ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน ลูกตัวเท่าเม็ดงาและมีหัวใจแล้ว
แม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน ลูกตัวเท่าเม็ดงาและมีหัวใจแล้ว
รู้ไหมคะว่า อายุครรภ์ 1 เดือน เกิดอะไรขึ้นกับลูกในท้องตัวเองบ้าง ลูกในท้องตัวแค่ไหนแล้ว ลูกในท้องกำลังทำอะไรอยู่ และตัวแม่เองมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน จะต้องดูแลตัวเองอย่างไร มาค่ะคุณแม่ท้องทุกคน มาดู พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีดูแลตัวเอง กันค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าเม็ดงาจิ๋วหลิว
- ทารกในครรภ์มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ถึง 1 กรัม ลักษณะเหมือนลูกน้ำ หรือ ตุ่มกลม ๆ เล็ก ๆ
- หัวโตมีติ่งสองคู่โผล่ออกมา ซึ่งติ่งคู่หนึ่งจะพัฒนาเป็นแขน 2 ข้าง ส่วนติ่งอีกคู่หนึ่งจะพัฒนาไปเป็นขาสองข้างนั่นเอง
- สายสะดือค่อนข้างใหญ่ มีเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำจากรก เป็นเส้นทางนำอาหารไปสู่ตัวทารก และถ่ายเทของเสียกลับคืน
- อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ หลังจากการปฏิสนธิทารกในครรภ์จะเป็นเพียงเซลล์เล็ก ๆ ที่ค่อย ๆ แบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน
- ส่วนแรก: เริ่มพัฒนาไปเป็นรกและถุงน้ำคร่ำ มีหน้าที่ปกป้องทารก และเป็นเส้นทางลำเลียงอาหาริและของเสียของลูกในระหว่างที่อยู่ในครรภ์ รวมทั้งสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์
- ส่วนที่สอง: มีการพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนหรือทารก โดยเซลล์นี้จะแบ่งออกไปเรื่อยิๆ จนพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างิๆ เช่น ตับ ปอด ต่อมไทรอยด์ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ บางส่วนพัฒนาไปเป็นโครงกระดูก กล้ามเนื้อทั่วไป กล้ามเนื้อหัวใจ อัณฑะ รังไข่ หลอดเลือด ฯลฯ จนครบเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์
- อายุครรภ์ 2 สัปดาห์ เริ่มเห็นตำแหน่งที่จะพัฒนาไปเป็นไขสันหลัง และส่วนหลังของตัวอ่อน
- อายุครรภ์ 3 สัปดาห์ อวัยวะสำคัญเริ่มเจริญเติบโตขึ้น ช่วงสัปดาห์นี้หัวใจของลูกเริ่มเต้นแล้ว
- อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะมีลักษณะคล้ายกุ้ง เอวคอดตรงกลาง ส่วนหัว ส่วนข้าง และส่วนล่างเหมือนหางโค้งงอ
แม่ท้องอายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการคนท้องและต้องทำอะไรบ้าง
- เมื่อรู้ตัวว่าท้องก็ต้องรีบไปฝากครรภ์นะคะ เพื่อคุณหมอจะได้ตรวจร่างกายคุณแม่และสุขภาพของทารกในครรภ์ และแนะนำการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง
- กินอาหารที่มีโฟเลทต่อเนื่องยาว ๆ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์ของตัวอ่อนแข็งแรง ป้องกันการพิการแต่กำเนิด
- งดออกกำลังกายหนัก ๆ เพราะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนบอบบางมาก เป็นระยะที่เราต้องให้ตัวอ่อนได้ฝังตัวกับผนังมดลูกให้ดี
- นอนพักผ่อนเยอะ ๆ เพราะช่วงนี้อาหารแพ้ท้องมาแล้ว ทั้งเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียง่าย เจ็บตึงเต้านม ปัสสาวะบ่อย หรือบางคนจะหงุดหงิดง่าย เพราะฮรอ์โมนเปลี่ยนแปลงด้วย
*** เมื่อไปพบคุณหมอ อย่าลืมสอบถามเรื่องวัคซีนที่คนท้องต้องฉีด และรับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเล่มสีชมพูกลับมาด้วยนะคะ
*************************************************
เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่
- ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน
- ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน
- ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน
- ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน
- ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน
- ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน
- ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน
- ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน
- ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน