โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝนตลอดจนฤดูหนาว สามารถป่วยได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการของโรคจะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอินฟลูเอนซา (Influenza) มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ A สายพันธุ์ B และสายพันธุ์ C แต่ส่วนใหญ่มักพบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่
1. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1
2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H3N2
3. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
4. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata
ส่วนการแพร่ระบาดมักพบเชื้ออยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย สามารถแพร่ติดต่อกันโดยการไอจามรดกัน หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป บางคนได้รับเชื้อทางผ่านการสัมผัส หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ ของเล่น เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตราย เพราะสามารถกลายพันธุ์ได้ กรณีป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ที่มีอาการไม่รุนแรงมักหายได้เองภายใน 5-7 วัน แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต ได้แก่
อาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A จะมีความใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ แต่อาการรุนแรงจะมากกว่า โดยอาการต้องสงสัยว่าลูกอาจจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เช่น
นอกจากนี้ยังมีอาการรุนแรงและโรคแทรกซ้อนที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวังหากลูกป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เช่น
อาการรุนแรงที่ต้องพาลูกไปพบแพทย์ด่วน !! คือ หายใจเร็ว เจ็บหน้าอก ซึมลง และอาเจียนตลอดเวลา
ภาวะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ขึ้นสมองเฉียบพลัน หรือ ภาวะไข้หวัดใหญ่ขึ้นสมองเฉียบพลัน (Influenza virus associated encephalopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบไม่บ่อยแต่มีความรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตสูง ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และมักเกิดจากเกิดจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มากกว่าสายพันธุ์ B สาเหตุยังไม่ทราบชัดเจน
อาการของภาวะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ชนิดขึ้นสมองเฉียบพลัน ที่มักเกิดในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกของการติดเชื้อได้แก่
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A สามารถหายเองได้ หากมีอาการไม่รุนแรง เช่น เมื่อมีไข้สูงใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว กินยาลดไข้พาราเซตามอล หรือยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำมาก ๆ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะเกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ขึ้นสมองเฉียบพลันอาจต้องใช้ยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในการรักษา รวมกับให้การรักษาตามอาการ เช่น ยากันชัก และยาลดความดันในสมอง ในผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย สงสัยปอดอักเสบหรือมีอาการที่รุนแรงอื่น อาจต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
คำแนะนำจากแพทย์ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จะต้องกินยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการดื้อยา
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีการระบาดทุกปี และจะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจไม่ได้ป้องกันการติด 100% แต่อย่างน้อยก็ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน โอกาสการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตลงได้
อ้างอิง
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต