูกมองว่าเป็นเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวไป

4. ความสามารถในการเรียนรู้ เด็กทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ แม้ว่าในขณะนี้เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจหรือไม่สามารถปฏิบัติตามที่ผู้ใหญ่สอนได้ทุกอย่างก็ตาม หากเราหมั่นสอนเด็กอย่างสม่ำเสมอ เด็กก็จะค่อย ๆ เรียนรู้และสามารถปฏิบัติตามได้ในที่สุด ดังนั้น ผู้ใหญ่จึงไม่ควรบังคับ ต่อว่า หรือเร่งรัดเด็กมากเกินไป

5. ปัญหาทางอารมณ์จิตใจ เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม ปล่อยปละละเลย ขาดความรัก ความอบอุ่น อาจแยกตัวไม่สนใจใคร หรือก้าวร้าว แย่งของเล่น ทำร้ายผู้อื่นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ในเด็กกลุ่มนี้นอกจากจะปรับพฤติกรรมแล้ว จำเป็นที่จะต้องแก้ไขสาเหตุคือ การให้ความรักและปรับวิธีการเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสมด้วย ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาซน สมาธิสั้น ซึ่งอาจเกิดจากโรคสมาธิสั้นและส่งผลให้เด็กมีปัญหาการเรียนหรือพฤติกรรมตามมา ดังนั้นพ่อแม่จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาและช่วยเหลือเด็กอย่างเหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ความเจ็บป่วยหรือไม่สบายของเด็กต่าง ๆ ก็สามารถส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรมได้เช่นกัน

 
10 วิธีปรับพฤติกรรมเด็ก

1. ปรับสิ่งแวดล้อม ผู้เลี้ยงดูควรปรับสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น และจะได้ไม่ต้องเหนื่อยในการห้ามปรามหรือพูดสั่งเด็กบ่อยๆ ว่า “ไม่” “ทำไม่ได้” “อย่านะ” และยังป้องกันการเกิดอารมณ์เสียต่อกัน เช่น การเก็บยา สารเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแก้ว ของมีคมต่าง ๆ ให้พ้นมือเด็ก เนื่องจากเด็กวัยนี้ชอบปีนป่ายสำรวจสิ่งของอยู่แล้ว หรือจัดสถานที่เล่นให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เอาของเล่น หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายออกไป เป็นต้น

2. จัดกิจวัตรประจำวันให้สม่ำเสมอ เช่น จัดตารางการกิน การนอนให้เป็นเวลา เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวได้ง่ายขึ้น ร่วมมือมากขึ้นในการทำกิจวัตรต่าง ๆ

3. ตักเตือน ใช้คำพูดบอกว่าอะไรถูกผิด เมื่อลูกทำผิดบอกไปตรงๆ ว่าทำแบบนั้นไม่ดีอย่างไร และส่งผลอย่างไร โดยอธิบายให้ชัดเจนที่สุด  

4. เบี่ยงเบนความสนใจ เป็นวิธีที่ได้ผลดีในเด็กเล็ก เพราะเด็กยังมีความสนใจ หรือสมาธิค่อนข้างสั้น จึงสามารถใช้วิธีเบี่ยงเบนให้เด็กหันไปสนใจอย่างอื่นแทน เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการได้ เช่น หากเด็กกำลังเล่นของที่แตกหัก ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ อาจชวนให้เด็กเล่นอย่างอื่นแทน 

5. ชี้แนะ โดยการบอกหรือสอนให้เด็กรู้ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ และหาทางออกให้เด็กรู้ด้วยว่าควรทำอย่างไรแทน เช่น หากเด็กกำลังขีดเขียนเล่นบนหนังสือ ผู้ใหญ่ควรรีบเอาหนังสือออก และบอกเด็กว่า “เขียนบนหนังสือไม่ได้” แล้วหากระดาษหรือสมุดวาดเขียนให้เด็กเขียนหรือวาดรูปแทน เป็นต้น

 


10 วิธีปรับพฤติกรรมเด็กดื้อเด็กซน-การเลี้ยงลูก-พฤติกรรมลูก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กดื้อ-เด็กซน

6. ไม่สนใจหรือเพิกเฉย ใช้เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ โดยที่พฤติกรรมนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็กเอง ต่อผู้อื่นหรือสิ่งของ เช่น เมื่อเด็กร้องไห้อาละวาดอยู่ที่พื้นเพราะไม่ได้ดั่งใจ ไม่ควรตามใจเด็ก ควร ปล่อยให้เด็กร้องไปเรื่อยๆ และทำเป็นไม่สนใจ แต่อยู่ในสายตาว่าเด็กปลอดภัยดี สักพักเด็กจะหยุดร้องไปเอง เมื่อเด็กหยุดร้องแล้วถึงจะเข้าไปหาเด็ก พูดคุยถึงวิธีแก้ปัญหาหรือชวนทำกิจกรรมอื่นต่อไป แต่ไม่ใช่เข้าไปโอ๋หรือต่อรองกับเด็ก

7. การให้ได้รับผลตามธรรมชาติและการให้รับผิดชอบผลของการกระทำ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองต่อไป เช่น หากเด็กไม่ยอมกินข้าว ก็ต้องปล่อยให้เด็กรู้จักความรู้สึกหิว เด็กจะได้ยอมกินอาหารมื้อต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม หากพฤติกรรมใดที่ก่อให้เกิดผลตามธรรมชาติที่รุนแรง ก็ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้น ต้องหยุดพฤติกรรมนั้นทันที เช่น หากเด็กจะปีนป่ายที่สูงแล้วอาจตกลงมาศีรษะแตกหรือขาหัก เป็นต้น

8. การเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็กอย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น เด็กวัยนี้ชอบเลียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่อยู่แล้ว การที่ผู้ใหญ่หรือคนในบ้านแสดงพฤติกรรมที่ดีอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าเด็กอาจจะยังไม่เข้าใจเหตุผลของการกระทำทั้งหมดก็ตาม แต่เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้และซึมซับว่าการที่ผู้ใหญ่ทำพฤติกรรมดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่สมควรทำตามและเป็นที่ยอมรับ เช่น การที่ผู้ใหญ่เล่นกับสัตว์เลี้ยงที่บ้านอย่างนุ่มนวล การพูดคุยในบ้านด้วยถ้อยคำที่สุภาพ การเข้านอนหรือทานอาหารเป็นเวลา เป็นต้น

9. การให้แรงเสริมทางบวก คือการให้คำชมเชยผ่านทางคำพูดหรือการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง เช่น การโอบกอด ลูบศีรษะ การชมเด็กควรทำด้วยความจริงใจและเจาะจงกับพฤติกรรมที่เด็กทำด้วย เด็กจะได้รู้ว่าผู้ใหญ่ให้ความสนใจกับเรื่องอะไร เด็กจะเรียนรู้และพยายามทำพฤติกรรมนั้นต่อ ระมัดระวังการพูดเสียดสีหรือเปรียบเทียบเด็กกับผู้อื่นในขณะที่ชมเด็กด้วย

ตัวอย่างคำชมที่ถูกต้อง เช่น “ลูกโอ๋เก่งมากเลยที่เล่นเสร็จแล้วเก็บของเข้ากล่องได้เรียบร้อย แม่ภูมิใจในตัวหนูมาก” “บอยยอดเยี่ยมมาก วันนี้กินข้าวเองหมดจานเลย”

ตัวอย่างคำชมที่ไม่เหมาะสม เช่น “ลูกเก่งมากที่กินข้าวหมดจาน แต่วันหลังกินอย่าให้หกเลอะเทอะอย่างนี้นะ” “บีเขียนหนังสือสวยขึ้นเยอะเลย หัดเขียนให้สวยๆ นะจะได้เก่งเหมือนพี่เอ”

10. การลงโทษ (Punishment) โดยทั่วไปไม่ควรใช้การลงโทษเป็นวิธีแรกหรือบ่อย ๆ เพราะจะทำให้เด็กไม่เข้าใจ เสียความสัมพันธ์ต่อกันได้ ควรเลือกใช้วิธีลงโทษเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่รุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องหยุดพฤติกรรมนั้นทันที หรืออาจเคยใช้วิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล การลงโทษอย่างรุนแรงบ่อย ๆ โดยไม่มีเหตุผล นอกจากจะไม่ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพและจิตใจของเด็กด้วย การลงโทษไม่จำเป็นต้องเป็นการดุว่า ตำหนิ หรือ การตีเสมอไป อาจใช้วิธีอื่น ๆ แทนได้ เช่น การตัดสิทธิหรือรางวัล การจำกัดหรือกักบริเวณ การให้ออกกำลังกายเพิ่ม เป็นต้น

โดยสรุปการปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ผลนั้น นอกจากจะต้องเข้าใจพัฒนาการตามวัยของเด็กแล้ว ผู้เลี้ยงดูจะต้องให้ความรัก ความเมตตาต่อเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าทีที่หนักแน่นจริงจัง รู้วิธีการสื่อสารกับเด็กอย่างถูกต้อง และที่สำคัญ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในบ้านแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งถอนใจ ยากหรือไม่อยู่ที่ก้าวแรกของการเริ่ม ลองดูนะคะ 

5 เทคนิคปรับนิสัยการกินเมื่อลูกน้อยเข้าอนุบาล ขับถ่ายง่าย สบายท้อง

 2428

เมื่อลูกต้องเข้าเรียน แม่อาจจะเป็นกังวลว่าลูกจะกินอาหารที่โรงเรียนได้ไหม จะมีปัญหาการกินจนลุกลามมาถึงการขับถ่ายหรือไม่ ก่อนเข้าเรียนมาลองปรับนิสัยการกินให้ลูก เพื่อให้ลูกกินง่าย และไม่มีปัญหาระบบขับถ่ายกันค่ะ

  1. เสริมของว่างระหว่างมื้อ

หลังจาก 1 ขวบ ลูกควรกินอาหารได้ครบ 3 มื้อ และอาจเสริมของว่างช่วงสาย และบ่ายให้อีกเป็น 2 มื้อ เพราะเด็กๆ ต้องการใช้พลังงานและรับสารอาหารมากขึ้น เพราะเป็นวัยที่กำลังวิ่งเล่น เจริญเติบโต แต่กระเพาะอาหารลูกอาจจะยังเล็ก ดังนั้นควรเสริมของว่างที่เป็นประโยชน์ให้กับลูก เช่น นมแพะ แซนด์วิช ผลไม้ ในระหว่างมื้อเพิ่มเข้าไปด้วยจะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับการเสริมสร้างร่างกาย

  1. ขับถ่ายให้เป็นเวลา

เลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องผูก การฝึกลูกขับถ่าย นั่งส้วม ไม่มีเวลาแน่นอน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน ส่วนใหญ่เริ่มได้ตั้งแต่ในช่วงขวบครึ่งถึงสองขวบ แต่ลองสังเกตด้วยว่าถ้าลูกมีปัญหาอึแข็ง ท้องผูก เบ่งจนหน้าดำหน้าแดง อาจจะต้องปรับเปลี่ยนอาหาร งดหรือเลี่ยงอาหารที่ทำให้อึแข็ง เช่น ข้าวกล้อง ช็อกโกแลต ชีส เพื่อให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ จึงค่อยฝึกขับถ่ายลูกให้เป็นเวลา ทำจนเป็นกิจวัตรเพื่อให้ร่างกายคุ้นชินด้วย เช่น ให้ลูกนั่งส้วมหลังมื้อเช้า หรือหลังดื่มนมทุกวัน

  1. เพิ่มผักผลไม้ในทุกเมนู

ผักและผลไม้มีเส้นใยหรือไฟเบอร์ที่ดีกับระบบขับถ่ายของลูกน้อย จึงควรฝึกลูกให้กินผักผลไม้ตั้งแต่เล็กๆ โดยเริ่มจากผักใบเขียวก่อน เพราะถ้าเริ่มจากผักสีแดง สีส้ม ที่มีรสหวานอาจทำให้ลูกไม่ยอมกินผักใบเขียวที่รสขมกว่า ที่สำคัญถ้าอยากให้ลูกกินอะไร พ่อแม่ก็ต้องเป็นแบบอย่างด้วย อยากให้ลูกกินผักได้ พ่อแม่ก็ต้องมีผักอยู่ในทุกๆ มื้ออาหาร นั่งกินไปกับลูกให้ลูกเห็นด้วยค่ะ จะช่วยให้ลูกกินง่ายขึ้น

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

น้ำเปล่าสะอาดที่ได้รับอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ระบบย่อยและขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นค่ะ ควรฝึกให้ลูกดื่มน้ำบ่อยๆ ก่อนเข้าเรียน โดยให้ลูกดื่มน้ำตั้งแต่ตื่นนอน หลังมื้ออาหาร ระหว่างวัน ถ้าลูกเริ่มเข้าเรียนควรให้ลูกมีกระติกน้ำติดตัวไว้เสมอเพื่อให้ดื่มหรือจิบระหว่างวัน ป้องกันร่างกายขาดน้ำ และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดี

  1. ดื่มนมแพะทุกวัน

ควรให้ลูกดื่มนมแพะเป็นประจำ เพราะนมแพะมีสัดส่วนของโปรตีนแอลฟาเอสวันเคซีนซึ่งย่อยยากต่ำ และมีโปรตีนเบต้าเคซีนซึ่งย่อยง่ายในปริมาณสูง ทำให้นมแพะถูกย่อยและดูดซึมได้ง่าย ทำให้ลูกสบายท้อง ท้องไม่อืด และโปรตีน CPP ในนมแพะเป็นโปรตีนขนาดเล็ก ทำให้ย่อยง่าย จึงช่วยลดปัญหาอาการไม่สบายท้อง ท้องผูก ท้องอืดได้เป็นอย่างดี ดื่มแล้วสบายท้อง ขับถ่ายคล่อง

เรื่องการขับถ่ายของลูกเป็นเรื่องสำคัญนะคะ เพราะถ้าลูกขับถ่ายดี ไม่ท้องผูก เขาจะสบายตัว ร่าเริง และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาจนพัฒนาไปเป็นทักษะและความสามารถที่อาจจะทำให้พ่อแม่ทึ่งได้ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นมแพะ DG ติดตามความรู้เรื่องนมแพะ การสร้างภูมิคุ้มกัน และวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ที่  www.dgsmartmom.com และ www.facebook.com/dgsmartclub

6 วิธีเลี้ยงลูกไม่ให้ทำร้ายคนอื่น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

 การเลี้ยงลูก, วิธีการเลี้ยงลูก, ลูกโมโหร้าย, ลูกชอบทำร้ายเพื่อน, ลูกมีอารมณ์รุนแรง, ลูกขี้โมโห

อย่าให้ใครว่าเราเลี้ยงลูกไม่เป็น...เลี้ยงลูกแบบไหนไม่ให้ลูกกลายเป็นคนที่ชอบทำร้ายผู้อื่น สิ่งที่พ่อแม่ต้องย้อนกลับไปดูตัวเองว่าเราเลี้ยงลูกถูกวิธีหรือเปล่า

6 วิธีเลี้ยงลูกไม่ให้ทำร้ายคนอื่น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

1. ไม่รักลูกมากเกินไป รักลูกมากเกินเป็นที่มาของคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” ส่งผลให้ลูกกลายเป็นคนเอาแกใจ ไม่สนใจคนอื่น อยากได้อะไรก็ต้องได้ บางกรณียังกลายเป็นคนชอบดูถูกคน เป็นตัวปัญหา แต่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นคนสร้างปัญหา

2. กล้าทำโทษเมื่อลูกทำผิด เพราะถ้าพ่อแม่ไม่กล้าห้ามปรามสั่งสอนเมื่อลูกทำผิด ผลที่ได้คือลูกกลายเป็นนักเลงอันธพาล แยกแยะถูกผิดดีชั่วไม่เป็น มองไม่เห็นเส้นแบ่งทางจริยธรรม โดยการทำโทษไม่ใช้การใช้ความรุนแรง อาจเป็นการสอน พุดคุย ให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผล

3. สอนให้ลูกรู้จักพึ่งตนเอง พ่อแม่หลายคนกลัวลูกลำบาก จึงยอมเหนื่อยแทนลูก เป็นการทำร้ายลูกเพราะเมื่อเขาโตขึ้นเขาจะไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง จะรอให้คนอื่นมาช่วยเหลืออย่างเดียว

4. พ่อแม่ไม่ทำแต่งานสังคมสงเคราะห์นอกบ้าน เพราะลูกต้องการความอบอุ่นเช่นกัน หากพ่อแม่ไม่สนใจลูกจะกลายเป็นเด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น ไม่พร้อมจะแบ่งปันความรัก และความอบอุ่นให้ใคร

5. ชมเชย หรือให้กำลังใจลูกบ้าง เพราะการไม่ชื่นชมยินดีเมื่อลูกประสบความสำเร็จเลย ลูกกลายเป็นคนใจคอคับแคบ ยกย่องชมเชยใครไม่เป็น

6. สอนให้ลูกรู้จักบาปบุญคุณโทษ เพื่อที่เขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จิตใจอ่อนโยน รู้จักที่จะช่วยเหลือผู้อื่น

 

How to ปรับพฤติกรรมหนูน้อยจอมอาละวาด (Temper Tantrums)

 การเลี้ยงลูก- สอนลูก- เลี้ยงลูก- ลูกดื้อ- ป้องกันลูกดื้อ- สาเหตุลูกดื้อ- ลูกร้องอาละวาด-อาการร้องอาละวาด-Temper Tantrums-ปรับพฤติกรรมลูก-พฤติกรรมก้าวร้าว-ก้าวร้าว

การจัดการพฤติกรรม tantrums หงุดหงิด กรี๊ด โวยวายและเหวี่ยงวีนนั้น ถ้าจะให้ได้ผลก็คือ ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดของคุณพ่อคุณแม่ เพราะเมื่อความคิดเปลี่ยนแล้ว วิธีการตอบสนองของเราก็จะเปลี่ยนไปด้วย และถ้าให้ตรงประเด็นกว่านั้นก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องบอกให้ได้ว่า เวลาลูกกรีดร้องขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่รีบเข้าไปหาเพราะอะไร?

 

แบบทดสอบที่ 1 จงบอกความคิดแรกเมื่อได้ยินเสียงลูกกรีดร้องโวยวายไร้สาเหตุ

_ เฮ้อ...อีกแล้ว

_ เบื่อเหลือเกินมันอะไรกันเนี่ย

_ ไม่รู้จะเอายังไงแล้ว นี่ก็ไม่เอานั่นก็โวยวาย

_ ทำไมต้องเป็นชั้นอีกแล้ว ทำไมไม่เป็นตอนอยู่กับคนอื่นนะ

_ มันต้องมีอะไรผิดแน่ๆ ทำไมถึงร้องได้ตลอดเวลา

_ อยากจะย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นจริงๆ

_ เป็นอย่างนี้ตลอดเวลาเลยไหมเนี่ย เมื่อวานก็เป็น เมื่อเช้าก็เป็น นี่ก็เป็นอีก

_ รับมือจะไม่ไหวแล้ว

_ คนอื่นจะคิดว่ายังไงเนี่ย

_ รู้งี้ไม่อยู่บ้านก็ดี

_อื่นๆ

 

แบบทดสอบที่ 2 จงบอกอารมณ์ของตนเอง ตอนที่ได้ยินเสียงร้องโวยวาย

_ เศร้า

_ อารมณ์เสีย

_ หงุดหงิด

_ เบื่อ

_ ลนลาน

_ ทนไม่ไหว

_ โกรธ

_ ตื่นตระหนกตกใจ

_ โอเค

_ สงสัย

_อื่นๆ

 

แบบทดสอบที่ 3 จงบอกว่าร่างกายตอบสนองตอนที่ได้ยินเสียงร้องโวยวายอย่างไร

_ รู้สึกว่าเกร็งไปทั่วตัว

_ เริ่มกลั้นหายใจ

_ หัวใจเต้นแรง

_ ขบกรามไม่รู้ตัว

_ กัดฟัน กัดริมฝีปากไม่รู้ตัว

_ ถอนหายใจ

_ ตาเบิกกว้าง

_ มือเปียก เท้าเปียกใจสั่น

_อื่นๆ

 

จากการตอบแบบสอบถามจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มเข้าใจตัวเองมากขึ้น ว่าเพราะเหตุใดร่างกายจึงตอบสนองจนทำให้ตัวเองต้องรีบเข้าไปหาลูกทันทีที่ลูกแสดงอาการ tantrums แน่นอนว่า เด็กทุกคนสามารถรู้ได้และใช้มันให้เป็นประโยชน์ อย่างที่บอกว่า การที่เด็กร้องโวยวายนั้นเป็นวิธีการที่จะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการอย่างเร็วที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมวิธีการนั้นจึงถูกนำกลับมาใช้ในทุกครั้ง เพราะมันได้ผลนั่นเองค่ะ

ดังนั้น วิธีการ 6 ขั้นตอนที่จะแบ่งปันกันต่อไปนี้ น่าจะเป็นขั้นตอนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับใช้ได้ (อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นแล้วว่า การปราบ trantrums นั้นไม่ใช่การปราบพฤติกรรมลูก แต่เป็นการปรับพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่) เมื่อลูกแสดงอาการ tantrums ค่ะ

 

1. เช็กก่อนว่าเรารู้สึกอย่างไรอยู่ การนำสติกลับมาอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของเรา ลองคิดดูสิคะ ถ้าเรารู้หรือคิดได้ว่า การที่ลูกกรี๊ดโวยวายนั้นเป็นเพราะเค้าต้องการจะสื่อสารอะไรบางอย่าง เราก็จะไม่เลือกที่จะตะโกนด่าว่าลูกให้หยุด หรือเงื้อมมือตีลูกแน่ ๆ

2. อยู่นิ่ง ๆ ใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งเอาอารมณ์เราไปเล่มตามเกมลูก หายใจเข้า-หายใจออก

3. ค่อย ๆ อธิบาย เดินไปหาแล้วบอกลูกว่า ลูกร้องไห้ได้ แต่ก็ต้องบอกได้ว่าลูกร้องไห้ทำไม ถ้าบอกไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกถามเป็นคำถามหรือลองเดาว่า เพราะเหตุนี้ใช่หรือไม่อย่างไรก่อน

4. ให้ทางเลือกลูกในการอธิบาย ในกรณีที่ลูกอธิบายได้ไม่ดี หรือคุณแม่ฟังไม่เข้าใจ หรือคิดว่าเหตุผลที่ลูกร้องไห้นั้นช่างไม่สมเหตุสมผลเลย เช่น น้องอาจได้ขนมในขณะที่ตัวเขาไม่ได้ หรือแม่ซื้อของให้น้องแต่ไม่ซื้อให้เขา ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการอธิบายว่าเพราะเหตุใดถึงทำเช่นนั้น เปิดโอกาสตัวเองในการอธิบายเพื่อไม่ให้ลูกเข้าใจผิด รวมถึงให้โอกาสลูกในการพูดถึงอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกแย่ รู้สึกเสียใจ รู้สึกโกรธ

5. เข้าอกเข้าใจลูก เมื่ออธิบายจบแล้ว ถ้าลูกยังคงร้องไห้อยู่ คุณแม่อาจแนะนำทางเลือกอื่น เช่น พาลูกไปดูของอย่างอื่น ชวนลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น พร้อมกับบอกด้วยว่า ลูกสามารถบอกอารมณ์และความคิดของลูกได้โดยที่ไม่ต้องกรี๊ดหรือโวยวาย และนั่นทำให้แม่เข้าใจได้ดีกว่าการที่ลูกร้องโวยวายเสียอีก

6. ยืนหยัดอย่างมั่นคง รวมถึงทุก ๆ คนในครอบครัวควรทำแบบเดียวกัน การปรับพฤติกรรมจะไม่ได้ผลเลยถ้าแต่ละคนในครอบครัวเลือกที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเด็กต่างกัน เด็กมักจะเลือกที่จะแสดงอาการไม่พอใจไปจนเกรี้ยวกราดใส่คนที่ตนเองคิดว่า สามารถให้ของหรือให้ในสิ่งที่ตนเองต้องการเป็นลำดับแรกเสมอ ดังนั้น เรื่องการปรับทัศนคติในตรงกันจึงควรเป็นเรื่องพื้นฐานของครอบครัวค่ะ

 

เด็ก ๆ ที่เคยแสดงอาการ tantrums มาก่อนมักจะคิดว่า วิธีการนี้จะได้ผล ดังนั้นแม้คุณพ่อคุณแม่จะทำทั้ง 6 ขั้นตอนมาระยะเวลาหนึ่งมักจะสังเกตเห็นว่า อาการโวยวายแบบเดิมจะกลับมาบ้าง ขอให้คุณพ่อคุณแม่อย่าตกใจและคิดว่าวิธีการนี้ไม่ได้ผล บางครั้งเด็กจะต้องการทดสอบว่า เมื่อเค้าเคยทำพฤติกรรมเหล่านี้แล้วเคยได้ในบางครั้งนั้น จะทำให้เขาได้สิ่งที่ต้องการในตอนนี้อีกหรือไม่ จะอย่างไรก็ตามถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่หันหลังกลับไปตามใจอีก พฤติกรรม trantrums จะค่อยๆหมด จนหายไปเองแน่นอนค่ะ

 

ผศ.ดร. ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาฟื้นฟูสำหรับเด็กพิเศษ รองผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

กรี๊ดมากไปไม่ดีแน่! ปรับพฤติกรรมลูกเอาแต่ใจ

           

สิ่งที่ชวนปวดหัวมากกว่านั้นคือการส่งเสียงกริ๊ด เมื่อมีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ หากลูกยังมีพฤติกรรมแบบนี้ไปจนโตอาจไม่ดีแน่

กรี๊ดมากไปไม่ดีแน่! ปรับพฤติกรรมลูกเอาแต่ใจ

“บ้านไหนมีเด็ก บ้านนั้นมักจะมีเสียงร้องไห้งอแง”  หลายครอบครัวกำลังประสบปัญหานี้กันอยู่ใช่ไหมคะ

แต่สิ่งที่ชวนปวดหัวมากกว่านั้นคือ “การส่งเสียงกรี๊ด” ของเด็ก ๆ เมื่อมีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ หากลูกยังมีพฤติกรรมแบบนี้ไปจนโตอาจไม่ดีแน่

 

ปรับพฤติกรรมลูกอย่างไร เมื่อลูกส่งเสียงกรี๊ด

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กแต่ละคนจะมีนิสัยหรือพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกันไป บางคนเรียบร้อย แต่บางคนกลับค่อนข้างซุกซน หากพ่อแม่คาดหวังว่าลูกควรจะเรียบร้อย แต่ลูกไม่ได้มีพื้นฐานอารมณ์เป็นดั่งที่คาดหวัง พ่อแม่อาจจะมองว่าลูกซนมากผิดปกติและเกิดความหงุดหงิดกับพฤติกรรมของลูก ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงดูตามมาได้ ซึ่งพื้นฐานทางอารมณ์นี้เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด จึงจำเป็นที่ผู้เลี้ยงดูต้องเข้าใจและปรับทัศนคติต่อเด็กและการเลี้ยงดูให้เหมาะสมด้วย

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก

1.พัฒนาการตามวัย

เด็กจะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวเอง ต้องการความเป็นอิสระมากขึ้น ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ และอาจมีลักษณะดื้อ ต่อต้านมากขึ้น สังเกตจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การกิน การนอน การร้องอาละวาด เอาแต่ใจตนเอง เป็นต้น ผู้เลี้ยงดูจึงต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยนี้และไม่ควรคาดหวังกับเด็กมากเกินไป ควรมีความยืดหยุ่น เลือกใช้วิธีการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาต่อได้อย่างสมบูรณ์

2.พื้นฐานอารมณ์

อย่างที่ได้กล่าวมาว่าเด็กแต่ละคนจะมีนิสัยพื้นฐานที่ไม่เหมือนกัน บางคนเรียบร้อย บางคนซุกซน บางคนอาจเก็บตัวเงียบ ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับลักษณะนิสัยของลูกก่อน

3.สิ่งแวดล้อม

พ่อแม่จำเป็นต้องสำรวจสิ่งแวดล้อมด้วยว่ามีอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นหรือส่งผลต่อพฤติกรรมลูกหรือไม่ เช่น สถานที่แออัดเกินไป หรือมีของเล่นน้อยไม่เพียงพอสำหรับเด็กทุกคน ทำให้เด็กมีโอกาสทะเลาะแย่งของเล่นกันได้บ่อย ๆ และเด็กอาจถูกมองว่าเป็นเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว

4.ความสามารถในการเรียนรู้

เด็กทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ แม้ว่าในขณะนี้เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจหรือไม่สามารถปฏิบัติตามที่ผู้ใหญ่สอนได้ทุกอย่างก็ตาม หากเราหมั่นสอนเด็กอย่างสม่ำเสมอ เด็กก็จะค่อย ๆ เรียนรู้และสามารถปฏิบัติตามได้ในที่สุด ดังนั้นผู้ใหญ่จึงไม่ควรบังคับ ต่อว่า หรือเร่งรัดเด็กมากเกินไป

5.ปัญหาทางอารมณ์จิตใจ

เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม ปล่อยปละละเลย ขาดความรัก ความอบอุ่น อาจแยกตัวไม่สนใจใคร หรือก้าวร้าว แย่งของเล่น ทำร้ายผู้อื่นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ในเด็กกลุ่มนี้นอกจากจะปรับพฤติกรรมแล้ว จำเป็นที่จะต้องแก้ไขสาเหตุคือ การให้ความรักและปรับวิธีการเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสมด้วย ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาซน สมาธิสั้น ซึ่งอาจเกิดจากโรคสมาธิสั้นและส่งผลให้เด็กมีปัญหาการเรียนหรือพฤติกรรมตามมา ดังนั้นพ่อแม่จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาและช่วยเหลือเด็กอย่างเหมาะสมต่อไปนอกจากนี้ความเจ็บป่วยหรือไม่สบายของเด็กต่าง ๆ ก็สามารถส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรมได้เช่นกัน

พ่อแม่ควรทำความเข้าใจพฤติกรรมลูก ที่ปรับเปลี่ยนไปตามวัย อบรมสั่งสอนเด็กๆ ด้วยเหตุและผล ไม่ควรใช้อารมณ์ และสิ่งสำคัญที่สุดคือควรเลี้ยงดูด้วยความรักและให้ความอบอุ่นอย่างเต็มที่ เพราะก้าวแรกของลูกที่จะเติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์พร้อมย่อมเกิดจากการปลูกฝังและการเลี้ยงดูที่ดีของคนในครอบครัว

รหัสโปรโมชั่น Roobet "CSGOBETTINGS" รับสิทธิพิเศษ ไม่มีเงินฝาก และฟรีสปิน

ใRoobet Promo Code "CSGOBETTINGS" รับสิทธิพิเศษ ไม่มีเงินฝาก และฟรีสปิน

Roobet เป็นคาสิโนออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในวงการการพนันออนไลน์ มีความโดดเด่นในเรื่องของเกมที่หลากหลาย ระบบการเล่นที่ทันสมัย และโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ หนึ่งในข้อเสนอที่ดีที่สุดของ Roobet คือการใช้ Roobet รหัสโปรโมชั่น "CSGOBETTINGS" เพื่อรับสิทธิพิเศษที่ไม่ควรพลาด เช่น โบนัสไม่มีเงินฝาก ฟรีสปิน และเงินคืน 20% ภายใน 7 วันแรกของการสมัครสมาชิกใหม่

ในบทความนี้ เราจะสำรวจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Roobet promo code วิธีการใช้โบนัสอย่างมีประสิทธิภาพ และข้อดีของการเข้าร่วมโปรแกรม RooWards ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการชนะของคุณ

รีวิวโค้ดโปรโมชั่นและโบนัส Roobet

Roobet มีชื่อเสียงในฐานะคาสิโนออนไลน์ที่ให้ประสบการณ์การเล่นที่ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นที่คุ้มค่ามากมายให้กับผู้เล่นทั่วโลก โดยเฉพาะ รหัสโปรโมชั่น Roobet "CSGOBETTINGS" ที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้รับโบนัสที่ไม่ต้องมีการฝากเงินก่อน (No Deposit Bonus) ฟรีสปิน และเงินคืน ซึ่งเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้เล่นใหม่

โบนัสไม่มีเงินฝาก (No Deposit Bonus)

โบนัสไม่มีเงินฝากเป็นหนึ่งในข้อเสนอที่น่าสนใจที่สุดของ Roobet เพราะมันเปิดโอกาสให้ผู้เล่นใหม่สามารถเริ่มเล่นเกมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการฝากเงินก่อน ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถสำรวจและสนุกกับเกมต่าง ๆ ที่ Roobet นำเสนอได้โดยไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน การใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" เพื่อรับโบนัสนี้จึงเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองเล่นคาสิโนออนไลน์โดยไม่ต้องใช้เงินของตนเอง

ฟรีสปิน (Free Spins)

อีกหนึ่งข้อเสนอที่ยอดเยี่ยมจากการใช้ Roobet promo code คือการได้รับฟรีสปิน ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ผู้เล่นเกมสล็อต ฟรีสปินช่วยให้คุณสามารถเล่นเกมสล็อตที่คุณชื่นชอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เงินทุนของคุณเอง ฟรีสปินที่ได้รับจากโปรโมชั่นนี้สามารถนำไปใช้ในเกมสล็อตยอดนิยม เช่น Sweet Bonanza, Book of Dead, และเกมอื่น ๆ ที่มีโอกาสชนะรางวัลใหญ่ การใช้ฟรีสปินในเกมเหล่านี้ไม่เพียงแต่เพิ่มโอกาสในการชนะเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความสนุกสนานในการเล่นอีกด้วย

ข้อเสนอโบนัสจาก Roobet

Roobet มีการนำเสนอโบนัสที่หลากหลายและคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นโบนัสต้อนรับ โบนัสฝากเงินครั้งแรก หรือโบนัสเงินคืน ซึ่งแต่ละโบนัสมีจุดเด่นและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป การใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงข้อเสนอเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นและเพิ่มโอกาสในการทำกำไร

โบนัส 20% Cashback ภายใน 7 วันแรก

หนึ่งในโบนัสที่น่าสนใจที่สุดคือโบนัสเงินคืน 20% ภายใน 7 วันแรกหลังจากที่คุณทำการฝากเงินครั้งแรก โบนัสนี้มีความสำคัญมากสำหรับผู้เล่นใหม่ เนื่องจากมันช่วยลดความเสี่ยงในการเล่นเกม หากคุณสูญเสียเงินในช่วงเวลานี้ Roobet จะคืนเงินให้คุณถึง 20% ของยอดที่สูญเสีย ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเงินทุนในการเล่นต่อได้ทันที ทำให้คุณมีโอกาสในการชนะและเพิ่มกำไรได้มากขึ้น

RooWards และสิทธิพิเศษต่าง ๆ

Roobet ยังมีโปรแกรมสะสมคะแนนที่เรียกว่า RooWards ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้เล่นที่มีการเล่นเกมอย่างต่อเนื่องและสะสมคะแนนได้มาก ผู้เล่นที่ใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" จะได้รับ RooWards ทันทีในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นทันที เช่น การได้รับโบนัสเพิ่มเติมจากโปรโมชั่นประจำ หรือการเข้าถึงกิจกรรมพิเศษที่ให้รางวัลมากมาย การใช้ RooWards ทำให้การเล่นที่ Roobet ยิ่งน่าสนใจและคุ้มค่ามากขึ้น

โปรโมชั่นล่าสุดจาก Roobet

Roobet มักจะมีการอัปเดตโปรโมชั่นอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเล่นเกมออนไลน์ การใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" จะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงโปรโมชั่นล่าสุดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

โบนัสฝากเงินครั้งแรกและโปรโมชั่นพิเศษ

Roobet มีโบนัสฝากเงินครั้งแรกที่น่าประทับใจ โดยเมื่อผู้เล่นใหม่ทำการฝากเงินครั้งแรกจะได้รับโบนัสที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหรือได้รับฟรีสปินเพิ่มเติมในเกมสล็อตที่กำหนด โบนัสนี้ทำให้ผู้เล่นมีเงินทุนเพิ่มขึ้นสำหรับการเริ่มต้นเล่นเกม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการสำรวจและทดลองเล่นเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน Roobet

นอกจากนี้ Roobet ยังมีโปรโมชั่นพิเศษที่ออกแบบมาเฉพาะในช่วงเวลาต่าง ๆ เช่น โปรโมชั่นในช่วงเทศกาลหรือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มความสนุกสนานในการเล่นเกม การใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" จะช่วยให้คุณได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมจากโปรโมชั่นเหล่านี้ เช่น การได้รับโบนัสเพิ่มเติมในช่วงเทศกาล หรือการเข้าถึงกิจกรรมพิเศษที่ให้รางวัลมากมาย

วิธีการใช้รหัสโปรโมชั่น Roobet (ขั้นตอนการใช้)

การใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" เป็นกระบวนการที่ง่ายและสะดวก แต่เพื่อให้ผู้เล่นทุกคนมั่นใจในการใช้รหัสนี้ เรามีขั้นตอนการใช้รหัสที่ชัดเจนดังนี้:

  1. สมัครสมาชิกหรือเข้าสู่ระบบ: ถ้าคุณยังไม่มีบัญชีที่ Roobet คุณต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยการกรอกข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อผู้ใช้ อีเมล และรหัสผ่าน หลังจากนั้นยืนยันอีเมลของคุณเพื่อเริ่มต้น
  2. ไปที่หน้าโปรโมชั่นหรือการฝากเงิน: เมื่อคุณเข้าสู่ระบบแล้ว ให้ไปที่หน้าฝากเงินหรือหน้าโปรโมชั่น ซึ่งจะมีช่องให้คุณกรอก Roobet promo code
  3. กรอกรหัสโปรโมชั่น "CSGOBETTINGS": ในขั้นตอนการฝากเงิน ให้คุณกรอกรหัส "CSGOBETTINGS" ลงในช่องที่กำหนด จากนั้นกดยืนยัน
  4. ตรวจสอบโบนัสที่ได้รับ: หลังจากกรอกรหัสและยืนยัน ระบบจะแสดงโบนัสที่คุณจะได้รับ คุณสามารถตรวจสอบโบนัสในบัญชีของคุณได้ทันที
  5. เริ่มเล่นและใช้โบนัส: เมื่อโบนัสถูกเพิ่มเข้าสู่บัญชีของคุณ คุณสามารถเริ่มเล่นเกมต่าง ๆ ที่ Roobet เสนอได้ทันที โดยใช้โบนัสที่ได้รับในการวางเดิมพัน

การใช้ Roobet promo code ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณได้รับโบนัสเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดประตูสู่โปรโมชั่นพิเศษอื่น ๆ ที่ Roobet มีให้ ทำให้การเล่นคาสิโนออนไลน์ของคุณมีความสนุกสนานและตื่นเต้นมากขึ้น

ข้อดีของการใช้รหัสโปรโมชั่น Roobet

การใช้ Roobet promo code มีข้อดีมากมายที่ผู้เล่นทุกคนควรรู้:

  • เพิ่มโอกาสในการชนะ: ด้วยโบนัสฟรีสปินและเงินคืน คุณจะมีโอกาสเล่นเกมได้นานขึ้นและเพิ่มโอกาสในการชนะ
  • ประหยัดเงินทุน: การใช้ Roobet promo code ช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเงินเพิ่มในการเล่นเกม เนื่องจากโบนัสที่ได้รับสามารถใช้เป็นเงินทุนในการเล่นได้
  • เข้าถึงโปรโมชั่นพิเศษ: บางโปรโมชั่นอาจจำกัดให้เฉพาะผู้ที่ใช้รหัสโปรโมชั่นเท่านั้น ดังนั้น การใช้รหัสโปรโมชั่นจะทำให้คุณสามารถเข้าถึงข้อเสนอพิเศษที่คนอื่นไม่ได้รับ
  • เพิ่มประสบการณ์ในการเล่น: ด้วยการใช้รหัสโปรโมชั่น คุณจะได้รับโบนัสต่าง ๆ ที่ทำให้การเล่นเกมของคุณสนุกสนานและน่าสนใจยิ่งขึ้น
  • ความปลอดภัยในการใช้รหัส: การใช้รหัสโปรโมชั่นที่ Roobet นั้นปลอดภัยอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการยอมรับและมีมาตรการความปลอดภัยสูงสุดในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและการทำธุรกรรมทางการเงิน

ความปลอดภัยในการใช้ Roobet promo code

Roobet เป็นคาสิโนออนไลน์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในวงการ การใช้ Roobet promo code นั้นปลอดภัยอย่างแน่นอน การทำธุรกรรมทางการเงินและข้อมูลส่วนตัวของคุณได้รับการปกป้องด้วยระบบความปลอดภัยที่ทันสมัย ทำให้คุณสามารถใช้รหัสโปรโมชั่นและเล่นเกมได้อย่างสบายใจ

Roobet ยังใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลขั้นสูงเพื่อปกป้องข้อมูลของผู้เล่นทุกคน ซึ่งหมายความว่าข้อมูลการทำธุรกรรมและข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดี ไม่มีความเสี่ยงที่จะถูกขโมยหรือใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ Roobet ยังได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่าเกมที่พวกเขานำเสนอเป็นธรรมและมีความโปร่งใส

การถอนโบนัส

เมื่อคุณได้รับโบนัสจากการใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" แล้ว คุณอาจต้องการถอนเงินโบนัสนั้นออกมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การถอนโบนัสที่ Roobet นั้นไม่ยุ่งยาก แต่คุณจำเป็นต้องทำตามเงื่อนไขการเล่นที่กำหนดไว้ก่อน เช่น การเล่นให้ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนดหรือการใช้โบนัสในเกมที่ระบุไว้เท่านั้น

Roobet มีวิธีการถอนเงินที่หลากหลายให้คุณเลือก เช่น การโอนเงินผ่านธนาคาร การถอนผ่านสกุลเงินดิจิตอล เช่น Bitcoin และ Ethereum การทำธุรกรรมการถอนเงินมักจะเสร็จสิ้นภายในเวลาไม่นาน ทำให้คุณได้รับเงินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย

การทำธุรกรรมที่ Roobet ได้รับการปกป้องด้วยมาตรการความปลอดภัยที่ทันสมัย ทำให้ผู้เล่นสามารถมั่นใจได้ว่าเงินของพวกเขาจะได้รับการดูแลอย่างดี นอกจากนี้ Roobet ยังมีฝ่ายบริการลูกค้าที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ หากคุณมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการถอนเงิน คุณสามารถติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

โปรโมชั่นหลักจาก Roobet

Roobet มีโปรโมชั่นหลักที่น่าสนใจมากมายให้กับผู้เล่นใหม่และผู้เล่นปัจจุบัน ซึ่งโปรโมชั่นเหล่านี้ไม่เพียงแต่เพิ่มความสนุกในการเล่นเกม แต่ยังเพิ่มโอกาสในการชนะอีกด้วย

โบนัสต้อนรับ (Welcome Bonus)

โบนัสต้อนรับที่ Roobet เสนอให้กับผู้เล่นใหม่เป็นหนึ่งในโปรโมชั่นที่คุ้มค่าที่สุด โดยผู้เล่นสามารถรับโบนัสเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหรือรับฟรีสปินเพิ่มเติมในเกมสล็อตที่กำหนด โบนัสนี้เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นการเล่นที่ Roobet ด้วยเงินทุนที่มากขึ้น ซึ่งเพิ่มโอกาสในการชนะและสำรวจเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน Roobet

โปรโมชั่นฝากเงินประจำ (Regular Deposit Bonuses)

Roobet ยังมีโปรโมชั่นสำหรับการฝากเงินประจำ ซึ่งผู้เล่นสามารถรับโบนัสเพิ่มเติมจากการฝากเงินครั้งที่สอง สาม หรือสี่ นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นพิเศษที่ให้ฟรีสปินหรือโบนัสเพิ่มขึ้นเมื่อทำการฝากเงินในช่วงเวลาที่กำหนด โปรโมชั่นเหล่านี้ช่วยให้ผู้เล่นมีโอกาสเพิ่มเงินทุนและเพิ่มโอกาสในการชนะในระยะยาว

Roobet มักจะมีโปรโมชั่นพิเศษที่ออกแบบมาเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือกิจกรรมพิเศษ เช่น โปรโมชั่นในช่วงปีใหม่ ฮาโลวีน หรือวันหยุดอื่น ๆ ผู้เล่นสามารถรับโบนัสพิเศษ ฟรีสปิน หรือรางวัลพิเศษที่ไม่มีในช่วงเวลาอื่น ๆ การใช้ Roobet promo code จะช่วยให้คุณได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมจากโปรโมชั่นเหล่านี้

สรุป

การใช้ Roobet promo code "CSGOBETTINGS" เป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มโอกาสในการชนะและรับสิทธิพิเศษมากมายจาก Roobet ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เล่นใหม่หรือผู้เล่นที่มีประสบการณ์ การใช้ Roobet promo code จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในการเล่นคาสิโนออนไลน์อย่างแน่นอน อย่าลืมตรวจสอบโปรโมชั่นล่าสุดและติดตามข่าวสารจาก Roobet เพื่อไม่พลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอที่ดีที่สุด

การใช้โปรโมชั่นและโบนัสที่ Roobet ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มโอกาสในการชนะ แต่ยังทำให้การเล่นเกมสนุกสนานและน่าตื่นเต้นยิ่งขึ้น Roobet มอบประสบการณ์การเล่นเกมที่มีคุณภาพสูงพร้อมด้วยโปรโมชั่นที่คุ้มค่า ทำให้เป็นหนึ่งในคาสิโนออนไลน์ที่ผู้เล่นทั่วโลกเลือกใช้

คำถามที่พบบ่อย (FAQ's)

Roobet promo code คืออะไร? 

Roobet promo code คือรหัสที่คุณสามารถใช้เพื่อรับสิทธิพิเศษ เช่น โบนัสไม่มีเงินฝากและฟรีสปิน รหัสนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการชนะและทำให้การเล่นเกมสนุกสนานยิ่งขึ้น

ฉันจะใช้ Roobet promo code ได้อย่างไร? 

การใช้ Roobet promo code ง่ายมาก เพียงแค่กรอกรหัสในขั้นตอนการฝากเงินหรือสมัครสมาชิกที่ Roobet แล้วคุณจะได้รับโบนัสทันทีเพื่อใช้ในการเล่นเกม

โบนัสที่ได้จาก Roobet promo code สามารถถอนเงินได้หรือไม่? 

ได้ โบนัสที่คุณได้รับจาก Roobet promo code สามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด คุณควรตรวจสอบเงื่อนไขการเล่นก่อนทำการถอนเงิน

Roobet มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง? 

Roobet มีโปรโมชั่นมากมาย เช่น โบนัสต้อนรับ โบนัสฝากเงิน และโปรโมชั่นฟรีสปินที่มีให้เลือกตามความต้องการของผู้เล่น

Roobet ปลอดภัยหรือไม่? 

ใช่, Roobet เป็นเว็บไซต์ที่ปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในการเล่นคาสิโนออนไลน์ ข้อมูลส่วนตัวและการทำธุรกรรมทางการเงินของคุณจะได้รับการปกป้องด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัยขั้นสูง

รักลูก The Expert Talk EP.104 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่สำลักความรัก จนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.104 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว ไม่สำลักความรักจนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง

รักมากไปทำร้ายลูก? รักจนสำลักความรัก ประคบประหงมจนไม่ให้ลูกทำอะไร ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก แต่มากไปก็ทำลายลูก

 The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เลี้ยงประคบประหงม เด็กป่วยได้ง่าย (Munchausen Syndrome by Proxy)

เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเลี้ยงดูและดูแลสุขภาพแต่มีประเภทที่เยอะเกินไป มีเคสที่ลูกตกเตียงซึ่งอยู่กับพี่เลี้ยงตกตอนเที่ยงแต่พอตกเย็นก็พาลูกมาที่รพ. ให้หมอเช็กอย่างละเอียดเพราะว่ามีลูกคนเดียวและแม่ก็อ่านมาแล้วว่าเลือดที่ซึมออกมาจากในสมองมันจะไม่มีอาการ แต่อยากให้หมอรับรอง100% ว่าลูกไม่มีปัญหา หมอถามว่าเกิดอะไรขึ้น ความจริงคือเด็กตกเบาะเลี้ยงเด็กซึ่งกลิ้งแล้วหัวกระแทกพื้นไม่ปาร์เก้ลูกตกใจ ร้องไห้ เสร็จแล้วก็เล่นปกติ แต่ว่าแม่ไม่ไว้ใจ และอยากให้ทำMRI ซึ่งการทำกับเด็ก 9เดือนไม่ได้ง่าย แต่ด้วยความที่มีลูกคนเดียวและไม่พลาดไม่ได้เลยขอให้แม่ยืนยันซึ่งไแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย

การทำMRIเด็กต้องนิ่งมากซึ่งทางเดียวที่จะทำคือเพื่อให้เด็กหลับ แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดว่ามีปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็อาจจะต้องดมยา พอแม่ได้ยินก็บอกหมอว่าเต็มที่ไม่อั้นแต่คนเจ็บตัวคือลูก ลักษณะแบบนี้คือ Munchausen Syndrome by Proxy เครียดมากและวิตกกังวลมาก อาจจะมาจากการเห็นคนในบ้านป่วยจากประสบการณ์เดิม จึงตรวจหาความเสี่ยงของลูกทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพที่เยอะเกินไป

อีกเคสคือย่าเป็นมะเร็งไตแล้วเสียชีวิต แม่ต้องการทำRenal scan (การตรวจสแกนไต) ซึ่งทำไม่ได้ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้แม่ก็ไปเอาน้ำแดงมาผสมในปัสสาวะ แล้วให้หมอตรวจคือสำหรับหมอตรวจไม่ยากว่าเป็นน้ำแดงหรือเลือด แบบนี้คือทำให้เกิดเครียด วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ เครียดแล้วมาลงที่ลูก ผลที่เกิดกับลูกคือเกิดความหวาดระแวงไปกับแม่ ลูกซึมซับความหวาดระแวงจากแม่นี่คือในแง่ของสุขภาพ ลูกกังวล เครียดมาก

เลี้ยงแบบเร่งรัด เด็กต่อต้าน (Overstimulation)

ตอนนี้มีปัญหาเยอะเพราะด้วยระบบแพ้คัดออก เรียนทุกวัน ตื่นตั้งแต่ตีห้าเลิกเรียนก็กวดวิชาแล้วก็ติวกลับมาทำการบ้าน นอนตี1 ตื่นตี5วนไปแบบนี้ทั้งสัปดาห์ พอเสาร์อาทิตย์ก็กวดวิชาเช้าบ่าย หมอเคยเจอเคสรร.สาธิตชื่อดังพอลูกสอบเสร็จพ่อก็ให้ไปเรียนกวดวิชาที่ลงเรียนไว้ ลูกก็โมโหว่าทำไมไม่ถามว่าลูกอยากเรียนไหม เขาอาจจะอยากเล่นไวโอลิน อยากไปเที่ยว พ่อบอกว่าก็อยากจะเป็นหมอ ตอนที่มาหาหมอคือแม่ร้องไห้ พ่อความดันขึ้นเพราะว่าหวังดีแต่ทำไมเป็นแบบนี้

หมอก็ถามว่านี้เป็นเป้าของใครพ่อบอกว่าเป็นของลูก แล้วพอเราลงกวดวิชาเต็มที่แล้วแต่ลูกไม่ได้เป็นหมอจะเสียใจไหมพ่อบอกว่าไม่เสียใจเพราะว่าไม่ใช่เป้าของพ่อ เป็นเป้าของลูกและพ่อก็บอกว่าการที่พ่อจะทำให้ลูกคนหนึ่งมันผิดด้วยหรือ ซึ่งพอคุยไปพ่อก็บอกว่าผมไม่ได้อยากให้ลูกเป็นหมอเขาจะทำอาชีพอะไรก็ได้ที่รักและชอบและขอให้เป็นคนดี หมอก็บอกว่าพูดดีมากให้กลับไปบอกลูก ซึ่งหลังจากนั้นความดันในบ้านก็ลดลงมากเพราะที่ผ่านมาทะเลาะกันตลอด

ตอนนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่วางเป้าให้ลูกเรียบร้อยเลยแล้วลูกก็มีหน้าที่เดินตามเป้าและบอกตัวเองว่าการที่พ่อแม่ทำให้ลูกมันผิดด้วยเหรอ ไม่ผิดแต่เป็นเป้าของพ่อแม่หรือของลูก แล้วการที่ส่งสัญญาณว่าไม่ได้อยากให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ ได้บอกตรงๆหรือยัง ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ก็จะไม่เจอกับการเรียนแบบOverstimulationเร่งรัดบังคับจันทร์ถึงจันทร์ แต่จะได้ใจถึงใจ

เลี้ยงแบบสำลักความรัก (Over Indulgence/Spoiled Child)

มีบ้านไหนที่ลูกทำงานบ้านบ้าง นี่เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้านเรามีเด็กเยอะที่ไม่ปัดกวาด ถูบ้านล้างจาน พ่อแม่สปอยทุกอย่างจนทัศนคติของลูกเปลี่ยนว่า งานบ้านไม่ใช่หน้าที่เขาไม่จำเป็นต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้าน ความรักไม่เกิดบนการร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่สุขอย่างเดียว เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนมนุษย์

เวลาจะรักใครก็รักแบบฉาบฉวย พ่อแม่ไม่รู้ตัวว่ากำลังพัฒนาลูกไปเป็นแบบนั้นไม่สามารถรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุข ปรนเปรอให้ทุกอย่าง นี่คือการสปอยล์ รักเยอะ ผิดหวังไม่ได้ เจอกับความผิดหวังก็เบรคเลย ไปไกล่เกลี่ยก็ลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง พ่อแม่ต้องรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่มีแต่ความสุข ปรนเปรอแต่ความสุขเจอความยากลำบากไม่ได้ ต้องเจอความยากลำบากร่วมกันง่ายๆ คือ ปัดกวาด ถูกบ้าน ซักผ้า ล้างจาน

เลี้ยงขาดพื้นที่ส่วนตัว เด็กเกิดความเครียด (Parenting Enmeshment)

หมอเคยเจอบ้านที่ไม่ดูทีวีจนอายุ 18ปีจะใช้เครื่องมือสื่อสารไม่ได้ เมื่อเข้าบ้านห้ามใช้ใช้ได้อย่างอิสระเมื่ออายุ 18ปีขึ้นไป ลูกมีห้องส่วนตัวแต่ปิดไม่ได้เพราะว่าพ่อสามารถ เข้าไปดูได้ทุกเมื่อสามารถไปดูแชทส่วนตัวได้ มีเคสที่แม่ลูกชายอายุ 14ปี ยังอาบน้ำกับแม่ขาดพื้นที่ส่วนตัวมาก ถ้าบ้านไหนทำอยู่ให้กลับมาตั้งหลักใหม่

ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ที่อยากทำอะไรก็ได้เป็นความเข้าใจผิดการให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของลูกจึงมีนัยยะแม้ลูกโตมาถึงชั้นประถมไม่ต้องรอถึงมัธยม การที่พ่อไม่จับที่สงวนของลูกเลย เคารพในพื้นที่ส่วนตัว ลูกจะเกิดการเรียนรู้เลยว่าขนาดคนเป็นพ่อยังเคารพพื้นที่ส่วนตัว แล้วคนอื่นที่เป็นคนนอกจะมารุกล้ำได้อย่างไร ถ้าไม่สอนด้วยวิธีนี้จะสอนด้วยการท่องจำหรือ

การที่พ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวลูกเมื่อโตขึ้น อยากให้ลูกเป็นแบบนั้นไหน อยากให้ลูกเป็นคนเคารพพื้นที่ส่วนตัวก็ต้องทำแบบนั้นกับลูกเช่นเดียวกัน ศรัทธาและสัจจะของลูกมีความหมาย วันนี้เราไม่มั่นใจลูกเลยก็ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ซึ่งศรัทธาเกิดขึ้นจากพลังบวก เช่นเดียวกันเด็กที่โตมาในครอบครัวที่เข้มงวด ก็จะขาดความมั่นใจไม่เหลือเลย ขาดภาวะผู้นำไม่มีsense of propority การเคารพพื้นที่ส่วนตัวไม่มีถูกล่อลวงโดยไม่รู้ตัวและเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.123 : “รู้เท่าทันสื่อ Digital Literacy”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.123 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 4 รู้เท่าทันสื่อ Digital Literacy

 

จากงานวิจัยพบว่า เด็กใช้สื่อหน้าจอดิจิทัลมากขึ้น โดยใช้ในช่วงอายุที่น้อยลง แต่ใช้งานมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณต่อวัน ต่อครั้งการใช้งานและความถี่

และไม่ได้พบเฉพาะปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเท่านั้น แต่พบว่าเด็กถูกล่อลวงหรือว่าไปเจอ Cybercrime อาชญากรรมทางไซเบอร์ พ่อแม่จะรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างไร?

 

ฟังอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ 

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.125 : Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

 

รักลูก The Expert Talk Ep.125 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 6 Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

เมื่อพ่อแม่ให้โทรศัพท์ แท็บแล็ตหรือสร้างแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียให้ลูก เราอาจจะคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันเป็นโลกของข้อมูลความรู้

แต่ถ้าลองคิดในมุมกลับกัน เมื่อให้ลูกเข้าถึงโลกทั้งใบ โลกทั้งใบก็เข้าถึงลูกของเราได้เหมือนกัน…การเกิดอาชญากรรมออนไลน์จึงเกิดขึ้นได้ง่าย

 

รู้กลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์เพื่อรับมืออย่างเท่าทัน ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk Ep.40 (Rerun) : แก้ปัญหาพฤติกรรมลูกฉบับนักจิตวิทยา แค่พ่อแม่ปรับ ลูกก็เปลี่ยน

 

รักลูก The Expert Talk EP.39 (Rerun) : แก้ปัญหาพฤติกรรมลูก "ฉบับนักจิตวิทยา" แค่พ่อแม่ปรับ ลูกก็เปลี่ยน

ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกมีอยู่มากมาย…แต่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง เพราะมีสิ่งที่ต้องโฟกัสเยอะรอบด้าน บวกกับการเลี้ยงลูกด้วยกลัว ความกังวล และความไม่เข้าใจ จึงทำให้มองว่าการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องยาก

ฟังวิธีการรับมือกับปัญหาพฤติกรรมต่างๆ โดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า

การเลี้ยงลูกเดี๋ยวนี้ยากมาก ถามในมุมมองของนักจิตวิทยา

ด้วย Generation ที่เปลี่ยนไป เรากับลูก Generation ก็เริ่มห่างกันเยอะด้วยความที่เราเองอาจจะขาดความรู้ทั้งๆ ที่ความรู้มันเยอะแทบจะท่วมหัวเลยแต่ความรู้เหล่านั้นไม่มาประกอบกันได้ แล้วเราควรต้องทำแบบคนนี้คนนั้น หรือคนนู้นดี เลยเป็นเหตุให้เรารู้สึกว่าความรู้ที่เรามีอยู่มันเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่จริง

ทั้งหมดมันดีแต่พอมาประกอบกันเราไม่สามารถเป็นอย่างนั้นได้เลยมันยากเพราะเรามีโฟกัสเยอะ เรามีเรื่องงานหนัก ไหนจะเรื่องชีวิตคู่เราอีก พ่อแม่ที่เราต้องรับผิดชอบอีก ไหนจะลูกอีกทุกอย่างเข้ามาพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในช่วงโควิด 2 ปีนี้หนักหนาสาหัสมาก เพราะทุกอย่างอยู่กับเราหมดเลยไม่ว่าจะเรื่องงานที่ยากขึ้น เรื่องของลูกที่ความเข้าใจของเราก็เหมือนจะไม่ค่อยเข้าใจเขาเท่าไหร่

จริงๆ โดยธรรมชาติเด็กไม่ได้เปลี่ยนไปเยอะก็คือเหมือนเดิม เหมือนเด็กเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เหมือนพวกเรา เพียงแต่ว่าพอเรามาเป็นพ่อแม่เองเรากลับรู้สึกว่ามันยากที่จะเข้าใจเหลือเกิน แล้วด้วยเหตุที่เราไม่เข้าใจเราก็กลัว พอเรากลัวบางครั้งเราก็เอาปมของเรามาแล้วเราก็จะไม่ทำอย่างที่เรามีปม เช่น ถ้าพ่อแม่เข้มงวดกับเรา เราก็ไม่อยากเข้มงวดกับลูก

แล้วเราก็ให้ทุกอย่างเพราะเราไม่เคยได้ อันนี้เราก็ถมปมตัวเองอีก แล้วเราก็ตามใจลูกเพราะรู้สึกว่าตอนเล็กๆ เราโดนพ่อแม่ขัดใจเราอยากจะถูกตามใจ เราเอาปมของเรามาเลี้ยงลูกยุคใหม่ ที่นี้ไปกันใหญ่เลยความเข้าใจก็ไม่ค่อยมี ความรู้ก็เอามารวมกันไม่ได้ สิ่งที่กลัวก็เยอะ เพราะฉะนั้นผลที่ออกมาเราจะเห็นว่า เด็กสมัยใหม่ทำให้เรารู้สึกว่าเราเลี้ยงเขายาก แต่จริงๆ เรารู้เทคนิคเด็กไม่ได้เลี้ยงยาก คนที่ยากทำให้เขายากคือเราเท่านั้นเอง

ปัญหาพฤติกรรมที่พบได้บ่อย

เยอะมาก สิ่งแรกก็คือการเรียนออนไลน์การเรียนรู้ของเด็กโดนฟรีสไป 2 ปี เรียนออนไลน์ไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่กับเด็ก

สอง เรื่องพัฒนาการเริ่มเกิดเด็กพัฒนาการช้ามากขึ้นเพราะถูกขังไว้ในพื้นที่แคบมันเลยไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีกับเขา

สาม ปัญหาที่ตามมาจากโควิดอีกคือ การติดจอ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างรวดเร็วเด็กติดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาหมกมุ่นมากที่จะรอเวลาที่จะเล่น พอได้เล่นสิ่งนั้น Passion ในการใช้ชีวิตในการเรียนหนังสือในการทำสิ่งต่างๆ ก็หายไป

ปัญหาที่เข้ามาในโรงพยาบาลตอนนี้เยอะมากคือปัญหาพฤติกรรม ปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาทางด้านสมาธิ ปัญหาทางด้านการเรียนรู้ มาครบเลย เมื่อก่อนจะมาแค่ 1 ด้าน แต่ตอนนี้เด็ก 1 คนครบมากแล้วพอเป็นแบบนี้ก็ขาด Social Skill ปัญหาใหญ่เหมือนกันเพราะฉะนั้นตอนนี้คนที่มาถึงมือมีเรียงลำดับอายุ 3 ขวบ 6 ขวบ 10 ขวบ 13 ขวบ เจอโดนผลกระทบกันหมดเป็นเรื่องยากเหมือนกันของพ่อแม่ที่จะรับมือกับสิ่งนี้ที่จะช่วยลูก เลยทำให้สิ่งนี้ทำให้พ่อแม่เครียดมากไม่รู้จะจัดการอย่างไร 2. พ่อแม่ต้องปรับเรื่องไหนก่อน

1.พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติตัวเองใหม่ก่อน

ตั้งสติดีๆ ก่อน เวลาที่ปัญหามันเข้ามาหาเราเยอะเราจะรู้สึกแพนิคและวิตกกังวลมันเยอะไปหมดไม่รู้จะจัดการอย่างไร จริงเริ่มที่เรา เราตั้งสติให้ดีแล้วเราเปลี่ยน Mindset ว่าเราจะไม่ทำเหมือนเดิมแล้วนะ

ถ้าเราทำเหมือนเดิมผลก็คือเหมือนเดิมเราต้องเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยง เมื่อก่อนเราอาจจะเลี้ยงเขาแบบหนึ่ง ตอนนี้สิ่งที่เราเน้นเสมอเลยว่าตอนนี้ถ้าเราจะแก้มาจดจ่ออยู่กับลูกอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงอย่างมี Quality Time อยู่กับเขาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเขา ตอนนี้เราเครียดเราก็เอากลับมาให้เขาแล้วเราก็รู้สึกกดดันเขา คาดหวังเขา เราคาดหวังในการเรียนออนไลน์ของเขาอย่างหนัก คำว่า คาดหวังอย่างหนัก พอเราเห็นเขานั่งไม่อยากเรียนเราก็รู้สึกหงุดหงิด พอเขาเปิดจอ 2 จอ 3 จอ 4 เราก็รู้สึกเครียด

เราต้องปรับ Mindset ใหม่ว่าเด็กคือมนุษย์คนหนึ่ง คิดถึงตัวเองเมื่อตอนเราเป็นเด็กมันก็ควบคุมทุกอย่างยาก 1. คือการเรียนออนไลน์เราต้องยอมรับแล้วว่าไม่เวิร์คมันได้ 50% ตั้งใจเกือบตายก็ได้แค่นี้ เพราะฉะนั้นเลิกกดดันลูก เลิกคาดหวังจากลูกเสียที

2.ตั้งสติ

แล้วดูปัญหาของลูกว่าตอนนี้เขากินอยู่หลับนอนเขาช่วยเหลือตัวเองได้หรือเปล่า ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันเป็นการกระตุ้นพัฒนาการที่ดีมากๆ กระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อย่างใส่เสื้อตัวต้องตั้งขึ้นมากล้ามเนื้อทั้งแท่งของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ใช้ แขนได้ใช้ ขาได้ใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ใช้ นิ้วได้ใช้จับเสื้อติดกระดุม เรื่องของภาษาได้ใช้เพราะเวลาเราบอกลูกหยิบอันนั้น หยิบอันนี้ เขาต้องฟังต้องเข้าใจมีการสื่อสาร

ในเรื่องของการแก้ปัญหาก็เกิดเพราะฉะนั้นเราต้องกลับไปดูใหม่แล้วว่าการกินอยู่หลับนอนที่เราเคยทำให้ ที่เราเคยให้พี่เลี้ยงทำให้เราต้องเปลี่ยนทัศนคติแล้วโลกโหดร้ายกว่าที่เราคิดถ้าเขาช่วยตัวเองไม่ได้แค่เรื่องง่ายๆ แค่นี้เขาจะผ่านไปสู่เรื่องยากได้อย่างไร

เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันถ้าเขาสามารถดูแลตัวเองได้เขาก็จะภูมิใจในตัวเองและเราเองก็จะเบาลง พอเราเบาลงเขาทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองกินได้ด้วยตัวเองได้ สามารถอยู่กับตัวเองเป็น สามารถนอนได้โดยไม่ไปรบกวนคนอื่น พวกนี้กิจวัตรประจำวันทำได้เองเพิ่มเรื่องของการช่วยเหลือคนอื่นหน้าที่งานบ้านมันคือความรับผิดชอบต่อสังคมต่อคนอื่นต้องปลูกฝัง เพราะถ้าเราตามตอนนี้สังคมโหดร้ายมากดูข่าวเด็ก

เอาแต่ตัวเองโฟกัสแต่ตัวเองแล้วเราก็ให้ลูกไปโฟกัสแต่ตัวเองทุกวันนี้เป็นแบบนี้ มันเปลี่ยนไปมากเมื่อก่อนเราจะเป็นห่วงเป็นใยความรู้สึกของคนอื่นเราจะโพสต์เชียลเราจะแคร์ว่าเมนท์ไปแล้วเดี๋ยวเขาเสียใจเดี๋ยวนี้เราไม่มีความแคร์อันนี้เลยเราอยากจะพูดอะไร พิมพ์อะไร เมนท์อะไรเราก็ตรงๆ แรงๆ เราใส่อารมณ์ใส่ความรู้สึกเข้าไปโดยไม่แคร์คนอื่น

เพราะฉะนั้นแปลว่าตอนนี้เราเคารพแต่ตัวเองเราไม่เคารพความรู้สึกของคนอื่น อันนี้ Self Esteem คือการที่เรารู้จักตัวเองรักตัวเองเป็นแล้วต้องรักคนอื่นได้ด้วยเราต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เราต้องมีความเมตตากับคนอื่น

ตอนนี้แทบไม่มีเลยคอมเมนท์ไม่มีความเมตตาเลยแล้วตามด้วย Cyber Bullying อีกปัญหายาวมาก คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติก่อนเริ่มที่บ้านและตอนนี้เราพึ่งโรงเรียนไม่ได้เราต้องพึ่งตัวเองเราต้องเป็นครูของลูก เราต้องหากระบวนการเรียนรู้ที่มันใช้ได้จริงวิชาการหรืออินเตอร์เนทไปอ่านมาคนหนึ่งก็ไปทิศหนึ่งอีกคนก็ไปทิศหนึ่ง

บางคนบอกเราว่าต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมด แล้วกินอะไรคำถามง่ายๆ แล้วกินอะไร แล้วพอลูกเรียนจบจะอยู่อย่างไรละ ความภาคภูมิใจของเราละ ชีวิตของเราละ พอลูกอายุ 15 ลูกก็ไม่เอาเราแล้วลูกก็ไปอยู่กับแฟน ลูกก็สนใจเพื่อน แล้วเราจะอยู่อย่างไรเราจะเหงาไหมเราจะขาดสังคมหรือเปล่า

ความจริงคือมันต้องไปด้วยกันเราคือมนุษย์หนึ่งคน ลูกคือมนุษย์หนึ่งคนอยู่กันอย่างไรให้เป็นความจริงที่สุดว่าเราอยู่ร่วมกันเรารับผิดชอบเขา เขารับผิดชอบตัวเองและมีปัญหาให้น้อยที่สุด การจะมีปัญหาให้น้อยที่สุดมันต้องเริ่มตั้งแต่ขวบปีแรกได้ปัญหาทุกอย่างมันจะเบาและน้อยที่สุดถ้าเริ่มด้วยความเข้าใจและความรู้ที่แท้จริงในการเลี้ยง

เราตั้ง Mindset ว่า เราฝากลูกไว้กับครูยากแล้วสิ่งที่สำคัญคือพ่อแม่เองเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วยในเรื่องของอารมณ์ในเรื่องของวุฒิภาวะเวลาปกติเราเครียดเราวี๊ดเราก็ลงไปทีเขาเลย เพราะฉะนั้นเราอยากให้เขาโตขึ้นมีเหตุผลเราต้องทำสิ่งนั้นให้เขาเห็นด้วยว่าพ่อแม่ก็เป็นแบบนั้นลูกก็จะได้มีโมเดลที่ดี

ส่วนปัญหาที่มันมามากมายค่อยๆ โฟกัส จริงๆ ลูกไม่ได้แย่หลายๆ คนนั่งมาร์คจุดด้อยของลูกมีเป็นร้อยแต่ตัวเองก็จะมองกลับไปลองดูสิ่งที่เขาทำได้สิ จริงๆ แล้วเขาไม่ได้แย่ขนาดนั้น แต่เราลองมาดูว่าเขาทำอะไรไม่ได้เราก็สอนเขาให้เขาทำได้อะไรที่เป็นปัญหาหนักมือเราทำไม่ได้แล้วต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญก็หาความช่วยเหลือ

หาข้อมูลที่สามารถทำได้จริงเป็นไปได้เราเข้ากับข้อมูลอันนั้นเป็นข้อมูลที่คลิ๊กกับเรา เราจะรู้เลยว่าข้อมูลนี่เป็นไปได้เราทำได้ เพราะนั้นตั้งสติเปลี่ยน Mindset ว่าอย่าพึ่งคนอื่นพึ่งตัวเอง

3. สร้างบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูก

เพราะจริงๆ เมื่อก่อนเราส่งลูกไปที่โรงเรียนแล้วลูกก็อยู่ที่โรงเรียนถึงเย็น เราก็คาดหวังว่าคุณครูจะให้ลูกกลับมา 1 2 3 4 ลูกต้องเพอร์เฟคสำหรับฉันแต่ตอนนี้หน้าที่อยู่ที่พ่อแม่หมดเลย แล้วโรงเรียนก็น่าสงสารในตอนนั้นอย่าลืมว่าในห้องคุณครูต้องสอนวิชาการแล้วคุณครูก็ต้องสอนกติกา

คุณครูก็ต้องสอนมารยาท ต้องให้ Social Skill ลูก เพราะเด็กในห้องเรียนหนึ่ง 30 คน หมอทำกรุ๊ปเด็กเพื่อทำพัฒนา Social Skill รับไม่เกิน 5 คน เพราะเราดูละเอียด เด็กในเรื่องของ Social Skill ไม่ใช่ 30 คนแล้วเราสามารถพัฒนาได้ อยู่ที่บ้านเราทำกับลูกที่บ้านได้เลยเราสามารถพัฒนาเขาได้ทุกๆ ด้าน พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่เราทำได้ที่บ้าน กระโดดโลดเต้นหากิจกรรมเคลื่อนที่ในที่แคบให้ลูกทำ

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กใช้ศิลปะได้ ใช้การเล่นของเล่นได้ พัฒนาการทางด้านภาษาพูดเป็นเพื่อนกับลูกก่อนได้ในช่วงนี้ เราจะเน้นมากช่วงนี้เด็กเวลาคุยไม่ค่อยมองหน้าไม่ค่อยสบตาเพราะเวลาเราคุยกับลูกเราเล่นมือถือ ลูกก็ไม่รู้ว่าต้องมองหน้า

ซึ่งความสัมพันธ์ที่แท้จริงของมนุษย์ที่มันต่างกับอย่างอื่นคือมองหน้า สบตา พูดคุย อันนี้ต้องให้เกิดทักษะสังคม เบสิกอันนี้ต้องเกิดก่อนรู้จักมองหน้าคน รู้จักมองตา สบตา พูดคุย อันนี้เริ่มที่บ้านได้ทำเลยมีเวลา 1 ชั่วโมง สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกเล่นกับลูกเราก็ต้องรู้ด้วยว่าจะเล่นอะไร บางครั้งการเล่นเราก็เป็นแม่เกินไป เราก็เป็นครูเกินไปหรือบางทีเราก็เป็นเพื่อเกินไป มันพอดี

สร้างหลักความพอดี สร้างจุดสมดุล

เข้าใจก่อนว่าการเป็นเพื่อนเล่นของลูกกับการเลี้ยงลูกเหมือนเพื่อนไม่เหมือนกัน ในช่วงแรกของชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนเข้าวัยรุ่นเลี้ยงลูกให้เป็นลูกได้ ไม่ต้องเป็นเพื่อน

เลี้ยงดูอย่างเข้าใจธรรมชาติของวัย

เพราะเราต้องสอน ต้องสั่ง ต้องออกคำสั่ง เราต้องให้เขาเชื่อฟังเรา แต่หลังจากวัยรุ่นไปแล้ว 10 ขวบไปแล้วเราต้องเลี้ยงเขาแบบเพื่อนเราจะหยุดการสอน

เราจะพูดคุยเราจะใช้เหตุผล เราจะแสดงความเห็นที่ต่างกันได้เราจะรับฟังกันมากขึ้น เพราะฉะนั้น 10 ปีนี้ เวลาที่เล่นคือเล่น เวลาที่เลี้ยงคือเลี้ยง เวลาที่สอนคือสอน แต่เวลาสอนก็ไม่ใช่พูดเรื่องเดิม เราต้องรู้แล้วว่าเราสอนเขามา 5 ปี ในเรื่องนี้เราพูดเหมือนเดิมประโยคเดิมอารมณ์เดิมเขารู้แล้วที่เขาไม่ทำเพราะยังพูดเหมือนเดิมอารมณ์เดิมประโยคเดิมเราไม่เรียนรู้แต่ลูกเรียนรู้

คนฉลาดคือคนที่ต้องเรียนรู้ว่าสิ่งไหนไม่เวิร์คต้องหยุด เพราะฉะนั้นเราพูดจ้ำจี้จ้ำไชมาไม่เกิดผลเราต้องหาวิธีใหม่ วิธีจ้ำจี้จ้ำไชก็ไม่น่าใช่วิธีที่เหมาะกับลูกเรา เราก็ต้องตั้งสติดีๆ ว่าอะไรถึงจะพอดีออกคำสั่งชัดๆ เด็ดขาดแต่ไม่ได้ใช้อารมณ์ อย่างเช่น ไปอาบน้ำ ธรรมดา ลูกบอกว่าเดี๋ยว ก็ค่อยๆอารมณ์เพดาน ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นตัวเองก็จะให้แค่ 3 ครั้ง ที่จะไปอาบน้ำ รอบที่สอง ไปอาบน้ำ ให้เสียงต่ำลง สูงขึ้นคือใช้อารมณ์

เวลาเราจะกดดันใครให้เราใช้เสียงต่ำ เวลาเราโกหกเราจะใช้เสียงสูงเราจะใช้อารมณ์ ครั้งที่ 3 ไม่พูดลากไปเลยค่ะ คือการกระทำที่ชัดเจนเด็ดขาดว่าแม่ให้แค่นี้ แค่นี้คือแค่นี้ทำไปสัก 2-3 ครั้งเกิดการเรียนรู้ คือลูกเกิดการเรียนรู้ดีกว่าผู้ใหญ่

เรียนรู้ลูก

สังเกตไหมบางคนมีลูกมา 10 แล้วมาเรียนรู้เลยยังใช้วิธีเดิมแต่ลูกเรียนรู้ตลอดเวลา ปรับเพื่อจะสู้กับเราตลอดเวลา แล้วการต่อลองเป็นการดึงที่เขาต้องการ เช่น การบอกว่าเดี๋ยว อีกแป๊บหนึ่ง อีกหน่อยหนึ่ง อีก 10 นาที อีก 5 นาที เหมือนได้ตลอดเลยไม่เคยเดี๋ยว

เพราะฉะนั้นเขาเรียนรู้และรู้จักใช้วิธีแต่เราไม่ได้เรียนรู้เราใช้วิธีเดิม พอรอบที่ 1 ไม่ได้เราก็ใช้ประโยคเดิมซ้ำเดิมแล้วเราก็วี้ด เสียงก็สูงขึ้นๆ อารมณ์ก็สูงขึ้นด้วย ถามว่าแล้วใครได้ประโยชน์ ลูกได้สิ่งที่ลูกต้องการไม่ใช่เรา กลับมาใหม่ว่า

พอดี

พอดี คืออะไร พอดี คือพูดน้อยๆ ชัดๆ เด็ดขาด ให้เขารู้ว่าทำคือต้องทำการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันคือเรื่องซีเรียส แต่เวลาเล่นกับลูก เล่นแบบเพื่อนไม่ใช่เล่นแบบออกคำสั่ง ไม่ใช่เป็นครูไม่ใช่เป็นพ่อแม่ เล่นแบบเพื่อนหมายความว่าอย่างไรเราเป็นคนหนึ่งที่ให้เขาเรียนรู้กติกามีการสลับพลัดเปลี่ยนกันถึงตาลูก ถึงตาแม่มีความสนุก

มีการทำให้ลูกเห็นว่าเราไม่ได้เก่งไปทุกอย่าง ไม่ได้ชนะลูกทุกครั้ง สลับกันแพ้สลับกันชนะ แกล้งแพ้บ้าง แกล้งชนะบ้าง แกล้งเสมอบ้าง เพื่อให้เขาปรับตัวว่าจริงๆ ไม่เป็นไร เราเป็นตัวอย่างให้ดูว่าแพ้ไม่เป็นไร ชนะอย่าเยาะเย้ยลูก ชนะอย่าโห่ฮิ้วมากแล้วเขาจะรู้สึกเยอะ

เพราะฉะนั้นเราก็เล่นให้เขาเรียนรู้กติกา ว่าการเล่นมีกติกาอยู่ เขาสนุกกับเราได้เวลาที่เขาเล่น อย่างของหมอก็จะมีชั่วโมงเรียกว่า Happy Time คือการอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่ต้องมีอะไรไม่ต้องสอนไม่ต้องมีกติกา เป็นยังไง วันนี้ไปเจออะไรมาบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าชั่วโมงนั้นเราจะเอาความทุกข์ไปไว้ที่ลูกไปเราว่าวันนี้แม่เจอความเครียด ไม่ใช่

หรือพ่อแม่บางคนชอบจะเอาความทุกข์ไปใส่ไว้ที่ลูก เช่น ทะเลาะกับพ่อของเขาไปว่าพ่อให้ลูกฟัง ไปบอกลูกว่าพ่อนิสัยไม่ดียังไง หรือพ่อเองก็มาว่าแม่ให้ลูกฟังสิ่งนี้ไม่ควรทำ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ ความทุกข์เรื่องงาน ความทุกข์เรื่องเงิน

เด็กไม่ควรต้องมารับผิดชอบเรื่องนี้ในเวลาที่เขาเป็นเด็ก คุณกำลังจะดับฝันเขาเหมือนคุณกำลังจะบอกเขาว่าชีวิตไม่ได้มีความสุขเลยจริงๆ แล้วมีความทุกข์หนักมาก แล้วเราก็เอาความทุกข์เราไปไว้ในใจเขา เวลาเด็กที่เขาซับเอาความทุกข์ไปเขาไม่เหมือนเรา เขาไม่รู้ว่าความทุกข์สามารถหยุดได้หมดได้ แต่เขาจะเก็บเอาไว้แล้วก็ซึมซับความทุกข์นั้นไว้จนเป็นอารมณ์ตัวเองแล้วก็ไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข

เช่น คุณแม่บอกว่าวันนี้แม่ทุกข์ทรมานต่างๆ นาๆ ลูกก็จะรู้สึกว่าฉันมีความสุขไม่ได้ ฉันอยู่หลังแม่ฉันเด็กจะไม่ยอมให้ตัวเองมีความสุข มันก็ส่งผลกระทบไปที่เขาเพราะฉะนั้น Happy Time คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พูดคุยกัน ผ่อนคลาย พยายามรับฟังเขา

จริงๆ เป็นช่วงติดตามว่าเทรนด์ของเขา เขาสนใจอะไรกำลังโฟกัสอะไร เขาสามารถเล่าเรื่องทุกอย่างให้เราฟังได้นะ เราเป็นคนที่เขาไว้ใจได้แล้วก็ยังไม่ต้องสอนอะไรเก็บเอาไว้ เวลาเขาเล่าอะไรหรือไปทำอะไรมาก็แล้วแต่คุณพ่อคุณแม่มักใจร้อนเผลอสอน

พอดี หมายความว่า รอเวลาที่พอดีที่จะสอน แล้วการรับฟังไม่ใช่ว่า แม่หนูไปทำอันนี้มา ลูกไม่ควรทำแบบนั้นนะแล้วก็สอนไปยาว แล้วใครจะเล่าให้คุณฟังเพราะมันก็จะมีตำหนิตามมา

พอดี คือ คิดถึงใจตัวเองไว้ว่าถ้าเราเป็นเขาเราอยากได้อะไรคิดถึงใจเราถ้าไม่ใช่เวลาสอนก็อย่าสอนตลอดเวลา สอนให้เป็นเวลาแล้วพูดให้น้อย เพราะเวลาที่เราพูดเยอะๆ เด็กจะเข้าใจว่าเราบ่น เขาจะรู้สึกว่านี่คือบ่นแล้วไม่มีสาระแล้วโทนเสียงระดับเกินมาตรฐานของแม่คือการที่แม่พร่ำเพ้อแล้วลูกก็จะดับหูก็จะไม่อยากฟังเลี้ยงลูกจริงๆ ต้องมีจิตวิทยาเยอะมาก มีดีเทลเยอะ

เป็นแบบอย่างให้ลูก

เป็นแบบอย่างให้ลูก แต่พอช่วงวัยรุ่นมันเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมดเลย หยุดสอน ฟังให้เยอะ พูดให้น้อย คอนเซปต์ของการเลี้ยงวัยรุ่น 4. ซ่อมแซม Learning Loss ในมุมมองของนักจิตวิทยา

ตอนนี้ปัญหาเข้ามารอบด้าน กรูเข้ามาทุกทางสมัยก่อนปัญหาก็เยอะแต่ทำไมไม่กรูหาเด็กขนาดนี้ ไม่มาหาเราขนาดนี้ ที่มาเยอะเพราะโซเชียลมีเดีย เพราะการรับข้อมูลเยอะแล้วช่องรับมันเร็ว กว้างและเร็ว มันอิมแพคเร็วมากในการที่มี Respond ของสังคม

การที่ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไรรู้หมด เพราะฉะนั้นตอนนี้เรากลับรู้สึกว่าอยู่ยากขึ้นหนักขึ้น ตัวเด็กเองก็ยากขึ้นหนักขึ้นเช่นกัน แต่ว่าคนที่เป็นผู้ใหญ่ต้องตั้งสติก่อนว่าบางครั้งตัวเราเองเมื่อความรู้ไม่มากพอความกลัวที่เยอะเราก็จะมองมันใหญ่เกินที่จะเป็นจริง

เวลาที่ Learning Loss เกิดขึ้น เวลาจะ Loss อะไรมันมักจะ Loss เป็นชุดใหญ่ๆ มันไม่มีการ Loss ที่มันค่อยๆ แต่พอมัน Impact แล้วมันก็ Impact ในหลายๆ ระบบเหมือนพัฒนาการที่พอมันช้า 1 ก็โดนกระทบไปหมด เด็ดดอกไม้ก็สะเทือนไปถึงดวงดาว

ให้กระบวนการคิดที่ดี

ตั้งสติว่าสิ่งที่เราต้องให้ลูกในเบสิกของชุดกระบวนความคิดของสมองของลูกมันไม่ใช่ว่าจะต้องให้ข้อมูลที่เยอะแต่เราต้องให้กระบวนการคิดที่ดี ถ้าเด็กมีกระบวนการคิดที่ดีเขาจะดีทุกเรื่อง

ถ้ามีกระบวนการคิด มี Process ในการคิดว่าต้องทำสิ่งนั้นต้องทำสิ่งนี้มีกระบวนการคิดที่ดีจะแก้ปัญหาทุกปัญหาได้หมด อย่างเช่น เขาเรียนแล้วเขาไม่ตั้งใจ ถ้าเขามีกระบวนการคิดที่ดีเรื่องนี้จะเป็นปัญหาน้อยมากเพราะเขารู้ว่าเขาจะตั้งใจยังไง จะมีกระบวนการเรียนรู้ยังไง ในชีวิตประจำวันกระบวนการคิดถ้าได้เกิด ได้สร้างจะทำเขาสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเขาได้

ในการเรียนหนังสือแก้ปัญหาโจทย์ใช้กระบวนการความคิดหมดเลย รวมไปถึงการโตเป็นผู้ใหญ่อย่างเรากระบวนการคิดสำคัญมากถ้าเราไม่เคยถูกใช้พวกนี้มันจะไม่พัฒนา แล้วใครทำให้กระบวนความคิดอันนี้เกิด เกิดน้อย หรือไม่เกิดก็คือพ่อแม่

ปัญหาสังคมตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพศ ยาเสพติด อาชญากร โซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่ออารมณ์เด็กพวกนี้กระบวนความคิดของเด็กคนนั้นไม่พอที่จะหยุดคิดว่าสิ่งนั้นควรทำหรือไม่ควรทำ สิ่งนั้นดีหรือไม่ดี อย่างยาเสพติดเรารู้เราเรียนแต่ทำไมยังมีกลุ่มที่ติดยาเสพติด เพราะกลุ่มพวกนั้นมีกระบวนความคิดอีกแบบหนึ่ง กลุ่มพวกนั้นไปโฟกัสสิ่งที่ได้จากยาเสพติด

เห็นไหมว่าเด็กมีกระบวนความคิดที่ไม่เหมือนกัน ทำไมเราถึงไม่ยุ่งเพราะเรามีกระบวนการคิดว่ามันไม่เป็นประโยชน์กับเรามันเป็นโทษมากกว่าประโยชน์เราเลือกจะไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษมากกว่าประโยชน์ อันนี้เป็นกระบวนความคิดทั้งหมดเลย

ถ้าเราใส่กระบวนการเรียนรู้ กระบวนความคิดที่ถูก จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ลูกจะเลือกเพื่อนเป็น ลูกจะเลือกสื่อเป็น ลูกจะเลือกทำในสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก่อน ลูกจะเลือกสิ่งต่างๆ เข้ามาในชีวิตเป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่สิ่งที่แย่

สร้างกระบวนการคิดต้องหยุดคิดแทน

ถามว่าแล้วพ่อแม่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนความคิดนี้ได้อย่างไร คุณต้องหยุดคิดแทนทำแทน ต้องหยุดตอบสนองเกินความจำเป็น สอนให้ลูกคิดเป็น วิธีการง่ายๆ สอนให้ลูกคิดเป็น คุณคิดอย่างไรคุณก็พูดให้ลูกฟัง

เช่น เราเลือกของเล่นให้ลูกมีของเล่นอยู่ 2 ชิ้น แล้วเราเลือกชิ้นนี้มาเราก็บอกเขาว่าชิ้นนี้มันดีกว่ามันคุ้มกว่าอย่างไร ของเล่นเช่นนี้มันทำให้หนูได้เรียนรู้เรื่องของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้สร้างสมอง มีเสียงด้วย ราคาเท่านี้ มันเล่นได้สามปี กับของเล่นชิ้นที่แพงมากแล้วสวยมากแต่เล่นได้ฟังก์ชั่นเดียวแล้วก็พังง่าย

สองอย่างนี้พอเทียบกันแล้วแม่เลยเลือกชิ้นนี้ให้ลูก คุณสามารถทำแบบนี้ได้กับทุกๆ อย่าง เช่น คุณเลือกซื้อนมให้เขา นมมีหลายยี่ห้อทำไมแม่เลือกนมอันนี้ กระเป๋ามีหลายยี่ห้อทำไม่แม่เลือกใบนี้ มือถือมีหลายยี่ห้อทำไมแม่เลือกอันนี้ ความคุ้มค่าของมันที่เราต้องสอนลูกว่าเหตุผลวิธีการคิดของเราที่วางแผนในหัวเราพูดมันออกมา

แค่ชีวิตประจำวันทำไมต้องแปรงฟันก่อนล้างหน้า ทำไมต้องล้างหน้าก่อนแปรงฟัน แต่ละบ้านทำไม่เหมือนกัน แต่เราก็ให้ลูกทำเหมือนที่เราทำ เพราะบางทีเราก็ไม่ได้คิด แต่ทุกอย่างเราต้องใส่กระบวนความคิด เขาจะตั้งคำถามขึ้นมาทันทีถ้าเราให้เหตุผลกับทุกอย่างที่เขาทำ เขาจะถามว่าทำไมไม่ทำอย่างนั้น เพราะอะไรต้องทำอย่างนี้

ถ้าคุณถูกฝึกจนชินคุณจะอธิบายเหตุผลได้จนลูกยอมรับ ซึ่งการฟังเหตุผลมันก็วางแผนไปยิ่งวัยรุ่นด้วยว่าถ้ามีสิ่งที่เราต้องคุยกับเขา สังคมการเมือง รุนแรงมากขึ้น วันหนึ่งลูกเราอาจไปอยู่สถานการณ์คับขันที่เราก็พูดไม่ได้ไม่รู้จะสอนอย่างไรไม่รู้จะให้ข้อมูลอย่างไร เพราะอัลกอลิทึ่มของเราไม่เหมือนกัน นอกจากว่าถ้าเราปลูกฝังเหตุผลแล้วเราบอกเขาว่าในมุมของแม่แม่คิดอย่างนี้เราก็สามารถให้เหตุผลกับสิ่งที่เราต้องการได้แล้วลูกเองก็ให้เหตุผลกลับมาในสิ่งที่เขาต้องการได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์อยู่รอดตอนนี้คือการสร้างกระบวนการคิดให้เกิดขึ้นก่อนโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่สร้างได้ที่บ้านเลยว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกอาบน้ำแล้ว ทำไมอยากให้อาบเดี๋ยวนี้พูดไปเลยสอนกระบวนการคิดไปเลย

ปกติเราใช้อารมณ์ อาบน้ำได้แล้วลูก แล้วไม่เคยบอกลูกเลยว่าทำไมต้องอาบตอนนี้ ทำไมลูกถึงใช้คำว่าเดี๋ยวเพราะเขาไม่คิดว่าต้องเป็นตอนนี้ การจะทำให้ลูกเชื่อเรา เราต้องมีเหตุผล ทำไมหมอเองเวลามีคนไข้แล้วคนไข้จะชอบมาเจอมาคุยเพราะเรามีวิธีการคิดแล้วเราคิดให้ฟัง

เราไม่ได้บอกว่าสิ่งนี้ดีเพราะสิ่งนี้ดีเราจะบอกเหตุผลว่าทำไมเราคิดว่าสิ่งนี้ดีทุกคนต้องการเหตุผล ไม่ใช่ดีเพราะพ่อแม่บอก พ่อแม่ก็อยากรู้ว่าในความคิดของเรามุมมองของเราเหตุผลคืออะไร ไม่ใช่เราบอกว่าต้องทำสิ่งนี้นะต้องทำสิ่งนั้นนะ เราไม่เคยทำอย่างนั้นเลยแต่เราจะบอกว่าทำไมเหตุผลคืออะไรทำไมต้องทำ ไม่ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วไม่ได้อะไร เลือกเลยข้อมูลคุณมีแล้วเราอยากให้มีกระบวนความคิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีกระบวนการคิดที่ดี Product ของคุณก็จะดีด้วย

Learning Loss แก้ได้ด้วยกระบวนการคิด

ใช่ คือพื้นฐานเลย Learning Loss หรืออะไร ก็แก้ได้หมด จริงๆ เริ่มได้ตั้งแต่ 3 ขวบเลยการสร้างกระบวนความคิด 3 ขวบสมัยนี้ กับเรา 3 ขวบ ไม่เหมือนกันเลยนะ ชิพสมอง 3 ขวบสังเกตเรา ฟังเรา ฟังว่าเราพูดอะไร สังเกตว่าเราทำอะไร เก็บมาแล้วมาใช้กับเรา ในขณะที่เราตอนเด็กๆ รู้สึกว่าชิพของเรามันช้า

กว่าจะฟังว่าพ่อแม่คิดอะไร 7 ขวบ กว่าที่เราจะพยายามฟังว่าเขาต้องการอะไร คิดอะไร ทำอะไร แล้วเราอยากเลียนแบบหรือเราอยากจะสู้ ต่อต้าน สมัยนี้ 3 ขวบหูผึ่งเลยเวลาเราคุยกับสามีเขาก็ฟังว่าวิธีการคิดของเราคืออะไร เรากำลังทำอะไรกับเขาอยู่ เวลาเอาเด็กมาที่ห้องบำบัด เวลาเราอยู่ด้วยกันเราจะสังเกตเลยว่าลูกมักจะแอบฟังอย่างตั้งใจ แต่เราก็รู้สึกว่าเขาฟังได้แล้วเขาควรจะได้ฟังเพราะเรามีเหตุผล ซึ่งถ้าฝึกการใช้เหตุผลมาตั้งแต่เด็กๆ โตขึ้นก็ไม่มีปัญหาที่จะใช้เหตุผล พ่อแม่วางแผนเลี้ยงลูกตั้งแต่ยังเด็ก

การเลี้ยงเด็กมันยากและเยอะ อยากให้ตั้งสติดูเขาปีต่อปีเพราะเด็ก 1 ขวบปีก็เปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนเขาสูงกว่าผู้ใหญ่ เราผู้ใหญ่ 29 กับ 30 ไม่ต่างกัน แต่เด็ก 1 ขวบ กับ 2 ขวบ ต่างกัน เราไม่จำเป็นต้องไปเสพข้อมูลที่เยอะมาก เวลาใครเข้ามาเราจะบอกว่า สมมติลูก 9 เดือน เราจะมองไปที่ 12 เราจะมองไปแค่ 1 ปีนี้

เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเสพข้อมูล เราก็ดูว่า 1 ปีนี้มันนาน 1 ปี คือ 12 เดือน ทำให้มันนี้ในหนึ่งปีนี้วางแผนหาข้อมูลใน 1 ขวบปี 2 ขวบปี ต่อยอดไปเรื่อยๆ อย่าไปมองว่าต้องรู้ทั้งหมด คุณไม่มีทางรู้ทั้งหมดได้เพราะ 1 ปีนี้ในปีนี้ กับ 1 ปีนี้ในปีหน้า

ปัญหาเปลี่ยน สถานการณ์แวดล้อมอย่างโรคระบาดก็เปลี่ยนเขาเปลี่ยนเรา โฟกัสช่วงสั้นๆ มองว่าสิ่งที่เราต้องการวางเป้าให้ชัดว่าเราเลี้ยงลูกต้องการอะไรอยากได้อะไรเพื่อให้เขารอด ไม่ใช่อยากได้อะไรเพื่อให้เรามีความสุข

เราต้องมองว่าอะไรจะเป็นเครื่องมือให้เขาอยู่ได้ถ้าไม่มีเรานี่คือเป้าหมาย หากระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องถ้าไม่รู้ก็หาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าให้แนะนำก็เป็นนักจิตวิทยาคลินิกเด็กและจิตแพทย์ 2 อาชีพนี้ทำงานไม่เหมือนกัน

นักจิตวิทยามีหลายๆ สาขา แต่ในเรื่องของการตรวจวินิจฉัยและบำบัดจะต้องเป็นนักจิตวิทยาคลินิก คำว่า คลินิก คือโรงพยาบาลที่มี License มีใบประกอบวิชาชีพในการตรวจวินิจฉัย ต่างกันกับจิตแพทย์อย่างไร ต่างกันกับคุณหมอพัฒนาการอย่างไร

นักจิตวิทยาคลินิกจะมีเครื่องมือที่สามารถตรวจ เครื่องมือคือแบบทดสอบทางจิตวิทยาสามารถตรวจพัฒนาการได้ สามารถตรวจการทำงานของสมองได้ สามารถตรวจเรื่องของอารมณ์ได้ สามารถตรวจ EQ ได้ นี่ก็คือการตรวจ ที่มีเครื่องมือซึ่งมีความแม่นยำสูงมากผลออกมาเหมือนตรวจเลือดออกมาเป็นตัวเลข

มีรายละเอียดให้เห็นว่า Picture ข้างในของลูกมันคืออะไร เรารักษาด้วยการไม่ใช้ยา แต่จิตแพทย์หรือคุณหมอพัฒนาการรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งนักจิตวิทยาคลินิกก็จะมีเครื่องมือโดยไม่ต้องใช้ยาเลย เช่น ลูกสมาธิสั้นเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก้ไขปัญหาสมาธิสั้นได้

ลูกมีปัญหาการเรียนรู้ก็สามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ได้ คือ ซ่อม สร้างได้โดยไม่ใช้ยา เพราะก็คงไม่มียาที่กินเข้าไปแล้วเด็กฉลาด มันใจในตัวเอง Self Esteem ดี ไม่มีพวกนี้ต้องสร้างเอง นักจิตวิทยาคลินิกเขาจะมีวิธีการบำบัดรักษาการใส้ทรีทเม้นท์เขาไปให้สิ่งนี้เกิด เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากใช้ยาก็มาที่นักจิตวิทยาคลินิกเด็ก

แต่ถ้าอยากใช้ยาก็ไปตรวจกับจิตแพทย์ ทำงานไม่เหมือนกันแต่คล้ายกัน แต่ถ้าสมมติว่าลำบากก็สามารถหาช่องทางที่ใกล้บ้าน หาคนที่คลิกกับเราไม่บังคับว่าต้องมาหาเราเอาคนที่เราคุยแล้วรู้สึกว่ามันเป็นไปได้สำหรับเรา คุยแล้วมีแนวโน้มว่าเราจะทำมันได้ตามที่เขาแนะนำเรา

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.48 (Rerun): เลี้ยงลูกสไตล์หมอเดว "มหัศจรรย์แห่งการฟัง"

 

รักลูก The Expert Talk EP.48 (Rerun): เลี้ยงลูกสไตล์หมอเดว "มหัศจรรย์แห่งการฟัง"

 เปลี่ยนจาก “พูด” “บ่น” “สอน” มาเป็นการ “ฟัง” ลูก จะช่วยลดความพังในบ้าน ผ่อนคลายความเครียดและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้

บางบ้านหาคนฟังไม่เจอ ต่างฝ่ายต่างพูด ปากเปียกปากแฉะลูกก็ยังเป็นเหมือนเดิม ลองใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง แค่เริ่มต้น “ฟัง” แล้วทุกอย่างจะเปลี่ยน โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

ชวนคุณพ่อคุณแม่ มาสร้างมหัศจรรย์แห่งการฟัง เพราะทุกวันนี้ที่เกิดปัญหา จริงๆ แล้วเกิดจากการที่เราไม่ฟังในปัญหาต่างๆ การสื่อสารสร้างสายสัมพันธ์ในบ้าน

การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารซึ่งกันและกัน

การสื่อสารมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

1.ภาษาที่เราพูดออกไป  2.การฟัง และอีกอันคือ 3.อวัจนภาษา คือ ไม่พูดออกมาแต่ดูจากท่าทางก็รู้ว่าเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร สื่อสารออกมาด้วยท่าทาง ฉะนั้นการฟังถือเป็นเรื่องของการสื่อสาร การสื่อสารพลังบวกถือว่ามีความหมายมาก

การสื่อสารที่ดีต่อกันก็จะช่วยให้มิตรภาพหรือสัมพันธภาพยิ่งดี แต่ถ้าการสื่อสารไม่ดีก็จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมาได้ด้วย แม้กระทั่งการฟังเองก็มี 3 แบบ

ระดับแรก คือฟังอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้คือพูดอย่างเดียว ยิ่งคนเป็นแม่ บ่นมากกว่าฟัง บางบ้านหาคนฟังไม่เจอ มีแต่ต่างฝ่ายต่างพูดกันเต็มไปหมด ปากเปียกปากแฉะ เป็นประโยคที่พ่อแม่ใช้ประจำเลยว่า พูดปากเปียกปากแฉะก็ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม

ระดับที่สอง คือฟังแล้วสะท้อนความรู้สึกที่ทำให้คนเล่าอยากเล่าต่อ

ระดับที่สาม คือฟังแล้วเหลาความคิดฟังสองระดับแรกไม่ต้องฝึก ถ้าตั้งใจจริงๆ ทำได้ ไม่ต้องไปเข้าค่ายฝึกการฟัง เพราะฟังอยากเดียวถ้าเราตั้งใจฟังก็ทำได้ แต่หลายบ้านหาคนฟังไม่เจอ คนฟังกลายเป็นเด็กไป หมอจะเปรียบเทียบให้คนที่ฟังเราอยู่ตอนนี้

เคยไหมเวลาเช้าตื่นมา เราจะเปิดทีวีเป็นเพื่อนขณะที่เราทำกิจวัตรของเราไป แล้วเราก็ไม่ได้ฟังว่าทีวีพูดอะไร แล้วเราก็ทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ ต่อเมื่อมีข่าวที่กระชากอารมณ์ขึ้นมา เราก็จะหันไปมองทีวีสักทีนึงว่าข่าวอะไร เป็นมั้ย เวลาพ่อแม่พูดมาก พูดเยอะแยะไปหมด แม้แต่ลูกเค้าก็จะทำคล้ายๆ เหมือนที่เราฟังทีวี คือเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา พ่อแม่พูดไปเถอะเข้าซ้ายออกขวา จนแม่ถามว่าแกไม่ฟังฉันบ้างเลยหรอ ลูกก็ถามแม่พูดอะไรหรอขออีกที สังเกตเลยว่าหัวใจแห่งการรับฟังมีความหมายมาก

หมอเคยมีเคสนึง นักจิตวิทยาป่วยเป็นภาวะซึมเศร้า เราให้ยาภาวะซึมเศร้า แต่พอผ่านไปประมาณเดือนเศษ เราติดตามผลพบว่าเขามีอาการดีขึ้น หมอก็ถามว่าคุณใช้วิธีการอะไร นักจิตวิทยาเล่าว่า เขามีหน้าที่ไปเยี่ยมบ้าน เพื่อไปให้กำลังใจ แล้วมีอยู่บ้านหนึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย นอนเตียง หายใจรวยริน ไม่มีเรี่ยวแรง นักจิตวิทยาก็ทำทุกทางลูบแขน กายสัมผัส แล้วก็พยายามคุย เนื่องจากผู้ป่วยเองก็ไม่มีแรงจะโต้ตอบอะไรทั้งสิ้น

นักจิตวิทยาก็เล่าทุกอย่างจนไม่รู้จะเล่าอะไรแล้ว ก็เลยเริ่มเล่าเรื่องส่วนตัวให้กับผู้ป่วยมะเร็งฟัง แล้วสบายใจในการเล่า เพราะอะไรรู้มั้ย เพราะผู้ป่วยไม่มีแรงโต้ตอบ ฟังอย่างเดียวจริงๆ นักจิตวิทยาสบายใจอีกขั้น คือเค้ามั่นใจว่าผู้ป่วยจะไม่ไปซุบซิบนินทา และจะไม่เอาความลับเค้าไปเปิดเผย ก็เลยเล่า นักจิตวิทยาของผมดีวันดีคืนครับ จนในที่สุดหายป่วยแต่คนไข้ตาย รู้มั้ยใครเป็นคนรักษา ไม่ใช่ยานะครับ มหัศจรรย์แห่งการฟัง เห็นไหมว่าการฟังอย่างเดียวเยี่ยวยานักจิตวิทยาให้หายป่วยจากภาวะซึมเศร้าได้

ฟังให้เป็น

วันนี้กลับไปถามคุณพ่อคุณแม่ที่ฟังเราอยู่ตกลงวันๆ เราฟังเสียงหัวใจลูกไหม และเสียงของเด็กมีความหมายมาก ฟังลูก แค่เปิดใจรับฟังอย่างไม่ต้องติเตียน ฟังอย่างเดียว ฟังอย่างมีสติ ไม่ใช่แม่ทำกับข้าวไป ลูกมาสะกิด หนูทำผลงาน.......เออรู้แล้วแม่ทำกับข้าวอยู่ อย่างนี้ไม่เรียกว่าฟังในระดับแรกอย่างที่คุณหมอบอก เพราะการฟังในระดับแรกคือการฟังอย่างมีสติ ถ้าไม่พร้อมก็บอกลูกเลยว่าแม่กำลังทำกับข้าวอยู่ เดี๋ยวแม่เสร็จแล้วจะไปนั่งฟังลูกเลย ถ้าส่งสัญญาณแบบนี้ปุ๊ป แสดงว่าเรากำลังใช้ประเด็นแรก คือการฟังอย่างมีสติ แล้วฟังในระดับนี้ไม่ต้องพูดเลย ฟังอย่างเดียว

ผมยังมีคนไข้อีกหนึ่งนะ เด็กคนนี้อยู่ชั้น ม.1 แล้วสอบเข้าติดโรงเรียน ด้วยความที่เป็นเด็กผู้ชายอยากเล่นฟุตบอลมาก แล้วเขาก็ไปเตะฟุตบอล แต่เนื่องจากเพื่อนของเขาหายไปไหนไม่รู้ สรุปคือเพื่อนๆ ไปสูบบุหรี่ในห้องน้ำ แต่เด็กคนนี้ไม่ได้สูบนะ แค่อยากรู้ว่าไปไหนกัน

แต่คงเป็นคราวเคราะห์ที่ครูฝ่ายปกครองมาเจอแล้วก็รวบทั้งหมดเรียกผู้ปกครองพบรวมทั้งผู้ปกครองของเด็กคนนี้ด้วย เด็กคนนี้ก็พยายามสะท้อนว่าไม่ได้ยุ่งอะไรกับพวกนี้เลย แต่ผู้ปกครองถูกทำทัณฑ์บน แล้วครูก็ย้ำกับผู้ปกครองว่าทุกครั้งที่เจอลูก ใ้ห้ถามว่ายังคบกับเพื่อนกลุ่มเดิมอยู่ไหม ยังสูบบุหรี่อยู่หรือเปล่าทำนองนี้

ซึ่งคุณพ่อท่านนี้ทำหน้าที่ได้อย่างซื่อสัตย์มาก ก็ถามแบบนี้ทุกครั้งที่เจอหน้า ปรากฏว่าทำไปทำมาเด็กเริ่มจิตตกแล้วก็เป็นเหตุให้มาพบหมอ วันที่มาพบหมอ หมอก็ถามคุณพ่อ ว่าคุณพ่อมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ ในครอบครัวเป็นยังไงบ้างสัมพันธภาพระหว่างภรรยาเป็นยังไงบ้างพ่อก็ตอบว่า ดีไม่มีปัญหาเลย ทุกอย่างดีหมด มีเรื่องเดียวผมกลัวลูกจะติดยา แล้วหมอก็ถามว่าพ่อใช้เทคนิคอะไรถึงไม่มีปัญหาอะไรกับภรรยาเลย เขาตอบว่าผมก็ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังอย่างเดียว หมอเลยถามว่าฟังยังไง

เขาก็เล่าเวลาภรรยาผมกลับจากที่ทำงานมีเรื่องราวเยอะแยะมากมายเขาก็จะมานั่งข้างๆ ผมก็โอบไหล่ นั่งฟังอย่างเดียว มีบ้างที่บางครั้งผมโอบไหล่และตบไปเบาๆ แล้วบอกเอาน่า เดี๋ยวเวลาผ่านไปมันจะดีเอง แล้วหมอก็ถามต่อว่าผลลัพธ์เป็นยังไง ภรรยาก็เล่าเรื่องต่างๆ เสร็จเรียบร้อย ก็เดินผิวปากสบายใจ แล้วแกก็ไปทำงานต่อ

เห็นอะไรไหมครับ หมอเลยถามคุณพ่อว่า คุณพ่อครับแล้วแบบนี้เคยทำกับลูกบ้างมั้ย คุณพ่อนิ่งเงียบเลย ไม่เคยเลย ในการที่จะนั่งลงแล้วถามว่าลูกมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ หรือมีเรื่องอะไรดีๆ มาเล่าสู่กันฟังบ้าง และทำหน้าที่ในการฟังอย่างเดียว แถมถ้าโอบไหล่เบาๆ แล้วอาจจะบอกลูก เอาน่า เดี๋ยวเวลาผ่านไป มันจะดีขึ้นเอง

การฟัง 3ระดับ

เพราะฉะนั้น ฟังในระดับที่หนึ่งคือฟังอย่างมีสติ ฟังอย่างเดียวเลย ไม่ต้องสะท้อนความรู้สึก ฟังอย่างเดียวจริงๆ ถ้าท่านทำอะไรไม่ได้ ฟังอย่างเดียวเยียวยาไปแล้วครึ่งหนึ่งแล้ว ถ้าอยากจะเติมเพิ่มสะท้อนความรู้สึกที่ดี ที่คนเล่าอยากเล่าต่อ

หมอยกตัวอย่าง เช่น ตั้ม สมัยแม่เป็นวัยรุ่นคิดเหมือนตั้มเลย ไหนลองเล่าต่อสิเกิดอะไรขึ้น อันนี้ตั้มอยากเล่ามั้ย? เอาใหม่เปลี่ยนใหม่แทนที่จะสะท้อนความรู้สึกที่ดี สมองมีแค่นี้หรอ คิดได้แค่นี้หรอ หมอไม่คิดว่าคนๆ นั้นจะเล่าต่อ

ฟังในระดับที่สองสะท้อนความรู้สึกจริงๆ พ่อแม่ทุกคนก็ทำได้ แต่โจทย์อยากคือมันสะกดอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ คือเราก็จะรู้สึกว่าทำไมลูกไม่ดีดั่งใจอาจจะมีความรู้สึกแบบนั้น เลยทำให้มันปนเปกับความรู้สึกแล้วก็สะท้อนออกความรู้สึก แทนที่จะสะท้อนแบบดีออกมา ดีที่ลูกเล่า ก็กลายเป็นออกมากระบุงโกรธ

แต่ฟังในระดับสามอันนี้ต้องฝึกจริงๆ คือการใช้คำถามปลายเปิด ลูกรู้สึกยังไง ลูกคิดเห็นยังไง ถ้าเป็นลูกจะแก้ปัญหายังไง พวกนี้ต้องฝึก ซึ่งอันนี้เป็นมหัศจรรย์แห่งการฟัง สิ่งที่หมออยากฝากพ่อเลยคือว่า เราจะได้หัวใจของลูกกลับคืนมาทันทีที่เราใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง ฟังอย่างเดียว

วันนี้คุณพ่อคุณแม่ลองเปลี่ยนบุคลิกเลย เปลี่ยนจากวิธีการที่พูดปากเปียกปากแฉะ พูดแบบที่ท่านบอกปากจะฉีกถึงรูหู เปลี่ยนใหม่เป็นวันนี้ฟัง ลองดูถ้าเปลี่ยนทันทีคนแรกที่รู้สึกทันทีเลยคือลูก วันนี้แม่เปลี่ยนไป แม่ไม่เหมือนเดิม แล้วยิ่งถ้าเขาเล่าอะไรออกมา อย่าเพิ่งไปวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าอยากจะพูอะไรออกไปก็ใช้เทคนิคเหมือนคุณพ่อคนนี้ที่เค้าโอบไหล่เบาๆ เอาน่าเดี๋ยวเวลาผ่านไปจะดีขึ้นเอง

แต่หากต้องการเหลาความคิด คำถามปลายเปิดแบบที่หมอฝากไว้ ก็คือความรู้สึก เช่น ลูกรู้สึกอย่างไร เหตุการณ์ที่เล่ามาทั้งหมดตอนนี้ แม่รู้ว่าลูกเสียใจ แม่รู้ว่าลูกโกรธ อันนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้เค้าจับอารมณ์เค้าได้ว่าเรื่องราวที่เล่ามาแบบนี้ แม่จับความได้แล้วละว่าลูกคงรู้สึกโกรธมากใช่มั้ย พอจะบอกได้มั้ยว่าอารมณ์โกรธเกิดจากอะไร แล้วถ้าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้จะจัดการอย่างไร อันนี้คือวิธีการในการเหลาความคิด

ซึ่งถ้าเราเชฟแบบนี้ไปเรื่อยๆ ต่อไปเค้าจะเป็นเจ้าของความคิด เจ้าของวิธีการจัดการโดยที่พ่อแม่เองจะทำหน้าที่รังสรรค์ค่อยๆ เหลาเค้าไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเค้าสามารถไปในทิศทางที่บวกได้

ประสบการณ์สไตล์หมอเดว

เทคนิคในลักษณะแบบนี้หมอเคยใช้บ่อย โดยเฉพาะตัวหมอเองตอนที่ประพฤติปฏิบัติตลอดก็คือ ครั้งหนึ่งที่ลูกสาวเคยเล่าให้ฟัง ตอนเขาเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายคุณครูถามวิธีการจัดการความเครียดของนักเรียนแต่ละคน แต่ละคนก็จะตอบ ไปร้องเพลง ไปดูหนัง ฟังเพลง ไปเที่ยว แต่ลูกสาวตอบว่า หนูเดินเล่นกับพ่อหายเครียด ทำไมกลายเป็นอย่างนั้นละ ก็เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อนั่งอยู่ริมสระเป็นเวลาที่เรียกว่าเรามอบให้แล้วว่าจะเป็นผู้ฟัง แล้วก็ไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์เราก็นั่งฟัง

วิธีการก็คือเหลาความคิด ลูกเราจะแก้ปัญหายังไงดี แล้วถ้าเป็นแบบนี้เราจะทำยังไง การโยนคำถามให้ เวลาเราโยนคำถามให้แล้วเห็นความคิดของเค้าออกมา

หมอจะยกตัวอย่างหนึ่ง คือตอนซีรส์ เรื่องฮอร์โมนวัยว้าวุ่นกลายเป็นประเด็น หมอไม่ดูเรื่องเหล่านี้นะ ก็ถามลูกสาวได้ดูไหม เขาก็บอกว่าดูทุกตอน หมอเลยให้เขาช่วยวิเคราะห์ให้พ่อหน่อยว่าดูแต่ละตอนแล้วรู้สึกอย่างไร เค้าก็สะท้อนเลยว่า เจ้าวินเป็นยังไง สไปรท์เป็นยังไง แล้วคนดูจะได้อะไร

เวลาเราฟังลูกของเราเองวิเคราะห์หนังในลักษณะนี้มันทำให้เรารู้ทันนี้ว่าลูกดูหนังอย่างคิดเป็น และเขาสามารถวิเคราะห์ได้ และบทวิเคราะห์ของเค้าก็เป็นส่วนหนึ่งตอนที่หมอเข้าไปดูจริงๆ ปรากฏก็เป็นแบบนั้นจริงๆ แล้วตอนที่มีคนมาขอข้อวิพากษ์วิจารณ์ของหมอในเรื่องนี้ ส่วนที่หมอวิพากษ์วิจารณ์ไป ต้องบอกเลยว่าเคารพความคิดเห็นของลูก ที่หมอเอามาใช้

เราสบายใจอย่างหนึ่งว่าเวลาเขาบริโภคสื่อในลักษณะนี้จะด้วยความบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่ หรือจะเป็นช่วงวัยของความเป็นวัยรุ่นแล้วมีบางเรื่องที่เขาอยากรู้ หรือพอดูแล้วมันมีเนื้อหาบางเรื่องมันดูแล้วอาจจะไม่เหมาะ แต่ถ้าถูกฝึกให้เหลาความคิดไปด้วย นสื่อที่ไม่เหมาะมันจะกลายเป็นสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเขาเองได้ เป็นจุดหนึ่งที่สบายใจได้มากขึ้น

หมอจึงอยากฝากพ่อแม่ว่าหัวใจสำคัญที่สุดเราต้องรู้จักในการที่จะเป็นผู้ฟัง ช่วยลองเปลี่ยนแปลงตัวเองสักหน่อย เปลี่ยนจากที่เราพูดมาทุกวัน อย่าให้ลูกปฏิบัติกับเราเหมือนเป็นทีวีเครื่องหนึ่งที่กำลังพูดอะไรออกมาเยอะแยะ พอถึงเวลากลายเป็นว่าลูกเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา พอถึงเวลาเราถาม แกไม่ได้ยินฉันหรอ แม่พูดอะไรนะขออีกที อย่าให้เป็นลักษณะนั้นเลย

จงใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง มาเป็นตัวเปลี่ยนแล้วมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อะไรก็ตามที่เราคิดว่าทำยาก เริ่มต้น แล้วเราเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฟังก่อน ฟังอย่างเดียว หมอเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าจะเอาให้เก่งขึ้นไปอีก ฟังแล้วสะท้อนความรู้สึกที่ดี ถ้าให้สุดยอดเลยคือฟังแล้วเหลาความคิดไปด้วย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.57 : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.57 : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

คลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง จะเป็นได้อย่างไร

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้

เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้

เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

ติดจอใสทำลายพัฒนาการมากกว่าที่พ่อแม่คิด ตั้งแต่ออทิสติกและอาการสมาธิสั้นที่น่ากังวล ซ้ำยังส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งหากพ่อแม่ไม่รู้เท่าทัน อาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในอนาคต

 โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

"จอใส" กระทบพัฒนาการ

เริ่มจากการวิจัยที่ผมเองก็มีการติดตามเด็กในระยะยาวตั้งแต่เด็กอายุ 6เดือน ติดตามไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เด็กที่อยู่ในโครงการอายุ10ขวบแล้ว ผลพบว่าเด็กอายุตั้งแต่6เดือน-18เดือน แนวโน้มถ้าเขาอยู่บริเวณสื่อหน้าจอซึ่งในยุคนั้นเป็นแค่ทีวี พบว่าเด็กจํานวนหนึ่งมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก มากขึ้น แล้วเรื่องของเด็กออทิสติกก็มีข้อมูลงานวิจัยของต่างประเทศพบมากขึ้นว่า ยิ่งให้มากให้เร็วตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะทําให้เด็กเนี่ยมีความเสี่ยงไปทางเด็กออทิสติก คืออยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ ในงานวิจัยนั้นยังพบอีกว่า เด็กที่ดูหรือว่าได้รับสื่อประเภทพวกทีวีค่อนข้างมาก มีโอกาสที่เขาจะมีปัญหาพฤจิกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น หมายความว่าเวลาหงุดหงิดไม่พอใจก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์

ซึ่งก็สอดคล้องเลยว่าหลังจากช่วงที่โควิดเคสคต่างๆ เริ่มกลับม คุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่าว่าจากที่เคยดีมาโดยตลอด แล้วพอเราเริ่มให้ใช้จอก็จะรู้สึกเหมือนว่าหงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ขอจอคืน ถึงเวลาต้องไปทํากิจวัตรประจําวันก็ม่ได้ทํา แล้วในงานศึกษายังเจออีกว่าสัมพันธ์กับเรื่องของพฤติกรรม และสมาธิสั้นมากขึ้นด้วย

ต้องเรียนว่าการใช้สื่อจอใสแบบไม่ค่อยเหมาะสม ปัจจุบันมันไม่ใช่แค่ทีวีก็มีสื่ออื่นๆมากมาย มือถือหรือว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการศึกษาทั้งในเด็กเริ่มโตขึ้นมาวัยก่อนเรียน วัยอนุบาลหรือว่าในช่วงวัยเรียน รวมถึงวัยรุ่นพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านอารมณ์เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเด็กบางคนปถึงขั้นมีความคิดหรือความพยายามอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาโรคทางด้านจิตเวชต่างๆ เพิ่มขึ้น พบเด็กมีปัญหาเรื่องของการรับประทานอาหารผิดปกติเพิ่มสูงขึ้น เช่น ถ้าเรียกทางการแพทย์เรียกEating Disorder เช่น ทําไมบางคนเรียกเป็นโรคคลั่งผอมเพราะว่าเราก็คือเข้าไปเสพสื่อประเภทนี้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าสื่อมันไม่ดีอย่างเดียว จริงๆ เราสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้

เด็กที่เล่นสื่อเยอะๆ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งคืออยู่กับความเบื่อไม่เป็น ความเบื่อเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของเราเหมือนกันหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เหมือนกันบางทีเราก็ไม่รู้จะทําอะไร ทุกวันนี้ทุกคนก็เล่นมือถือตลอดเวลา เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราดึงเอาใจไปอยู่ทางอื่นเพราะว่าเราอยู่กับความเบื่อไม่ได้ ซึ่งพออยู่กับความเบื่อไม่ได้เนี่ย ลูกๆก็ไม่รู้จะทํายังไง ซึ่งถ้าจะเป็นสมัยก่อนที่เราไม่มีสื่อเหล่านี้ พอเบื่อเราก็ต้องชวนกันมาเล่น มาคุยกัน ร้องเพลง อ่านหนังสือ แต่เด็กไม่รู้จะทําอะไรดี ก็เลยเข้าไปอยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น แล้วพอลไม่ได้ดูก็โวยวาย หัวร้อนง่าย

ใช้สื่อกับลูกอย่างไร

  1. Background Media คีย์เวิร์ดสําคัญเลยเด็กถ้าอายุเกินสองปีเล่นได้ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าสองปีมีข้อมูลพบว่ากระทบกับพัฒนาการ มีงานวิจัยจากสิงคโปร์รายงานว่าแค่เสียงทีวีที่เปิดทิ้งไว้ สามารถเปลี่ยนคลื่นสมองเด็กได้สัมพันธ์กับการเป็นสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น เพราะว่าสื่อต่างๆ เวลาเปิดมันจะเข้าไปเร้าระบบประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เพราะสื่อมันมีทั้งภาพและเสียง เมื่อเข้าไปกระตุ้นมากทำให้สมาธิสั้นเพิ่มขึ้นแม้จะไม่ได้ดู และส่วนใหญ่เป็นรายการสําหรับผู้ใหญ่ ซึ่งที่เราศึกษาวิจัยก็พบว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านที่เปิดBackground Mediaน้อย สติปัญญาของเด็กที่เปิดน้อยกว่ามีแนวโน้มสติปัญญาดีกว่าและพัฒนาการดีเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

  2. เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมตามวัยและต้องลองเข้าไปดูเนื้อหาก่อน ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างประเทศที่สามารถเข้าไปเช็กได้ที่ www.commonsense.org/education (Common Sense Media) นอกจากนี้ต้องกําหนดกฎกติกา ถ้าจะให้ลูกใช้หน้าจอก็ต้องหลังจากที่เขารับผิดชอบงานที่ควรจะทำก่อน เช่น กิจวัตรประจําวันเสร็จแล้ว การบ้านเสร็จ รับผิดชอบงานบ้านแล้ว นอกจากเรื่องกฎกติกาแล้ว เด็กต้องเรียนรู้ผลที่ตามมาว่าถ้าไม่ทําตามกฎกติกาจะเกิดอะไรขึ้นบ้างด้วย

  3. ทำข้อตกลงก่อนให้ลูกใช้งาน บ้านที่กำลังจะซื้อจอให้ลูก ต้องมีการทําสัญญากับลูกตั้งแต่เริ่มแรกเลย เช่น มือถือเครื่องนี้เป็นมือถือของแม่ซื้อมาให้ลูก ลูกจะสามารถเล่นได้ตอนไหนบ้าง ถ้าลูกไม่สามารถทําตามกฎอันนี้ได้มือถือเครื่องนี้แม่สามารถริบคืนได้ พ่อแม่มีสิทธิ์เด็ดขาดและให้ลูกเซ็นชื่อกํากับด้วย ซึ่งเด็กบางคนก็ยอมเซ็นไปก่อน แต่ต้องอย่าลืมที่จะบอกถึงผลที่ตามมาและต้องทำตามข้อตกลงร่วมกัน หรือบอกถึงผลกระทบถ้าใช้งานนานเกินไป เช่น หาวบ่อย ปวดต้นคอ ปวดมือ

  4. ดูไปพร้อมกับลูก อยากให้คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเข้าไปดูสื่อกับลูกด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะมี pop up ขึ้นมาระหว่างที่ลูกดูคลิปต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เข้าสู่คอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย อีกเรื่องหนึ่งกฎกติกาที่ว่า หมอคิดว่าเราอาจจะต้องมองกันที่สถานที่ภายในบ้านด้วยว่าตรงที่ไหนที่เราไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ รวมไปถึงเวลาช่วงไหนที่เราไม่ควรจะใช้ เช่น ห้ามใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างด้วย และในห้องนอนก็ไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ

นอกจากนี้หน้าจอจะมีแสงสีน้ำเงินออกมาที่เรียกว่า Bluelight ซึ่งแสงเหล่านี้จะไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนการนอนหลับที่ชื่อว่า "ฮอร์โมนเมลาโทนิน" ทําให้เด็กจะนอนหลับยากขึ้น รวมถึงต้องงดเล่นเกม ดูคอนเทนต์ที่เร้าอารมณ์ความสนุก เพราะถ้าเด็กนอนหลับไม่ดีก็ส่งผลต่อเรื่องของการคุมอารมณ์ระหว่างวันด้วย สิ่งที่พ่อแม่ควรทําก็คือ อย่าให้มาก อย่าให้เร็ว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี”

รักลูก The Expert Talk Ep.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี"

ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่

เลี้ยงปกป้องเกินไป เด็กขาดความมั่นใจ (Over Protection)

เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ

หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี

หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

เลี้ยงอ้วน เด็กเอาแต่ใจ (Overfeeding)

คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ

มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม

Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ

เลี้ยงอวดรวย (Multiple homes)

หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี

การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน

สร้างวิถีใหม่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงลูก

1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด

2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย

3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.96 (Rerun) : "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.96 (Rerun) : เข้าใจ "วัยทอง" ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง "กล้าพอไหม เปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"
 

เปิดศึกกลางบ้าน ไม่มีทีท่าว่าจะสงบและยังเกิดขึ้นถี่ๆ บ้านไหนเป็นแบบนี้ ชวนฟังวิธีแก้ 3 ปัญหาน่าหนักใจ เพื่อไม่ให้กระทบพัฒนาการระยะยาว ได้แก่ ติดจอ, ก้าวร้าวเอาใจ, นิ่ง เนือย เฉื่อยชา ฟังดูเป็นเรื่องยากแต่แก้ไขได้

 

ฟังแนวทางจากครูก้า กรองทอง บุญประคอง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

จะทำให้พ่อแม่มองเห็นปัญหา เข้าใจพัฒนาเจ้าตัวเล็ก และเห็นแนวทางแก้ที่ไม่ยากเกินไป

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

ลูกดื้อเงียบทำไงดี

ลูกดื้อ-ลูกดื้อเงียบ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี-เด็กดื้อ-เด็กต่อต้าน-ดื้อตาใส 

อาการดื้อเงียบเป็นพัฒนาการทางอารมณ์อย่างหนึ่งของเด็กในวัย 2-2 ขวบครึ่ง 

เด็กดื้อมีอยู่ 3 แบบ

  • ดื้อเงียบ โดยทั่วไปเด็กก็จะรับคำสั่ง เช่น ค่ะ ครับ แต่เด็กดื้อเงียบส่วนใหญ่จะไม่ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ และมักแสดงอาการ นิ่ง เงียบ ไม่ตอบคำถาม เฉื่อยชาหรือไม่ร่วมมือ
  • ดื้อต่อต้าน การแสดงออกชัดเจน คือจะทำตรงกันข้ามกับที่ผู้ใหญ่สั่ง ไม่เชื่อฟัง โต้เถียงประชดประชัน ฯลฯ
  • ดื้อตาใส ทำตัวไม่รู้ไม่ชี้ ไม่แสดงอาการแข็งขืนหรือต่อต้าน นิ่ง ๆ และเด็กบางคนก็จะกล้าสบตากับผู้ใหญ่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่รู้หรือไม่เข้าใจคำสั่งเท่านั้นเอง

ซึ่งก็มีสาเหตุต่างๆ ดังนี้

1. พ่อแม่เข้มงวดเกินไป ตีกรอบให้ลูกมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ลูกรู้สึกอึดอัด ข้องใจ ได้ยินอะไรก็มักจะทำเป็นหูทวนลม ไม่สนใจอะไร จนดูเหมือนลูกดื้อเงียบได้

2. ทัศนคติพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญ หากคุณพ่อคุณแม่มองการดื้อของลูกเป็นปัญหา ลูกก็จะเป็นฝ่ายผิดอยู่ตลอดเวลา การแก้ปัญหาก็จะไม่ได้ผลเพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมรับ ทั้ง ๆ ที่การดื้อของลูกนั้นเป็นพัฒนาการปกติตามวัยของเขาที่จะก้าวต่อไปสู่การเป็นตัวของตัวเองเท่านั้นเอง

3. สัมพันธภาพในครอบครัวแย่ ถ้าบรรยากาศในบ้านมีแต่ความตึงเครียด ผู้ใหญ่ทะเลาะกัน การสอนลูกก็จะมีหลายมาตรฐาน เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกสับสนและไม่มั่นคงได้ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความรักและความเข้าใจลูก ลูกก็จะรับรู้ว่าตนเองเป็นที่รักและมีคุณค่า ก็จะตอบสนองคุณพ่อคุณแม่ด้วยความรัก ความเคารพ และชื่อฟังผู้ใหญ่เสมอ

4. ความหมายที่ไม่ชัดเจน การที่คุณพ่อคุณแม่พูดมากเกินไป หรือน้อยเกินไป อาจทำให้ลูกไม่เข้าใจได้ค่ะ เนื่องจากตามพัฒนาการของลูกแล้ว เด็กวัยนี้ยังมีเหตุผลค่อนข้างน้อย ลูกก็จะไม่เข้าใจและทำตามไม่ถูก

5. พ่อแม่ไม่คงเส้นคงวา เช่น คำสั่งหรือการห้ามลูกทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรจะให้เหมือนกันทุกครั้ง หากวันนี้ห้าม แต่อีกวันลูกสามารถทำได้ ลูกก็อาจจะสับสน ทำตัวไม่ถูก เพราะไม่เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องการอะไร

6. พ่อแม่มีพฤติกรรมรุนแรงต่อลูก เช่น การทำโทษที่รุนแรง การด่าว่าเวลาโกรธลูก เป็นการตอกย้ำให้ลูกรู้สึกอยากแก้แค้น ซึ่งวิธีการของเขาก็จะแสดงออกโดยการไม่พูดหรือไม่ทำตามคำสั่งนั่นเอง

7. พ่อแม่ทอดทิ้งลูก หรือไม่มีเวลาดูแล ซึ่งลูกก็จะรู้สึกว่าไม่มีใครรัก หมดกำลังใจที่จะทำตามสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการ สุดท้ายก็จะกลายเป็นเด็กดื้อ และแสดงการต่อต้านออกมา

8. ปกป้องลูกมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่บางคนกลัวลูกจะทำผิด จึงทำให้ลูกหมดทุกอย่าง ซึ่งจะส่งผลให้เขาติดนิสัยและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ กลายเป็นเด็กเฉื่อยชา ไม่กล้าที่จะทำอะไร ในที่สุดก็จะไม่กล้าคิด ไม่กล้าตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง

9. ตามใจลูกมากเกินไป เมื่อลูกไม่ได้อะไรตามที่ต้องการ ก็จะแสดงอาการไม่พอใจออกมา และยิ่งคุณพ่อคุณแม่ต่อว่า เจ้าตัวเล็กก็จะยิ่งแสดงอาการดื้อออกมาให้เห็น ส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กปรับตัวยากค่ะ


1674
ดื้อเงียบขัดพัฒนาการ
  • การเรียนรู้ชะงักลง เพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถเข้าถึงและไม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกได้ เช่น ด้านสติปัญญา ลูกก็จะไม่มีความคิดริเริ่ม ทำอะไรไม่ได้ กลายเป็นเด็กเฉื่อย ส่งผลให้สติปัญญาด้อยลง
  • ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมยาก เช่น เมื่อถึงวัยที่จะต้องไปโรงเรียนแล้ว ก็อาจไม่สามารถปรับตัวภายในโรงเรียนได้ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกขาดวินัย ขาดความอดทน และเอาแต่ใจ
  • พัฒนาการด้านภาษาช้า วัย 2-3 ขวบเป็นวัยที่กำลังหัดพูด ช่างถาม แต่หากลูกดื้อเงียบก็จะขาดพัฒนาการในเรื่องการถาม ขาดการสรุปใจความ การใช้ภาษาก็จะด้อยลง
  • การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม เมื่อลูกดื้อก็จะมีกำแพงกั้นกลางระหว่างตัวเองกับพ่อแม่ ซึ่งลูกก็อาจจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่เป็น บางครั้งอาจกลายเป็นเด็กที่ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าตัดสินใจ
  • ไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเอง เด็กดื้อเงียบมักจะเต็มไปด้วยความเศร้า ความกลัว ความกังวล และไม่มั่นใจในตนเอง หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถเข้าไปช่วยชี้แนะหรือจัดการอารมณ์ของลูกได้ ทักษะการเรียนรู้อารมณ์ของลูกก็จะแย่ลงไปด้วย
  • การเข้าสังคมมีปัญหา เพราะเมื่อไม่สามารถไห้ความร่วมมือกับใครได้ ไม่ทำตามที่ผู้ใหญ่บอกก็จะทำให้ไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครอยากคุยด้วย พัฒนาการทางสังคมก็จะแย่ลง
ป้องกันลูกดื้อเงียบ 
  1. เข้าใจความดื้อของลูก เพราะอาการดื้อของลูกเป็นเรื่องของธรรมชาติ ถ้าเห็นว่าลูกดื้อ คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจและหาสาเหตุว่ามาจากอะไร เช่น มาจากลูก จากคุณพ่อคุณแม่ การเลี้ยงดู หรือสัมพันธภาพ ลองปรับให้ตรงจุดดู เพราะการที่ลูกดื้อ เป็นการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง
  2. สังเกตอารมณ์ลูกน้อย ถ้าคุณพ่อคุณแม่เจ้าอารมณ์ ลูกก็จะเจ้าอารมณ์ตาม กลายเป็นเป็นเด็กเลี้ยงยาก แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ใจเย็น อารมณ์ดี ลูกก็จะเป็นเด็กดีว่านอนสอนง่ายไปด้วย

 

เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจอารมณ์ของลูกให้ได้ ถ้าลูกเป็นเด็กเลี้ยงยาก พ่อคุณแม่ก็ต้องใจเย็นๆ อาจจะต้องกำหนดขอบเขตเล็กน้อย เมื่อเขาต้องการแสดงออก เพื่อให้เขาได้เป็นตัวของตัวเองและรู้จักกาลเทศะด้วย

เลี่ยงได้เลี่ยง! 7 อาการของลูก ที่ถูกพ่อแม่สปอยล์มากเกินไป จนเสียคน

1100 1

เลี่ยงได้เลี่ยง! 7 อาการของลูก ที่ถูกพ่อแม่สปอยล์มากเกินไป จนเสียคน

คุณพ่อคุณแม่กำลังสปอยล์ หรือเอาใจลูกจนเกินไปหรือเปล่า แต่หลายคนอาจจะคิดว่า ไม่ใช่หรอกมั้ง ไม่จริงนะ ไม่ได้ตามใจ คำตอบแบบนี้คงอยู่ในใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนใช่ไหมคะ งั้นเรามาดูกันว่าลูกน้อยของคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่

7 อาการของลูก ที่ถูกสปอยล์มากเกินไป

1. อารมณ์ร้อนเกรี้ยวกราดบ่อยครั้ง

หากหนูน้อยเริ่มมีอาการหงุดหงิดบ่อยๆ กรีดร้อง เกรี้ยวกราด ชักสีหน้าแสดงอาการให้รู้ว่าไม่พอใจ นับเป็นหนึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า ลูกเริ่มถูกสปอยล์มากไปแล้วนะ

2. เถียงคำไม่ตกฟาก

คำนี้เราๆ คงได้ยินมาแต่โบราณรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย หากมีเด็กพูดเถียง ไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำผิด หรือผู้ใหญ่พูดเตือนอะไรแล้วเถียงกลับทันที แบบนี้ที่เขาเรียกว่าเถียงคำไม่ตกฟาก เป็นการแสดงอาการของเด็กที่ไม่น่ารัก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้ทำผิดแล้วพยายามอธิบาย นับว่าเป็นคนละสาเหตุกันนะคะ

3. จอมบงการเสียจริง

หากพ่อแม่ที่มัวแต่ตามใจลูกจนทำให้ทุกอย่าง หรือจ้างพี่เลี้ยงส่วนตัวดูแลทุกฝีก้าว จนลูกไม่สามารถทำอะไรได้เองเลยนั้น เมื่อถึงเวลาที่คุณอยากให้ลูกลองทำสิ่งใหม่ๆ ดูบ้าง ลูกจะไม่ยอมที่จะทำเผลอๆ จะสั่งกลับให้คุณทำให้แทนเสียด้วยซ้ำ

4. ขายหน้าทุกทีที่ต้องออกไปข้างนอก

เมื่อคุณสปอยล์ลูกมากเกินไป อาการเหล่านี้จะตามมาแน่นอน เช่น หากลูกกรีดร้องอยากได้สิ่งของที่ชอบ หรือขนมที่ถูกอกถูกใจ แต่เมื่อไม่ได้จะแสดงอาการร้องไห้ กรีดร้อง ลงไปดิ้นลงกับพื้น เพื่อเรียกร้องความสนใจทันที แล้วถ้าคุณยิ่งให้สิ่งของกับเขาเพื่อตัดปัญหา นั้นจะยิ่งทำให้ลูกเคยชินเข้าไปอีก อาการนี้เรียกว่าถูกสปอยล์มากไปแล้วค่ะ

5. หวงของ ไม่รู้จักแบ่งปันคนอื่น

เมื่อลูกน้อยได้รับมากๆ เราควรจะบอกให้เขารู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่นบ้าง เด็กสามารถรับรู้การแบ่งปันได้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่เขาเริ่มเข้าใจหลายสิ่งมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงทักษะทางด้านอารมณ์และจิตใจ หากเขารู้จักแบ่งปัน อาการที่ถูกสปอยล์หรือการถูกเอาแต่ใจจะค่อยๆ ดีขึ้นค่ะ

6. ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนเสมอ

เมื่อไหร่ที่ลูกไม่ยอมทำหน้าที่ของตนเอง เช่น เล่นของเล่นแล้วไม่ยอมเก็บ ปล่อยให้บ้านรก เมื่อคุณสั่งให้เก็บแต่ลูกยังดื้อรั้นไม่ยอมเก็บอีก และหากคุณใช้เงื่อนไขว่า “เก็บของเล่นแล้วแม่จะพาไปเที่ยว” การใช้เงื่อนไขแบบนี้บ่อยๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดนะคะ ควรสอนให้ลูกยอมรับว่านี่คือหน้าที่ของเขา มากกว่าใช้เงื่อนไขเพื่อแลกเปลี่ยน

7. กระทืบเท้า ปิดประตูเสียดัง

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นแล้วแสดงถึงความไม่พอใจถึงขั้นกระทืบเท้า ร้องไห้เสียงดัง เดินหนีเข้าห้อง ปิดประตูเสียงดังใส่ อาการแบบนี้ต้องแก้ไขแล้วล่ะค่ะ การโกรธ โมโหไม่ใช้เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ลูกมีอารมณ์โมโหอยู่บ่อยครั้ง ถึงขั้นทำสิ่งเหล่านี้กับผู้ใหญ่ในบ้านแล้ว ไม่มีการช่วยเหลือเขา จะส่งผลถึงตอนโตได้ แก้ไขตอนโตยากยิ่งกว่าแก้ตั้งแต่เด็ก ดั่งคำที่ว่า "ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยาก"

ความรักที่พ่อแม่ให้ไม่มีคำว่าสิ้นสุด แต่ถ้าให้จนสุดเกินลิมิต ทำให้ลูกต้องเสียนิสัยเกินไปจะไม่น่ารักนะคะ เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวอยู่ที่เราจะใส่สีมากน้อยแค่ไหน ใส่ให้พอเหมาะกับวัยก็เพียงพอแล้วค่ะ