ออทิสติกเป็นปัญหาของการเสียพัฒนาการในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านภาษา พัฒนาการอารมณ์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัย จัดว่าเป็นการเสียพัฒนาการที่รุนแรง สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี
เด็กออทิสติกจะเป็นลักษณะของการเล่นอยู่ในโลกของตัวเอง เด็กอาจจะชอบทำอะไรซ้ำๆ ชอบสังเกตหรือดูอะไรที่เป็นลักษณะการทำงานซ้ำๆ เช่น พัดลม หรือมีความสนใจเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถ ต้นไม้ หรือว่าสิ่งอื่นๆ รอบตัว ซึ่งอาจจะต่างกันไปในเด็กบางคน นอกจากนั้นในเรื่องการเคลื่อนไหวก็อาจจะมีวิธีการเดินเฉพาะตัวของเด็ก ซึ่งก็แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคนเช่นกัน เช่น การเดินเขย่ง เป็นต้น
ข้อสังเกตลูกน้อยออทิสติก
บำบัดช่วยลูกออทิสติก
Directory : Bangkok Saddle Club ปทุมธานี โทร .089 926 9295, โรงเรียนอนุบาลดอนเมืองบริรักษ์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2928 7793-5
สุนัขช่วยบำบัดด้านจิตใจและคลายความเครียดให้เด็กได้ การใช้สุนัขบำบัดเป็นที่นิยมในกลุ่มของนักบำบัดการพูด เพราะการเลี้ยงสุนัขที่ต้องออกคำสั่งนั้น จะช่วยกระตุ้นให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อในการเปล่งเสียง แล้วการตอบสนองของสุนัขกับคำสั่งนั้น สร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับเด็กได้
Directory: Pet paradise park 5/5 หมู่18 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 0 2448 1282 www.petparadise2004.com
Directory: มูลนิธิ ณ กิตติคุณ “ดนตรีศิลปะ เพื่อบุคคลพิเศษ” 356 ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพ 0 2640 1860 www.nakittikoo-fd.blogspot.com , บ้านพัฒนาการครูอ้อ โทร 081 846 1374, 081 845 5414 www.autismthai.com, บ้านออคิด ศูนย์เด็กพิเศษครบวงจร นวมินทร์40 กรุงเทพ โทร 0 2734 9578, 084 086 8796 , ทอฝัน Special Home School กรุงเทพ โทรศัพท์0 2946 9425, 089 215 0721
Directory: โรงพยาบาลยุวประสาท กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 61 ซอยเทศบาล 19 ถนน สุขุมวิท ตำบลปากน้ำ สมุทรปราการ 10270 โทร 0 2384 3381-3 www.yuwaprasart.com : หรือโรงพยาบาลชั้นนำที่รับเด็กพิเศษเข้ารับการรักษา
เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder - ADHD)
ผลการสำรวจจาก WHO (World Health Organization) เมื่อปี 2006 พบว่าเด็กร้อยละ 5.9 เป็นโรคสมาธิสั้น ถือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าเกิดจากสาเหตุใดแน่ชัด อาจเกิดจากได้รับสารพิษบางประเภท เช่น สารตะกั่ว หรือกรรมพันธุ์จากพ่อแม่ที่มีอาการสมาธิบกพร่อง ลูกก็อาจมีปัญหาเดียวกัน หรืออาจเกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ซึ่งทำหน้าที่คัดกรองสิ่งเร้า ทำหน้าที่บกพร่อง ทำให้เด็กหันไปสนใจสิ่งเร้าที่ไม่เหมาะสมแทนที่จะสนใจสิ่งเร้าที่สำคัญ โดยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) บางอย่างมีลักษณะไม่สมดุล สมองจึงทำหน้าที่ไม่ได้ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเด็กด้อยปัญญา ตรงกันข้ามเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างจะมีสติปัญญาดีด้วยซ้ำ สามารถแบ่งตามอาการแสดงออก คือ
สมาธิสั้น – ขาดความสามารถในการจดจ่อเพื่อรับสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่งให้นานพอที่จะเรียนรู้ได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สมองจะมีความสามารถพิเศษที่จะตัดสิ่งเร้าไม่พึงประสงค์ออกไปได้ และจะรับเฉพาะเรื่องที่สนใจเพียงเรื่องเดียว
ซนมาก– เด็กสมาธิสั้นจะซนกว่าเด็กปกติอย่างเห็นได้ชัด และจะซนเรื่องเดิมได้ไม่นาน มีความเร็วสูง (hyperactive) จึงมักจะมีของแถมเป็นบาดแผลติดตัวอยู่บ่อยๆ ไม่สามารถยับยั้งและควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ อย่างเช่น มักวิ่งชนโต๊ะ แม้จะอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยหรือเจอผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นหน้า เขาก็ยังซนเหมือนเดิม ในขณะที่เด็กทั่วไปจะระวังตัวหรือเกร็งๆ อยู่บ้าง
หุนหันพลันแล่น - ทันทีที่มีอะไรเกิดขึ้นในใจ เขาจะโต้ตอบฉับพลัน ไม่รู้จักรอคอย ไม่รู้จักกาละเทศะ หรือโมโหเพื่อนเมื่อไรก็ใช้กำลังตอบโต้ทันทีเช่น ครูถามว่า "ใครรู้คำตอบบ้างยกมือขึ้น" เด็กปกติจะยกมือ แต่ถ้าเด็กสมาธิสั้นรู้ เขาจะลัดคิวตอบเลย
อาการสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการรักษา จะกลายเป็นปัญหาในตอนโตต่อเนื่อง การเรียนตกต่ำ ใจร้อน ชอบชกต่อย ติดเกม ติดบุหรี่หรือยาเสพติด กลายเป็นคนที่สังคมไม่ยอมรับ เกเรและซึมเศร้าได้ โดยกุมารแพทย์ทุกคนสามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้ ถ้าพบว่าเป็นจึงจะส่งต่อไปรักษา และมีรายงานว่า 1 ใน 3 สามารถหายเป็นปกติ อีก 1 ใน 3 พอโตแล้วก็ยังมีอาการอยู่ ส่วนอีก 1 ใน 3 ยังคงมีอาการอยู่ แต่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
เด็กสมาธิสั้นจะถูกดึงจากสิ่งเร้ารอบตัวได้ง่าย เพราะฉะนั้นโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับทำการบ้าน อ่านหนังสือ ควรจัดให้เป็นสัดส่วน ลดสิ่งรบกวนให้น้อย ปรับสิ่งแวดล้อมให้เด็กอยู่ได้อย่างปลอดภัย ลดสิ่งกีดขวางในบ้านให้น้อยลง นอกจากนั้นพาลูกไปสวนสาธารณะ ให้เขาได้ออกกำลังเพื่อปลดปล่อยพลังงานที่มันเหลือเฟือ พอเหนื่อยมากๆ อาการสมาธิสั้นก็จะดีขึ้น
สังเกตพฤติกรรมลูกสมาธิสั้น
เด็กแอลดี - LD (Learning Disability)
เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน หรือ LD (Learning Disability) คือ เด็กที่มีความยากลำบากในการพัฒนา การฝึกใช้ทักษะ การฟัง การพูด การคิดเลข และการใช้เหตุผล ซึ่งเกิดจากระบบภายในร่างกายของเด็กเองทั้งๆ ที่เด็กมีระดับเชาวน์ปัญญาปกติหรือสูงกว่าเด็กทั่วไป แต่มีบางทักษะ เช่น การอ่าน การเขียน การคำนวณ ที่ต่ำกว่าเด็กที่มีสติปัญญาเท่ากันอย่างน้อย 2 ชั้นเรียน
โดยปัจจุบันมีเด็กไทยที่เข้าข่ายมีปัญหาการเรียนรู้ จนส่งผลให้อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้นี้แล้วกว่า 600,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.5 ของประชากรวัยเรียน และประมาณ 40 % ของเด็กเหล่านี้จะออกจากโรงเรียนก่อนเรียนจบ เพราะไม่ได้รับความเข้าใจทำให้พวกเขาถูกละเลย และถูกมองว่าเป็นเด็กที่มีปัญหาหรือเรียนไม่เก่ง เป็นเด็กไม่เอาไหน ไม่สนใจการเรียน และบกพร่องทางการเรียนรู้
กลุ่มโรค LD นี้เป็นผลโดยตรงมาจากสมอง ในระดับของเซลล์ที่เป็นเส้นใยเครือข่ายประสานกันอาจจะทำงานบกพร่อง ร้อยละ 20 มีประวัติว่าคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีปัญหาขณะตั้งครรภ์หรือขณะคลอด เคยมีโรคติดเชื้อหรืออุบัติเหตุรุนแรงที่สมอง เป็นโรคลมชัก
อาการของแอลดีแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1. อาการด้านการอ่าน (Dislexia) อาจจะอ่านไม่ออก หรืออ่านได้บ้าง แต่สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ ทำให้อ่านแล้วจับใจความไม่ได้
2. อาการด้านการเขียนและการสะกดคำ (Disgraphia) ทั้งๆ ที่รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่ก็เขียนไม่ได้ เขียนตกเขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายขวาเหมือนส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน
3. อาการด้านการคำนวณ (Discalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
นอกจากมีผลกระทบโดยตรงในเรื่องการเรียนแล้ว ในชีวิตประจำวันก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่น บางคนเป็นแอลดีเรื่องทิศทาง สับสนซ้ายขวา หรือด้านการเคลื่อนไหว งุ่มง่าม ชนโน่นชนนี่ เป็นต้น LD ถือเป็นโรคที่ไม่มีทางหายขาด การฝึกฝนอาจจะทำให้ทักษะการอ่าน เขียนหรือคำนวณพัฒนาขึ้นมาได้บ้าง แต่โดยธรรมชาติ วิธีการเรียนรู้ของเด็กแอลดีก็จะแตกต่างจากเด็กอื่นๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือพ่อแม่และครูต้องมีความเข้าใจถึงความแตกต่างและข้อจำกัดของเด็ก จึงจะทำให้เด็กได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
Directory สถานที่บำบัดและรักษาเด็กแอลดี :
เด็กดาวน์ซินโดรม
เด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมจะมีใบหน้าและรูปร่างลักษณะที่จำเพาะ ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยโดยแพทย์และพยาบาลได้ตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะโดยทั่วไปของอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมาและมีลักษณะคับปาก มือสั้น ขาสั้น ตัวเตี้ย มักมีโรคหัวใจพิการ หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด มีลักษณะตัวที่ค่อนข้างนิ่ม หรืออ่อนปวกเปียก มีพัฒนาการล่าช้า ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน และการพูด
สาเหตุของการเกิดเด็กกลุ่มอาการดาวน์เกิดจากความผิดของโครโมโซมชนิด Trisomy 21 ซึ่งเป็นสาเหตุร้อยละ 95% ทีเดียว และมักจะพบปัญหานี้ในคนที่มีอายุมากมากกว่าคนที่มีอายุน้อย โดยในประเทศไทยพบทารกแรกเกิดที่มีกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 1,000 คนต่อปี หรือประมาณ 3 คนต่อวัน และที่น่าสนใจก็คือ ทารกแรกเกิดที่มีกลุ่มอาการดาวน์เกือบทั้งหมด เกิดในครอบครัวที่ไม่เคยมีประวัติคนในครอบครัวปัญญาอ่อนมาก่อน เพราะโรคนี้เกิดจากความบังเอิญของเซลล์ขณะแบ่งตัว ไม่ใช่จากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
เด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม
เด็กแอสเพอร์เกอร์เป็นเด็กประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของเด็กออทิสติก และปัจจุบันนี้เราจะพบเด็ก แอสเพอร์เกอร์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในโรงเรียนปกติเพราะเด็กแอสเพอร์เกอร์นั้นจัดอยู่ในกลุ่มเด็กออทิสติกที่มีความสามารถสูง จึงดูเหมือนเด็กปกติที่ฉลาด แต่มีปัญหาพฤติกรรมแปลกๆ อยู่บ้าง และยังเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทหนึ่งด้วย
การเคลื่อนไหว
เด็กแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวหรือใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ไม่ดีนัก เด็กจึงมักดูงุ่มง่าม ซุ่มซ่าม อวัยวะส่วนต่างๆ ประสานสัมพันธ์ไม่ดีเท่าไร และมีปัญหาด้านการทรงตัว จึงมีปัญหาเวลาเล่นเกม หรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหว และส่งผลกระทบต่อชีวิตในด้านการเขียน กีฬา ศิลปะ ทักษะทางสังคม และอื่นๆ
ระดับสติปัญญา
เด็กแอสเพอร์เกอร์มีระดับสติปัญญาตั้งแต่ระดับปานกลางถึงฉลาดมากก็ได้ เด็กเหล่านี้หลายคนมักไม่มีปัญหาทางการเรียน โดยเฉพาะวิชาที่ต้องอาศัยการจดจำ แต่ปัญหาที่พบบ่อยมักเป็นปัญหาทางสังคมและพฤติกรรมเสียมากกว่า
ภาษาและการสื่อสาร
เด็กแอสเพอร์เกอร์สามารถพูดได้ในวัยที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติ พ่อแม่จึงไม่เห็นความผิดปกติทางการพูดเด่นชัดนัก แถมเมื่อโตขึ้นเด็กแอสเพอร์เกอร์จะมีลักษณะการพูดที่เหมือนผู้ใหญ่ พัฒนาการด้านภาษาพูดจะสูงกว่าวัยเขา อย่างไรก็ตามการพูดของเด็กเหล่านี้จะมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้
พฤติกรรมซ้ำๆ และความสนใจแปลกๆ
เด็กแอสเพอร์เกอร์มักสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ โดยไม่สนใจเรื่องอื่นเลยและจะสังเกตได้เด่นชัดขึ้นเมื่อโตขึ้น ที่เขามักพูดเรื่องที่เขาสนใจอยู่บ่อยๆ โดยไม่สนใจปฏิกิริยาของผู้ฟัง
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
เด็กแอสเพอร์เกอร์จะมีความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมอย่างเด่นชัด ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม เนื่องจากกฎเหล่านี้เป็นเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ของสังคม เขาไม่สามารถเรียนรู้ตามธรรมชาติได้เช่น ไม่รู้ว่าจะต้องยกมือไหว้คนในระดับใดบ้าง