เวลาปกติลูกอาจเป็นเด็กช่างพูดช่างคุย ถามได้ตอบได้ เป็นปกติ แต่พอจับดินสอแล้วดูเหมือนจะเขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ออก นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าลูกมีความบกพร่องด้านการเขียนแล้วละ
ภาวะบกพร่องทางการเขียน หรือดิสกราเฟีย (Dysgraphia) เป็นภาวะหนึ่งที่ส่งผลให้เด็กเรียนรู้ช้า ภาวะบกพร่องทางการเขียน เป็นความบกพร่องด้านหนึ่งของเด็กที่เป็นโรค LD (Learning Disability) หรือภาวะการเรียนรู้บกพร่อง
ลักษณะของเด็กที่มีภาวะการเรียนรู้บกพร่อง หรือ เด็ก LD คือ เด็กที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน และการคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการเรียนรู้ หากลูกมีความบกพร่องทั้ง 3 ด้านนี้จะส่งผลให้การใช้ชีวิตในโรงเรียนของลูกเป็นเรื่องที่ยากลำบาก
1. เขียนผิด
2. เขียนช้า
3. เขียนตัวหนังสือเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน
4. เขียนไม่ตรงเส้นบรรทัด หรือเขียนออกนอกเส้นบรรทัด
5. เขียนตัวหนังสือชิดหรือห่างกันเกินไป
6. จับดินสอผิดวิธี
7. จับดินสอแน่นเกินไป เขียนกด
1. ฝึกการสะกดคำให้ถูกต้อง
2. ฝึกเขียนบนอากาศหรือบนพื้นทราย
3. เล่นทายคำหรือตัวอักษร
4. ฝึกร้อยลูกปัด
5. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยของเล่นบีบ
6. ฝึกให้ลูกคัดลอกคำหรือตัวอักษร
7. ฝึกการเขียนช้าๆ ในกระดาษที่หนากว่าปกติ
8. พ่อแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำสำหรับวิธีแก้เมื่อลูกมีภาวะบกพร่องด้านการเรียนรู้ ดังนี้
แม้ลูกจะมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ เหล่านี้ไม่ใช่ความบกพร่องด้านสติปัญญา หากลูกได้ฝึกฝนทักษะการอ่าน การเขียน และการคำนวณบ่อยๆ รวมถึงได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ก็ช่วยให้ลูกหายจากภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ค่ะ
อ้างอิง :
ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทย
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ กุมารแพทย์โรคระบบประสาท ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยหิดล Rakluke Podcast รายการ รักลูก The Expert Talk