facebook  youtube  line

6 วิธีกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด ได้สนุก ได้เรียนรู้

พัฒนาการสมองเด็กทารก, สมองเด็กทารก, กระตุ้นสมองเด็กทารก, วิธี กระตุ้นสมองเด็กทารก, กระตุ้นสมองทารกยังไง, ต้องกระตุ้นสมองเด็กไหม, กระตุ้นสมองทารกได้ไหม, เล่นอะไร กระตุ้นพัฒนาการสมองเด็ก

พัฒนาการสมองลูกทารกเริ่มต้นตั้งแต่ในท้องแล้วค่ะ และนี่คือ 6 กิจกรรมที่พ่อแม่ควรทำทันทีหลังคลอด เพื่อกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกทารกอย่างต่อเนื่อง

6 วิธีกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด ได้สนุก ได้เรียนรู้

  1. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการคุยกับลูก
    ยิ่งคุยกับลูกน้อยมากเท่าไหร่ ลูกก็จะยิ่งพัฒนาและเรียนรู้เรื่องคำมากขึ้น ที่สำคัญขณะพูดคุยควรแสดงสิ่งของนั้นๆ ให้ลูกเห็นด้วย จะทำให้ลูกเข้าใจมากขึ้นและเร็วขึ้น

  2. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการอ่านหนังสือด้วยกัน
    การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พร้อมกับดูภาพในหนังสือไปด้วย จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และอามรมณ์ความรู้สึกของลูกให้มั่นคง ทั้งยังช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ไปด้วย ลูกจะเรียนรู้และรู้จักจับเรื่องราวที่คุณอ่านให้ฟังได้ โดยเฉพาะเรื่องของคำศัพท์ การออกเสียงคำ การอ่านจากซ้ายไปขวา เป็นต้น นอกจากนี้ภาพในหนังสือยังช่วยให้ลูกได้เห็นได้รู้จักกับสิ่งต่างๆ ที่ลูกไม่เคยเห็นนอกเหนือจากสิ่งที่อยู่รอบตัว

  3. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการใช้นิ้วมือทำให้เข้าใจดีขึ้น
    การใช้สัญลักษณ์เพื่อช่วยสื่อสารกับลูก ก่อนที่ลูกจะพูดโต้ตอบได้ เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ซึ่งคุณสามารถใช้มือ นิ้วมือเป็นตัวช่วยได้ มีผลการวิจัยที่ชี้ชัดว่าสัญลักษณ์ทางภาษาส่งผลดีต่อไอคิวและพัฒนาการทางภาษาของเบบี้ โดยเขามีการศึกษาวิจัยในเด็กเบบี้จำนวนหนึ่งซึ่งเรียนเกี่ยวกับสัญลักษณ์มือ 20 สัญลักษณ์ พบว่าเด็กกลุ่มนี้สามารถพูดได้เร็วขึ้น และไอคิวก็สูงกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับสัญลักษณ์

  4. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยนมแม่ดีที่สุด
    มีผลการวิจัยบอกว่าเด็กในขวบแรกที่ได้รับนมแม่ตลอด จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่ อย่างไรก็ตามผลคะแนนที่ได้นี้สูงกว่ากันเพียงเล็กน้อย

  5. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกในเวลาที่เหมาะสม
    แม้ลูกเล็กต้องการการตอบสนองอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง แต่กระนั้นก็ต้องการเวลาที่จะเรียนรู้หรือพัฒนาด้วยตัวเองด้วย เช่น ลูกต้องการเวลาที่จะเล่นของเล่นเอง ต้องการเวลาส่วนตัวที่จะคลานไปโน่นมานี่เอง เป็นต้น เพราะฉะนั้นเวลาตลอด 24 ชั่วโมงของลูก พ่อแม่ต้องจึงต้องสังเกตและรู้จักตอบสนองลูกให้ถูกจังหวะที่ลูกต้องการ และรู้จักปล่อยจังหวะให้ลูกได้มีเวลาของตนเอง เล่น หรือทำอะไรเองด้วย

  6. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการให้ความอุ่นใจ
    เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยรู้ว่าทุกความต้องการของเขาจะได้รับการตอบสนองด้วยความรักที่มั่นคงจากพ่อแม่เสมอ แรงขับเคลื่อนในการพัฒนาและเรียนรู้โลกกว้างของลูกก็จะเปี่ยมพลังมากขึ้น และวิธีที่จะทำให้ลูกรู้สึกดังกล่าวได้ คืออ้อมกอดอบอุ่นและสายตาของพ่อแม่ที่มองสบตาลูกทุกครั้ง 

ทั้ง 6 ข้อไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับพ่อแม่ ยิ่งคุณทำได้ดี พัฒนาการทางสมองสติปัญญา และการเรียนรู้ของลูกน้อยก็จะยิ่งมีคุณภาพ และเปี่ยมศักยภาพมากขึ้น


 

LPR เคล็ดลับเสริมความแกร่ง สู่ความเก่งของเด็กยุคใหม่ 

 LPR เคล็ดลับเสริมความแกร่ง สู่ความเก่งของเด็กยุคใหม่-เลี้ยงลูกให้เก่งและแกร่ง-พัฒนาการทางสมอง-อาหารสำหรับเด็ก-จุลินทรีย์สุขภาพ-LPR คืออะไร-LPR สารอาหาร

 

คุณหมอเด็กแนะ LPR จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เสริมภูมิคุ้มกันช่วยลูกแข็งแรง ให้ความแข็งแกร่ง ต่อยอดสู่ความเก่งเต็มศักยภาพในแบบที่ลูกเป็น

LPR เคล็ดลับเสริมความแกร่ง สู่ความเก่งของเด็กยุคใหม่ 

 

“เลี้ยงลูกยังไงให้แกร่งและเก่ง” ในยุคที่สิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่หลายคนจึงให้ความสำคัญกับสุขภาพของลูก โดยเฉพาะเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกแข็งแรง เขาก็จะพร้อมออกไปเรียนรู้ ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ และพัฒนาตัวเองได้อย่างเต็มศักยภาพค่ะ และคุณแม่นี่ล่ะที่จะต้องหาให้เจอว่า อะไรที่ช่วยเสริมทั้งความแกร่งและความเก่งของลูกได้ทุกวัน

 

LPR เคล็ดลับเสริมความแกร่ง สู่ความเก่งของเด็กยุคใหม่-เลี้ยงลูกให้เก่งและแกร่ง-พัฒนาการทางสมอง-อาหารสำหรับเด็ก-จุลินทรีย์สุขภาพ-LPR คืออะไร-LPR สารอาหาร

LPR คือจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีต่อระบบทางเดินอาหาร เสริมความแข็งแกร่ง…จึงเก่งได้อย่างใจฝัน

LPR ดีต่อระบบทางเดินอาหาร เพราะ LPR คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบได้ในนมแม่ นอกจากสารอาหารอื่น ๆ ในนมแม่ที่มีมากกว่า 200 ชนิด เช่น แคลเซียม วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ และ DHA ที่แม่ทราบกันดีอยู่แล้ว โดย LPR ยังสามารถพบได้ในโยเกิร์ตและนมบางชนิดอีกด้วย โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นอย่างหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกกว่าจุลินทรีย์ก่อโรคเป็นสิ่งที่มีผลดีต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ภูมิคุ้มกัน ความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม รวมถึงพัฒนาการของลูกในระยะยาว

LPR ก็คือ จุลินทรีย์ที่พบได้ในลำไส้ของเด็กที่ได้รับนมแม่ ช่วยปกป้องเยื่อบุลำไส้ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ ระบบทางเดินอาหารก็ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันก็แข็งแกร่ง ร่างกายก็เติบโต แข็งแรงสมวัย

 

LPR เคล็ดลับเสริมความแกร่ง สู่ความเก่งของเด็กยุคใหม่-เลี้ยงลูกให้เก่งและแกร่ง-พัฒนาการทางสมอง-อาหารสำหรับเด็ก-จุลินทรีย์สุขภาพ-LPR คืออะไร-LPR สารอาหาร

LPR มีส่วนช่วยเสริมการทำงานของสมอง

คุณแม่ทราบไหมคะว่า LPR เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่ม Lactobacillus ซึ่งมีผลการศึกษาว่าจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีส่วนร่วมในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง นอกจากนั้น เมื่อร่างกายแข็งแกร่ง พร้อมเรียนรู้ พัฒนาการทางสมองก็เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาความเก่งที่เขาชอบ ให้เขาสร้างความเก่งแบบที่ใจฝัน เพราะเมื่อร่างกายแข็งแกร่ง สมองก็สามารถพัฒนาได้เต็มที่ตามวัย ไม่มีสะดุด เสริมความสตรองของเด็กยุคนี้…ให้แกร่ง จึงเก่งได้ เต็มศักยภาพ

เคล็ดลับสร้างลูกแกร่ง เสริมความเก่งให้ลูกทุกวัน

  1. เลือกอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ นมแม่ จนถึงอายุอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนเริ่มอาหารตามวัย และให้ลูกได้กินอาหาร 3 มื้อ ที่ได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และมีนมเป็นอาหารเสริม หลังอายุ 1 ปีไปแล้ว เพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานเพียงพอในการเรียนรู้
  2. สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป คุณแม่สามารถเสริมด้วยนม หรือ อาหารที่มี LPR (แอลพีอาร์) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น LPR ที่พบได้ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว และนมบางชนิด เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้น
  3. อย่าจำกัดจินตนาการและพื้นที่ในการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือ พัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่ชอบอยู่เสมอ
  4. สอนลูกให้รู้จักดูแลตัวเอง รักษาความสะอาด เพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อโรครอบตัว
  5. นอนให้พอ โดยเด็กอายุ 1-2 ปี ควรนอนรวมวันละ 11-14 ชั่วโมง เด็กอายุ 3-5 ปี นอนรวมวันละ 10-12 ชั่วโมง เด็กวัย 6-13 ปี นอนวันละ 10-11 ชั่วโมง

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์

รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม

สนับสนุนความแข็งแรงและการเรียนรู้ของเด็ก ๆ โดย Mommy Bear Club

Mom's Issue EP 20 : ของเล่น Unisex เล่นได้พัฒนาการดี

 

ป้าปอยและแม่ดอยชวนมาแชร์ไอเดียเลือกซื้อของขวัญให้เด็กๆ ไม่ว่าจะเด็กชายเด็กหญิง เลือกซื้อแบบไหนดี ไปฟังกันเลย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.51 (Rerun) : รักลูกเป็นพิเศษ ตอน “ซน ดื้อ หรือสมาธิสั้น?”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.51 (Rerun) : รักลูกเป็นพิเศษ ตอน "ซน ดื้อ หรือสมาธิสั้น?"

 

หลายครั้งที่เราเผลอยัดเยียดความไม่ปกติให้ลูก พบคุณหมอหลายท่าน เพื่อให้ยืนยันว่าลูกเป็น!

โดยเฉพาะอาการสมาธิสั้น ที่เรียกว่าเป็นหนึ่งในอาการที่คุณพ่อคุณแม่สงสัยเป็นอันดับต้นๆ “ใช่ไหมนะ ใช่หรือเปล่า เป็นแล้วหรือยัง”

 

“รักลูกเป็นพิเศษ” จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญ รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ มาตอบให้คุณแม่หายข้องใจกับอาการของลูกเราว่าแค่ซน หรือใช่สมาธิสั้น

เข้าใจสมาธิสั้น

สมาธิสั้น ชื่อโรคเต็มๆ คือ ซนสมาธิสั้น ไม่ได้มีแค่สมาธิสั้น มี ซน และ สมาธิสั้น และอีกอย่างคือมีหุนหันพลันแล่นและใจร้อนด้วย

โรคนี้มี 3 อย่าง คือ กลุ่มอาการซนไม่อยู่นิ่ง และเป็นเรื่องของอาการสมาธิ เช่น สมาธิไม่ดี ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้นาน และหุนหันพลันแล่นใจร้อน ตัวโรคเองบางคนอาจจะเด่นเรื่องของสมาธิ บางคนอาจจะเด่นเรื่องของการเคลื่อนไหวคือลักษณะไม่อยู่นิ่ง ซนมาก แต่ที่เจอบ่อยที่สุดคือทั้ง 2 อย่าง คือทั้งเรื่องของซนด้วย  แล้วก็สมาธิไม่ดีด้วยแล้วก็ใจร้อนด้วย อันนี้ครบหมดเลย

เด็กบางคนที่มีลักษณะของสมาธิก็จะไปเด่นตรงข้อสมาธิ ซึ่งหลักๆ จะมีอยู่ 9 ข้อ จะมีเกณฑ์ในการวินิจฉัย ถ้ามี 6 ใน 9 ถือว่าเป็นเรื่องของสมาธิที่มีปัญหา หรือในกรณีของข้อในเรื่องหุนหันพลันแล่นใจร้อนซึ่งจะรวมอยู่ในข้อของการซนไม่อยู่นิ่ง ก็จะรวมกันแล้วได้ 9 ข้อ ซึ่งถ้ามี 6 ใน 9 ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มซนไม่นิ่ง และหุนหันพลันแล่น

เพราะฉะนั้นบางทีถ้ามีทั้ง 2 อย่าง ก็จะมีครบเลยของซนสมาธิสั้น คือทั้งใจร้อน ไม่อยู่นิ่ง แล้วก็ยังมีเรื่องของสมาธิไม่ดีด้วย แต่จุดหนึ่งที่ยากคือกลุ่มที่สมาธิไม่ดีอย่างเดียวโดยไม่ซน อันนี้จะออกในลักษณะของเฉื่อยๆ เด็กที่ไม่ซนเขาก็นั่งเฉยๆ แต่เขาสมาธิไม่ดี

ฉะนั้นเขาก็จะชอบนั่งฝันกลางวันไปเรื่อยๆ นั่งเหมอมองไป หลายคนจะมองเหมือนกับว่าเป็นเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน เป็นเด็กที่อยู่ในความฝันจริงๆ แล้วเขาเป็นสมาธิสั้นแบบที่เป็นเรื่องของสมาธิเป็นหลัก โดยไม่มีอาการซน

แต่ภาพจำของคนที่เป็นซนสมาธิสั้น คือเด็กที่วิ่ง อยู่ไม่นิ่ง ชอบแหย่เพื่อน อันนี้คือลักษณะของอาการซนที่เป็นอาการเด่น ในความเป็นจริงแล้วมักจะอยู่ด้วยกันทั้งซนและสมาธิสั้น ฉะนั้นเลยเห็นเป็นภาพทั้งสมาธิไม่ดีด้วยและก็อยู่ไม่นิ่งด้วยก็รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

สมาธิสั้นโรคทางพัฒนาการ

ประเด็นแรกต้องเข้าใจก่อนว่า โรคซนสมาธิสั้นไม่ใช่โรคจิตเป็นโรคพัฒนาการ หลายคนมองว่าหมอที่รักษาโรคซนสมาธิสั้นเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือเป็นคุณหมอพัฒนาการเด็ก หลายคนเลยคิดว่าเป็นโรคจิตเวชหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่โรคซนสมาธิสั้นเป็นโรคพัฒนาการล่าช้า

พ่อแม่อาจจะมีข้อสงสัยว่าพัฒนาการล่าช้าอย่างไร ตั้งแต่เด็กก็ไปตรวจ พัฒนาการตั้งแต่เด็กก็ปกติดี พูดก็ได้ดูก็ปกติ ใช้มือปกติดี เพราะพัฒนาการหลัก 4 ด้าน มันไม่เกี่ยวข้องมากนักกับซนสมาธิสั้น เพราะซนสมาธิสั้นต้องอาศัยพัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น หรือถ้าใช้คำที่เราคุ้นเคยกันก็คือเกี่ยวข้องกับ EF คือเรื่องของทักษะในการควบคุมตนเอง ซึ่งตรงนี้เองอาศัยพัฒนาการทางสมองส่วนหน้าคือสมองส่วน frontal

เด็กซนสมาธิสั้น

คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในการควบคุมตัวเอง เขาคุมตัวเองให้นิ่งไม่ได้เมื่อถึงวัยที่ควรจะเป็น นั่นแปลว่าเด็กขวบหรือสองขวบจะบอกได้ยากว่าเป็นซนสมาธิสั้นหรือเปล่าเพราะในวัยนั้นซนเหมือนกันหมด

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาควรจะอยู่นิ่งได้คือพัฒนาการสมองของเขาบังคับให้เขาอยู่นิ่งได้ แต่เขาจะทำไม่ได้อันนั้นคือล่าช้านะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ซนสมาธิสั้นคนที่พามาโรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่แต่เป็นคุณครู โดยเฉพาะคุณครูที่อยู่ในชั้นประถมจะสามารถบอกได้

เพราะคุณครูจะสังเกตได้ว่าเด็กคนนี้ไม่เหมือนเพื่อน แทนที่เพื่อนๆ นั่งเรียนกันได้แล้วคนนี้ชอบแหย่เพื่อน นั่งไปสักพักเริ่มลุกแล้วหรือชอบเหม่อออกนอกห้อง คุณครูจะเป็นคนที่สังเกตได้ แล้วหลายๆ ครั้งที่คุณครูสังเกตได้อย่างนั้นจริงๆ เป็นจริงๆ ด้วย

ขณะเดียวกันพ่อแม่พอสังเกตได้ว่าเมื่อเทียบกับพี่น้องแล้วคนนี้รู้สึกว่าเขากิจกรรมเยอะชอบเคลื่อนไหวมากกว่าเพื่อนๆ พี่น้องสักนิดหน่อย หรือว่าไม่สามารถทำงานเสร็จตามที่คุณพ่อคุณแม่สั่งได้อันนี้พอสังเกตได้

แต่จุดหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ชอบมองพอ 2-3 ขวบ ลูกชอบวิ่งไปวิ่งมาจะชอบมาถามว่าเป็นสมาธิสั้นหรือเปล่า เพราะวัยนั้นตอบยากมาก วัยนั้นเป็นวัยที่มีเด็กมีการเคลื่อนไหวมากเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว

อย่างที่ทราบกันดีว่าเด็กเล็กๆ เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านการเคลื่อนไหวเพราะฉะนั้นในวัยนั้นเราจะไม่มีข้อจำกัดในลักษณะของการห้ามเขาเคลื่อนที่ ให้เขากิจกรรมได้เต็มที่เพียงแต่เราจะสังเกตพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ได้ เช่น เขาอาจจะรอฟังคำสั่งคุณพ่อคุณแม่ได้ไม่จบหรือเขาชอบพูดแทรกอันนี้เป็นการสะท้อนถึงความหุนหันพลันแล่น

หรือเวลาฟังนิทานเขาอาจจะไม่สามารถฟังนิทานได้จนจบชอบถามแทรกขึ้นมาตรงนี้อาจจะเป็นเรื่องของตัวสมาธิต่างๆ ที่อาจจะไม่ดี หรือว่าใจร้อนอยากจะถามขึ้นมา อาจจะพอสังเกตอะไรเล็กๆ น้อยๆ ได้ แต่ถ้าโฟกัสเรื่องของการเคลื่อนไหวอาจจะบอกได้ยากซนเป็นธรรมชาติอยู่แล้วในช่วงเด็กเล็ก

ในEP 01 คุณหมอเดวบอกว่าเด็กมีหลายประเภท คุณหมอบอกเด็กที่มีพลังเยอะ ลูกเราอาจจะอยู่ในเกณฑ์ของเด็กที่พลังเยอะ อย่าเพิ่งไปตัดสินว่าเขาเป็นสมาธิสั้น แต่ก็ต้องดูในเรื่องที่คุณหมอบอก นั่งฟังนิทานแล้วก็ทนไม่ได้ถามขึ้นมา หรือรอฟังคำสั่งไม่ได้เกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อแม่สังเกตได้

สิ่งเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตได้ แต่ไม่ใช่จุดที่จะบอกว่าเป็นหรือไม่เป็น เพราะการที่จะสังเกตว่าเป็นหรือไม่เป็นบางทีต้องใช้กุมารแพทย์ที่ได้ดูเด็กบ่อยๆ ก็อาจจะพอบอกได้ หลายๆ ครั้งเองไปเจอในครั้งแรกหมอก็ยังบอกไม่ได้ต้องใช้วิธีการติดตามก่อน

เพราะว่าลักษณะเรื่องของเด็กว่าเป็นสมาธิสั้นเราพบว่าเด็กแต่ละคนไม่ได้เป็นขาวหรือเป็นดำ เด็กเหมือนเป็น Spectrumที่คุณหมอเดวชอบใช้คำว่าเป็นผ้าสี มีโทนสีของเขาเอง

เพราะฉะนั้นในการวินิจฉัยโรคก็เช่นกันบางทีไม่ขาวหรือดำเป็นหรือไม่เป็นชัดๆ เด็กบางคนพลังงานเยอะ หลายๆ ครั้งดูคล้ายสมาธิสั้นแต่เมื่อถึงวัยที่เขาควรจะนิ่ง ถึงวัยที่เขาจะนั่งในห้องเรียนเขาทำได้ เขาก็คือเด็กคนหนึ่งที่มีพลังเยอะแค่นั้นเอง

เกณฑ์อายุเป็นสมาธิสั้น

จุดนี้เป็นจุดที่คุณพ่อคุณแม่ค่อนข้างจะกังวลกันมาก เพราะเรากลัวว่าเป็นสมาธิสั้นต้องกินยา หรือมีปัญหาเรื่องการเข้าโรงเรียน ต้องบอกอย่างนี้ว่าถ้าอาการชัดจริงๆ ประมาณสัก 2-3 ขวบบางคนก็เห็นได้แล้ว เพียงแต่โดยส่วนใหญ่อาการไม่ได้ชัดมากคือซนพอรับไหวหรือพ่อแม่พอรับได้ว่าแบบนี้คือความซนของเขา

ซึ่งพออยู่ในเกณฑ์ที่พ่อแม่รับได้บางทีอาจจะต้องใช้คุณครูเข้ามาช่วยก็คือเปรียบเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน เพราะฉะนั้นจุดสำคัญหมอมองว่าสิ่งสำคัญที่เราจะดูคือพัฒนาการตามวัยของเด็ก

เด็กช่วงประมาณ 3-4 ขวบ เข้าชั้นอนุบาลแล้วส่วนใหญ่พอจะนั่งฟังนิทานได้ ส่วนใหญ่พอจะรอคิวได้ ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมได้ ถ้าสังเกตว่าลูกไม่สามารถทำตรงนี้ได้ เช่น ชอบแซงคิวหรือในอีกกรณีหนึ่งคือชอบลืมของบ่อยๆ กลับบ้านมาของไม่เคยครบเลย เรื่องขี้ลืมก็เป็นเกณฑ์ของการวินิจฉัยสมาธิสั้นได้อันหนึ่ง หยิบของกลับบ้านไม่ครบ ลืมกระติกน้ำ ยางลบ ปากกาอยู่โรงเรียน ดินสออยู่ที่บ้าน อะไรแบบนี้ปนกันไปหมด อันนี้ต้องเริ่มระวังแล้ว

หรือมีกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ใช้คำว่ามีมอเตอร์ติดตัวคือมีพลังเยอะมากเคลื่อนที่ตลอดเวลาอันนี้ต้องดูว่าอาจจะซนมากกว่าปกติหรือเปล่า หรือเป็นซนสมาธิสั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่สงสัยแนะนำให้ไปเจอกุมารแพทย์ดีกว่า

ในความเป็นจริงที่หมอพบว่าหลายๆ ครั้งคุณพ่อคุณแม่จะไปเจอกุมารแพทย์หนึ่งท่านกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตแพทย์เด็กก็ดี แล้วก็จะไปเจอคนที่สอง แล้วก็สาม สี่ ห้า แล้วบางทีก็สิบคนเพื่อยืนยันว่าเป็นหรือไม่เป็น ต้องบอกก่อนว่าโรคสมาธิสั้นมันอิงกับพัฒนาการตามวัย

เพราะฉะนั้นบางทียังโตไม่ถึงระดับมันสังเกตยาก คุณหมออาจจะยังไม่ฟันธง ณ วันนั้นว่าเป็น แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อยากรู้ว่าเป็นหรือไม่เป็นก็เลยต้องไปนู้นไปนี่ แนะนำว่าสิ่งสำคัญคือถ้าเจอใครแล้วให้คุณหมอท่านใดท่านหนึ่งตามดีกว่าคนเดียวกันตามอาการเดิมจะเห็นได้ชัดกว่าและสามารถบอกได้ง่ายว่าเป็นหรือไม่เป็น

แต่การไปเจอหนึ่งครั้งแล้วบอกว่าเป็นหรือไม่เป็นมันตอบยาก เราใช้ข้อมูลการเมินจากพ่อแม่จากคุณครูในภาพร่วม เช่น ในหนึ่งภาคการศึกษาประกอบด้วยจะทำให้เราเห็นภาพการวินิจฉัยได้มากขึ้น อันนี้จุดหนึ่งที่สำคัญถ้าเจอกับใครแล้วอยากให้เจอ เพราะส่วนใหญ่แล้วกุมารแพทย์ที่ผ่านการอบรมมาไม่ว่าจะเป็นทางด้านเรื่องของพัฒนาการก็ดี จิตแพทย์ก็ดี เขาสามารถดูแลโรคกลุ่มนี้ได้ไม่ยาก

ที่สำคัญเป็นคนเดียวดูเด็กจะได้ประโยชน์มากกว่า กว่าการไปเจอทีเดียว 5-6 คน แล้วได้คำตอบกลางๆ หลายคนไปเจอครั้งแรกๆ อาจยังวินิจฉัยไม่ได้ตั้งแต่แรกต้องอาศัยข้อมูลมากขึ้น ถ้าอยากให้มั่นใจมากขึ้นก็อาจจะ 2ท่านได้ แต่ที่เห็นกันเจอกันเป็น 10 ท่าน โดยเฉพาะกรณีที่เป็นสมาธิสั้นเทียม คุณพ่อคุณแม่ไปเจอก็จะตามว่าตกลงเทียมหรือแท้

ซึ่งตามที่บอกไปรอบก่อนว่าโรคเทียมทั้งหลายไม่มีจริงนะ ถ้าเป็นโรคคือเป็นโรค ส่วนเทียมเป็นปัญหาจากการเลี้ยงดูทำให้เกิดเป็นโรค ซึ่งในกรณีของสมาธิสั้นเทียมปัญหาการเลี้ยงดูคือการเลี้ยงดูโดยที่เด็กไม่ได้ถูกสอนเรื่องของกฎเกณฑ์ เรื่องของการรอคอย แล้วก็ตัวเด็กเองขาดการฝึกฝนเรื่องของวินัย

ยากับเด็กสมาธิสั้น

การรักษาหลักของเด็กที่เป็นซนสมาธิสั้นคือการปรับพฤติกรรมมันจะอยู่เหนือกว่าการกินยา เพราะยาที่รักษาโรคซนสมาธิสั้นไม่ใช่รักษาโรค ยารักษาโรคซนสมาธิสั้นคือยาที่ทำให้นิ่งพอนิ่งแล้วทำให้เรียนหนังสือได้

อย่างที่ได้บอกไปแล้วโรคซนสมาธิสั้น เป็นโรคทางพัฒนาการล่าช้าแปลว่าถ้าไม่ทำอะไรเลยปล่อยไปเรื่อยๆ สุดท้ายเขาจะนิ่งเมื่อพัฒนาการทางสมองเขามีมากขึ้นแต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าเขาไปนิ่งตอน ป.5 โดยที่ ป.1-5 เขาเรียนอะไรไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้นหลักการในการให้ยาโรคซนสมาธิสั้นคือการให้ยาที่ทำให้เด็กนิ่งพอที่จะเรียนได้ และไม่ขาดโอกาสในการเรียน ณ เวลานั้น ส่วนการทำให้โรคหายคือการปรับพฤติกรรมทั้งปรับจากตัวพ่อแม่และที่ตัวเด็ก และปรับรูปแบบการเรียนรู้ที่โรงเรียน

ยาโรคซนสมาธิสั้นเป็นยาควบคุมเฉพาะสั่งจ่ายในโรงพยาบาลเท่านั้น คนที่สั่งจ่ายได้คือกุมารแพทย์ที่ผ่านการอบรมทางด้านนี้มาจึงจะสามารถสั่งจ่ายยาได้ ตัวยาเองไม่ได้อันตรายเพียงแต่ว่าอาจมีข้อควรระวังเล็กน้อย เช่น บางคนกินแล้วจะเบื่ออาหาร หรือบางครั้งถ้าเราไม่ต้องการให้เด็กนิ่ง เช่น วันหยุดไม่ต้องกินก็ได้ซึ่งมีข้อแตกต่างจากยาอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ในสมองอย่างยากันชักต้องกินทุกวันห้ามขาด

แต่ยาโรคสมาธิสั้นถ้ากินไปแล้ว วันไหนเราไม่ต้องการสมาธิเราอยากให้ลูกฟรีออกแรงเต็มที่ก็ไม่ต้องกินวันนั้นได้ เพื่อให้เขาสามารถกลับมาเป็นปกติได้ในวันที่เขาไม่ได้กินยา เขากินข้าวได้เป็นปกติไม่มีเบื่ออาหาร หรือยาสมาธิโดยส่วนใหญ่ที่เรากินไปก็เพื่อให้เรียนหนังสือได้

ฉะนั้นตอนเย็นเราไม่ต้องจำเป็นกิน เพราะบางทีกินยาตอนเย็นแล้วเด็กไม่นอนเพราะยามีผลข้างเคียงที่ทำให้นอนไม่หลับด้วย จุดที่ต้องระวังคือเรื่องเบื่ออาหารและการนอนไม่หลับ ดังนั้นยาตัวนี้ส่วนใหญ่จะกินตอนเช้า บางทีถ้าตอนบ่ายมีคาบเรียนก็จะต้องกินตอนเที่ยงด้วยถ้าเป็นการกินยาชนิดออกฤทธิ์สั้น แต่ในกรณีคนที่กินยาแบบ Long acting คือออกฤทธิ์ทั้งวันก็กินยาทีเดียวตอนเช้าได้

แต่ส่วนใหญ่ยาจะหลีกเลี่ยงกินตอนช่วงเย็นๆ เพราะเด็กบางคนนอนไม่หลับ หรือในช่วงปิดเทอมก็อาจจะไม่ต้องกินยาก็ได้ เด็กได้สามารถทำน้ำหนักช่วงนั้นได้ บางคนกินยาไปแล้วกังวลมากช่วงกินยาน้ำหนักลูกไม่ขึ้นเพราะช่วงนั้นเขาจะเบื่ออาหาร

ดูแลเด็กสมาธิสั้น อดทน

คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีความอดทนสำคัญมากเลยเพราะว่าเรามีเด็กคนหนึ่งที่ค่อนข้างซนเลยอยู่ในบ้านความคาดหวังของเด็กซนสมาธิสั้นมักถูกวินิจฉัยในช่วงวัยเรียน เป็นวัยที่พ่อแม่คาดหวังว่าจะต้องรู้เรื่องแล้ว

ซึ่งพัฒนาการสมองในวัยนั้นต้องเข้าใจเหตุผลพื้นฐานได้แต่กลายเป็นว่าเหมือนเด็กฟังแล้วก็ไม่ทำตามเหมือนไม่เข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูด พ่อแม่ก็จะมองว่าเด็กดื้อ จุดสำคัญต้องปรับมุมมองก่อนว่าลูกตอนนี้เป็นสมาธิสั้น หลายครั้งไม่ใช่ว่าเขาดื้อแต่เขาคุมตัวเองไม่ได้

ฉะนั้นเมื่อพ่อแม่เปลี่ยนมุมมองจากการที่เขาเป็นเด็กดื้อมองว่าเขาเป็นเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือพอมุมมองตรงนี้เปลี่ยนหลายอย่างจะเริ่มดีขึ้น ความเครียดในตัวพ่อแม่ก็จะเริ่มลดลง

ในสภาวะที่มองว่าเขาเป็นเด็กดื้อพ่อแม่จะมีความรู้สึกหงุดหงิด พอกดดันก็จะลงไปถึงลูกแล้วเด็กวันนี้สะท้อนกลับเลยจะไม่ใช่เหมือนกับเด็กเล็กๆ ที่เขาจะยอมพ่อแม่แล้ว พอเขาไม่ยอมแล้วเขาเป็นเด็กที่ยับยั้งตัวเองได้ไม่ดีปฏิกิริยาตอบโต้จะค่อนข้างแรงพ่อแม่ยิ่งเครียดเข้าไปใหญ่กลายเป็นทั้งสองฝั่งเครียดเข้าหากันแล้วก็จะมีปัญหา เพราะฉะนั้นคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าต้องอดทนก่อนปรับมุมมองก่อน

ปรับพฤติกรรม

ขณะเดียวกันต้องปรับพฤติกรรม ปรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ปรับสถานการณ์ต่างๆ ให้เหมาะกับเด็ก เราทราบว่าเด็กสมาธิสั้นไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นาน เพราะฉะนั้นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ โต๊ะเขาหันหน้าเข้าหน้าต่างไม่ได้ หันหน้าเข้าทีวีไม่ได้ เขาถูกดึงความสนใจได้ง่ายมากจากสิ่งเร้าจากการที่เขาจดจ่อไม่ได้นาน

ฉะนั้นโต๊ะเขาหันหน้าเข้ากำแพง ขณะเดียวกันเองเขาไม่มีสมาธินานเพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องกำหนดบทเรียนให้เขาใหม่ต้องสั้นๆ เพราะว่าการรู้สึกว่าทำอะไรสำเร็จเป็นแรงจูงใจให้คนพยายามที่จะทำงานอันนั้นต่อ

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องตื่นเช้ามาการเก็บที่นอนวันนั้นเหมือนประสบความสำเร็จแล้วเมื่อการที่เรารู้สึกทำอะไรสักอย่างสำเร็จในตอนเช้าของวันมันเป็นแรงที่เราอยากจะทำให้อย่างอื่นให้สำเร็จต่อ เด็กเองก็เช่นกันถ้าเขาทำอะไรสักอย่างขึ้นมาได้ทำเสร็จตามที่พ่อแม่สั่งเกิดความภูมิใจอยากทำอีกไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบให้พ่อแม่ชม เพราะฉะนั้นการปรับรูปแบบกิจกรรม ปรับสถานที่ให้เหมาะกับการเรียนอันนี้เป็นวิธีที่ช่วยได้

กิจกรรมปลดปล่อยพลังงาน เด็กกลุ่มนี้เหมือนมีมอเตอร์อยู่ในตัวเองมีพลังเยอะ ก็ปรับนิดหนึ่งมีพลังเยอะช่วยแม่ทำนู้นทำนี่ หรือคุณครูเองหนูพลังเยอะช่วยคุณครูแบกลำโพงไปที่ห้อง ช่วยลบกระดานหน่อย ให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานบ้างพอเด็กได้ปลดปล่อยพลังงานบางทีเขาก็สามารถคุมตัวเองได้มากขึ้น ก็เป็นเทคนิคต่างที่จะช่วยผู้ใหญ่ต้องเป็นหลักสำคัญในการช่วยควบคุมตรงนี้

เพราะถ้าผู้ใหญ่เองควบคุมไม่ได้ความเครียดถึงกับตัวเด็กแน่นอน แล้วบางที่เด็กสะท้อนกลับมาแล้วผู้ใหญ่ก็ยิ่งเครียดแล้วสุดท้ายก็จะเป็นปัญหา แล้วพอสมาธิสั้นถ้าจัดการไม่ดีในช่วงของวัยเด็กเขาจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้นเขาไม่ได้วิ่งรอบห้องเพราะเรื่องอาการซนจะดีโดยธรรมชาติ

ผู้ใหญ่เป็นสมาธิสั้นคือผู้ใหญ่ที่ใจร้อนหุนหันพลันแล่นและสมาธิไม่ดีทำงานไม่เสร็จ เราเห็นกันบ่อยในหนังสือพิมพ์ใจร้อนอย่างที่คาดไม่ถึงมีปัญหาต่างๆ แล้วก็เป็นคนที่ต้องเปลี่ยนงานอยู่เรื่อยๆ เพราะเป็นคนที่ทำงานแล้วก็ไม่สำเร็จผัดวันประกันพรุ่ง หรือที่เราใช้คำว่า EF ในส่วนของการควบคุมตัวเองที่มีความบกพร่อง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk EP.64 : "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล

 

 

รักลูก The Expert Talk Ep.64 : "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล

 

เล่นให้เป็นเล่น ไม่เอามาปนกับเรื่องเรียน

 

EP ที่สองของ Seriesเข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง ว่าด้วย เรื่อง "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล เล่นแบบไหนให้สนุกและได้ประโยชน์

 

ฟังวิธีการเล่นกับลูก การเลือกของเล่นที่ไม่ต้องแพง ไม่ต้องเยอะแต่คุ้มค่า รอพบกับอีกสอง EP ต่อเนื่องในสัปดาห์ถัดไปกับ EP3 เปลี่ยน “วัยทอง” เจ้าปัญหา เป็น “วัยทอง” แห่งการเรียนรู้แและ EP4 ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” และสามารถย้อนกลับไปฟัง EP แรก เรื่อง "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล" ได้ในช่องทางของรักลูก Podcast เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.65 : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.65 : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก

 

เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้ รอพบกับอีกหนึ่ง EP สุดท้ายในสัปดาห์ถัดไปกับ ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” และสามารถย้อนกลับไปฟัง EP ใน Series เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง ได้ในช่องทางของรักลูก Podcast เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.66 : “เรียนรู้” แบบไหนในวัยอนุบาล

 

 รักลูก The Expert Talk Ep.66 : "เรียนรู้" แบบไหนในวัยอนุบาล

พ่อแม่มักจะเหมารวมการเรียน เข้ากับการเรียนรู้ ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาแตกต่างกัน

สำหรับเด็กปฐมวัยช่วงวัยอนุบาล ควรเน้นที่การเรียนรู้ แล้วการเรียนรู้รูปแบบใดที่เหมาะสมฟัง The Expert บอกความหมายและคุณค่าของการเรียนรู้เพื่อให้เป็นรากฐานที่แข็งแรงให้กับเด็กไปตลอดชีวิต

 

ฟังย้อนหลัง Series เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง เพื่อให้พ่อแม่เลี้ยงลูกช่วงทองน้องอนุบาลได้อย่างเข้าใจ และไม่ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ได้ ในช่องทางของรักลูก Podcast เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

ด้วย Longex , ชีวิตเพศที่มีความอุ่นใจและเต็มไปด้วยความสุขไม่เพียงแค่ความฝัน - มันกลายเป็นความเป็นจริงทุกวัน!