facebook  youtube  line

15 เทคนิคป้อนยาลูกน้อย

 
 

 ลูกป่วยบ่อย-วิธีป้อยยาลูก-ลูกไม่ยอมกินยา-เทคนิคป้อนยา-ลูกกินยา-ป้อนยา-15 เทคนิคป้อนยาลูกน้อย-ป้อนยาลูกน้อย-ลูกไม่ยอมกินยา-ลูกกินยายาก-ป้อนยาลูก

15 เทคนิคป้อนยาลูกน้อย

เวลาที่ ลูกป่วย แล้วงอแง ลูกไม่ยอมกินยา เป็นปัญหาหนักใจของพ่อแม่แทบทุกบ้านเลยใช่ไหมคะ ยิ่งถ้าเป็นยาเม็ดด้วยแล้ว ใช้สารพัดท่าไม้ตายเลยกว่าจะยอมกินยาได้

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถ ป้อนยาให้ลูก ได้เสียทีเดียว เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่พ่อแม่จะ ทำให้ลูกกินยา ได้ค่ะ   

 

  1. อธิบายให้ลูกฟังในภาษาที่เด็กเข้าใจง่าย ว่าลูกไม่สบาย ถึงแม้ยาจะมีรสชาติขม แต่ยาก็จะช่วยทำให้ลูกหายป่วย ดังนั้นการบอกลูกให้เข้าใจถึงประโยชน์ของการกินยาจะช่วยส่งผลให้ลูกมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการกินยาตั้งแต่ต้น

  2. ต้องตรวจดูฉลากยาให้ชัดเจน เกี่ยวกับปริมาณยา จำนวนครั้ง และเวลาที่ให้ด้วย อ่านคำอธิบายภายในกล่องอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการแพ้ยาไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม

  3. ในกรณีเด็กเล็กมาก อาจผสมกับอาหารบด น้ำผึ้ง แยมหรือไอศกรีม เป็นต้น

  4. ในกรณีเป็นยาเม็ดอาจต้องบด แล้วผสมกับอาหารได้

  5. หลีกเลี่ยงการผสมยาลงในน้ำ หรือนม เพราะยาอาจตกตะกอนอยู่ก้นขวด หรือจับตัวติดที่ข้างขวด และในบางครั้งเด็กอาจกินไม่หมด ทำให้ได้รับปริมาณยาไม่ครบถ้วน

  6. หากเป็นยาน้ำต้องเขย่าขวดก่อนกินยา ใช้หลอดสำหรับป้อนยา คล้ายยาหยอดตา หลอดฉีดยา ในกรณีใช้ถ้วยป้อนยา หรือช้อนป้อนยาอาจทำให้เด็กรับรู้ถึงรสชาติได้มากกว่าหลอดฉีดยา

  7. พ่อแม่ต้องใช้ความอดทน เพราะการแสดงความโกรธจะทำให้ลูกดื้อและต่อต้านมากขึ้นกว่าเดิม

  8. หากลูกเป็นเด็กเล็กอาจอุ้มในท่าที่สะดวก และปลอดภัยไว้ในวงแขน และให้ลูกเล่นของเล่นที่ชอบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจและช่วยผ่อนคลายความเครียดให้ลูก

  9. การให้ยาเด็กเล็กหรือเด็กวัยเตาะแตะ ควรเป็นยาน้ำเท่านั้น และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสยาตรงๆ กับลิ้น โดยการป้อนยาทางกระพุ้งแก้ม เพื่อลูกจะไม่ต้องลิ้มรสขมของยามากนัก และจะช่วยไม่ให้ลูกพ่นยาออกมา

  10. เมื่อลูกกินยาได้ ให้ชมลูกทันที หรือ ให้รางวัล โดยการอ่านหนังสือเล่มโปรดให้ลูกฟัง หรือป้อนอาหารที่ลูกชอบ

  11. อาจพูดคุยกับคุณหมอ ในตัวยาบางประเภทที่มีรสชาติขม ว่าสามารถเพิ่มรสหวานลงไปได้หรือไม่

  12. อาจให้ลูกบีบจมูกในขณะที่ทานยาเพื่อลูกจะไม่รับรู้รสชาติของยา และนั่นจะเป็นการช่วยในการลดการรับรู้รสชาติของยา

  13. เตรียมน้ำไว้ให้พร้อม เพื่อช่วยให้ลูกไม่ต้องทนกับรสชาติขมของยานานเกินไป และอาจให้เด็กได้ทานขนมที่ชอบโดยตกลงกันก่อนกินนยา

  14. การให้ลูกแปรงฟันหลังจากทานยาก็จะช่วยกลบรสชาติขมของยาได้บ้าง

  15. หากต้องป้อนยาเม็ดตามขนาดที่ต้องการ ควรขอจากคุณหมอโดยตรง เพราะการตัดแบ่งยาเองอาจทำให้กะขนาดผิดพลาด





 

2 เมนูกะหล่ำปลีสีม่วงแสนอร่อย สำหรับลูกน้อยวัย 1 ปีขึ้นไป

 

1927

กะหล่ำปลีสีม่วงแสนอร่อย ลูกน้อยวัย 1 ปีขึ้นไปก็กินได้ มีประโยชน์ด้วย

เด็กไม่ชอบกินผักสีเขียว รักลูกขอแนะนำเมนูกะหล่ำปลีม่วงให้เด็กๆ กินง่ายขึ้นค่ะ แถมมีวิตามินซีสูงกว่ากะหล่ำปลีเขียวถึงสองเท่า และช่วยให้ลูกน้อยเติบโตแข็งแรง มาทำเมนูกันเลยค่ะ

 

ข้าวตุ๋นตับหมูกะหล่ำปลีสีม่วง
ส่วนผสม

น้ำซุป 1 ถ้วยครึ่ง

ข้าวสวย 1/2 ถ้วย

หมูสับ 2 ช้อน

ตับหมู 3 ช้อน

ไข่ไก่ 1 ฟอง

เต้าหู้ไข่ 1 ชิ้น

กะหล่ำปลีสีม่วงหั่นละเอียด 4 ช้อนโต๊ะ

บiอกโคลีหั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ

เมล็ดแฟลกซ์บด 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว 1/8 ช้อนชา

 

วิธีทำ
  1. ต้มน้ำซุปรอจนเดือด แล้วใส่หมูสับลงไป

  2. จากนั้นใส่บล็อกโคลี่ ตามด้วยกะหล่ำปลีสีม่วง และเต้าหู้ไข่

  3. ใส่ข้าวสวยลงไป ปรับไฟให้อ่อนลง ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว

  4. ใส่ตับ คนให้พอสุกเพราะถ้าสุกไปจะแข็งแล้วเคี้ยวยาก

  5. ตอกไข่ลงไป ขนให้ทั่ว แล้วใส่เเมล็ดแฟลกซ์บดลงไป ก็ได้ข้าวตุ๋นแสนอร่อยแล้วค่ะ

 

 

ปลาแซลมอนนึ่งซีอิ๊วกะหล่ำปลีสีม่วง
ส่วนผสม

ปลาแซลมอน 1/2 ชิ้น

กะหล่ำปลีสีม่วงหั่นละเอียด 4 ช้อนโต๊ะ

ถั่วหวานหั่นละเอียด 1 ฝัก

เมล็ดแฟลกซ์บด 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว 1/4 ช้อนชา

วิธีทำ
  1. นำปลาแซลมอนล้างให้สะอาด วางใส่ถ้วย ใส่ซีอิ๊วขาวและเติมน้ำเปล่านิดหน่อย
  2. จากนั้นใส่ถั่วหวาน กะหล่ำปลีสีม่วง และเมล็ดแฟลกซ์
  3. นึ่ง 15 นาที ก็ได้ที่แล้ว กลิ่นหอมไปทั่วบ้านเลยจ้า

3 วิธี ช่วยลดอาการสมาธิสั้นเทียมในเด็ก

4510

มีกรณีตัวอย่างจากพ่อแม่หลาย ๆ คนที่มักจะแชร์เรื่องลูกตัวเองที่เกือบเป็นเด็กสมาธิสั้น หรือสมาธิสั้นเทียม

สมาธิสั้นเทียมเกิดจาก...

ไม่จำกัดขอบเขตให้ลูกว่าสิ่งไหนควรทำ หรือไม่ควรทำ อาจคิดว่าลูกยังเด็กอยู่ การสอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ยากเกินที่เขาจะเข้าใจ เวลาลูกจะทำอะไรเลยตามใจทุกอย่าง เมื่อลูกได้ทำทุกอย่างตามความเคยชินที่เขาต้องการ ก็ยากที่เขาจะปรับตัวให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคมได้

ปล่อยลูกไว้กับสิ่งเร้า โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ด้วย เช่น ปล่อยให้ดูโทรทัศน์ อยู่กับจอคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต  ก็มีผลต่ออาการสมาธิสั้นเทียมของลูกทั้งสิ้นค่ะ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่บางคนจะชอบที่ลูกไม่ซน ไม่วิ่งเล่น ไม่รื้อของเล่นกระจายเต็มบ้าน แต่ผลเสียที่ได้กลับมาไม่คุ้มค่า ทำให้ลูกรอคอยไม่เป็นและไม่มีความอดทน

3 วิธีลดสมาธิสั้นเทียม

1. จัดตารางชีวิตให้ลูก นำกิจวัตรประจำวันของลูกมาทำเป็นขั้นตอน ให้เขารู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร อาจทำเป็นรูปภาพเพื่อจูงใจให้เขาเดินมาดูว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง เช่น ตื่นนอน ต่อไปต้องล้างหน้า แล้วลงไปกินข้าว กินข้าวเสร็จต้องมาแปรงฟัน อาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน เป็นต้น

ข้อดีคือลูกจะเรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร มีการจัดลำดับเป็น และเป็นการหัดวางแผนด้วยค่ะ เช่น หากเขาทำการบ้านเสร็จเร็ว ก็จะมีเวลาเล่นของเล่น หรือทำกิจกรรมที่เขาต้องการได้นานขึ้น การฝึกลูกทำกิจวัตรเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดการจดจำและเกิดการคิดวิเคราะห์จากการใช้สมองส่วนหน้าค่ะ

2. ฝึกสมาธิ และการฝึกจิตให้รู้เท่าทันกับปัจจุบัน ลองฝึกให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่ง ในระยะเวลาที่ทำได้และไม่นานมาก แต่ควรจะทำให้พัฒนาจากเดิม เช่น อาทิตย์นี้ทำได้ 30 วินาที อาทิตย์หน้าก็ควรจะได้ 40 วินาทีเป็นต้น

การพัฒนาสมาธินี้จะฝึกควบคู่ไปกับการที่ลูกรับรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเองในปัจจุบัน เช่น รู้ว่าตอนนี้เขากำลังยกมือซ้าย กำลังหยิบส้อมขึ้นมา กำลังยกมือขวา กำลังหยิบช้อนขึ้นมา วิธีการนี้ไม่ต้องมีขั้นตอนเยอะค่ะ แรกเริ่มอาจจะมีสัก 3–4 ขั้นก่อนก็ได้ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  

ข้อดีคือจะทำให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีความอดทนมากขึ้น แต่ต้องทำสม่ำเสมอ และไม่เร่งลูกจนเกินไป อย่ากดดันลูก การเล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือแม้แต่การวาดรูป ก็เป็นการฝึกวินัยและฝึกให้ลูกได้รู้จักควบคุมร่างกายของตัวเองค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตและประเมินลูกด้วย บางทีลูกเราอาจจะไม่เหมาะกับวิธีการแบบนี้ก็ได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความพร้อมและความชอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องคอยสังเกตและปรับให้เหมาะกับลูก โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น

3. If … then = การเตือนตนด้วยตน วิธีนี้อาจฟังดูยากแต่จริง ๆ ไม่ยาก หลัก If … then แปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่า ถ้า (ทำสิ่งนี้นะ) ให้ (ทำสิ่งนั้นต่อ) เช่น หากเวลาลูกอยู่ที่โรงเรียนแล้วชอบลืมหนังสือ ให้พ่อแม่บอกลูกถ้าได้ยินเสียงออด ให้หยิบหนังสือ และยังใช้ได้อีกหลายเรื่องเลยนะคะ

ถ้าคุณครูเปิดปาก ให้ลูกหยุดพูด ถ้าเปิดประตูบ้าน ให้เอากระเป๋าไปเก็บ แต่พ่อแม่ต้องอย่าลืมว่า ตัวพ่อแม่เองต้องคอยบอกลูกเป็นประจำทุกวันทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของลูกได้ในไม่ช้า

ข้อดีคือ จะช่วยแก้นิสัยของลูกที่พ่อแม่อาจเป็นห่วงอยู่ เช่น ลืมเอารองเท้ากลับบ้าน ชอบคุยในห้องเรียน ไม่ยอมเก็บกระเป๋ารองเท้า เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อแม่ต้องเตือนให้ทำอยู่ตลอดเวลา ต่อไปนี้ลูกก็จะรู้จักเตือนตัวเองได้ด้วยตัวเอง ทำให้เขาภาคภูมิใจในตัวเอง และยังเพิ่มความสามารถในการควบคุมตัวเองของลูก เพิ่มความมั่นใจ ทั้งเป็นการรับผิดชอบตัวเองได้มากขึ้น ถ้าลูกทำได้แล้วคุณพ่อคุณแม่อาจจะมีรางวัล เช่น พาไปขี่จักรยาน พาไปสวนสัตว์ หรือหมั่นให้คำชมเชยค่ะ

80 รายชื่อหมอภูมิแพ้เด็กที่พ่อแม่รีเควสต์

5118 

80 รายชื่อหมอภูมิแพ้เด็กที่พ่อแม่รีเควส

เด็กๆ เป็นภูมิแพ้กันเยอะขึ้น พ่อแม่หลายคนจึงต้องตามหาคุณหมอเฉพาะทางเพื่อรักษาเจ้าตัวเล็กให้หาย รักลูกรวบรวมรายชื่อคุณหมอที่รักษาภูมิแพ้ที่แม่ๆ แนะนำเข้าใน https://www.facebook.com/raklukeclub มาให้แล้วค่ะ

  1. นพ.กันย์ พงษ์สามารถ คลินิกภูมิแพ้โรงพยาบาลเด็ก
  2. นพ.กัลย์ กาลวันตวานิช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  3. นพ.เฉลิมไทย เอกศิลป์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  4. นพ.ธัชชัย วิโรจวานิช โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ
  5. นพ.ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  6. นพ.พุทธชาติ ดำรงกิจชัยพร โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา
  7. นพ.มนตรี ตู้จินดา โรงพยาบาลเจ้าพระยา / โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ / โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์
  8. นพ.วรวิชญ์ เหลืองเวชการ โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  9. นพ.วรุตม์ ทองใบ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ / โรงพยาบาลสินแพทย์
  10. นพ.วิชาญ บุญสวรรค์ส่ง โรงพยาบาลวิภาราม
  11. นพ.วิทยา อัศวะวิเชียนจินดา โรงพยาบาลพญาไท 3
  12. นพ.วีระพงษ์ จันจงเจริญชัย โรงพยาบาลวิภาวดี
  13. นพ.วีระพงษ์ จันจงเจริญชัย โรงพยาบาลสินแพทย์
  14. นพ.สงวน วงศ์ศรีสุจริต รพ.วิภารามพัฒนาการ
  15. นพ.สาธิต สันตดุสิต โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
  16. นพ.สิระ นันทพิศาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  17. นพ.สุกิจ รุ่งอภินันท์ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
  18. นพ.สุนทร สุนทรชาติ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
  19. นพ.อิสรา บุญสาธร โรงพยาบาลวิภาวดี
  20. พญ.กัญลดา ว่องวรภัทร โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  21. พญ.กานติมา กาญจนภูมิ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  22. พญ.ขนิษฐา ศิริพูล โรงพยาบาล บางปะกอก 1
  23. พญ.จีรารัตน์ บุญสร้างสุข โรงพยาบาลพญาไท 3
  24. พญ.จุฬามณี วงศ์ธีระญานี โรงพยาบาลสมิติเวช
  25. พญ.ฉัฐฐิมา เสาวภาคย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า
  26. พญ.ชนาภรณ์ โมกขมรรคกุล โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  27. พญ.ชัญญรัช ตัณศุภผล โรงพยาบาลรามคำแหง
  28. พญ.ดรุณี ชัยดรุณ โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา
  29. พญ.ทัศลาภา แดงสุวรรณ คลินิกภูมิแพ้โรงพยาบาลเด็ก / โรงพยาบาลพญาไท 3
  30. พญ.ธัชขวัญ อินทปันตี โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  31. พญ.ธิดารัตน์ อัคราช โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น / โรงพยาบาลวิภาวดี
  32. พญ.นภัสยชญ์ ชูศรี โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
  33. พญ.นริดา ถาวรพานิช โรงพยาบาลไทยนครินทร์
  34. พญ.นริศรา สุรทานต์นนท์ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
  35. พญ.นวินดา มหาวิจิตร โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี
  36. พญ.นันทนัช หรูตระกูล โรงพยาบาลสมิติเวช
  37. พญ.ประภาศิริ สิงห์วิจารณ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  38. พญ.ปัญจมา ปาจารย์ โรงพยาบาลสมิติเวช
  39. พญ.ปารวี พรตตะเสน โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการรุณย์
  40. พญ.ปิติยา โรจน์พรประดิษฐ์ โรงพยาบาลสินแพทย์
  41. พญ.ปิยวดี เลิศชนะเรืองฤทธิ์ โรงพยาบาลวิภาวดี
  42. พญ.เปรมวดี อนุรักษ์เลขา โรงพยาบาลกรุงเทพ
  43. พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  44. พญ.พิจิตรา บุญฑริกพรพันธุ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
  45. พญ.เพลินพิศ ลิขสิทธิพันธุ์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  46. พญ.ภัทรา ตันติเจริญวิวัฒน์ โรงพยาบาลสมิติเวช
  47. พญ.ภัสรา นิลายน โรงพยาบาลพญาไท 1
  48. พญ.ยิหวา สุขสวัสดิ์ โรงพยาบาลเวชธานี
  49. พญ.ยุเพ็ญ สมาณาธิกรณ์ โรงพยาบาลรามคำแหง
  50. พญ.รัตนา พิพิธปรีชา โรงพยาบาลเวชธานี
  51. พญ.ลินน่า งามตระกูลพานิช โรงพยาบาลกรุงเทพ
  52. พญ.วรรณนิภา วงศ์รัศมี โรงพยาบาลสมิติเวช
  53. พญ.วรรณวิภา บรรณางกูร โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
  54. พญ.วรรณี ถิรภัทรพงศ์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  55. พญ.วริศรา สิรยานนท์ โรงพยาบาลสินแพทย์
  56. พญ.วิชชญา ศรีสุวัจรีย์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  57. พญ.วิภารัตน์ มนุญากร โรงพยาบาลรามาธิบดี
  58. พญ.วิลาวัณย์ เวทไว โรงพยาบาลพระรามเก้า
  59. พญ.ศศิกานต์ ซื่อศิริสวัสดิ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอนแก่น
  60. พญ.ศิรภัสสร ศรพิพัฒน์พงศ์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  61. พญ.ศิริพร หิรัญนิรมล โรงพยาบาลกรุงเทพ
  62. พญ.สดุดี บุญมี กล้าขยัน โรงพยาบาลขอนแก่น
  63. พญ.สมหญิง อินทรทัต โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
  64. พญ.สวพร สิทธิสมวงศ์ โรงพยาบาลขอนแก่น ราม
  65. พญ.สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ คลินิคบ้านคุณหมอประชาชื่น
  66. พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ โรงพยาบาลสินแพทย์
  67. พญ.สุดาวรรณ ศิริอักษร โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
  68. พญ.สุรีรัตน์ พงศ์พฤกษา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  69. พญ.สุวาณี เจริญลาภ โรงพยาบาลพญาไท 3
  70. พญ.อารีย์ แสงศิริวุฒิ โรงพยาบาลกรุงเทพ
  71. รศ. พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังสี โรงพยาบาลพระรามเก้า
  72. รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ โรงพยาบาลพญาไท 2
  73. รศ.พญ.ปัญจมา ปาจารย์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  74. รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  75. รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  76. ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วิชยานนท์ โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี
  77. ศ.เกียรติคุณ พญ.นวลอนงค์ วิศิษฏสุนทร โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  78. ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ / คลินิคภูมิแพ้ Allergy Clinic Bangkok
  79. ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  80. ศ.พญ.อรทัย พิบูลโภคานันท์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

Mango Yogurt Pop ไอติมโยเกิร์ตมะม่วง คลิปทำอาหารเด็ก เมนูอาหารเด็ก



1682

 

Mango Yogurt Pop ไอติมโยเกิร์ตมะม่วง ที่คุณแม่ทำเองได้ที่บ้านง่ายๆ ในราคาไม่แพง 

 

ดูคลิปทำ Mango Yogurt Pop ไอติมโยเกิร์ตมะม่วง อาหารสำหรับเด็ก ได้ที่คลิปนี้เลย

 
 

 

Mom's Issue EP 17 : Tiktok Brain เลี้ยงลูกด้วยคลิปสั้น ทำลายสมอง

 

Tiktok Brain ผลกระทบจากการดูคลิปสั้น ส่งผลกระทบกับสมองและการเรียนรู้ของเด็กอย่างไรบ้าง แม่ดอยและป้าปอยชวน อจ.ธาม เชื้อสถาปนศิริ มาพูดคุยถึงผลกระทบ พร้อม How To การเลือกคลิป ที่ดูแล้วเป็นมิตรกับการเรียนรู้และสมอง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP 23 (Rerun) : การ์ตูนเด็กไม่ใช่ผู้ร้าย! แค่ต้องเลือก

 

การ์ตูนไม่ใช่ผู้ร้าย แต่ต้องเลือกให้เป็น เลือกอย่างมีหลักการ และกำหนดกติกาในการดู มีวิธีอะไรบ้าง ฟังประสบการณ์จากแม่ดอยและป้าปอยได้ที่

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 24 (Rerun) : นิทานก่อนนอน ช่วยหนูอ่านออก

 

“นิทาน” คือฮีโร่ในสถานการณ์ที่ต้อง Learn from home อย่างแท้จริง

ปรากฎการณ์ Learning Loss ที่เกิดขึ้น ทักษะด้านภาษาเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ขาดหายไป โดยเฉพาะในเรื่องการอ่านที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก

 

ฟังเทคนิคจากแม่ดอยและป้าปอย ที่จะทำให้นิทานช่วยให้เจ้าหนูอ่านออก

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 26 (Rerun) : เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้าน มีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไป ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom’s Issue EP 03. ตอน นิทานเพื่อนหนู รู้อารมณ์

 

จากหนูน้อยอารมณ์ดี...แปลงร่างเป็นหนูขี้วีน ขี้โมโห หนูไม่ไหวแล้วนะ

สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากช่วงวัย ความเครียด ความกังวล ที่เกิดขึ้น ยิ่งช่วงเวลาที่จำกัดพื้นที่ ออกไปไหนไม่ได้ เลยเกิดสงครามย่อมๆ ในบ้าน

 

Mom’s Issues ชวนรับมือและจัดการกับอารมณ์ขี้โมโหของเด็ก บก.แม่ดอยและป้าปอย มีเทคนิคและนิทานดีๆ มาช่วยให้เรื่องโมโห จัดการได้ง่ายขึ้น Simplify your crypto transactions with Trezor Suite Seamless Exchanges, making trading effortless.

 

พบกับ รายการ Mom's Issue ทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน

ติดตามรายการรักลูก podcastได้ที่

Apple podcast: Rakluke Podcast

Spotify: Rakluke Podcast

YouTube Channel: : Rakluke Club