facebook  youtube  line

10 วิธี ส่งเสริมพัฒนาการลูกให้ได้ผล

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

อยากให้ลูกเป็นเด็กดี มีภูมิคุ้มกันทางกายและใจ ทั้งยังมีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างโด่ดเด่น ไม่ใช่เรื่องยากที่พ่อแม่อย่างเราๆ จะทำไม่ได้ค่ะ โดยเฉพาะ 10 วิธีต่อไปนี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก และนำไปปรับใช้ในกิจวัตรประจำวันต่างๆ ของเขาได้ค่ะ

 

  1. สร้างเสียงหัวเราะ ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย หลังกลับจากทำงาน ลองเล่าเรื่องที่ทำงานหรือเรื่องราวดีๆ ที่พ่อแม่ได้พบระหว่างวันให้ลูกฟัง เพราะการได้ยินเสียงหัวเราะของพ่อแม่จะทำให้ลูกมีความสุขไปด้วย และยังทำให้เขามีความมั่นใจ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ บ้านที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะจะทำให้ลูกรู้สึกไว้ใจและปลอดภัยด้วย

  2. พูดคุยบ่อยๆ เสริมทักษะภาษา พูดกับลูกบ่อยๆ จะช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของลูก เพราะการพูดคุยบ่อยๆ จะทำให้ลูกพยายามใช้ภาษาและมีความเข้าใจภาษามากขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมรับฟังและเว้นช่องว่างให้ลูกได้ตอบโต้ด้วยนะคะ

  3. สบตา สร้างความสัมพันธ์ เวลาที่พูดคุยกับลูกควรย่อหรือนั่งให้สายตาอยู่ระดับเดียวกัน สบตากับลูก จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์และทำให้ลูกเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูดมากขึ้น

  4. จัดตารางชีวิต กระตุ้นให้กระตือรือร้น ควรจัดลำดับกิจวัตรประจำวันให้เป็นตาราง เช่น เวลาตื่น เวลากินอาหาร เวลาออกไปเดินเล่น ซึ่งการจัดลำดับจะทำให้รู้ว่าลูกต้องทำอะไรก่อนหลัง ซึ่งดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ สิ่งสำคัญจะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีความกระตือรือร้น และรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองได้ดี

  5. เป็นตัวอย่างการกินอาหารที่ดี กระตุ้นให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลาย โดยพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่าง ทั้งเรื่องการเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ การเก็บจาน มารยาทบนโต๊ะอาหารที่ดี การทำให้ลูกเห็นเป็นประจำจะทำให้เขาทำตามแบบที่พ่อแม่ทำ

  6. ฝึกมารยาทบนโต๊ะอาหาร สร้างความสุขบนโต๊ะอาหาร ฝึกให้ลูกอยู่บนโต๊ะอาหารให้นานขึ้น พ่อแม่ชวนลูกคุยกันอย่างมีความสุข และหาของเล่นชิ้นเล็กๆ หรือของเล่นชิ้นโปรดให้ลูกเล่น เพื่อให้เขามีความสุขและอยากกินอาหารบนโต๊ะนานขึ้น

  7. ให้ลองเข้าสังคม ทักษะทางสังคมที่เด็กวัย 3-4 ขวบพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มาจากการให้โอกาสได้ใช้เวลากับคนอื่นบ้าง

  8. เล่นเกมได้ทุกที่ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นเกมทุกที่แม้เวลาเดินซูเปอร์มาเก็ต เช่น ให้เขาลองวาดภาพอาหารให้ดู หรือมีตุ๊กตาตัวโปรดนั่งเล่นบนรถเข็น จะช่วยให้เขารู้สึกอุ่นใจมากขึ้น

  9. ให้ลูกทำงานบ้านไปด้วยกัน ในวันหยุดที่ต้องยุ่งกับการทำงานบ้านจนไม่มีเวลาดูแลลูก ลองหาไม้ขนไก่ หรือไม้กวาดอันเล็กๆ ให้เขาได้มีส่วนร่วมช่วยทำงานบ้าน ลูกจะมีความสุข และรู้สึกสนุก 

  10. เปิดเพลงให้ฟัง เวลาลูกนั่งอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ลองเปิดเพลงคลอเบาๆ หรือให้เขาได้ร้องตาม เป็นเพลงนิทาน หรือเพลงที่ช่วยฝึกคำศัพท์ต่างๆ จะช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะด้านภาษา และยังทำให้อารมณ์ดี เป็นเด็กร่าเริมแจ่มใสอีกด้วยค่ะ 

10 วิธีเป็นพ่อแม่แบบธรรมชาติ ช่วยให้ลูกเป็นตัวเองได้ดี

เลี้ยงลูกแบบธรรมชาติ- เข้าใจธรรมชาติของลูก-การเลี้ยงลูก-พัฒนาการเด็ก

เชื่อไหมคะ ว่าการเลี้ยงลูกในแบบธรรมชาติที่เขาเป็น ไม่ฝืนยัดเยียดอะไรลงไปให้ลูก คอยมองห่าง ๆ ดูความเป็นเด็กของเขา คอยส่งเสริมสิ่งที่ลูกชอบ จะช่วยให้เขาโตขึ้นไปเป็นเด็กที่มั่นใจในตัวเองได้ เขาจะกล้าเผชิญกับสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ หรือทำสิ่งใด ๆ ที่ท้าทาย ตลอดเวลา หรือต่อให้ผิดพลาดบ้าง เขาก็จะไม่กลัวความล้มเหลว จะสตรองแล้วก้าวข้ามผ่านไปได้

สิ่งที่พ่อแม่ต้องสอนลูก ให้ลูกมีความมั่นใจ เป็นตัวเองได้ดี

 

  1. ชื่นชมกับความพยายามของลูก

ไม่ว่าลูกจะแพ้หรือชนะ เมื่อเราโตมากขึ้นเราจะพบว่าระหว่างการเดินทางมีค่ามากกว่าจุดหมายปลายทาง เมื่อลูกตั้งเป้าหมายเพื่อที่จะชนะในการทำกิจกรรมบางอย่าง แต่ต้องสะดุดล้มหรือพลาดพลั้งไม่ไปถึงเส้นชัย ให้เราให้กำลังใจกับความพยายามของลูกนั้น อย่าทำให้ลูกรู้สึกอายเมื่อเขากำลังพยายาม ผลดีในระยะยาวคือลูกจะเรียนรู้ว่าความพยายามช่วยสร้างความมั่นใจได้อย่างมากทีเดียว

  1. ฝึกการให้กำลังใจเพื่อสร้างความสามารถ

ควรให้กำลังใจและเสริมแรงให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกสนใจ เพราะจะทำให้ลูกไม่รู้สึกกดดันมมากจนเกินไป ลูกจะทำอะไรได้ดี เมื่อได้รับกำลังใจจากครอบครัว การฝึกความพยายามจะสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองตามมา

  1. ให้ลูกฝึกแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกเสมอ ลูกจะขาดทักษะในการพัฒนาด้านความเชื่อมั่นในการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง เมื่อผู้ปกครองคอยช่วยเหลือตลอดเวลาลูกจะขาดวิธีรู้จักคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองจะหมดไป

  1. ให้ลูกแสดงพฤติกรรมตามวัย

ไม่ควรมีความคาดหวังให้ลูกแสดงพฤติกรรมเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อลูกรู้สึกว่าต้องแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและถูกต้องตามที่พ่อแม่กำหนดเท่านั้นจะทำให้เห็นถึงมาตรฐานที่เป็นไปไม่ได้และจะไปลดความพยายามที่ลูกทำอยู่ การตั้งมาตรฐานที่ลูกไม่สามารถไปถึงได้จะลดความเชื่อมั่นของลูกลง

  1. กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น

การตั้งคำถามที่ไม่จบไม่สิ้น อาจทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่าย แต่ความจริงแล้วไม่ควรเป็นอย่างนั้น ผู้ปกครองควรตั้งคำถามเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เพื่อลูกจะเรียนรู้ว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรามองไม่เห็นในโลกนี้อีกมากมายที่เรายังไม่ได้เรียนรู้

  1. ให้ลูกลองสิ่งท้าทายใหม่ ๆ

แสดงให้ลูกเห็นเป้าหมายที่เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายใหญ่ ๆ เช่น ขี่จักรยานโดยไม่ใช้ล้อเล็กฝึกการช่วยขี่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างความมั่นใจในตัวลูกเพิ่มขึ้นได้จากความรับผิดชอบตามวัย

  1. ไม่วิพากษ์วิจารณ์การแสดงออกของลูก

การให้คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะสามารถทำได้บ้าง การที่พ่อแม่วิพากษ์วิจารณ์ลูกบ่อย ๆ จะทำให้ลูกรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองและหมดแรงจูงใจด้วย

  1. เปิดประตูสู่ประสบการณ์ใหม่ ๆ

ในฐานะผู้ปกครองเราควรช่วยเปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์ในโลกกว้างมากขึ้นเพื่อเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้ การเปิดประสบการณ์ให้ลูกจะสอนให้ลูกรู้ว่า ไม่ว่าจะเจอประสบการณ์ซึ่งน่ากลัวที่เราไม่เคยเผชิญมาก่อนเราก็จะสามารถฝ่าฟันและเอาชนะมันได้

  1. เป็นผู้ปกครองแบบเข้าใจลูก

ไม่บังคับหรือเข้มงวดจนเกินไป หากเราเข็มงวดกับลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกขาดความมั่นใจและลดความเชื่อมั่นลง การทำตามคำสั่งตลอดเวลาจะทำให้ลูกขาดความกล้า

  1. อย่าบอกลูกเมื่อเรามีความกังวลใจกับลูก

บางครั้งลูกทำให้พ่อแม่เป็นห่วง แต่ไม่ควรแสดงออกถึงความกังวลให้ลูกเห็น เพราะการที่พ่อแม่มีความมั่นใจ ลูกก็จะมั่นใจไปด้วย

 

เห็นไหมคะ ว่าการสร้างลูกให้มีความเชื่อมั่น จะทำให้ลูกเป็นคนสร้างสรรค์และกล้าพูดคำว่า “ไม่ได้” ต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น กล้าปฏิเสธต่อผู้ที่มาหยิบยื่นสิ่งเสพติดต่าง ๆ ให้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องยอมให้ลูกรู้จักลองผิดลองถูก เพื่อสร้างลูกให้เป็นคนดีและคนเก่งในอนาคตค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

12 กิจกรรมสร้าง EF ให้ลูกวัยซน

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

วัย 2-3 ปี เป็นวัยที่เริ่มเข้าโรงเรียน มีการปรับตัวหลายอย่าง เจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เจอผู้คนใหม่ๆ ลูกจะรู้จักควบคุมตัวเองได้มากขึ้น รู้จักรับผิดชอบงานที่ครูมอบหมาย และรู้จักคิดยืดหยุ่นเพื่อที่จะแก้ปัญหาได้ 
พ่อแม่สร้าง Self-Monitoring ให้ลูกได้

1. เล่นดนตรีกับลูก นอกจากเป็นการฝึกสมาธิแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะการฟัง การพูดและภาษาของลูกด้วย

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention และ Shift Cognitive Flexibility

2. อ่านซ้ำๆ ทำบ่อยๆ การอ่านหนังสือนิทาน โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวให้ลูกฟังบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกเกิดการจดจำและเกิดสมาธิ เพราะเด็กๆ จะชอบมองรูปในหนังสือและตั้งใจฟังพร้อมกับสนอกสนใจเรื่องนั้นๆ

พัฒนา EF...Working Memory และ Focus/Attention

3. วาดภาพตามใจปรารถนา ให้ลูกได้จดจ้องกับผลงานการสร้างสรรค์ของตนเอง ด้วยการแปะติดผนังหรือกำแพงบ้าน เพื่อให้ลูกเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ เกิดเป้าหมายและการจดจ่อ ซึ่งเด็กๆ อาจจะอยากวาดรูปมาติดเพิ่มอีก หรือมีการพัฒนาฝีมือการวาดให้ดีขึ้นอีก

พัฒนา EF... Working Memory Focus/Attention Planning/Organizing Initiating และ Goal-directed Persistence

4. ต่อบล็อกไม้ ได้สมาธิ และยังได้เรียนรู้เรื่องของรูปทรง สี และจำนวน เป็นการฝึกพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้วย

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention Planning/Organizing Initiating และ Goal- directed Persistence

5. สอนให้ลูกรู้จักรอคอย เมื่อต้องต่อคิว เข้าแถว หรือทำในสิ่งที่ทำไม่ได้ทันที พ่อแม่ห้ามแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลูกเห็น เช่น การแซงคิว แต่ควรปลูกฝังความมีระเบียบ รู้จักรอคอยให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยให้ลูกไปในตัว ซึ่งจะเป็นผลดีต่อไปในอนาคตของลูก

พัฒนาEF... Working Memory Inhibit Shift Cognitive Flexibility และ Emotional Control

6. เล่นบทบาทสมมติ ให้ลูกทำท่าทางตามที่พ่อแม่บอก เช่น หนูทำท่าหมีให้แม่ดูสิคะ หรือสั่งให้เขาจับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย กิจกรรมนี้ช่วยฝึกเรื่องไหวพริบ การแยะแยะ และเรียนรู้เรื่องกิริยา การแสดงออกในท่าทางและอารมณ์ต่างๆ และฝึกความยืดหยุ่นทางความคิด

พัฒนา EF... Working Memory Inhibit Shift Cognitive Flexibility

7. ชวนลูกทำกับข้าวนอกจากจะได้เรียนรู้คำศัพท์ ฝึกลูกให้รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว การให้ลูกเข้าครัวพร้อมพ่อแม่ ให้ล้างผัก เด็ดผัก ยังเป็นการฝึกสมาธิและการจดจ่อให้กับลูก

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention และ Planning/Organizing

8. นักสำรวจน้อย ชวนลูกสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เพราะสิ่งต่างๆ รอบตัวเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับลูก พ่อแม่ควรเข้าใจและสนับสนุนการสำรวจของลูก ซึ่งอาจเป็นไปตามสิ่งที่เขาคิดหรือสงสัย โดยช่วยให้ลูกได้ค้นพบและสำรวจด้วยตัวเอง ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่มีเหตุผล พ่อแม่แค่เพียงตอบคำถามลูก พร้อมกับกระตุ้นให้ลูกได้คิดต่ออย่างสร้างสรรค์ ที่สำคัญต้องเป็นไปอย่างสบายๆ ไม่ใช่ออกคำสั่งกับลูก

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention Initiating Inhibit และ Planning/Organizing

9. ชวนลูกแยกแยะและจับคู่สิ่งของเช่น เสื้อผ้าของเขาเอง เวลาซักและตากแห้งแล้วให้ลูกช่วยแยกเสื้อผ้าและกางเกงออกจากกัน หรือเวลาล้างจานก็ให้ลูกช่วยแยกช้อนกับส้อมออกจากกัน ถ้าลูกรู้จักสีแล้วก็ให้แยกชุดหรือสิ่งของเป็นสีๆ ไป

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention

10. ซ่อนของ 2 มือ ให้แม่ถือของเล่นชิ้นเล็กๆ ไว้ในมือ แล้วกำมือให้ลูกเห็นว่ามีของเล่นในมือไหนบ้าง แล้วส่งไปมาระหว่างมือซ้ายกับมือขวา เพื่อฝึกสายตา การสังเกต และจดจ่อของลูก

พัฒนา EF... Working Memory Focus/Attention และ Shift Cognitive Flexibility

11. ให้ลูกเล่นแป้งโดว์หรือดินน้ำมัน พ่อแม่อาจปั้นผลไม้หรือขนมสีคล้ายของจริง แต่ควรปล่อยให้ลูกปั้นตามจินตนาการ อาจหลากสีหลายรูปแบบได้ เช่น แอปเปิ้ลลูกหนึ่งมีทั้งสีแดง ม่วง เขียว เป็นต้น

พัฒนา EF...Working Memory Focus/Attention Initiating และ Shift Cognitive Flexibility

12. ทำทุกวันให้เป็นกิจวัตร พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี มีความสม่ำเสมอ จัดเก็บของให้เป็นระเบียบ และเมื่อลูกทำงานสำเร็จ ก็สร้างแรงใจด้วยรางวัลเล็กๆ น้อย หรือคำชื่นชม 

พัฒนา EF...Working Memory และ Inhibit


 

3 พฤติกรรม ที่พ่อแม่ห้ามทำกับลูกเด็ดขาด

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

พฤติกรรมเลียนแบบเป็นพัฒนาการการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กๆ ค่ะ หากคุณแม่เผลอหลุดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมออกไป ต้องรีบยับยั้งพฤติกรรมหรืออารมณ์นั้นโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ลูกของเราเลียนแบบ หรือเกิดความเครียด กดดันจากพฤติกรรมของเราค่ะ   3 พฤติกรรม  อย่าทำให้ลูกเห็น

เพราะลูกวัย 3- 6 ปีเรียนรู้จากการเลียนแบบ หากคุณแม่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย และฉลาดที่จะเรียนรู้แบบไหนก็ต้องเป็นต้นแบบพฤติกรรมที่ดีนั้นให้ลูกเห็น รวมทั้งเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยค่ะ

3 พฤติกรรม ที่พ่อแม่ห้ามทำกับลูกเด็ดขาด

1.พฤติกรรม Over Control  

คือการที่คุณพ่อคุณแม่ควบคุมลูกมากเกินไป เช่น การให้ลูกเรียนเยอะๆ แต่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่เขาอยากเรียน หรือเป็นสิ่งที่ลูกสนใจจริงๆ รวมถึงเรื่องการสอนมารยาทด้วยค่ะ คุณแม่บางคนอาจจริงจังกับเรื่องมารยาทของลูกในทุกโอกาส ทุกสถานที่ ซึ่งหากเรายิ่งสร้างความกดดันให้เขาลูกก็จะยิ่งไม่จดจำ แต่ควรจะเป็นวิธีที่ทำให้ลูกเห็น หรือทำไปด้วยกัน เขาก็จะเกิดการซึมซับที่ดีกว่าค่ะ

นอกจากนี้คุณแม่ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของลูกเป็นหลัก ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ตามพัฒนาการตามวัยบ้าง เพราะการเรียนรู้ที่ดีจะต้องมาพร้อมความสุข สำหรับบางเรื่องถ้าเราอยากสอนให้ลูกเข้าใจ ลองสอนเขาผ่านหนังสือนิทาน โดยอาจเลือกเรื่องที่เราต้องการสอน เช่น ความขยันหมั่นเพียร หรือเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร รวมทั้งการเรียนรู้กฎกติกาง่ายๆ เป็นต้น ค่อยๆ สอดแทรกไปเรื่อยๆ ลูกก็จะเกิดการเรียนรู้ไปตามธรรมชาติ โดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับจนเกินไป

 

2.พฤติกรรม Under Control 

หากพ่อแม่ยอมลูกไปเสียทุกอย่าง ตามใจไปทุกเรื่องย่อมไม่เป็นผลดีในระยะยาว จะทำให้ลูกไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และไม่เข้าใจขอบเขตการแสดงออกต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติกับลูกอย่างยืดหยุ่นได้ค่ะ เช่น ให้ลูกรู้จักสิทธิ์ของตัวเอง และเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น คุณแม่อาจตั้งกฎว่าก่อนที่ลูกจะใช้ของส่วนตัวของแม่ ต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง และเมื่อคุณแม่อนุญาตแล้วก็ควรกล่าวคำขอบคุณ ซึ่งคุณแม่เองก็จะทำเหมือนกัน  หากทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ให้อยู่ในความเคยชิน ลูกก็จะค่อยๆ เกิดการเรียนรู้จดจำในที่สุด

 

3.พฤติกรรมพูดมากกว่าฟัง

การฟังเป็นพื้นฐานของความเข้าใจค่ะ หากคุณแม่เน้นแต่การพร่ำสอน โดยไม่ได้ฟังลูกอย่างใส่ใจเลย นอกจากจะยิ่งทำให้เราไม่เข้าใจพฤติกรรมที่ลูกทำแล้ว ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดอีกด้วย

 

ดังนั้นคุณแม่ควรฟังลูกอย่างใส่ใจทุกครั้งที่เขามีเรื่องเล่า หรือมีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียน รวมทั้งหากเราสังเกตเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมที่แปลกไป ก็ควรรีบเข้าหาและพยายามพูดคุยเพื่อให้ลูกบอกความในใจค่ะ เพราะจริงๆ แล้วเด็กวัยนี้เพียงต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ฟังเขา โดยไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือใดๆ นอกจากอ้อมกอดที่อ่อนโยน และเต็มไปด้วยความเข้าใจของพ่อแม่ค่ะ


 

5 กิจกรรม สร้างทักษะการริเริ่มและลงมือทำให้ลูก

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)  คือความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด มีทักษะในการริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางในการทำสิ่งต่างๆ เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำให้ความคิดของตนปรากฏขึ้นจริง โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
ฝึกลูกให้เป็นเด็กรู้จักคิดริเริ่มลงมือทำด้วยกิจกรรมง่ายๆ

1. ต่อคำ คิดศัพท์ลองคิดคำศัพท์ง่ายๆ แล้วให้ลูกนึกคำที่เหมือนกับคำลงท้ายที่คุณพ่อคุณแม่พูด เช่น คำว่า นาฬิกา ลงท้ายด้วย ก.ไก่ หนูลองหาซิมีคำไหนขึ้นต้นด้วย ก.ไก่บ้าง ลูกอาจจะยังผสมคำไม่เป็น แต่ลูกจะได้เรียนรู้เสียงและคำศัพท์หรือคำที่คล้องจองกัน จากนั้นก็ลองสลับกันเล่นให้ลูกเป็นคนคิดคำขึ้นมาแล้วให้คุณพ่อคุณแม่เป็นคนทาย ช่วยฝึกการคิดริเริ่ม และทำให้สนุกมากขึ้นด้วย

2. DIY  ริเริ่มสร้างสรรค์เกมนี้สามารถสอนให้ลูกเห็นคุณค่าของสิ่งของ ปลูกฝังค่านิยมเรื่องการประหยัดอดออมได้ ที่สำคัญเป็นเกมที่ให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เต็มที่ค่ะ เช่น แม่อาจหาอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล่อง พลาสติก ขวดที่ใช้แล้ว จากนั้นก็ชวนลูกมาประดิษฐ์สิ่งของ ให้ลูกคิดว่าอยากทำอะไร ซึ่งพ่อแม่แนะนำเขาได้ เช่น วันนี้เราทำกระปุกออมสินกันดีมั้ย หนูคิดว่าเราจะใช้อะไรดีนะ ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ลงมือทำให้เต็มที่ ให้เขาได้สร้างสรรค์ด้วยตัวเองมากที่สุด

3.ทำงานบ้าน ลูกวัย 3-6 สามารถช่วยงานบ้านง่ายๆ ได้ หากทุกคนในบ้านทำร่วมกันได้ เปลี่ยนจากการสั่งให้เขาทำ มาเป็นเกมสนุกๆ แทน ลูกก็จะสนุกมากขึ้น เช่น ลองชวนเข้าครัว ให้ลูกเป็นคนคิดเมนูว่าอยากทำอะไร แล้วก็หาของที่มีอยู่ในตู้เย็น แม่อาจบอกว่าในตู้เย็นเรามีอะไรบ้าง เราลองมาคิดกันซิว่าจะทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะลูกวัย 5- 6 ขวบ จะเริ่มมีไอเดียแล้วว่าของสิ่งนี้เอามาทำอะไรบ้าง เกมนี้ได้ทั้งออกกำลังกาย และฝึกความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กันค่ะ

4. ปลูกต้นไม้ด้วยตัวเองลูกจะได้เรียนรู้ทุกขั้นตอนของการปลูก เปิดโอกาสให้ลูกเลือกเมล็ดพันธุ์ ลูกจะได้รู้เรื่องคำศัพท์ ได้ลงมือปลูก รดน้ำ พรวนดิน ดูแลต้นไม้ด้วยตัวเอง ระหว่างการดูแลและรอให้ต้นไม้เติบโต พ่อแม่สามารถสอดแทรกเรื่องความอดทนรอคอย จนกระทั่งวันหนึ่งที่ต้นไม้ออกดอกออกผล ยิ่งมีผลมากินได้ด้วย ลูกจะรู้สึกภูมิใจเพราะได้ปลูกด้วยตัวเอง

5. ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะ ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะเป็นเป็นเกมที่สามารถทำร่วมกันในครอบครัวได้อย่างสนุกสนาน คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกหาเครื่องดนตรีจากสิ่งของในบ้าน เช่น ขวดแก้ว กระป๋องนม หรือเปิดเพลงจังหวะสนุกๆ ร่วมด้วย โดยให้ลูกคิดว่าของที่เลือกมาจะมาทำให้เกิดเป็นจังหวะหรือเสียงได้อย่างไร จากนั้นให้เขาลงมือเคาะ ตี เขย่า หรือให้ลูกเป็นคนคิดท่าท่างประกอบจังหวะ นอกจากฝึกให้ลูกรู้จักจังหวะ ได้เคลื่อนไหวร่างกายพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ผ่านการคิดเชื่อมโยงและลงมือทำด้วยตัวเอง

การได้ทำกิจกรรมง่ายๆ ร่วมกันในครอบครัว นอกจากไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ได้สายสัมพันธ์ที่แนบแน่นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมทักษะการคิดริเริ่มและลงมือทำที่ได้ผลมากกว่าที่คิด
 
 



 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข


 

5 กิจกรรมที่บ้าน สร้างช่วงเวลาดี ๆ ที่มีร่วมกันกับลูก

กิจกรรม-กิจกรรมครอบครัว-ของเล่นเสริมพัฒนาการ

มาตรการกักตัวอยู่บ้าน ตามนโยบายของรัฐบาลไทยเพื่อป้องกันโรค ‘โควิด-19’โรงเรียนก็ปิดยาว ๆ โดยล่าสุด กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีประกาศให้สถานศึกษาเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง ปีการศึกษา 2563 จากวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เมื่อพ่อแม่ Work from Home และลูกปิดเทอมหรือโรงเรียนปิด ออกไปเที่ยวที่ไหนอย่างเคยก็ไม่ควร ฉะนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะใช้เวลากับลูกที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า อยู่กับลูกของเรา ที่บ้านของเรา กับกิจกรรมและช่วงเวลาดี ๆ ที่มีร่วมกัน

 

5 กิจกรรมที่บ้าน สร้างช่วงเวลาดี ๆ ที่มีร่วมกันกับลูก
  1. ทำอาหาร ปูทักษะดี ๆ ให้ชีวิต

ชวนลูกลองทำอาหาร กระบวนการตั้งแต่เลือกเมนูนั้น เรายังสามารถสอดแทรกสาระประโยชน์ด้วยการพูดคุยถึงประโยชน์ของอาหารแต่ละประเภทได้ด้วยนะคะ ที่สำคัญพ่อแม่อาจต้องวางใจให้ลูกได้ลองหยิบจับเครื่องครัว แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้นเด็กๆ ยังได้ฝึกอดทนรอคอย เพราะการทำอาหารเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา กว่าจะตระเตรียม ปรงสุก จัดโต๊ะ ล้วนใช้เวลาทั้งสิ้น และสุดท้ายเด็กๆ ได้เรียนคู้คุณค่าของการรับประทานอาหาร ว่ากว่าจะได้มาแต่ละจานนั้นต้องใช้อะไรบ้าง จะได้ไม่ทานอาหารเหลือทิ้ง และแน่นอน อาหารที่เราทำกันเองในครอบครัวแบบนี้ ย่อมสะอาด ถูกสุขอนามัย วางใจได้จริง ๆ

 

  1. ทำงานบ้าน สร้างวินัยเชิงบวก

ในเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน เราเริ่มได้จากการเก็บของเล่นเมื่อเสร็จ ครั้งแรกหากลูกปฏิเสธ จูงมือชวนลูกมาเก็บด้วยกันเลย ถือว่าเป็นงานบ้านส่วนตนที่ต้องให้ดูแลรับผิดชอบ และหากลูกเริ่มโต เราสามารถมอบหมายงานบ้านทั้งส่วนตน และส่วนรวมเพิ่มเข้าไป เช่น พับผ้าของตนเองที่เป็นงานส่วนตน และกวาดบ้าน เช็ดโต๊ะทานอาหาร ล้างจานให้คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นงานส่วนรวม  เด็กๆ จะได้รู้หน้าที่ มีวินัย และรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น

 

  1. อ่านหนังสือนิทาน  เสริมจินตนาการและตรรกะ

หนังสือกับเด็กเป็นของคู่กัน เพราะนอกจากส่งเสริมให้เป็นเด็กรักการอ่านแล้ว ยังสามารถช่วยกล่อมเกลาความคิด และสร้างความสนุกได้ด้วย ในเด็กที่เริ่มเข้าชั้นประถม เราอาจจะลองให้สรุปใจความ หรือสอบถามความคิดเห็นว่า เพราะเหตุใดตัวละครตัวนี้จึงทำเช่นนั้น สะท้อนถึงความคิดหลังได้อ่าน หัดเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล

 

  1. ทำงานประดิษฐ์ สร้างสมาธิและความคิดสร้างสรรค์

งานประดิษฐ์แบบง่ายๆ ได้ประโยชน์ทั้งสร้างสมาธิ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และความสัมพันธ์ของมือและดวงตา เช่นการร้อยลูกปัด ความพยายามที่จะจับลูกปัด และเส้นเอ็นร้อยเข้าด้วยกัน หากเด็กที่กำลังจะพ้นช่วงปฐมวัยอาจจะลองทำตุงใยแมงมุม ต้องใช้สมาธิมากขึ้นไปอีก เพราะมีการพันอ้อมหน้าไขว้หลัง ทั้งยังต้องดึงให้ตึง ให้ไหมพรมเรียงเส้นเรียบเสมอกัน หรือหากใครจะลองเย็บผ้า ปักผ้า งานปั้น หรือทำเปเปอร์มาเช่ ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนุก เด็กๆ ยังสามารถใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ เมื่อทำเสร็จแล้ว สามารถนำมาประดับบ้านให้สวยงาม สร้างความภาคภูมิใจให้เด็กๆ อีกด้วย

 

  1. เล่น และออกกำลังกาย เติมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

เพราะหน้าที่ของเด็กคือ “การเล่น” ดังนั้นงานเล่นจึงเป็นงานที่สำคัญมากๆ สำหรับเด็ก แต่ต้องเป็นการเล่นแบบอิสระ ดิน น้ำ ทราย โคลน ปีนป่าย ให้เด็กได้ออกกำลังเพื่อช่วยสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก 

 

ในช่วงที่โรงเรียนปิดเทอมและเด็ก ๆ อยู่บ้าน คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเองก็อาจจะอยากลองหากิจกรรมที่ได้ทำกับลูกให้มากขึ้น ทำให้เราได้สร้างสัมพันธ์ไปยาว ๆ ในช่วงเวลาที่ต้องอยู่บ้านกันค่ะ 

ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ที่ตอนนี้ต้องเข้าสู่โหมด  Work From Home เราจะสู้ไปด้วยกันนะคะ!

 

5 วิธีปลูกฝังลูกให้เป็นนักวางแผนที่ดี

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF  

5 วิธีปลูกฝังให้ลูกเป็นนักวางแผน

การสอนให้รู้จักวางแผน จะช่วยให้ลูกพัฒนาความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นทักษะในการจัดการชีวิตอย่างเป็นระบบได้ในอนาคต ซึ่งพ่อแม่สามารถชี้แนะ เป็นผู้ส่งเสริมให้เขาเข้าใจและฝึกฝนการวางแผนง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้


1. กิจวัตรประจำวันก่อนไปโรงเรียน โดยวันจันทร์-ศุกร์ให้จัดตารางสิ่งที่ลูกต้องทำให้เกิดเป็นความเคยชินและเป็นระบบระเบียบ เริ่มจากลูกต้องตื่นกี่โมง วางแผนการอาบน้ำแปรงฟัน ซึ่งสำหรับเด็กนั้นอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก

พ่อแม่อาจหากระดานติดไว้ในที่ที่เห็นได้ชัด เช่น ห้องนั่งเล่น เพื่อช่วยเตือนสิ่งที่ลูกต้องทำ โดยอาจให้ลูกมีส่วนร่วมในการคิดด้วย เช่น ให้เขาวาดการ์ตูน หรือหาการ์ตูนที่ชอบมาแปะตกแต่งและเขียนกิจวัตรที่ต้องทำในแต่ละวัน ก็จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำตามแผนได้มากขึ้น เพราะหากมีแรงจูงใจลูกก็จะอยากเตรียมตัว อยากทำด้วยตัวเองจนเกิดความเคยชินในที่สุด

2.ทบทวนแผนก่อนนอน พูดคุยกับลูกสักครึ่งชั่วโมงก่อนนอน เช่น วันนี้หนูเรียนอะไรมาบ้าง เพื่อนที่โรงเรียนน่ารักมั้ย เพื่อเป็นการสร้างความรักความผูกพันกันก่อนนอน

ที่สำคัญอย่าลืมชวนลูกทบทวนตารางเวลาที่เราต้องทำพรุ่งนี้ เช่น 7 โมง หนูต้องแปรงฟันใช่มั้ย แล้วหลังจากนั้นต้องทำอะไรต่อนะ ลองให้เขานึกภาพตามกระดานตารางที่เขามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยตัวเอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นแผนที่เราสอดแทรกเข้าไปในกิจวัตรประจำวัน เป็นการฝึกระเบียบวินัยให้ลูกได้ และลูกเองก็รู้สึกว่าได้ใช้เวลากับพ่อคุณแม่อย่างเต็มที่ด้วยค่ะ

3.ฝึกวางแผนง่ายๆ ในครัว ชวนลูกทำขนมที่เขาชอบด้วยกัน เช่น วุ้นสีสวย ลองให้เข้าคิดเองเลยว่าอยากให้วุ้นเป็นสีอะไร มีวิธีทำอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็มาลองดูว่าที่บ้านมีวัตถุดิบเหล่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ชวนลูกออกไปซื้อด้วยกัน เป็นการวางแผนการจ่ายตลาด ลูกก็จะได้ฝึกจำคำทั้งศัพท์ และได้ฝึกกระบวนการคิดวางแผนว่ากว่าจะเป็นวุ้นเราต้องใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง จะต้องมีขั้นตอนอย่างไร ที่สำคัญควรให้เขาได้ลงมือทำจริงด้วยตัวเองนะคะ

4.วางแผนการออมเงินวัยอนุบาลสามารถฝึกเรื่องการออมเงินได้ค่ะ โดยให้ลูกตั้งเป้าหมายในการออมเงินว่าจะออมเพื่ออะไร เช่น ให้ลูกเก็บเงินซื้อการ์ตูนเรื่องใหม่ด้วยตัวเอง เราก็จะได้ดูวิธีที่เขาใช้ในการเก็บเงิน ลูกอาจบอกว่าวันนี้จะไม่กินขนม ไม่ซื้อของเล่นอื่น เพื่อเป้าหมายใหญ่ หรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการในระยะยาว

เมื่อลูกวางแผนเสร็จแล้ว พ่อแม่จะต้องติดตามผลของการกระทำของลูกด้วยว่าเขาสามารถทำได้จริงหรือไม่ ถ้าได้ก็ให้ชมเชยตามสมควร แต่ถ้าลูกทำไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไปตำหนิ แต่ควรให้กำลังใจเพื่อให้เขาอยากทำให้ได้จนสำเร็จ พอลูกเริ่มโตก็ลองให้โจทย์ที่ยากและท้าทายขึ้นเพื่อฝึกทักษะเชาว์ปัญญา การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น

5.แผนที่ดีก็ยืดหยุ่นได้หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ตารางกิจวัตรประจำวันของลูกอาจยืดหยุ่นได้มากขึ้น เช่น ตื่นสายได้มากขึ้น หรือเข้านอนช้ากว่าวันที่ต้องไปโรงเรียนได้ นอกจากนี้เราอาจเพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกาย เช่น การขี่จักรยาน หรือชวนกันออกไปข้างนอกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ ซึ่งแผนเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความสนใจของลูก และตามความเหมาะสมค่ะ
 


การวางแผนสามารถช่วยพัฒนาทักษะสมองของลูก

1.พัฒนาทักษะการคิดและเชื่อมโยง การวางแผนจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การแก้ปัญหา ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ที่สำคัญช่วยพัฒนาทักษะความคิดที่เป็นระบบ แยกแยะหมวดหมู่ เชื่อมโยงเหตุการณ์และการใช้เหตุผลได้ 

2.เพิ่มพูนทักษะความจำ การพูดคุยกับลูกโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน จะช่วยเตือนความจำระยะสั้นในแต่ละช่วงวัน ก่อนจะเก็บเป็นความทรงจำได้ในระยะยาวค่ะ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ลูกมีความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถช่วยเหลือตัวเอง และรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

3.ส่งเสริมระเบียบและวินัยหากลูกสามารถวางแผนได้ดี ก็จะสามารถสื่อสารผ่านคำพูดและการกระทำอย่างเป็นระเบียบแบบแผนได้ดีไปด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานให้ลูกสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงที่ได้รับ และวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลในเรื่องสำคัญต่างๆ เมื่อโตขึ้นได้

 

5 วิธีสร้าง EF ดีในบ้าน

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ทักษะสมอง EF พัฒนาได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นค่ะ และจะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้นหากได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยชี้ว่า EF เริ่มพัฒนาขึ้นในเวลาไม่นานหลังปฏิสนธิ กลไกของการพัฒนาทักษะ EF ด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัย เช่น Working Memory จะพัฒนาตอนอายุ 6 เดือน ส่วน Inhibition พัฒนาช่วงขวบปีที่สอง และจะพัฒนาได้มากขึ้นในช่วง 3-6 ปี
 

 


คุณพ่อคุณแม่ควรเน้นฝึกทักษะเหล่านี้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก ผ่านการเล่น การเลี้ยงดู การจัดสิ่งแวดล้อม รวมถึงกิจกรรมต่างๆ จึงอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาส่งเสริมทักษะ EF ให้เจ้าตัวเล็กวัยขวบปีแรก 

5 วิธีง่ายๆ สร้าง EF ที่ได้ผล ซึ่งทำได้ทุกวันที่บ้าน

1.กินดี จุดเริ่มต้นพัฒนาการสมอง
              
การพัฒนาสมองของทารกในวันแรกของชีวิตนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงต้องอาศัยสารอาหาร ร่วมไปกับการเรียนรู้ในการพัฒนาโครงสร้างและการทำงานของสมองให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมตามช่วงวัย มีช่วยให้สมองและร่างกายของลูกได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นฐานสำคัญเพื่อต่อยอดการฝึกฝนทักษะ EF ให้มีศักยภาพมากขึ้น

กินแบบไหนสร้าง EF

ดื่มนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และหลังอายุ 7 เดือนสามารถกินนมแม่กับอาหารเสริมตามวัยจนถึง 2 ขวบ โดยเริ่มด้วยข้าวบดทีละน้อย จากนั้นค่อยเป็นอาหารหยาบและหลากหลายขึ้น เช่น ข้าวบดหยาบ ผักบดและผลไม้บด

กินอาหารที่ครบถ้วน 5 หมู่ เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการร่างกายและพัฒนาการสมอง ทั้งโปรตีน วิตามิน ดีเอชเอ โอเมาก้า ธาตุเหล็ก แคลเซียม ไอโอดิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่ดี ซึ่งกระบวนการพัฒนาสมองและการพัฒนาทักษะ EF ที่ดีขึ้นอยู่กับโภชนาการที่เหมาะสมด้วยค่ะ

สัมผัสและสัมพันธ์ระหว่างกินนม ให้คุณแม่อุ้มลูกแนบชิดตัว สบตา พูดคุย เห่กล่อมด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน  ลูกจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาทักษะ EF ที่ดีเมื่อโตขึ้น

ฝึกลูกรอคอยระหว่างกินเมื่อถึงวัยอาหารเสริมให้ลูกได้ลองกลืนอาหารจากช้อน คุณพ่อคุณแม่ร่วมกินอาหารกับลูก ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอยบ้างระหว่างการกิน เพื่อฝึกการยับยั้งชั่งใจ

หยิบอาหารด้วยตัวเอง เมื่อเข้าสู่วัย 10-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ใช้โอกาสนี้ฝึกลูกให้หยิบอาหารใส่ปากเอง หรือให้ดื่มน้ำจากถ้วย นอกจากช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้รู้จักทักษะการช่วยเหลือตัวเองด้วยค่ะ   
 

2.นอนเพียงพอ เพิ่มพลังสมอง
 
ช่วงที่ลูกนอนหลับสนิทตลอดคืน คือช่วงเวลาที่สมองจะพัฒนาเต็มที่ เมื่อสมองพร้อมลูกก็สามารถต่อยอดการเรียนรู้ในทุกๆ วันได้ดียิ่งขึ้น
 

นอนแบบไหนสร้าง EF

นอนเพียงพอตามวัย ช่วงวัย 0-3 เดือนลูกควรได้นอนอย่างเพียงพอ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน และตั้งแต่ 4 เดือน- 12 เดือน ควรเริ่มฝึกให้ลูกงดนมมื้อดึก เพื่อให้นอนตอนกลางคืนได้นานขึ้นรวมวันละ 12- 15 ชั่วโมง และนอนกลางวัน  2 ครั้งต่อวัน

จัดที่นอนของลูกให้เป็นสัดส่วน แต่ยังอยู่ในห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ได้  ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก ป้องกันการเกิดภูมิแพ้จากอากาศและฝุ่นละออง ไม่เปิดไฟให้แสงไฟสว่างเกินไป เพราะการนอนหลับสนิมตลอดคืน เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone)

แยกห้องนอนวัย10-12 เดือน หากคุณแม่จะแยกห้องนอนลูก ควรอยู่เป็นเพื่อนลูกในห้องนอนก่อน ชวนพูดคุย อยู่เพื่อสร้างความคุ้นเคย สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ให้ลูกค่อยๆ ปรับได้ในที่สุด

หลับลึก กระตุ้น EF การนอนกลางคืนเป็นช่วงที่สำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางสมอง เพราะร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ เป็นรากฐานเพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะ EF ต่อไป 
 

3.กอดสร้างรักและผูกพัน

ความใกล้ชิดและอ้อมกอดของแม่คือความทรงจำแรกที่บันทึกไว้ในสมองของลูกค่ะ  ทักษะ Working memory จึงเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารก และจะพัฒนาเป็นความผูกพัน(attachment)  ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทักษะ EF
 

นอนแบบไหนสร้าง EF

อุ้ม-กอดสร้าง attachmentวัยนี้คุณแม่ควรหมั่นอุ้มกอด สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน หรือสบตาระหว่างให้นม เพราะสมองลูกจะรับรู้ข้อมูลที่คุ้นเคย จนเกิดการเรียนรู้อารมณ์ต่างๆ ผ่านความใกล้ชิดและการตอบสนองจากแม่ ซึ่งความผูกพันนี้เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะ  EF อย่างได้ผลในอนาคนต

ตอบสนองลูกไว ทำเสียงหรือทำหน้าตาให้ลูกสนใจ ตอบสนองต่อท่าทางที่แสดงถึงความต้องการของลูก จะช่วยให้เด็กมีฐาน ความมั่นคงในจิตใจ ในการจะก้าวต่อไป สู่การพัฒนา EF ในระดับสูงขึ้นไป 

สังเกตพฤติกกรรมลูก คอยสังเกตพฤติกกรรมที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของทักษะสมอง EF เช่น ลูกมีการหยุดคิดและตอบสนองหน้าตาหรือน้ำเสียงแม่  เริ่มมองดูผู้คนที่รู้จัก ไม่สนใจสิ่งที่ทำให้เสียสมาธิ  


4.เล่น = เรียนรู้

การเล่นคือการสร้าง EF ให้เด็กที่ได้ผลดี โดยผ่านกระบวนการเล่นแบบมีอุปกรณ์และไม่มีอุปกรณ์ โดยเฉพาะวัยขวบปีแรก ไม่ต้องพึ่งของเล่นราคาแสนแพง แค่ได้เล่นกับพ่อและแม่ ทักษะ EF ก็เกิดตั้งแต่เริ่มเล่นแล้วค่ะ
 

เล่นแบบไหนสร้าง EF

ใช้ใบหน้าเล่นกับลูก พูดคุยหยอกล้อและเล่นกับลูก ให้มองตามหน้าพ่อแม่ หรือเคลื่อนของเล่นสีสดใสไปมา กระตุ้นการใช้สายตา รู้จักแยกแยะสี  สามารถจดจำใบหน้าและเสียงของพ่อแม่ได้

ให้ลูกได้เล่นคนเดียวบ้าง ให้ลูกพลิกตัวคว่ำ-หงาย ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย หรือใช้ของเล่นชิ้นใหญ่ ล่อให้ลูกขยับคว้า ให้ได้ใช้มือคว้า หยิบจับ และปล่อยของเล่น

ฝึกเล่นแก้ปัญหา ฝึกให้ลูกเล่นนิ้วมือ เช่น จับปูดำ แมงมุมลาย

ให้ลูกมีโอกาสเลือกเล่นเองจัดวางของเล่นให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ลูกได้ฝึกหยิบและฝึกการเก็บของเล่นเอง
 

5.เล่าสนุก กระตุก EF

การเล่านิทานหรือร้องเพลงกับเด็กๆ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจให้ร่าเริง มีสมาธิ ซึ่งถือเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ดีในการพัฒนา EF ที่ได้ผล 

เล่าแบบไหนสร้าง EF

ใช้เสียงสูงเสียงต่ำ วัย 0-3 เดือน ยิ้มสื่อสาร พูดคุย ท่องโคลง กลอน เล่าหรืออ่าน นิทานกับลูกโดย พูดคุยช้าๆ ชัดๆ ใช้เสียงสูงเสียงต่ำ มีจังหวะหยุดให้ลูก ยิ้มหรือส่งเสียงตอบ 

ชวนเล่าชวนคุยถึงสิ่งรอบตัวเพื่อให้รู้จักคำศัพท์จากสิ่งรอบตัว และให้รู้จักคำศัพท์ที่แสดงความต้องการของตนเอง เพราะช่วง 4-12 เดือน เป็นช่วงที่สมองเด็กสามารถเรียนรู้ได้ หลายภาษา รวมถึงภาษาถิ่นด้วย 

เล่านิทาน สร้าง EF การอ่านช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษา ฝึกการได้ยิน ลูกจะได้รู้จักภาษาและจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ขณะที่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ให้ลูกนั่งบนตัก จับมือลูกชี้ไปตามรูปภาพ ฝึกความเชื่อมโยงรูปภาพกับวิธีเล่า รวมถึงน้ำเสียงและท่าทีมีส่วนทำให้ลูกมีสมาธิจดจ่อกับเสียงกับเรื่องราวในนิทานที่แม่กำลังเล่า

ร้องเพลง ร้องเพลงเป็นวิธีหนึ่งค่ะที่คล้ายการเล่านิทาน แต่จะสนุกและทำให้ลูกจดจำได้ง่ายขึ้น ด้วยจังหวะของทำนองเพลง เสียงสูงเสียงต่ำของแม่ ส่งเสริมเรื่องคำศัพท์จากคำคล้องจองในเนื้อเพลง ช่วยให้จดจำเพลงได้ง่าย        
         
กระบวนการสร้าง EF จำเป็นต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ ซึ่งในช่วงแรกบทบาทของพ่อแม่จึงสำคัญที่สุดที่จะดูแลให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ และมั่นคงทางจิตใจ รวมถึงได้รับโภชนาการที่ดี ได้นอนอย่างเพียงพอและได้เล่นสนุกตามวัย เมื่อพัฒนาทักษะ EF อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นและสร้างประสบการณ์ที่ท้าทายมากขึ้น จากประสบการณ์ก็จะกลายเป็นนิสัย เป็นบุคลิก สามารถคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่รวมกับคนอื่นเป็น ตลอดจนสามารถนำพาชีวิตให้บรรลุตามเป้าหมายได้สำเร็จ

  

5 วิธีสอนลูกให้เป็นเด็กน่ารัก เมื่อออกนอกบ้าน

 อบรม, อบรมพฤติกรรม, อบรมพฤติกรรมลูก, มารยาท, มารยาทสังคม, การเลี้ยงลูก

ลูกเราไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน.. คุณพ่อคุณแม่น่าจะคุ้นหูกับประโยคนี้กันมาบ้าง เพราะในหลาย ๆ ครั้งที่เราต้องออกไปใช้บริการในพื้นที่สาธารณะ เราก็อาจพบเจอทั้งคนแซงคิว ไม่รักษามารยาท หรือพูดจาเสียงดังโวยวาย

ถ้าไม่อยากให้เจ้าตัวเล็กของเรามีพฤติกรรมไม่น่ารัก พ่อแม่ควรเตรียมการก่อนพาลูกน้อยออกจากบ้าน ด้วย 5 วิธีสอนลูกให้เป็นเด็กน่ารัก เมื่อออกนอกบ้าน​มาฝากกันค่ะ 

5 วิธีสอนลูกให้เป็นเด็กน่ารัก เมื่อออกนอกบ้าน

1.หนูน้อยพูดเพราะ พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดี ฝึกให้ลูกพูดมีหางเสียง ครับ/ค่ะ ขอโทษและขอบคุณเสมอ

2.หนูน้อยไหว้สวย สอนลูกยกมือไหว้กล่าวคำว่า สวัสดีครับ/ค่ะ เวลาที่เจอญาติผู้ใหญ่หรือคนรู้จัก และเมื่อลูกยกมือไหว้ผู้อื่น ให้พูดชมเชย จะทำให้หนูน้อยรู้สึกภูมิใจ

3.หนูน้อยเจ้าระเบียบ เมื่อออกนอกบ้าน ต้องสอนให้เข้าคิว เช่น พาไปต่อแถวซื้อตั๋วเข้าสวนสัตว์ ซื้ออาหาร เป็นต้น และทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง จะทำให้เขาเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัยของสังคม และการเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น

4.หนูน้อยมีน้ำใจ คุณแม่สอนได้ง่ายๆ ด้วยการให้ลูกแบ่งขนมหรือของเล่นกับคุณแม่ก่อน จากนั้นค่อยๆ สอนให้แบ่งกับเพื่อน ซึ่งจะช่วยให้ลูกรู้จักแบ่งปัน และการช่วยเหลือผู้อื่น

5.หนูน้อยเข้าใจผู้อื่น สอนลูกจากเรื่องใกล้ตัว เช่น เวลาหนูโดนเพื่อนตี หนูจะเจ็บและไม่อยากเล่นกับเพื่อนคนนั้น ถ้าหนูไปตีเพื่อน เพื่อนก็จะเจ็บไม่อยากเล่นกับหนูเช่นกัน เป็นต้น 

อยากให้ลูกน่ารัก ต้องเริ่มจากพ่อแม่ที่เป็นคนสอนเขานะคะ.. เด็กน่ารัก ใครๆก็อยากชื่นชม ชื่นชอบค่ะ หากเป็นลูกของเราแล้ว ยิ่งทำให้คนเป็นพ่อแม่ภูมิใจมากที่สุด

 

5 วิธีสอนลูกให้โตไปเป็นคนดี ไม่เหวี่ยง ไม่วีนผู้อื่น ฉบับฮาร์วาร์ด

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

วิธีสอนลูกให้โตไปเป็นคนดี ไม่เหวี่ยง ไม่วีนผู้อื่น ฉบับฮาร์วาร์ด

การเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนดีนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะเด็กที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต มีความรับผิดชอบ สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ เข้าสังคมได้ดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต้องได้รับการดูแลเชิงบวกตั้งแต่ยังเล็ก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และได้รับการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีจากครอบครัวเป็นหลัก ที่สำคัญพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของลูก แต่จะมีวิธีอย่างไรให้ง่ายขึ้นในการสอนลูก เรามีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน Harvard Acedemy มาบอกต่อกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับสอนลูกกันได้ ดังนี้เลย

5 วิธีสอนลูกให้โตไปเป็นคนดี
  1. สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ มี EQ

ความโกรธ ความเศร้า หรือแม้แต่ความผิดหวัง ล้วนเป็นอารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจไม่ใช่แค่สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับเด็กเช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ควรสอนให้ลูกจัดการกับอารมณ์แง่ลบให้ได้ เมื่อไหร่ที่เขาโมโห ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ให้ใช้ช่วงเวลาที่ลูกเริ่มรู้สึกใจเย็นขึ้นมาบ้าง ให้ข้าไปพูดคุย และสอนใช้เทคนิคการหายใจเข้าทางจมูก หายใจออกทางปาก พร้อมกับพยายามนับ 1-5 เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราเกิดความรู้สึกโมโห เลือดในร่างกายจะสูบฉีดอย่างแรง และหัวใจจะเต้นรัวมากกว่าปกติ ดังนั้นการกำหนดลมหายใจ เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ใช้จัดการกับอารมณ์ร้ายได้เป็นอย่างดี



  1. ให้ลูกรู้จักรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองกระทำ

พ่อและแม่ คือต้นแบบที่ลูกจะเรียนรู้ และเอาอย่าง สิ่งสำคัญที่สุดคือการสอนให้พวกเขามีความรับผิดชอบ ต่ออะไรก็ตามที่ได้กระทำลงไป อย่างเช่น กินขนมเสร็จก็ต้องนำไปทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ให้พ่อแม่พยายามอธิบายกับลูก ๆ อย่างใจเย็นว่า อะไรคือความรับผิดชอบ และมันส่งผลอย่างไรบ้างระหว่างตัวของลูกเอง และสังคมรอบข้าง แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ตัวของพ่อแม่เอง ที่นอกจากจะสอนลูกแล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย

  1. สอนให้ลูกรู้จักความสงสาร และช่วยเหลือผู้อื่นเป็น

แน่นอนว่าในสังคมโรงเรียนของเด็ก ๆ จะมีทั้งเด็กดื้อ และเด็กเรียบร้อยรวมกันอยู่ และส่วนมากเด็กดื้อก็มักจะมาแกล้งเพื่อน ๆ ที่เรียบร้อยกว่า วิธีที่จะช่วยให้ลูกของเราตระหนักถึงเรื่องนี้ได้ คือการลองให้ลูกของเราเองจินตนาการดูว่า ถ้าตัวเองได้เป็นคนที่ด้อยกว่า เขาจะรู้สึกอย่างไร? วิธีนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้เห็นภาพ และได้เห็นมุมมองอีกด้านหนึ่งของคนอื่น อีกทั้งพ่อแม่ควรให้ลูก ๆ คิดถึงคนอื่นที่นอกเหนือจากเพื่อนที่โรงเรียนด้วย เช่น คนไร้บ้าน คนพิการ ฯลฯ การพูดคุยกับเขาในเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก จะช่วยให้เขารู้จักที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนรอบข้าง และไม่รังแกคนที่ด้อยกว่า

  1. สอนให้ลูกขอบคุณเป็น แสดงความรู้สึกเชิงบวกเก่ง

การแสดงออกถึงความซาบซึ้งใจต่อสิ่งที่ผู้อื่นทำให้เด็กนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า พ่อแม่ควรสอนให้ลูก ๆ รู้จักที่จะขอบคุณในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน อย่างเช่น การบอกให้ลูกไปกอดคุณยายที่ทำขนมให้ ถึงแม้ว่ามันจะไม่อร่อยก็ตาม หรือขอบคุณเพื่อนรุ่นเดียวกัน เมื่อแบ่งปันขนมให้ ถึงแม้ว่าจะต้องพูดกับคนที่ไม่รู้จัก หรือคนที่ไม่สนิทสนมด้วยก็ตามมีงานวิจัยเผยว่า คนที่แสดงออกถึงความซาบซึ้งใจต่อคนอื่น จะมีความสุข และสุขภาพที่ดีกว่าคนที่ดูเหมือนจะเย่อหยิ่ง และไม่ยอมก้มหัวให้ใคร


  1. สอนให้รู้จักการวางตัวดี และเหมาะสม

ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักจะมองหาความสำเร็จของลูกผ่านผลการศึกษา จนอาจจะลืมไปว่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างอื่น ก็อาจส่งผลต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมของเขาได้เช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ให้พ่อแม่คุยกับลูกอย่างเป็นประจำ ยกตัวอย่างถึงบุคคลที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม และทำให้เค้าเห็นถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมในแง่อื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเรื่องการรักษาสัญญา การเคารพต่อผู้อื่น และต้องไม่ลืมว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่นั้น ลูก ๆ มักจะเลียนแบบมาจากพ่อแม่ที่บ้านนั่นเอง

เป็นการสอนลูกเชิงบวกที่ดีมากใช่ไหมคะ แต่ละข้อสามารถนำไปปรับใช้กับลูกได้เลย แต่ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกได้ และต้องปรับตัวเติบโตไปกับลูกในทุก ๆ วัน เพื่อให้ส่งผลดีกับลูกให้มากที่สุดค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.catdumb.com , เว็บไซต์ Brightside