ไมเกรน คือโรคปวดหัวชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมอาการของโรคได้ คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะปวดหัวรุนแรงข้างใดข้างหนึ่งแบบตุบๆ คล้ายจังหวะการเต้นของหัวใจ บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย สำหรับวัยเด็กอาการปวดหัวจะยาวนานกว่า 1 ชั่วโมง
“หนูปวดเหมือนหัวใจเต้นอยู่ในสมอง” หรือ “หนูรู้สึกเหมือนมีคนมาทุบตุบๆ ที่หัว” คำตอบของเด็กๆ ที่เป็นโรคไมเกรนขณะเล่าอาการให้คุณหมอฟังค่ะ ซึ่งบางคนอาจมีอาการ สายตาพล่ามัว มองเห็นแสงเป็นเส้นๆ หรือได้กลิ่นบางอย่างก่อนที่จะมีอาการปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า ‘อาการนำ’ ซึ่งเด็กที่โตพอรู้เรื่องแล้ว เขาจะรู้เวลาปวดหัวล่วงหน้าประมาณ 15 -20 นาที จากอาการนำนี้
คุณหมอเล่าว่า การวินิจฉัยโรคไมเกรนในเด็กทำค่อนข้างยาก เพราะเด็กๆ มักบอกอาการที่แน่นอนไม่ได้ ต้องใช้การซักประวัติอย่างละเอียด เพราะอาการปวดหัวสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ ปวดฟัน สายตาสั้น ไข้สมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
อาการปวดของโรคไมเกรนค่อนข้างทรมาน โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นกับเด็กวัยเรียน ที่เขาเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสังคมในโรงเรียน ความเครียดส่งผลให้เด็กปวดหัวเป็นโรคไมเกรน ทำให้เด็กต้องการนอนพัก ไม่อยากพูด ไม่อยากทำงาน ถ้าเป็นบ่อยครั้งอาจส่งผลต่อการเรียน เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน สุขภาพร่างกายแย่ลง
1. ลูกมักบ่นปวดหัว ทั้งที่ลูกมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและ ไม่มีปัญหาเรื่องสายตา
2. ปวดหัวบริเวณขมับ หรือหน้าผาก แต่ละครั้งนานเกิน 1 ชม.
3. ลูกบอกว่ามองเห็นแสงเป็นเส้นๆ หรือได้กลิ่นบางอย่าง ก่อนที่จะมีอาการปวดหัว
4. สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคไมเกรน
“ในเด็กเราอยากให้เขาหายโดยธรรมชาติ ไม่อยากใช้ยารักษามากนัก แต่ถ้าปวดหัวรุนแรง ปวดบ่อย นอนพักแล้วยังไม่หาย ก็อาจต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์ไม่แรงเกินไปสำหรับเด็ก เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้แพ้บางชนิด ยาแก้เครียด ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ค่ะ” คุณหมออรุณศรี อธิบายด้านการรักษาคุณหมอมีคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่ เป็นโรคไมเกรน ดังนี้
พญ.อรุณศรี สันติธนานนท์ กุมารแพทย์ประสาทวิทยา โรงพยาบาลพญาไท 2