“เด็กผ้าหลากสี” เด็กไม่ใช่ “ผ้าขาว” พ่อแม่อย่าเข้าใจผิด ลูกมีสีพื้นเฉพาะตัว มีพื้นฐานอารมณ์เฉพาะตัว บางคนอาจจะมีสีโทนเย็น บางคนโทนร้อน ลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์นี้เองที่บ่งบอกเด็กมีความหลากหลาย พ่อแม่ต้องมีศิลปะในการเลี้ยงดู เพื่อลดแรงกระแทกในครอบครัว เพราะถ้าไม่เข้าใจ เขาจะทำตรงกันข้ามกลายเป็นความขัดแย้งในครอบครัว โดย รศ. นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
ที่เขาใช้คำว่า เด็กคือผ้าขาว เป็นการเปรียบเปรย ว่าผ้าสีขาว บ่งบอกถึงความใสบริสุทธิ์ เด็กทุกคนที่เกิดมาเหมือนจิตประภัสสร มีความใสบริสุทธิ์ ยังไม่มีมารยา ยังไม่เข้าใจอะไรโลกสักเท่าไหร่ มันเป็นเชิงสัญลักษณ์ แล้วผู้ใหญ่ในยุคเดิมๆ ก็จะบอกว่าลวดลายต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผ้าเหล่านี้ เกิดจากการเลี้ยงดู เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น เลี้ยงดูใช้ความรุนแรง ก็อาจจะเทสีใส่เข้าไปเป็นโทนร้อน แล้วเกิดลวดลายเป็นระเบียบ ลวดลายเละเทะเลย แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งที่หมอส่งสัญญาณเพิ่มคือ เวลาที่เด็กเกิดมา ตั้งแต่เกิดมาเลย พื้นฐานอารมณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน มีมาตั้งแต่เกิด เด็กบางคนร้องแป๊บเดียว เด็กบางคนร้องยาว คุณพ่อคุณแม่คงเคยสังเกตเห็นในทางการแพทย์เรามีการวินิจฉัยว่าร้อง โคลิค คือ พอคลอดออกมาได้สัก 3 สัปดาห์ขึ้นไป ก็สามารถที่จะร้องยาวไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง เริ่มประมาณสามทุ่มไปจนถึงเที่ยงคืน แล้วไม่พอท่าอุ้มของพ่อแม่ที่ลูกจะหลับ บรรยากาศในห้องแสงไฟสลัวๆ แสงไม่วูบวาบ อุณหภูมิ ต้องไม่กระตุก เสียงต้องไม่กระตุก ถ้าทุกอย่างกระตุกขึ้นมาปุ๊ป ต้องกลับไปนับ 1 ใหม่ กว่าจะหายจากสภาวะโคลิคก็ประมาณ 3 เดือน
จะเห็นเลยว่าพื้นฐานอารมณ์เด็กไม่เหมือนกัน แม้แต่คู่แฝดก็ไม่เหมือนกัน เปรียบให้ชัดมากขึ้นอีก หมอเชื่อว่าเวลาที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปฉีดวัคซีน เด็กบางคนมาถึงที่คลินิกหรือโรงพยาบาลก็จะยิ้ม ร่าเริง สดใส พอหมอหรือพยาบาลฉีดยาให้ก็จะร้อง แต่ร้องแป๊บเดียว พอได้ของเล่นก็หยุด เล่นหัวเราะ เหมือนเจ็บแป๊บนึง แต่บางคนแค่แม่หยิบเล่มชมพูที่บ้านยังไม่ทันมาที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเลย แค่หยิบเล่มชมพูลูกเกิดการเรียนรู้ว่าอีกไม่นานฉันจะเจ็บตัว เกิดการร้องตั้งแต่ที่บ้าน มือเกาะเป็นตีนตุ๊กแก เกาะแบบต้องแงะทีละนิ้ว ทั้งหมดนี้ยังมาไม่ถึงโรงพยาบาลนะยังอยู่ที่บ้าน
สภาวะการแบบนี้ พื้นฐานอารมณ์แบบนี้ จึงทำให้แบ่งเด็กออกมามีความหลากหลาย นี่คือเชิงสัญลักษณ์อันนึงที่หมอส่งสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่ ว่าเด็กไม่ใช่ผ้าขาวอย่าเข้าใจผิด หมอไม่ได้ปฏิเสธว่าเด็กทุกคนเกิดมาใสบริสุทธิ์ หมอก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าลวดลายที่เกิดขึ้น บนผ้าผืนนั้นมันเกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม แต่หมอส่งสัญญาณเพิ่มให้พ่อแม่ว่า ลูกของคุณแม่มีพื้นฐานอารมณ์หรือผ้าสีของเขา สีพื้นทั้งผืนของเขาอาจจะเป็นสีเหลือง บางคนอาจจะเป็นสีโทนเย็น สบายๆ สมาธิเยอะ บางคนสมาธิสั้น อันนี้เป็นลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ที่แบ่งเด็ก
สำหรับพ่อแม่ต้องรู้ว่าลูกของตัวเองเป็นแบบไหน
คุณพ่อคุณแม่เวลาเลี้ยงลูกไปก็จะเรียนรู้ไปกับลูก หมอใช้คำว่าศิลปะการเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์ พูดง่ายๆ คือถ้าเอาแบบของคนพี่มาใช้กับคนน้องต้องมีการปรับประยุกต์ คือถ้ามาแบบจัดเต็มเหมือนกัน วิธีเดียวกันเลยมันอาจจะไม่ได้ผล บางคนอาจจะได้ผลในทิศทางหนึ่ง แล้วเราก็จะเริ่มเปรียบเทียบ ทำไมแกไม่เหมือนพี่เลย สัญญาณนี้คือที่หมอบอกว่าเด็กไม่ใช่ผ้าขาวอย่าเข้าใจผิด เพราะหมอต้องการให้คุณพ่อคุณแม่เรียนรู้อย่างน้อย 2 เรื่อง
1.อย่าเปรียบเทียบลูก
เพราะลูกทุกคนที่เกิดมานั้นเขาใสบริสุทธิ์แต่เขาอยู่บนผ้าสีพื้นที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจะมาเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าทำไมไม่ฉลาดเหมือนน้อง ทำไมไม่ฉลาดเหมือนพี่ หรือไปเปรียบเทียบบ้านนู้นอีก อันนี้ยิ่งแย่ หยุดการเปรียบเทียบ ถ้าจะเปรียบเทียบกรุณาเปรียบเทียบกับตัวเขาตอนทำไม่ได้กลายเป็นทำได้ กลายเป็นทำเก่ง ทำเรียบร้อย เปรียบเทียบกับตัวเอง พัฒนาการที่เพิ่มขึ้น และลูกก็จะมีกำลังใจที่สำคัญ เป็นการชมเชยในเชิงบวก ในเชิงจิตวิทยาด้วย
2. พื้นฐานอารมณ์ต่างกัน
อีกอันที่สัญญาณว่าเด็กไม่ใช่ผ้าขาว หมอต้องการบอกว่าเมื่อพื้นฐานอารมณ์ต่างกันแบ่งแบบหยาบนะ จริงๆ มีทั้งนพลักษณ์เก้า สีสัน แล้วยังมาผสมสีกันได้ ตัวอย่าง คนนี้โทนผ้าสีเหลือง อีกคนโทนผ้าสีแดง แบบสมาธิสั้น เวลา Reaction เรียกว่าออกปฏิกิริยาก็ออกจัดเต็มเหมือนละครก็เป็นนางร้ายทำนองนั้น บางคนเหลืองมาบวกแดงกลายเป็นส้ม บางคนน้ำเงินมาเจอกับแดงกลายเป็นม่วง คือสีแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงแบ่งเด็กออกมาแบบหยาบๆ แบบ ที่พ่อแม่เข้าใจง่ายๆ เลย
ที่หมอเขียนไว้ในลักษณะเด็กไม่ใช่ผ้าขาวโปรดอย่าเข้าใจผิด คือพื้นฐานอารมณ์แบ่งออกมาเป็นเด็กเลี้ยงง่าย โชคดีของโลกใบนี้ที่ส่วนใหญ่เด็กจะเลี้ยงง่าย แต่เลี้ยงมาเลี้ยงไปกลายเป็นกบอันนี้ไม่รู้เรื่องนะ อันนั้นค่อยว่ากัน
จุดสตาร์ทครึ่งหนึ่งเป็นเด็กเลี้ยงง่าย แล้วเมื่อมีเด็กเลี้ยงง่าย ลักษณะของเด็กเลี้ยงง่ายสังเกตไหมว่าเป็นอย่างไร สั่งให้ซ้ายก็หันซ้าย สั่งให้ขวาก็หันขวา สั่งให้นั่งให้เรียบร้อยก็นั่งเรียบร้อย ปรับตัวง่ายเวลาไปบริบาลไปโรงเรียนปลอบใจนิดหน่อยก็สามารถเดินเข้าโรงเรียนได้แล้วสามารถ เล่นกับเพื่อนได้ สุขภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้ากับคนง่าย แบบนี้พ่อแม่ชอบไหม ชอบ หมอไม่คิดว่ามีพ่อแม่คนไหนไม่ชอบ แต่โลกใบนี้ไม่ได้มีแต่เด็กเลี้ยงง่าย
เมื่อมีเลี้ยงง่ายก็ต้องมีเด็กเลี้ยงยาก สั่งให้ซ้ายหันขวา สั่งให้ขวาหันซ้าย สั่งให้นั่งให้เรียบร้อยไม่มีทาง สั่งให้กินไม่กิน บอกอย่ากินเลยลูกวิ่งไปกิน แบบนี้คือสภาพลักษณะของเด็กที่เลี้ยงอยาก กลุ่มในลักษณะของเลี้ยงยากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโคลิค ลักษณะอาการที่พ่อแม่สังเกตเห็นได้เลย เช่น มีน้องโคลิคแบบนี้เลี้ยงยากมาก จะดูว่าเด็กเลี้ยงยากหรือง่าย สามารถดูได้ตั้งแต่ 3 สัปดาห์แรกก็เริ่มสังเกตเห็นแล้ว
ถ้าตอนนี้มีคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกฟังอยู่ มันจะเป็นเส้นบางๆ ได้นิดนึงว่าลูกเราอยู่ในเกณฑ์เลี้ยงยากหรือเลี้ยงง่าย ก็จะเริ่มเห็นบ้างเวลาที่เขาไม่ได้ดั่งใจ เขาร้องนาน ยาวนานขนาดไหนเราจะเริ่มสังเกตเห็น เช่น เวลาเราฝึกการกิน วิถีชีวิตของเด็กเล็กๆ ก็จะมีแค่กินกับนอน ไม่ได้กินดั่งใจ หรืออาจจะมีเรื่องอึฉี่เสร็จจะให้เปลี่ยนผ้าอ้อมร้องยาว เสียงเข้มมาก ดังมาก 3 บ้าน 4 บ้านได้ยินหมด เราจะสังเกตเห็นอากัปกิริยาเหล่านี้
แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จรูป ต้องติดตามต่อๆ ไปเรื่อยๆ เช่น พอพัฒนามาเป็นเด็ก 4-5 เดือน เริ่มมีอัตตาของตัวเอง เด็กหลัง 6 เดือนขึ้นไป มีตัวตนของเขาที่สามารถแยกได้ว่านี่คือฉันนั่นคือแม่ ตอนนี้แหละจะเริ่มมีอัตตาเป็นตัวของตัวเองสูง ก็จะลองภูมิพ่อแม่มากขึ้น เพราะฉะนั้นกลุ่มเด็กเลี้ยงยากก็วัดใจพ่อแม่กันพอสมควร
ถ้าเลือกได้ใครๆ ก็อยากได้เด็กเลี้ยงง่าย เพียงแต่เราเลือกไม่ได้ เพราะออกมาก็ต้องรับมือหมดแล้ว พ่อแม่รักลูกทุกคน เพียงแต่ว่าเวลาเจอเด็กเลี้ยงอยาก ความอึดอดทน การให้อภัย การเสียสุข มาเต็มสำหรับพ่อแม่ อึดมาก ทุ่มเท การทุ่มเทต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นต้องมีศิลปะด้วย เพราะถ้าไม่มีศิลปะแรงกระแทกมันเยอะ เพราะเขาทำตรงกันข้าม
แต่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกที่มีพื้นฐานไปทางโทนร้อน แล้วเลี้ยงยาก ฟังหมอเดวแล้วท่านสบายใจอยู่อย่างหนึ่ง แม้ว่าอาจจะต้องใช้พลังเยอะมาก อึดอดทน ในการดูแล แต่บอกอยู่อย่าง ความคิดนอกกรอบ ความคิดแบบสร้างสรรค์ น้อยที่จะเกิดในกลุ่มเด็กเลี้ยงง่าย แต่ในกลุ่มเด็กเลี้ยงยากจะแหกกฎ แหกกรอบ หลายคนที่มีชื่อเสียงระดับโลกถ้าไปดูปูมชีวิตของเขาไม่ได้มาจากเด็กเลี้ยงง่ายเลย แม้กระทั่งที่เราเล่น Podcast / Youtube อยู่ วิวัฒนาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากเด็กเลี้ยงง่าย เกิดขึ้นจากเด็กเลี้ยงยาก
Start up ส่วนใหญ่มาจากพวกที่ไม่อยู่ในกรอบ เพราะพวกนี้ก็สร้าง High Value Added คุณจะเป็นไทยแลนด์ 4.5 / 5.0 ไม่ได้ฝีมือด้วยเด็กเลี้ยงง่าย แต่มันฝีมือเด็กเลี้ยงยาก อันนี้พ่อแม่ภูมิใจไว้นะคือท่านกำลังได้โจทย์ที่ท้าทาย เพียงแต่เลี้ยงไปเลี้ยงมาอย่าบาดเจ็บแล้วกัน
เด็กกลุ่มที่ 3 เด็กที่อ่อนไหวง่าย จัดเต็มทุกเม็ดอีกแบบหนึ่ง น้ำตานองหน้าตลอดเวลา คือเวลาจะขึ้นเวทีก็ต้องอยู่ข้างๆ เวที ต้องการให้ใครมาโอบกอด แล้วน้ำตาไหลมีความรู้สึกว่า Sensitive มาก อ่อนไหวง่าย ใครพูดผิดหูไปนิด คำเดียว กลับไปนั่งคิดอีกเป็นชั่วโมง
ลูกอยู่ในกลุ่มนี้ค่ะ เขาอ่อนไหวง่าย เก็บทุกเม็ด วันนั้นแม่บอกหนูแบบนี้ แต่วันนี้แม่ไม่ทำ ดราม่าจัดเต็ม เป็นสายดราม่า อันนี้อารมณ์ศิลปิน
สำหรับสายศิลปินหน้าที่เราคือวอร์มอัพ ให้เขารู้จักการจัดการกับอารมณ์ เปิดพื้นที่การระบายอารมณ์ได้ในขณะเดียวกันเปิดพื้นที่การจัดการอารมณ์ได้ ถ้าเราสามารถทำให้เกิดความมั่นใจ และสามารถสะท้อนอารมณ์ของเขาได้ แล้วเขาได้รับความไว้วางใจ มั่นใจ นึกตอนที่เด็กที่เขาต้องการกำลังใจ หันมองไปมองมา เด็กเหล่านี้บางทีสิวเม็ดเดียวคิดเป็นวรรคเป็นเวร ยาวเป็นชั่วโมง บางทีเป็นวัน เขาคิดมาก
แต่ถ้าเราสามารถสร้างความมั่นใจบน Self Esteem อะไรก็ตามที่เขาสามารถทำได้และภาคภูมิใจ และเราก็มี Reflection วิธีสะท้อนคิดสะท้อนอารมณ์ทีดี ในที่สุดเขาจะเกิดความมั่นใจ แล้ววันที่เขาเกิดความมั่นใจอารมณ์ศิลปินของเขาก็จะรังสรรค์สิ่งที่ดีงามออกมาในเชิงสร้างสรรค์ที่ไม่ได้ไปหมกมุ่นกับตัวเอง กับความ Sensitive กับดราม่าตรงนั้น เพราะพลังพวกนี้อารมณ์แบบพลังศิลปินเยอะ ซึงแต่ละอันจะมีมูลค่าทั้งสิ้น
เด็กประเภทบ้าพลัง สามารถวิ่งได้ทั้งตึกแค่นี้กิ๊กก๊อก พลังเยอะไม่รู้ไปเอาพลังมาจากไหนวิ่งอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกบ้าพลัง หรือกลุ่มที่อ่อนไหวง่าย กลุ่มเลี้ยงยากทำตรงกันข้ามที่พ่อแม่บอก กลุ่มเหล่านี้หมอเข้าใจและเห็นใจพ่อแม่ว่าเหนื่อย มันไม่เหมือนเด็กเลี้ยงง่าย 3 กลุ่มนี้เหนื่อยทุกกลุ่ม พ่อแม่ก็ต้องใส่แรง
จริงๆ ยังมีประเภทที่ 5 อีกอันนึง คือ Mixing ผสมสานทุกแบบ ประเภทบางสัปดาห์เลี้ยงง่าย บางสัปดาห์เลี้ยงยาก บางสัปดาห์อ่อนไหวง่าย มาแบบ Mixing เพราะฉะนั้นอันนี้แหละที่หมอถึงได้บอกว่าเด็กไม่ใช่ผ้าขาวโปรดอย่าเข้าใจผิด แล้วอย่าเปรียบเทียบ เพราะนึกสภาพดูนะ สมมุติ แม่คนนึง คนพี่เลี้ยงง่ายตอนที่เลี้ยงด้วยประสบการณ์ตัวเองมีลูกคนแรก เลี้ยงไป คนนี้ปรับตัวได้ แค่ 2 ขวบ ไปศูนย์ปฐมวัย เนอร์สเซอรี่ได้แล้ว ไม่งอแง แต่พอมาคนน้องมีอารมณ์เป็นศิลปินเลย 2 ขวบร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร ไปไม่ได้ แม่เริ่มเปรียบเทียบ
ถ้าแม่ไม่เข้าใจ Concept แบบนี้ แม่จะเริ่มเปรียบเทียบทำไมแกไม่เหมือนพี่เลย อารมณ์เริ่มมา พออารมณ์เริ่มมาเริ่มหลุด แล้วก็ไปเปรียบเทียบ พอเปรียบเทียบขึ้นมา นึกถึงอารมณ์เจ้าเด็กที่อ่อนไหวง่าย เก็บมาคิดไหม ขนาดพูดผิดไปประโยคเดียวยังเก็บมาคิดกันเป็นสัปดาห์เลย พอสั่งสมนานๆ เข้า ความเป็นไม้เบื่อไม้เมา บาดแผลใจ นี่เป็นจุดนึงที่เราใช้คำว่า Sibling Rivalry ความหมายคือความอิจฉาริษยาระหว่างพี่น้อง
ที่นี้เราจะเห็นเลยว่าพ่อแม่หลายคนก็มีความหนักอกหนักใจที่ลูกบอกออกมาได้อย่างไรว่า รักพี่มากกว่า แม่ไม่ได้รักหนูหรอก เขาสังเกตอากัปกิริยา ว่าถูกตอบสนองในลักษณะไหนบ้าง มันเป็นเรื่องของศิลปะในการเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถใช้ Concept ได้ เราใช้หลักการได้
คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านที่ฟังเราอยู่ จงมองอยู่อย่างหนึ่งเลยว่าลูกทุกคนมีคุณค่าอันนี้คือ Concept แรก ถ้าเราเข้าใจว่าลูกทุกคนมีคุณค่า แต่เป็นคุณค่าในแบบฉบับของเขาเอง คนพี่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับคนน้อง แต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่มีคุณค่าในตัวเอง ถ้าเราวางคงใน Concept ของเราไว้ในลักษณะนี้เราจะไม่เสียศูนย์
ข้อที่สองที่เราจะต้องคิดไว้เลยว่า เมื่อลูกทุกคนมีคุณค่าการปรับวิธีการ กระบวนต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่คงไว้ซึ่งหลักการเหมือนกัน พูดง่ายๆ คือเราจะไม่ใช้ความรุนแรง แต่เราต้องมีวินัย มันเป็นไปไม่ได้ว่าบ้านนี้ไม่ต้องมีวินัย ไม่ต้องมีความรับผิดชอบ ไม่ต้องฝึกฝน หรือเป็นเด็กเลี้ยงง่ายไม่ต้องมีวินัย ไม่ใช่ หลักการคือต้องชัด พ่อแม่หลักการต้องชัดก่อน
ต้องสามารถ Modify ได้ เรียกว่ายืดหยุ่นและมีการปรับเข้าปรับออกเพื่อทำให้เห็นเลยว่าแต่ละคนก็มีแบบฉบับของตัวเองถ้าเราทำในลักษณะคล้ายๆ แบบนี้ได้ หมอเชื่อว่าเราก็จะมีความสุขในการเลี้ยงลูกได้ แม้ว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ความน่าสนใจอีกอันคือ ยิ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน เวลาบ้านไหนก็ตามที่มีครอบครัวความเป็นหัวใจประชาธิปไตย ที่ใช้สุนทรียสนทนาในบ้าน ลองนึกสภาพ
หมอเปรียบเทียบ พ่อแม่คนหนึ่ง มีลูก 4 คน ลูกคนแรกเลี้ยงง่าย ลูกคนที่ 2 เลี้ยงยาก ลูกคนที่ 3 อ่อนไหวง่าย ลูกคนที่ 4 บ้าพลัง เมื่อเข้าสู่สมัชชาครอบครัวความคิดเห็นต่างจะเป็นสุดยอด แต่ละคนก็จะมีมุมมองของแต่ละคน
ติดตาม รักลูก The Expert Talk ทุกวันพฤหัสบดีที่ 1 2 และ 3 ของเดือน
ติดตามรายการรักลูก podcastได้ที่