facebook  youtube  line

8 กิจกรรมช่วงปิดเทอม เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกฉลาดสมวัย

เด็ก- พัฒนาการ-กระตุ้นพัฒนาการ- กิจกรรม- กิจกรรมสำหรับเด็ก- กิจกรรมช่วงปิดเทอม- ปิดเทอม- เกมเสริมพัฒนาการ- ปิดเทอมพาลูกทำอะไรดี- ที่เที่ยวปิดเทอม- กิจกรรมอยู่บ้านช่วงปิดเทอม- ลูกปิดเทอม- กิจกรรมปิดเทอม-กิจกรรมสร้างสรรค์ปิดเทอม- โรงเรียนปิดเทอม 

ช่วงปิดเทอม อยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาสร้างสรรค์กิจกรรมให้ลูกน้อย ที่ทำง่ายๆ ภายในบ้านกับครอบครัวกันค่ะ เพื่อเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ให้ลูก ในรูปแบบเกม กิจกรรม สามารถทำได้ในเวลาว่าง มาชวนลูกพัฒนาความรู้ไปพร้อมกันกับกิจกรรมสำหรับเด็ก ช่วงปิดเทอมนี้กันค่ะ

8 กิจกรรมเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช่วงปิดเทอม
  1. ชั่วโมงศิลปะ คุณพ่อคุณแม่เตรียมซื้อสีน้ำ สีเทียน สีไม้ พู่กัน กระดาษ และอื่นๆ ที่จะให้ลูกสร้างงานศิลปะได้เลยค่ะ เพราะกิจกรรมดีๆ ช่วงปิดเทอมคือการให้ลูกสร้างงานศิลปะด้วยตัวเอง เช่น วาดรูปธรรมชาติรอบบ้านที่เห็น ออกไปวาดรูปในสวนหมูบ้าน วาดรูปครอบครัว เป็นต้นค่ะ บางครั้งภาพที่ลูกวาดออกมา อาจกำลังบอกตัวตนและนิสัยของเขาด้วยนะคะ  
  2. ผู้ช่วยทำอาหาร เข้าครัว วันหยุดสุดสัปดาห์ เวลาที่คุณแม่ไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ต ชวนลูกไปด้วยสิคะ ลองถามว่าเย็นนี้เรากินอะไรกันดี ให้เขาลองเลือกของ ผัก ช่วยหยิบเนื้อหมู เนื้อไก่ เสร็จแล้ว กลับมาบ้านเข้าครัวเริ่มทำอาหารกันค่ะ ขอมอบตำแหน่ง ผู้ช่วยให้ลูกดูนะคะ ลูกจะเป็นผู้ช่วยที่ดีมากๆ สิ่งที่ให้ลูกทำก็เช่น ล้างผัก เด็ดผัก เจียวไข่ ช่วยหยิบของ เขาจะรู้สึกสนุกและมีความสุขที่ได้ทำอาหาร ลูกจะกินอาหารที่ตนเองทำจนหมดจาน จนคุณแม่อดแปลกใจไม่ได้เลยล่ะคะ         
  3. เกมต่อจิ๊กซอว์ เริ่มจากการซื้อจิ๊กซอว์ตามวัยของลูกมาให้เล่นสัก 2-3 แบบค่ะ จากง่ายๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มความยากขึ้น เพื่อให้ลูกได้มีกิจกรรมทำที่บ้าน อาจจะช่วยลูกต่อบ้างเพื่อเป็นกิจกรรมครอบครัว หากลูกต่อเสร็จชมลูกให้เยอะๆ เพราะลูกจะได้ภูมิใจ การต่อจิ๊กซอว์ช่วยให้ลูกมี EF และพัฒนาการที่ดีมากด้วยนะคะ  
  4. เล่นบทบาทสมมติ ข้อนี้เด็ก ๆ มักจะชอบเล่นตามวัยของเขาอยู่แล้ว ครอบครัวควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน หรือชวนเพื่อนในละแวกบ้านมาเล่นกับลูกที่บ้าน อย่าปล่อยให้ลูกอยู่กับมือถือมากไปนะคะ       
  5. ร้องเล่นเต้นรำ นึกถึงการเรียนในชั้นอนุบาลที่คุณครูจะเปิดเพลงให้เด็กๆ เต้นตาม ในท่าง่ายๆ เพลงก็มักเป็นเพลงสดใส สอนในเรื่องต่างๆ รอบตัว รวมถึงสอนให้มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของตนเอง แล้วก็เต้นประกอบเพลงด้วยท่าต่างๆ ซึ่งเราเชื่อว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์มากต่อเด็กค่ะ       
  6. เล่นกีฬา มีกีฬามากมายที่เด็กๆ เล่นได้ จะตีแบด ว่ายน้ำ ฟุตบอล ที่เด็กๆ รอให้พ่อแม่พาพวกเขาไปใช้พลังงานที่มีในตัวอย่างล้นเหลือให้หมด การเล่นกีฬายังปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับเด็กๆ ได้อีกมากมาย เช่น รู้จักอดทนรอ มีน้ำใจ เป็นต้น       
  7. เล่นทำความสะอาดบ้าน การมอบหมายงานเช่น ถูบ้าน กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ เช็ดฝุ่น ล้างจาน ตากผ้า เก็บผ้า ให้กับเด็กๆ อาจไม่ใช่งานที่เหนื่อยจนเกินไปนัก เชื่อเถอะค่ะว่านอกจากการตั้งใจเรียนแล้ว งานเหล่านี้เด็กๆ ก็ทำได้ แถมยังช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ได้อีกด้วย  
  8. ไปทำกิจกรรมอาสา หากวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มาถึง นอกจากพาไปเที่ยวแล้ว ลองหาที่พาลูกไปทำกิจกรรมเหล่านี้นะคะ เช่น บริจาคของเล่น บริจาคเสื้อผ้า หรือเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กตามสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อที่เขาจะได้เป็นเด็กมองโลกให้กว้างขึ้น มีน้ำใจ สอนลูกเป็นผู้ให้ รู้จักแบ่งปันของให้แก่ผู้อื่นค่ะ

 

8 ทักษะฝึก Working Memory ให้ลูกวัยอนุบาล

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

Working memory คือความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ เช่น การทำอาหาร การคิดเลขในใจ การเขียนหนังสือ อ่านหนังสือ ฯลฯ 


ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถฝึก Working Memory ให้ลูกได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้ค่ะ 

1. ทำอาหารร่วมกัน
สอนให้ลูกรู้จักวัตถุดิบต่าง เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ เครื่องปรุงต่างๆ พาลูกไปจ่ายตลาดเพื่อให้เห็นของที่หลากหลายและแยกเป็นหมวดหมู่ และรู้จักรอคอย เช่นรอจ่ายเงินหรือรอให้พ่อแม่ซื้อของให้เสร็จ จากนั้นคือขั้นตอนของการทำอาหาร ที่ลูกจะได้เห็นแต่ละขั้นตอน ทำอะไรก่อนหลัง และอดใจรอเมื่ออาหารเสร็จแล้ว

2. พาลูกไปเจอสัตว์เป็นๆ และอยู่กับธรรมชาติ
เด็กๆ มักจำสิ่งที่เป็นของจริงได้มากกว่าเห็นแค่รูปภาพหรือภาพในทีวี การให้เด็กได้สัมผัสประสบการณ์จริง จะทำให้เขาจำเรื่องเล็กน้อยๆ ลักษณะพิเศษของสิ่งๆ นั้นได้มากกว่า ทั้งจำได้ถึงประสบการณ์ร่วมของตัวเอง พ่อแม่ และสิ่งที่พบเจอได้ด้วย

3. เบี่ยงเบนความสนใจเวลาที่ลูกอารมณ์ไม่ดี
เช่น ขณะแม่ขับรถอยู่ และลูกนั่งในคาร์ซีท หากลูกอารมณ์ไม่ดีร้องไห้งอแงจะออกจากคาร์ซีท พ่อแม่อาจชี้ชวนให้ลูกดูสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้นับ 1 – 10 ให้นับเสาไฟ ให้นับนกที่บินผ่าน หรือแม้แต่บอกสีรถคันที่ขับผ่านมา จะช่วยให้ลูกเกิดความยับยั้งชั่งใจ ทั้งช่วยตอกย้ำความจำในเรื่องต่างๆ ได้ด้วย

4. ให้ลูกเรียนรู้จากความผิดพลาด
เช่น พ่อแม่ห้ามลูกไม่ให้กระโดดลงจากม้านั่ง เตือนแล้วว่าถ้ากระโดดลงมาแล้วล้ม เจ็บแล้วจะไม่มีคนโอ๋ หากลูกยังดึงดัน พ่อแม่ก็ต้องทำตามที่พูด ลูกจะเรียนรู้ด้วยตัวเองถึงผลของการกระทำของตัวเอง แต่ต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ

5. ปล่อยให้ลูกรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
การขอร้องให้ลูกช่วยเรื่องต่างๆ หรือสร้างสถานการณ์ เพื่อสร้างโอกาสให้ลูกรู้จักและฝึกแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาของลูกในสถานการณ์ที่เหมือนกันนั้น อาจเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละครั้งได้

6. ให้ลูกฝึกคิดเลขได้มากกว่าการคิดเลข
การซื้อของไปแจกเพื่อนๆ ในห้อง อาจจะได้มากกว่าแค่ถามลูกว่าเพื่อนมีกี่คน ต้องซื้อของกี่ชิ้นจึงจะพอ เช่น ขนมมีซองละ 5 ชิ้น ในห้องรวมลูกแล้วมี 21 คน ลูกจะมี 2 ทางเลือก ว่าจะซื้อ 4 ซอง 20 ชิ้น หรือ 5 ซอง 25 ชิ้น ลูกอาจจะบอกว่าซื้อแค่ 4 ซองพอ เขาไม่กินก็ได้ เสียสละให้เพื่อน นอกจากจะได้เรื่องคณิตศาสตร์ ยังแสดงให้เห็นว่าลูกคิดอะไรอยู่อีกด้วย

7. ฝึกความจำด้วยกิจกรรม 3 อย่าง
ให้ลูกลองทำภารกิจ เช่น ให้ลูกไปเอาน้ำในตู้เย็น ขนมในถุง และกระดาษทิชชู่ แล้วคอยดูว่าลูกจะเอามาให้ได้ทั้งหมดหรือไม่ นอกจากลูกจะต้องจำภารกิจให้ครบหมดแล้ว ยังต้องรู้จักวางแผนให้การเดินไปเอาด้วยว่า จะหยิบอะไรก่อนหลัง หรือถือแค่สองมือไม่พอ ต้องเอามาวางก่อนแล้วกลับไปเอาอีกที เป็นต้น

8. สร้างเงื่อนไขสร้างนิสัยดี
เด็กวัยนี้หากอยากได้อะไรแล้วไม่ได้ดั่งใจ มักมีอารมณ์หงุดหงิด โกรธ และโมโห พ่อแม่ควรสร้างเงื่อนไขที่แก้ไขอารมณ์ลูก และสร้างนิสัยดีไปพร้อมๆ กันได้ เช่น แม่กำลังล้างจานอยู่ แต่ลูกจะให้แม่หยิบขนมให้ แม่ยังหยิบไม่ได้ เลยบอกลูกว่าให้ลูกรอแม่ล้างจานเสร็จก่อน และต้องพูดเพราะๆ กับแม่ด้วย ถ้าลูกยังดื้อไม่ทำตาม แม่ก็ล้างจานต่อไป เมื่อไหร่ที่ลูกยอมทำตามเงื่อนไขของแม่แล้ว ลูกก็จะได้เรียนรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และทำตามเงื่อนไขที่วางไว้ด้วย



           
 ef module2

 

Mom's Issue EP 20 : ของเล่น Unisex เล่นได้พัฒนาการดี

 

ป้าปอยและแม่ดอยชวนมาแชร์ไอเดียเลือกซื้อของขวัญให้เด็กๆ ไม่ว่าจะเด็กชายเด็กหญิง เลือกซื้อแบบไหนดี ไปฟังกันเลย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP.13 : การ์ตูนเด็กไม่ใช่ผู้ร้าย! แค่ต้องเลือก

 

การ์ตูนไม่ใช่ผู้ร้าย แต่ต้องเลือกให้เป็น เลือกอย่างมีหลักการ และกำหนดกติกาในการดู มีวิธีอะไรบ้าง

ชวนฟังประสบการณ์จากแม่ดอยและป้าปอย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Smartwatch Kids เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อลูก

ของใช้เด็ก-ของใช้เด็กนักเรียน-ของใช้เด็กเล็ก-นาฬิกา-Smartwatch Kids 

นาฬิกาอัจฉริยะของเด็กรุ่นใหม่ในยุค 4G ที่กำลังจะเติบโตไป 5G คงหนีไม่พ้น กับนาฬิกา Smartwatch Kids ที่มีฟังก์ชันตอบโจทย์ความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ เรื่องความปลอดภัยได้อย่างดีเยี่ยม 

เรามาดูวิธีการเลือกซื้อนาฬิกาให้ลูกกันค่ะ เลือกอย่างไรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อเจ้าตัวน้อย และเป็นประโยชน์มากที่สุด

สมาร์ทวอทช์คืออะไร

สมาร์ทวอทช์คืออุปกรณ์ที่สามารถสวมใส่ได้เหมือนนาฬิกาหรือเครื่องประดับติดกายชนิดหนึ่ง มีประสิทธิภาพในการวัดการเต้นของหัวใจ ปริมาณการเผาผลาญไขมัน เพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถดูแลสุขภาพร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์หลากหลายดีไซน์ให้เลือก

วิธีการเลือกสมาร์ทวอทช์สำหรับเด็ก

เพื่อให้พ่อแม่ที่กำลังสนใจซื้อสมาร์ทวอทช์ให้ลูกอยู่นั้น จะได้ไอเดียในการเลือกซื้อ มาดูกันว่าจะมีวิธีการอย่างไรและมีสิ่งใดที่ต้องคำนึงก่อนตัดสินใจซื้อบ้าง

1.คุณภาพ-การรับประกัน

สินค้าที่ดีและมีคุณภาพ จะมีการรับประกัน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัยให้กับผู้ซื้อ

2.ฟังก์ชั่น Smartwatch Kids

สมัยนี้มีฟังก์ชั่นให้คุณพ่อคุณแม่เลือกเยอะแยะมากมาย มีกล้องถ่ายรูประยะใกล้ได้ สามารถโทรได้ แม้แต่ติดตาม GPS ตัวเด็กก็สามารถทำได้อีกด้วย

3.ราคา

ราคาของนาฬิกาอัจฉริยะมีช่วงความต่างค่อนข้างกว้างตั้งแต่หลักร้อย – หลักหมื่น ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วความต่างของราคานั้นมีผลมาจากคุณสมบัติและดีไซน์เฉพาะตัวของแต่ละรุ่น แต่หากเป็นนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ทั่วไป ราคาไม่ถึง 1,000 บาท ฟังก์ชั่นจัดเต็ม เทียบราคาแบบไฮเอน แบบนี้คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูกค่ะ

4.สถานที่จัดจำหน่าย

เวลาที่คุณแม่ตัดสินใจซื้อ Smartwatch Kids ให้ลูก ควรศึกษาสถานที่จะซื้อก่อนค่ะ ร้านโดยตรงยิ่งดี หากไม่สะดวกต้องสั่งซื้อทางออนไลน์ ต้องซื้อช่องทางที่น่าเชื้อถือได้ มีการโอนเงินที่รองรับความปลอดภัยด้วยนะคะ

5.แบตเตอรี่

สำหรับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในแต่ละวัน ซึ่งแต่ละรุ่นก็มีความจุของแบตเตอรี่ที่แตกต่างกัน รวมถึงหน้าจอแอลซีดี หรือ หน้าจออโมเล็ตก็มีส่วนเกี่ยวกับอายุการใช้งานในแต่ละวัน ในส่วนนี้จะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนการตัดสินใจซื้อ





ประโยชน์ของสมาร์ทวอทช์

1.Scheduler  แจ้งเตือนกิจกรรมของเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกความรับผิดชอบของเด็กๆ โดยการตั้งตารางเวลาผ่านแอปพลิเคชั่น และระบุตารางเวลากิจกรรมประจำวันของเด็กๆ เช่น ตื่นนอน แปรงฟัน ทานอาหาร ทำการบ้าน และเข้านอน

2.Take Me Home   นำทางกลับบ้าน ผู้ปกครองสามารถระบุตำแหน่งของบ้านไว้ในตัวนาฬิกาของเด็ก เมื่อเด็กมีการพลัดหลงสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้เป็นแผนที่นำทางกลับบ้านได้ด้วยตัวเอง

3.My Watch   นาฬิกาของฉัน เด็กๆ สามารถออกแบบหน้าปัดนาฬิกาตามแบบต่างๆ ที่ชอบได้เอง และสามารถเปลี่ยนสีต่างๆ ของ Waffle Band (สายห่วง) เพื่อฝึกพัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์

4.Voice Calling  ทั้งรับ และโทร.ได้ในเครื่องเดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถกำหนดเบอร์โทรศัพท์คนในครอบครัว และเพื่อนๆ ให้สามารถโทร.หานาฬิกา POMO ได้สูงสุด 60 เบอร์ ขณะที่นาฬิกาสามารถกดโทร.ออกไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่ตั้งค่าไว้ได้สูงสุด 60 เบอร์ เช่นกัน ทั้งนี้ สามารถโทร.ผ่านระบบ VoIP โดยไม่เสียค่าใช้เพิ่มเติมจากแพกเกจ

5.Smart Locator   ระบบ GPS ติดตามโลเคชั่น ระบบการทำงานของนาฬิกา Pomo Waffle ถูกออกแบบมาโดยเพิ่มความแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยทำงานร่วมกันระหว่าง Wi-Fi, GPS A, GPS และ LBS ดังนั้น ผู้ปกครองสามารถค้นหาสถานที่ของนาฬิกาได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ซึ่งจะปรากฏบนแผนที่ และยังสามารถค้นหาสถานที่ของเด็กได้ทีละหลายคนพร้อมกัน

6.Safe Zone กำหนดพื้นที่ปลอดภัยของเด็กผู้ปกครองสามารถกำหนดพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กได้ด้วยตนเอง และทำการแจ้งเตือนมายังแอปพลิเคชั่นเมื่อเด็กออกจากพื้นที่ที่กำหนด กดปุ่ม SOS แจ้งผู้ปกครองเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน แจ้งข้อมูลโลเคชั่นย้อนหลังเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยผู้ปกครองสามารถดูตำแหน่งย้อนหลังของเด็กๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น เพียงเลือกตามช่วงเวลาที่ต้องการ

แม่ ๆ ที่สนใจ แนะนำนาฬิกาเด็กของ POMO HOUSE นาฬิกาโทรศัพท์เด็ก  แปลภาษาได้ พร้อมฟังก์ชันความปลอดภัย ระบุตำแหน่ง พื้นที่ปลอดภัย แจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน ตอบโจทย์ของปลอดภัยของลูกอีกด้วย

สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : www.raklukeselect.com

คนเป็นพ่อแม่ จะสนับสนุนลูกอย่างไร ให้ไปถูกทาง

 EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

วัยเด็กเป็นวัยที่เต็มไปด้วยความฝัน จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่คนเป็นพ่อแม่ไม่ว่าลูกจะทำอะไรก็พร้อมสนับสนุน แต่พ่อแม่อีกหลายคนก็ลังเลว่าลูกจะจริงจังหรือไม่ สนับสนุนไปแล้วจะเสียเวลาหรือเปล่า และลูกเราจะไปได้สุดทางหรือไม่ 


เด็กเล็กๆ วัย 2-3 ปี มักเริ่มอยากรู้อยากลอง เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พอเข้าสู่ช่วง 3-6 ปี จะเริ่มมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์และพร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากกว่าเดิม ซึ่งทุกการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะมีการพัฒนาโครงข่ายเส้นไยประสาทสมองที่แตกแขนงมากขึ้นตลอดเวลา

เด็กวัย 3 ปีขึ้นไป จะคิดริเริ่มอยากทำสิ่งต่างๆ หรืออาจใฝ่ฝันอยากเป็นดารา นักแสดง นักดนตรี นักกีฬา ตามไอดอลที่เขาชื่นชอบ โดยเขาอยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ชอบได้มากมาย แม้จินตนาการและความใฝ่ฝันของเด็กวัยนี้จะยังไม่ใช่ทิศทางที่กำหนดชีวิตชัดเจนเหมือนวัยรุ่นตอนปลายที่จะรู้ว่าตัวเองต้องการทำอาชีพอะไรก็ตาม  

หากพ่อแม่รู้จักสังเกตว่าลูกชอบอะไร เปิดโอกาสในการรับฟังและส่งเสริมในสิ่งที่เขาชอบก็อาจทำให้เขาค้นพบว่า เขามีความสามารถพิเศษอะไรที่ซ่อนอยู่ในตัวเองได้

กลับกันถ้าพ่อแม่คอยห้ามปรามในสิ่งที่ลูกคิดริเริ่ม เขาจะกลายเป็นเด็กที่ไม่มั่นใจในการคิดริเริ่ม และหากบางครอบครัวนำความใฝ่ฝันและความคาดหวังของพ่อแม่มาใส่และบีบให้ลูกทำสิ่งต่างๆ มากไป เขาจะรู้สึกไม่สนุก เครียด กดดัน ทำสิ่งนั้นได้ไม่ดี และอาจเกิดปัญหาทางอารมณ์และมีพฤติกรรมต่อต้านได้
           
แล้วเราจะรู้หรือมีวิธีค้นหาสิ่งที่ลูกชอบ เพื่อจะส่งเสริมได้อย่างไร

1. เริ่มจากการสังเกตเด็กทุกคนมีความสนใจความถนัดไม่เหมือนกัน ซึ่งเขาจะแสดงออกให้พ่อแม่เห็น ถ้ารู้จักสังเกตว่าลูกชอบอะไรก็จะนำไปสู่การส่งเสริมที่ตรงจุดได้

2. เปิดโอกาสรับฟังความเห็นและความรู้สึกของลูกบ้างเช่น ไปเรียนเปียโนวันนี้สนุกไหม หนูรู้สึกยังไง ถ้าหนูชอบเราไปกันใหม่ไหม ถ้าไม่ชอบอยากลองเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่นไหม

3. ให้ลูกได้มีส่วนตัดสินใจทำในสิ่งที่ชอบวิธีนี้จะทำให้เด็กรู้สึกดีที่คุณรับฟังและเปิดโอกาสให้เขาได้ร่วมตัดสินใจ จะทำให้เขากล้าริเริ่มทำในสิ่งที่ชอบและสนุกกับสิ่งที่เขาได้เลือกทำ

4. พยายามหาข้อมูลเพื่อเลือกกิจกรรมที่หลากหลายให้ลูกได้ลองจนรู้ว่าชอบอะไรไม่ชอบอะไรจะได้รู้ความชอบความถนัดของลูก

5. ส่งเสริมและชื่นชมเช่น รู้ว่าลูกอยากเล่นเปียโน ก็ส่งเสริมให้เขาได้เรียนและเมื่อเขาทำได้ดีก็ชื่นชมให้กำลังใจ ซึงจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาสนุกที่จะทำต่อ

6. ควรส่งเสริมความสามารถให้หลากหลายไม่ควรจำกัดอยู่แค่การเรียนทางวิชาการ ควรส่งเสริมทักษะในหลายๆ ด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ทักษะทางสังคม และทักษะการช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัย เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกพึ่งตัวเองได้ตามวัย เวลามีความเครียดจากการเรียนเขาก็สามารถผ่อนคลายมาเล่นดนตรีกีฬา ในสิ่งที่ชอบได้

พบว่าเด็กที่มีทักษะความสามารถพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียน เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองมีดี มีความเชื่อมั่น สามารถปรับตัวและแก้ปัญหาได้ดีกว่าเด็กที่ถูกกวดขันเรื่องการเรียนทางวิชาการอย่างเดียว

7. อย่าคาดหวังและกดดัน เด็กบางคนอาจมีความชอบและทำได้ดีในบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ศิลปะฯ แต่ความชอบในวัยนี้ยังไม่ใช่ตัวกำหนดอนาคตว่าเด็กจะทำอาชีพในด้านนั้นๆ เพราะกว่าที่เด็กจะรู้ว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไร ต้องเป็นช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่นตอนปลายถึงผู้ใหญ่ตอนต้น 

เด็กที่มีทักษะและมีจุดเด่นในหลายด้าน จะมีความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเอง โดยในหลายๆ รายจะพบว่าทักษะเหล่านี้อาจพัฒนาไปเป็นอาชีพที่เขาชอบ ซึ่งจะทำให้เด็กเอาตัวรอดในอนาคตได้


 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

คุณพ่อชาวญี่ปุ่นเผยเคล็ดลับ 5 ข้อเลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความสุข

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

การเลี้ยงลูกของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน แต่หนึ่งสิ่งที่มีเหมือนกัน คือความรักที่มีต่อลูก รักอย่างไรเลี้ยงอย่างไรให้ลูกมีความสุข มีหลักง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่คนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลูกได้นะคะ

เคล็ดลับ 5 ข้อเลี้ยงลูกให้มีความสุข 
  1. การแสดงความรักของพ่อแม่ควรแสดงอย่างเปิดเผย  เช่น การกอด หรือพยายามสื่อสารให้ลูกรู้ว่า พ่อกับแม่รักลูก ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้พ่อแม่ และลูกจะมีความสุขไปพร้อมๆ กัน

  2. เวลาที่ลูกดื้อหรือไม่เชื่อฟัง ไม่ควรดุในทันที  แต่ควรเปิดใจและรับฟังลูกก่อน นั่นจะทำให้ลูกเริ่มเข้าหาและใกล้ชิดกันมากขึ้น เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวตามมา

  3. รู้จักขอโทษเมื่อทำไม่ดีกับลูก  เช่น โมโหเกินไป หรือโกรธที่ไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งจริงอยู่ที่บางครั้งมันห้ามไม่ได้ แต่ควรเรียกอารมณ์กลับมาให้เร็วที่สุด และพยายามขอโทษลูกกับอารมณ์ชั่ววูบที่พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจทำ

  4. ควรชื่นชมในทันทีและควรชมบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นลูกพยายามมุ่งมั่นหรือทำอะไรบางอย่างด้วยตัวเอง เพราะกำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น มีความภูมิใจ และความมั่นใจที่จะทำสิ่งต่างๆ ต่อไป

  5. ไม่ควรบังคับหรือคาดหวังว่าลูกจะต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้  เพราะชีวิตเป็นของลูก และเป็นคนละส่วนของพ่อแม่ ดังนั้น ไม่ควรคิดว่าลูกเป็นเสมือนสิ่งของของตัวเอง

ทั้งนี้ในการเลี้ยงลูกให้มีความสุขนั้น คุณพ่อควรสนับสนุนคุณแม่ในการเลี้ยงลูกด้วย เช่น แบ่งเบาภาระให้กับคุณแม่ในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การอุ้มลูกไปเล่น รวมถึงช่วยงานบ้านเท่าที่จะทำได้ ที่สำคัญต้องไม่ทำตัวให้เป็นภาระของคุณแม่ แล้วการเลี้ยงลูกจะสนุกและมีความสุขมากขึ้นค่ะ

คุณหมอแนะนำ! ประโยชน์สุดยอดจาก การเล่นน้ำฝน ดีต่อลูกมากที่สุด

ฝนตก, หน้าฝน, ลูกป่วย, ลูกไม่สบาย, ลูกเล่นน้ำฝน, ลูกชอบเล่นน้ำฝน, โรคหน้าฝน, พัฒนาการ, วิธีกระตุ้นพัฒนาการ

เวลาฝนตกลูกมักจะอยากออกไปเล่นน้ำฝนเสมอ แต่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ไม่อยากให้ลูกเล่น เพราะเป็นห่วงกลัวว่าลูกจะป่วย เรามาเปลี่ยนความคิดเดิมๆ กันดีกว่าค่ะ

คุณหมอท่านหนึ่ง ได้ให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเรื่อง การเล่นน้ำฝน ซึ่งตามหลักการแพทย์ น้ำฝนไม่ได้ทำให้เด็กป่วยหรือเป็นหวัด เพราะการเป็นหวัดคือการติดเชื้อหวัด เกิดจากการสัมผัสคนป่วย ต่อสู้กับภูมิคุ้มกันและสุขภาพร่างกายของเด็กในตอนนั้นเท่านั้นเอง ดังนั้นสามารถปล่อยเด็กเล่นน้ำฝนตามธรรมชาติ จะช่วยฝึกพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกได้เป็นอย่างดีนะคะ

ประโยชน์ของการเล่นน้ำฝน 
  1. ทำให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ 
  2. พัฒนาการสังเกต เข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 
  3. สนุกและได้ใช้พลังงานอย่างมากอีกด้วย   

ข้อควรระวังคือ ไม่เล่นในที่โล่งแจ้งเกิน ไม่เล่นใต้ต้นไม้ใหญ่ ไม่เอาของนำไฟฟ้าติดตัวไปตอนเล่นน้ำฝน เพราะอาจทำให้ฟ้าผ่าได้นั่นเอง

เคล็ดลับให้เจ้าตัวน้อย เล่นสู้ฝนได้อย่างสุขภาพดี
  1. อาหารเสริมพลัง   อาหารเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่จะทำให้สุขภาพของลูกแข็งแรงพร้อมค่ะ ดังนั้นคุณแม่ต้องไม่พลาดที่จะให้ลูกทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะวิตามินและเกรือแร่ที่จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้ลูกเราอยู่เสมอ

  2. นมสร้างภูมิคุ้มกัน   นมยังเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกเราเสมอค่ะ เพราะในนมอุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด ซึ่งนอกจากจะได้แคลเซียมและธาตุเหล็กที่เป็นสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตแล้ว นมยังมีสารอาหารที่ส่วนสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกเราด้วยค่ะ จะดื่มตอนเช้า ตอนเย็น หรือนมอุ่นๆ ก่อนนอนสักแก้วให้หลับสบายท้องก็มีประโยชน์ทั้งนั้น

  3. กีฬาเป็นยาวิเศษ  จริงๆ แล้วการวิ่งเล่นของลูกๆ ก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายนะคะ ดังนั้นถ้าลองเพิ่มทักษะด้วยกีฬาอื่นๆ อย่าง วิ่ง ว่ายน้ำ หรือเทควันโด ก็จะช่วยให้ลูกได้ออกกำลังกายอย่างเต็มที่ ร่างกายแข็งแรงพร้อมสู้โรคภัยแล้วยังเสริมทักษะของการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วย

  4. รักษาความสะอาดเสมอ   น้องๆ บางคนป่วยง่ายเพราะอยู่กับเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเป็นประจำ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นทำความสะอาดร่างกายลูกเราเสมอค่ะ และสำหรับบ้านไหนที่มั่นใจว่าลูกแข็งแรงจนกล้าปล่อยออกไปเล่นได้หลังจากฝนหยุดตกล่ะก็ ก็อย่าลืมที่จะอาบน้ำ สระผม และเช็ดตัวให้แห้งเสมอหลังจากลูกเล่นกลับเข้าบ้านมาแล้ว เพื่อป้องกันความเย็นที่อาจจะทำให้ลูกเป็นหวัด

คุณพ่อคุณแม่ ลองนำคำแนะนำนี้ไปเพิ่มความแข็งแรงให้ลูกก่อนจะปล่อยให้เข้าออกไปเล่นหลังฝนตกดูนะคะ รับรองว่าถ้าลูกมีพื้นฐานร่างกายที่แข็งแรงดีพร้อมแล้วจากการส่งเสริมและดูแลของเรา ลูกจะเติบโตอย่างฉลาดและแข็งแรงแน่นอนค่ะ

สรุปแล้ว น้ำฝน เล่นได้จริงหรือ?  เล่นได้กับเล่นไม่ได้ค่ะ สำหรับเด็กทั่วไป การเล่นน้ำฝน ไม่ทำให้ลูกป่วย แถมช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเจ้าตัวน้อยอีกด้วยค่ะ ครั้งต่อไปถ้าลูกอยากเล่นน้ำฝน ก็ปล่อยให้เขาได้เล่นสนุกตามธรรมชาติ พอเล่นน้ำฝนเสร็จก็ต้องอาบน้ำเช็คตัวให้แห้ง ไม่ปล่อยให้ลูกนั่งตัวเย็น หัวเปียก แบบนั้นไม่ดีแน่ค่ะ ต้องทำให้ลูกตัวแห้ง เพื่อไม่ให้อุณหภูมิในร่างกายเย็นเกินไปค่ะ

และเล่นไม่ได้ค่ะ คือสำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัว ภูมิแพ้ คนที่อาจจะไวต่อละอองฝน ถ้าเจ้าตัวน้อยขี้มูกไหลตอนอากาศชื้น ต้องเลี่ยงไม่ให้เจอฝนแล้วนะคะ เพราะน้ำฝนจะทำให้ลูกตัวเย็นมากขึ้น แล้วมาเสริมสร้างพัฒนาการในรูปแบบอื่นๆ แทนกันดีกว่าค่ะ

 

ที่มา : เลี้ยงลูกตามใจหมอ

คุณหมอไขความลับที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อให้ลูกน้อยฉลาดไวทันโลกอนาคต

Brain Connection- การเชื่อมโยงของสมอง-ปลอกไมอีกลิน- สฟิงโกไมอีลิน- ไมอีลิน  

คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยเข้าใจว่าสมองมีการทำงานแบบซีกซ้ายและซีกขวา คนเก่งเลขจะใช้สมองซีกซ้ายได้ดีกว่าส่วนคนที่เก่งด้านศิลปะ ก็จะมีสมองซีกขวาที่ดีเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สมองทำงานซับซ้อนกว่านั้นมาก

 

กล่าวได้ว่าความสามารถของลูกรักของคุณนั้นไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ การควบคุมการเคลื่อนไหว หรือการคิดวิเคราะห์และการวางแผนเมื่อเติบโตขึ้นไปนั้นล้วนเกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง แต่สมองเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถที่จะสร้างสิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้ได้โดยลำพัง แต่ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารของสมองแต่ละส่วน (brain connection) ซึ่งคือกลไกที่สำคัญที่สุดในการทำงานของสมอง ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถูกต้อง การทำงานของสมองจึงจะมีประสิทธิภาพ หรือเปรียบเสมือนกับการใช้อินเทอร์เน็ต5Gเพราะสามารถส่งสัญญาณได้เร็วกว่ามีประสิทธิภาพมากกว่านั่นเอง และนี่คือความลับของสมองที่สามารถทำสิ่งที่เหลือเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการคลาน เดิน การพูด การวิ่งเล่น หรือหัวเราะ ร้องไห้ของลูกรัก นั้นเป็นเพราะการส่งสัญญาณหากันด้วยความรวดเร็วของสมองแต่ละส่วนนั่นเอง
 

 
 
Brain Connectionทำงานอย่างไร


Brain Connectionหรือการติดต่อสื่อสารของสมองแต่ละส่วนเป็นการทำงานของเซลล์ประสาทที่มีการส่งสัญญาณจากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งว่าจะต้องทำอะไร เช่น ส่งสัญญาณต่อไป หรือยับยั้งการทำงาน เปรียบได้ง่ายๆ ว่าสมองต้องคุยกัน คอยส่งสัญญาณให้กันเพื่อทำให้งานประสบความสำเร็จ ยิ่งมีการส่งสัญญาณได้เร็ว การทำงานของสมองก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งการเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณของสมองต้องอาศัยการสร้างไมอีลิน (Myelin) ซึ่งสร้างได้มากตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึง 2 ปีแรกของชีวิต

และในปัจจุบันการทำงานและการเชื่อมโยงของสมองในส่วนต่างๆ ด้วยใยสมองนั้นเราสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็ก (MRI) และการคำนวณชั้นสูง อีกทั้งยังสามารถวัดค่าความสมบูรณ์ของใยสมองได้ด้วย การตรวจวัดระดับไมอีลินที่เป็นส่วนประกอบของใยสมองก็ทำได้แล้ว รวมทั้งการตรวจเช็คความไวในการตอบสนองของสมองด้วย


โภชนาการที่ดีจะช่วยสร้างBrain Connectionได้เป็นอย่างดี


ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้สมองเด็กมีไมอีลินที่ดีและสมบูรณ์ ก็คือการเลี้ยงดูที่อบอุ่นจากพ่อแม่ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และโภชนาการที่ครบถ้วน โดยเฉพาะสฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelinหนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลิน

สฟิงโกไมอีลินพบมากในนมแม่นม ผลิตภัณฑ์นม เช่น ครีม ชีส ดังนั้นเด็กที่ได้กินนมแม่จะได้รับสฟิงโกไมอีลินมากที่สุด และสฟิงโกไมอีลินนี้เองก็จะก็จะเข้าไปเสริมสร้างไมอีลินในสมอง เมื่อไมอีลินในสมองมีปริมาณมาก Brain Connection หรือการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างสมองแต่ละส่วนก็จะทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน  เพราะฉะนั้นเด็กทารกจึงควรได้รับนมแม่ 3 เดือน เป็นอย่างน้อย โดยไมอีลินจะมีการสร้างได้มากตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึง 2 ขวบปีแรกของชีวิต หลังจากนั้นแม้จะมีการสร้างอยู่บ้างก็จะเกิดขึ้นในอัตราที่ลดลง

แม้กระบวนการทำงานของสมองอาจเป็นเรื่องซับซ้อนและเข้าใจยาก แต่เชื่อว่าในการเลี้ยงดูลูกแล้วคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนย่อมคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อให้สมองของลูกได้รับการพัฒนา มีไหวพริบ สติปัญญา รู้จักแก้ปัญหา และฉลาดเฉลียวสมวัยอย่างแน่นอน 

ขอบคุณข้อมูลจาก
ผศ.นพ. วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์กุมารแพทย์โรคระบบประสาท อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

ดร. นพ. วิทยา สังขรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยาและศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า(AIMC) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล


พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์ 


 

ดาวน์โหลดฟรี! โปสเตอร์เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด-5 ปี

พัฒนาการตามวัย, ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย, พัฒนาการล่าช้า, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ เด็ก 1 ปี, พัฒนาการเด็กอายุ 2 ปี, พัฒนาการเด็กอายุ 3 ปี, พัฒนาการเด็กอายุ 4 ปี, พัฒนาการเด็กอายุ 5 ปี, เช็กพัฒนาการเด็ก, วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, ดาวน์โหลด คู่มือพัฒนาการเด็ก, ดาวน์โหลด คู่มือเลี้ยงเด็ก, พัฒนาการเด็กปฐมวัย, วิธีสังเกต พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการตามวัยของลูกแรกเกิด - 5 ปี ควรจะต้องเป็นอย่างไร พัฒนาการแบบไหนต้องเฝ้าระวัง และจะส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างไร เรามีโปสเตอร์มาให้ดาวน์โหลดไปใช้เป็นคู่มือกันค่ะ 

ดาวน์โหลดฟรี! โปสเตอร์เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด-5 ปี

พัฒนาการช่วง 5 ปีแรกของเด็กเป็นช่วงเวลาสำคัญค่ะ พ่อแม่จึงจำเป็นต้องสังเกตให้ดีว่าลูกเรามีพัฒนาการตามช่วยวัยที่ถูกต้องแล้วหรือยังไง ถ้ายัง ระดับไหนที่จำเป็นต้องรอคอย หรือระดับไหนจำเป็นต้องพาไปพบแพทย์ เพราะช่วง 5 ปีแรกนี้ เด็กจะมีพัฒนาการที่เด่นชัดทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา สมอง การเข้าสังคม เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มีแนวทางในการเช็กพัฒนาการลูก เรามี โปสเตอร์เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยมาให้ดาวน์โหลดไปใช้เช็กพัฒนาการลูก ๆ กันค่ะ 

คลิก! ดาวน์โหลด ตารางพัฒนาการลูกแรกเกิด - 5 ปีเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด-5 ปี

 

ท่านวดขา นวดฝ่าเท้ากระตุ้นพัฒนาการ คลายเครียดให้ลูก

นวดขาทารก, นวดเท้าทารก, นวดกระตุ้นพัฒนาการทารก, นวดตัวลูกทารก, นวดขาลูก, นวดขาเด็ก, นวดเด็ก, ท่านวดทารกแรกเกิด, นวดทารกให้หลับ, วิธีนวดทารก, ทำไมต้องนวดทารก, นวดทารก ยังไง 

สำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หลับยาก หรือร้องกวน การนวดจะช่วยให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการได้อย่างรวดเร็วและช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้น มาลองนวดขาและนวดเท้าง่าย ๆ ให้ลูกกันค่ะ

ท่านวดขา นวดฝ่าเท้ากระตุ้นพัฒนาการ คลายเครียดให้ลูก

การนวดขา และเท้า ลักษณะของท่าจะคล้ายกับท่านวดแขนและมือ โดยในส่วนเท้า และข้อเท้าของเด็กมีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักตัว เมื่อเด็กหัดยืน และเดินการนวดเท้าจะเป็นการเตรียมพร้อมให้เด็กในการหัดยืน และเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาและเท้า แบ่งออกเป็น 3 ท่าหลักคือ ท่านวดขาให้หายเมื่อย ท่าคลึงฝ่าเท้า และท่าเดินหน้าถอยหลัง   

ท่านวดขาทารก

นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นใช้มืออีกข้างหนึ่งจับรอบขานวดคลึงเป็นวงกลม เริ่มจากต้นขาค่อยๆเลื่อนไปสู่ปลายเท้า แล้วเคลื่อนลงโดยทำขึ้น-ลงสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้คลึงรอบข้อเท้าเด็ก อย่างแผ่วเบา นุ่มนวล ให้รอบข้อเท้า คลีงรอบตาตุ่มและบริเวณเอ็นร้อยหวาย

ท่านวดฝ่าเท้าทารก

  • ท่าลูกกลิ้ง ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกลิ้งขาลูกไปมา โดยเริ่มจากหัวเข่าไปยังข้อเท้า แล้วกลิ้งลง (ทำ 5 ครั้ง) เสร็จแล้วทำอีกข้างเช่นเดียวกัน

  • ท่าคลึงฝ่าเท้า ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดฝ่าเท้าเด็กจากส้นเท้าขึ้นมาที่นิ้วเท้าเด็กทุกนิ้ว ทีละนิ้ว จากนั้นลูบบนฝ่าเท้าเด็กเข้าหาตัวคนนวด แต่ละท่าในการนวดให้ลูกน้อยนั้น ควรทำ 5-10 ครั้ง โดยใช้เวลาในการนวดประมาณ 15-30 นาที ที่สำคัญ การนวดในแต่ละครั้ง คือการถ่ายทอดความรักผ่านทุกสัมผัส พ่อแม่ควรสบตากับลูก พร้อมกับพูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน เพื่อให้สายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกก่อตัวขึ้นที่ละน้อย

 

 

นอนดึก ตื่นสาย ไม่กินข้าวเช้า ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลถึงอนาคตลูก

พัฒนาการ- พฤติกรรมเด็ก- การเลี้ยงลูก

ช่วงหยุดยาว ปิดเทอมอยู่บ้าน ทำให้เด็ก ๆ หลายคน นอนดึกตื่นสายและไม่ได้กินอาหารเช้า ในญี่ปุ่นเองได้เกิดโครงการรณรงค์ให้เด็กนอนเร็ว ตื่นเช้า และรับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพื่อสร้างเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงและเสริมการเรียนรู้ที่ดี มารู้ความสำคัญของการเข้านอนเร็ว ตื่นเช้าและอาหารเช้ากันนะคะ

 

ความสำคัญของการให้เด็กเข้านอนเร็ว

การพักผ่อนให้เพียงพอและเข้านอนตรงเวลาก่อนสี่ทุ่ม นอกจากจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองและความเหนื่อยล้าทางกายแล้ว การพักผ่อนนอนหลับยังช่วยในการเจริญเติบโตของสมองและร่างกาย เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางและระบบต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ เป็นต้น จะทำหน้าได้เต็มที่ซึ่งส่งผลในการทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง 

ทั้งนี้การนอนหลับในช่วงมืดจะกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย และทำให้อุณหภูมิในร่างกายต่ำลงส่งผลให้คนเราสามารถนอนหลับได้สนิท ในช่วงการหลับที่สนิทร่างกายก็จะมีการหลั่งโกรทฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบ โดยทั่วไปแล้วโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาได้ดีในช่วงที่หลับสนิทตั้งแต่ช่วงเวลา 4 ทุ่มถึงประมาณตี 2

 

ความสำคัญของการตื่นเช้า

แสงสว่างในยามเช้าจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนินออกมา ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย สงบ มีสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีอารมณ์มั่นคง และตอบสนองต่อความเครียดได้ดี

 

ความสำคัญอาหารเช้าที่ครบคุณค่าโภชนาการ

แหล่งพลังงานที่สำคัญของสมองคือกลูโกส โดยทั่วไป กลูโคส จะถูกใช้ไปในช่วงการนอนหลับพักผ่อนยามกลางคืน เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาทั้งสมองและร่างกายก็จะขาดพลังงาน การรับประทานอาหารเช้าที่ครบคุณค่าทางโภชนาการจึงมีความสำคัญในการเติมเต็มใหม่ของสารอาหารรวมทั้งกลูโคสเพื่อให้ร่างกายและสมองนำมาใช้งานได้อย่างเต็มที่ 

จากการศึกษาพบว่าพบว่าเด็กที่รับประทานอาหารเช้าทุกวันจะมีความแข็งแรงของร่างกายมากกว่าเด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้าหรือรับประทานบ้างไม่รับประทานบ้าง

 

การเข้านอนเร็ว ตื่นเช้า และการรับประทานอาหารเช้าที่ครบคุณค่าทางโภชนาการ จะช่วยให้เด็กมีพละกำลังและมีการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังเป็นการสร้างนาฬิกาชีวภาพของชีวิตที่เหมาะสมให้แก่เด็กเพื่อให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพกายที่ดีและมีจิตใจที่แจ่มใส 

ความสำคัญของการเข้านอนเร็ว ตื่นเช้า และรับประทานอาหารเช้าไม่ได้ดีเพียงแต่ต่อเด็กนะคะ แต่ดีสำหรับผู้ใหญ่ด้วย เพราะการนอนหลับที่สนิทและอาหารเช้าที่ครบคุณค่าทางโภชนาการจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและไม่แก่เร็วด้วยนะคะ

 

ปรบมือแปะๆ สร้าง EF ด้วยกันปะ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างพื้นฐาน EF ให้กับลูกอย่างแน่นหนาเลยค่ะ ซึ่งนอกจากการให้นมแม่จะเป็นการส่งเสริม EF ให้ลูกแล้ว การจัดสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมและการละเล่นต่างๆ ก็ช่วยสร้าง EFให้ลูกได้เช่นกัน 


การเล่นปรบมือกับลูก แม้เด็กวัย 6-12 เดือน จะยังไม่เข้าใจจังหวะ แต่การตบแปะๆ ก็ช่วยให้ลูกมี Working Memory ค่ะ

"ตบมือแปะๆ จะได้กินนม นมไม่หวาน ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย ใส่นิดหน่อย อร่อยจังเลย" 

เพลงง่ายๆ ที่ร้องประกอบการตบมือกับลูก เมื่อลูกได้ยินเสียงพ่อแม่ร้องเพลงนี้พร้อมกับตบมือแปะๆ ไปด้วย Working Memory จะทำงานไปด้วย เพราะลูกจะจำได้ว่าเมื่อพ่อแม่ร้องเพลงนี้เขาต้องตบมือ หรือต้องทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น กินนม กินข้าว เล่น หรืออาบน้ำ เป็นต้น 

ซึ่งนอกจากการเล่นตบมือกับลูกแล้ว กิจกรรมอื่นๆ ก็ช่วยส่งเสริม EF ให้กับลูกวัยเตาะแตะได้เช่นกัน อย่างการเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ เล่นเป่ายิ้งฉุบ เป็นต้น 


 

ปล่อยไว้ไม่ดีแน่! ลูกชอบกัดเล็บ หยุดพฤติกรรมก่อนจะสายเกินไป

พฤติกรรม-ลูกชอบกัดเล็บ-กัดเล็บ-สอนลูกให้เลิกกัดเล็บ 

สิ่งที่พบบ่อยในเด็กกัดเล็บคือ เด็กมีภาวะเครียด หรือเศร้า เป็นการแสดงออกถึงภาวะเก็บกดในจิตใจ แต่คุณหมอก็บอกว่าไม่เสมอไปอีกเช่นกัน

เด็กบางคนเครียดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เรื่องที่เป็นไปตามพัฒนาการหรือของครอบครัว เช่น แม่มีน้อง ซึ่งเด็กอาจแสดงออกด้วยการกัดเล็บ แต่พอช่วงวิกฤตผ่านพ้นไป เด็กสามารถปรับตัวปรับใจได้แล้ว อาการก็จะหายไปเอง แต่จะมีส่วนหนึ่งที่กัดจนติดเป็นนิสัย จะยังไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรค แต่เรียกว่าเป็นการแสดงออกของความรู้สึกมากกว่า และพบว่าเป็นลูกวัยประถมมากกว่าวัยรุ่นเพราะพอโตเป็นวัยรุ่น เพื่อนล้อก็จะหยุด แต่จะแสดงออกภาวะเก็บกดนี้ทางอื่นแทน เช่น นั่งซึม เที่ยวเตร่ คบเพื่อนไม่ดี กลายเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  

เมื่อเป็นเช่นนี้ พ่อแม่ต้องสังเกตว่าปัญหาการกัดเล็บของลูกเกิดจากอะไร แก้ไขได้ไหม เช่น เกิดจากพ่อแม่ทะเลาะตบตีกัน ตรงนี้พ่อแม่แก้ได้ไหม ถ้าเกิดจากความเครียดที่แก้ไขไม่ได้ เช่น แม่มีน้องใหม่ พ่อแม่ก็อาจแสดงความรักความใกล้ชิดกับลูกให้เหมือนเดิม หรืออย่างน้อยก็ไม่ให้เด็กรู้สึกแย่จนเกินไป แล้วก็ค่อยๆ ปรับพฤติกรรมการกัดเล็บของเขา

อาจใช้การสร้างแรงจูงใจทางบวก เพื่อเบี่ยงเบนให้ออกจากกิจกรรมนี้ เช่น ถ้าวันนี้ลูกไม่กัดเล็บเลย จะได้หนึ่งดาว หรือใช้สติ๊กเกอร์ติดไว้ที่เล็บ โดยให้เด็กเลือกเองว่า จะใช้รูปไหนทำให้เด็กกัดไม่ได้ แต่ชื่นชมตัวการ์ตูนในสติ๊กเกอร์แทน เรียกว่าเป็นกิจกรรมแฝง

ที่สำคัญ ไม่ควรไปชี้นิ้วว่าเด็กเพราะการย้ำแบบนี้ทำให้เด็กเครียดมากขึ้น และกระตุ้นให้ทำมากขึ้นไปอีก เวลาที่เด็กอยู่ลับหลังพ่อแม่ หมั่นสังเกตว่าลูกเรา เหงาหรือเปล่า เบื่อหรือเปล่า แก้เสียโดยหากิจกรรมให้เขาทำ

ปีนป่ายช่วยพัฒนาสมองลูก

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

พ่อแม่หลายคนกลัวลูกจะเป็นอันตราย หรือได้รับบาดเจ็บเวลาที่ลูกเล่นปีนป่ายเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วการเล่นปีนป่ายมีประโยชน์กับสมองมาก ส่วนอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นพ่อแม่สามารถป้องกันให้ลูกได้ค่ะ  
ลูกได้ขบคิดเมื่อปีนป่าย

ถ้ามองจากภายนอกเด็กได้ใช้ร่างกาย ไม่ว่าจะกล้ามเนื้อมัดใหญ่หรือมัดเล็ก แต่ถ้ามองเข้าไปในสมองของเด็กจะเห็นเลยว่า การปีนใช้ความคิดอย่างมาก เด็กไม่ได้ปีนแบบไม่คิด แต่เด็กคิดตลอดเวลา 


ในแต่ละวันเด็กก็อาจจะตั้งเป้าหมายว่า วันนี้อยากจะปีนไปถึงตรงไหน ตรงกลาง ปีนไปกี่ขั้นแล้วพอ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการตรงนี้คือการตั้งเป้าหมายด้วยตัวเอง

ที่มาของการตั้งเป้าหมายนั้นเกิดจากการที่เด็กประเมินตัวเองว่า “น่าจะทำได้” โดยคิดจากประสบการณ์เดิม เช่น เมื่อวานเคยปีนได้ 3 ขั้น วันนี้อยากปีนให้ได้ 6 ขั้น อันนี้คือการประเมินความสามารถตนเอง และเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเคยทำได้ว่าวันนี้น่าจะทำได้มากกว่านั้น วันรุ่งขึ้นอาจจะปีนไปถึงจุดสูงสุดก็ได้ ทั้งหมดนี้มาจากกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองของเด็กค่ะ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดเร็วมากกับการตัดสินใจไปตามเป้าหมายที่เด็กตั้งเอาไว้   
นอกจากนั้นเด็กจะต้องคิดอีกว่าจะไปถึงเป้าหมายด้วยวิธีใด ต้องปีนแบบไหน เพราะฉะนั้นเขาจะเอาประสบการณ์เดิมมาใช้เพื่อให้ก้าวข้ามไปให้ได้ นอกจากนี้พอเริ่มปีนเด็กต้องโฟกัสมาก มีสมาธิ มีการจดจ่อกับมือกับเท้า จะปล่อยมือนี้แล้วไปจับอะไรต่อ เรียกว่าทุกจังหวะปีนมีการจดจ่อ มีการวางแผนการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ปีนป่ายแบบปลอดภัย

  • ดูแลเรื่องความปลอดภัย แต่ต้องไม่ให้กระทบโอกาสของเด็ก เช่น ไปยืนใกล้ๆ แต่ไม่ต้องกำกับ เช่น จับดีๆ นะ เอามือนั้นจับตรงนี้ เอาขาไว้แบบนี้สิลูก เพราะเมื่อเราเป็นคนกำกับตรงนี้เท่ากับเราเป็นคนสั่งการ ก็จะไปปิดโอกาสสมองของเด็กที่จะได้คิด ทักษะสมองก็จะไม่เกิดและพ่อแม่สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ลูกกำลังจะทำนั้นน่ากลัว
  • ลองปล่อยให้ลูกได้ลองได้ตัดสินใจ  โดยยืนอยู่ใกล้ๆ ด้วยสีหน้าที่สบายใจ ผ่อนคลาย คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นว่าบางทีเด็กกำลังจะก้าวไปแล้วแต่ก็ถอยกลับด้วยตัวเอง นั่นคือเด็กประเมินตัวเองแล้วว่ายังไม่เอาดีกว่าเดี๋ยวค่อยลองใหม่ แต่ไม่มีเด็กคนไหนเลิกไปเลย เด็กยังมีความมุ่งมั่นที่จะเผชิญใหม่จะพิชิตมันให้ได้ ทักษะเหล่านี้มีความหมายมากตอนโตเวลาที่เด็กต้องเจอกับเรื่องยากหรืออุปสรรค ถ้าเราเลี้ยงลูกให้ขี้กลัว พอเจออุปสรรคเด็กจะถอยหนีหมด ไม่สู้ หนีปัญหา


ไม่ใช่แค่การปีนป่าย จริงๆ แล้วการฝึกให้ลูกได้คิดและแก้ปัญหา เริ่มได้ตั้งแต่เป็นทารก เช่นเวลาที่เด็กอยากได้ลูกบอลหรืออยากได้ขวดนม เด็กจะเกิดความมุ่งมั่นที่จะคว้ามาให้ได้ และจะค้นหาว่าตัวเองจะไปแบบไหนเพื่อจะไปหาเป้าหมาย ซึ่งถ้าตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ทำให้หมด เด็กจะไม่เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ

ถ้าอยากให้ลูกมุ่งมั่น มีเป้าหมาย ทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ต้องให้เด็กได้คิดและแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ลูกเล่นค่ะ 



"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

พาเด็กออทิสซึมเรียนรู้นอกบ้านอย่างไรให้สนุก

เด็กพิเศษ-เด็กออทิสติก

การพาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้านเป็นสิ่งที่ดีเสมอ ทั้งกับตัวลูกที่ได้มีโอกาสเห็นสิ่งแปลกใหม่ แตกต่างจากสิ่งที่ได้พบเจอเป็นประจำที่บ้าน และกับตัวคุณพ่อคุณแม่เองที่ได้เห็นลูก ๆ มีความสุข ในส่วนของเด็กพิเศษเองการได้มีโอกาสไปเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำเช่นกัน โดยมีข้อควรปฏิบัติเพิ่มขึ้นสักเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ประสบการณ์การไปเที่ยวครั้งนั้นกลายเป็นเรื่องไม่สนุกทั้งกับตัวคุณพ่อคุณแม่และกับตัวของเด็กเอง  

เด็กที่เป็นโรคออทิสซึม หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาและด้านสังคมล่าช้ากว่าปกติ รวมไปถึงการมีพฤติกรรมและการรับรู้สิ่งกระตุ้นที่แตกต่างไปจากเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งอาการอาจจะมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ความรุนแรงของโรคในเด็กแต่ละคน แต่เด็กออทิสซึมก็ยังต้องการความรัก การดูแลเอาใจใส่ และโอกาสในการเรียนรู้ไม่ต่างไปจากเด็กปกติ การพาเด็กที่เป็นโรคออทิสซึมไปเที่ยวจึงเป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่อาจจะต้องมีการปรับเล็กน้อย เพื่อให้การไปเที่ยวครั้งนั้นก่อให้เกิดทั้งความสุขและความสนุกไปพร้อม ๆ กัน ทั้งกับตัวเด็กและกับครอบครัว

วิธีพาเด็กพิเศษออสทิสซึมออกไปเที่ยวให้สนุก
  1. เลือกสถานที่ที่คนไม่พลุกพล่าน หรือเสียงไม่ดัง เพราะเด็กออทิสซึมมักจะมีความไวต่อการเจอคนแปลกหน้า และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส เสียง และการมองเห็น ดังนั้น เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ชอบเสียงดัง ไม่ชอบที่ที่คนเยอะๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกสถานที่เที่ยวและช่วงเวลาที่ตอบโจทย์นี้ เช่น การไปเที่ยวสวนสนุกในช่วงกลางวันของวันธรรมดา หรือการไปเที่ยวตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ที่คนไม่เยอะมาก เป็นต้น

  2. มีตารางเวลาคร่าว ๆ แต่ต้องยืดหยุ่นปรับได้ตลอด เพื่อให้เวลาเด็กออทิสติกได้ปรับตัว หรือเรียนรู้ในที่นั้น ๆ หากกำหนดกิจกรรมตายตัวและเด็กไม่สามารถทำได้ อาจทำให้การต่อต้านจากเด็กเป็นอย่างมาก จนการเที่ยวครั้งนี้หรือครั้งต่อไปจะไม่สนุก

  3. แม้จะไม่ชอบเข้าหาคน แต่ก็ควรถือเป็นโอกาสในการฝึกฝนเรื่องนี้ได้ โดยอาศัยสิ่งที่ตัวเด็กชอบในการส่งเสริมให้เด็กกล้าออกทำสิ่งที่ตนเองไม่ถนัดหรือไม่อยากทำ เช่น การให้เด็กไปซื้อของที่ตัวเองอยากกินด้วยตนเอง หรือการให้เด็กไปถามเส้นทางไปหาของเล่นที่เด็กชอบ เป็นต้นเด็กออทิสซึมมักจะไม่ค่อยชอบการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ นอกจากคนที่คุ้นเคยเท่าใดนัก แต่การได้ออกไปเที่ยวก็น่าจะเป็นโอกาสอันดีในการฝึกฝน 
     
  4. พ่อแม่ควรโฟกัสที่ตัวลูกมากกว่ากิจกรรม เนื่องจากความสนใจของเด็กออทิสซึมจะต่างจากเด็กทั่วไป โดยเด็กออทิสซึมมักสนใจในรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่าจะมองสิ่งนั้นในภาพรวม ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจหากกิจกรรมหรือของเล่นที่คุณพ่อคุณแม่ตั้งใจเลือกให้ กลับไม่ทำให้เด็กรู้สึกสนใจหรือสนุก แต่เด็กกลับไปสนใจกิจกรรมหรือของเล่นที่ดูไม่น่าจะมีอะไรแทนคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะไปฝืนใจให้เด็กมาเล่นหรือทำกิจกรรมที่เขาไม่ได้ชอบ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กหงุดหงิดและรู้สึกเบื่อ แต่ควรใช้สิ่งที่เขาสนใจมาเป็นเครื่องมือในการเล่นหรือแม้แต่การปรับพฤติกรรมของเขาแทนครับ
     
  5. ความกลัวที่แตกต่าง เพราะในเด็กออทิสซึมมักมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น ไม่ว่าจะการสัมผัส เสียง หรือภาพที่ตัวเขามองเห็น ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่ชอบ หงุดหงิด ไปจนถึงความรู้สึกตกใจหรือกลัว ซึ่งอาจจะแสดงออกมาด้วยการร้องไห้เสียงดังหรือการมีพฤติกรรมรุนแรงได้ บางครั้งสิ่งนั้นไม่ได้ดูเป็นสิ่งที่น่ากลัวในสายตาของคุณพ่อคุณแม่เลย ทั้งนี้อาการกลัวไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเด็กไม่ว่าจะเป็นเด็กทั่วไปหรือเด็กพิเศษ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีข้อมูลก่อนว่า เด็กชอบ ไม่ชอบอะไร หรือกลัวอะไรบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นหรือสถานการณ์เหล่านั้นครับ
     
  6. ระวังการถูกชักจูงโดยคนแปลกหน้า เนื่องจากเด็กออทิสซึมมักจะมีความบกพร่องด้านทักษะสังคม โดยเฉพาะในส่วนของความเข้าใจสีหน้าและท่าทาง รวมไปถึงความคิดของบุคคลอื่น ทำให้เด็กที่เป็นโรคออทิสซึมอาจจะถูกล่อลวงหรือชักจูงโดยคนแปลกหน้าได้ง่าย เด็กอาจจะไม่ทันคน และไม่เข้าใจว่าคนที่เข้ามาจะมาดีหรือจะมาร้าย
     
  7. มีรายละเอียดสำหรับติดต่อไว้กับตัวเด็ก เนื่องจากเด็กออทิสซึมมักจะมีปัญหาด้านการสื่อสาร จึงควรมีข้อมูลสำหรับติดต่อพ่อแม่ไว้กับตัวเด็กในตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย เผื่อในกรณีที่พลัดหลงกัน เจ้าหน้าที่จะได้สามารถติดต่อผู้ปกครองได้โดยตรงครับ

อย่างไรก็ดี อาการของโรคออทิสซึมนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลเป็นอย่างมาก ในเด็กหนึ่งคนก็อาจจะมีความบกพร่องในแต่ละด้านไม่เท่ากัน แนวทางที่หมอเขียนไว้จึงเป็นเพียงแนวทางคร่าว ๆ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เลือกไปปรับใช้กับบุตรหลานของท่านให้เหมาะสม เพื่อให้การออกไปเที่ยวนอกบ้านด้วยกันเป็นประสบการณ์ที่ดีของทุก ๆ คนในครอบครัว หมอขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองทุกท่านนะครับ

 

รักลูก Community of The Experts

ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ด้านโรคสมอง 
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
 

ยิ่งเล่นลูกในท้องยิ่งฉลาด 10 วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ที่พ่อแม่ช่วยกันได้


พัฒนาการทารกในครรภ์-กระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์-ส่องไฟเล่นกับลูกในท้อง-เปิดเพลงให้ลูกในท้องฟัง-คุยกับลูกในท้อง-ลูบท้อง-วิธีทำให้ลูกฉลาด-วิธีทำให้ลูกพัฒนการดี

ลูกในท้องก็เล่นแล้วนะคุณแม่ เรามี 10 วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เอาไปลองเล่นกระตุ้นลูกกันค่ะ บอกเลยว่าแต่ละกิจกรรมง่าย แต่ก็เวิร์กสุดๆ ที่จะช่วยให้ลูกในท้องได้ขยับเคลื่อนไหว ได้ลองใช้พลัง และความความสนุกอารมณ์ดีตั้งแต่ในท้องแม่ค่ะ... พ่อก็ต้องช่วยนะ

  1. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 1: การปรับอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
    จะช่วยกระตุ้นลูกรักในครรภ์ การศึกษาทางการแพทย์พบว่า คุณแม่ที่อารมณ์ดีอยู่เสมอจะทำให้ร่างกายมีการหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน ออกมาผ่านไปทางสายสะดือไปยังลูก ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีทั้งสมอง (IQ) และอารมณ์ (EQ) รวมถึงตอนคุณพ่ออารมณ์ดี ๆ เข้ามากอดท้องแม่ มาคุยกับลูก เสียงคุณพ่อก็สร้างความอบอุ่นและปลอดภัยมาก ๆ ค่ะ

  2. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 2: ฟังเพลง
    เสียงเพลงกระตุ้นจะทำให้เครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น เมื่อลูกคลอดออกมา มีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี คุณพ่ออาจจะร้องเพลงให้ลูกฟังเอง หรือ หาเพลงให้คุณแม่และลูกฟัง โดยควรจะเปิดเพลงให้อยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต และเปิดเสียงดังพอประมาณเพื่อลูกในครรภ์จะได้ฟังเสียงเพลงไปด้วย

  3. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 3: พูดคุยกับลูก
    การพูดคุยกับลูกในครรภ์บ่อย ๆ จะช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการได้ยินมีพัฒนาการที่ดีและเตรียม พร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกบ่อย ๆ ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ประโยคซ้ำ ๆ เพื่อให้ลูกคุ้นเคย

  4. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 4: นวด ลูบหน้าท้อง
    การลูบหน้าท้องจะกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของลูกให้มีพัฒนาการดีขึ้น การลูบท้องควรลูบเป็นวงกลม จากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้

  5. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 5: ส่องไฟที่หน้าท้อง
    ลูกในท้องสามารถกระพริบตาตอบสนองต่อแสงไฟที่กระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน การส่องไฟที่หน้าท้องจะทำให้เซลล์สมองและเส้นประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็น มีพัฒนาดีขึ้นและเตรียมพร้อมสำหรับการมองเห็นภายหลังคลอด

  6. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 6: ออกกำลังกาย
    เวลาคุณแม่มีการออกกำลังกาย ลูกที่อยู่ในครรภ์ก็จะมีการเคลื่อนไหวตามไปด้วย และผิวกายของลูกจะไปกระแทกกับผนังด้านในของมดลูก ซึ่งจะกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสของลูกให้พัฒนาดีขึ้น

  7. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 7: เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
    เนื้อสมองของลูกน้อยในครรภ์มีองค์ประกอบเป็นไขมัน โดยเฉพาะไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 60% กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ความสำคัญคือ DHA ซึ่งมีมากในอาหารปลาพวกปลาทะเลและสาหร่ายทะเล และ ARA ซึ่งมีมากในอาหารพวกน้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเม็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น คุณพ่อต้องหาอาหารประเภทนี้ให้คุณแม่กินบ่อย ๆ ลูกก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย

  8. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 8: เดินเล่นกระตุ้นทารกในครรภ์
    การออกไปเดินเล่นยืดเส้นยืดสายถือเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ยิ่งช่วงเวลาเช้าหรือเย็นที่อากาศดี ไม่ร้อนเกินไปจะช่วยให้สดชื่นจากการรับออกซิเจนได้ด้วย คุณพ่อควรชวนและพาคุณแม่ไปเดินเล่นด้วยกันบ่อย ๆ ค่ะ

  9. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 9: ให้ลูกเตะ
    คุณพ่อคุณแม่อาจจะเล่นหรือกระตุ้นลูกด้วยการเอามือลูบ หรือกระตุ้นให้ลูกเตะมากขึ้น เมื่อลูกได้รับการกระตุ้นจากภายนอกก็จะขยับตัวมากขึ้น ช่วยให้ลูกได้ออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสายอยู่ในท้อง และยังทำให้ทราบว่าลูกยังเคลื่อนไหวเป็นปกติอยู่ค่ะ

  10. กระตุ้นพัฒนาการทารกครรภ์วิธีที่ 10: อ่านหนังสือ อ่านนิทาน
    การอ่านหนังสือคล้ายกับการพูดคุย หรือให้ลูกฟังเพลง เป็นการกระตุ้นการได้ยินของลูก การเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ลูกฟังช่วยให้แม่ได้ผ่อนคลายและช่วยให้ลูกในท้องจดจำเสียงพ่อแม่ได้ตั้งแต่ในครรภ์

ขอบคุณข้อมูลจาก:
รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
 

รักลูก The Expert Talk EP.65 : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.65 : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก

 

เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้ รอพบกับอีกหนึ่ง EP สุดท้ายในสัปดาห์ถัดไปกับ ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” และสามารถย้อนกลับไปฟัง EP ใน Series เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง ได้ในช่องทางของรักลูก Podcast เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

ลองเลย! 5 กิจกรรมกระตุ้นลูกฉลาด พัฒนาการสมวัย

กิจกรรม-กิจกรรมครอบครัว-ของเล่นเสริมพัฒนาการ 

ความฉลาดของลูกเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยค่ะ ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมและการเตรียมความพร้อมของคุณพ่อคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เพื่อหาโรคทางกรรมพันธุ์และความเสี่ยงต่างๆ หรือการรับประทานอาหารและวิตามินที่มีประโชยน์ รวมถึงการผ่อนคลายความเครียดในระหว่างครรภ์ ซึ่งส่งผลให้ลูกมีความพร้อมที่จะเรียนรู้โลกภายนอก

นอกจากกรรมพันธุ์ที่เป็นพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิดแล้ว การเลี้ยงดูและการส่งเสริมของคุณพ่อคุณแม่เพื่อกระตุ้นให้ลูกฉลาดก็สำคัญค่ะ เราลองมาดูกันว่ามีเคล็ดลับอะไรบ้างที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้ลูกฉลาดได้อย่างต่อเนื่องและเห็นผล

5 กิจกรรมกระตุ้นลูกฉลาด พัฒนาการสมวัย

1.เลือกหนังสือให้เด็กอ่าน 

ผลวิจัยใหม่ที่ได้ข้อมูลจากการสแกนสมองของเด็กวัย 3-5 ขวบด้วย functional MRI พบว่าสมองซีกซ้ายมีการตื่นตัวในหลายตำแหน่งเมื่อเด็กฟังเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่หรืออ่านหนังสือ ซึ่งบริเวณของเนื้อสมองที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับความจำ,ความคิดและความเข้าใจศัพท์

เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics โดยพบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวรักการอ่านหรือเล่านิทานให้กันฟังจะมีกิจกรรมในสมองส่วนนี้สูงกว่าซึ่งจะช่วยในการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต

หนังสือดีๆ เพื่อลูกรัก ได้ที่ : www.raklukeselect.com/landing

 

2.เป็นอาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ 

คุณพ่อคุณแม่คือครูที่ใกล้ชิดลูกได้ดีที่สุด การรู้ภาษาที่ช่วยสมองเด็กนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาต่างชาติเสมอ แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เก่งนั้นสามารถนำเอาภาษาไทยนี่เองมาช่วยสร้างสมองให้เด็ก ด้วยการเช็กสเปลลิ่งหรือเล่นเกมสะกดคำจากวรรณคดีไทย

อย่างพระอภัยมณี หรืออิเหนา ที่เอามาเล่าสนุก เพิ่มสีสันด้วยการวาดกราฟฟิกลงบนแท็บเล็ตก็ได้ ดังในการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ 2 ภาษาพบว่ามันช่วยไปถึงเนื้อสมองในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตทั้งรูปธรรมและนามธรรม

 

3.อย่าขาดการเล่นให้เหมาะกับเพศ 

การให้เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตาและเด็กผู้ชายเล่นรถนั้นถือเป็นการเล่นแบบช่วยสมองได้ เพราะมันช่วยใส่ความรู้สึกประทับใจลงในหัวใจที่ยังเยาว์ ให้เข้าใจบทบาทแต่ละเพศเมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม

มีรายงานถึงการเพิ่มระดับ "ฮอร์โมนรัก" หรืออ็อกซิโทซินจากสมองของเด็กหญิงที่สมมติตัวเองเป็นแม่แล้วดูแลตุ๊กตาดุจลูกน้อย ซึ่งอ็อกซิโทซินนี้จะช่วยให้เด็กหญิงเติบโตขึ้นเป็นสาวที่ "รู้จักรัก" อยากมีลูกและถนอมครอบครัวไว้ได้อย่างเป็นสุข    

 

4.ใช้เพจออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ 

โทษของเพจออนไลน์กับจิตใจเด็กนั้นมีมาก หากใช้ไม่ถูก! แต่ถ้าอยากปลูกฝังสิ่งดีให้ในยุคนี้ก็ไม่ต้องหนีสื่อออนไลน์ แต่ขอให้รู้จักใช้ให้เหมาะ เช่น ถ้าลูกจะดูคลิปต่างๆ อย่างช่องของดาราหรือว่าคลิปแรงๆหนักๆก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูช่วยใส่ความรักลงไป

อย่าให้เขาคล้อยตามไปกับแอดมินเพจรุนแรง เพราะจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นผลลัพธ์ดังงานวิจัยจาก Ohio State U ได้ศึกษาไว้ ให้เราคอยสอนว่าถ้านำเสนออย่างนี้อาจมีคนเข้ามาดูแต่หนูก็จะไม่ใช่คนน่ารักในสายตาของโลกโซเชียลเสมอไปเพราะความรุนแรงมันไม่ใช่ของยั่งยืนและจะได้รับผลร้ายตอบเป็นต้น

 

5.โปรดใช้วาจาเมตตาและให้อภัย 

ถ้าอยากให้ลูกดีมีวิธีเริ่มที่ง่ายที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่เริ่มวันใหม่ด้วยการคุยกันอย่างพูดหวานขานเพราะมีครับมีค่ะลงท้าย แม้คุยกับแม่บ้านหรือพนักงานเสิร์ฟอาหารก็เอ่ยปากกับเขาอย่างให้เกียรติไม่มีเลือกปฏิบัติอย่างนี้จะจัดระเบียบให้สมองของเด็กพัฒนาไปในทางดี

แม้จะมีพ่อแม่รุ่นใหม่คิดว่าคุยกันด้วยภาษาห้าวอย่างไรก็ได้ไม่มีใครเขาถือแล้ว แต่ขอให้รู้ว่าคำพูดที่เพราะนั้นมันมีผลกับจิตใจเด็กมาก ด้วยวลีที่เอ่ยเป็นบวกนั้นมันจะประทับลงในจิตใจของทั้งผู้พูดและผู้ฟังให้อ่อนโยนโดยไม่รู้ตัว และเมื่อทำไปบ่อยๆเข้าจนติดเป็นนิสัยก็จะทำให้กลายเป็นคนอ่อนโยน ข้อสำคัญคือทำให้เด็กนั้นโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่หาความสุขให้หัวใจได้ง่ายขึ้น

 

สิ่งสำคัญที่สุดในการเลี้ยงลูกในปัจจุบันไม่ใช่แค่เพียงความฉลาดค่ะ แต่ลูกเรายังต้องประสบความสำเร็จอย่างมีความสุข รู้จักช่วยเหลือผู้อ่าน และสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้เป็นอย่างดี แม้ลูกเราจะไม่เป็นที่หนึ่งในทุกๆ เรื่อง ขอเพียงแค่เขาสามารถใช้สิ่งที่เรียนรู้และได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง เขาก็เป็นเด็กฉลาดแล้วล่ะค่ะ

 

ที่มา : นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย

ลูกรักประสบความสำเร็จได้ เพราะรู้จักจดจ่อและใส่ใจ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF  

Focus / Attention หรือ การจดจ่อใส่ใจ  คือทักษะ 1 ใน 9 ด้านของ Executive Functions (EF) หรือ ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ 


เวลาที่คนเราจะจดจ่ออะไรสักอย่าง เราจะต้องมีการจดจำว่าเราจดจ่อเพื่ออะไร จำได้ว่าทำไมเราต้องจดจ่อ เช่นเวลาที่คุณครูบอกเด็กๆ ว่า “นั่งทำงานเงียบๆ นะเด็กๆ ทำเสร็จเดี๋ยวครูมาตรวจ” คำว่า ทำงานเงียบๆ ทำให้เสร็จ จะกลายเป็นความจำที่อยู่ในสมอง เด็กจะจำคำสั่ง และรู้ว่าทำไมตัวเองถึงต้องจดจ่อทำงานให้เสร็จ

นอกจากนั้นต้องมีความยั้งใจ เมื่อเด็กรู้ว่าเราต้องทำงานนี้ให้เสร็จ เดี๋ยวคุณครูจะกลับมาตรวจ เด็กก็จะต้องจดจ่อกับคำสั่งนี้ และยั้งใจของตัวเองว่าจะไม่ไปทำในสิ่งอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือคำสั่งนี้  เช่น  เพื่อนชวนไปวิ่งเล่น เด็กก็จะบอกเพื่อนว่า คุณครูบอกว่าให้ทำงานให้เสร็จ เขาก็จะไม่ไปวิ่งเล่น 

แรงจูงใจที่ทำให้เด็กเกิด Attention

1. การรู้คำสั่ง รู้ความหมายของการที่จะต้องจดจ่อ เช่น เด็กรู้ว่าครูสั่งให้ทำงานให้เสร็จ ครูจะกลับมาตรวจ เด็กก็จะจดจ่อทำสิ่งนั้น

2. เป็นเรื่องที่ชอบเวลาที่เด็กทำอะไรด้วยความชอบ เช่น ชอบต่อบล็อก วาดรูป เล่นเกม เขาก็จะมีความสุขกับสิ่งที่ทำ มีไอเดียที่จะทำ อยากทำ สนุกกับการต่อโน่นต่อนี่ หรือทดลองรื้อใหม่ ถ้าเขามีความสุข ก็จะมี Attention กับสิ่งนั้นได้ดี 

3. การมีเป้าหมาย เช่น ถ้าเด็กรู้ว่าเขาวาดรูปนี้สำเร็จ เอาไปให้แม่ ก็จะตั้งใจวาดตั้งใจทำ ดังนั้นเป้าหมายของเขาคือ "จะให้" รูปที่วาดกับแม่ ไม่ใช่เป็นการวาดรูปเพียงอย่างเดียว มีความหมายที่มากกว่า เช่น อยากทำดีให้แม่ชื่นใจ 
 
4. มีความสงสัยใคร่รู้ ความอยากรู้ของเด็กจะทำให้เด็ก มีใจจดจ่อ พ่อแม่ต้องค่อยๆ เติม ค่อยๆ กระตุ้นความอยากรู้ เด็กจะได้ทั้งฝึก  Attention และตอบโจทย์ความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งของมนุษย์เหมือนกัน ที่จะทำให้มีความช่างคิดวิเคราะห์  ช่างสังเกตเกิดขึ้น

ฝึกลูกให้มีสมาธิ จดจ่อ ใส่ใจ ไม่ยาก

ให้เด็กได้ใช้เวลากับตัวเองเงียบๆ เช่น ต่อบล็อก  เล่นทราย วาดรูป ระบายสี ตัดกระดาษ ฉีกกระดาษ เป็นต้น

สร้างเสริมประสบการณ์ในบ้าน เช่น  พาลูกไปเดินเล่นดูต้นไม้ดูรอบๆ บ้าน ดอกไม้ ต้นไม้ ก้อนหิน ทำนู่นทำนี่ที่จะชวนให้เขาจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะที่นาน  การจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะที่นานนั้นต้องตื่นตัว สำหรับเด็กคือต้องให้เขาเคลื่อนไหวอย่างจดจ่อ  หยิบ  จับ  เล่น แต่เป็นการเคลื่อนไหวบนความจดจ่ออยู่ในเรื่องเหล่านั้น 

มีตัวช่วยในการเรียนรู้ ไม่ต้องเป็นของเล่นสำเร็จ แต่เป็นของใกล้ตัวก็ได้ เช่น เก็บใบไม้มารูปร่างแปลกๆ มาเรียง ชวนลูกทำกับข้าว เล่นหม้อข้าวแกง เป็นต้น

อย่าไปคาดหวังว่าต้องได้ชิ้นผลงานแต่ควรปล่อยลูกเล่นอิสระในพื้นที่ที่ปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่อันตราย เช่น กระดาษหนึ่งแผ่นสองแผ่น   ช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ฯลฯ เด็กก็เล่นได้ ไม่จำเป็นต้องวาดรูปออกมาหนึ่งชิ้น หรือต้องประดิษฐ์สิ่งของได้หนึ่งอย่าง 
 

เมื่อเด็กมี Attention

การที่เด็กจดจ่อหมายความว่ามีเรื่องราวอะไรที่เขาสนใจ เด็กกำลังเรียนรู้อะไรบางอย่าง  กำลังเก็บรับประสบการณ์ ทำความรู้จักกับสิ่งๆ นั้น  กำลังพัฒนาคอนเซ็ปต์เกี่ยวสิ่งเหล่านั้นในสมอง

เมื่อเด็กมี  Attention เขาจะมีระยะเวลาของการคิดที่เป็นกระบวนการ พูดง่ายๆ คือคอนเซ็ปต์ของสิ่งเหล่านั้นกำลังเกิดขึ้นในสมอง เกิดการเรียนรู้  ทำให้ได้พัฒนาความอยากรู้อยากเห็น ทำให้เขารู้จักการแก้ปัญหา ถ้าเขาตั้งใจและใส่ใจกับมัน เขาก็จะทำงานสำเร็จได้ เด็กจะแก้ปัญหาได้ จะเข้าใจและเห็นกระบวนการ ที่สำคัญเขาจะมีความสุข  เพราะเขาจัดการสิ่งที่เขาทำได้ หรือได้ผลงานออกมา และได้คำชมจากพ่อแม่นั่นเอง