สมัยก่อนมีเพียงทีวี สมัยนี้เราใช้คำว่าหน้าจอ (screen) ซึ่งหมายรวมถึงหน้าจอทุกชนิดทั้งทีวี คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊คแท็บเล็ตสมาร์ทโฟนและบิลบอร์ดตามท้องถนน จะเห็นว่ามีหน้าจอรอบตัวลูก ทั้งในบ้านและนอกบ้าน โดยที่ในบางสถานการณ์เราทำอะไรไม่ได้เลย เช่น บิลบอร์ดตามท้องถนนหรือร้านอาหาร เป็นต้น
ประกาศและคำแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์ทั่วโลกไม่ให้เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบดูหน้าจอเลย ยกเว้นการใช้วิดีโอแช็ทกับพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายตามความจำเป็น
แต่เมื่อปี 2017 สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริก (American Academy of Pediatrics,AAP) ออกประกาศใหม่ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือนดูหน้าจอเลย แต่ไม่เขียนระยะเวลาที่ชัดเจนสำหรับเด็กระหว่างอายุ 18-24 เดือน นอกจากบอกว่าพ่อแม่ต้องเป็นผู้คัดเลือกรายการคุณภาพสูง ดูด้วยกันและช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เห็น
For children younger than 18 months, avoid use of screen media other than video-chatting. Parents of children 18 to 24 months of age who want to introduce digital media should choose high-quality programming, and watch it with their children to help them understand what they're seeing.
สำหรับเด็กอายุ 2-5 ขวบให้ดูได้วันละ 1 ชั่วโมงโดยพ่อแม่เป็นผู้คัดเลือกรายการที่ดีมีคุณภาพสูง ดูด้วยกันช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เห็นและช่วยให้เด็กสามารถปรับใช้กับโลกภายนอก
For children ages 2 to 5 years, limit screen use to 1 hour per day of high-quality programs. Parents should co-view media with children to help them understand what they are seeing and apply it to the world around them.
สำหรับเด็กอายุ 6 ขวบและมากกว่า ให้จำกัดเวลาการใช้และรูปแบบการใช้ดูแลให้แน่ใจว่าไม่รบกวนการนอน สุขภาพร่างกาย และไม่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม
For children ages 6 and older, place consistent limits on the time spent using media, and the types of media, and make sure media does not take the place of adequate sleep, physical activity and other behaviors essential to health.
จะเห็นว่าคำแนะนำทั้ง 3 ระดับเป็นคำแนะนำที่กว้างขวาง บอกเพียงหลักการ ไม่แม้แต่ตีความ สุดท้ายแล้ววิธีปฏิบัติการจะกลับไปที่คุณพ่อคุณแม่วันยังค่ำ
เรื่องการดูหน้าจอในเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ขวบนี้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าแม้เพียงมองผ่านก็ไม่ควรเพราะเด็กมีโอกาสถูกตรึงเอาไว้ได้ง่าย และเวลาน้อยนิดที่เสียไปส่งผลกระทบพัฒนาการมาก ดังนั้นมาตรการยกทีวีออกจากเขตเลี้ยงเด็กมิใช่เรื่องเกินเลย
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล