facebook  youtube  line

น้ำมูกไหลเหมือนเป็นหวัด แต่ลูกอาจกำลังแพ้อากาศ

4923 1

 

ไข้หวัดกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่เรามักเรียกกันว่า “แพ้อากาศ” มีอาการไม่ต่างกันนัก แต่แพ้อากาศนั้น บางครั้งอาจจะมีความรุนแรงมากกว่า ซึ่งหากคุณแม่คุณพ่อมีความเข้าใจในโรคภูมิแพ้ ก็สามารถปกป้องและดูแลลูกในเบื้องต้นได้ค่ะ

น้ำมูกไหล สัญญาณหวัด?

ฮั้ดเช้ยยยยย!

ฝนมาหวัดก็มา คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าน้ำมูกที่ไหลออกมาจากจมูกลูกนั้นใช่อาการหวัดจริงๆหรือไม่ แม้ว่าไข้หวัดกับโรคแพ้อากาศจะมีอาการคล้ายๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถแยกความต่างของทั้ง 2 โรคนี้ได้ เพื่อจะได้รักษาลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้

ทุกครั้งที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กหลายคนจะมีอาการหายใจเสียงดัง คัดจมูก น้ำมูกไหล บางครั้งก็จามติดกันบ่อย ๆ จนคุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าลูกป่วยเป็นไข้หวัด ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เพราะโดยปกติไข้หวัดมักเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กจะมีอาการไอมีเสมหะ จาม เจ็บคอ เสียงแหบ รวมถึงมีไข้ต่ำๆ และปวดศีรษะร่วมด้วย ไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ มักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน ก็หายค่ะ 

ทั้งนี้อาการน้ำมูกใส ๆ ไหล อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคแพ้อากาศ ก็ได้นะคะ โดยเฉพาะถ้าลูกมีอาการเหมือนเป็นหวัดเรื้อรัง โดยที่ไม่มีไข้

แล้ว ไข้หวัด กับ แพ้อากาศต่างกันอย่างไร? มาดูกันค่ะ

ความแตกต่างของ หวัด กับแพ้อากาศ

4923 2

ไข้หวัดธรรมดา                                                                                   

  • มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ

  • มีอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูกไหล (น้ำมูกใส)

  • มีอาการไอ เจ็บคอ

  • อาการเป็นทั้งวัน และอาจมีอาการมากตอนกลางคืน

  • มีอาการไม่เกิน 1-2 สัปดาห์

แพ้อากาศ

  • คันจมูก จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใสไหล เป็นๆหายๆ ช่วงเช้า หรือ กลางคืนนาน 4 สัปดาห์ขึ้นไป

  • ไอเรื้อรัง มีเสมหะในช่วงเช้า หรือกลางคืน

  • อาจมีอาการคันตา น้ำตาไหล ตาแดง ตาบวม คันในเพดานปาก หู และผื่นคันที่ผิวหนัง ร่วมด้วย

  • มีอาการคล้ายหวัดเรื้อรัง โดยไม่มีไข้

  • มีอาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผิวแห้ง คัน เป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ

  • อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกไม่สบายตัว หรือหงุดหงิดง่าย เพราะนอนไม่เพียงพอ

 

อาการไข้หวัดกับอาการแพ้อากาศค่อนข้างคล้ายคลึงกันมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการและดูแลลูกได้ในเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อลูกไม่สบายมาก ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อการวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

 

การดูแลเด็กที่มีอาการแพ้อากาศ
  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ อย่างเคร่งครัด

  2. ให้ลูกรับประทานยาแก้แพ้หรือพ่นยาตามคำแนะนำของแพทย์

  3. ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อล้างจมูกเมื่อลูกมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล

  4. หากหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ไม่ได้ หรือการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล โรคแพ้อากาศสามารถรักษาด้วยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ได้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในการรักษาด้วยวิธีนี้ต่อไปค่ะ

วิธีลดความเสี่ยงการเกิดอาการแพ้อากาศ

อาการแพ้อากาศ คืออาการภูมิแพ้อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับอาการแพ้อื่น ๆ เช่น หอบหืด ที่อาจจะตามมาได้ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้แต่เนิ่น ๆ ด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมและการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ดังนี้ค่ะ

1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ลูกแพ้

โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตาขนที่อาจมีไรฝุ่น รวมถึงฝุ่นในบ้าน สัตว์เลี้ยง หรือสารกระตุ้นต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป น้ำหอม สเปรย์ ควรทำความสะอาดบ้านโดยเฉพาะห้องนอนของลูกเป็นประจำทุกวัน เปิดหน้าต่างให้แสงเข้าบ้าง ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ของลูกได้

2. เช็กสภาพอากาศก่อนพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน

เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้น มลภาวะ ฝุ่นละอองโดยเฉพาะฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ควันพิษ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกเกิดอาการแพ้ และเมื่อพาลูกกลับจากทำกิจกรรมนอกบ้านแล้วควรให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที

3. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในสัดส่วนที่สมดุล

หากลูกน้อยของคุณแม่ยังทานนมแม่อยู่ ก็ควรทานนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพราะในนมแม่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ถูกทำให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กแล้ว จึงช่วยลดโอกาสการกระตุ้นให้เกิดการแพ้ อีกทั้งยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ อย่างเช่น บิฟิดัส บีแอล และแอลจีจี ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับร่างกายของลูกได้อีกด้วย

แต่ในบางกรณีจำเป็นที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ในเรื่องของ โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนที่ทำจากเวย์ 100% หรือ H.A. (Hypoallergenic) ตามคำแนะนำจากแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้จากสมาคมโรคภูมิแพ้ และวิทยาคุ้มกันแห่งประเทศไทย 

 

เมื่อถึงวัยเริ่มอาหารเสริมตามวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน ผักและผลไม้ และอาหารที่มีการเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ อย่าง บิฟิดัส บีแอล จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับร่างกายของลูกได้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ แต่ให้ทานในสัดส่วนที่สมดุล ไม่มากเกินไป ก็จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย ค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับอาหารใหม่ ๆ ได้ค่ะ

4923 3

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี เพราะหากร่างกายลูกพักผ่อนไม่พอ อ่อนเพลียบ่อยๆ ภูมิต้านทานจะต่ำลง ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรให้ลูกนอนหลับไม่ต่ำกว่าวันละ 8-10 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยประมาณวันละ 30 นาที นอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยแล้ว การออกกำลังกายร่วมกันยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัวอีกด้วยค่ะ

ในช่วงที่เข้าฤดูฝนเช่นนี้ แม้ว่าจะมีปัจจัยกระตุ้นอาการภูมิแพ้ของลูกมากมาย หากคุณแม่คุณพ่อดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวลูก ชวนลูกออกกำลังกายทุกวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยปกป้องลูกจากอาการภูมิแพ้ได้ส่วนหนึ่งแล้ว เมื่อลูกมีสุขภาพแข็งแรง ไม่แพ้ เค้าก็พร้อมที่จะออกไปเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ในทุก ๆ วันค่ะ แต่หากลูกมีอาการภูมิแพ้กำเริบเยอะ ก็ควรไปพบแพทย์นะคะ

อยากรู้ว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงภูมิแพ้แค่ไหน ทำแบบทดสอบเบื้องต้นได้เลยที่   https://www.nestlemomandme.in.th/sensitive-expert/sensitive-check

#SensitiveExpert #ผู้เชี่ยวชาญด้านความบอบบางของลูกน้อย

4923 4

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า

พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์

ปลาน้อยคอยรัก



3547

ทำอาหารให้ลูกน้อยทานว่ายากแล้ว การคิดเมนูให้ลูกน้อยในแต่ละวันนั้นยากยิ่งกว่า ไหนจะต้องคำนึงถึงสารอาหารที่ครบถ้วน ไหนจะกังวลว่ารสชาติอร่อยถูกปากลูกน้อยไหม วันนี้เราจึงขอนำเสนอเมนูที่ทำง่าย อย่างเมนูปลาน้อยคอยรักรับรองเลยว่าทั้งอร่อยและมีประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างแน่นอน

ส่วนผสม
  • ปลากะพงทั้งชิ้นแล่แล้วขนาด 2-3 นิ้ว 1 ชิ้น
  • ถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก 1 ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วแดงต้มลอกเปลือกออก 1 ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วลิสงต้มลอกเปลือก 1 ช้อนโต๊ะ
  • เห็ดฟางต้มสุกหั่นบางๆ 2 ช้อนโต๊ะ
  • นมสด 1/2 ถ้วยตวง หรือนมที่ลูกดื่มชงน้ำอุ่นในปริมาณที่เท่ากัน
  • เนย 2 ช้อนชา
  • เกลือ 1/8 - 1/4 ช้อนชา

ลงมือปรุง
  • นำปลากะพงไปทอดหรือย่างพอสุก ตักใส่จานพักไว้
  • ตั้งกระทะให้ร้อนใส่น้ำมันพืชหรือเนย นำถั่วและเห็ดลงผัด แล้วราดบนเนื้อปลา
  • จากนั้นราดด้วยนม เติมเกลือแล้วนำไปอบในเตาไมโครเวฟ ประมาณ 3 – 5 นาที (ถ้าใช้เนยชนิดเค็มไปต้องเติมเกลือ)


* พลังงานรวม 255 กิโลแคลอรี

Tip : เคล็ดลับการทำเนื้อปลาไม่ให้เหม็นคาว คือฝานมะนาวครึ่งลูก ทาให้ทั่วเนื้อปลาแล้วพักไว้ เวลาจะนำไปปรุงอาหารไม่ต้องล้างออก



 

พัฒนาการและการเลี้ยงดูลูกวัยเตาะแตะ

ไม่ใช่วัยอุแว้ แล้วนะ! พัฒนาการและการเลี้ยงดูลูกวัยเตาะแตะ


จั่วหัวเรื่องฟันธงไปแบบนี้ก็เพราะรู้ใจเจ้าตัวเล็กวัยพ้นขวบปีมาใหม่หมาด ที่ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงไปกว่าตอนขวบปีแรกเป็นไหนๆ บางเรื่องก็เลี้ยงง่ายขึ้น แต่บางอย่างก็ต้องดูแลกันมากสักหน่อย

โตแล้วจ้า1-2 ปีครั้งนี้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาปรับตัวปรับใจต้อนรับขวบปีที่สองของลูกกันสักหน่อยค่ะ

ขวบปีที่2 หนูเปลี่ยนไป

แค่เพียงเดือนที่12 หรือ 13 ของชีวิตลูก พัฒนาการและการเลี้ยงดูก็แตกต่างไปมากเชียวค่ะถ้าเทียบกับตอนแรกเกิดจนเกือบจะครบ >1 ขวบ และที่เห็นได้ชัดคงเป็นด้านร่างกาย รวมทั้งเรื่องอาหารการกิน ซึ่งอย่างหลังดูจะขยับขยายใกล้เคียงผู้ใหญ่ไปมากแล้ว แต่เรื่องใหญ่ที่แสนอ่อนไหวของลูกวัยนี้ก็ไม่พ้นเรื่องการดูแลของพ่อแม่นั่นเอง เพราะแกคงไม่ชอบใจนักถ้ายังถูกเลี้ยงเหมือนเด็กทารก(ซึ่งเป็นอดีตสำหรับแกไปแล้ว) ก็แหม! ลูกทำอะไรได้เองตั้งหลายอย่างแล้วนี่นา

วัยแห่งการก้าวเดิน

*คนเป็นลูก...

วัย 13 เดือนนี้แม้การเดินของลูกจะยังล้มลุกคลุกคลาน ไม่โลดโผนเหมือนเด็กโต แต่แกก็รู้สึกลิงโลดกับพัฒนาการชิ้นโบว์แดงนี้มากเพราะมันช่วยยืนยันว่า หนูไม่ใช่ทารกแบเบาะอีกต่อไปแล้ว ที่สำคัญอิสระเสรี และการเรียนรู้ แสวงหาสิ่งที่สนใจ อยู่กับสองเท้าที่ก้าวเดินนี้แล้วด้วย

*คนเป็นพ่อแม่...

ก็คงต้องยอมให้แกเดินเองได้แล้วค่ะ อย่าเที่ยวอุ้มกระเตงอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าทำใจไม่ได้กลัวลูกจะล้มถลอกปอกเปิก ก็หาผ้ายางกันลื่นมารองรับเวลาหนูหัดเดินเสียหน่อยก็ดีนะ เดินเพื่อ...ค้นหา

*คนเป็นลูก...

เดินได้แล้วแบบนี้อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัสอะไรก็ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องคอยชี้นิ้วจะเอานู่นเอานี่หรือร้องงอแงเหมือนเมื่อก่อน

*คนเป็นพ่อแม่...

ดูเหมือนไม่ต้องเหนื่อยคอยหยิบคอยหาให้ แต่ขอบอกว่าต้องเตรียมใจกับรอยขีดข่วนตามพื้นหรือฝาผนังที่แกบรรจงจรดปลายดินสอ(ปากกา)ลงไป หรือวีรกรรมอื่นๆประมาณนั้น ขอเสนอว่าให้มองเป็นงานศิลปะชิ้นเอกของโลกก็เข้าทีนะ และฝากไว้อีกนิดค่ะว่าการสัมผัส อยากรู้อยากเห็น สำรวจสิ่งต่างๆเป็นพัฒนาการที่สำคัญของลูกถ้าไม่อันตรายหรือเสียหายเกินไป ปล่อยๆแกไปบ้างก็ดีค่ะ(หมายเหตุว่าควรอยู่ในสายตาตลอดเวลาดีที่สุด) ของเล่น...ก็ไม่เหมือนเดิม

*คนเป็นลูก...

ตอนนี้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ อาทิ แขน ขา ข้อไม้ข้อมือกำลังเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง และลูกก็สนุกที่จะทดสอบความเปลี่ยนแปลงของตัวเองอยู่ตลอดเวลาเกมหรือของเล่นอะไรที่เรียกพลังเหลือเฟือนี้ได้ ดาหน้าเข้ามาเลย หนูช้อบชอบของเล่นที่เหมาะกับหนูๆวัยนี้ ก็น่าจะเป็นพวกเคาะๆ ดึงๆ ลากๆ จูงๆ หรือจะหยอดรูปทรงไม้บล็อกก็ดีใช่เล่น แต่ถ้าประเภทยางกัด หรือโมบายล์ดนตรี เอาไว้ให้น้องเล็กๆเล่นเถอะจ้ะ

*คนเป็นพ่อแม่...

ก็มีหน้าที่สนับสนุนการเล่นของลูกนะซิค่ะ เพราะสำหรับเด็กๆแล้ว การเล่นคือชีวิตจิตใจของแกเลยทีเดียว การเลือกของเล่นให้เหมาะกับวัยและเสริมพัฒนาการ จะช่วยให้วันคืนที่ผ่านไปไม่เสียเปล่า อืม!แต่ขอมีพ่อกับแม่เป็นเพื่อนเล่นด้วยนะ โตช้า(กว่า)และกินได้น้อยลง

*คนเป็นลูก...

ถ้าเทียบกับเมื่อวัยอุแว้ เด็กในวัยนี้แทบทุกคนจะโตช้าลง น้ำหนักน้อยกว่า เช่น จากที่เคยขึ้นพรวดพราดในปีแรกถึงประมาณ 3 เท่าของแรกเกิดพอขยับมาปีที่2 ชักจะอืดๆไป จากที่เคยเป็นเด็กอ้วนท้วนจ้ำม่ำ จะกลายเป็นผอมเพรียวก็งานนี้แหล่ะ เหตุเพราะความเติบโตเรียนรู้และเข้าใจโลกมากขึ้นนี้ทำให้ เจ้าตัวเล็กของคุณเริ่มเลือกของกินมากขึ้น ดับเบิ้ลเป็นเท่าตัวด้วยเหตุเพราะสิ่งรอบตัวมันเร้าใจใฝ่รู้ไปหมดทำให้ลืมหิวไปเลย และอีกประการที่สำคัญจำนวนซี่ฟันที่ขึ้นมาเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้แกเจ็บๆคันๆพาลให้เบื่ออาหารได้เหมือนกัน

*คนเป็นพ่อแม่...

อย่าเพิ่งตกอกตกใจ ถ้าลูกรักเป็นอย่างที่ว่านี้ สิ่งสำคัญคืออย่าบังคับให้ลูกกินตามความต้องการของเรา แต่ถ้าเป็นห่วงลูกอาจเพิ่มมื้อนมให้แกมากขึ้นอีกนิดและพลิกแพลงเมนูอาหารให้น่าสนใจอีกหน่อย คอยสังเกตและปรึกษากุมารแพทย์เป็นระยะเพื่อเช็คดูว่าสุขภาพลูกโดยทั่วไปสมบูรณ์ดีอยู่หรือไม่ เท่านี้ก็หายห่วงค่ะเข้าใจภาษามากขึ้น

*คนเป็นลูก...

แม้จะพูดยังไม่ได้เป็นคำเป็นประโยค แต่ลูกก็เข้าใจภาษาที่ใครๆคุยกับแกได้รู้เรื่องมากขึ้น ทั้งยังรู้จักที่จะแสดงความต้องการของตัวเองได้มากกว่าแค่การร้องไห้หรือหัวเราะเหมือนเมื่อก่อน รวมทั้งตอบสนองสิ่งที่คุยกับแกได้รู้เรื่องมากขึ้นด้วย

*คนเป็นพ่อแม่...

นอกจากจะถือโอกาสนี้สอนให้ลูกรู้จักคำศัพท์มากขึ้นด้วยการเรียกชื่อสิ่งต่างๆที่ได้รู้ได้เห็นในแต่ละวันแล้ว พ่อแม่ก็ต้องตระหนักด้วยว่า ลูกเป็นคนคนหนึ่งที่รู้เรื่อง จดจำ และเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังสื่อสารพูดคุยกับแกอยู่ การรู้จักสร้างเงื่อนไข ใช้เหตุผล ให้ลูกได้โต้ตอบ ตัดสินใจ(ตามวุฒิภาวะ)ย่อมดีกว่าที่จะสั่งหรือทำตามความต้องการของพ่อแม่อย่างแน่นอน

ทั้งหมดนี้อยากบอกคุณพ่อคุณแม่เพียงว่า การช่างสงสัย ดื้อรั้นและปฏิเสธหัวสั่นหัว

คลอน รวมทั้งซนจนจับไม่อยู่ของลูกวัยนี้ ต้องการการเลี้ยงดูในสไตล์ที่กระฉับกระเฉง ฉับ

ไว ไม่นุ่มนวลเนิบนิ่มเหมือนอย่างก่อนเก่า...ก็เท่านั้นเอง

SPECIAL TIP!!

*เพราะเป็นวัยซน ไม่อยู่นิ่ง คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลลูกใกล้ชิดมากเป็นพิเศษเพื่อความมั่นใจว่า ลูกของคุณไม่ได้เผชิญอยู่กับสิ่งที่เป็นอันตราย
*เพื่อความปลอดภัยในช่วงที่ลูกอาบน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาด ขัดๆถูๆห้องน้ำ และดูแลความปลอดภัยเป็นพิเศษ(อีกแล้ว)เพราะความซนและรีบเร่งของลูกอาจเปิดโอกาสให้อุบัติเหตุมาเยือนได้ค่ะ

ภูมิแพ้ ภัยเงียบใกล้ตัว ทำลูกป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบ

 4978 1

เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่มักไม่รู้เลยก็คือ ภูมิแพ้นั้นอยู่ใกล้ลูกมากกว่าที่คิด อย่างโรคจมูกอักเสบที่เด็ก ๆ มักเป็นกันบ่อย ๆ สาเหตุหลักก็มาจากภูมิแพ้เช่นกัน  

อาการโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ บางครั้งดูเหมือนโรคหวัดธรรมดา เช่น มีน้ำมูกใส ๆ จาม คันจมูก คัดจมูก ไอกระแอม แต่ความจริงแล้ว จะมีอาการหนักเพิ่มขึ้นเมื่อในช่วงเวลาที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาจจะจามติด ๆ กันเป็นสิบ ๆ ครั้ง คัดจมูกมากจนนอนหลับไม่ได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อีกมากมาย เช่น ไซนัสอักเสบ แก้วหูอักเสบ ต่อมอดีนอยด์โตจนนอนกรนดังมาก อาจถึงขั้นหยุดหายใจขณะนอนหลับได้

สารก่อภูมิแพ้ที่คนทั่วโลกรวมถึงเด็กไทยด้วย แพ้บ่อยที่สุด คือ “ไรฝุ่น” ซึ่งพบมากบริเวณที่มีฝุ่นปนเปื้อนอยู่ เช่น สิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่ใกล้ตัวลูก ตุ๊กตา หมอน ที่นอน ผ้าห่ม เปรียบเสมือนภัยมืดที่อยู่ใกล้ตัวลูก ๆ ของเรา ดังนั้นหากลูก ๆ มีอาการคล้ายหวัด แต่เป็นเรื้อรัง เป็นมากขึ้น ๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนเมื่ออยู่ใกล้สิ่งของดังกล่าว ควรไปพบแพทย์โรคภูมิแพ้เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคที่ถูกต้องต่อไป

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

4978 2

ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ

1. ตัวเด็กมียีนหรือพันธุกรรมที่แพ้สารก่อภูมิแพ้

 

2. สารก่อภูมิแพ้ต้องมาสัมผัสใกล้ชิดเด็ก

 

3. สภาวะที่เหมาะต่อการเกิดโรค เช่น มลภาวะ PM 2.5 ควันรถ/ บุหรี่ การดูแลสุขภาพที่ไม่ดี นอนดึก ไม่ออกกำลังกาย เครียด รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน เมื่อมีครบทั้ง 3 ปัจจัย ก็จะเกิดโรคได้

วิธีการรักษา

หากรู้ว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้ตัวใดและสามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็จะไม่มีอาการของโรคอีกเลย แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้และมีปัจจัยครบทั้ง 3 ข้อ จะเริ่มรักษา โดย การล้างจมูก ยาพ่นจมูก ยารับประทาน หรือในบางรายต้องได้รับวัคซีนภูมิแพ้ร่วมด้วยจึงจะควบคุมอาการได้

วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคภูมิแพ้

4978 3

จากปัจจัยด้านพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคนี้ 60 – 80 % ดังนั้นถ้าเลือกคู่ครองที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวได้ก็จะดีที่สุด แต่ถ้าเลือกไม่ได้แล้ว ควรจะต้องดูแลเด็กตั้งแต่เริ่มอยู่ในครรภ์ โดยไปฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรก ปฏิบัติตามที่สูติแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด พักผ่อนให้พอเพียงรับประทานอาหารหลากหลายชนิดให้ครบ 5 หมู่ งดสูบบุหรี่และงดไปแหล่งที่มีมลภาวะสูง

เมื่อเด็กทารกคลอด ควรให้นมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และให้ต่อไปจนอย่างน้อยอายุ 1 ปี หรือนานที่สุดเท่าที่จะให้ได้ อาหารเสริมควรเริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป ดูแลสิ่งแวดล้อมของเด็กให้ห่างจากมลภาวะและสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ

กรณีคุณแม่มีปัญหาสุขภาพหรือข้อจำกัดที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่อาจขอคำแนะนำจากแพทย์ในเรื่องของนมสูตรพิเศษ ที่เป็นสูตร Hypo-Allergenic (HA)ซึ่งมีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน (partial hydrolysate formula) ร่วมกับ เติม Probiotics คือ เชื้อจุลลินทรีย์ชนิดดี เช่น Bifidus BL (B. lactis), LGG, L. reuteri เป็นต้น และอาจจะเติม Prebiotics คืออาหารของเชื้อจุลลินทรีย์ชนิดดี เช่น Lactose, GOS, IcFOS, 2’-FL เป็นต้น สุดท้ายแล้ว เมื่อเราดูแลลูกได้ดังที่กล่าวมาแล้ว คงทำให้เด็ก ๆ ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ลดลงได้บ้างไม่มากก็น้อย

อยากรู้ว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงภูมิแพ้แค่ไหน ทำแบบทดสอบเบื้องต้นได้เลยที่ https://www.nestlemomandme.in.th/sensitive-expert/sensitive-check

#SensitiveExpert #ผู้เชี่ยวชาญด้านความบอบบางของลูกน้อย

4978 4

ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ. วิชาญ บุญสวรรค์ส่ง กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ โรคหืด และ วิทยาภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลวิภาราม

พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์

มะกะโรนีน้ำใส

1062

 

สำหรับบ้านไหนที่เบื่อเมนูเดิมๆ อยากหาเมนูที่ไม่ซ้ำจำเจ ให้กับลูกรัก ทำก็ง่ายแสนง่าย แถมได้คุณค่าครบถ้วน เป็นเมนูที่เหมาะกับเด็กวัยขวบขึ้นไป แนะนำ

มะกะโรนีน้ำใสเลยค่ะ 

 

เครื่องปรุง

ไก่สับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ

กุ้ง หลาหมึก หรือปลาที่ลูกไม่แพ้

มะกะโรนี 2 ช้อนโต๊ะ

น้ำซุปไก่ 1/4 ช้อนโต๊ะ

หัวหอม / แครอต / มะเขือเทศ / ผักที่ลูกชอบ หั่นชิ้นเล็กๆ 

ซอสปรุงรส 2 ช้อนชา

 

วิธีทำ

1. ต้มมะกะโรนีจนสุกนิ่ม 

2. นำน้ำซุปไก่ตั้งไฟ ใส่ไก่สับ เนื้อสัตว์ มะกะโรนี และผักที่เลือก ตามด้วยซอสปรุงรส ต้มต่อจนทุกอย่างสุกนิ่ม ยกลง ตักใส่ชามเสิร์ฟลูกได้เลย 

 

 

มะระหวานผัดไข่ เมนูช่วยระบบขับถ่ายเจ้าตัวเล็ก

3295

มะระหวานหรือฟักแม้ว เป็นผักที่มีกากใย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ทั้งยังช่วยระบบขับถ่าย มีคุณสมบัติขับปัสสาวะได้ดีเยี่ยมเลยค่ะ เหมาะจะนำมาทำอาหารให้ลูกกินอย่างมาก และเมนูง่ายๆ อย่างมะระหวานผัดไข่ก็เป็นอีกเมนูที่ทำง่าย และรสชาติดีด้วย 

ส่วนผสม

มะระหวานปอกเปลือกหั่นเต๋า 1 ลูก 

ไข่ไก่ 2 ฟอง 

กระเทียมสับ 2-3 กลีบ 

ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา 

ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา 

วิธีทำ 

  1. ตั้งกระทะ เทน้ำมันลงไป เจียวกระเทียมจนเหลืองหอม
  2. ตอกไข่ลง ยีจนแตก จากนั้นนำมะระหวานลงไปผัด 
  3. ใส่ซอสปรุงรสและน้ำมันหอยลงไป ผัดจนมะระหวานสุก ตักใส่จานให้ลูกกินกับข้าวสวยร้อนๆ อิ่มอร่อยได้ทันทีค่ะ

มัฟฟินไข่ ฟินฟิน

 

2410

มัฟฟินไข่ เมนูไข่สร้างสรรค์ที่ช่วยลูกรักเจริญอาหาร

ไข่ทำอะไรก็อร่อย และมีเมนูสารพัดเลยค่ะที่คุณพ่อคุณแม่จะสร้างสรรค์ให้เด็กๆ ที่บ้านได้อิ่มเอมเปรมปรีดิ์กัน โดยเฉพาะเมนูมัฟฟินไข่ ที่รับรองว่าต้องถูกใจเด็กๆ เป็นแน่ 

ส่วนผสม

ไข่ไก่ 4 ฟอง 

นมสด 2 ช้อนโต๊ะ 

ต้นหอมซอย 1-2 ต้น 

หอมใหญ่หั่นแต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 

มะเขือเทศหั่นเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 

แฮมหั่นชิ้นเล็กๆ 2-3 แผ่น 

เกลือเล็กน้อย 

ชีสขูด ตามชอบ 

น้ำมัน (สำหรับทาที่พิมพ์)

 

วิธีทำ 
  1. เปิดเตาอบที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส วอร์มไว้ 10 นาที 
  2.  ตอกไข่ใส่ชาม ใส่นมสด เกลือ ลงไป ตีให้เข้ากัน 
  3.  ทาน้ำมันลงในพิมพ์ให้ทั่ว เรียงผัก ชีส และแฮมลงไป 
  4. เทไข่ลงไปประมาณ 3/4 ของพิมพ์ แล้วนำเข้าเตาอบ ที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส อบไว้ประมาณ 15-20 นาที 
  5. เสร็จแล้วนำออกมาใส่จาน จะโรยด้วยชีส ผัก หรือเบคอนทอดก็ได้ตามใจชอบเลยค่ะ

รักลูก The Expert Talk EP.102 (Rerun) : ชวนพ่อแม่ “รู้” และ “เท่าทัน” สื่อ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.102 : ชวนพ่อแม่ "รู้" และ "เท่าทัน" สื่อ

 

รับมือเมื่อลูกเข้าสู่โลกดิจิตอล พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันอย่างไร

 

ฟัง The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เพื่อให้เรารู้เทคนิค วิธีการที่จะรับมือกับทั้งสื่อ จอ และ Content หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน

  

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.104 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่สำลักความรัก จนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.104 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว ไม่สำลักความรักจนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง

รักมากไปทำร้ายลูก? รักจนสำลักความรัก ประคบประหงมจนไม่ให้ลูกทำอะไร ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก แต่มากไปก็ทำลายลูก

 The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เลี้ยงประคบประหงม เด็กป่วยได้ง่าย (Munchausen Syndrome by Proxy)

เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเลี้ยงดูและดูแลสุขภาพแต่มีประเภทที่เยอะเกินไป มีเคสที่ลูกตกเตียงซึ่งอยู่กับพี่เลี้ยงตกตอนเที่ยงแต่พอตกเย็นก็พาลูกมาที่รพ. ให้หมอเช็กอย่างละเอียดเพราะว่ามีลูกคนเดียวและแม่ก็อ่านมาแล้วว่าเลือดที่ซึมออกมาจากในสมองมันจะไม่มีอาการ แต่อยากให้หมอรับรอง100% ว่าลูกไม่มีปัญหา หมอถามว่าเกิดอะไรขึ้น ความจริงคือเด็กตกเบาะเลี้ยงเด็กซึ่งกลิ้งแล้วหัวกระแทกพื้นไม่ปาร์เก้ลูกตกใจ ร้องไห้ เสร็จแล้วก็เล่นปกติ แต่ว่าแม่ไม่ไว้ใจ และอยากให้ทำMRI ซึ่งการทำกับเด็ก 9เดือนไม่ได้ง่าย แต่ด้วยความที่มีลูกคนเดียวและไม่พลาดไม่ได้เลยขอให้แม่ยืนยันซึ่งไแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย

การทำMRIเด็กต้องนิ่งมากซึ่งทางเดียวที่จะทำคือเพื่อให้เด็กหลับ แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดว่ามีปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็อาจจะต้องดมยา พอแม่ได้ยินก็บอกหมอว่าเต็มที่ไม่อั้นแต่คนเจ็บตัวคือลูก ลักษณะแบบนี้คือ Munchausen Syndrome by Proxy เครียดมากและวิตกกังวลมาก อาจจะมาจากการเห็นคนในบ้านป่วยจากประสบการณ์เดิม จึงตรวจหาความเสี่ยงของลูกทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพที่เยอะเกินไป

อีกเคสคือย่าเป็นมะเร็งไตแล้วเสียชีวิต แม่ต้องการทำRenal scan (การตรวจสแกนไต) ซึ่งทำไม่ได้ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้แม่ก็ไปเอาน้ำแดงมาผสมในปัสสาวะ แล้วให้หมอตรวจคือสำหรับหมอตรวจไม่ยากว่าเป็นน้ำแดงหรือเลือด แบบนี้คือทำให้เกิดเครียด วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ เครียดแล้วมาลงที่ลูก ผลที่เกิดกับลูกคือเกิดความหวาดระแวงไปกับแม่ ลูกซึมซับความหวาดระแวงจากแม่นี่คือในแง่ของสุขภาพ ลูกกังวล เครียดมาก

เลี้ยงแบบเร่งรัด เด็กต่อต้าน (Overstimulation)

ตอนนี้มีปัญหาเยอะเพราะด้วยระบบแพ้คัดออก เรียนทุกวัน ตื่นตั้งแต่ตีห้าเลิกเรียนก็กวดวิชาแล้วก็ติวกลับมาทำการบ้าน นอนตี1 ตื่นตี5วนไปแบบนี้ทั้งสัปดาห์ พอเสาร์อาทิตย์ก็กวดวิชาเช้าบ่าย หมอเคยเจอเคสรร.สาธิตชื่อดังพอลูกสอบเสร็จพ่อก็ให้ไปเรียนกวดวิชาที่ลงเรียนไว้ ลูกก็โมโหว่าทำไมไม่ถามว่าลูกอยากเรียนไหม เขาอาจจะอยากเล่นไวโอลิน อยากไปเที่ยว พ่อบอกว่าก็อยากจะเป็นหมอ ตอนที่มาหาหมอคือแม่ร้องไห้ พ่อความดันขึ้นเพราะว่าหวังดีแต่ทำไมเป็นแบบนี้

หมอก็ถามว่านี้เป็นเป้าของใครพ่อบอกว่าเป็นของลูก แล้วพอเราลงกวดวิชาเต็มที่แล้วแต่ลูกไม่ได้เป็นหมอจะเสียใจไหมพ่อบอกว่าไม่เสียใจเพราะว่าไม่ใช่เป้าของพ่อ เป็นเป้าของลูกและพ่อก็บอกว่าการที่พ่อจะทำให้ลูกคนหนึ่งมันผิดด้วยหรือ ซึ่งพอคุยไปพ่อก็บอกว่าผมไม่ได้อยากให้ลูกเป็นหมอเขาจะทำอาชีพอะไรก็ได้ที่รักและชอบและขอให้เป็นคนดี หมอก็บอกว่าพูดดีมากให้กลับไปบอกลูก ซึ่งหลังจากนั้นความดันในบ้านก็ลดลงมากเพราะที่ผ่านมาทะเลาะกันตลอด

ตอนนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่วางเป้าให้ลูกเรียบร้อยเลยแล้วลูกก็มีหน้าที่เดินตามเป้าและบอกตัวเองว่าการที่พ่อแม่ทำให้ลูกมันผิดด้วยเหรอ ไม่ผิดแต่เป็นเป้าของพ่อแม่หรือของลูก แล้วการที่ส่งสัญญาณว่าไม่ได้อยากให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ ได้บอกตรงๆหรือยัง ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ก็จะไม่เจอกับการเรียนแบบOverstimulationเร่งรัดบังคับจันทร์ถึงจันทร์ แต่จะได้ใจถึงใจ

เลี้ยงแบบสำลักความรัก (Over Indulgence/Spoiled Child)

มีบ้านไหนที่ลูกทำงานบ้านบ้าง นี่เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้านเรามีเด็กเยอะที่ไม่ปัดกวาด ถูบ้านล้างจาน พ่อแม่สปอยทุกอย่างจนทัศนคติของลูกเปลี่ยนว่า งานบ้านไม่ใช่หน้าที่เขาไม่จำเป็นต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้าน ความรักไม่เกิดบนการร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่สุขอย่างเดียว เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนมนุษย์

เวลาจะรักใครก็รักแบบฉาบฉวย พ่อแม่ไม่รู้ตัวว่ากำลังพัฒนาลูกไปเป็นแบบนั้นไม่สามารถรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุข ปรนเปรอให้ทุกอย่าง นี่คือการสปอยล์ รักเยอะ ผิดหวังไม่ได้ เจอกับความผิดหวังก็เบรคเลย ไปไกล่เกลี่ยก็ลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง พ่อแม่ต้องรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่มีแต่ความสุข ปรนเปรอแต่ความสุขเจอความยากลำบากไม่ได้ ต้องเจอความยากลำบากร่วมกันง่ายๆ คือ ปัดกวาด ถูกบ้าน ซักผ้า ล้างจาน

เลี้ยงขาดพื้นที่ส่วนตัว เด็กเกิดความเครียด (Parenting Enmeshment)

หมอเคยเจอบ้านที่ไม่ดูทีวีจนอายุ 18ปีจะใช้เครื่องมือสื่อสารไม่ได้ เมื่อเข้าบ้านห้ามใช้ใช้ได้อย่างอิสระเมื่ออายุ 18ปีขึ้นไป ลูกมีห้องส่วนตัวแต่ปิดไม่ได้เพราะว่าพ่อสามารถ เข้าไปดูได้ทุกเมื่อสามารถไปดูแชทส่วนตัวได้ มีเคสที่แม่ลูกชายอายุ 14ปี ยังอาบน้ำกับแม่ขาดพื้นที่ส่วนตัวมาก ถ้าบ้านไหนทำอยู่ให้กลับมาตั้งหลักใหม่

ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ที่อยากทำอะไรก็ได้เป็นความเข้าใจผิดการให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของลูกจึงมีนัยยะแม้ลูกโตมาถึงชั้นประถมไม่ต้องรอถึงมัธยม การที่พ่อไม่จับที่สงวนของลูกเลย เคารพในพื้นที่ส่วนตัว ลูกจะเกิดการเรียนรู้เลยว่าขนาดคนเป็นพ่อยังเคารพพื้นที่ส่วนตัว แล้วคนอื่นที่เป็นคนนอกจะมารุกล้ำได้อย่างไร ถ้าไม่สอนด้วยวิธีนี้จะสอนด้วยการท่องจำหรือ

การที่พ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวลูกเมื่อโตขึ้น อยากให้ลูกเป็นแบบนั้นไหน อยากให้ลูกเป็นคนเคารพพื้นที่ส่วนตัวก็ต้องทำแบบนั้นกับลูกเช่นเดียวกัน ศรัทธาและสัจจะของลูกมีความหมาย วันนี้เราไม่มั่นใจลูกเลยก็ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ซึ่งศรัทธาเกิดขึ้นจากพลังบวก เช่นเดียวกันเด็กที่โตมาในครอบครัวที่เข้มงวด ก็จะขาดความมั่นใจไม่เหลือเลย ขาดภาวะผู้นำไม่มีsense of propority การเคารพพื้นที่ส่วนตัวไม่มีถูกล่อลวงโดยไม่รู้ตัวและเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

เด็กจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ จุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการ รู้วิธีรับมือและพลิกเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมพัฒนาทักษะลูก เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจาก The Exeprt ครูก้า กรองทอง บุญประคอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.110 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง"

รักลูก The Expert Talk Ep.110 :  รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ลูกต้องมี “SELF” เพราะตัวตนที่แข็งแกร่ง จะทำให้ลูกเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด

 

ชวนสร้าง SELF กับครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.71 (Rerun) : อยากให้ลูกสูง ต้องรู้ก่อนเสริม

รักลูก The Expert Talk Ep.71 (Rerun) : อยากให้ลูกสูง ต้องรู้ก่อนเสริม

 

ทำความเข้าใจเรื่องความสูงของลูก เป็นประจำเดือนแล้วหยุดสูงจริงหรือ กินยาหรือวิตามินช่วยให้สูงได้ไหม

ฟังรักลูก The Expert Talk พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาล พญาไท1

มาพูดคุยเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการความสูงของเด็ก พร้อมวิธีการกระตุ้นให้ลูกสูงอย่างถูกต้อง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

รักลูก The Expert Talk Ep.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

เลี้ยงแบบไหนที่นักจิตวิทยาแนะนำ

 

ฟังวิธีการเลี้ยงลูก โดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ

นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า 

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.75 (Rerun) : รุ่นในร่ม ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.75 (Rerun) : Indoor Generation The Effect "รุ่นในร่ม" ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ

 

เรื่องใหม่เรื่องใหญ่ท้าทายพัฒนาการ ผลลัพธ์ของการอยู่ในร่ม น่ากลัวและต้องกังวลมากกว่าที่เราคิด กระทบพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านใดบ้าง

 

ชวนฟังก่อนกระทบพัฒนาการไปมากกว่าที่เป็น โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้

เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้

เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

 

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

เด็กปฐมวัยทั่วประเทศมีพัฒนาการล่าช้า 25% หลังสถานการณ์โควิดยิ่งทำให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า และถดถอยไปมากกว่าเดิม

ความรักความหวังดีจากพ่อแม่ และครูที่ไม่เข้าใจพัฒนาการและปัญหาที่แท้จริง ยิ่งซ้ำเติมปัญหาพัฒนาการของเด็กให้มากยิ่งขึ้น แล้วเราจะทำกันอย่างไร เพื่อฟื้นฟูวิกฤตซ้อนวิกฤตนี้

 

ชวนคุยกับ The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

รู้วิกฤต รู้ปัญหาและเห็นทางออกเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการให้เด็ก 

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี”

รักลูก The Expert Talk Ep.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี"

ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่

เลี้ยงปกป้องเกินไป เด็กขาดความมั่นใจ (Over Protection)

เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ

หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี

หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

เลี้ยงอ้วน เด็กเอาแต่ใจ (Overfeeding)

คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ

มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม

Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ

เลี้ยงอวดรวย (Multiple homes)

หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี

การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน

สร้างวิถีใหม่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงลูก

1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด

2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย

3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.96 (Rerun) : "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.96 (Rerun) : เข้าใจ "วัยทอง" ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง "กล้าพอไหม เปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"
 

เปิดศึกกลางบ้าน ไม่มีทีท่าว่าจะสงบและยังเกิดขึ้นถี่ๆ บ้านไหนเป็นแบบนี้ ชวนฟังวิธีแก้ 3 ปัญหาน่าหนักใจ เพื่อไม่ให้กระทบพัฒนาการระยะยาว ได้แก่ ติดจอ, ก้าวร้าวเอาใจ, นิ่ง เนือย เฉื่อยชา ฟังดูเป็นเรื่องยากแต่แก้ไขได้

 

ฟังแนวทางจากครูก้า กรองทอง บุญประคอง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

จะทำให้พ่อแม่มองเห็นปัญหา เข้าใจพัฒนาเจ้าตัวเล็ก และเห็นแนวทางแก้ที่ไม่ยากเกินไป

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

ลูกชอบกินไข่มาก แต่เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟองกันนะ

 

เมนูไข่-เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟอง-ลูกชอบกินไข่-กินไข่ได้วันละกี่ฟอง-เมนูไข่หลากหลาย-เมนูไข่สร้างสรรค์-ประโยชน์ของไข่-สารอาหารในไข่-ไข่ สารอาหาร

ลูกชอบกินไข่มากแต่กินไปหลายฟองจะดีต่อสุขภาพมั้ย แล้วเด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟอง มาหาคำตอบกัน

ลูกชอบกินไข่มาก แต่เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟองกันนะ

เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้อยู่แล้วนะคะ ว่ากินไข่วันละ 1 ฟอง ดีต่อร่างกาย แต่ถ้าเด็ก ๆ ชอบกินไข่มาก เมนูไข่จะกินได้เยอะ ทั้งไข่ออมเล็ต ไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่เจียว ไข่คน เรียกว่าขอเมนูไข่ วันละ 3 มื้อ ได้เลย กินไปหลายฟองแบบนี้ พ่อแม่คงกังวลว่ากินไข่มากไปจะดีต่อสุขภาพลูกหรือเปล่า และเด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟองกันนะ มาไขข้อสงสัยกันค่ะ

ประโยชน์ของไข่ ที่ดีต่อเด็กวัยกำลังโต

  • ไข่มีโปรตีนสูง ไข่ 1 ฟอง จะมีโปรตีนอยู่ถึง 6 กรัม จึงถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เหมาะสำหรับคนทุกวัย
  • ไข่มีธาตุเหล็ก ที่ช่วยสร้างเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • ไข่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ไข่ 1 ฟอง มีโคลีน มากถึง 20% เพียงพอต่อร่างกาย จึงทำให้สมองและระบบประสาทแข็งแรง
  • ไข่มีแคโรทีนอยด์ ช่วยในการมองเห็น บำรุงระบบจอประสาทตา
  • ไข่มีวิตามินสูง ช่วยเสริมการทำงานของระบบสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

 เมนูไข่-เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟอง-ลูกชอบกินไข่-กินไข่ได้วันละกี่ฟอง-เมนูไข่หลากหลาย-เมนูไข่สร้างสรรค์-ประโยชน์ของไข่-สารอาหารในไข่-ไข่ สารอาหาร

ปริมาณไข่ ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ

กรมอนามัยสนับสนุนให้เด็ก ๆ กินไข่ วันละ 1 ฟอง รวมถึงกลุ่มวัยอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ 

  • เด็กอายุ 6 เดือน ให้กินไข่แดงต้มสุกครึ่งฟอง บดผสมกับข้าวในปริมาณน้อย ๆ 
  • เด็กอายุ 7-12 เดือน ให้กินไข่ต้มสุกวันละครึ่งฟอง 
  • เด็กวัยก่อนเรียน 1 – 5 ปี เด็กวัยเรียน แม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นม ผู้ใหญ่กลุ่มวัยทำงาน และผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี สามารถกินไข่ได้เฉลี่ยวันละ 1 ฟอง
  • สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไม่ควรกินไข่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์

ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ แตี่ถ้าเรากินไข่ร่วมกับอาหารแปรรูปอื่น ๆ ที่มากเกินไปเช่น กินไข่ดาวกับไส้กรอก แฮม เบค่อน บ่อย ๆ ก็อาจทำให้ได้รับไขมันส่วนเกิน หรือหากให้ลูกกินไข่อย่างเดียวเด็ก ๆ ก็อาจเป็นโรคขาดสารอาหาร เนื่องจากสารอาหารจากไข่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ควรให้ลูกกินไข่แต่พอดี และต้องกินให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ด้วยค่ะ 

นอกจากนี้  เด็กเล็ก แม่ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่ควรกินไข่ดิบ หรือไข่กึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ไข่ดอง ไข่ดาวไม่สุก ไข่ต้มยางมะตูม เพราะนอกจากร่างกายจะดูดซึมโปรตีนจากไข่ได้น้อยแล้ว ไข่ดิบยังอาจมีเชื้อซาโมเนลลา (Salmonella) ปนเปื้อนได้อีกด้วย ซึ่งเจ้าเชื้อนี้เป็นตัวการให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง และบางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากการติดเชื้อซาลโมเนลลาได้เลย  

 

 

ลูกพูดช้า ไม่ใช่พัฒนาการปกติ ต้องรีบแก้ไข

ลูกพูดช้า ไม่ใช่พัฒนาการปกติ ต้องรีบแก้ไข

เมื่อลูกพูดช้า แบบไหนจะเรียกว่าพัฒนาการด้านภาษาและการพูดเป็นไปตามปกติ แบบไหนถึงเรียกว่าพัฒนาการด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามปกติ พ่อแม่จะป้องกันและดูแลได้อย่างไร 

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดตามปกติ

1-4 เดือน ส่งเสียงอ้อแอ้ สนใจเสียงผู้ที่มาคุยด้วย คุ้นเคยกับเสียงคนใกล้ชิด

5-6 เดือน ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ เริ่มหันหาเสียงและเลียนเสียงผู้อื่น

9-12 เดือน เริ่มพูดได้เป็นคำพยางค์เดียว ให้ท่าทางสื่อความหมายร่วมด้วย

1-1.5 ปี มีการโต้ตอบชัดเจน สามารถทำตามคำสั่งได้ เริ่มพูดคำที่มีความหมายได้

1.5-2 ปี พูดได้ 50-80 คำ เริ่มรวมคำ เข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้น

2-3 ปี สามารถพูดเป็นประโยคได้ ตอบได้ พูดคุยสื่อสารรู้เรื่องมากขึ้น

แบบไหนเรียกว่าพูดช้า

6-10 เดือน ไม่ส่งสัญญาณการพูด ไม่หันมาตามเสียง ไม่เลียนแบบ

12 เดือน พูดได้แต่เสียงสระไม่มีเสียงพยัญชนะ เช่น อินอ้าว(กินข้าว) แอ้(แม่) อ้อ(พ่อ)

15 เดือน ไม่เข้าใจความหมายของคำง่ายๆ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย

18 เดือน พูดคำที่มีพยางค์เดียว เช่น หิว กิน ได้น้อยกว่า 10 คำ 2 ปี พูดคำที่มีความหมาย 2 พยางค์ต่อกันไม่ได้ เช่น ไม่เที่ยว ไม่เอา

1-2 ปี ไม่เริ่มการสื่อสารและไม่เข้าใจคำถามหรืออาจจะพูดไม่หยุด แต่ไม่สื่อสารในเรื่องเดียวกัน

2 ปี 6 เดือน พูดอธิบายสื่อความหมายไม่ได้ 3 ปี พูดยังไม่เป็นประโยค อธิบายความหมายไม่ได้

3 ปี ไม่บอกความต้องการ ไม่เข้าใจและไม่เคยใช้ประโยคคำถาม หรืออาจจะพูดเป็นภาษาสคริปต์ ที่ไม่ใช่ภาษาของเด็กวัยเดียวกัน

สาเหตุของความผิดปกติของพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็ก
  • ความผิดปกติของร่างกาย
  • ความผิดปกติจากโรคทางพันธุกรรม
  • ภาวะออทิสติก
  • พัฒนาทางภาษาผิดปกติ
  • ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม เช่น ปล่อยลูกไว้ตามลำพังไม่มีคนพูดคุยด้วย หรือเมื่อลูกพยายามพูดแล้วผู้ใหญ่ไม่ตอบสนอง
  • สมาชิกในบ้านพูดกันมากกว่า 2 ภาษาขึ้นไป อาจทำให้ลูกเกิดความสับสนว่าจะเลือกพูดภาษาไหนดี และอาจจะทำให้ไม่เข้าใจภาษาที่พูดอย่างถ่องแท้ได้
  • คุณแม่ที่สั่งอย่างเดียว หรือให้เด็กดูทีวีมากเกินไป เหล่านี้เป็นการสื่อสารทางเดียวก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ค่ะ

พ่อแม่แก้ไขได้

ส่งเสียง ขยับปาก - คุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกทำตามได้ดีที่สุด เวลาพูดกับลูกแม่ควรย่อเข่าหรือนั่งลงให้ลูกได้สังเกตหน้าและปากของแม่เวลาพูด หรือให้ลูกส่องกระจกดูว่าคำที่เขาพูดไม่ชัดนั้นเขาทำปากอย่างไร และช่วยแก้ไขโดยให้เขาทำปากตามแม่ ที่สำคัญคุณแม่ควรพูดด้วยน้ำเสียงปกติ ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป และไม่พูดช้าหรือเร็วจนเกินไปด้วย

ชีวิตประจำวันเป็นแบบฝึกหัดที่ดี - เรื่องรอบๆ ตัว คุณแม่สามารถนำมาช่วยกระตุ้นให้ลูกพูดได้ทั้งนั้นค่ะ เช่น การฟังเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ให้เด็กเรียกชื่อสิ่งที่ได้ยิน และควรใช้สิ่งของจริงจะช่วยในการหัดพูดได้ดี เพราะจะช่วยให้ลูกทั้งจำสิ่งของและพูดได้ด้วย

บรรยากาศก็สำคัญ - จัดสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ให้ลูกบ้าง เพื่อช่วยในการเรียนรู้ เช่น พาลูกไป หรือชวนคุยเมื่อเจอสิ่งที่น่าสนใจ ควรสอนแทรกไปในกิจวัตรประจำวันและสอนให้บ่อย ถ้าให้ลูกได้มีโอกาสเล่นกับเด็กวัยเดียวกันบ้างก็จะช่วยให้การพูดพัฒนาเร็วขึ้น ส่วนเด็กบางคนไม่มั่นใจที่จะพูดกับผู้ใหญ่ คนแปลกหน้าแบบนี้บทบาทสมมุติช่วยได้ ลองหาตุ๊กตาให้ลูกเล่นสักตัวเป็นเพื่อนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกได้นะคะ

อย่าสื่อสารทางเดียว - การถาม-ตอบเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าลูกถามว่า "ทำไม" "อะไร" ควรตอบลูกให้ละเอียด เช่น เมื่อลูกถามว่า "นี่เรียกว่าอะไร" ไม่ควรตอบว่า "แมว" เท่านั้น อาจขยายความต่อว่า "แมวมีสีเทา หางยาว มีสี่ขา" การสื่อสารทางภาษาแบบนี้จะช่วยให้ลูกรับข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้นค่ะ ให้กำลังใจ

อย่าหักโหม - อย่าลืมให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกสามารถพูดได้แล้ว สิ่งสำคัญคืออย่าใช้ท่าทีก้าวร้าวรุนแรงกับลูก ต้องเข้าใจว่าความสามารถทางการพูดของลูกนั้นจะขึ้นอยู่ตามระดับอายุ อย่าหักโหมในการสอนเกินไป อ่านสนุก

กระตุ้นการพูดได้ด้วย - คุณแม่ลองหยิบหนังสือภาพสวยๆ มาอ่านให้ลูกฟังดูสิคะ ขณะที่อ่านนั้นลองให้ลูกชี้ภาพให้ตรงกับคำถามของแม่ เช่น นกอยู่ตรงไหน หลังจากนั้นผลัดให้พ่อแม่เป็นฝ่ายชี้ภาพแล้วถามคำถามให้ลูกตอบบ้างว่า ภาพนี้คืออะไร ร้องอย่างไร กำลังทำอะไรอยู่ ลูกน่าจะค่อยๆ พูดได้แล้วค่ะ  

ถ้าสำรวจดูแล้วว่าเราช่วยเหลือลูกอย่างดี แต่ลูกก็ยังมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ช้าอยู่ ก็น่าจะลองพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการเด็กเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง หรืออาจจะไปปรึกษานักแก้การพูดเพื่อช่วยฝึกพูดต่อไปค่ะ

 

 อ้างอิง : RAMA CHANEL