อาการ TICS ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก มักเกิดขึ้นในเด็ก ทำให้กระพริบตาบ่อย กระพริบตาถี่มาก ซึ่งนี่คืออีกหนึ่งอาการผิดปกติของสายตา
อาการ TICS พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 4-8 ปี ส่วนใหญ่จะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง สาเหตุมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ถ้าหากพบอาการ TICS ในวัยผู้ใหญ่โดยที่ไม่เคยมีประวัติของภาวะ TICS ในวัยเด็ก อาจเกิดจากความผิดปกติทางสมอง
อาการ TICS เป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกต้องเคลื่อนใหวร่างกาย เปล่งเสียง หรือเป็นทั้งสองอย่างซึ่งทำให้มีการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า คอ ใหล่ แขน และมือ หรือเปล่งเสียงซ้ำ ๆ มักเป็น ๆ หาย ๆ อาการ TICS มักควบคุมได้ในบางสถานการณ์
เช่น เวลาออกนอกบ้าน ได้พบปะผู้คน จะสามารถควบคุมอาการได้ชั่วคราว แต่จะมีการแสดงอาการมากกว่าปกติเมื่อกลับมาอยู่บ้าน หรืออยู่คนเดียว
1. การเคลื่อนไหว (MOTOR TICS) อาการที่ต้องขยับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ยักใหล่ หรือกระพริบตา ในบางคนจะมีอาการแสดงทางตรงกันข้ามกล่าวคือ จะมีอาการเกร็ง หรือหยดการกระทำ (Blocking TICS)
2. การเปล่งเสียง (PHONIC TICS) อาการที่ต้องเปล่งเสียงออกมาหรือพูดบางคำพูด เช่น กระแอม พูดคำหยาบ
มักพบในเด็กที่ขี้อาย หรือมีความรู้สึกอ่อนไหว ต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิจากผู้อื่น กลัวที่จะทำอะไรผิดหรือไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น เด็กที่พบว่ามีอาการ TICS ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเด็กปกติที่ค่อนข้างฉลาด แต่อ่อนไหวง่าย
เด็กจะมีอาการเพราะคนรอบข้าง ที่ส่วนใหญ่จะตั้งความคาดหวังไว้ค่อนข้างสูง เกินกว่าที่เด็กเองจะทำได้ พบว่าผู้ที่คอยจ้ำจี้จ้ำไช หรือขี้บ่นกับการกระทำของเด็กอยู่ตลอดเวลา หรือคอยที่จะเปรียบเทียบในทางลบอยู่เป็นประจำ
การกระพริบตาบ่อย ๆ หรือการกระตุกของกล้ามเนื้อแก้มที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีการระบายความเครียดของเด็ก ที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น และเป็นไปอย่างไม่ได้กำหนดเอง เพราะเป็นจากจิตใต้สำนึก
ในกรณีที่เด็กเริ่มมีอาการกระพริบตาบ่อย ๆ พ่อแม่ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อให้ช่วยดูว่ามีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของตาหรือไม่ เช่น ขนตาแยงตา ปัญหาภูมิแพ้ทางตา หรือวินิจฉัยแยกโรคจากปัญหาทางกายอย่างอื่น ๆ
โดยช่วยให้ลูกได้มีเวลาว่าง และพักผ่อนได้เพียงพอ เช่น ได้มีโอกาสเล่นตามประสาเด็กกับเพื่อน ๆ เพราะปัจจุบันหลังเลิกเรียน เด็กมักจะไม่ค่อยได้เล่นที่โรงเรียน แต่กลับต้องเรียนพิเศษต่ออีก จึงควรจัดเวลาให้ลูก ในเรื่องการเรียนพิเศษ ไม่ให้มากจนเกินไป
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกินอาหาร การแต่งตัว การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือเรื่องคะแนนสอบที่อาจจะไม่ได้ดั่งใจ แม้ว่าพ่อแม่อาจจะรู้สึกหงุดหงิด และคิดว่าคุณจำเป็นต้องพูดเตือนลูกอยู่เสมอ ๆ แต่ต้องเลือกใช้วิธีอื่น ที่เป็นในเชิงบวกกับลูก
หากคอยดุลูกเรื่องกระพริบตาบ่อย ๆ ลูกก็จะเกิดความเครียดมากขึ้น ยิ่งทำให้กระพริบตาบ่อยขึ้น ให้ทำเป็นไม่เห็นบ้างเพื่อให้ลูกผ่อนคลาย และควรจะบอกคุณครู คุณปู่ คุณย่า และคนอื่น ๆ รอบข้าง ให้ใช้วิธีการเดียวกัน และไม่ล้อเลียนเด็ก
ลูกมีอาการกระพริบตาบ่อย ๆ ลูกไม่ได้แกล้งทำ แต่ที่จริงแล้ว เด็กเองก็ไม่สามารถควบคุมอาการ TICS ได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก ที่จะปลดปล่อยความเครียด ดังนั้นอย่าดุหรือทำโทษลูก เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเครียด ให้กระพริบตามากขึ้นไปอีก
แต่ถ้าพ่อแม่ทำทุกข้อแล้วลูกยังไม่หาายจากอาการ TICS ยังคงมีอาการขยิบตา ย่นจมูก กระตุกมุมปาก บิดคอ ยักไหล่ สะบัดมือ กระตุกมือ ซ้ำ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานนท์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์