โรคเจ้าถิ่นก็ต้องระวังตัว โรคอุบัติใหม่ก็ต้องรับมือ ฟังสาเหตุ อาการ และการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อที่มักจะเกิดขึ้นกับเจ้าตัวเล็ก โดย พญ. กฤตพร พรไพศาลสกุล แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลนวเวช
ในช่วงฤดูหนาวจะมีโรคที่พบได้บ่อยอยู่ 4-5 โรค แบ่งเป็นระบบต่างๆ ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหารและอีกอย่างคือไข้ออกผื่น ในระบบทางเดินหายใจก็จะมีทั้งไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และที่ยังมีอยู่ในทุกวันนี้ก็คือ โควิด ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยทั้ง 3 โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อกันทางเดินหายใจผ่านสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ทั้งน้ำมูก เวลาไอจามใส่กัน
เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เป็นกันอยู่บ่อยๆ ที่รู้จักกันดีเป็นการติดเชื้อไวรัส ซึ่งไวรัสไข้หวัดมีหลายชนิดบางคนเป็นแล้วเป็นอีกได้ การติดต่อกันคือติดต่อกันผ่านทางการไอ จามใส่กันหรือสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรงหรือโดยอ้อมสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วยก็ทำให้มีอาการได้
ซึ่งในเด็กอาการก็จะเหมือนไข้หวัดที่เรารู้จักทั่วไปที่เวลาคุณหมอถามว่าเป็นอะไร เป็นหวัด คือมีไข้อาจจะไข้สูงหรือไข้ต่ำก็ได้ มีน้ำมูก มีไอ มีเสมหะหรือไอแห้งๆ ก็ได้ บางคนถ้ามีไข้สูงมากก็จะมีอาการปวดศีรษะตามมาได้ ส่วนการรักษาไม่ได้มีการรักษาเฉพาะรักษาตามอาการเพราะว่าเป็นเชื้อไวรัสหายได้เองแต่ต้องใช้เวลา 3-5 วัน อาการมักไม่ได้รุนแรงมากหายได้เอง
อาการจะคล้ายไข้หวัดแต่จะรุนแรงกว่า อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวได้ หรือในบางคนอาจจะมีอาการทางระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย อาเจียน ร่วมด้วย ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาอะไร
แต่ในคนกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้คือเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีหรือหญิงตั้งครรภ์ คนอ้วน คนที่มีโรคเรื้อรัง โรคปอด โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ ก็จะถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเราก็จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัสยาโอเซลทามิเวียร์เพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่
จริงๆ อาการแยกค่อนข้างยากเพราะอย่างที่บอกว่าเป็นอาการทางเดินระบบทางเดินหายใจเหมือนกันส่วนใหญ่จะมาคล้ายๆ กัน ไข้สูง ไอ มีน้ำมูก มีเจ็บคอ เสียงแหบร่วมด้วยได้ แต่โควิดก็จะมีอาการเฉพาะเพิ่มเติมอย่างเช่น ไม่รู้รส ไม่ได้กลิ่น หรือได้ประวัติเพิ่มเติมว่าไปสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อหรือไปพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
แล้วก็ทำให้สงสัยว่าเป็นโควิดมากขึ้นอย่างที่บอกว่าแยกโดยอาการค่อนข้างยากจะต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยแยกจากโรคไข้หวัดหรือโรคไข้หวัดใหญ่
โรคโควิดในเด็กอาการมักจะไม่ค่อยรุนแรง อาการมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการเลยจนถึงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่ถ้าอาการที่จะพัฒนาถ้าจะรุนแรงก็จะสังเกตเห็นได้ภายใน 3-5 วัน ดูจากอาการเขาเป็นหลักส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนไข้หวัดมีไอ น้ำมูก หรือเจ็บคอคัดจมูก
หรือบางคนที่บ่งบอกว่ามีอาการปอดติดเชื้อก็อาจจะมีหายใจหอบเหนื่อย ถ้าเด็กที่เคยร่าเริงเล่นดีๆ ก็อาจจะซึมลง ไม่ค่อยเล่น กินได้น้อยลง สังเกตได้จากอาการเขา เด็กบางคนก็จะลงปอดกับไม่ลงปอด ถ้าไม่ลงปอดอาการก็จะอยู่ในช่วง 10-14 วัน ก็จะดีขึ้นใช่ไหม จริงๆ โควิดอาการอาจจะเป็นไม่นานประมาณ 3-5 วัน 10-14 วัน เป็นระยะที่ต้องแยกตัวจากคนอื่น
ผลกระทบกับปอด
จริงปอดอักเสบจากเชื้อโควิดก็เหมือนกับปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสทั่วๆ ไปก็คือต้องใช้เวลา อาการจะดีขึ้นก่อนภาพเอ็กซ์เรย์ปอดส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 1-2 อาทิตย์ ส่วนเอ็กซ์เรย์ปอดต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือนกว่าภาพจะดีขึ้น ส่วนใหญ่ไม่ถึงขั้นเป็นโรคไม่ส่งผลตามมาว่าเป็นปอดเรื้อรัง ประมาณ 1-2 อาทิตย์อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้น รอเวลาให้ปอดรักษาตัวให้ตัวโรคดีขึ้นส่วนใหญ่ก็จะหายเป็นปกติไม่ค่อยทิ้งรอยโรคไว้
อาการหลังจากโควิด (Long Covid) เด็กเป็นไหม
ส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้ถ้าเป็นเด็กแข็งดีไม่ได้มีโรคประจำตัว ไม่ได้มีโรคปอดเรื้อรังอยู่เดิมส่วนใหญ่ไม่ได้ทิ้งรอยโรคไว้
โรคท้องเสียจากโรต้าไวรัส โรคท้องร่วงในเด็กเกิดได้จากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียแต่ที่เป็นปัญหาเยอะๆ ในประเทศไทยก็คือจากเชื้อโรต้าไวรัสส่วนใหญ่มักจะรุนแรงโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ตามชื่อโรคเลยติดจากเชื้อไวรัสโรต้าจะทำให้มีอาการไข้สูง ในเด็กเล็กบางคนอาจจะมีไข้สูงและชักได้ และมีอาเจียนนำมาก่อน มีท้องเสียถ่ายเหลวเป็นน้ำตามมา ถ้าอาการรุนแรงมากๆ ถ่ายเหลวเยอะๆ ก็จะทำให้มีภาวะขาดน้ำถึงขั้นช็อคได้อาจจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
สำหรับการรักษาคือเหมือนกันติดจากเชื้อไวรัสไม่มียารักษาเฉพาะเป็นการรักษาตามอาการดูตามอาการเป็นหลักคือถ้ามีอาการขาดน้ำไม่มากก็อาจจะให้เป็นเกลือแร่แล้วก็กลับไปสังเกตอาการที่บ้าน หรือถ้าถ่ายเหลวเยอะๆ ไข้สูงมากๆ ก็อาจจะรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือทดแทนจากที่ถ่ายเหลวออกไป
แต่โรต้าไวรัสในปัจจุบันเราสามารถป้องกันได้คือการฉีดวัคซีน และนมแม่ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ สำหรับวัคซีนโรต้าเริ่มให้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 2 เดือน ถ้าให้ครบ 2-3 เข็มแล้วแต่ยี่ห้อก็จะช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันลดโอกาสการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ วัคซีนไม่ได้ป้องกันไม่ให้เกิดโรคไม่ใช่หยอดวัคซีนไปแล้วจะไม่ติดเลยแต่จะช่วยลดความรุนแรงของโรค
โรต้าไวรัสอยู่ตามสิ่งแวดล้อมเลยจะติดผ่านทางการกินอาหาร การป้องกันคือดูแลรักษาความสะอาดมือ สิ่งของ เช็ดของเล่นทำความสะอาด งดใช้ของเล่นหรือสิ่งของร่วมกับผู้อื่นในช่วงที่มีอาการระบาดก็ช่วยป้องกันได้ เน้นว่าต้องล้างมือ hand hygiene และสุขลักษณะที่ดี
ปีนี้ที่ผ่านมาปกติแล้วตัวไข้หวัดใหญ่กับไข้หวัดมักจะมีเยอะในหน้าฝนกับหน้าหนาว ซึ่งฤดูฝนที่ผ่านมาแทบไม่ค่อยเจอไข้หวัดใหญ่เลย อาจเป็นเพราะทุกคนตระหนักว่าการใส่แมส ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง อีกอย่างที่สำคัญคือไข้หวัดใหญ่เรามีวัคซีนสามารถฉีดป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ ถ้าทุกคนทำตามนี้โอกาสที่จะเกิดโรคหรือแพร่กระจายโรคก็จะลดลงได้เยอะ
โรคสุกใสหรืออีสุกอีใสจากเชื้อไวรัสชื่อว่า Varicella ติดต่อผ่านทางอาการหายใจรดกัน ไอจามใส่กันหรือสัมผัสถูกตัวผู้ป่วยก็จะทำให้ติดต่อโรคกันได้ ซึ่งลักษณะอาการก็คือเด็กจะมีไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก พอมีไข้สัก 2 วัน ก็จะมีตุ่มขึ้นในช่วงแรกจะเป็นเม็ดแดงๆ เล็กเป็นผดก่อน หลังจากนั้นลักษณะเด่นของไข้สุกใสก็คือมีมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามตัว ผื่นจะขึ้นที่บริเวณลำตัวก่อนแล้วก็จะไปที่หน้าที่แขนขาตามลำดับ
วัคซีนโรคสุกใส
มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้เริ่มฉีดตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม เข็มแรกฉีดตอน 1 ขวบขึ้นไป เข็มที่สองฉีดกระตุ้นช่วง 2-4 ขวบ แต่ว่าถ้าเด็กที่อายุน้อยกว่า 13 ปี สามารถฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 เดือนได้ แต่ถ้าเกิน 13 ปีไปแล้วให้ฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน
เป็นแล้วจะไม่เป็นอีกความเชื่อนี้จริงไหม
สุกใสเป็นแล้วถือว่ามีภูมิคุ้มกันแต่ว่าเชื้อมันจะไม่ได้หายไป เชื้อจะไปหลบซ้อนตามปมประสาทของร่างกาย ถ้าวันไหนที่ร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันตกลงอาจจะเป็นซ้ำได้ ถ้าในคนภูมิคุ้มกันบกพร่องมีโรคประจำตัวอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้ถ้าในคนที่แข็งแรงเกิดอ่อนเพลียพักผ่อนไม่เพียงพอจะกลับมาเป็นซ้ำได้แต่มาในรูปแบบของงูสวัสเป็นเชื้อตัวเดียวกัน
สุกใสสามารถติดกันได้ง่ายแค่หายใจใส่กันก็สามารถติดได้แล้ว ซึ่งช่วงนี้โรงเรียนทยอยเปิดเด็กไปอยู่รวมกันถ้ามีเด็กคนหนึ่งเป็นไปเล่นด้วยกันเล่นของเล่นน้ำลายหรือถูกตัวกันโอกาสแพร่กระจายในกลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มเด็กด้วยกันก็จะง่ายมาก
ภาวะแทรกซ้อนของสุกใสจะไม่ค่อยรุนแรงมาก ถ้าเป็นตุ่มน้ำใสตามตัวบางคนไปแกะหรือเกาก็อาจจะติดเชื้อแบคทีเรียตามตุ่มแผลตามมาได้ ถ้ารุนแรงหน่อยก็อาจติดเชื้อเข้ากระแสเลือด หรือบางคนอาจจะมีปอดอักเสบหรือสมองอักเสบได้ถ้ารุนแรงขนาดนั้นก็มีโอกาสเสียชีวิตได้
แต่ว่าเจอน้อยมากๆ ช่วงนี้สุขอนามัยดีจะไม่ค่อยเจอ เน้นย้ำเรื่องการล้างมือถ้าช่วงไหนมีการแพร่ระบาดหรือถ้าพ่อแม่ทราบว่าบุตรหลานของตัวเองเป็นสุกใสก็ให้หยุดเรียนแยกตัวจากคนอื่นก็จะช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อ
โรคหัดเป็นไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่ง อาการช่วงแรกจะมีไข้ 3-4 วัน อาการจะเหมือนไข้หวัดนำมาก่อน มีไข้ มีน้ำมูก มีตาแดง ไข้สูงสัก 3-4 วันก็จะเริ่มมีผื่นขึ้น ซึ่งลักษณะผื่นจะขึ้นบริเวณไรผมหลังใบหูก่อนค่อยลามมาที่คอลำตัวแขนขาพอผื่นลงถึงขาไข้ก็จะลดลง ผื่นก็จะค่อยๆ หายไปแต่ว่ามันจะทิ้งรอยคล้ำไว้ใช้เวลาเป็นปีกว่าจะค่อยๆ จางลงไป
ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กอายุ 2- 14 ปี เจอบ่อยในช่วงหน้าหนาวมกราคม-มีนาคม แต่จะไม่ค่อยเจอในเด็กเล็กๆ ช่วง 6-8 เดือน เพราะว่าเรายังมีภูมิคุ้มกันที่ได้จากคุณแม่อยู่ก็จะไม่เจอในเด็กเล็กมากๆ จะเจอในช่วงเด็กโตเช่นเดียวกันโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งในปัจจุบันวัคซีนหัดเยอรมัน คางทูม อยู่ในวัคซีนพื้นฐานของเด็กไทยทุกคนต้องได้อยู่แล้วตั้งแต่ 9 เดือน ถึง 1 ปีในเข็มแรกช่วยลดโอกาสการเกิดโรคและช่วยลดการแพร่ระบาดและการกระจายของเชื้อได้ ปัจจุบันกระตุ้นเข็ม 2 อีกทีหนึ่งประมาณขวบครึ่ง
ที่คุณหมอพูดมาโรต้าไวรัส สุกใส หัดหรือหัดเยอรมันมีวัคซีน ถ้าให้วัคซีนพื้นฐานอย่างต่อเนื่องอาการพวกนี้ก็จะพบน้อยลง
จริงๆ ทุกวันนี้ทุกคนทำอยู่ถือว่าเป็นมาตรการที่ดีมากๆ แล้วทั้งการใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือพกเจลแอลกอฮอล์ ล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือน้ำสบู่ รวมถึงการเว้นระยะห่างจากคนสู่คนเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ก็จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้
นอกจากนี้คือการทำร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ ก็จะช่วยทำให้ร่างกายเราแข็งแรงและช่วยให้ปลอดจากสภาวะอื่นๆ ได้ ติดตามข่าวสารอัพเดทตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นโรคโควิดหรือโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
วิตามินเสริมอาจไม่จำเป็นเลยถ้าเด็กคนนั้นสามารถรับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย การทานอาหารครบ 5 หมู่ก็ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ เพราะฉะนั้นพวกวิตามินอื่นๆ รวมถึงวิตามินซีก็อาจไม่ได้จำเป็น
ถ้าลูกไม่กินผักผลไม้เลย สามารถกินวิตามินทดแทนได้ไหม
จริงๆ มันเทียบไม่ได้ ถ้ากินอาหารมันดีกว่าเน้นย้ำว่ากินครบ 5 หมู่ ถ้ามันจำเป็นจริงๆ กินไม่ได้การกินวิตามินซีช่วยด้วย ถ้าเป็นไปได้กินผักผลไม้ตามธรรมชาติในชีวิตประจำวันให้ครบ 5 หมู่จะดีกว่า
โรคไข้หวัดหรือโรคติดเชื้อไวรัสอาการจะดีขึ้นใน 3-5 วัน ถ้าสมมติว่าอาการเบื้องต้นเช่น ไข้ ไอ น้ำมูก หากมียาสามัญประจำบ้านให้กินยาเบื้องต้นได้ก่อน
มีไข้ก็ใช้การเช็ดตัว เช็ดตัวสามารถได้ตลอดไม่ต้องทุก 4 ชั่วโมงเหมือนยาลดไข้ หรือว่าเช็ดตัวแล้วไข้ยังไม่ลงก็ใช้ยาลดไข้ช่วย หรือถ้ามีน้ำมูกมีเสมหะการดื่มน้ำอุ่นเยอะๆ คือยาที่ดีที่สุดคือช่วยลดเสมหะ
ถ้า 3-5 วันไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เริ่มมีน้ำมูกหรือเสมหะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวหรือข้นมากขึ้น เริ่มสังเกตว่าน้องมีอาการหายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ซึม ไม่ค่อยเล่น กินข้าวไม่ค่อยได้อันนี้อาจเป็นอาการที่จะต้องพามาตรวจที่โรงพยาบาลว่ามีอะไรแทรกซ้อนนอกจากเชื้อไวรัสหรือเปล่า
โดยส่วนใหญ่เชื้อไวรัสประมาณ 3-5 วัน ก็จะดีขึ้นถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างเช่นติดเชื้อแบคทีเรียตามมาก็จะเป็นประมาณที่ 3 วันขึ้นไป
เน้นย้ำการไปเที่ยวหรือออกนอกบ้าน ต้องใส่หน้ากากอนามัยล้างมือและการเว้นระยะห่างจากครอบครัวอื่นๆ เน้นสุขอนามัยที่ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นเยอะๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เอาเชื้อจากนอกบ้านเข้ามาหรือไม่เอาเชื้อจากเราไปสู่คนอื่น
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u