LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี
โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็ก โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ทั้งหมด เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
การที่เด็กมีพัฒนาการด้านการเรียนที่ช้ากว่าปกติอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
ซึ่งการแก้ไข ไม่ว่าลูกจะเป็น โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) หรือไม่ พ่อแม่สามารถทำได้ดังนี้
1.ฝึกอ่านเขียนจะทำให้อาการดีขึ้น โดยให้ลูกอ่านเขียนภาษาไทยอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากหัดเขียนตัวอักษรที่ลูกสับสน อย่างน้อยประมาณ 3-5 ตัวต่อวัน และควรฝึกเขียนกันทุกวัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเขียนของลูกค่ะ
2.ปรับการอ่านเขียนเป็นเกมจะยิ่งสนุก เพราะบางครั้งเด็กก็ไม่อยากนั่งคัดตัวหนังสือไปเรื่อยๆ เพียงอยางเดียว ดังนั้น หากเราปรับการเรียนรู้ให้เป็นเกม เช่น การเขียนตัวอักษรให้ตรงกับรูป หรือ จับคู่ภาพกับตัวอักษร ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกสนุกกับการเรียนได้ แต่ขอย้ำว่าให้ทำทีละน้อยแต่บ่อยๆ นะคะ
3.อย่าลืมส่งเสริมศักยภาพด้านที่เด็กทำได้ดี เพราะบางครอบครัวจับเด็กอ่านเขียนจนความสามารถด้านอื่นๆ เช่น ดนตรี ศิลปะ หรือการคำนวณนั้นถดถอย ดังนั้นพ่อแม่ควรส่งเสริมความสามารถด้านอื่นๆ ที่ลูกถนัดด้วยเพื่อให้เป็นความสามารถพิเศษติดตัวเขาไปในอนาคต หรืออาจต่อยอดเป็นอาชีพได้
อันที่จริงแล้วเด็กในวัยชั้นอนุบาล 2 หรือ 3 ยังเป็นวัยที่กำลังเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ การเล่นและการทำกิจกรรมต่างมักจะเป็นหลักมากกว่าการอ่านเขียน จึงไม่แปลกหากลูกจะยังอ่านหนังสือไม่ได้
แต่สำหรับเด็กโตที่อยู่ชั้นประถม 1-2 ขึ้นไป หากยังมีความบกพร่องด้านการอ่านเขียน หรือฝึกแล้วไม่ก้าวหน้าก็อาจพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดและรักษาให้ตรงจุดได้
ข้อมูลโดย : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล