โรคติดเชื้อไอพีดี (IPD) หรือชื่อเต็มๆ "Invasive Pneumococcal Disease" นี้ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภาและนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย อธิบายว่าเป็น โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่รุนแรง ซึ่งมีมานานแล้ว แต่ไม่เป็นที่รู้จักกันในประเทศไทย โดยเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโต-คอคคัส นิวโมเนียอี หรือเรียกสั้นๆ ว่า นิวโมคอคคัส และโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุค่ะ แต่จะพบบ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีภูมิป้องกันต่อโรคนี้
ลักษณะการติดเชื้อและอาการที่แสดงออก
ไอพีดีเป็นโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในหลายๆ ระบบของร่างกาย และระดับความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ ซึ่งจุดที่พบได้บ่อยคือ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กพิการและเสียชีวิตนั้น เป็นเพราะพ่อแม่ไม่ทราบว่าลูกติดเชื้อไอพีดี เพราะเชื้อชนิดนี้จะแสดงอาการภายนอกเหมือนกับโรคติดเชื้อทั่วไป ทำให้คิดว่าลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา จึงไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่รีบรักษาจะทำให้เด็กเสียชีวิตภายในเวลาอันรวดเร็ว หรือเกิดภาวะพิการ ปัญญาอ่อนได้
วิธีสังเกตว่าเด็กอาจติดเชื้อไอพีดีหรือไม่นั้น ให้สังเกตดูจากอาการต่างๆ เหล่านี้ค่ะ เด็กงอแงมากจนรู้สึกผิดปกติ เวลามีไข้จะมีอาการร่วม เช่น ชัก อาเจียนหรือมีอาการซึม หากพบอาการเช่นนี้ควรสมมติฐานว่าเด็กอาจติดเชื้อไอพีดี และวิธีวินิจฉัยโรคก็สามารถทำได้วิธีเดียวคือการเจาะไขสันหลัง ซึ่งเป็นวิธีที่ยากและพ่อแม่ส่วนมากก็ไม่นิยมที่จะตรวจโดยวิธีนี้กัน
เชื้อนิวโมคอคคัสนี้จะพบทั่วไปในผู้ใหญ่และในเด็กเล็ก ถึงแม้ว่าจะมีสุขภาพแข็งแรงดีก็ตาม โดยพบได้ที่โพรงจมูกและลำคอ ซึ่งอาจไม่มีอาการใดๆ (เป็นพาหะ) แต่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย โดยการไอ จาม ทำให้ละอองเสมหะแพร่กระจายออกไป ซึ่งเป็นการแพร่กระจายในลักษณะเดียวกับโรคหวัด ฉะนั้นเด็กเล็กที่ไม่มีภูมิต้านทานก็จะติดเชื้อได้ง่าย
ใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยง