facebook  youtube  line

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

ของเล่น-ของเล่นเด็ก1-3ปี-พัฒนาการ-เสริมพัฒนาการ-ของเล่นตามวัย-ของเล่นเสริมพัฒนาการ-ร้านของเล่น-ขายของเล่นเด็ก

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

พัฒนาการทุกด้านของเด็กนั้นเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะพัฒนาให้ครบรอบด้านมีปัจจัยสำคัญหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือการเล่นที่เหมาะสมกับวัย

วัย 1-2 ปี

เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองแม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเกี่ยวเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เป็นการเรียนรู้เรื่องระยะทางและฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆ ลูกจะสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่ได้พบเห็น ชอบปีนป่ายขึ้นบันได มุดโต๊ะ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยให้มาก และวัยนี้ชอบขีดๆ เขียนๆ เข้าใจคำพูดรวดเร็วมาก ใครพูดอะไรจะพูดตามทันที

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย ของเล่นควรเป็นประเภทลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อกันเป็นขบวน หรือกล่องกระดาษมีเชือกร้อยต่อกัน
  • พัฒนาการสมอง การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อน ไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน-ทราย-น้ำ การหยิบของตามคำบอก เป็นต้น
  • พัฒนาการทางภาษา หาเพลงง่ายๆ ประเภท Music for Movement สนุกๆ มาให้ลูกฟัง ร้องและเต้นตามจังหวะ หรือจะเล่นเกมร่างกายของหนูสอนให้ลูกรู้จักชื่ออวัยวะต่างๆ ก็ได้เช่นกัน

Concern : ของเล่นที่มีขนาดเล็ก ของเล่นแหลมคมและมีน้ำหนักเกิน อาจเกิดอุบัติเหตุได้จากการขว้างปา ขนาดของรูหรือช่องต่างๆ ในของเล่นควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่านิ้วมือทุกนิ้ว เพื่อป้องกันการติดของนิ้วมือ

 

วัย 2-4 ปี

เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้นและทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นออกแรงมากๆ ทั้งวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อซึ่งช่วยฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กได้ดีขึ้น สามารถเล่นใช้นิ้วมือหยิบจับหรือหมุนได้

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น บล็อกหยอดกล่องรูปทรง ภาพตัดต่อ เป็นต้น
  • พัฒนาการทางสมอง ชอบเล่นอิสระและเลียนแบบท่าทางของคนและสัตว์จำลองบทบาทสมมติด้วยของเล่นเหมือนจริงจะช่วยเสริมจินตนาการให้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสนใจฟังนิทาน เรื่องเล่าและหนังสือภาพ ชอบแสดงท่าทางประกอบและเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง
  • พัฒนาการทางสังคมและภาษา เริ่มเล่นกับเด็กอื่นมากขึ้นและทำงานเป็นกลุ่มได้ เช่น แสดงบทบาทสมมติ และเล่นขายของ ซึ่งเด็กวัยนี้จะมีการพูดจาสื่อสารกันระหว่างที่เล่นมากขึ้น

Concern : ด้วยวัยที่มีจินตนาการสูง พ่อแม่จึงควรการตักเตือนและแนะนำการเล่นด้วยเหตุผล เพื่อให้ลูกไม่นำเอาจินตนาการไปเล่นแบบเสี่ยงๆ หรือเป็นพื้นฐานความรุนแรง เช่น เลี่ยงเล่นต่อสู้ ไม่ซื้อของเล่นที่เลียนแบบอาวุธ ฯลฯ

 

ประโยชน์จากของเล่นเสริมพัฒนาการ

1.ฝึกแก้ไขปัญหา

ของเล่นเสริมพัฒนาการ เช่น การต่อบล็อกไม้ การต่อจิ๊กซอว์ หรือกล่องหยอดรูปทรง จะช่วยให้ลูกรู้จักการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เล่นได้สำเร็จ

2.เสริมสร้างจินตนาการ

ลองนึกถึงภาพเด็กกำลังเล่นรถถัง รถบังคับ อุลตร้าแมน หรือตัวการ์ตูนยอดฮิต อย่าง Ben 10 สิคะ เขาจะใช้ปากทำเสียงต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน นั่นเพราะเด็กได้นำตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและจินตนาการที่สร้างขึ้น ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

3.ร่างกายแข็งแรง

เพราะลูกน้อยได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ แขนและขาจึงได้ขยับ ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายที่ดี ที่จะช่วยให้เขามีศักยภาพในการเรียนรู้โลกกว้างในอนาคต

ของเล่นเป็นอีกตัวช่วยสำคัญในการสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่หาเวลาว่างทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ที่บ้านกันด้วยนะคะ 

 

 

ลูกอารมณ์ดี สมองดี EF ดี

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

สมองไม่ใช่แค่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนผ่านการคิด การไตร่ตรอง แยกแยะผิดถูก อารมณ์ ความรู้สึก และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ

สมองของทารกแรกเกิด เมื่อครบกำหนดคลอดจะมีน้ำหนัก 500 กรัม และมีเซลล์สมองประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ โดยไม่มีการสร้างเพิ่มเติมอีก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมของพ่อแม่นั้นมีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมองอย่างยิ่ง

ลูกอารมณ์ดี สมองดีจริงหรือ

นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวถึงนิยามสมองดีและอารมณ์ดีว่า "อารมณ์ดีเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เมื่อรู้สึกว่าตัวเองรอดปลอดภัย แล้วมนุษย์ถึงจะเรียนรู้ หากไม่รู้สึกว่าปลอดภัย ก็จะไม่รับไม่เรียนรู้อะไรทั้งนั้น เช่นเดียวกับเด็ก การจะทำให้ลูกอารมณ์ดีก็ต้องเริ่มต้นจากพ่อแม่"

เพราะการแสดงอารมณ์แจ่มใสร่าเริงให้เด็กรับรู้ ถือเป็นสัญญาณหนึ่ง ที่ทำให้เด็กรับรู้ได้ว่าเขาปลอดภัย เหมือนเวลาเราเห็นหมาแยกเขี้ยวกับหมากระดิกหาง ก็รู้ได้ว่าอันไหนคุกคามหรือเป็นมิตร เมื่อเด็กรู้สึกปลอดภัยแล้ว ระบบลิมบิกก็ทำงาน ส่งให้ฮอร์โมนที่เป็นสุขเกิดขึ้น วงจรเกี่ยวกับความสุข (Reward Circuit) ก็ทำงาน พอเด็กมีความสุขการเรียนรู้ก็จะเกิด"
 
"Safety Need เป็นความต้องการสำคัญของเด็ก เมื่อเขารู้สึกปลอดภัย การเรียนรู้ของเขาก็จะเป็นการเรียนรู้ที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง

แต่หากไม่มีจะกลายเป็นการเรียนรู้เพียงเพื่อเอาตัวรอดจากอันตรายนั้น แต่จะไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เหมือนเด็กที่เรียนเก่ง IQ ดี จะกังวลอยู่กับเกรด จะไม่ค่อยมองสิ่งรอบตัว มีเพื่อนแต่จะไม่รู้ว่าคนนี้มาจากไหน เป็นคนยังไง ขณะเดียวกันก็จะคิดว่าเพื่อนคนนี้จะช่วยเราได้ยังไง มองอยู่แค่นี้ไม่มองเรื่องอื่นๆ เพราะเขาไม่มีความรู้สึกปลอดภัยในตัวเอง"
 
ด้วยเหตุนี้ นิยามคำว่าอารมณ์ดีของเด็กจึงเปลี่ยนไป จากที่วัดกันจากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เปลี่ยนเป็นการสร้างความรู้สึกปลอดภัยอบอุ่น แล้วลูกจะเกิดความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือมิติที่ก่อให้เกิดพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ได้มากกว่า 

5 เทคนิคให้ลูกน้อยอารมณ์ดี

1. นวดให้สบายตัว การนวดช่วยกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่อนคลาย ลูกจะรู้สึกสงบสุขมากขึ้น และจะรับรู้ได้ถึงความรัก ความอบอุ่นที่ส่งผ่านมา ลูกก็จะอุ่นใจและมั่นใจว่าจะเติบโตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

2. ฟังเพลงให้สบายใจการเปิดเพลงจังหวะเบาๆ สบายๆ ให้ลูกฟัง จะช่วยเรียกความสนใจของลูกให้จดจ่ออยู่กับท่วงทำนอง สงบนิ่ง และไม่โยเย อีกทั้งดนตรียังเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมอง ทำให้เส้นใยประสาทแตกแขนงมากขึ้น ซึ่งพ่อแม่อาจจะร้องให้ลูกฟังเองก็ได้

3. จัดบ้านเพื่อลูกน้อย สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี จะทำให้ลูกอารมณ์ดี เนื่องจากมีอากาศถ่ายเท ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป มีพื้นที่ให้ได้สำรวจ ได้เล่นอย่างสนุกสนานและปลอดภัย 
 
4. เล่นกับลูกบ่อยๆของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกวัยขวบปีแรกก็คือพ่อแม่ การเล่นแบบง่าย ๆ เช่น จ๊ะเอ๋ เก็บของ การเอาของเล่นสุดโปรดไปวางไว้ตรงหน้าให้ได้เอื้อม ไขว่คว้า เป็นการบริหารกล้ามเนื้อลำตัว แขน ขา และยังช่วยฝึกการใช้ประสาทตาให้สัมพันธ์กับมืออีกด้วย ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมทางร่างกายให้แข็งแรง ความพร้อมของกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่าง ๆ ไว้สำหรับการเคลื่อนไหว และมีความพร้อมทางอารมณ์ สำหรับการออกสู่โลกกว้างในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นต่อไป
 
5. พ่อแม่ก็ต้องอารมณ์ดีและมีการแสดงออกต่อลูกอย่างเหมาะสม สัมผัสลูกด้วยความอ่อนโยน พูดจาด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น และมีตอบสนองต่อความต้องการลูก เช่น เมื่อร้องก็มีคนมาโอบอุ้ม เมื่อหิวก็มีคนมาดูแล ลูกก็จะรู้สึกปลอดภัย และพร้อมต่อพัฒนาการต่าง ๆ ได้ดี


 

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

สร้าง Family Attachment ด้วย 4 กิจกรรมครอบครัวภายในบ้าน

กิจกรรม-กิจกรรมครอบครัว-ของเล่นเสริมพัฒนาการ

การใช้เวลาร่วมกันภายในครอบครัว ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้าง Family Attachment ของลูก ๆ ช่วงเวลาว่างหากเราใช้เวลาร่วมกันในวันหยุดได้นั้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อย เวลาทุกนาทีก็จะมีคุณค่าและมีความหมายมากที่สุดค่ะ

ทางรักลูกคลับรวม 4 กิจกรรมครอบครัวที่บ้าน สร้าง Family Attachment มาฝาก ไปดูกันค่ะว่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง

  1. สนุกสนานกับการเล่นเกม เริ่มกันที่กิจกรรมแรกอย่างการเล่นเกม การเล่นเกมไม่ใช่แค่กิจกรรมของเด็ก ๆ เท่านั้น แต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็สามารถเล่นได้เช่นกัน ซึ่งการเล่นเกมถือเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเกมหมากรุก หมากฮอส หรือแม้แต่บอร์ดเกม ไม่เพียงแต่สนุกอย่าเดียว แต่ยังได้ฝึกการใช้สมองไปในตัวด้วย ซึ่งการได้เล่นเกมร่วมกันช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีเวลาร่วมกัน ทั้งพูดคุยและหัวเราะอย่างมีความสุข
  2.  ทำสวน สร้างสัมพันธ์ที่ดีช่วงนี้ต้องยอมรับว่าอากาศเมืองไทยร้อนจัด ดังนั้นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับครอบครัวที่จะทำก็คือการทำสวนนั่นเอง โดยอาจจะเลือกทำในช่วงเช้าหรือเย็นเพราะอากาศไม่ร้อนมาก ซึ่งช่วงกลางวันนั้นอาจจะชวนกันออกไปชอปปิงต้นไม้ตามตลาดต้นไม้แทนก็ได้ ซึ่งกิจกรรมนี้ไม่เพียงแค่เป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกวิธีในการช่วยลดโลกร้อนด้วย
  3.  อารมณ์ดีไปกับเสียงดนตรีดนตรีคืออีกสิ่งที่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกันได้ เพราะดนตรีถือเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ในการบำบัดจิตใจและสร้างอารมณ์ดีให้กับตัวเราและคนรอบข้าง แน่นอนครับว่าวันหยุดแบบนี้การชวนสมาชิกในครอบครัวร้องหรือฟังเพลงด้วยกัน ได้ออก Step สนุกสนานร่วมกัน ครอบครัวของเราก็จะกลายเป็นครอบครัวอารมณ์ดีไปเลย
  4.  “ปั่น” สร้างสุขภาพการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่จะดีแค่ไหนถ้าหากว่าครอบครัวเราได้ใช้ช่วงเวลาวันหยุดไปกับการออกกำลังกายด้วยกัน และการปั่นจักรยานก็เป็นทางเลือกที่ดี ไม่หนักจนเกินไป ทำได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากจะได้สุขภาพดีแล้ว ยังได้สูดอากาศดี ๆ เข้าปอดอีกด้วย แต่อากาศที่ร้อนอบอ้าวเช่นนี้แนะนำให้เลือกปั่นจักรยานในช่วงเช้าหรือเย็นแทน

ซึ่งหลาย ๆ กิจกรรมที่เราทำร่วมกับครอบครัว ไม่ต้องเสียเวลาออกไปหาพื้นที่ทำกิจกรรมไกลบ้านแต่อย่างใด ให้ทุกครอบครัวสามารถสร้างช่วงเวลาดี ๆ ร่วมกันได้ไม่เว้นแม้แต่ช่วงวันหยุดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทุก ๆ วันนะคะ

สร้างกองทัพพลังบวกให้ลูกได้ทุกวัน ด้วยการไม่พูด 4 คำนี้

 คำพูดสร้างพลังบวก-พูดกับลูก-คำพูดที่ห้ามพูดกับลูก-ไม่-อย่า-ห้าม-หยุด-Positive energy-ทักษะพ่อแม่-พ่อแม่มีอยู่จริง

สร้างกองทัพพลังบวกให้ลูกได้ทุกวัน ด้วยการไม่พูด 'ไม่' 'อย่า' 'ห้าม' 'หยุด'

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตตัวเองกันไหมคะ? ว่าในแต่ละวัน เราพูดคำว่า ไม่ อย่า ห้าม หยุด กับลูกบ่อยแค่ไหน เรามาลองเปลี่ยน 4 คำพูดพลังลบนี้ด้วยคำพูดกองทัพพลังบวกให้ลูกด้วยคำพูดดี ๆ กันดีกว่าค่ะ

 

ตัวอย่างประโยคพลังลบ!

“อย่าเทน้ำบนพื้น”

“อย่าฉีกกระดาษเล่นซิลูก”

“อย่าเอาดินสอเขียนผนัง ทำไมดื้ออย่างนี้ ถ้าทำอีก แม่จะไม่รักแล้ว !!!”

ไม่ได้หมายความว่าการที่ลูกเล่นเลอะเทอะ ทำบ้านสกปรก หรือเล่นอันตราย แล้วเราสอนเค้าจะเป็นสิ่งผิด ตรงกันข้ามกลับสนับสนุนให้พ่อแม้ได้บอกได้สอน แต่ควรทำในวิธีที่เหมาะสมกับการรับรู้ของเด็กและจิตวิทยาในการเลี้ยงดูลูก หรือแม้กระทั่งการจัดสภาพแวดล้อม สถานที่ และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการเล่นแบบเลอะๆ ได้ 

 

ตัวอย่างประโยคพลังบวก!

“แม่รู้ว่า หนูอยากเทน้ำบนพื้นใช่ไหมจ๊ะ แต่เทในบ้านมันจะหกเลอะเทอะ แม่จะเสียเวลาที่จะเล่นกับหนู เพราะต้องมาเช็ดทำความสะอาด เราออกไปเทน้ำข้างนอกบ้านแทนดีไหม”

สังเกตว่า จะมีการสะท้อน ว่าเราเข้าใจความต้องการการอยากเทน้ำเล่นของเขา แต่บอกผลเสียที่ตามมา พร้อมยื่นข้อเสนอใหม่ให้ และสุดท้ายให้เข้าเป็นคนตัดสินเลือกเอง หรือ

“โอ้โห้ ลูกเขียนรูปบนผนังบ้านสวยมาก ๆ เลย แม่ชื่นชมที่หนูวาดรูปได้เก่งมาก แต่ถ้าเราเอากระดาษไปติดที่ผนัง แล้วเขียน พอเขียนครบ เราก็เอากระดาษแผ่นใหม่มาติดแทน ก็จะวาดได้ตลอดไป แบบนี้ดีกว่าไหมลูก”

วิธีการพูดเชิงบวก และให้ได้ผลทางจิตวิทยานั้น มันต้องพูดยาวมากกกกกก… แต่ถ้าเรายอมปรับครั้งเดียว ให้เขาเข้าใจ แล้วต่อไปเขาไม่ทำอีก มันจะประหยัดเวลา ลดอารมณ์หงุดหงิด เซฟพลังงาน ซึ่งจะได้ผลที่ดีกว่าในระยะยาวมากกว่าการบ่นด่าว่าเขาซ้ำ ๆ ซึ่งพฤติกรรมเข้าก็ไม่เปลี่ยนอยู่ดี

ทุกครั้งที่พูดคำว่า “ ไม่” “อย่า” “ห้าม” “หยุด” ก็คือการเด็ดยอดอ่อนแห่งจินตนาการ แห่งพัฒนาการ แห่งความคิดสร้างสรรค์ แห่งพรสวรค์ของลูกทิ้งไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเปลี่ยนคำพูดกันใหม่แล้วค่ะ มาลองเปลี่ยนเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกกันนะคะ

 

ที่มา : กรมอนามัย

อยู่บ้านก็เรียนได้! Twinkl สื่อการสอนจากประเทศอังกฤษ แจกโค้ดโหลดฟรี!

 COVID-19- Twinkl - ภาษาอังกฤษ - เรียนออนไลน์ - โควิด-19 

คุณพ่อคุณแม่กำลังมองหากิจกรรมดี ๆ ที่ให้ลูกทำช่วงอยู่บ้านใช่ไหมคะ เรามีกิจกรรมมาแนะนำค่ะ ซึ่งเป็นการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ นอกจากจะได้ใช้เวลาว่างแล้ว ยังเป็นการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษอีกด้วย

โดยในตอนนี้ บริษัท Twinkl (ทวิงเคิล) ซึ่งเป็นผู้ผลิตสื่อการสอนจากประเทศอังกฤษ ได้จัดทำโค้ดสำหรับการสมัครสมาชิก และดาวน์โหลดทุกสื่อการสอน ฟรี!!! เป็นเวลา 1 เดือน โดยสามารถเลือกได้ตามอายุของผู้เรียน มีตั้งแต่เด็กเล็กก่อนเข้าโรงเรียน อนุบาล ประถม มัธยม และก็มีการศึกษาพิเศษค่ะ

 

วิธีการสมัครและใช้โค้ด
  1. คลิกเข้าไปที่ลิงก์ https://www.twinkl.co.th/offer (สำนักงานใหญ่อยู่ที่อังกฤษ แต่เรามีโดเมนสำหรับผู้ใช้ในไทยด้วยค่ะ)
  2. กรอกข้อมูลในส่วนของ New to Twinkl
  3. กรอกโค้ด THATWINKLHELPS ในช่อง Offer Code

 

เพียงเท่านี้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองก็สามารถ เข้าไปเลือกดู และดาวน์โหลดสื่อการสอนของ Twinkl อย่างฟรีๆ ได้มากกว่า 630,000 สื่อการสอน ทุกสื่อการสอนของ Twinkl ออกแบบโดย ครู ในสหราชอาณาจักร ผู้มีประสบการณ์ในการสอนและการใช้สื่อการสอนในห้องเรียน ได้รับมาตรฐานและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาของสหราชอาณาจักร สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.twinkl.co.th/about-us ค่ะ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการสมัคร+การใช้โค้ด สามารถเข้าไปดูได้ที่ :  https://www.facebook.com/twinklresources/videos/709197152952479/

  

เข้าใจเด็กออทิสซึม

เด็กออทิสติก-การดูแลเด็กออทิสติก-อาการออทิสติก

เนื่องจากในสังคมเรายังคง มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเด็กที่เป็นโรคนี้อยู่พอสมควร หมอจึงอยากจะเล่าเกี่ยวกับโรคออทิสติก หรือออทิสซึมให้คุณพ่อคุณแม่ฟังกันนะครับ

โรคออทิสซึมคือโรคพัฒนาการล่าช้าในลักษณะหนึ่ง ดังนั้นออทิสซึมจึงไม่ใช่โรคจิตนะครับแม้คุณหมอที่ดูเด็กในกลุ่มนี้จะมีจิตแพทย์เด็กอยู่ด้วยก็ตาม โดยพัฒนาการที่ล่าช้าของออทิสซึมจะพบในด้านภาษา และการเข้าสังคมเป็นสำคัญ ดังนั้น อาการที่ทำให้สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ก็คือ พูดช้า ไม่สนใจที่จะสื่อสารกับคนอื่น และมีพัฒนาการด้านสังคม เช่น การเลียนแบบ การเข้าหาเด็กคนอื่น ล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน รวมถึงมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากเด็กทั่วไป เช่น ชอบทำอะไรซ้ำๆ หรือมีความสนใจต่อสิ่งของ/เรื่องราวหลายอย่างเป็นอย่างมาก จนไม่สนใจเรื่องอื่นๆ เลย

การที่หมอจะสงสัยว่าเด็กคนไหนจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคออทิสซึม หมอจะดูจากการที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้าในด้านภาษาและการเข้าสังคมหรือไม่เป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นหากลูกหลานของคุณพ่อคุณแม่พูดได้ช้ากว่าเกณฑ์ จะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียดว่ามีความเสี่ยงจะเป็นออทิสซึมหรือไม่ อย่างไรก็ดี สาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้านั้นมีเยอะมาก และในบางรายก็ไม่ได้เป็นโรคอะไรเลย เพียงแค่พูดช้าเท่านั้นแต่พอพูดได้ก็พูดได้ปกติ ประเด็นสำคัญคือ การพูดช้าไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรจำเป็นที่ต้องได้รับการประเมินและความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกๆ เพราะยิ่งรักษาหรือกระตุ้นได้เร็ว จะมีโอกาสสูงที่อาการจะดีขึ้นหรือเป็นปกติได้ครับ

ในส่วนของสาเหตุของการเป็นโรคออทิสซึมนี้ ขอตอบตรงๆ ว่าในปัจจุบันก็ยังไม่ทราบแน่ชัดครับ เพียงแต่พันธุกรรมน่าจะมีส่วนในการเกิดโรคอยู่พอสมควร เพราะมีรายงานความผิดปกติของยีนหลายชนิดในโรคนี้ อย่างไรก็ดี การเลี้ยงดูก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อตัวโรคด้วยครับ เพราะแม้เด็กจะเป็นโรคออทิสซึม แต่ถ้าได้รับการดูแลอย่างดีจากคุณพ่อคุณแม่ ก็จะทำให้อาการดีขึ้นหรือเป็นปกติได้ครับ ประเด็นสำคัญคือ การได้รับวัคซีนไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นออทิสซึมนะครับ ซึ่งสมัยหนึ่งเคยมีความเชื่อแบบนั้นกันมาก แต่ได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง

ดังนั้นเด็กจึงควรได้รับวัคซีนตามกำหนดเพื่อช่วยป้องกันโรคนะครับ นอกจากนี้ ออทิสซึมก็ไม่ได้เกิดจากการที่คุณแม่เลี้ยงดูลูกไม่ดีด้วย เพราะมีหลายครอบครัวที่เข้าใจว่าที่ลูกเป็นออทิสซึม เพราะคุณแม่ดูแลไม่ดี ซึ่งก็ไม่จริงครับ เด็กจะเป็นออทิสซึมหรือไม่ขึ้นกับพัฒนาการทางสมองของตัวเค้าเอง เพียงแต่การดูแลที่ดีของคุณพ่อคุณแม่จะทำให้ตัวโรคดีขึ้นได้ครับ

ในส่วนของการรักษา ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะพัฒนาการช้าไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตามครับดังนั้นโรคออทิสซึมจึงไม่มียารักษาแต่ยาที่เด็กออทิสซึมได้รับจะเป็นยาคุมอาการบางอย่างครับ เช่น ยาควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว ยาควบคุมอาการย้ำคิดย้ำทำ ยาช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น เป็นหลัก แต่ไม่ใช่ยากระตุ้นพัฒนาการ การที่เด็กจะอาการดีขึ้นหรือไม่จะขึ้นอยู่กับการฝึกครับซึ่งนักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักอรรถบำบัด  (ฝึกพูด) นักอาชีวบำบัด และคุณครูการศึกษาพิเศษจะเป็นผู้ช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านี้ให้มีพัฒนาการดีขึ้น ร่วมไปกับการประเมินอาการจากคุณหมอด้านพัฒนาการเด็ก หรือคุณหมอจิตเวชเด็กครับ


ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ด้านโรคสมอง

 

เช็กลิสต์พัฒนาการเด็กวัย 5-6 ปี พ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไรให้ลูกเติบโตดี สมวัย

4424 2 

ลูกอายุ 5-6 ขวบมีพัฒนาการทั้งร่างกาย สมอง และอารมณ์ดีไปถึงขั้นไหนแล้ว คุณแม่มาเช็คพัฒนาการลูกวัย 5-6 ปีได้ตรงนี้พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กค่ะ

เช็กลิสต์พัฒนาการเด็กวัย 5-6 ปี พ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไรให้ลูกเติบโตดี สมวัย

นักจิตวิทยา เดวิด เมลตัน กล่าวว่า “ในช่วง 5 ปีแรกของลูก พ่อแม่ต้องอุทิศเวลาให้การศึกษาอบรมลูก ก่อนที่โลกภายนอก เช่น ครู เพื่อนและโทรทัศน์ จะเข้ามายึดครองลูกไว้วันละหลายชั่วโมง”

การดูแลเอาใจใส่เด็กเป็นอย่างดีในช่วงเวลาสั้นๆ จะทำให้พัฒนาไปเป็น เด็กที่ตื่นตัว อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และเด็กจะเป็นคนที่มีความรัก ใส่ใจผู้อื่น ฉลาด และมีความคิดสร้างสรรค์จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่

 

พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม

การเจริญเติบโตของร่างกายส่วนต่างๆ จะยังไม่เท่ากัน ปอดจะยังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ หัวใจจะเจริญเติบโตเร็วมาก เด็กวัยนี้ จะเต็มไปด้วยพลัง และเคลื่อนไหวมาก เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่นั้นพัฒนาเร็วกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก

กล้ามเนื้อมัดใหญ่

  1. ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี วิ่งเร็วขึ้น ปีนป่าย ลื่นไถล โหนตัวไปมา กระโดดได้ไกล ยืนและวิ่งบนปลายเท้าได้นาน เดินเป็นเส้นตรงได้
  2. โยน รับ เตะลูกบอลได้ดี ชำนาญในการไล่จับลูกบอลในสนามกว้างๆ
  3. จะทรงตัวได้ดีกว่าเดิม และชอบเต้นรำ
  4. ขี่จักรยานสามล้อได้ดี พัฒนาจนจนขี่จักรยานสองล้อได้คล่อง
  5. จะชอบเล่นโลดโผนทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ชอบตีลังกา กระโดดสูงๆ

 กล้ามเนื้อมัดเล็ก

  1. ใช้มือได้ดี จับดินสอ พู่กัน สีเทียนได้ถูกต้อง
  2. ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง กินอาหารเลอะเทอะน้อยลง
  3. สามารถวาดรูปตามแบบได้ วาดรูปคนมีส่วนหัว แขน ขา ลำตัวได้ วาดรูปบ้านมีประตู หน้าต่าง และหลังคาได้
  4. คัดลอกพยัญชนะบางตัวได้ แต่ยังไม่พร้อมสำหรับการเขียนหนังสือ
  5. บอกได้ว่าข้างไหนมือซ้ายหรือขวาของตัวเอง
  6. ร้อยไหมพรมในแผ่นที่เจาะเป็นรูได้ หรือ ร้อยลูกปัดได้
  7. อาบน้ำเองได้ดีขึ้น แต่งตัวเองได้ โดยติดกระดุมเม็ดใหญ่ได้ แต่เม็ดเล็กๆ ยังติดไม่ได้
 

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-พัฒนาการเด็ก-กระตุ้นพัฒนาการ

 

การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัย 5-6 ปี

  1. ปล่อยให้เด็กได้เล่นโลดโผน เพื่อปลดปล่อยพละกำลังเต็มที่ แต่ควรเลือกสถานที่เล่นให้เหมาะสม
  2. ให้เล่นดินน้ำมัน หรือปั้นแป้งตามแต่จินตนาการของเด็ก 

 

สุขภาพฟันของเด็กวัย 5-6 ปี

ฟันเด็กวัย 5-6 ปี จะเริ่มมีฟันแท้ขึ้น และฟันแท้ซี่แรกคือ ฟันกรามซี่ล่าง ถือเป็นฟันชุดที่ 2 หรือ ฟันแท้ ซึ่งจะขึ้นซี่แรกเมื่อเด็กอายุประมาณ 5-6 ปี โดยขึ้นต่อจากตำแหน่งของฟันกรามน้ำนมซี่สุดท้ายเข้าไปด้านใน ส่วนฟันแท้ซี่อื่นๆ จะทะยอยขึ้นมาแทนฟันน้ำนม

ฟันกรามแท้จะมีรูปร่างคล้ายฟันกรามน้ำนม แต่ฟันกรามแท้จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 6 เดือนต่อมา ฟันกรามแท้คู่บนจึงจะขึ้น ฟันกรามแท้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นฟันซี่ที่สำคัญที่สุดในการบดเคี้ยวอาหารเพราะต้องใช้เคี้ยวอาหารไปตลอดชีวิต

ฟันกรามแท้มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในวัยเรียนเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อฟันกรามแท้ขึ้น เด็กบางคนจะรู้สึกเจ็บระบมที่เหงือก อาจเคี้ยวอาหารไม่สะดวก จึงทำให้เด็กเกิดการเบื่ออาหารได้

หากฟันซี่นี้ผุ เด็กมักจะมีร่างกายผอม ไม่แข็งแรง จะเจ็บคอและเป็นหวัดบ่อย ในเด็กบางคนอาจมีผลทำให้ขาดอาหารได้ เพราะใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้ไม่สะดวก เด็กจะไม่แจ่มใส จะมีผลต่อการเรียนและอนาคตของเด็ก

และฟันแท้ซี่นี้เป็นแนวทางให้ฟันแท้ซี่อื่นๆ ที่จะขึ้นต่อไป สามารถขึ้นได้ตรงตามตำแหน่ง ทำให้การสบฟันทั้งปากเป็นปกติ เป็นการป้องกันการเกิดฟันเก และฟันซ้อนในเด็ก

 

การส่งเสริมสุขภาพฟันของเด็กวัย 5-6 ปี

เมื่อเด็กมีอายุ 5-6 ปี พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูมักเข้าใจผิด เรื่องการดูแลสุขภาพภายในช่องปากของเด็ก เพราะคิดว่าเด็กสามารถช่วยตัวเองได้แล้ว จึงปล่อยให้เด็กแปรงฟันเอง โดยไม่ช่วยดูว่า เด็กแปรงฟันสะอาดหรือไม่ ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่ดูแล คอยตักเตือนเรื่องการทำความสะอาดฟัน และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก

  1. แปรงฟันให้ถูกวิธี วันละ 2 ครั้ง
  2. เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม เพื่อช่วยดูแลสุขภาพเหงือกและฟันของเด็ก
  3. ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน ให้ดีมีประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพฟัน
  4. หลังจากกินขนมหวาน หรือดื่มนม ควรให้เด็กแปรงฟันหรืออย่างน้อยก็บ้วนปากทุกครั้ง เพื่อป้องกันฟันผุ
  5. ใช้ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ตัวฟัน
  6. เมื่อฟันกรามแท้ขึ้น ควรพาไปพบทันตแพทย์ เพื่อเคลือบหลุมร่องฟัน ป้องกันฟันผุ เนื่องจากด้านบดเคี้ยวของฟันกรามมีหลุมร่องมากมาย ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำตามระยะเวลาที่เหมาะสม
  7. สอนให้เด็กใช้ฟันให้ถูกหน้าที่ ไม่ควรใช้ฟันกัดเล็บ กัดดินสอ กัดของเล่นที่เป็นพลาสติกแข็งๆ เป็นต้น
  8. ฝึกวิธีการตรวจฟันด้วยตัวเอง และหมั่นตรวจฟันให้เด็กเป็นประจำ

 

พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม

ในลำดับขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 5 -6 ปี จะอยู่ในระยะตอบสนอง (Responding Stage) มีพัฒนาการทางภาษาสูงขึ้น จากการเข้าสังคมมากขึ้น เช่น ในโรงเรียนอนุบาล เด็กจะได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ และการใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น

 

พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 5 - 6 ปี

พูดได้ชัดเจน และเข้าใจได้ง่ายขึ้น สนใจคำศัพท์ใหม่ๆ พยายามค้นหาความหมายของคำ โดยเฉพาะคำที่เป็นนามธรรม ด้วยการถามความหมายของคำนั้น ใช้คำถามแบบเป็นเรื่องเป็นราวและมีจุดมุ่งหมายมากขึ้น เช่น นี่เอาไว้ทำอะไร หรือ อันนี้ทำงานยังไง เป็นต้น เริ่มมีพัฒนาการทางด้านภาษามากขึ้น สามารถเข้าใจคำพูด ข้อความยาวๆ ของผู้ใหญ่ได้ บอกความหมายของคำนามได้จากการลงมือใช้หรือลงมือทำจริงๆ เช่น นมสำหรับดื่ม ลูกบอลเอาไว้โยน เป็นต้น พยายามพูดยาวๆ เลียนแบบผู้ใหญ่ จะพูดได้คล่องและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ออกเสียงพยัญชนะบางตัวไม่ชัด เช่น ส ว ฟ บอกชื่อนามสกุล และที่อยู่ได้ บอกได้ว่า ชอบ หรือ ไม่ชอบ อะไร วัยนี้ช่างเล่า ชอบเล่าเรื่องที่โรงเรียนให้พ่อแม่ฟัง และชอบเล่าเรื่องที่บ้านให้ครูฟัง ชอบท่องหรือร้องเพลงที่มีจังหวะและเนื้อร้องที่มีคำสัมผัสกัน ชอบฟังและอ่านนิทาน จดจำเรื่องโปรด และแสดงท่าทางประกอบเมื่ออยู่กับเพื่อนหรืออยู่คนเดียว แม้จะพอใจที่คนอื่นอ่านหนังสือให้ฟัง แต่ก็ชอบแยกไปนั่งตามลำพังเพื่อดูหรืออ่านหนังสือตามแบบของตัวเอง ชอบเรื่องตลกขบขัน โดยเฉพาะเรื่องสัตว์ที่ทำอะไรได้เหมือนกับคน ชอบฟังนิทานประเภทเทพนิยาย เริ่มเรียนรู้ทักษะทางภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาพูด ได้แก่ ภาษาอ่าน ภาษาเขียน มีทักษะด้านความจำหรือพูดโต้ตอบได้อย่างดี อาจใช้วิธีจำสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่เขียนเป็นคำๆ ท่องจำเลข 1-10 หรือ 1-50 ได้ แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องการเรียงลำดับ การเพิ่มจำนวน หรือจำนวนพื้นฐาน การส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 5-6 ปี


4424 3

พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนให้กับเด็ก

ด้วยวิธีการเชื่อมโยงจากความเข้าใจพื้นฐาน ไม่เน้นการอ่านแบบท่องจำหรือการเขียนให้ถูกต้องสวยงาม เด็กควรได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานระบบเสียงที่เชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงการสะกดคำอย่างง่ายๆ ให้ความสำคัญในเรื่องทักษะพื้นฐานที่สำคัญทางภาษา เพื่อการเรียนรู้อีกเรื่องหนึ่ง คือ จำนวนและตัวเลข ส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องของจำนวนหรือตัวเลข และเรื่องการเรียงลำดับ การเพิ่มจำนวน หรือจำนวนพื้นฐาน ให้เรียนรู้หลักการของจำนวน 1-10 หรือ 20 ให้ได้ ก่อนที่จะหัดให้บวกลบเลขจากโจทย์

 

พัฒนาการทางสติปัญญาและการส่งเสริม

สมองของเด็กวัยนี้ พัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ สำหรับเด็กที่ผ่านการฝึกระเบียบและความอดทนรอคอยจากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือครูในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอเด็กจะสามารถควบคุมตัวเองได้ดี และเมื่อเด็กเรียนรู้ จดจำประสบการณ์ในเชิงลบ ทั้งจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการถูกทำโทษ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งช่วยเตือนไม่ให้เด็กซนหรือทำผิดซ้ำอีก ดังนั้นเด็กในวัยนี้ จะซุกซนน้อยลง มีสมาธิมากขึ้น

 

พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 5 - 6 ปี

นับนิ้วจากมือข้างหนึ่งต่อเนื่องไปอีกข้างหนึ่งได้ เข้าใจเรื่องขนาดและคำที่แสดงปริมาณ จับคู่จำนวนกับสิ่งของได้ จัดแยกกลุ่มได้ตามขนาด สี รูป ร่าง และอะไรคู่กับอะไร ชอบการฝึกสมองลองปัญญา และคิดล่วงหน้าได้ เช่น คิดว่าจะต่อบล็อกเป็นรูปอะไร หรือจะวาดรูปเป็นรูปอะไร ชอบเล่นเกมต่อภาพ และสามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ขนาด 26 ชิ้นได้สำเร็จ เข้าใจจังหวะดนตรี แสดงความสนใจในอาชีพต่างๆ เช่น อาจบอกว่า “หนูอยากเป็นหมอ” เริ่มสนใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่านิทานหรือเรื่องที่เคยชอบ เริ่มเรียนรู้ที่จะประสานสิ่งที่รู้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เข้ากับประสบการณ์ที่เคยผ่านมา การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 5-6 ปี

พูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ เล่านิทาน อ่านหนังสือให้เด็กฟัง และทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับเด็ก เลือกรายการโทรทัศน์ที่ช่วยเส่งเสริมความรู้รอบตัว และสร้างจินตนาการให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กเล่นบทบาทสมมติได้ทุกเมื่อ

 

พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม

เด็กเริ่มออกจากบ้านไปสู่หน่วยสังคมอื่น คือ โรงเรียน เด็กจะได้เรียนรู้การเป็นสมาชิกของกลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกัน สัมพันธภาพที่มีต่อเพื่อนจะสอนการเป็นอยู่ในสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่นจะสร้างลักษณะนิสัยการแข่งขัน และสอนให้เด็กรู้จักการร่วมมือกับผู้อื่น กลุ่มจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในวัยนี้ ดังนั้น พ่อแม่ควรจะสนับสนุนให้เด็กได้เข้ากลุ่มที่เหมาะสมกับสภาพของตัวเอง

 

พัฒนาการทางสังคมของ เด็กอายุ 5 - 6 ปี

อยากทำให้พ่อแม่และผู้ใหญ่พึงพอใจ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับพ่อได้ดี และเชื่อฟังพ่อมากกกว่าแม่ รู้จักการให้ การรับ และการแบ่งปัน มีความอดทน รู้จักรอคอยมากขึ้น รู้จักแสดงออก แสดงความสนใจและการผูกมิตร คบหาเพื่อนได้ดี เล่นคนเดียวหรือเล่นกับกลุ่มเพื่อน 1-3 คนได้ รู้จักการเป็นผู้นำ การเสนอความคิดเห็น สนใจเรื่องสนุกขบขัน การส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 5-6 ปี

ฝึกฝนระเบียบวินัย ให้เด็กอยู่ในกฎเกณฑ์ที่ตกลงกันในบ้าน เตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้กับเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เช่น หัดให้มีความอดทน รู้จักรอคอย สามารถจากพ่อแม่และอยู่กับคนที่ไม่รู้จัก ได้นานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน เตรียมความพร้อมทางร่างกาย ก่อนเด็กเข้าโรงเรียน เช่น สร้างเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงดี มีทักษะในการใช้ตาและมือขั้นพื้นฐานบางอย่าง เช่น ควรรู้จักเรื่องรูปร่าง รูปทรง สี ควรเปิดหนังสือได้ เป็นต้น เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจและการส่งเสริม

เด็กวัยนี้ จะยังมีความกรวนกระวายใจและรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผลอยู่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะมีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

การควบคุมอารมณ์ (Impulse control) เด็กในระยะแรกเกิดจนถึงอายุ 5 - 6 ปี จะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ดี รู้สึกอย่างไรจะแสดงออกทันที จึงเห็นว่าบางครั้ง เด็กเล็กๆ จะมีพฤติกรรมสลับไปมาในการแสดงออกของความรัก ความโกรธ ความเกลียด หรือ อาละวาดให้เห็นอยู่เสมอๆ

พอถึงวัย 5 - 6 ปี เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาดีขึ้น มีความคิดเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ก็จะไม่แสดงออกในทันที มีภาวะสงบของอารมณ์ดีขึ้น ทำให้เด็กพร้อมที่จะเรียนหนังสือได้

 

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของ เด็กอายุ 5 - 6 ปี

รู้จักกลัว เช่น กลัวความสูง กลัวสัตว์ กลัวตาย เป็นต้น และสามารถอธิบายความกลัวหรือความวิตกกังวลได้ดีขึ้น สนใจเรื่องการเกิด การแต่งงาน การตาย มีความรู้สึกกลัวตาย ชอบเป็นอิสระ อยากให้ทุกคนปฏิบัติตัวเหมือนเขาเป็นผู้ใหญ่ แสดงออกถึงความตั้งใจและมั่นใจในตัวเอง และต้องการตัดสินใจด้วยตัวเอง ยอมรับการลงโทษที่ยุติธรรม เมื่อโกรธ เหนื่อย หรือถูกขัดใจ จะอาละวาด กรีดร้อง แต่ร้องไห้น้อยลง เวลาเครียดจะชอบดึงจมูก กัดเล็บ ปิดจมูก กะพริบตาถี่ๆ สั่นหัว หรือทำเสียงเครือๆ ในคอ เป็นต้น การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของเด็กวัย 5-6 ปี

 

หากเด็กวัยนี้ยังติดการดูดนิ้วหัวแม่มือ ควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กรุ่นเดียวกันหรือเด็กที่โตกว่า เพราะเด็กจะเลิกดูดนิ้วเมื่อถูกเพื่อนๆ แสดงท่าทีไม่ยอมรับหรือไม่ชอบเด็กที่ยังดูดนิ้ว ต้องช่วยส่งเสริมบทบาทของพี่ต่อน้อง จะช่วยให้เด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน แบ่งปันกัน เด็กจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัญหาหรือมีนิสัยขี้อิจฉา แข่งขันกับเพื่อนหรือคนรัก ช่วยให้เด็กเรียนรู้ ยอมรับความจริง และเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดกับทุกคน โดยเฉพาะเรื่องความรู้สึกกลัวตายและความตายที่เด็กกำลังกลัวอยู่ เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความตายก่อนที่เด็กจะได้สัมผัสกับความตายในชีวิตจริง และให้เด็กได้มีกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องความตาย แบบค่อยเป็นค่อยไป

 

 

เมื่อลูกช่างถาม ทำอย่างไรให้เป็นเด็กช่างคิด

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
เพราะการตั้งคำถามของลูกไม่ใช่แค่ความสงสัยใคร่รู้ตามวัย หากแต่เป็นความความช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ค่ะ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเบื่อที่ลูกตั้งคำถาม แต่ควรชวนลูกหาคำตอบเพื่อสร้างนักคิดแทนค่ะ  
How to ปั้นลูกช่างถามให้เป็นเด็กช่างคิด 

1. ตอบคำถามลูกด้วยคำถาม ไม่ใช่การปัดความรับผิดชอบค่ะ หากแต่เป็นการกระตุ้นให้ลูกคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง เช่น เมื่อลูกถามว่าทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม พ่อแม่อาจตอบลูกว่า แล้วลูกคิดว่าทำไมล่ะ จากนั้นอาจจะต่อยอดด้วยการชวนลูกหาข้อมูลจากที่ต่างๆ เช่น สถานที่จริง พิพิธภัณฑ์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

2. ชวนลูกหาคำตอบด้วยกิจกรรมที่เข้าใจง่ายบางคำถามพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องตอบก็ได้ แต่ให้ลูกได้หาคำตอบเอง เช่น ทำไมรถถึงเคลื่อนไปข้างหน้า แทนที่จะตอบว่าเพราะมีคนขับ หรือเพราะเราเติมน้ำมัน แต่ถ้าหากิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุกๆ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่มาทดลองเล่นกับลูก นอกจากจะได้คำตอบสนุกๆ ที่สร้างสรรค์แล้ว ยังกระตุ้นให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ด้วย

3.ตั้งคำถามกับลูกจากเรื่องใกล้ตัว “อะไร ทำไม ยังไง” เช่น ทำไมหมาต้องเห่าด้วย ลูกอาจจะตอบว่าเพราะหมาเห็นคนแปลกหน้า หมากำลังดีใจ หรือมีคนร้าย ตามแต่ประสบการณ์ของเขา แล้วพ่อแม่อาจจะถามต่อว่าต้องทำอย่างไรให้หมาหยุดเห่า ลูกก็จะคิดหาคำตอบและวิธีแก้ปัญหา

4. ชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ทำอาหาร ทำของใช้ DIY ในระหว่างขั้นตอนการทำจะได้พูดคุยกัน อย่างการทำอาหาร ให้ลูกลองชิม แล้วถามว่าอร่อยหรือยัง อยากใส่อะไรเพิ่มอีก หรือคุณแม่แนะนำส่วนประกอบต่างๆ ทำให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ และกระตุ้นให้เกิดการถามตอบ เป็นการพัฒนาทักษะการพูดได้ดี

5. ตั้งคำถามสร้างจินตนาการ เพราะการใช้จินตนาการก็เหมือนการบริหารสมองอย่างหนึ่ง ลองถามคำถามที่ดูเกินจริงหรืออยู่ในโลกสมมติบ้างเช่น ถ้าเหาะได้ หนูจะเหาะไปที่ไหน ถ้ามีพลังแบบเจ้าหญิงเอลซ่าหนูจะทำยังไง ถ้าโดราเอม่อนมีจริง อยากได้ของวิเศษอะไรที่สุด          


เจ้าหนูจำไมอาจน่าเบื่อบ้าง แต่เพราะนั่นคือพัฒนาการตามวัยของเขา บางครั้งหากตอบคำถามลูกไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือต้องหงุดหงิดค่ะ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าคำตอบก็คือกระบวนการให้ได้มาซึ่งคำตอบ นั่นคือการเรียนรู้ระหว่างทาง

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

เรียนรู้และส่งเสริม 5 ทักษะของลูก ด้วย 5 กิจกรรมที่ทำได้ในบ้าน

กิจกรรม-กิจกรรมครอบครัว-ของเล่นเสริมพัฒนาการ

เด็กแต่ละคนมีความชื่นชอบ และมีทักษะอันโดดเด่นแตกต่างกัน หากคุณพ่อคุณแม่เห็นแววความสามารถนั้นและส่งเสริมได้อย่างถูกต้อง ลูกเราจะใช้ทักษะเฉพาะตัวได้อย่างเต็มที่และเสริมสร้างอนาคตของเค้าได้เป็นอย่างดีเลยนะคะ

พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก รพ.เวชธานี กรุงเทพฯ กล่าวว่า เด็กไทยยุคใหม่ควรมีโอกาสได้รับการส่งเสริมทักษะสำคัญ 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ทักษะด้านตัวเลขและIT ทักษะทางด้านภาษา ทักษะด้านพละกำลัง ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น หากได้รับการฝึกฝน พัฒนา และส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่ในด้านที่ลูกชื่นชอบ ทักษะเหล่านี้อาจพัฒนาเป็นความสามารถพิเศษที่โดดเด่นประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างมากในอนาคต และเด็กทุกคนควรสามารถใช้ทั้ง 5 ทักษะร่วมกันได้อย่างลงตัว

คุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากได้กิจกรรมง่ายๆ ที่ช่วยส่งเสริมการใช้ทั้ง 5 ทักษะได้อย่างลงตัว เรามีกิจกรรมมาแนะนำค่ะ

 

กิจกรรมที่ 1: พับผ้า และจัดเป็นหมวดหมู่ให้ถูกต้อง ส่งเสริมทักษะด้านตัวเลขและIT และ ทักษะด้านพละกำลัง

คุณแม่ควรให้ลูกพับเก็บเสื้อผ้า แขวนเสื้อผ้า จัดลิ้นชักเสื้อผ้า หรือของใช้ตัวเองได้อย่างเป็นหมวดหมู่ โดยอาจแยกตามความต่างของสีเสื้อผ้า ความยาวของเสื้อผ้า และประเภทของเสื้อผ้าได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการใช้มือและแขนได้อย่างคล่องแคล่วในการพับผ้า ใช้กำลังในการเอื้อมแขวนผ้าในตู้ นอกจากนี้ลูกยังได้ฝึกฝนเรื่องระเบียบวินัยและความรับผิดชอบด้วยค่ะ

 

กิจกรรมที่ 2: ตัวต่อสารพัดนึก ส่งเสริมทักษะด้านตัวเลขและIT ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

การเล่นตัวต่อสามารถเล่นได้ตั้งแต่ลูกเล็กอายุ 2 ปีจนไปถึงลูกโตค่ะ ลูกจะใช้เรียนรู้เรื่องรูปทรง เหลี่ยมมุมของตัวต่อแต่ละชิ้นใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการคิดรูปร่างที่ตัวเองกำลังพยายามต่อออกมาโดยไม่มีถูกผิด คุณพ่อคุณแม่อาจให้โจทย์ในการเล่นตัวต่อในแต่ละครั้ง เช่น ต่อเป็นสัตว์ในจินตนาการ ต่อเป็นบ้านที่หนูอยากมี ฯลฯ ยิ่งถ้าได้เล่นกับเพื่อนทำให้การเล่นสนุกขึ้น และช่วยกันสร้างตัวต่อรูปทรงแปลกตาขึ้น

 

กิจกรรมที่ 3: สมุดภาพปะติด ส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

ในแต่ละสัปดาห์ ให้ลูกได้ลองหาและตัดรูปที่ชอบจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแผ่นพับต่างๆ มาปะติดในสมุดศิลปะ โดยให้เขาได้ใช้จินตนาการในการสร้างเรื่องราวต่างๆ จากภาพที่มี รวมถึงให้ลูกเขียนเรื่องราว ประโยคสั้นๆ เพื่อบรรยายภาพ คล้ายกับการสร้างหนังสือนิทานด้วยตัวเอง หากคุณแม่กระตุ้นให้ลูกเล่าเกี่ยวกับภาพหรือนิทานนั้นได้ จะยิ่งทำให้ลูกกล้าแสดงออก สื่อสารเก่ง และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนได้อย่างไม่เขินอายค่ะ

 

กิจกรรมที่ 4: งานบ้านเล็กน้อยก็ต้องช่วยกัน ส่งเสริมทักษะด้านตัวเลขและIT ทักษะด้านพละกำลัง และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

คุณพ่อคุณแม่ควรมอบหมายงานบ้านบางอย่างให้ลูกอย่างจริงจัง เช่น ถ้าลูกยังเล็กให้ช่วยเหลือตัวเองง่ายๆ ถอดเสื้อผ้าเองและไปใส่ในตะกร้า เก็บของเล่นเอง เมื่อโตขึ้นฝึกให้ลูกช่วยงานบ้านส่วนรวม ลูกมีหน้าที่กรอกน้ำใส่ขวด กวาดห้องนอนตัวเอง รดน้ำต้นไม้หน้าบ้าน ซักถุงเท้าตัวเอง ฯลฯ งานบ้านเหล่านี้จะส่งเสริมให้ลูกได้ใช้ทักษะด้านพละกำลังในการออกแรงทำงานบ้านละอย่าง ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอนว่าควรจะทำทำอะไรก่อนหลัง และเป็นการทำงานร่วมกันกับพ่อแม่แบบทีมเวิร์คที่จะช่วยแบ่งเบาภาระซึ่งกัน นอกจากนี้ การให้ลูกช่วยทำงานบ้านยังฝึกความรับผิดและรู้หน้าที่ของตัวเองที่จะเป็นพื้นฐานนิสัยสำคัญในการทำงานในอนาคตด้วยค่ะ

 

กิจกรรมที่ 5: เกมล่าสมบัติ ส่งเสริมทักษะการด้านตัวเลขและIT ทักษะทางด้านภาษา ทักษะด้านพละกำลัง ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

กิจกรรมนี้คุณแม่จะเป็นคนซ่อนสมบัติและวาดแผนที่ง่ายๆ นำทาง แล้วให้ลูกกับคุณพ่อออกหาสมบัติโดยมีคำใบ้ต่างๆ เช่น เดินกี่ก้าวแล้วจะเจอ บวกลบคูณหารเลขเพื่อบอกพิกัดของที่ซ่อน หรือวาดรูปเป็นสัญลักษณ์แทนว่าสมบัติซ่อนอยู่ที่ไหน ซึ่งกิจกรรมนี้ลูกจะใช้ทักษะทั้ง 5 ครบถ้วน คือ การนับหรือคำนวนเพื่อไปถึงจุดซ่อนสมบัติ การพูดคุยสื่อสารกับคุณพ่อเพื่อปรึกษากัน การเดินออกตามหาสมบัติ การใช้จินตนาการตีความจากรูปในแผนที่ที่คุณแม่ให้ไว้ และการได้ร่วมมือกันหาสมบัติกันกับคุณพ่อนั่นเอง

 

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทั้ง 5 ของลูกยังมีอีกมายมากที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้เองโดยไม่จำกัดรูปแบบค่ะ แต่ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมจะเล็กหรือใหญ่ เราเชื่อว่าทุกกิจกรรมจะมีทักษะทั้ง 5 นี้ผสมผสานกันอยู่แล้วไม่มากก็น้อยค่ะ อย่าลืมจุดประสงค์ของกิจกรรมในการปล่อยให้ลูกเรียนรู้ นอกจากการได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีของคนในครอบครัว ยังเป็นการช่วยให้ลูก ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ และพัฒนาทักษะต่างๆ ไปได้เต็มศักยภาพนะคะ

 

 

ติดตามข้อมูลสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกได้ที่ : https://www.facebook.com/OvaltineThailand

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)

เรื่องของเด็กซีพี...ที่ไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อ

เด็กซีพี-โรค CP-โรคซีพี-เด็กพิเศษ

โรคซีพี (CP) เป็นตัวย่อภาษาอังกฤษมาจากคำว่า cerebral palsy อันเป็นโรคหรือภาวะทางสมองในลักษณะหนึ่งโดยซีพีมักจะถูกแปลเป็นชื่อภาษาไทยว่า โรคสมองพิการ ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าคนที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะปัญญาอ่อน หรือพิการรุนแรงจนไม่สามารถทำอะไรได้

อย่างไรก็ดี โรคซีพีก็เหมือนกับหลายๆ โรคที่มีความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เด็กที่เป็นโรคซีพีบางคนอาจจะมีอาการรุนแรงและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็มีเด็กซีพีหลายคนที่สามารถเรียนหนังสือได้ดี หรือสามารถทำงานได้ พูดคุยได้ปกติ เพียงแต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวเท่านั้น ดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำความรู้โรคซีพีกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจโรคนี้กันอย่างถูกต้องนะครับ
 
โรคซีพี เกิดจากอันตรายใดๆ ก็ได้ที่เกิดขึ้นกับสมองในช่วงแรกของชีวิต คือเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในท้องแม่ เช่น การติดเชื้อโรคในแม่ แล้วเชื้อโรคเข้าไปทำลายสมองที่กำลังสร้างของลูก หรือการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์สมองบางส่วนตายไป หรือเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการคลอด โดยเฉพาะภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด หรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นานหลังจากเกิด โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด จนส่งผลให้วงจรประสาทที่มีการพัฒนาในช่วงเวลานั้นของเด็กถูกทำลาย

ในช่วงแรกๆ ของชีวิต วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (motor system) จะมีการพัฒนามาก ทำให้ปัญหาหลักของเด็กซีพีจะเกิดกับการควบคุมกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว ซึ่งโดยมากจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (spasticity) อันจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวที่กระทำได้ยากขึ้น
 
เด็กซีพีจึงมักมีปัญหาในการชันคอ การทรงตัว การคว้าของ หรือการเปลี่ยนจากท่านอนมาเป็นท่านั่ง แต่ในเด็กซีพีบางรายอาจจะเป็นแบบกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติที่ควบคุมไม่ได้ ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ เนื่องจากปัญหาของซีพีเกิดจากรอยโรคในตัวเนื้อสมอง เด็กซีพีจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางสมองอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคลมชัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กกลุ่มนี้ หรือมีภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ เป็นต้น
 
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาการของโรคซีพีจะเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการเคลื่อนไหวเป็นหลัก โดยเฉพาะในส่วนของแขนขา เช่น การชันคอ การคว่ำหงาย การนั่ง หรือการหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น แต่นอกจากกล้ามเนื้อแขนขาที่มีอาการเกร็งแล้ว ผู้ป่วยซีพีมักจะมีปัญหาของกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่ช่วยในการกลืนด้วย จึงมักมีปัญหาสำลักได้บ่อย โดยเฉพาะกับอาหารเหลว รวมถึงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักอาหารด้วย
 
ดังนั้น หากเด็กซีพีคนใดที่มีปัญหาสำลักบ่อยๆ หรือมีปัญหาในการจัดการเสมหะ จะต้องได้รับการประเมินเรื่องความสามารถในการกลืนด้วยโดยในรายที่มีปัญหาในการกลืน แพทย์จะแนะนำให้กินอาหารทางสายยางแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะสำลักอาหารเข้าปอดครับ
 
โรคซีพีไม่ใช่ภาวะปัญญาอ่อนหรือมีความบกพร่องในการเรียนรู้ ตัวโรคซีพีเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจรประสาทของการเคลื่อนไหว ซึ่งไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้หรือสติปัญญา เพียงแต่ในรายที่สมองได้รับอันตรายรุนแรง อาจจะทำให้เนื้อสมองเสียหายในวงกว้าง ซึ่งอาจจะไปโดนสมองส่วนการเรียนรู้และสติปัญญาได้ ดังนั้น หากรอยโรคในสมองเกิดเฉพาะวงจรประสาทของการเคลื่อนไหว เด็กซีพีคนนั้นก็จะมีการเรียนรู้และสติปัญญาเป็นปกติ แต่หากสมองได้รับความเสียหายมาก ก็จะทำให้เกิดภาวะบกพร่องด้านการเรียนรู้ร่วมด้วยได้ แต่ทั้งสองภาวะนี้ไม่ใช่ภาวะเดียวกัน
 
การดูแลเด็กซีพี จะเน้นที่การช่วยเหลือด้านการเคลื่อนไหว เพราะเนื่องจากวิทยาการในปัจจุบันยังไม่สามารถไปซ่อมแซมเนื้อสมองและวงจรประสาทส่วนที่ได้รับความเสียหายให้กลับมาเป็นปกติได้ การรักษาจึงเป็นการกระตุ้นให้เซลล์ประสาทที่ยังทำงานได้ มาช่วยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวแทนส่วนที่เสียหายไป
 
ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดและการทำกิจกรรมบำบัดจึงมีความสำคัญในการดูแลเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก เพราะทุกๆ ครั้งของการเคลื่อนไหวแขนขาจะมีการส่งสัญญาณป้อนกลับไปกระตุ้นให้เซลล์ในสมองมีการเจริญเติบโตเสมอเด็กซีพีจึงควรได้รับการฝึกทั้งด้านกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับการรักษาด้วยยาจะมีส่วนช่วยในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นอย่างมากจนไม่สามารถฝึกได้ หรือเด็กที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ดี ยาที่ช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งมักจะมีผลข้างเคียงเรื่องง่วง และทำให้เสมหะมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียหากผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืนและการจัดการเสมหะ การให้ยาจึงควรต้องระวังในประเด็นนี้ส่วนในรายที่พอจะเคลื่อนไหวได้บ้าง การช่วยเหลือโดยการใช้กายอุปกรณ์ต่างๆ จะมีส่วนสำคัญในการทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
 
การป้องกันภาวะซีพี คือการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การไปฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ การนับจำนวนครั้งการดิ้นของลูก การหลีกเลี่ยงการไปในแหล่งชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรค รวมถึงการป้องกันภาวะการคลอดก่อนกำหนด และควรจะรีบไปโรงพยาบาลหากมีอาการเจ็บท้องคลอดหรือมีน้ำเดิน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

สำหรับในรายที่มีอาการของซีพีแล้ว การรักษาเร็วตั้งแต่ช่วงวัยทารกหรือเด็กเล็กจะช่วยให้การฟื้นฟูสมองเกิดขึ้นได้ดีกว่าการรักษาที่เริ่มเมื่อตอนโต นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีวิทยาการใหม่ๆ ในการช่วยเหลือด้านการเคลื่อนไหวให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว หรือเทคนิคการผ่าตัดต่างๆ เพื่อช่วยในการกระตุ้นสมองโดยตรง ซึ่งวิทยาการเหล่านี้โดยส่วนใหญ่แม้จะยังอยู่ในระดับการวิจัย แต่มีแนวโน้มที่ดีในการนำมาประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยซีพีในอนาคตอันใกล้นี้ครับ


ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ด้านโรคสมอง 


 

เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก สร้าง EF ได้ทุกที่ทุกเวลา

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ดูเหมือนเป็นกิจกรรมธรรมดา แต่รู้มั้ยคะว่า การเล่นจ๊ะเอ๋มีความสําคัญกับการสร้าง EF อย่างมาก เพราะการรับรู้ของเด็กวัยทารก แค่พ่อแม่ปิดหน้าลูกจะเข้าใจทันทีว่าพ่อแม่หายไปแล้ว พอเปิดหน้ามาเขาจะสงสัยว่าพ่อแม่มาได้อย่างไร ตรงนี้เป็นพื้นฐานเป็นบันไดขั้นแรก ในการเรียนรู้ สมองจะทํางานประสานกันหมด

 
สมมติคุณแม่เอาผ้าบังหน้าไว้ เขาก็จะเรียนรู้ที่จะเอาผ้าออกก็ จะเจอหน้าแม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยฝึกทักษะการแก้ปัญหา... เรียนรู้ที่จะบังคับร่างกายให้สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ กล้ามเนื้อมือและสมองทํางานประสานกัน การเล่นง่ายๆ อย่างจ๊ะเอ๋หรือเอาของไปซ่อนใต้ผ้า ช่วยปลูกฝังให้ลูกเราได้รู้จักคิด แก้ปัญหา และมี EFที่ดี
 
กระบวนการสร้างEF จำเป็นต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เด็กยังเล็กซึ่งในช่วงแรกบทบาทของพ่อแม่สำคัญที่สุดที่จะดูแลให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ และมั่นคงทางจิตใจ รวมถึงได้รับโภชนาการที่ดี ได้นอนอย่างเพียงพอและได้เล่นสนุกตามวัย เมื่อลูกโตขึ้นจากวัยเบบี้เป็นวัยเตาะแตะหรือวัยอนุบาล
 
อีก 2 กุญแจสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกทำได้ที่บ้าน คือการช่วยเหลือตัวเอง และการช่วยทำงานบ้าน เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เจอกับ ประสบการณ์หลากหลาย ที่ท้าทายมากขึ้น ให้ลูก ได้ลองผิดลองถูก ช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะ EF เมื่อ ลูกได้ฝึกฝนประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ก็จะเกิดเป็นทักษะ EF ที่แข็งแรงติดตัวลูกไปจนโต
 

เสริมทักษะตามวัยให้ลูกอนุบาล ฝึกแบบนี้ดีกับพัฒนาการ

 

ลูกวัยอนุบาล หรือในช่วง การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-สอนลูกเรื่องวินัย-วินัยเชิงบวก3-6 ขวบ เป็นช่วงที่ลูกเริ่มเข้าโรงเรียนและเริ่มมีสังคม เริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น ทักษะตามวัยที่สามารถฝึกฝนหรือช่วยกระตุ้นลูกได้ในช่วงวัยอนุบาลมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างเหมาะกับช่วงอายุที่แตกต่างกันเพราะจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการตามแต่ละช่วงวัย

กิจกรรมเสริมทักษะวัย 3 ขวบ

สำหรับเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยอนุบาล เด็กบางคนเริ่มเข้าเรียนแล้ว ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ต้องสามารถทำตามคำสั่งได้ และสามารถเรียบเรียงพูดเป็นประโยคต่างๆ รู้เรื่องแล้ว และสามารถจัดดินสอวาดเขียนได้บ้างแล้ว  

ฝึกทักษะการสื่อสาร การฟังและรับคำสั่งต่างๆ เช่น ใช้คำพูดสั่งพร้อมกับช่วยให้ลูกทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น เปิดประตูให้แม่หน่อย ให้ลูกหยิบของต่างๆ เป็นต้น ฝึกวาดวงกลม หยิบกระดาษ สีเทียน ออกมาให้ลูกได้ขีดเขียนตามใจ และวาดวงกลมให้ลูกค่อยๆ วาดตาม อาจจะค่อยๆ จับมือลูกวาดตามก่อนในช่วงแรก แล้วลองบอกให้ลูกวาดด้วยตัวเอง สอนให้ลูกเปลี่ยนเสื้อผ้า เริ่มจากง่ายๆ เช่น การถอดกางเกง และการใส่กางเกง โดยค่อยๆ บอกเป็นขั้นตอนให้ลูกทำตามช้าๆ และคอยช่วยเหลือบ้าง ทำเป็นประจำให้ลูกเรียนรู้และทำเองได้

กิจกรรมเสริมทักษะวัย 4 ขวบ

วัยนี้ลูกเริ่มเรียนรู้เรื่องเพศ เริ่มรู้จักความแตกต่างของเพศ ของเด็กชาย เด็กหญิง ลูกควรสามารถแยกความแตกต่างของขนาด ของระยะต่างๆ ได้ เช่น ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ โดยพ่อแม่สามารถส่งเสริมทักษะ หรือพัฒนาการลูกในวัยนี้ได้ดังนี้  

ใหญ่หรือเล็ก สอนเรื่องขนาดให้กับลูก โดยใช้ของเล่น 2 ขนาด บอกลูกว่า “ชิ้นนี้ใหญ่” “ชิ้นนี้เล็ก” แล้วให้ลูกลองเปรียบเทียบของชิ้นอื่นๆ ดูบ้าง กรรไกรตัดกระดาษ ฝึกฝนการบังคับกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสอนเรื่องรูปทรงต่างๆ ลูกควรใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมได้ โดยอาจจะค่อยๆ จับมือลูกก่อนในช่วงแรก และค่อยๆ ให้ลูกลองใช้กรรไกรตัดเอง เลือกใช้กรรไกรสำหรับเด็กที่ไม่อันตราย ทายสิ หญิงหรือชาย สอนให้ลูกรู้ถึงความแตกต่างของเพศชายและหญิง โดยอาจจะใช้จากพื้นฐานการเรียนรู้ง่ายๆ ที่ยังไม่ต้องซับซ้อนมาก เช่น ดูจากการแต่งตัว ทรงผม ลักษณะภายนอก และบอกให้ลูกรู้ว่าตัวเองเป็นเพศอะไร แล้วลองให้ลูกทายโดยการชี้ที่เด็กคนอื่นๆ ว่าเป็นเด็กหญิง หรือเด็กชาย แม่อาจจะค่อยๆ เริ่มสอนเรื่องอวัยวะต่างๆ ที่แสดงความเป็นเด็กชาย เด็กหญิง ตอนอาบน้ำให้ลูกไปด้วย

กิจกรรมเสริมทักษะวัย 5 ขวบ

วัยนี้เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง รู้จักเรียนรู้ เลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ รอบตัว  

เล่นบทบาทสมมติ ให้ลูกเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่ หรือของตัวเองผ่านการเล่น บทบาทสมมติ กับเพื่อนๆ เช่น เล่นเป็นหมอ คนไข้ หรือ เล่นขายของ เล่นเป็นพ่อแม่ เล่นเป็นครู เพื่อส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้กับลูก หรือถ้าลูกเล่นกับเพื่อนแล้วทะเลาะกัน เป็นเรื่องธรรมดาในวัยนี้ พ่อแม่ควรลองเฝ้าดูห่างๆ ให้เด็กๆ แก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน ฝึกเล่าเรื่อง สื่อสารเป็นเรื่องราว พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกได้ฝึกการสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนหรือเป็นเรื่องยาวขึ้น เช่น เมื่อเล่านิทาน หรือให้ลูกดูการ์ตูนแล้ว ให้ลูกเล่าเรื่องในนิทานให้ฟัง หรือพูดคุยเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เช่น ที่โรงเรียนเกิดอะไรขึ้นบ้าง พยายามคุยโต้ตอบ ให้ลูกสามารถถ่ายทอดความรู้สึก ความต้องการของตัวเองได้มากที่สุด

กิจกรรมเสริมทักษะวัย 6 ขวบ

เด็กในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น สามารถคิดหาเหตุผล แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น  

บอร์ดเกม ฝึกแก้ปัญหา เลือกเกมที่เหมาะกับวัย และเล่นด้วยกันได้ทั้งครอบครัว บอร์ดเกมจะช่วยลูกฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา และยังช่วยให้ลูกห่างจากหน้าจอ ห่างจาก YouTube อีกด้วย พาลูกไปเล่นกีฬา ลูกๆ วัยนี้กล้ามเนื้อต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นมาก สามารถเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงใช้พละกำลังได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เรียนรู้ กฎ กติกา มารยาท ระเบียบต่างๆ ได้ด้วย ช่วยทำงานบ้าน เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักความรับผิดชอบ ลองมอบหมายหน้าที่ประจำให้ลูก เช่น กวาดบ้าน หรือดูแลรดน้ำต้นไม้

 
ทิปส์  

เลือกกิจกรรมที่ลูกสนใจ และรู้สึกสนุก จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะลูกได้มากกว่าการบังคับ ไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง เลือกของที่มีอยู่ในบ้านมาใช้เล่นกับลูก เพราะเด็กๆ อาจจะยังไม่มีสมาธิหรือจดจ่อได้นานพอ

ลูกวัยอนุบาลในวัยที่กำลังเรียนรู้ ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ในนมแพะมีสารอาหารครบถ้วนที่มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง นมแพะมีโปรตีนและไขมันที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย จึงทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแข็งแรง มีน้ำหนักตัวดี ที่สำคัญนมแพะมีพรีไบโอติก ที่มีพรีไบโอติก (Prebiotics) หรือใยอาหาร ชนิด Oligosaccharides เช่น Inulin & Oligofructose เป็นใยอาหารที่จะไม่ถูกย่อย และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร แต่จะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ อย่างแล็กโทบาซิลลัส และไบฟิโดแบคทีเรีย ทำให้จุลินทรีย์สุขภาพเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้เป็นปกติ ขับถ่ายง่าย ลดอาการท้องผูก และที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้ลูกได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแข็งแรงเต็มที่ มีพัฒนาการดีสมวัย

แค่ปั่นจักรยานก็สร้าง EF ได้

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

การปั่นจักรยานนอกจากเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นกิจกรรมสนุกที่เด็กๆ จะได้ฝึกทักษะ EF ทั้ง 9 ด้านด้วยนะคะ


1. Initiating = การริเริ่มลงมือทำ กล้าตัดสินใจ เมื่อคิดที่จะปั่นจักรยานก็ปั่นเลยตามความตั้งใจ  

2. Working Memory =การจดจำทักษะการขี่จักรยาน รู้จักส่วนประกอบของจักรยาน รู้กฎการขับขี่ ขี่อย่างไรให้ปลอดภัย

3. Inhibitory Control = รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ปั่นเร็วเกินจนเกิดอันตราย รู้ว่าต้องหยุดหรือชะลอตอนไหน

4. Shift หรือ Cognitive Flexibility =รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนความคิดเมื่อเจอเส้นทางที่ไม่ราบรื่นหรือมีอุปสรรค เช่น ถ้าถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ จะปั่นยังไงให้ไม่ล้ม ต้องปั่นช้าๆ หรือลงเดินแล้วจูงจักรยาน เป็นต้น

5. Focus/Attention =ตั้งใจและจดจ่อกับเส้นทางที่ปั่น ไม่วอกแวก     
        
6. Emotional Control =รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักปฏิบัติตามกฎจราจร สนุกกับการปั่นจักรยานในแบบฉบับของตนเองโดยไม่รบกวนผู้อื่น เช่น ไม่กางแขนกางขาหรือตะโกนเสียงดังรบกวนผู้ร่วมใช้เส้นทางจักรยานด้วยกัน

7. Planning and Organizing =รู้จักวางแผนการปั่น เช็กความพร้อมของจักรยานและอุปกรณ์ก่อนปั่น ใส่หมวกกันน็อคทุกครั้ง ปั่นตามเส้นทางที่กำหนด

8. Self -Monitoring =รู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบเพื่อหาจุดบกพร่อง เช่น รู้ว่าปั่นเร็วเกินไปจะทำให้เหนื่อยง่ายก็ควรผ่อนแรง หรือถ้าเมื่อยหรือปวดขาควรทำอย่างไร เป็นต้น

9. Goal-Directed Persistence =มีความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เด็กบางคนอาจมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักปั่นจักรยานทีมชาติ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
 
เห็นมั้ยคะว่า EF เป็นเรื่อง่ายที่อยู่ใกล้ตัว และสามารถทำได้ทุกๆ วัน
 
 
 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

แค่ให้ลูกล้างจานก็ได้ฝึก EF แล้วนะ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

งานบ้านง่ายๆ หลายอย่าง นอกจากฝึกทักษะให้เป็นเด็กมีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น การฝึกให้ลูกทำงานบ้านต่างๆ ยังช่วยให้เขาได้ฝึกพัฒนาทักษะ EF ด้วยค่ะ อย่างเช่น การล้างจานหลังจากกินข้าวเสร็จ ลูกจะได้ทักษะดังต่อไปนี้ 


1. Initiating = ถ้าให้ลูกทำทุกครั้งหลังจากกินข้าวเสร็จ ลูกจะรู้ว่าเป็นหน้าที่ที่ตนเองต้องทำ สามารถทำได้เองโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องบอก 

2. Working Memory =รู้จักขั้นตอนการล้างจาน ลำดับก่อนหลังว่าควรล้างอะไรก่อน เช่น ล้างแก้วก่อนจานชาม

3. Shift หรือ Cognitive Flexibility รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อเจอเศษอาหารขณะล้าง จะต้องทำอย่างไร จะเขี่ยลงอ่างล้างจาน หรือแยกออกมาทิ้งในถังขยะ 

4. Focus/Attention ตั้งใจและจดจ่อกับงานตรงหน้า เพราะถ้าลูกไม่จดจ่ออาจทำจานชามหลุดมือหรือทำตกแตกได้ 
        
5. Planning and Organizing รู้จักวางแผนการล้าง เริ่มจากการเก็บจากโต๊ะอาหาร ต้องเก็บอย่างไร ต้องแยกเศษอาหารไปทิ้งต่างหาก จานชามเท่านี้ต้องใช้น้ำยาล้างจาน ใช้น้ำล้างทำความสะอากแค่ไหน ทำอย่างไรจึงจะประหยัดน้ำ เป็นต้น  

6. Self -Monitoring = รู้จักประเมินตนเอง เช่น การเช็กดูว่าตนเองล้างจานสะอาดหรือไม่ ถ้ารีบไปเล่นทำให้ล้างจานแบบลวกๆ คราบอาหารก็ยังคงติดจานอยู่ 


ซึ่งนอกจากการล้่างจานแล้ว การให้ลูกทำงานอื่นๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน รดน้ำต้นไม้ ซักผ้า จัดของ ฯลฯ ก็ช่วยฝึก EF ได้เช่นกันค่ะ 

แบบประเมินพัฒนาการเบื้องต้น สำหรับเด็กช่วงวัย 4 ขวบ

 แบบประเมิน- พัฒนาการ- ประเมินพัฒนาการ- โรงพยาบาลเปาโล- กระตุ้นพัฒนาการ- ส่งเสริมพัฒนาการ- เด็ก  4 ขวบ

แบบประเมินพัฒนาการเบื้องต้น สำหรับเด็กช่วงวัย 4 ขวบของโรงเพยาบาลเปาโลซึ่งน่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ มาฝากกันค่ะ ลองดูนะคะว่าตอนนี้ลูก ๆ ทำได้กี่ข้อแล้ว และลองดูแนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการประกอบเพื่อช่วยส่งเสริมลูกดูค่ะ

แบบประเมินพัฒนาการเบื้องต้น สำหรับเด็กช่วงวัย 4 ขวบ

 

พัฒนาการ ทำได้
ทำไม่ได้
แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ
1 เดินขึ้นลงบันได โดยก้าวสลับเท้า และไม่จับราวบันได    
  1. ให้ลูกถือของเล่นทั้งสองมือแล้วเดินขึ้นบันได หรือให้เดินกลางบันไดห่างจากราวจับ แล้วแม่เดินตามไปด้านหลังเพื่อคอยช่วยถ้าลูกเสียการทรงตัว ถ้ายังสลับเท้าขึ้นบันไดไม่ได้ ช่วยจับขาข้างหนึ่งไว้ในขณะที่ขาอีกข้างกำลังก้าวขึ้นบันได ลดการช่วยเหลือลงจนทำได้เอง

  2. ตอนลงบันไดแม่อาจจะต้องช่วยจับที่ไหล่ของลูกไว้ ในขณะที่ลูกก้าวขาลงมาให้พักเท้าทั้งสองข้างในแต่ละขั้นเสียก่อน แล้วจึงให้ลูกเดินสลับเท้าลงมาเอง ทำตัวอย่างให้ลูกดู และช่วยเหลือโดยจับนิ้วอื่นกำไว้ ยกเว้นนิ้วโป้งแล้วลดการช่วยเหลือลง
2 กระดิกนิ้วโป้งโดยที่นิ้วอื่นไม่กระดิกตาม เลือกขนาดใหญ่-เล็กได้    
  1. ใช้วัตถุ 2 ชิ้น ชนิดเดียวกันที่มีขนาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น รถคันใหญ่-เล็ก ช้อนคันใหญ่-เล็ก ตุ๊กตาใหญ่-เล็ก เป็นต้น

  2. บอกลูกว่า “ชิ้นนี้ใหญ่” “ชิ้นนี้เล็ก” แล้วให้ลูกเลือกที่ละขนาด ใหญ่ หรือเล็กก่อนก็ได้ เมื่อลูกเลือกได้ถูก จึงสอนอีกขนาด

  3. หัดเลือกโดยใช้รูปภาพ (เช่น วัตถุในบ้าน สัตว์ หรือคน) ช่วยเหลือลูกเลือกให้ถูกต้องในระยะแรก
3 บอกชื่อจริงได้    
  1. บอกชื่อจริงของลูกแล้วให้ลูกพูดตาม จากนั้นให้ถามลูก “หนูชื่อจริงว่าอะไร” ควรถามอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกมีโอกาสฝึกหัดบ่อย ๆ
4 บอกเพศของตัวเองได้    
  1. สอนให้ลูกรู้ถึงความแตกต่างของเพศชายและหญิง โดยดูจากการแต่งตัว ทรงผม และบอกให้ลูกรู้ว่าตัวเองเป็นเพศอะไร ต่อมาถามลูกว่า “หนูเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย” และให้ลูกตอบ
5 ปัสสาวะถูกที่ได้เอง    
  1. บอกให้ลูกไปห้องน้ำ เมื่อต้องการจะถ่ายทุกครั้งโดยในระยะแรกอาจจะไปเป็นเพื่อน ต่อไปให้ไปเอง

 

สรุปผลการประเมินพัฒนาการเบี้องต้น........... ( 1 ข้อเท่ากับ 1 คะแนน) ** กรณีทำได้มากกว่า 3 ข้อ ถือว่าปกติ **

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่คลินิกเด็ก

เครือโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล ทุกสาขา



แม่ท้องเช็กเลย! ประสาทสัมผัสของลูกในท้องแต่ละสัปดาห์พัฒนายังไง

พัฒนาการทารกในครรภ์-กระตุ้นทารกในครรภ์-วิธีทำให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในท้อง-วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์-สุขภาพครรภ์
  
แม่ท้องอยากรู้ไหมคะว่า ระบบประสาทสัมผัสของลูกในท้องพัฒนาอย่างไร ลูกในท้องเราแต่ละสัปดาห์ เขาสัมผัสอะไรได้จากพ่อแม่บ้าง เราลองมาเช็กประสาทสัมผัสของลูกตามสัปดาห์ของอายุครรภ์ตลอด 9 เดือนกันเลยค่ะ 
พัฒนาการระบบประสาทของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 เริ่มสร้างระบบประสาท

  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 5 เริ่มมีการแยกเนื้อเยื่อเอ็กโตเดิร์นแล้วพัฒนามาเป็นระบบสมองและเส้นประสาท
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 10  ระบบประสาทไขสันหลังของลูกเริ่มพัฒนา
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่  11 เส้นประสาทจะแตกแขนงมาถึงกล้ามเนื้อเล็กๆ จะสังเกตุเห็นได้ว่าทารกจะกำนิ้ว กำมือ หรือ คลายมืดได้
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 12 ลูกสามารถกรอกตาได้


ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ทารกในครรภ์รับสัมผัสได้มากยิ่งขึ้น

  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 14 ลูกน้อยสามารถแสดงออกทางใบหน้าได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขยับหน้า ขยับปาก หรือการขมวดคิ้ว ลูกก็เริ่มที่จะทำได้
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 15 แขนขาของลูกสามารถขยับได้อย่างชัดเจน จนคุณแม่หลายคนรู้สึกได้ และยังมีการตอบสนองต่อแสงเมื่อนำแสงไปจ่อที่หน้าท้อง ลูกน้อยก็จะขยับหนีแสงไฟ
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 17  ลูกสามารถขยับข้อต่างๆได้แล้ว
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 19 ลูกน้อยมีการตอบสนองต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเฉพาะเสียง ฉะนั้นการที่คุณแม่พูดคุยกับลูกน้อยจะช่วยพัฒนาทักษะการฟังของลูกได้
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 20-21 ลูกน้อยมีการขยับแขนขาบ่อยขึ้น ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกลูกกำลังดิ้นได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถ้าหากไม่มีความรู้สึกนี้ แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์


ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ยิ่งกระตุ้น ทารกในครรภ์ยิ่งตอบสนอง

  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 26 ลูกสามารถแยกเสียงของพ่อแม่ได้แล้ว
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 27  ลูกเริ่มมีอาการสะอึก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีเพราะการสะอึก เป็นอีกหนึ่งกลไกของระบบประสาทควบคุมเรื่องการกิน
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 28 ลูกมีการกระพริบตาและมีความไวต่อแสงมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองต่อแสงที่มากระตุ้นได้
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 30 ลูกมีการพัฒนาจอประสาทรับแสงได้ดีขึ้นและต่อมรับรสของลูกสามารถพัฒนาตอบสนองได้ดีขึ้น

ดังนั้นเพื่อพัฒนาระบบประสาทสัมผัสของลูก คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักและอาหารการกินให้ดี กินให้หลากหลาย เพื่อให้ลูกได้พัฒนาการรับรสต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรกระตุ้นพัฒนาการทากรในครรภ์ด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น ลูบ จับ สัมผัสบ่อย ๆ พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ โดยเฉพาะเสียงของแม่ ซึ่งนอกจากเสียงพูดของแม่แล้ว ลูกยังรับรู้เสียงที่สะท้อนเข้ามาข้างในตัวแม่ด้วย เช่น เสียงเส้นเลือด เสียงเต้นของหัวใจ จังหวะหัวใจของแม่ และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเด็กทารกถึงได้หลับสบายเวลาอยู่บนอกคุณแม่ เพราะเขาคุ้นกับเสียงหัวใจของแม่นั่นเอง

ให้ลูกกินข้าวเอง ก็ฝึก EF ได้

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

เด็กเล็ก ถึงวัยหนึ่งก็ชอบใช้มือหยิบจับอาหารเอง คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งห้ามหรือกลัวลูกทำเลอะเทอะนะคะ ลองให้เขาได้ใช้มือหยิิบจับอาหารเองดูบ้าง แล้วจะรู้ว่าการกินข้าวเองนั้นเป็นความสุขอย่างหนึ่งของลูกค่ะ และที่สำคัญ ลูกจะได้ฝึกทักษะ EF ด้วยค่ะ เช่น
  • จำเพื่อใช้งาน – ลูกจะได้จดจำได้ว่าจาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ หรือช้อนกลางใช้อย่างไร และใช้ทำอะไร เช่น ช้อนใช้ตักข้าว ส้อมใช้ช่วยเขี่ยและจิ้มอาหาร
  • การริเริ่มและลงมือทำ – ลูกได้ฝึกฝนการกินข้าวด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้พ่อแม่ป้อน
  • การกำกับตัวเอง– ลูกจะได้รู้กิจวัตรประวันในการกินอาหารว่า เมื่อถึงเวลาจะต้องกินข้าวได้เอง

ถ้าอาหารในแต่ละมื้อปรับเปลี่ยนเสมอ ลูกจะยิ่งได้ใช้ทักษะในการไตร่ตรอง ยืดหยุ่น และวางแผนด้วย เช่น วันนี้กินข้าวใช้ช้อนส้อม พรุ่งกินก๋วยเตี๋ยวที่ต้องใช้ตะเกียบ ลูกจะได้เรียนรู้เครื่องมือและวิธีใหม่ๆ หรือแม้แต่การใช้ช้อนส้อมกินก๋วยเตี๋ยวด้วยวิธีที่ถูกต้องได้เช่นกัน

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นจากการเปิดโอกาสให้ลูกได้กินข้าวด้วยตัวเองแบบไม่กลัวหก ไม่กลัวเลอะ จะทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตัวเอง มีความพยายาม มุ่งมั่น ลูกจะรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ได้ทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ได้เองเหมือนผู้ใหญ่ การเปิดโอกาสให้ลูกคือประตูบานแรกของการพัฒนา EF เลยนะคะ


 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

ไม่อยากให้ลูกตัวเตี้ยต้องทำแบบนี้

เด็กตัวเตี้ย, ลูกตัวเตี้ย, ลูกตัวเล็ก, ลูกไม่สูง, เพิ่มความสูง, อยากให้ลูกสูงทำไงดี, วิธีทำให้ลูกสูง, สูงได้ด้วยวิธีนี้, ลูกไม่สูงเท่าเพื่อน, พ่อแม่เตี๊ย ลูกสูงได้ไหม

ลูกตัวเตี้ยเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พ่อแม่หลายคนกังวล พ่อแม่อยากเลี้ยงลูกให้แข็งแรงเติบโตสมวัยทั้งนั้น แต่ถ้าอยู่ไปๆ เจ้าตัวเล็กที่บ้านเกิดส่วนสูงหล่นเกณฑ์ ทั้งที่เมื่อก่อนส่วนสูงขึ้นปกติดี ปัญหาสำคัญเช่นนี้ รอช้าไม่ได้ค่ะ

ไม่อยากให้ลูกตัวเตี้ยต้องทำแบบนี้

ปัจจัยการเติบโต

พันธุกรรม เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่ตัวเล็กมักจะมีรูปร่างเล็กตามเผ่าพันธุ์ เช่นเดียวกันกับเด็กที่เกิดจากพ่อแม่รูปร่างสูงก็มักจะสูงตามไปด้วย นอกจากนั้นพันธุกรรมยังเป็นตัวกำหนดขั้นตอนของการเจริญเติบโตด้วย

  • สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การรับประทานอาหารไม่เพียงพอหรือไม่ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งมีการเจ็บป่วยเรื้อรังซ่อนเร้นอยู่ เช่น เด็กเป็นหอบ หืด ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกเดือน ต้องพ่นยา ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และระหว่างการป่วยต้องใช้พลังงานค่อนข้างสูงอาจทำให้เด็กเติบโตได้ไม่ดี

  • ฮอร์โมน ความผิดปกติของฮอร์โมนหลายชนิดที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กตัวเตี้ย ได้แก่ ภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น

  • เชื้อชาติ คนเชื้อชาติตะวันตกจะมีความสูงมากกว่าทางตะวันออก

  • ความเครียด เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เนื่องจากมีผลทำให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตผิดปกติไป

 

สูงแค่ไหนถึงปกติ

สามารถทราบได้จากการวัดส่วนสูง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานการเจริญเติบโตปกติ ถ้าความสูงมีค่าต่ำไปจากมาตรฐานที่ปกติก็ถือว่าเตี้ย หรือ ประเมินจากอัตราการเพิ่มส่วนสูงต่อปีดังนี้


 

 

 

อายุ (ปี) อัตราการเพิ่มความสูง / ปี(ซม.)

แรกเกิด- 1

25

1 - 2

10-12

2 - 4

6-8

4 - 10

5

 

 

การจะสังเกตว่าเด็กตัวเตี้ยหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยเฉพาะความสูงและลักษณะรูปร่างของพ่อแม่ บวกกับการติดตามดูกราฟการเจริญเติบโตของเด็ก ว่ามีการเพิ่มอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของวัยหรือไม่ ไม่ใช่ประเมินจากการเทียบส่วนสูงกับเด็กๆ ในวัยเดียวกัน ซึ่งถ้าหากพ่อแม่เป็นคนรูปร่างเตี้ยอยู่แล้ว เด็กก็มีแนวโน้มที่เป็นคนตัวเตี้ย แต่หากเด็กที่เคยมีประวัติการเจริญเติบโตปกติดี แต่ส่วนสูงเกิดการหยุดชะงักหรือเพิ่มในอัตราที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยที่มีภาวะโภชนาการปกติดี นั่นอาจมาจากความผิดปกติฮอร์โมนการเจริญเติบโตภายในร่างกายของเด็ก

 

รู้จักฮอร์โมนเจริญเติบโต

ฮอร์โมนเจริญเติบโต หรือ growth hormone เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่ให้เด็กมีการเจริญเติบโตปกติตามวัย และยังมีผลต่อกระบวนการสร้างน้ำตาลในกระแสเลือดด้วย ถ้าต่อมใต้สมองมีความผิดปกติ จะเป็นเหตุให้ต่อมดังกล่าวหยุดผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตหรือผลิตได้น้อยลง และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าและตัวเตี้ยได้

ฮอร์โมนเจริญเติบโตนี้จะถูกผลิตและหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองขณะที่เด็กนอนหลับ และเมื่อออกกำลังกาย นอกจากนั้นฮอร์โมนดังกล่าวจะถูกผลิตในปริมาณที่มากขึ้นในระยะเข้าวัยรุ่น เนื่องจากฮอร์โมนเพศมีผลช่วยเสริมในการหลั่งฮอร์โมนเจริญเติบโต ดังนั้นแพทย์จึงมักจะแนะนำให้เด็กนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

สังเกต...ลูกขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต

เด็กที่ขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตจะมีอาการเติบโตช้า อัตราการเจริญเติบโตน้อยไปกว่าค่าปกติดังกล่าวข้างต้น เสียงเล็กแหลม รูปร่างเตี้ยแต่จ้ำม่ำ ในเด็กผู้ชายอาจพบว่ามีอวัยวะเพศเล็กกว่าเด็กทั่วๆ ไป บางรายที่ขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตชนิดรุนแรงจะพบว่ามีโอกาสมีน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาจเป็นเหตุให้เด็กชักจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อีกด้วย  

 

ภาวะไทรอยด์ทำเด็กเตี้ย

เด็กที่ขาดฮอร์โมนชนิดอื่นก็ทำให้เด็กเตี้ยได้ ได้แก่ เด็กที่ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งโดยปกติจะผลิตจากต่อมไทรอยด์ที่ตั้งอยู่บริเวณคอ นอกจากจะทำให้เด็กเตี้ยแล้วในบางรายจะมีพัฒนาการช้าร่วมด้วย นอกจากนั้นเด็กที่ขาดฮอร์โมนเพศ เนื่องมาจากความผิดปกติของรังไข่ในเด็กหญิง หรือ ความผิดปกติของอัณฑะในเด็กชายก็เป็นเหตุให้เด็กเจริญเติบโตช้าในระยะเข้าสู่วัยรุ่นได้  

เด็กเตี้ยอาจจะมีเหตุจากโรคบางชนิดที่มีฮอร์โมนมากเกินไป ได้แก่ โรคของต่อมหมวกไตซึ่งสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์มากเกินไปเป็นสาเหตุทำให้เด็กเตี้ยแต่อ้วนได้ เด็กที่ได้รับยาที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะการได้รับยาที่มีสเตียรอยด์มากเกินไปจะเป็นเหตุให้เด็กเตี้ยได้

 

เมื่อใดควรพาลูกไปพบแพทย์

  1. พล็อตกราฟความสูงแล้วความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ในช่วงอายุนั้นๆ

  2. อัตราการเพิ่มส่วนสูงน้อยกว่าปกติเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีต โดยเฉพาะตั้งแต่ 4 ปีไปแล้วน้อยกว่าปีละ 5 ซม.

  3. เด็กที่คลอดยาก คลอดแล้วต้องให้ออกซิเจน อาจมีปัญหาที่ต่อมใต้สมอง ซึ่งแสดงผลการเจริญเติบโตให้เห็นชัดเมื่ออายุ 1 ปีครึ่งขึ้นไป

  4. ในกรณีที่เด็กคลอดออกมาแล้วตัวเล็ก เช่น ตอนแม่ตั้งครรภ์น้ำหนักขึ้น 13-15 กก. แต่ลูกออกมาหนักไม่ถึง 2.5 กก. และหากความยาวแรกเกิดต่ำกว่า 50 ซม. แสดงว่าน้ำหนักคุณแม่มากแต่ไม่ได้ส่งไปถึงลูกเลย ซึ่งเหตุผลที่โภชนาการผ่านไปถึงลูกไม่ได้ อาจเกิดปัญหาที่รกหรือไม่ หรือระหว่างตั้งครรภ์แม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด และกินยากันชักเป็นประจำหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้จะบั่นทอนสุขภาพลูก อาจส่งผลให้เป็นเด็กตัวเล็กตลอดไปได้

 

เมื่อต้องพบแพทย์

แพทย์จะทดสอบฮอร์โมนโดยการตรวจเลือด เพื่อประเมินความสามารถของต่อมใต้สมองว่า สามารถผลิตฮอร์โมนได้มากน้อยเพียงใด หรือพิจารณาเป็นรายๆ ไป ว่าเด็กมีความผิดปกติที่ระบบไหน เช่น อาจผิดปกติระบบกระดูก วัดแล้วไม่ได้สัดส่วน ต้องดูระดับแคลเซียมและเกลือในร่างกาย ถ้าฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติก็อาจเตี้ยได้

นอกจากนั้นแพทย์จะตรวจวินิจฉัยทางรังสี ได้แก่ เอ็กซเรย์ที่ข้อมือเพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูก และในบางรายจำเป็นต้องมีการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ เพื่อดูลักษณะของต่อมใต้สมอง เด็กที่เป็นโรคเตี้ยเนื่องจากการขาดฮอร์โมน สามารถให้การรักษาได้โดยการให้ฮอร์โมนชนิดที่เด็กขาดทดแทนเข้าไป

แต่กรณีที่พิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่า เด็กไม่มีการขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต แพทย์จะไม่แนะนำให้การรักษาด้วยฮอร์โมนเจริญเติบโต เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้วยังอาจจะทำให้เด็กเสี่ยงต่ออาการข้างเคียงของการรักษาได้ ได้แก่ ระดับน้ำตาลสูง ภาวะบวมน้ำ ปวดศีรษะ เป็นต้น

 

เลี้ยงลูกให้โตสมวัยได้ไม่ยาก

  1. รับประทานให้ครบทุกหมวดหมู่

  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  4. เฝ้าสังเกตดูอัตราการเพิ่มความสูงทุกปีว่าเป็นไปตามค่าปกติดังกล่าวหรือไม่

  5. ถ้ามีอัตราการเจริญเติบโตที่น้อยกว่าปกติ ควรพาไปรับคำปรึกษาจากแพทย์

เหล่านี้คือสิ่งที่พ่อแม่ควรดูแลใส่ใจอย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยบอกให้ทราบถึงภาวะผิดปกติที่เกิดได้แต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ปรึกษาแพทย์และหาทางดูแลรักษาได้ทันท่วงทีเพราะหากพาเด็กที่สงสัยว่าเตี้ยจากการขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตไปพบแพทย์ก่อนที่เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น การรักษาจะได้ผลดีกว่ารอเมื่อเด็กโตแล้ว

 

 

ไอเดียเจ๋ง!! ชวนลูก ทดลองวิทยาศาสตร์ ง่าย ๆ ที่บ้าน

กิจกรรมสำหรับเด็ก- ทดลองวิทยาศาสตร์- กิจกรรมที่บ้าน

 สวทช. เปิดแฟนเพจรวบรวมการทดลองวิทยาศาสตร์สนุก ๆ สำหรับเด็ก ๆ และผู้ปกครองทำเองที่บ้านกับครอบครัว

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ (ACM) ขอเชิญชวนน้องๆ และผู้ปกครอง ใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอม และ work from home จากวิกฤตโรคระบาดของไวรัส COVID-19 โดย สวทช. ได้รวบรวมการทดลองสนุกๆ ได้ความรู้ มาเสิร์ฟถึงบ้าน

กิจกรรม Fun Science @Home by NSTDA  พร้อมทำเองกันที่บ้านกับครอบครัวได้ จึงขอเชิญชวนเข้าชมวิดีโอคลิปการทดลองสนุกๆ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น สไลม์บอลบีบบริหารมือ มหัศจรรย์ถ่านดูดซับ ความลับของผิวส้ม สารสีในใบไม้ บอลลูนอากาศร้อน โยเกิร์ตทำเอง พระอาทิตย์วาดรูป และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายที่รอน้อง ๆ หนู ๆ อยู่นะคะ

โดยช่องทางการร่วมสนุกได้ 2 ช่องทางค่ะ

 

  1. ทางแฟนเพจ

https://www.facebook.com/sciencecamp.fanpage/

  1. ทางเว็บไซต์

https://www.nstda.or.th/sciencecamp/funscience

 

คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปเล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านนะคะ น้อง ๆ จะสนุกสนาน แถมได้รับความรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วยค่ะ